คำภาษาไทยที่คาทอลิกใช้ในความหมายที่แตกต่าง

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
Andreas
~@
โพสต์: 3131
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 7:47 am
ที่อยู่: Bangkok
ติดต่อ:

ศุกร์ พ.ค. 06, 2011 9:20 pm

มีคำศัพท์ภาษาไทย(หรือคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น) หลายคำที่คาทอลิกไทยนำมาใช้ โดยที่ไม่มีความตรงกับความหมายที่คนไทยทั่วไปเข้าใจกัน แต่คาทอลิกไทยได้ใช้มานานจนติดปาก ซึ่งก็ทำให้คนไทยที่ได้ยินคำนั้น ๆ อาจจะรู้สึกงง หรืออย่างมากก็สื่อความหมายไปคนละอย่าง อาทิคำว่า

มีบุญ ความหมายตามพจนานุกรมไทยคือ มีความดี
แต่คาทอลิกจะเข้าใจว่า ได้รับพระพร เช่น ผู้มีบุญกว่าหญิงใด ๆ

บุญลาภ เป็นคำสนธิ โดยนำคำว่า "บุญ" มารวมกับคำว่า "ลาภ" "บุญ" แปลว่า ความดี "ลาภ" แปลว่า สิ่งที่มักจะได้มาโดยไม่คาดคิด
แต่คาทอลิกจะเข้าใจว่า เป็นพระพรหรือความสุขแท้ (ความสุขแท้แปดประการ)

พระคุณ ความหมายตามพจนานุกรมคือ บุญคุณ
แต่คาทอลิกจะเข้าใจว่า ของประทานพิเศษ เช่น พระคุณของพระจิตเจ็ดประการ

สิริมงคล ความหมายตามพจนานุกรมคือ โชคลาภ
แต่คาทอลิกจะเข้าใจว่า ความรุ่งโรจน์ เช่น สิริมงคลจงมีแด่พระเป็นเจ้า

ชุมพา ความหมายตามพจนานุกรมคือ ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง ขนยาวคล้ายขนแกะ
แต่คาทอลิกจะเข้าใจว่า คือ "แกะ" เช่น พระชุมพาของพระเจ้า นายชุมพาบาล คำนี้ใช้กันไม่ถูกอย่างยิ่ง ถ้าต้องการหาคำมาแปลคำว่า "Agnus Dei" ซึ่งแปลอย่างถูกต้องว่า "ลูกแกะของพระเจ้า" ตัวชุมพามีรูปร่างน่าตาอย่างไรก็ไม่มีใครทราบแม้แต่กูเกิ้ลก็ยังไม่ทราบ ทำไมคาทอลิกไทยชอบใช้คำว่า "ชุมพา" มากกว่าคำว่า "แกะ" ซึ่งมีความหมายตรงกว่า คำว่า "แกะ" ในภาษาละตินก็ไม่ใช่ "agnus" แต่คือ "oves" ถ้าเรียก "พระชุมพาของพระเจ้า" เฉย ๆ ก็ผิด ถ้าจะให้คำว่า "ชุมพา" แทนคำว่า "แกะ" เพราะพระเยซูเจ้าไม่มีตำแหน่งนี้ "แกะของพระเจ้า" คือ บรรดาผู้เชื่อทั้งหลาย ส่วนพระเยซูทรงเป็นทั้ง "ลูกแกะของพระเจ้า" และ "พระผู้เลี้ยงแกะ" การใช้คำ "ชุมพาบาล" ก็ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะจริง ๆ ชุมพา คือตัวอะไรก็ไม่ทราบ

เร่าร้อน ความหมายตามพจนานุกรมคือ กลัดกลุ้มด้วยความร้อนใจ ในทางพุทธศาสนาก็ยังหมายถึง กิเลสและความทุกข์ใจ
แต่คาทอลิกจะเข้าใจว่า คือ มีศรัทธาแรงกล้า เช่น โปรดทรงบันดาลให้เร่าร้อนด้วยความรักของพระองค์

ร้อนรน ความหมายตามพจนานุกรมคือ แสดงอาการกระวนกระวาย ทุรนทุราย
แต่คาทอลิกจะเข้าใจว่า คือ ความกระตือรือร้น เช่น บรรดามิชชันนารีมีความร้อนรนในการเผยแผ่พระวรสาร

น้ำพระทัย เป็นคำราชาศัพท์ หมายถึง น้ำใจ คือ ความเอื้อเฟื้อ ใจจริง ความจริงใจ นิสัยใจคอ
แต่คาทอลิกจะเข้าใจว่า หมายถึง พระประสงค์(ของพระเจ้า) เช่น ฉันขอน้อมรับน้ำพระทัยของพระเจ้า

ยังมีคำไหนอีก ช่วยกันคิดและเสนอมาได้นะครับ โดยเฉพาะผู้เชื่อใหม่ ๆ สงสัยคำไหน ไม่ทราบความหมายก็ใช้กระทู้นี้ถามมาได้เลยนะครับ
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ พ.ค. 07, 2011 12:30 am

ถามว่าคำที่สื่อให้เข้าใจผิดเหล่านี้ ทางสภาพระสังฆราช คิดจะเปลี่ยนไหม หรือพอใจเช่นนั้นแล้ว เอาง่ายๆ คำว่า "พระสงฆ์" "เณร" "วัด" ตอนนี้เจี๊ยบเรียกเสียเพลินดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
Andreas
~@
โพสต์: 3131
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 7:47 am
ที่อยู่: Bangkok
ติดต่อ:

เสาร์ พ.ค. 07, 2011 9:37 am

คำเหล่านี้ ที่คาทอลิกใช้ แต่คนไทยทั่วไปเข้าใจในอีกความหมายหนึ่ง พระศาสน์จักรในปัจจุบัน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้คำเหล่านี้ เช่น แผนกพิธีกรรม แผนกสื่อมวลชนและการพิมพ์ แผนกพระคัมภีร์ ก็พยายามเปลี่ยนมาใช้คำที่มีความหมายเดียวกับที่คนทั่วไปเข้าใจ อย่างในเวลานี้ แผนกพิธีกรรม เปลี่ยนคำว่า "เร่าร้อน" ในบทภาวนาต่าง ๆ ให้เป็นคำว่า "ลุกร้อน" หรือ "ศรัทธาแรงกล้า" ตามแต่บริบทของประโยค คำว่า "ร้อนรน" ก็เปลี่ยนเป็นคำว่า "กระตือรือร้น" แต่ในภาษาพูดคนก็ยังติดคำว่า "เร่าร้อน" และ "ร้อนรน" อยู่ดี และดูเหมือนว่าจะแก้ไขได้ยาก พอ ๆ กับการติดคำว่า "พระสงฆ์" "เณร" นั่นแหละครับ

ส่วนคำว่า "วัด" พระคุณเจ้าเกรียงศักดิ์ได้ชี้แจงให้ทราบว่า มีครั้งหนึ่งที่ทางพระศาสนจักรคิดจะเปลี่ยนคำนำหน้าศาสนาสถานของคาทอลิกที่ใช้ว่า "วัด" เป็น "โบสถ์" แต่เมื่อไปดูข้อกฎหมาย ก็ไปติดที่ "พระราชบัญญัติว่าด้วยพระราชทานพระบรมราชานุญาติโรมันคาทอลิกมิสซังในกรุงสยาม" ซึ่งได้ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2475 ได้เรียกศาสนสถานของคาทอลิกว่า "วัดโรมันคาทอลิก" หรือ "วัดบาทหลวง" โดยให้สิทธิพิเศษไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน โดยในข้อกฎหมายไม่ได้มีการระบุถึงคำว่า "โบสถ์" ดังนั้น ในทางกฏหมายศาสนสถานของคาทอลิกจึงต้องจดทะเบียนเป็นวัดโรมันคาทอลิก หรือวัดบาทหลวง ส่วนกฎกระทรวงที่ออกมาภายหลังเมื่อไม่กี่สbบปีมานี้โดยอธิบดีคนหนึ่ง ที่จะให้คาทอลิกเปลี่ยนมาใช้คำว่า "โบสถ์" ก็มีอำนาจน้อยกว่าพระราชบัญญัติของพระเจ้าแผ่นดิน จึงไม่อาจลบล้างสิ่งที่พระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดเอาไว้ก่อนได้ ด้วยเหตุนี้คาทอลิกจึงต้องใช้คำนำหน้าศาสนสถานของตนว่า "วัด" จนถึงปัจจุบัน

อ่าน พ.ร.บ. นี้ได้ที่ http://www.thailandlawyercenter.com/ind ... 3&Ntype=19
อ่านคำจำกัดความ "วัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก" จากเอกสารของราชการได้ที่ http://www.dol.go.th/dol/images/medias/ ... w22945.pdf

เมื่ออ่านเอกสารฉบับหลังนี้ จะเห็นว่ารัฐบาลพยายามจำกัดการแพร่ธรรมชองคาทอลิกโดยไม่ให้ตั้งวัดเพิ่ม ไม่ให้ถือครองที่ดินเพิ่มจากที่มีอยู่เดิม
ภาพประจำตัวสมาชิก
yuki
โพสต์: 681
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 01, 2006 5:02 am

เสาร์ พ.ค. 07, 2011 9:47 pm

ขอบคุณคุณ Andreas มากครับ ตั้งแต่รับศีลล้างบาปมาสิบปี ความสงสัยเรื่องการเรียกโบสถ์ว่า "วัด" ของคาทอลิกนี้ไม่เคยได้รับคำตอบเลย วันนี้กระจ่างมากครับ

ปล. เอกสารของกรมที่ดินนี่ พยายามอาศัยช่องว่างของกฎหมาย ที่ไม่ได้รับรองมิซซังอื่นๆ นอกจาก กรุงเทพฯและท่าแร่-หนองแสง มาเป็นการกีดกันศาสนาอื่นๆหรือเปล่าเนี่ย :s030:
HOLY DANCE
โพสต์: 159
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ค. 03, 2011 5:53 pm

ศุกร์ พ.ค. 13, 2011 10:18 pm

เวลาได้บวชเป้นคุณพ่อ เขาใช้ศีลบรรพชาใช่มั้ยครับ คำศัพท์เหมือนของพุทธ แต่รุ้มั้ยครับ คำว่าบรรพชาของพุทธคือ การบวชเป็นเณร หากบวชเป็นพระสงฆ์เขาใช้คำว่า อุปสมบถ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Andreas
~@
โพสต์: 3131
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 7:47 am
ที่อยู่: Bangkok
ติดต่อ:

เสาร์ พ.ค. 14, 2011 11:02 am

ศีลบวช มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ศีลอนุกรม" ส่วนคำว่า "บรรพชา" ทางพุทธหมายถึงการบวชเณร ก็ไม่รู้ทำไมคาทอลิกเอาคำว่า "บรรพชา" มาใช้เรียกศีลบวชบาทหลวง แม้แต่คำว่า "ศีล" ทางพุทธหมายถึง ข้อห้าม แต่ทางคาทอลิกกลับนำมาใช้แทนคำว่า sacrament ซึ่งเป็นพิธีกรรมต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติ
ภาพประจำตัวสมาชิก
~@Little lamb@~
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 9396
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:00 pm
ติดต่อ:

เสาร์ พ.ค. 14, 2011 2:01 pm

แล้วมีแนวโน้มว่าจะมีการปรับคำเรียกหรือเปล่า?
ภาพประจำตัวสมาชิก
yuki
โพสต์: 681
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 01, 2006 5:02 am

เสาร์ พ.ค. 14, 2011 5:35 pm

~@Little lamb@~ เขียน:แล้วมีแนวโน้มว่าจะมีการปรับคำเรียกหรือเปล่า?
อ่ะ...นั่นนะสิครับ จะมีการปรับรึปล่าว ที่จริงอยากให้เรามีเอกลักษณ์ของเราเองน่ะครับ เหมือนอิสลามเค้าก็มีเอกลักษณ์ของเค้า
littleseal
โพสต์: 1029
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ มิ.ย. 13, 2010 9:53 pm

อาทิตย์ พ.ค. 15, 2011 2:01 am

จะมีปรับใช้ทับศัพท์หรือเปล่าคะ? :s030:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Andreas
~@
โพสต์: 3131
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 7:47 am
ที่อยู่: Bangkok
ติดต่อ:

อังคาร พ.ค. 17, 2011 8:32 pm

ในตอนนี้เวลา เวลาหน่วยงานของพระศาสนจักรต้องติดต่อกับทางราชการ ก็จะพยายามใช้คำศัพท์ตำแหน่งทางศาสนาที่ทางการเขาอุตส่าห์คิดคำขึ้นมาให้เราใช้ เช่น มุขนายก มิสซัง อธิการโบสถ์ แต่สำหรับภาษาพูดของชาวบ้าน จะใช้อย่างไรก็ตามอัธยาศัย

มีอีกคำหนึ่งที่ผมสงสัยว่าทำไมถึงใช้คำว่า "น้ำพระทัย" ว่า หมายถึง ความประสงค์ของพระเจ้า ทำไมไม่นิยมใช้คำว่า "พระประสงค์" ทั้งคาทอลิกและคริสเตียนยังติดคำว่า "น้ำพระทัย" อยู่มาก เช่น "ขอให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระเจ้า" และ "คงเป็นน้ำพระทัยของพระเจ้าที่ให้เป็นไปเช่นนี้" คำว่า "น้ำพระทัย" น่าจะมีความหมายที่ถูกต้องคือ "น้ำใจ" คำนี้ ไม่ได้หมายถึง ความต้องการ หรือ ความประสงค์ แต่หมายถึง ใจแท้ ๆ, ใจจริง, ความจริงใจ, นิสัยใจคอ ,ความเอื้อเฟื้อ

บทข้าแต่พระบิดาจึงเปลี่ยนจาก "ขอให้ทุกสิ่งเป็นเป็นไปตามน้ำพระทัยในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์" เป็น "พระประสงค์จงสำเร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์"
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

พุธ พ.ค. 18, 2011 4:00 am

คำที่เราใช้กันผิดๆเพี้ยนๆทั้ง คาทอลิก และโปรฯมีมากมาย แต่เจตนาดีทั้งนั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

พฤหัสฯ. ก.พ. 14, 2013 7:23 am

โปรแตสแตนท์ แปลคำว่า Grace ว่าพระคุณ คาทอลิกแปลว่าพระหรรษทาน
ตอบกลับโพส