15 สิงหาคม แม่พระได้รับเกียรติเข้าสวรรค์ทั้งกายและ ฯ

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

ศุกร์ ส.ค. 16, 2019 6:55 pm

From Facebook : Sinapis
วันที่ ๑๕ สิงหาคม
#สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ
#The Assumption of the Blessed Virgin Mary

วันนี้ชาวคาทอลิกฉลองการเข้าสู่สวรรค์ของพระนางมารีย์พรหมจารี พระนางเสด็จจากโลกนี้เข้าร่วมประทับอยู่กับพระเจ้าทั้งกายและวิญญาณ
พระสันตะปาปาปีโอ ที่ ๑๒ ประกาศข้อความเชื่อนี้ในปี ๑๙๕๐ ในธรรมนูญของพระศาสนจักรเรื่อง
“Munificentissimus Deus” (พระเจ้าทรงอานุภาพสูงสุด) แต่ความเชื่อนี้มีมาแต่ช้านานแล้วในธรรม
ประเพณีของพระศาสนจักร ปิตาจารย์ของพระศาสนจักรหลายท่านได้เขียนข้อรำพึงทางเทววิทยาจากข้อความหลายตอนในพระคัมภีร์ซึ่งบ่งแสดงว่าแม่พระเสด็จสู่สวรรค์หลังจากชีวิตบนโลกสิ้นสุดลง

เหตุการณ์เสด็จสู่สวรรค์ของแม่พระแม้จะไม่มีบันทึกในพระวรสาร แต่ธรรมประเพณีของคาทอลิก
ระบุว่าแม่พระก็คือ "สตรีที่มีดวงอาทิตย์เป็นอาภรณ์" ตามที่หนังสือวิวรณ์ของนักบุญยอห์น บทที่ ๑๒
กล่าวถึงในข้อความตอนนี้สตรีผู้นั้นเป็น "หมายสำคัญยิ่งใหญ่" ซึ่ง "ปรากฏบนท้องฟ้า" เธอคือมารดาของพระเมสสิยาห์ "ดวงจันทร์อยู่ใต้เท้านางและเหนือศีรษะมีมงกุฎที่มีดาว ๑๒ ดวงล้อมรอบ" ดังนั้น จึงมักมีภาพวาดพระนางมารีย์เสด็จสู่สวรรค์ด้วยลักษณาการนี้

ชาวคริสต์ออร์โธดอกซ์ก็ถือว่าการเสด็จสู่สวรรค์ของพระนางมารีย์เป็นข้อความเชื่อที่สำคัญ พระ
สันตะปาปาปีโอ ที่ ๑๒ กล่าวถึงข้อความในพิธีกรรมไบเซนไทน์ยุคแรกเริ่มหลายตอน นักบุญยอห์นแห่งดามัสกัส นักเทววิทยาชาวอาหรับ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ ๘ เขียนถึงการเสด็จสู่สวรรค์ของแม่พระว่า "เหมาะควรยิ่งแล้วที่พระนาง ผู้คงพรหมจรรย์แม้ยามให้กำเนิด จะคงร่างกายไม่เปื่อยเน่าหลังความตาย" และ "พระนางผู้อุ้มพระผู้สร้างในวัยเด็กไว้แนบอกควรจะประทับอยู่ในแท่นบูชาแห่งสวรรค์"

เดิมทีธรรมเนียมคริสต์ออร์โธดอกซ์ เรียกชื่อวันฉลองนี้ว่าการนิทรา (Dormition) ของพระนางมารีย์
พวกเขาเตรียมฉลองโดยให้มีการจำศีลอดอาหารล่วงหน้าก่อนเป็นเวลา ๒ สัปดาห์
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

ศุกร์ ส.ค. 16, 2019 6:56 pm

แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ
วันฉลองที่มีมาตั้งแต่พันปีแรกแห่งคริสตศาสนา

นักบุญยอห์นชาวดามัสกัส (ค.ศ.675-750)
ซึ่งได้รับการยกย่องทั้งในศาสนจักรตะวันตก(คาทอลิก)
และตะวันออก(ออธอดอกซ์)
ได้บันทึกไว้ว่า

"เมื่อประชุมสังคายนาที่เมืองคาลเซดอน เมื่อปี 451
นักบุญยูเวนัล บิชอปประจำเยรูซาเล็ม
ได้ประกาศแก่ จักรพรรดิมาเซียนและ พระนางปูลเชเรีย
ผู้ประสงค์ครอบครองร่างของพระมารดาพระเจ้า ว่า

พระนางได้สิ้นพระชนม์ต่อหน้าเหล่าอัครสาวก
แต่เมื่อได้มีการเปิดพระคูหาตามความสงสัยของนักบุญโทมัส
ก็พบว่า พระศพของพระนางอันตรธานหายไปแล้ว"

#บทความศาสนา
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

ศุกร์ ส.ค. 16, 2019 6:57 pm

15 สิงหาคม

สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ

(The Assumption of the Blessed Virgin Mary, solemnity)

แม้ไม่มีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนถึงสิทธิพิเศษของการรับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ของแม่พระในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ แต่ทางธรรมประเพณีและดูเหมือนเหตุผลทางเทววิทยาก็ชี้ให้เห็นถึงการไขแสดงโดยปริยายในพระคัมภีร์ถึงเรื่องนี้

ในพันธสัญญาเดิม เอกลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวของพระแม่มารีย์ถูกประกาศในฐานะเป็น "สตรี" ที่โดยผ่านทางเธอ การไถ่ให้รอดที่ทรงสัญญาไว้จะเป็นไปได้จริง (ปฐก 3:15)

ในพันธสัญญาใหม่ได้ประกาศความจริงเรื่องการไถ่ให้รอดนั้น (ลก 1:31-35; 1ยน 3:9) และพระนางพรหมจารีมารีย์เป็นผู้ "เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน" ซึ่งจะไม่สามารถทรงเป็นผู้ครบครันบริบูรณ์ดังที่องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสไว้ เว้นแต่ว่าพระนางจะทรงดำรงอยู่โดยไม่เสื่อมสลายไป (เทียบ 1คร 15:54-57)

จึงเป็นการถูกต้องแล้วที่ นักบุญเยอร์มานุส แห่งคอนสแตนติโนเปิล (ราวปี 733) ได้เขียนไว้ว่า "พระวรกายอันเป็นพรหมจรรย์ของพระนางมารีย์เป็นสิ่งที่รวมทั้งความศักดิ์สิทธิ์และบริสุทธิ์เข้าไว้ด้วยกันซึ่งดำรงอยู่เพื่อพระเจ้า และไม่มีวันจะเสื่อมสลายเป็นฝุ่นดินเลย"

ธรรมประเพณีเรื่องการรับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ได้ถูกประกาศมาแต่เนิ่นนานแล้วตั้งแต่ในปี ค.ศ.749 โดยนักบุญยอห์น ดามาซีน (St. John Damascene) ส่วนพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 (1159-1181) ได้เขียนไว้ว่า พระนางมารีย์ได้ให้บังเกิดโดยไม่มีความด่างพร้อยทางพรหมจรรย์ ทรงให้กำเนิดพระบุตรโดยปราศจากความเจ็บปวด ดังนั้น จึงเสด็จจากไปโดยไม่เน่าเปื่อย ตามคำของทูตสวรรค์ หรือโดยพระเจ้าตรัสผ่านทางทูตสวรรค์ว่า "พระนางจะทรงเป็นผู้ที่มีพระหรรษทานเต็มเปี่ยม ไม่ใช่แบบครึ่งๆกลางๆ" และในปี 1568 พระสันตะปาปาปีโอที่ 5 ได้ทรงประกาศให้วันสมโภชการรับเกียรติเข้าสู่สวรรค์เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ทั่วทั้งพระศาสนจักร

การพัฒนาของข้อความเชื่อนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับวันฉลองที่อุทิศแด่แม่พระที่กระทำในวันที่ 15 สิงหาคม เพื่อระลึกถึง "การบรรทมของพระนาง" (her dormition or "falling asleep") เมื่อวันฉลองนี้ ซึ่งแต่เดิมเกิดขึ้นในสมัยจักรวรรดิไบเซนไทน์ - อาจจะในศตวรรษที่ 5 - เข้ามาสู่พระศาสนจักรตะวันตก คำว่า "บรรทม" (dormition) ก็ถูกแทนด้วยคำว่า "ได้รับยกขึ้นสวรรค์" (assumption) นี่เป็นผลมาจากการเน้นถึงความสำคัญทางเทววิทยาที่เพิ่มขึ้นในเรื่องพระสิริรุ่งโรจน์ของความเป็นบุคคลทั้งครบของพระนางมารีย์ ตัวอย่างเช่น ในเรื่องของกายและวิญญาณของพระนาง ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นล่วงหน้าถึงสถานะที่ทรงสัญญาไว้กับมนุษยชาติทั้งมวลที่ยังมาไม่ถึง

อนึ่ง คริสตชนมักจะถือว่าพระนางมารีย์เป็นพระมารดาของพระเจ้า และนั่นหมายถึงตั้งแต่แรกที่พระนางปฏิสนธิเลยทีเดียว บาปไม่มีอำนาจใดๆเหนือพระนาง จึงทรงพร้อมเสมอที่จะทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าในฐานะทาสีของพระองค์ พระนางทรงอยู่ในตำแหน่งที่มีความสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งความรอด เป็นรองก็เพียงแต่พระบุตรของพระนางเท่านั้น และเพราะว่าพระคริสต์ทรงเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต พระองค์เองก็ได้ตรัสว่า "เราอยู่ที่ใด ผู้รับใช้ของเราก็จะอยู่ที่นั่นด้วย" (ยน 12:26) ถ้าเป็นเช่นนี้ ทำไมพระมารดาของพระองค์เองจะไม่มีส่วนร่วมในสถานที่พำนักของพระองค์เล่า ผลที่ตามมาก็คือ พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ภายหลังจากทรงสอบถามบรรดาพระสังฆราชทั่วโลกด้วยแบบประเมินอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับความรู้สึกของคริสตชนจากทุกสังฆมณฑลและทรงได้รับคำตอบแล้ว จึงทรงประกาศอย่างเป็นทางการว่า "การรับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณของพระนางพรหมจารย์" (the Assumption) เป็นข้อความเชื่อของพระศาสนจักร ในสมณลิขิตของพระองค์ที่มีชื่อว่า "Munificentissimus Deus," เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1950

บัดนี้ ผู้ที่เป็นเสมือนหีบพันธสัญญาใหม่อันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ทรงให้กำเนิดองค์พระผู้สร้างในครรภ์ของพระนาง ได้เสด็จมาพักผ่อนในพระวิหารของพระเจ้าเอง วันนี้ พระศาสนจักรปลื้มปิติในการเทิดเกียรติทาสีผู้ต่ำต้อยขององค์พระผู้เป็นเจ้า แท้จริงแล้ว องค์พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพผู้ได้ "ทรงทำสิ่งยิ่งใหญ่" สำหรับพระนางมารีย์ ดังที่พระนางได้ทรงประกาศไว้ในบท "สรรเสริญของพระนาง" (Magnificat) มาบัดนี้ได้ทรงกระทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกว่าทุกสิ่งเพื่อพระนาง แท้จริงแล้วเรื่องการเข้าสู่สวรรค์ของพระนาง (Assumption) อาจจะอธิบายได้เป็นอย่างดีในฐานะว่าเป็นปัสกาของพระมารดาของเรา (as Our Lady's Easter) เพราะในวันนี้ เราสมโภชไม่เพียงเฉพาะพระนางเสด็จผ่านจากชีวิตบนโลกนี้เท่านั้น แต่สมโภชการกลับคืนชีพของพระนาง และการเสด็จสู่สวรรค์ที่เต็มไปด้วยพระสิริรุ่งโรจน์ด้วย ณ ที่นั้น พระนางทรงมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับชัยชนะขององค์พระผู้ทรงกลับฟื้นคืนพระชนมชีพ

ภายใต้จิตสำนึกเช่นนี้ บท Magnificat อาจจะเข้าใจได้ดีที่สุดว่าเป็น พันธสัญญาแห่งความเชื่อของพระนางมารีย์เอง (as Mary's own Testament of Faith) - เป็น "พันธสัญญา" ที่ทำให้เรากล้าจะแสดงความเชื่อในส่วนลึกของเราออกมา เป็นความเชื่อที่ท้าทายเราให้พิจารณาเข้าไปภายใน ดังเช่นที่นักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา ได้ตรัสไว้ว่า "เราแต่ละคนต้องพิจารณาชีวิตของตนเองด้วยสายตาของพระแม่มารีย์ - ทุกสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงกระทำต่อพระแม่ พระองค์ได้ทรงกระทำเพื่อเรา และดังนั้นได้ทรงกระทำในเรา" ดังนั้น ในวันสมโภชนี้ ซึ่งเป็นวันสมโภชที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวันสมโภชทั้งหลายของพระนางมารีย์ พระศาสนจักรทั่วสากลร่วมเสียงเป็นหนึ่งเดียวกับพระนางสรรเสริญพระเจ้าว่า "พระนามของพระองค์ทรงศักดิ์สิทธิ์"

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day ; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ J.K. Mausolfe)
ตอบกลับโพส