ช่วยลงลิงค์เว็บสอนภาลาตินทีครับ

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ดีครับ

เสาร์ ก.ค. 09, 2005 12:33 am

ช่วยลงลิงค์เว็บสอนภาลาตินทีครับ
พอดีหาไม่เจอครับ
อันตน
~@
โพสต์: 4164
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 06, 2005 6:50 pm
ที่อยู่: ภูเก็ต

เสาร์ ก.ค. 09, 2005 12:59 am

มีแต่ตำราอ่า แต่มันเป็นภาษาเกาหลี สนใจเป่าครับ ยินดีแปลให้คับ (เกาหลีเป็นไทยนะ ไม่ใช้ลาตินเป็นไทย)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Champkun
โพสต์: 570
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ม.ค. 20, 2005 10:35 pm
ที่อยู่: Bkk
ติดต่อ:

อังคาร ก.ค. 12, 2005 3:46 am

ไม่ลองไปหาเป็นหนังสือดูที่ศูยน์หนังสือต่างๆล่ะรับ น่าจะมีนะครับ
อันตน
~@
โพสต์: 4164
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 06, 2005 6:50 pm
ที่อยู่: ภูเก็ต

อังคาร ก.ค. 12, 2005 3:33 pm

บทที่1 ตัวอักษร Alphabet
1 จำนวน - อักษรในภาษาลาตินมีทั้งหมด25ตัว แต่ละตัวมีทั้งตัวอักษรเล็ก(Minuscula)และอักษรใหญ่ (Manuscula) อักษรยุคปัจจุบันที่ใช้กันในยุโรปมีที่มาจากอักษรลาติน
2 ชื่อตัวอักษร - ตัวอักษรลาตินแต่ละตัวไม่มีชื่อเรียกต่างหากอย่างเช่นที่ภาษาอังกฤษหรือภาษาเยอรมันมี เสียงของตัวอักษรนั้นๆถือเป็นชื่อตัวอักษรไปในตัว ทั้งนี้มักเรียกชื่อกันตามสะดวกเช่นเรียกตามแบบเยอรมัน (อา เบ เช) หรือภาษาอังกฤษ (เอ บี ซี) เป็นต้น
3 ที่มาของตัวอักษร - อักษรลาตินไม่ได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวโรมัน ในศรรตวรรษที่8ก่อนคริสตกาลเมื่อครั้งที่ชาวกรีกข้ามมาสร้างเมืองอาณานิคมขึ้นที่ทางใต้ของอิตาลี ต่อมาเมืองนี้เจริญขึ้นมามีบทบาทที่สำคัญทางด้านการค้าและวิทยาการ ครั้งนั้นคนกรีกนำเอาอักษรกรีกตะวันตกติดตัวมาด้วยและกลายเป็นต้นกำเนิดอักษรลาตินในเวลาถัดมา อักษรกรีกที่ใช้ในคณิตศาสตร์หรือที่ใช้บันทึกพระธรรมใหม่เป็นอักษรกรีกตามแบบตะวันออก
4 I และ J - แต่แรกตัว I ใช้เป็นทั้งพยัญชนะ ( I consonantes) และสระ (I vocalis) คือถ้าวางอยู่หลังสระถือเป็นพยัญชนะ แต่กรณีนอกเหนือนี้ใช้เป็นสระ ต่อมาจึงมีการประดิษฐ์ตัว J ขึ้นในศตวรรษที่15 (ตัวJเกิดขึ้นจากเอาตัวIมางอ) ขึ้นมาใช้เป็นพยัญชนะแทนตัวI แต่ในสมัยที่ประดิษฐ์ตัวJขึ้นมานั้นจะใช้ตัวJแทนตัวIเฉพาะอักษรแรกของคำเท่านั้น ส่วนตำแหน่งอื่นๆยังคงใช้Iเป็นทั้งสระและพยัญชนะเช่นเดิม จนกระทั่งหลังศตวรรษที่17จึงใช้ตัวJเป็นพยัญชนะและตัวIเป็นสระอย่างเดียว
5 V และ U - นับตั้งแต่โบราณจนกระทั่งถึงสมัย Cicero ตัวV จัดเป็นทั้งพยัญชนะ (V consonantes) และสระ (V vocalis) คือหากตัวVตัวหนึ่งวางติดอยู่หลังตัวVอีกตัวหนึ่งตัวVตัวแรกจะอ่านเป็นพยัญชนะ ส่วนตำแหน่งอื่นๆอ่านออกเสียงสระ ต่อมาเมื่อศตวรรษที่10จึงมีการประดิษฐ์ตัวU (ตัวUเกิดจากนำตัวVมาเขียนให้มน)ขึ้นมาและใช้ตัวV เป็นสระในกรณีที่ขึ้นต้นคำเท่านั้น ส่วนในตำแหน่งอื่นๆให้ถือเป็นพยัญชนะ ส่วนตำแหน่งอื่นๆของคำยกเว้นตำแหน่งแรกให้ใช้ตัวUเป็นสระแทน การใช้UและVเป็นสระและพยัญชนะแยกกันเด็ดขาดนั้นเพิ่งเริ่มเมื่อหลังศตวรรษที่17มาแล้ว
DIVVS VESPASIANVS AVGVSTVS
=DIVUS VESPASIANUS AUGUSTUS
6 การใช้IแทนJ - ทุกวันนี้ยังคงมีการใช้ตัวIแทนตัวJให้เห็นอยู่บ่อยๆแต่การใช้ตัวVแทนตัวUแทบจะไม่มีให้เห็น
iacio=jacio, ussurd, venio
7 KและC - ตัวKถูกตัวCเข้ามาแทนที่จนแทบจะไม่ได้ใช้ยกเว้นกรณีต่อไปนี้เท่านั้น
Kalendae (ปฏิทิน) Karthago(ชื่อประเทศ) Kaeso (ชื่อประเทศ)
8 Q - ตัวQใช้ในรูป qu เท่านั้น

*** แปลจากหนังสือลาตินออมุนปบ(ไวยกรณ์ลาติน) เขียนโดย แบ เจ มัน สำนักพิมพ์กี ดก เกียว มุน ซอ
*** แปลเล่นๆส่วนตัวเท่านั้น ไม่ถือเป็นหลักฐานอ้างอิงนะครับ
อันตน
~@
โพสต์: 4164
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 06, 2005 6:50 pm
ที่อยู่: ภูเก็ต

อังคาร ก.ค. 12, 2005 3:35 pm

ผู้แต่งชื่อ แพ เจ มิน นะครับไม่ใช่ แบ เจ มัน ขออภัยด้วยเด้อครับเด้อ
อันตน
~@
โพสต์: 4164
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 06, 2005 6:50 pm
ที่อยู่: ภูเก็ต

พุธ ก.ค. 13, 2005 5:49 pm

บทที่ 2 การออกเสียง
ข้อควรจำ
อักษรลาตินแบ่งออกเป็นสระและพัญชนะ และทั้งพยัญชนะและสระยังแบ่งออกเป็นเดี่ยวและผสมขึ้นอยู่รูปแบบโครงสร้าง

9 ประเภทของสระ(vocales) - สระมีด้วยกันทั้งสิ้นห้าตัวคือ A E I O U การผสมและการนำไปใช้ที่แตกต่างกันทำให้สระแบ่งได้เป็น สระเดี่ยว (Vocales simplices)และสระผสม(Diphthongi)
10 การออกเสียงสระเดี่ยว - สระเดี่ยวมีห้าตัวคือ A E I O U แบ่งเป็นสระเสียงสั้นและสระเสียงยาวตามลักษณะการออกเสียง
11 การออกเสียงสระผสม - สระผสมมีหกเสียงด้วยกันคือ ae oe au eu ei ui แต่ในยุคหลังมี3ตัวที่ไม่ค่อยได้ใช้ การออกเสียงสระผสมคือการออกเสียงสระแต่ละตัวที่รวมขึ้นเป็นสระผสมนั้นๆโดยออกเสียงลากติดกันไปในการเปล่งลมครั้งเดียว วิธีการออกเสียงเช่นนี้เรียกว่าการควบเสียง แต่ทั้งนี้คนที่พูดอังกฤษอาจออกเสียงติดสำเนียงอังกฤษ คนที่พูดเยอรมันอาจออกเสียงติดสำเนียงเยอรมัน การออกเสียงoeในบางครั้งจะออกเสียงเป็นสระเดียวสองตัวในกรณีนี้เหนือตัวe จะมีจุดสองจุดเพื่อแยกให้เห็นว่าเป็นสระเสียงเดี่ยวไม่ใช้สระผสม จุดสองจุดนี้เราเรียกว่าเทรมา(trema)หรือ ดีอาเอเรซิส(diaeresis)

สระผสม ออกเสียงตามหลักควบ ออกเสียงสำเนียงอังกฤษ ออกเสียงสำเนียงเยอรมัน
ae a+e อาเอ เสียง ai ในคำว่า aisle เสียง ae ในคำว่า taedae
oe o+eโอเอ เสียง oi ในคำว่า boil เสียง oe ในคำว่า poena
au a+u อาอู เสียง ouในคำว่า loud เสียง au ในคำว่า laut
eu e+u เออู เสียง ew ในคำว่า nes เสียง eu ในคำว่า seu.heu
ei e+i เออี เสียง ei ในคำว่า eight เสียง ei ในคำว่า eia
ui u+i อูอี - -

12 ei - เสียง ei ที่เป็นสระผสมนี้ปรากฎอยู่ในคำอุทานสามคำเท่านั้นคือ eia hei oiei นอกเหนือจากนี้ถือเป็นสระเดี่ยวหมด


*** แปลจากหนังสือลาตินออมุนปบ(ไวยกรณ์ลาติน) เขียนโดย แพ เจ มิน สำนักพิมพ์กี ดก เกียว มุน ซอ
*** แปลเล่นๆส่วนตัวเท่านั้น ไม่ถือเป็นหลักฐานอ้างอิงนะครับ
ตอบกลับโพส