รวมกระทู้น้องเจนจิรา

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ministry Of Men
โพสต์: 3972
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 18, 2007 3:09 pm

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 8:56 am

Jeab Agape เขียน:
เจนจิรา เขียน:
Jeab Agape เขียน:
พี่เจนครับ เจี๊ยบแพ้ความยาว ฮะ : emo038 :
: xemo029 :   ยาวๆนี้แหละค่ะ พี่ชอบ  ได้ความรู้ดี 55555
ถ้าเป็นวิชาการโอเค ต้องยึดไว้ความยาว : emo036 :

ฟังเพื่ออเมริกัน เล่าให้ฟังว่า เดี๋ยวนี้คนอเมริกันจะไม่อ่านบทความยาวๆ กันแล้ว  หากใครรักจะเขียนบทความ ต้องทำให้จบแบบมีเนื้อหาสาระ
เสร็จสรรพ ภายใน 1 หน้า A4 ครับ  เพราะยุคนี้มันมีข้อมูลต้องอ่านเยอะ ครับ : emo027 :
ก็จริง..  : xemo016 :
guzz
โพสต์: 80
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 19, 2010 12:31 pm

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 3:26 pm

สวยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
แต่คนเยอะจัง  : emo073 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
yack
โพสต์: 816
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 11, 2008 11:01 am

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 3:42 pm

ขอบคุณครับคุณเจน  : xemo026 :

น่าไปมากมาย เเต่ก็อย่างว่าละ อีกนานไหมน่าจะได้ตะลุยโลกภายนอกเเบบเต็มตัวสียที  : emo031 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
Slave of God
โพสต์: 336
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 02, 2008 10:47 pm

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 3:43 pm

สาธุการพระเจ้าสูงสุด 
satoshi_b1
โพสต์: 291
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.พ. 14, 2009 1:34 pm

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 6:14 pm

สง่างามมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
เจนจิรา
โพสต์: 1168
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ธ.ค. 21, 2008 12:13 am

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 10:20 pm

เริ่มต้นทำงานใหม่ๆ สถานที่ใหม่ๆ สิ่งแวดล้อม ใหม่ๆ มักทำให้รู้สึกกังวลใน การปรับตัวเสมอ ยิ่ง งาน มีการแข่งขันกันสูง นั้น เป็นธรรมดา ย่อม เกิดความ เครียดและ ท้อแท้ ได้ง่าย
วันนี้อยากมาเล่า วิธีในการจัดการ ตัวเอง และ ทำงานวัน นั้นให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งๆ ขึ้นไป

1 ก่อนออกจากบ้าน ให้สวด ภาวนาสักบท หนึ่ง

2  อธิฐานก่อนการทำงาน โดยการสงบใจ สักพัก

3  ให้ร้อง เพลงในใจที่ เกี่ยวกับพระเจ้า สักหนึ่งเพลง ขณะทำงาน

ต่อจากนนั้น จะรู้สึกว่า ดีขึ้น จริงๆ นะ  : xemo028 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
เจนจิรา
โพสต์: 1168
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ธ.ค. 21, 2008 12:13 am

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 10:49 pm

    นแดนล้านนา หมายถึง อาณาบริเวณที่ประกอบด้วยเมืองกลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติหรือทางวัฒนธรรม  ในอดีต รัฐโบราณไม่มีอาณาเขตชัดเจน แต่ในสมัยที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง เคยมีอิทธิพลแผ่ออกไปอย่างกว้างขวาง ไปถึงดินแดนเชียงรุ่ง สิบสองพันนา และรัฐชานตอนใต้ 
    สำหรับดินแดนที่สำคัญของล้านนาอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อย แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเมืองล้านนาตะวันตก ซึ่งเป็นแกนสำคัญมี เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา เมืองด้านล้านนาตะวันตกนี้มีความสัมพันธ์ ร่วมกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น
    ส่วนกลุ่มล้านนาตะวันออก มีเมืองแพร่และเมืองน่าน ทั้งสองเมืองมีประวัติความเป็นมาคล้ายกันคือ ในสมัยแรกเริ่ม ต่างมีฐานะเป็นรัฐอิสระ มีราชวงศ์ของตนเอง มีความใกล้ชิดกับ อาณาจักรสุโขทัย และรัฐอาณาจักรล้านนา เพิ่งผนวกเอา ดินแดนแพร่และน่านได้ในสมัยพระเจ้าติโลกราชและอยู่ในอาณาจักรล้านนาได้ไม่ นานนัก อาณาจักรล้านนาก็ล่มสลายลง ในสมัยพม่าปกครองก็ใช้วิธีแบ่งแยกเมืองต่าง ๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว การศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา จึงมีศูนย์กลางการ ศึกษาอยู่ที่เชียงใหม่ เมืองหลวงแห่งล้านนา ส่วนเมืองแพร่และน่านมีการกล่าวพาดพิงไปถึงบ้าง

การก่อรูปอาณาจักรล้านนาเริ่มในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อสถาปนานครเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘๓๙ นับถึงปัจจุบันเชียงใหม่มีอายุกว่า ๗๐๐ ปี แล้ว การศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาตามพัฒนาการแบ่งได้ดังนี้

  1. สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ
  2. สมัยรัฐอาณาจักร (ยุคสร้างอาณาจักร ยุครุ่งเรือง และการล่มสลายของอาณาจักรล้านนา)
  3. สมัยพม่าปกครอง
  4. สมัยเป็นเมืองประเทศราช และรวมเข้าเป็นจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย

    * สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ

        ก่อนกำเนิดอาณาจักรล้านนาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดินแดนล้านนามีรัฐต่าง ๆ กระจายตามที่ราบระหว่างหุบเขาในภาคเหนือ เช่น แคว้นหริภุญไชยในเขตแม่น้ำปิงตอนบน แคว้นโยนหรือโยนกในเขตที่ราบลุ่มน้ำกก เขลางนครในเขตลุ่มน้ำวัง เมืองแพร่ในเขตลุ่มน้ำยม เมืองปัวในเขตลุ่มน้ำน่าน และเมืองพะเยาในเขตลุ่มน้ำอิง แว่นแคว้น-นครรัฐแต่ละแห่งมีลักษณะการตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ตามที่ราบระหว่างหุบเขา โดยมีเทือกเขาปิดล้อม จากการตั้งถิ่นฐานมาช้านานของรัฐใหญ่น้อยต่าง ๆ ก่อนกำเนิดอาณาจักรล้านนา ทำให้แต่ละรัฐต่างมีประวัติศาสตร์เป็นของตนเอง แคว้นหริภุญไชย ในเขตชุมชน ที่ราบลุ่มน้ำปิงตอนบน เป็นดินแดนที่พัฒนาความเจริญได้ก่อนชุมชนอื่น ๆ ในล้านนา เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมมาตั้งแต่ต้นพุทธศตรรษที่ ๑๔ ความเจริญของหริภุญไชยเป็นพื้นฐานของอาณาจักรล้านนาที่จะก่อรูปเป็นรัฐอาณาจักร ก่อนกำเนิดรัฐหริภุญไช ในบริเวณแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนมีพัฒนาการเป็นรัฐขนาดเล็กหรือรัฐชนเผ่าเกิดขึ้นแล้ว พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าโบราณ ๒ กลุ่มคือ ลัวะและเม็ง



    * ล้านนาสมัยรัฐอาณาจักร

        สมัยราชวงศ์มังราย พ.ศ.๑๘๐๔-๒๑๐๑ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดินแดนล้านนาได้พัฒนาการการปกครอง จากแว่นแคว้น-นครรัฐมาสู่รัฐแบบอาณาจักร มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง
        รัฐแบบอาณาจักรสถาปนาอำนาจโดยรวบรวมแว่นแคว้น-นครรัฐมาไว้ด้วยกัน ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือการสลายตัวของรัฐโบราณที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน ดังเช่น กัมพูชา ทวารวดี หริภุญไชย และพุกาม การเสื่อมสลายของรัฐโบราณเปิดโอกาสให้เกิดการสถาปนาอาณาจักรใหม่ ของชนชาติไทยที่ผู้นำใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทย
        อาณาจักรใหม่ที่เกิดในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ที่สำคัญคือ ล้านนา สุโขทัย และอยุธยา อาณาจักรทั้งสามมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนิกายลังกาวงศ์เช่นเดียวกัน ความเชื่อดังกล่าวสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการแข่งสร้างบุญบารมีของกษัตริย์ จึงนำไปสู่การทำสงครามระหว่างอาณาจักร รัฐสุโขทัยสลายลงก่อน โดยถูกผนวกกับอยุธยา หลังจากนั้น สงครามระหว่างอยุธยาและล้านนามีอย่างต่อเนื่อง สงครามครั้งสำคัญอยู่ใน สมัยของ พระเจ้าติโลกราช และพระบรมไตรโลกนาถ ประวัติศาสตร์ล้านนาในสมัยรัฐอาณาจักรแบ่งตามพัฒนาการ เป็น ๓ สมัย คือ สมัยสร้างอาณาจักร สมัยอาณาจักรเจริญรุ่งเรือง สมัยเสื่อมและการล่มสลาย (รายละเอียด)

    * ล้านนาสมัยพม่าปกครอง (พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗)

        นับเป็นยุคแห่งความอ่อนแอของล้านนา ในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่พม่าปกครอง แต่จะมีบางช่วง ที่อยุธยายกทัพ ขึ้นมายึดเชียงใหม่ได้ เช่น สมัยพระนเรศวรและสมัยพระนารายณ์ นอกจากนั้นมีบางช่วงที่เชียงใหม่ และเมืองต่าง ๆ แยกเป็นรัฐอิสระ เช่น ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เนื่องจากเป็นช่วงที่พม่า ประสบปัญหา การเมืองภายใน เมื่อพม่าแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้วจะยกทัพมาปราบล้านนา ดังนั้นอำนาจพม่าในล้านนาจึงไม่สม่ำเสมอ ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง(พ.ศ.๒๑๐๑) จนถึง พ.ศ.๒๓๑๗ สมัยพระเจ้าตากสิน ล้านนาจึงตกเป็นเมืองประเทศราชสยาม ล้านนาในสมัยพม่าปกครองเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานถึง ๒๑๖ ปี นโยบายของพม่าที่ปกครองล้านนาได้ปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขการเมืองภายในของพม่าและ ปรับตามสภาพการเมืองในท้องถิ่นล้านนา

    * ล้านนาสมัยเป็นเมืองประเทศราชของไทย (พ.ศ. ๒๓๑๗-๒๔๒๗)

        หลังจากเสร็จสงครามขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ พ.ศ.๒๓๑๗ แล้ว พระเจ้าตากสิน ทรงตอบแทนความดีความชอบ โดยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระญาจ่าบ้าน(บุญมา) เป็นพระยาวิเชียรปราการครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิละครองเมืองลำปาง และทรงมอบอาญาสิทธิ์แก่เจ้าเมืองทั้งสองให้ปกครองบ้านเมืองตามธรรมเนียมเดิมของล้านนา
        อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยธนบุรี พม่ายังคงพยายามกลับมายึดเชียงใหม่อีกหลายครั้ง ซึ่งพระญาจ่าบ้าน ป้องกันเมืองเชียงใหม่อย่างเข้มแข็ง แต่ด้วยผู้คนมีอยู่น้อยและกำลังอดอยาก จึงต้องถอยไปตั้งมั่นที่ท่าวังพร้าวและลำปาง จากนั้นจึงกลับไปที่เชียงใหม่เมื่อพม่ายกทัพกลับ การณ์เป็นไปในเช่นนี้ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อพระญาจ่าบ้านเสียชีวิตลง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน
        พระเจ้ากาวิละเริ่มตั้งมั่นที่เวียงป่าซางในพ.ศ. ๒๓๒๕ ก่อน จากนั้นจึงเข้าตั้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๓๓๙ ซึ่งเป็นปีที่เชียงใหม่มีอายุครบ 500 ปี อิทธิพลของพม่าในล้านนาถือว่าได้สิ้นสุดลงในสงครามขับไล่พม่า พงศ. ๒๓๔๗ โดยกองทัพชาวล้านนาร่วมกับกองทัพไทยยกไปตีเมืองเชียงแสนที่มั่นของพม่าได้สำเร็จ
        พระเจ้ากาวิละจึงได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่โดยรวบรวมพลเมืองเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการกวาดต้อนชาวเมืองที่หลบหนีเข้าป่า และกวาดต้อนผู้คนจากสิบสองพันนาและรัฐชานมาเชียงใหม่ เชียงใหม่จึงพ้นจากสภาพเมืองร้างและยังได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง จากนั้นพระเจ้ากาวิละ ได้ฟื้นฟูเชียงใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ราชประเพณี โดยกระทำพิธีราชาภิเษกสถาปนาราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนในลักษณะ เดียวกับราชวงศ์มังราย การสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ การสร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือก และการทำนุบำรุงพุทธศาสนา เป็นต้น เชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละจึงมีความเจริญมั่นคงเป็นปึกแผ่น และเป็นศูนย์กลางของล้านนาที่เข้มแข็ง
        หลัง จากสมัยพระเจ้ากาวิละแล้วก็มีเจ้าเมืองปกครองต่อมา รวมทั้งสิ้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน มี ๙ องค์ นโยบายและวิธีการปกครองดินแดนหัวเมืองประเทศราชล้านนา ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่านมีลักษณะระมัดระวัง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ล้านนาเคยอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ถึงสองร้อยกว่าปีย่อมมีความใกล้ชิดกับพม่ามาก รัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ เกรงว่าล้านนาจะหันกลับไปหาพม่า และในขณะเดียวกันพม่าก็พยายามแย่งชิงล้านนากลับคืนไปอีก รัฐบาลกลางจึงปกครองล้านนา โดยไม่เข้าไปกดขี่อย่างที่พม่าเคยทำกับล้านนา แต่กลับใช้วิธีการปกครองแบบผูกใจเจ้านายเมืองเหนือ โดยยอมผ่อนผันให้เจ้าเมืองมีอิสระในการปกครองภายใน เศรษฐกิจ การศาล การต่างประเทศ และขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนยกย่องให้เกียรติแก่เจ้าเมืองในโอกาสอันควร
        การเปลี่ยนแปลงในรูปที่รัฐบาลต้องเข้าไปควบคุมกิจการภายในหัวเมืองประเทศราชล้านนามากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งในที่สุดก็ผนวกเอาล้านนาเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นยุคแห่งการปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก ด้านการปกครองหัวเมือง มีการยกเลิกระบบการปกครอง เมืองประเทศราช ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาช้านาน โดยจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นแทน มีข้าหลวงเทศาภิบาลซึ่งรัฐบาลกรุงเทพฯส่งไปปกครองและขึ้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย ระบบมณฑลเทศาภิบาลที่จัดตั้งขึ้นจึงเป็นการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติรัฐซึ่งมีอำนาจรวมศูนย์ ที่องค์พระมหากษัตริย์
        การ รวมหัวเมืองประเทศราชล้านนาเข้ากับส่วนกลาง รัฐบาลกลางวางเป้าหมายของการปฏิรูปการปกครองเพื่อสร้างเอกภาพแห่งชาติ ซึ่งมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจเพียงแห่งเดียว การดำเนินการต้องกระทำ ๒ ประการ คือ
        ประการแรก ยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราชที่เป็นมาแต่เดิม โดยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ส่งข้าหลวงมาปกครอง ขณะเดียวกันก็พยายามยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองเสีย โดยรัฐบาลกลาง ริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในที่สุดตำแหน่งเจ้าเมืองก็สลายตัวไป
        ประการที่สอง การผสมกลมกลืนชาวล้านนาให้มีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทยเช่นเดียวกับ พลเรือนส่วนใหญ่ของประเทศ คือให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนในชาติ ซึ่งแต่เดิมมีความรู้สึกแบ่งแยกเป็นคนละพวก คนทางใต้เข้าใจว่าชาวล้านนาเป็นลาว ไม่ใช่ไทย รัฐบาลกลางใช้วิธีจัดการปฏิรูปการศึกษาโดยจัดระบบโรงเรียนหนังสือไทยแทนการเรียนอักษรพื้นเมืองในวัด และกำหนดให้กุลบุตรกุลธิดาต้องศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย ซึ่งประสบผลสำเร็จ ชาวเชียงใหม่และล้านนาต่างถูกผสมกลมกลืนจนมีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทย การดำเนินการ มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการปกครอง การศาล การภาษีอากร การคลัง การศึกษา การสาธารณสุขและอื่น ๆ โดยจัดเป็นระบบเดียวกับกรุงเทพฯ ในทุกด้าน
        ระหว่างการปฏิรูปการปกครอง ในช่วง ก่อนจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ.๒๔๒๗-๒๔๔๒) ตรงกับสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๓๙) ซึ่งนับว่าเป็นเจ้าเมืององค์สุดท้ายที่มีอำนาจปกครองบ้านเมือง เพราะเป็นช่วงแรกของการดำเนินงานรัฐบาลกลางมีนโยบายไม่ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองในทันที ยังคงใช้ดำรงตำแหน่งอย่างมีเกียรติ แต่ขณะเดียวกันก็พยายามลดอำนาจและผลประโยชน์ทีละน้อย รัฐบาลกลางได้ส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาจัดการปกครองในเมืองเชียงใหม่ ในลักษณะที่ร่วมกันปกครองกับเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลาน โดยที่ข้าหลวงพยายามแทรกอำนาจลงไปแทนที่ ส่วนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งได้แก่รายได้จากการเก็บภาษีอากรส่วนหนึ่งต้องส่งกรุงเทพฯ นอกจากนั้น ป่าไม้ซึ่งแต่เดิมเป็นของเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานได้ถูกโอนเป็นของรัฐใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ซึ่งเป็นช่วงก่อนการพิราลัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และหลังจากสิ้นสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์แล้ว รัฐบาลกลางให้เจ้าอุปราชรั้งเมืองอยู่หลายปี จนกระทั่งเห็นว่าให้ความร่วมมือกับรัฐบาลกลางดี จึงมีการแต่งตั้งให้เจ้าอุปราชเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๕๒)
        เมืองเชียงใหม่เติบโตอย่างมากหลังจากนโยบายเมืองหลัก โดยเฉพาะตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นต้นมา และเจริญเติบโตแตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ

ลัวะ และ เม็ง

        ลัวะ ชาวพื้นเมืองในกลุ่มมอญเขมร ตั้งถิ่นฐานกระจายทั่วไปในภาคเหนือเลยไปถึงเมืองเชียงตุง เมืองยองและ หุบเขาต่าง ๆ ชนเผ่าลัวะมีหลายเผ่า และมีระดับความเจริญแตกต่างกันมาก
        พวกที่อยู่บริเวณใกล้ที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีการคมนาคมสะดวกจะวิวัฒน์ได้เร็วกว่าพวกที่อยู่ในเขตป่าเขา ชนเผ่าลัวะในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน เป็นชนเก่าแก่ อยู่มาช้านานก่อนที่ชนกลุ่มอื่นจะเข้ามา ในตำนานล้านนากล่าวถึงบริเวณเชิงดอยสุเทพเป็นศูนย์กลางของชนเผ่าลัวะ ชนลัวะจะนับถือดอยสุเทพ เพราะเป็นที่สิงสถิตของผีปู่แสะย่าแสะผีบรรพบุรุษของชาวลัวะ ชาวลัวะนับถือผีปู่แสะย่าแสะ ผู้พิทักษ์ดอยสุเทพ และรักษาเมืองเชียงใหม่ จึงมีพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะเป็นประจำทุกปี ร่องรอยความเชื่อนี้ยังมีสืบมา
        ชนเผ่าลัวะในเขตที่ราบลุ่มน้ำปิงมีความเจริญในระดับก่อร ูปเป็น รัฐเล็ก ๆ ลักษณะทางสังคมมีความแตกต่าง ระหว่างชนชั้น คือแบ่งคนออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มสามัญชนหรือไพร่ กลุ่มผู้ปกครองมีหัวหน้าเผ่า ที่สืบเชื้อสายกันต่อมาเรียกว่า ซะมัง เรื่องราวการแตกสลายของชนเผ่าลัวะเป็นผลมาจากการขยายความเจริญรุ่งเรืองจาก เมืองละโว้มาสู่การสร้างเมืองหริภุญไชย พระนางจามเทวีเสด็จมาครองเมืองหริภุญไชยในบริเวณอิทธิพลของชนเผ่าลัวะ จึงเกิดความขัดแย้ง ระหว่างพระนางจามเทวีกับขุนหลวงวิลังคะ ผลจากการต่อสู้ ขุนหลวงวิลังคะพ่ายแพ้ รัฐชนเผ่า ลัวะเชิงดอยสุเทพ สลายลง สันนิษฐานกันว่า ชนเผ่าลัวะคงกระจัดกระจายไปตามป่าเขาและต่างที่ต่าง ๆ รัฐชนเผ่าลัวะ ยังคงมีในบริเวณชายขอบของแคว้นหริภุญไชย
        เม็ง ชาติพันธุ์มอญโบราณที่ตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือมาช้านานแล้ว เป็นกลุ่มเดียวกับมอญในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลักษณะการตั้งถิ่นฐานมักกระจายอยู่ตามที่ราบลุ่มน้ำปิง จึงพบคำเก่าแก่เรียกแม่น้ำปิงว่า แม่ระมิง หรือแม่น้ำเม็ง หมายถึงแม่น้ำที่มีชาวเม็งอาศัยอยู่
        เม็งและลัวะเป็นชนเผ่าโบราณที่เคยอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำปิงด้วยกัน เม็ง มีปริมาณประชากรน้อยกว่าลัวะ ลัวะและเม็งมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ไม่ใกล้ชิดกัน แต่ก็ยอมรับความเป็นชนต่างชาติพันธุ์ เม็งค่อย ๆ หายไปจากดินแดนล้านนา คงเหลือร่องรอยหมู่บ้านเม็งเก่าแก่ไม่กี่แห่ง เพราะได้รับการผสมกลมกลืนให้เป็นคนไทยเช่นเดียวกับชนเผ่าลัวะและชนเผ่าอื่น ๆ

รูปภาพ

รูปเจ้านาง สุคนธา

รูปภาพ

หอคำ ที่อยู่ของ บรรดา เจ้า
รูปภาพ


รูปภาพ
naitamcm

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:07 pm

เจนจิรา เขียน:     นแดนล้านนา หมายถึง อาณาบริเวณที่ประกอบด้วยเมืองกลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติหรือทางวัฒนธรรม  ในอดีต รัฐโบราณไม่มีอาณาเขตชัดเจน แต่ในสมัยที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง เคยมีอิทธิพลแผ่ออกไปอย่างกว้างขวาง ไปถึงดินแดนเชียงรุ่ง สิบสองพันนา และรัฐชานตอนใต้ 
    สำหรับดินแดนที่สำคัญของล้านนาอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อย แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเมืองล้านนาตะวันตก ซึ่งเป็นแกนสำคัญมี เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา เมืองด้านล้านนาตะวันตกนี้มีความสัมพันธ์ ร่วมกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น
    ส่วนกลุ่มล้านนาตะวันออก มีเมืองแพร่และเมืองน่าน ทั้งสองเมืองมีประวัติความเป็นมาคล้ายกันคือ ในสมัยแรกเริ่ม ต่างมีฐานะเป็นรัฐอิสระ มีราชวงศ์ของตนเอง มีความใกล้ชิดกับ อาณาจักรสุโขทัย และรัฐอาณาจักรล้านนา เพิ่งผนวกเอา ดินแดนแพร่และน่านได้ในสมัยพระเจ้าติโลกราชและอยู่ในอาณาจักรล้านนาได้ไม่ นานนัก อาณาจักรล้านนาก็ล่มสลายลง ในสมัยพม่าปกครองก็ใช้วิธีแบ่งแยกเมืองต่าง ๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว การศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา จึงมีศูนย์กลางการ ศึกษาอยู่ที่เชียงใหม่ เมืองหลวงแห่งล้านนา ส่วนเมืองแพร่และน่านมีการกล่าวพาดพิงไปถึงบ้าง

การก่อรูปอาณาจักรล้านนาเริ่มในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อสถาปนานครเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘๓๙ นับถึงปัจจุบันเชียงใหม่มีอายุกว่า ๗๐๐ ปี แล้ว การศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาตามพัฒนาการแบ่งได้ดังนี้

   1. สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ
   2. สมัยรัฐอาณาจักร (ยุคสร้างอาณาจักร ยุครุ่งเรือง และการล่มสลายของอาณาจักรล้านนา)
   3. สมัยพม่าปกครอง
   4. สมัยเป็นเมืองประเทศราช และรวมเข้าเป็นจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย

    * สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ

        ก่อนกำเนิดอาณาจักรล้านนาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดินแดนล้านนามีรัฐต่าง ๆ กระจายตามที่ราบระหว่างหุบเขาในภาคเหนือ เช่น แคว้นหริภุญไชยในเขตแม่น้ำปิงตอนบน แคว้นโยนหรือโยนกในเขตที่ราบลุ่มน้ำกก เขลางนครในเขตลุ่มน้ำวัง เมืองแพร่ในเขตลุ่มน้ำยม เมืองปัวในเขตลุ่มน้ำน่าน และเมืองพะเยาในเขตลุ่มน้ำอิง แว่นแคว้น-นครรัฐแต่ละแห่งมีลักษณะการตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ตามที่ราบระหว่างหุบเขา โดยมีเทือกเขาปิดล้อม จากการตั้งถิ่นฐานมาช้านานของรัฐใหญ่น้อยต่าง ๆ ก่อนกำเนิดอาณาจักรล้านนา ทำให้แต่ละรัฐต่างมีประวัติศาสตร์เป็นของตนเอง แคว้นหริภุญไชย ในเขตชุมชน ที่ราบลุ่มน้ำปิงตอนบน เป็นดินแดนที่พัฒนาความเจริญได้ก่อนชุมชนอื่น ๆ ในล้านนา เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมมาตั้งแต่ต้นพุทธศตรรษที่ ๑๔ ความเจริญของหริภุญไชยเป็นพื้นฐานของอาณาจักรล้านนาที่จะก่อรูปเป็นรัฐอาณาจักร ก่อนกำเนิดรัฐหริภุญไช ในบริเวณแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนมีพัฒนาการเป็นรัฐขนาดเล็กหรือรัฐชนเผ่าเกิดขึ้นแล้ว พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าโบราณ ๒ กลุ่มคือ ลัวะและเม็ง



    * ล้านนาสมัยรัฐอาณาจักร

        สมัยราชวงศ์มังราย พ.ศ.๑๘๐๔-๒๑๐๑ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดินแดนล้านนาได้พัฒนาการการปกครอง จากแว่นแคว้น-นครรัฐมาสู่รัฐแบบอาณาจักร มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง
        รัฐแบบอาณาจักรสถาปนาอำนาจโดยรวบรวมแว่นแคว้น-นครรัฐมาไว้ด้วยกัน ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือการสลายตัวของรัฐโบราณที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน ดังเช่น กัมพูชา ทวารวดี หริภุญไชย และพุกาม การเสื่อมสลายของรัฐโบราณเปิดโอกาสให้เกิดการสถาปนาอาณาจักรใหม่ ของชนชาติไทยที่ผู้นำใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทย
        อาณาจักรใหม่ที่เกิดในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ที่สำคัญคือ ล้านนา สุโขทัย และอยุธยา อาณาจักรทั้งสามมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนิกายลังกาวงศ์เช่นเดียวกัน ความเชื่อดังกล่าวสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการแข่งสร้างบุญบารมีของกษัตริย์ จึงนำไปสู่การทำสงครามระหว่างอาณาจักร รัฐสุโขทัยสลายลงก่อน โดยถูกผนวกกับอยุธยา หลังจากนั้น สงครามระหว่างอยุธยาและล้านนามีอย่างต่อเนื่อง สงครามครั้งสำคัญอยู่ใน สมัยของ พระเจ้าติโลกราช และพระบรมไตรโลกนาถ ประวัติศาสตร์ล้านนาในสมัยรัฐอาณาจักรแบ่งตามพัฒนาการ เป็น ๓ สมัย คือ สมัยสร้างอาณาจักร สมัยอาณาจักรเจริญรุ่งเรือง สมัยเสื่อมและการล่มสลาย (รายละเอียด)

    * ล้านนาสมัยพม่าปกครอง (พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗)

        นับเป็นยุคแห่งความอ่อนแอของล้านนา ในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่พม่าปกครอง แต่จะมีบางช่วง ที่อยุธยายกทัพ ขึ้นมายึดเชียงใหม่ได้ เช่น สมัยพระนเรศวรและสมัยพระนารายณ์ นอกจากนั้นมีบางช่วงที่เชียงใหม่ และเมืองต่าง ๆ แยกเป็นรัฐอิสระ เช่น ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เนื่องจากเป็นช่วงที่พม่า ประสบปัญหา การเมืองภายใน เมื่อพม่าแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้วจะยกทัพมาปราบล้านนา ดังนั้นอำนาจพม่าในล้านนาจึงไม่สม่ำเสมอ ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง(พ.ศ.๒๑๐๑) จนถึง พ.ศ.๒๓๑๗ สมัยพระเจ้าตากสิน ล้านนาจึงตกเป็นเมืองประเทศราชสยาม ล้านนาในสมัยพม่าปกครองเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานถึง ๒๑๖ ปี นโยบายของพม่าที่ปกครองล้านนาได้ปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขการเมืองภายในของพม่าและ ปรับตามสภาพการเมืองในท้องถิ่นล้านนา

    * ล้านนาสมัยเป็นเมืองประเทศราชของไทย (พ.ศ. ๒๓๑๗-๒๔๒๗)

        หลังจากเสร็จสงครามขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ พ.ศ.๒๓๑๗ แล้ว พระเจ้าตากสิน ทรงตอบแทนความดีความชอบ โดยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระญาจ่าบ้าน(บุญมา) เป็นพระยาวิเชียรปราการครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิละครองเมืองลำปาง และทรงมอบอาญาสิทธิ์แก่เจ้าเมืองทั้งสองให้ปกครองบ้านเมืองตามธรรมเนียมเดิมของล้านนา
        อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยธนบุรี พม่ายังคงพยายามกลับมายึดเชียงใหม่อีกหลายครั้ง ซึ่งพระญาจ่าบ้าน ป้องกันเมืองเชียงใหม่อย่างเข้มแข็ง แต่ด้วยผู้คนมีอยู่น้อยและกำลังอดอยาก จึงต้องถอยไปตั้งมั่นที่ท่าวังพร้าวและลำปาง จากนั้นจึงกลับไปที่เชียงใหม่เมื่อพม่ายกทัพกลับ การณ์เป็นไปในเช่นนี้ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อพระญาจ่าบ้านเสียชีวิตลง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน
        พระเจ้ากาวิละเริ่มตั้งมั่นที่เวียงป่าซางในพ.ศ. ๒๓๒๕ ก่อน จากนั้นจึงเข้าตั้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๓๓๙ ซึ่งเป็นปีที่เชียงใหม่มีอายุครบ 500 ปี อิทธิพลของพม่าในล้านนาถือว่าได้สิ้นสุดลงในสงครามขับไล่พม่า พงศ. ๒๓๔๗ โดยกองทัพชาวล้านนาร่วมกับกองทัพไทยยกไปตีเมืองเชียงแสนที่มั่นของพม่าได้สำเร็จ
        พระเจ้ากาวิละจึงได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่โดยรวบรวมพลเมืองเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการกวาดต้อนชาวเมืองที่หลบหนีเข้าป่า และกวาดต้อนผู้คนจากสิบสองพันนาและรัฐชานมาเชียงใหม่ เชียงใหม่จึงพ้นจากสภาพเมืองร้างและยังได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง จากนั้นพระเจ้ากาวิละ ได้ฟื้นฟูเชียงใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ราชประเพณี โดยกระทำพิธีราชาภิเษกสถาปนาราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนในลักษณะ เดียวกับราชวงศ์มังราย การสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ การสร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือก และการทำนุบำรุงพุทธศาสนา เป็นต้น เชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละจึงมีความเจริญมั่นคงเป็นปึกแผ่น และเป็นศูนย์กลางของล้านนาที่เข้มแข็ง
        หลัง จากสมัยพระเจ้ากาวิละแล้วก็มีเจ้าเมืองปกครองต่อมา รวมทั้งสิ้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน มี ๙ องค์ นโยบายและวิธีการปกครองดินแดนหัวเมืองประเทศราชล้านนา ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่านมีลักษณะระมัดระวัง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ล้านนาเคยอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ถึงสองร้อยกว่าปีย่อมมีความใกล้ชิดกับพม่ามาก รัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ เกรงว่าล้านนาจะหันกลับไปหาพม่า และในขณะเดียวกันพม่าก็พยายามแย่งชิงล้านนากลับคืนไปอีก รัฐบาลกลางจึงปกครองล้านนา โดยไม่เข้าไปกดขี่อย่างที่พม่าเคยทำกับล้านนา แต่กลับใช้วิธีการปกครองแบบผูกใจเจ้านายเมืองเหนือ โดยยอมผ่อนผันให้เจ้าเมืองมีอิสระในการปกครองภายใน เศรษฐกิจ การศาล การต่างประเทศ และขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนยกย่องให้เกียรติแก่เจ้าเมืองในโอกาสอันควร
        การเปลี่ยนแปลงในรูปที่รัฐบาลต้องเข้าไปควบคุมกิจการภายในหัวเมืองประเทศราชล้านนามากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งในที่สุดก็ผนวกเอาล้านนาเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นยุคแห่งการปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก ด้านการปกครองหัวเมือง มีการยกเลิกระบบการปกครอง เมืองประเทศราช ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาช้านาน โดยจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นแทน มีข้าหลวงเทศาภิบาลซึ่งรัฐบาลกรุงเทพฯส่งไปปกครองและขึ้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย ระบบมณฑลเทศาภิบาลที่จัดตั้งขึ้นจึงเป็นการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติรัฐซึ่งมีอำนาจรวมศูนย์ ที่องค์พระมหากษัตริย์
        การ รวมหัวเมืองประเทศราชล้านนาเข้ากับส่วนกลาง รัฐบาลกลางวางเป้าหมายของการปฏิรูปการปกครองเพื่อสร้างเอกภาพแห่งชาติ ซึ่งมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจเพียงแห่งเดียว การดำเนินการต้องกระทำ ๒ ประการ คือ
        ประการแรก ยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราชที่เป็นมาแต่เดิม โดยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ส่งข้าหลวงมาปกครอง ขณะเดียวกันก็พยายามยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองเสีย โดยรัฐบาลกลาง ริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในที่สุดตำแหน่งเจ้าเมืองก็สลายตัวไป
        ประการที่สอง การผสมกลมกลืนชาวล้านนาให้มีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทยเช่นเดียวกับ พลเรือนส่วนใหญ่ของประเทศ คือให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนในชาติ ซึ่งแต่เดิมมีความรู้สึกแบ่งแยกเป็นคนละพวก คนทางใต้เข้าใจว่าชาวล้านนาเป็นลาว ไม่ใช่ไทย รัฐบาลกลางใช้วิธีจัดการปฏิรูปการศึกษาโดยจัดระบบโรงเรียนหนังสือไทยแทนการเรียนอักษรพื้นเมืองในวัด และกำหนดให้กุลบุตรกุลธิดาต้องศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย ซึ่งประสบผลสำเร็จ ชาวเชียงใหม่และล้านนาต่างถูกผสมกลมกลืนจนมีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทย การดำเนินการ มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการปกครอง การศาล การภาษีอากร การคลัง การศึกษา การสาธารณสุขและอื่น ๆ โดยจัดเป็นระบบเดียวกับกรุงเทพฯ ในทุกด้าน
        ระหว่างการปฏิรูปการปกครอง ในช่วง ก่อนจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ.๒๔๒๗-๒๔๔๒) ตรงกับสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๓๙) ซึ่งนับว่าเป็นเจ้าเมืององค์สุดท้ายที่มีอำนาจปกครองบ้านเมือง เพราะเป็นช่วงแรกของการดำเนินงานรัฐบาลกลางมีนโยบายไม่ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองในทันที ยังคงใช้ดำรงตำแหน่งอย่างมีเกียรติ แต่ขณะเดียวกันก็พยายามลดอำนาจและผลประโยชน์ทีละน้อย รัฐบาลกลางได้ส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาจัดการปกครองในเมืองเชียงใหม่ ในลักษณะที่ร่วมกันปกครองกับเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลาน โดยที่ข้าหลวงพยายามแทรกอำนาจลงไปแทนที่ ส่วนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งได้แก่รายได้จากการเก็บภาษีอากรส่วนหนึ่งต้องส่งกรุงเทพฯ นอกจากนั้น ป่าไม้ซึ่งแต่เดิมเป็นของเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานได้ถูกโอนเป็นของรัฐใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ซึ่งเป็นช่วงก่อนการพิราลัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และหลังจากสิ้นสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์แล้ว รัฐบาลกลางให้เจ้าอุปราชรั้งเมืองอยู่หลายปี จนกระทั่งเห็นว่าให้ความร่วมมือกับรัฐบาลกลางดี จึงมีการแต่งตั้งให้เจ้าอุปราชเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๕๒)
        เมืองเชียงใหม่เติบโตอย่างมากหลังจากนโยบายเมืองหลัก โดยเฉพาะตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นต้นมา และเจริญเติบโตแตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ

ลัวะ และ เม็ง

        ลัวะ ชาวพื้นเมืองในกลุ่มมอญเขมร ตั้งถิ่นฐานกระจายทั่วไปในภาคเหนือเลยไปถึงเมืองเชียงตุง เมืองยองและ หุบเขาต่าง ๆ ชนเผ่าลัวะมีหลายเผ่า และมีระดับความเจริญแตกต่างกันมาก
        พวกที่อยู่บริเวณใกล้ที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีการคมนาคมสะดวกจะวิวัฒน์ได้เร็วกว่าพวกที่อยู่ในเขตป่าเขา ชนเผ่าลัวะในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน เป็นชนเก่าแก่ อยู่มาช้านานก่อนที่ชนกลุ่มอื่นจะเข้ามา ในตำนานล้านนากล่าวถึงบริเวณเชิงดอยสุเทพเป็นศูนย์กลางของชนเผ่าลัวะ ชนลัวะจะนับถือดอยสุเทพ เพราะเป็นที่สิงสถิตของผีปู่แสะย่าแสะผีบรรพบุรุษของชาวลัวะ ชาวลัวะนับถือผีปู่แสะย่าแสะ ผู้พิทักษ์ดอยสุเทพ และรักษาเมืองเชียงใหม่ จึงมีพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะเป็นประจำทุกปี ร่องรอยความเชื่อนี้ยังมีสืบมา
        ชนเผ่าลัวะในเขตที่ราบลุ่มน้ำปิงมีความเจริญในระดับก่อร ูปเป็น รัฐเล็ก ๆ ลักษณะทางสังคมมีความแตกต่าง ระหว่างชนชั้น คือแบ่งคนออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มสามัญชนหรือไพร่ กลุ่มผู้ปกครองมีหัวหน้าเผ่า ที่สืบเชื้อสายกันต่อมาเรียกว่า ซะมัง เรื่องราวการแตกสลายของชนเผ่าลัวะเป็นผลมาจากการขยายความเจริญรุ่งเรืองจาก เมืองละโว้มาสู่การสร้างเมืองหริภุญไชย พระนางจามเทวีเสด็จมาครองเมืองหริภุญไชยในบริเวณอิทธิพลของชนเผ่าลัวะ จึงเกิดความขัดแย้ง ระหว่างพระนางจามเทวีกับขุนหลวงวิลังคะ ผลจากการต่อสู้ ขุนหลวงวิลังคะพ่ายแพ้ รัฐชนเผ่า ลัวะเชิงดอยสุเทพ สลายลง สันนิษฐานกันว่า ชนเผ่าลัวะคงกระจัดกระจายไปตามป่าเขาและต่างที่ต่าง ๆ รัฐชนเผ่าลัวะ ยังคงมีในบริเวณชายขอบของแคว้นหริภุญไชย
        เม็ง ชาติพันธุ์มอญโบราณที่ตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือมาช้านานแล้ว เป็นกลุ่มเดียวกับมอญในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลักษณะการตั้งถิ่นฐานมักกระจายอยู่ตามที่ราบลุ่มน้ำปิง จึงพบคำเก่าแก่เรียกแม่น้ำปิงว่า แม่ระมิง หรือแม่น้ำเม็ง หมายถึงแม่น้ำที่มีชาวเม็งอาศัยอยู่
        เม็งและลัวะเป็นชนเผ่าโบราณที่เคยอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำปิงด้วยกัน เม็ง มีปริมาณประชากรน้อยกว่าลัวะ ลัวะและเม็งมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ไม่ใกล้ชิดกัน แต่ก็ยอมรับความเป็นชนต่างชาติพันธุ์ เม็งค่อย ๆ หายไปจากดินแดนล้านนา คงเหลือร่องรอยหมู่บ้านเม็งเก่าแก่ไม่กี่แห่ง เพราะได้รับการผสมกลมกลืนให้เป็นคนไทยเช่นเดียวกับชนเผ่าลัวะและชนเผ่าอื่น ๆ

รูปภาพ

รูปเจ้านาง สุคนธา

รูปภาพ

หอคำ ที่อยู่ของ บรรดา เจ้า
รูปภาพ


รูปภาพ
อ่านแล้วคิดถึง ท่านปู่ทวด ยายทวด ที่อุตส่าห์สืบทอดกันมา ... "ณ เชียงใหม่"
† † † Hiruma Ryuichi † † †
โพสต์: 605
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 3:19 pm
ที่อยู่: พเนจร
ติดต่อ:

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:11 pm

ไม่อยากให้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่งดงามต้องถูกกลืนหายไปโดยวัฒนธรรมกระแสหลัก(ไทย)หง่ะ  : emo034 :

โดยเฉพาะด้านภาษา ^ ^
† † † Hiruma Ryuichi † † †
โพสต์: 605
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 3:19 pm
ที่อยู่: พเนจร
ติดต่อ:

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:12 pm

ขอบคุงฮะ ^ ^

ข้อสองทำบ่อย
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ministry Of Men
โพสต์: 3972
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 18, 2007 3:09 pm

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:14 pm

1 กับ 3 ทำบ่อย
แต่ข้อ 2 นี่ นานน๊านนนนนนนนนน ที

แต่ข้อ 3 นี่ เพลงมันฝังรึกในใจจริงๆ
บางทีชอบฝันถึงเพลง -*-
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ministry Of Men
โพสต์: 3972
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 18, 2007 3:09 pm

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:15 pm

ยังไงตอนนี้เราคือคนไทยแล้วนะครับ

^ ^

และผมอยากพูดภาษาชาวเหนือเป็น... ตอนนี้ฟังอย่างเดียว (ยกเว้นตอนอ่าน อ่านแล้ว งงๆ)
naitamcm

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:21 pm

Ministry Of Men เขียน: ยังไงตอนนี้เราคือคนไทยแล้วนะครับ

^ ^

และผมอยากพูดภาษาชาวเหนือเป็น... ตอนนี้ฟังอย่างเดียว (ยกเว้นตอนอ่าน อ่านแล้ว งงๆ)


มะมาจะสอนหื้อ , บ่หล้าเหย , กำเมืองมันมีหลายต๋น หลายส๋ำเนียง ถ้าเอาแบบบ้านธิ ป่าเซ้า ป่าซาง หลำปูน ไปถาม Ewadirus , แต่ท่าจะเอาแบบละอ่อนบ้านก๋อย ดอยสะเก็ด หื้อไปหา อัครชีหลวง , แต่ถ้าเอาสำเนียงเจียงใหม่มาหาอ้ายนิ

ถ้ากำเมืองแต้ ๆ หนาาา คิงจะฟังบ่ฮู้สาน มันเมืองแต้ ๆ เหมือนเพลงจ้างซอ , ฟังละเจ็บหัวเจ้าาาาา

ปล. ถ้าจะเอาไทยแปลตเมือง , อัครชีหลวง , ชีก่อเก่งอี้เต๊อะ อู้ไทยกำ เมืองกำ , ไปหาชีแระ

ก่าากกกกก ..
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ministry Of Men
โพสต์: 3972
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 18, 2007 3:09 pm

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:24 pm

: emo102 : : emo102 : : emo102 :

อยากพูดแบบเจียงใหม่เป็น.. แต่กลัวคนสอน  : xemo033 : 555+

พี่แทมยังไม่มีทายาท เอาผมเป็นลูกมั้ยครับ เดี๋ยวจะดูแลทุกอย่างต่ออย่างดี  : emo056 :  (ลูกนะครับ ลูกๆๆๆ)  : xemo029 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
sasuke
~@
โพสต์: 1120
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ธ.ค. 06, 2006 12:00 am
ที่อยู่: ใต้เสื้อคลุมของแม่

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:25 pm

† † †  Ʀƴʉʉϊƈƕ  † † † เขียน: ไม่อยากให้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่งดงามต้องถูกกลืนหายไปโดยวัฒนธรรมกระแสหลัก(ไทย)หง่ะ  : emo034 :

โดยเฉพาะด้านภาษา ^ ^
วัฒนธรรม คือ ธรรมที่วัฒนะ ก็คือสิ่งที่สังคมเห็นดีเห็นงามเห็นชอบ และสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลาและยุคสมัย
ฉะนั้น อย่าได้ยึดติดมาก เพราะเป้าหมายที่แท้จริงของภาษาคือเพื่อใช้สื่อสาร ถ้าฟังกันรู้เรื่องก็บรรลุเป้าหมายของภาษาแล้ว
บรรทัดฐานของสังคมเปลี่ยนได้ มุมมองและความคิดของคนในสังคมก็เปลี่ยนได้ วัฒนธรรมจึงต้องเปลี่ยนแปลงตามสภาพสังคมครับ
† † † Hiruma Ryuichi † † †
โพสต์: 605
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 3:19 pm
ที่อยู่: พเนจร
ติดต่อ:

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:26 pm

Ministry Of Men เขียน: : emo102 : : emo102 : : emo102 :

อยากพูดแบบเจียงใหม่เป็น.. แต่กลัวคนสอน  : xemo033 : 555+

พี่แทมยังไม่มีทายาท เอาผมเป็นลูกมั้ยครับ เดี๋ยวจะดูแลทุกอย่างต่ออย่างดี  : emo056 :  (ลูกนะครับ ลูกๆๆๆ)  : xemo029 :
เลี้ยงเป็นเด็กในเนส

ลูกเหมือนกัน

-w-  : xemo016 :
Jesus loves You
โพสต์: 740
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.ค. 12, 2009 11:36 pm

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:28 pm

ขอบ คุณ ที่นำ มาแบ่งปัน ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เจนจิรา
โพสต์: 1168
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ธ.ค. 21, 2008 12:13 am

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:28 pm

ตอนนั้น พระนางวิคตอเรีย  จะมาขอ เจ้าดารารัสมี ไปเป็นลูกบุญทำ และทำให้ ล้านนา กลายเป็นรัฐแบบ มาเลเซีย โดยเราจะได้เชียงตุง และเชียงรุ้งคืนและแล้วก็ เพราะ .........
Nguyễn อ่านว่าเงวี๊ยน
โพสต์: 34
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ธ.ค. 13, 2009 7:59 pm

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:38 pm

ขอโทษทีที่ผมทนไม่ไหวแล้ว

แม็กหรือแมวเทาห้ามแล้ว แต่ผมขอทีเหอะ



จะผิดไหมหากผมจะตั้งกระทู้มาบ้าง



ลังกาสุกะ อาณาจักรที่ล่มสลาย
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรที่ล่มสลาย
สุโขทัย อาณาจักรที่ล่มสลาย


แมนจูกัว(หม่านจู้กว๋อ) ประเทศที่โดนยุบรวมกับ "ฮั่น"ที่ขยันออกลูก



อย่าให้ผมมองคุณเป็น "พวกแบ่งแยกดินแดน"ไปมากกว่านี้เลย

สมัยนี้ไม่มีอยุยา ล้านนา ล้านช้าง ศรีวิชัยแล้ว
มีแต่คำว่า

ราชอาณาจักรไทย


หากยังคิดว่าตนเองเป็นคนไทยอยู่ หากยังรักพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9แห่งราชวงศ์จักรีอยู่

ผมขอเหอะครับ อย่าทำตัวแบ่งแยกดินแดนแบบนี้


เว้นเสียแต่ รังเกียจ"ไทย"มากขนาดที่ไม่ยอมรับความเป็น"ไทย"ของตนเอง
Nguyễn อ่านว่าเงวี๊ยน
โพสต์: 34
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ธ.ค. 13, 2009 7:59 pm

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:44 pm

ขอบอกว่าเสียความรู้สึกมากๆ

ผมออกมาจากยะลา สาเหตุหนึ่งนอกจากการมาเรียน

ก็เพราะผมเจอแนวคิด เชิดชู อาณาจักรลังกาสุกะ บ่มความเกลียดชังรัฐสยาม


อย่าให้ผมมองคุณและล้านนา ไม่ต่างจากพวก "ปูโล" "วะฮฺบียฺ" ไปมากกว่านี้เลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ministry Of Men
โพสต์: 3972
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 18, 2007 3:09 pm

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:48 pm

งงครับ  แต่พอเข้าใจ (ผมสอบประวัติศาสตร์ไทยผ่านมาได้ เพราะส่งงานครบ)

ภูมิใจในความเป็นไทยเถอะครับ
จะเกิดที่ไหนของไทย มันก็คือไทยในปัจจุบัน ถึงแม้อดีตจะเป็นอะไรก็เหอะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Immanuel (MichaelPaul)
~@
โพสต์: 2887
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 8:49 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:57 pm

หวังว่าคงร้องเพลงนี้เป็นนะครับ "ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทย..."

และเพลง
* รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย
จะเกิดภาคไหนก็ไทยด้วยกันเชื้อสายประเพณีไม่มีกีดกั้นเกิดใต้ธงไทยนั้นปวงชนทุกคนคือไทย
ท้องถิ่นแหลมทอง เหมือนท้องของแม่เกิดถิ่นเดียวกันแท้เหมือนแม่เดียวกันใช่ไหม
ยามฉันมองตาคุณ อบอุ่นดวงใจเห็นสายเลือดไทยในสายตาบอกสายสัมพันธ์
(*)ทะเลแสนงาม ในน้ำมีปลาพืชพันธุ์เกลื่อนตาตามไร่นารวงทองไสว
สินทรัพย์มีเกลื่อนกล่นบรรพชนให้ไว้เราลูกหลานไทยจงร่วมใจรักษาให้มั่น
(*)รักกันไว้เถิด รักกันไว้เถิด รักกันไว้เถิดแหลมทองโสภาด้วยบารมีปกเกล้าเราไทยนี้ร่มเย็นเป็นศรีผ่องใสใครคิดบังอาจหมิ่นถิ่นทององค์ไธ้เราพร้อมพลีใจป้องหมู่ไทยและองค์ราชันย์ (*)จะเกิดชาติไหนก็ไทยด้วยกันเชื้อสายประเพณณีไม่มีกัดกั้นเกิดใต้ธงไทยนั้นปวงชนทุกคนคือไทย
แก้ไขล่าสุดโดย Anonymous เมื่อ อังคาร ม.ค. 26, 2010 12:00 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
† † † Hiruma Ryuichi † † †
โพสต์: 605
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 3:19 pm
ที่อยู่: พเนจร
ติดต่อ:

จันทร์ ม.ค. 25, 2010 11:59 pm

หัวข้อสนทนาในวิชาสังคมตอน ม.4 (ประเด็นนี้โต้กันนานมากๆ ประมาณสองเดือน)

ญัตติ : "ฮีโร่=คนชั่ว"

ประเด็นที่สำคัญๆคือ

กองทัพลาวอิสระที่คบคิดกับฝรั่งเศษกอบกู้เอกราชให้ชาติลาวออกจากไทย
คนลาวจะมอง=ฮีโร่
คนไทยจะมอง=คนชั่ว

พระเจ้าบุเรงนองที่ตีกรุงศรีแตกและรวมไทยเข้ากับพม่าได้
คนพม่าจะมอง=ฮีโร่
คนไทยจะมอง=คนชั่ว

พระนเรศวร+พระเจ้าตากสินที่แยกไทยออกเป็นอิสระจากพม่าได้
คนไทยจะมอง=ฮีโร่
คนพม่าจะมอง=????

อังกฤษที่ยึดเอาพม่า+มาเลเซียไปจากไทยและคืนให้เจ้าของประเทศในภายหลัง
คนไทยจะมอง=คนชั่ว
คนพม่า+มาเลเซียจะมอง=ฮีโร่

และอีกหลายๆกรณีทั้งในเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศษและกรณีของพระเจ้าชาร์ลที่หนึ่งแห่งอังกฤษ

คนต่างกลุ่มมักมองกันในต่างๆมุม

ดังนั้น
การจะเป็นนักประวัติศาสตร์ที่ดีต้องมีความเป็นกลางเสมอ
อย่าไปเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเหมือนกับกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ที่เขียนประวัติศาสตร์ให้ไทยเป็นฝ่ายถูกเสมอ และชาติอื่นชั่วเสมอ

ครูเลยบอกว่า
"นักประวัติศาสตร์ ห้ามชาตินิยมเด็ดขาด"

แต่ก้อไม่ใช่จะต้องมาเกลียดชาติไทยนะฮะ

แค่ไม่ให้เข้าข้างอย่างสุดโต่งเท่านั้นเอง

รักชาติแหล่ะดีแล้ว

แต่ห้ามชาตินิยม
แก้ไขล่าสุดโดย Anonymous เมื่อ อังคาร ม.ค. 26, 2010 12:01 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Immanuel (MichaelPaul)
~@
โพสต์: 2887
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 8:49 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

อังคาร ม.ค. 26, 2010 12:02 am

^
^
^
สำหรับผม ผมอยากให้คนไทยเป็น ชาตินิยม ครับ เพราะจะได้รู้จักทำอะไรเพื่อประเทศชาติมากขึ้น (โดยเฉพาะนักการเมือง)
แต่ก็ถูกต้องที่นักประวัติศาสตร์ห้ามชาตินิยม เพราะจะทำให้ประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือน
แต่ที่แน่ ๆ คนไทยต้องรักชาติ และควรมีความเป็นชาตินิยม (แต่ไม่ใช่แบบสุดโต่งขนาดกีดกันเชื้อชาติอื่น)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mobster
โพสต์: 1623
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 30, 2007 8:02 pm
ที่อยู่: Bangkok
ติดต่อ:

อังคาร ม.ค. 26, 2010 12:09 am

ผมเองไม่มั่นใจว่าชาตินิยมไหม
แต่มั่นใจว่าตัวเอง "อนุรักษ์นิยม"
† † † Hiruma Ryuichi † † †
โพสต์: 605
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 3:19 pm
ที่อยู่: พเนจร
ติดต่อ:

อังคาร ม.ค. 26, 2010 12:23 am

^
^

ชาตินิยมหรือไม่ชาตินิยมไม่สำคัญหรอกฮะ

ผมไม่คิดมากเรื่องนี้ คบได้หมด (ขอแค่หน้าตาดี 555+ ล้อเล่งง )^w^

คนที่ไม่ชาตินิยมแต่ทำอะไรหลายๆอย่างเพื่อชาติก้อมีเยอะแยะไป

ยังดีกว่าพวกที่ประกาศไปทั่วว่าตัวเองรักชาติแล้วก่อความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่ว

อีกอย่างถ้าเป็นชาตินิยมแล้วรับฟังความคิดเห็น+ข้อเท็จจริงของคนอื่นนี่จะดีมากเลยนะฮะ

เพราะผมไม่เคยเห็นมาก่อนเลย

เวลาผมพูดถึงมุมมองอีกมุมมองหนึ่งที่ต่างออกไปหรือถึงกับตรงกันข้าม

ผมได้ยินแต่คำว่าคำด่า


(ขอโทดฮะ) "เมิงไม่พอใจอยู่เมิงก้อหอบข้าวของไปอยู่ต่างประเทดดิวะ"

"ทั่นเป็นคนกล้าหาญ ฆ่าศัตรูเพื่อกู้เอกราช เมิงไปว่าทั่นบาปไม่ได้ นรกนั่นแหล่ะจะกินกบาลเมิง"

"นี่เมิงว่าxxxงั้นหรอวะ ihere นี่ ทั่นคิดเองหมดเลยโว้ยย ไม่ได้ไปลอกใครเค้ามา"


(ขอโทดจิงๆคับสำหรับใครที่เป็นชาตินิยม เพราะผมมีความทรงจำ+ความแค้นฝังใจนิสนึงกะลัทธิๆนี้ตั้งแต่เด็กๆ)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ministry Of Men
โพสต์: 3972
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 18, 2007 3:09 pm

อังคาร ม.ค. 26, 2010 12:25 am

ใครจะก่อกบฏหรอครับ อิอิ
Like a Heaven
.
.
โพสต์: 1739
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 28, 2007 5:58 pm
ที่อยู่: In the Christ

อังคาร ม.ค. 26, 2010 12:27 am

เห้อ ..
ภาพประจำตัวสมาชิก
เจนจิรา
โพสต์: 1168
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ธ.ค. 21, 2008 12:13 am

อังคาร ม.ค. 26, 2010 12:27 am

เจน คิดแบบนักการทูต นะค่ะ บางที เรื่อง ชาตินิยม ก็จะไม่เน้น แต่จะเป็นกลาง ไม่เข้าข้างใคร เพราะ สังคมชุมชนระหว่างประเทศ มีลักษณะเห็นแก่ตัว ผู้ใดแกร่ง ผู้นั้น ยืนอยู่ ตรงข้ามกับคนอ่อน แอ รัฐที่เข้มแข็ง กว่า ย่อม ได้เปรียย รัฐที่อ่อนแอกว่า และจะเป็นอย่าง นี้เสมอ ในประศาสตร์ บอกว่า ไทย ไม่รุกราน ใครแต่ไทยนิยมที่จะแผ่ ขยายอำนาจ ไปยัง รัฐ ใกล้ๆ
Nguyễn อ่านว่าเงวี๊ยน
โพสต์: 34
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ธ.ค. 13, 2009 7:59 pm

อังคาร ม.ค. 26, 2010 1:04 am

เจนจิรา เขียน: เจน คิดแบบนักการทูต นะค่ะ บางที เรื่อง ชาตินิยม ก็จะไม่เน้น แต่จะเป็นกลาง ไม่เข้าข้างใคร เพราะ สังคมชุมชนระหว่างประเทศ มีลักษณะเห็นแก่ตัว ผู้ใดแกร่ง ผู้นั้น ยืนอยู่ ตรงข้ามกับคนอ่อน แอ รัฐที่เข้มแข็ง กว่า ย่อม ได้เปรียย รัฐที่อ่อนแอกว่า และจะเป็นอย่าง นี้เสมอ ในประศาสตร์ บอกว่า ไทย ไม่รุกราน ใครแต่ไทยนิยมที่จะแผ่ ขยายอำนาจ ไปยัง รัฐ ใกล้ๆ
ผมขอถามหน่อย

คุณยังรักพระเจ้าอยู่หัว แห่งราชอาณาจักรสยาม ราชวงศ์จักรี ไหม?????
คุณยังเป็นคนไทยไหม?????????????????????


ผมเสียความรู้สึกกับคุณจริงๆครับ
ขอพระเยซูอวยพรคุณ อาณาจักรคุณ และความคิดคุณมากๆครับ

ลูกา1:52
"พระองค์ทรงถอดเจ้านายจากพระที่นั่ง และพระองค์ทรงยกผู้น้อยขึ้น"

(ฉบับ คาทอลิก "ทรราชอธรรมอัปยศ  ให้ต้องปลกยศศักดิ์อัครฐาน์    โปรดเชิดชูผู้เข็ญใจให้ขึ้นมา ได้หรรษาเกษมสุขทุกวันไป")

1เปโตร5:5b
พระเจ้าทรงเป็นปฏิปักษ์กับคนเหล่านั้นที่ถือตัวจองหอง แต่พระองค์ทรงสำแดงพระคุณแก่คนที่อ่อนน้อมถ่อมตน
ตอบกลับโพส