ย้อนอดีตไปในสมัยของท่านหมอบรัดเลย์

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
win_comeback
โพสต์: 954
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.พ. 12, 2011 11:04 pm

พุธ เม.ย. 18, 2012 11:01 pm

อยากถามคนที่เป็นคริสตเตียนพันธ์แท้ว่า โบสถ์จริงๆของท่านอยู่ที่ไหนแล้ว
โบสถ์ในเมืองไทยของคริสตเตียนที่สอนคำสอนแบบหลักของหมอบรัดเลย์เป็นเบรสไบรทรีเรนใช่เปาา
:s012:
peopletribune
โพสต์: 423
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ มี.ค. 28, 2009 8:55 pm
ที่อยู่: Maka-Diyos, Makatao, Makakalikasan, at Makabansa

พฤหัสฯ. เม.ย. 19, 2012 2:21 am

win_comeback เขียน:อยากถามคนที่เป็นคริสตเตียนพันธ์แท้ว่า โบสถ์จริงๆของท่านอยู่ที่ไหนแล้ว
โบสถ์ในเมืองไทยของคริสตเตียนที่สอนคำสอนแบบหลักของหมอบรัดเลย์เป็นเบรสไบรทรีเรนใช่เปาา
:s012:
สวัสดีครับ คุณwin_comeback

รูปภาพ



นิกายโปรเตสแตนต์ เข้ามาในไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระ
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.3)
ช่วง พ.ศ.2371 ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้มิชชันนารีชาวยุโรป
คือ คาร์ลกุสลาฟ (Karl Gutzlaff) และ เจคอบ ทอมลิน (Jacob Tomlin) เข้ามา
เผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์เป็นครั้งแรก ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2374

คาทอลิก เข้ามารัชสมัยของ พระรามาธิบดีที่ 2 หรือ พระเชษฐาธิราช ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคเดียวกับความสัมพันธ์กับไทย-โปรตุเกส

คนส่วนใหญ่นึกว่าชาวยุโรปเข้ามายุค ร.4 จริง ๆ มาตั้งแต่สมัย ร.3 แล้ว สมัยนั้น ร.4ยังทรง
ผนวชอยู่ท่านผนวช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2367 ผนวช 27 พรรษา ช่วง ร.4 มีปัญหาในราชสำนัก
มากมาย เราจึงมีกษัตริย์ 2 พระองค์ในช่วงนั้น ชื่อที่เราคุ้นคือ สะพานพระปิ่นเกล้าก็ยุค ร.4
นี่แหละ...พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว(พระอนุชา)ทรงเป็น วังหน้า หรือ
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ร.4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระอิสริยยศเทียบเท่ากษัตริย์

แล้วจึงเป็นยุคมิชชันนารีอเมริกัน เช่น หมอบรัดเลย์ หมอสมิธ ฯลฯ แดน บีช บรัดเลย์ หรือ
หมอบรัดเลย์ เข้ามาเมืองไทย ช่วง พ.ศ. 2378

รูปภาพ
ส่วน หมอสมิธ เป็นผู้เขียนหนังสือ ราชสำนักสยาม ในทรรศนะของหมอสมิธ
(Physician at the Court of Siam)

เรื่องคริสตจักร เพรส ไบทีเรียน เคยมีกระทู้ตอบใน newmana นะครับ แต่นานแล้ว
4 ปีเห็นจะได้ ตั้งแต่ปี 2551เชิญทัศนาเอง นะครับ
viewtopic.php?f=2&t=8195&p=120018

ส่วนรายละเอียดเรื่องโบสถ์ ลองอ่านตาม Link นะครับ
http://www.cct.or.th/crt.html

ประวัติคริสตจักรในประเทศไทยอ่านได้ ตาม Link ด้านล่างครับ
http://www.cct.or.th/util/history/The%2 ... 20Thai.htm

:s021:
โดย : ฟรังซิสโก ณัฐวุฒิ เดินทางทุกที่ ๆ มีพระองค์
แก้ไขล่าสุดโดย peopletribune เมื่อ พฤหัสฯ. เม.ย. 19, 2012 2:57 am, แก้ไขไปแล้ว 4 ครั้ง.
win_comeback
โพสต์: 954
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.พ. 12, 2011 11:04 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 19, 2012 2:37 am

ผมเป็นคนตั้งกระทุ้เองเมื่อสี่ปีที่เเล้ว อันแรกอะ ใครคนเก่าๆในนี้คงจำชื่อผมได้คริ ขอบคุณที่เตือนความจำครับ
peopletribune
โพสต์: 423
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ มี.ค. 28, 2009 8:55 pm
ที่อยู่: Maka-Diyos, Makatao, Makakalikasan, at Makabansa

พฤหัสฯ. เม.ย. 19, 2012 2:40 am

win_comeback เขียน:ผมเป็นคนตั้งกระทุ้เองเมื่อสี่ปีที่เเล้ว อันแรกอะ ใครคนเก่าๆในนี้คงจำชื่อผมได้คริ ขอบคุณที่เตือนความจำครับ
ยินดีครับ ถึงว่า คุณJeab Agape เรียก พี่วิน:s007:
แก้ไขล่าสุดโดย peopletribune เมื่อ พฤหัสฯ. เม.ย. 19, 2012 11:13 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
เมจิ
โพสต์: 3257
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:44 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 19, 2012 10:55 am

โหพี่วิน : emo056 : สมาชิกรุ่นดึกดำบรรนพ์ ::006::
ภาพประจำตัวสมาชิก
Andreas
~@
โพสต์: 3131
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 7:47 am
ที่อยู่: Bangkok
ติดต่อ:

พฤหัสฯ. เม.ย. 19, 2012 1:45 pm

คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโบสถ์สำเหร่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เลขที่ 37 ซอยวิจิตรวรศาสน์ ถนนเจริญนคร 59 แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ก่อนถึงโรงแรมแมริออทหากมาจากสะพานพุทธฯ

รูปภาพ

คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ เป็นคริสตจักรแห่งแรกของมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน ซึ่งเดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในครั้งนั้นยังไม่มีที่ตั้งคริสตจักรเป็นของตนเอง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงโปรดให้อยู่รวมกับชาวต่างชาติอื่น ๆ ที่ชุมชนกุฎีจีน บริเวณหลังวัดอรุณฯ

ต่อมาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) มิชชันนารี 5 ท่าน ได้แก่ ศาสนาจารย์สตีเฟน แมตตูน (คนไทยเรียกท่านว่า “หมอมะตูม”) และภริยา ศ.สตีเฟน บุช และภริยา และ ศ.นายแพทย์ ซามูเอล เรย์โนลด์ เฮาส์ (คนไทยเรียกท่านว่า “หมอเหา”) ได้ร่วมกันตั้งคริสตจักรขึ้น ชื่อว่า “คริสตจักร เพรสไบทีเรียนที่ 1 กรุงเทพ” มีหมอแมตตูนเป็นศิษยาภิบาล แต่ยังไม่ได้สร้างสถานที่นมัสการโดยเฉพาะ ยังคงใช้บ้านพักของมิชชันนารีเป็นสถานที่นมัสการ

รูปภาพ

ในปี พ.ศ. 2400 (ค.ศ.1857) ได้ย้ายบ้านพักมิชชันนารีมาที่สำเหร่ ซึ่งเดิมใช้เป็นที่ประหารชีวิตนักโทษ และได้สร้างพระวิหารถาวรขึ้นเป็นแห่งแรกที่นี่ ในปี พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยใช้เงินบริจาคจากพ่อค้า กะลาสีเรือ มิชชันนารีชาวต่างชาติ และเงินสนับสนุนบางส่วนจากสหรัฐอเมริกา การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862)

รูปภาพ

ระยะเวลาที่ค่อนข้างล่าช้าดังกล่าวเนื่องมาจากสงครามกลางเมืองที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงนั้น เมื่อพระวิหารเสร็จสมบูรณ์แล้วได้มีพิธีมอบในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2405 จากนั้นเป็นต้นมา คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ ก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางการทำงานของคณะเพรสไบทีเรียน นอกจากนี้ยังได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กชาย “สำเหร่บอยส์คริสเตียนไฮสคูล” ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็น “โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน” ในปัจจุบัน

รูปภาพ

ปัจจุบันคริสตจักรที่ 1 สำเหร่ ประกอบไปด้วยพระวิหาร (โบสถ์) และหอระฆังตั้งเคียงข้างกัน โดยพระวิหารมีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นอาคารชั้นเดียวทาสีขาว หลังคามุงกระเบื้องว่าวสีแดง หันหน้าไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา (ทิศตะวันออก)

ด้านหน้าอาคารเว้นช่องเสาเป็นระเบียงทางเข้า ระหว่างช่องเสาทำเป็นวงโค้ง ประดับด้วยคิ้วและลวดบัวปูนปั้นทาสีน้ำตาลเป็นลายอุบะ และเลขอารบิค 1860 และ 1910 ระบุปี ค.ศ. ที่สร้างวิหารหลังแรก และหลังปัจจุบัน ที่กลางหน้าบันอาคารประดับด้วยลวดบัวปูนปั้นทาสีรูปดอกห้ากลีบขนาดใหญ่ในวงกลม และดอกสี่กลีบมีไส้ในวงกลมขนาดเล็กขนาบ 2 ข้าง ที่ปลายสันหลังคาด้านทิศตะวันออกประดับด้วยกางเขนทาสีขาว โครงสร้างอาคารเป็นระบบกำแพงรับน้ำหนัก พื้นทั่วไปเป็นพื้นหินอ่อน ประตูและหน้าต่างเป็นบานเปิดคู่ 2 ชั้น ประกอบด้วยบานไม้และบานกระจก เหนือช่องเปิดเหล่านี้ทำช่องแสงด้านบนเป็นโค้งครึ่งวงกลมประดับกระจกสีต่าง ๆ

ส่วนอาคารหอระฆังเป็นหอคอยสูง ผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระวิหาร ประตูเข้าออกเป็นบานไม้เปิดคู่อยู่ด้านทิศตะวันตก

รูปภาพ

ภายในมีบันไดขึ้นสู่หอคอย ผนังอาคารทั้งสี่ด้านประดับลวดบัวปูนปั้นทาสีและลายอุบะแบบเดียวกับพระวิหาร มีเลขอารบิค 1912 ระบุปี ค.ศ. ที่สร้าง นอกจากนี้ยังมีกางเขนขนาดใหญ่ติดอยู่บนผนังอาคารด้านทิศตะวันออกอีก 1 อัน หลังคาหอระฆังนี้เป็นทรงปั้นหยายอดสูง โครงสร้างไม้มุงกระเบื้องว่าว ประดับชายคาด้วยไม้ฉลุ ที่ยอดอาคารและปลายสันหลังคาทั้งสี่มุมประดับด้วยแท่งไม้กลึง

เช่นเดียวกับโบสถ์โปรเตสแตนต์ทั่วไป พระวิหารหรือโบสถ์แห่งนี้มีลักษณะต่างไปจากโบสถ์คาทอลิก คือเน้นที่ความเรียบง่ายไม่มีการประดับตกแต่งด้วยรูปนักบุญต่าง ๆ สิ่งสำคัญอย่างเดียวที่เป็นประธานภายในพระวิหารได้แก่กางเขน ส่วนถาวรวัตถุเก่าแก่ของที่นี่มีเพียงนาฬิกาพระราชทาน 2 เรือน ซึ่งด้านบนแกะสลักไม้เป็นตราพระเกี้ยวพร้อมพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร.

คริสตจักรนี้มีประวัติการบูรณะซ่อมแซมตลอดจนดูแลรักษาด้วยกำลังของมวลสมาชิกเองมาโดยต่อเนื่อง แม้บางเวลาอาจขาดช่วงไปบ้างเนื่องจากเป็นภาวะที่บ้านเมืองคับขัน หรือเป็นเวลาที่ต้องทุ่มเทให้กับพันธกิจอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นกว่า อาทิ งานโรงพิมพ์ หรืองานการศึกษา

ถึงแม้ว่าโรงพิมพ์จะเลิกกิจการไปแล้ว และโรงเรียนได้ย้ายข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยากลายเป็น โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน แล้ว แต่ก็นับได้ว่าเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจที่พบว่าด้วยกำลังของสมาชิกซึ่งมีปริมาณไม่มากมายตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ได้ร่วมกันประคับประคอง คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ แห่งนี้ให้คงมีอาคารตลอดจนสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ และสามารถยืนหยัดมาได้ถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 150 ปีแล้ว ยังผลให้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี 2547

ปัจจุบันโล่รางวัลซึ่งพระราชทานโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ถูกนำติดบนผนังพระวิหารเพื่อให้สาธารณชนทั่วไปได้ร่วมชื่นชม

เข้าใจว่าโบสถ์ที่เรียบง่าย แต่สื่อได้ถึงวิถีปฏิบัติแบบโปรเตสแตนต์ และมีอายุเก่าแก่รุ่นนี้ คงมีเหลืออยู่ไม่มาก โดยหลายแห่งอาจไม่โชคดีเท่าที่นี่ ด้วยอยู่ในเขตเมืองหลวงซึ่งอาจหาทุนรอนในการทำนุบำรุงให้คงสภาพได้ง่ายกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้วหากจะธำรงรักษาคุณค่าทั้งหมดที่มีให้คงอยู่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางศิลปสถาปัตยกรรม หรือคุณค่าทางประวัติศาสตร์ชุมชนแล้ว ประเด็นความเชื่อที่ว่า “สร้างใหม่ถูกกว่าซ่อม” คงไม่ถูกนำมาใช้เพื่อตัดสินให้อาคารที่มีคุณค่าเหล่านั้นจะต้องถูกรื้อลงไป

เพราะคงไม่ต่างอะไรกับการลบความทรงจำร่วมของบรรพบุรุษที่จะได้ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น แม้ตัวท่านจะไม่มีโอกาสได้อยู่บอกเล่าด้วยตนเองแล้ว.

** อ้างอิง : คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ กับ 150 ปีแห่งความเชื่อศรัทธา, 2542. รัฐ เลขวัต, รายงานใน รายวิชาปริญญาโท M.S.CRAC, 2547 www. asa.or.th/heritage และ สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง, พ.ศ. 2547
win_comeback
โพสต์: 954
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.พ. 12, 2011 11:04 pm

พฤหัสฯ. เม.ย. 19, 2012 2:25 pm

แต่ก่อนใช้มาสามสี่ชื่อยังมีคนจำได้อีก เลยใช้ชื่อวินมันสะเลย อิอิ :s012:
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ เม.ย. 20, 2012 2:35 am

ขอบคุณที่หลายๆท่านได้ค้นข้อมูล มาแปะไว้ค่ะ

หมอบรัดเลย์ทิ้งมรดกไว้มากมายแก่สังคมไทย เช่นการแพทย์ การพิมพ์ การศึกษาเทคโนโลยี(ยุคนั้น) หลักประชาธิปไตย เป็นต้น
win_comeback
โพสต์: 954
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.พ. 12, 2011 11:04 pm

ศุกร์ เม.ย. 20, 2012 2:11 pm

อยากรู้ว่าสมัยนั้น หมอบรัดเลย์ จะสอนดีขนานไหน
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

จันทร์ เม.ย. 23, 2012 10:48 pm

win_comeback เขียน:อยากรู้ว่าสมัยนั้น หมอบรัดเลย์ จะสอนดีขนานไหน
คงตอบยากนะพี่วิน เพราะคนสมัยหมอบรัดเลย์ตายหมดแล้ว

หมอบรัดเลย์ไม่ได้เป็นครู ท่านอุทิศตนทางการแพทย์ การพิมพ์ มากกว่า
นั้นคือวิธีแพร่ธรรมของท่าน
ตอบกลับโพส