หน้า 1 จากทั้งหมด 1

“UBUNTU-อบันตู” ความเป็นมนุษย์ในคน

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 06, 2019 11:29 am
โดย rosa-lee
"UBUNTU-อบันตู"

นักมนุษยวิทยาคนหนึ่งไปศึกษาขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม
ของชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในอัฟริกา ขณะที่รายล้อมไปด้วยเด็กกลุ่มหนึ่ง
เขาเล่นเกมด้วยการเอาตะกร้าผลไม้ซึ่งมีผลไม้วางอยู่เต็มตะกร้า
แล้วเอาตะกร้านั้นวางใต้ต้นไม้ ห่างจากกลุ่มเด็กราว 50 เมตร
เขาวางกติกาโดยบอกกับเด็กทั้งหมดว่า ใครก็ตามที่วิ่งเร็วสุดถึง
ตะกร้าเป็นคนแรกเป็นผู้ชนะ จะได้ตะกร้าผลไม้นั้นเป็นรางวัล

ก่อนจะให้สัญญาณเด็กวิ่ง ปรากฏว่าโดยไม่ต้องพูดอะไรกัน
เด็กทั้งหมดพากันคล้องแขนกันและกันทั้งสองข้างเป็นหน้ากระดาน
เรียงหนึ่ง หลังจากได้รับสัญญาณให้เริ่มได้ พวกเขาวิ่งไปพร้อมๆ กัน
และพวกเขาถึงตะกร้าผลไม้พร้อมกันทั้งหมด ทุกคนเอาผลไม้ในตะกร้า
มาแบ่งปันกันทั่วหน้า ไม่มีใครได้มากน้อยไปกว่าใคร แล้วต่างก็แกะ
ผลไม้กินกันอย่างเบิกบาน

“ทำไมหนูถึงใช้วิธีวิ่งไปถึงพร้อมๆ กัน แทนที่จะแข่งขันเอาชนะเพื่อน
เพื่อจะได้ผลไม้ทั้งตะกร้าไว้กินคนเดียว” นักมานุษยวิทยาถาม เด็กๆ
ส่งเสียงตอบพร้อมกันว่า “อูบันตู”(UBUNTU) ความหมายก็คือ
“ฉันจะสุขได้อย่างไรถ้าคนอื่นเศร้า” หรือหมายความได้ว่า
“ฉันเป็นอะไร เพราะเราเป็นอะไร” (“ I AM BECAUSE WE ARE”)

เรื่องที่ไม่คาดคิด เกิดขึ้นได้เสมอใช่ไหม ว่าเราจะมีภาพในใจ
ของเราเองว่า เด็กชนเผ่าในอัฟริกานั้น ไร้การศึกษา อดอยาก
แร้นแค้น จนแม้แต่เสื้อผ้าไม่มีจะสวมใส่

ดังนั้นต่อหน้าผลไม้เต็มตะกร้าที่ยั่วยวนใจอย่างนี้ เด็กแต่ละคน
คงจะวิ่งสุดแรงเกิด เพื่อไปถึงเป็นคนแรกจะได้คว้าตะกร้าผลไม้
มาเป็นของตนเพียงคนเดียวให้ได้ แต่ที่ไหนได้ แม้แต่นักมนุษยวิทยาเอง
ก็ยังงุนงง จึงตั้งคำถามและได้รับคำตอบเช่นนั้น

ความอดอยากยากจน จึงไม่ใช่บทสรุปว่า จะเป็นเหตุให้พวกเขาเห็นแก่ตัว

ความแร้นแค้น ก็ใช่ว่าจะแล้งน้ำใจที่พึงมีต่อกันและกัน

การขาดการศึกษา ไม่ได้หมายถึงว่าจะทำความดีไม่ได้

อูบันตู (UBUNTU) เป็นคำโบราณในทวีปอัฟริกา แปลตรงตัวว่า
“ความเป็นมนุษย์ในคน” ก็คือความเมตตาในตัวคนนั่นเอง
ในความหมายที่กว้าง “เราเป็นมนุษย์ได้ทุกวันนี้ ก็เพราะเราทุกคน
มีความเมตตาต่อกันใช่ไหมว่าเมตตาธรรมในตัวคนนั่นเอง
คือแก่นแกนและความยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ