“ ผู้ถูกข่มเหงก็เป็นสุข มธ 5:10”

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ ก.ย. 25, 2019 10:26 pm

......แบ่งปันมาจากเพื่อนในกลุ่มline.....
#ผู้ถูกข่มเหงก็เป็นสุข มธ 5:10

10 "คนที่ถูกข่มเหงเพรเอาะเหตุความชอบธรรม ก็เป็นสุข เพราะว่าแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขาทั้งหลาย 11"เมื่อพวกเขาจะติเตียนข่มเหง และนินทาว่าร้ายท่านทั้งหลายต่างๆ เป็นความเท็จเพราะเรา ท่านก็เป็นสุข 12จงชื่นชมและยินดี เพราะว่าบำเหน็จของพวกท่านมีบริบูรณ์ในสวรรค์ เพราะพวกเขาข่มเหงบรรดาผู้เผยพระวจนะที่อยู่ก่อนท่านเหมือนกัน (2011)

10“บุค‌คลผู้‍ใดต้องถูกข่ม‍เหงเพราะเหตุความชอบ‍ธรรมผู้‍นั้นเป็นสุขเพราะว่าแผ่น‍ดินสวรรค์เป็นของเขา
11เมื่อเขาจะติเตียนข่ม‍เหง และนินทาว่าร้ายท่านทั้ง‍หลายเป็นความเท็จเพราะเรา ท่านก็เป็นสุข 12จงชื่น‍ชมยินดี เพราะว่าบำ‌เหน็จของท่านมีบริ‌บูรณ์ในสวรรค์ เพราะเขาได้ข่ม‍เหงผู้เผยพระ‍วจนะทั้ง‍หลาย ที่อยู่ก่อนท่านเหมือนกัน (ปี1971)

ความสุขประการสุดท้ายนี้บ่งบอกความจริงใจของพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง พระองค์ทรงบอกกล่าวผู้ที่ปรารถนาติดตามพระองค์ตั้งแต่แรกเลยว่า พระองค์ไม่ได้เสด็จมาเพื่อทำให้ชีวิตของพวกเขาสะดวกสบายขึ้น แต่เพื่อทำให้ชีวิตของพวกเขา “ยิ่งใหญ่และได้รับพระสิริรุ่งโรจน์” ดุจเดียวกับพระองค์

คริสตชนยุคเริ่มแรกจำนวนมากได้ยืนหยัดอยู่เคียงข้างพระองค์อย่างน่าชื่นชม แม้จะต้องสูญเสียหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตก็ตาม
1. พวกเขาสูญเสียอาชีพและการงาน เช่น ช่างไม้ที่ได้รับการว่าจ้างให้สร้างวัดของคนต่างศาสนา หรือช่างตัดเสื้อที่ถูกขอร้องให้ตัดเย็บอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์สำหรับพระต่างศาสนา พวกเขาไม่ลังเลเลยที่จะเลือกข้างพระเยซูเจ้ามากกว่าความอยู่รอดของธุรกิจ
2. พวกเขาสูญเสียฐานะทางสังคม ในสมัยโบราณงานเลี้ยงมักจัดในวิหารของเทพเจ้า เริ่มต้นด้วยการดื่มให้เกียรติแด่เทพเจ้า แล้วกินเนื้อที่เหลือจากการเผาถวายแด่เทพเจ้า พวกเขาจึงต้องพร้อมปฏิเสธงานเลี้ยงและสูญเสียฐานะในสังคมเพื่อจะเป็นคริสตชนที่สัตย์ซื่อ
3. พวกเขาสูญเสียครอบครัว สมาชิกในครอบครัวบางคนกลับใจเป็นคริสตชน บางคนไม่ยอมกลับใจ ครอบครัวต้องแตกแยก แต่พวกเขาก็พร้อมที่จะรักพระเยซูเจ้ามากกว่าภรรยาและบุตรซึ่งอยู่ใกล้ชิดเขามากที่สุดและเขาเองก็รักมากที่สุดด้วย
นอกจากนี้ ยังมีคริสตชนจำนวนมากต้องทนทุกข์และพลีชีพเพื่อเป็นพยานยืนยันถึงพระเยซูเจ้า บางคนถูกโยนให้สิงโตกิน บางคนถูกเผาไฟทั้งเป็น บางคนถูกห่อด้วยผ้าเต็นท์ชุบน้ำมันแล้วจุดเป็นคบไฟในสวนของจักรพรรดิเนโร บางคนถูกเย็บติดกับหนังสัตว์สด ๆ แล้วปล่อยให้สุนัขล่าเนื้อไล่ล่าจนตาย บางคนถูกคีมบีบ ถูกรมควัน ฯลฯ อีกมากมาย

สาเหตุของการถูกเบียดเบียนอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ
1. การใส่ร้าย
1.1 จากคำที่ว่า “นี่คือกายของเรา นี่คือโลหิตของเรา” พวกเขาถูกใส่ร้ายว่าฆ่าและกินเนื้อเด็ก
1.2 พวกคริสตชนเน้นความรัก และมี kiss of peace (พิธีแสดงความเป็นมิตรต่อกัน) จึงถูกใส่ร้ายว่าประพฤติผิดศีลธรรม มั่วเซ็กซ์
1.3 พวกเขาโดนข้อหาเป็นนักวางเพลิง เพราะชอบพูดถึงไฟล้างโลกอยู่บ่อย ๆ
1.4 พวกเขาถูกกล่าวหาว่าทำให้ครอบครัวแตกแยก
2. การเมือง
เนื่องจากอาณาจักรโรมันมีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยชนหลายชาติหลายศาสนา เพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวกัน พลเมืองทุกคนจึงถูกบังคับให้ถวายกำยานแด่ “เทพเจ้าซีซาร์” อย่างน้อยปีละครั้ง หลังจากได้หนังสือรับรองว่าถวายกำยานแด่ซีซาร์แล้ว แต่ละคนจึงนมัสการพระเจ้าที่ตนนับถือได้
คริสตชนจำยอมประกอบอาชญากรรมอันใหญ่หลวงในสายตาของชาวโรมันด้วยการนมัสการพระเยซูเจ้าเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้แต่เพียงพระองค์เดียว ความผิดของคริสตชนคือการ “วางพระเยซูเจ้าไว้เหนือซีซาร์” !
ทุกวันนี้ แม้โอกาสที่จะ “พลีชีพ” เพื่อยืนยันความเชื่อในพระเยซูเจ้าคงไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่เราสามารถเป็นพยานยืนยันพระองค์ได้ด้วยการ “เจริญชีพ” เช่น รักและรับใช้เพื่อนมนุษย์ ให้อภัยเพื่อนมนุษย์ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงานแม้จะถูกเพื่อนร่วมงานเยาะเย้ยค่อนขอด ดังนี้เป็นต้น
สิ่งที่ต้องจำใส่ใจคือ ถึงจะ “พลีชีพ” เพื่อพระองค์ไม่ได้ แต่เราสามารถ “เจริญชีพ” เพื่อพระองค์ได้ทุกวัน จนตลอดชีวิต !

ตัวอย่าง
พระเยซูเองทรงเป็นผู้ที่ชอบธรรม แต่ก็ทรงถูกจับ ถูกไต่สวน ถูกทำร้ายและถูกตรึงราวกับอาชญากรในคดีอุกฉกรรจ์ ก็เพราะความชอบธรรม สาวกคือผู้ที่ติดตามพระองค์ จึงเป็นผู้ที่ถูกข่มเหงเพราะความชอบธรรมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะผู้ชอบธรรมนั้นดำเนินชีวิตตามค่านิยมของสวรรค์ แต่คนที่เหลือในสังคมนั้นยังดำเนินชีวิตตามค่านิยมแบบโลก ผู้ชอบธรรมเป็นผู้ที่พยายามสร้างสันติ แต่ผู้คนในโลกพยายามหว่านความแตกแยกและสงคราม สาวกอยู่ในโลกก็จริง แต่ไม่ได้เป็นของโลก และยังทำตัวแตกต่างจากโลกดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยว่า สาวกจะเป็นเป้าหมายที่คนอธรรมจะหาทางข่มเหงและทำร้าย
อ. เปาโล เป็นอัครทูตที่ถูกข่มเหงมากที่สุดท่านหนึ่ง ท่านถูกข่มเหงทั้งในเมืองอันทิโอก เมืองอิโคนียูมและเมืองลิสตรา ท่านเคยติดคุก ถูกโบยตี ถูกเฆี่ยน ถูกตี ถูกเอาหินขว้าง และอื่นๆ ทำให้ท่านกล่าวสัจธรรมอันหนึ่งใน 2 ทิโมธีว่า “แท้จริงทุกคนที่ตั้งใจจะดำเนินชีวิตตามทางพระเจ้าในพระเยซูคริสต์จะถูกข่มเหง” แล้วท่านก็หนุนใจต่อว่า “ แต่ท่านจงดำเนินต่อไปในสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้วและเชื่ออย่างมั่นคง” (2 ทธ. 3:12-14)

ท่าทีเมื่อถูกข่มเหง
พระเยซูทรงสอนว่าสาวกควรและน้อมรับการข่มเหงด้วยความชื่นชมและยินดี คำว่า “ยินดี” ในที่นี้ในภาษากรีก แปลว่า “ความยินดีอย่างลึกซึ้งฝ่ายวิญญาณ เป็นความยินดีที่เป็นนิรันดร์ ยั่งยืน ไม่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ภายนอก”
ในกิจการเราจึงพบว่าบรรดาอัครทูตสามารถยืนหยัดในการรักษาความเชื่อด้วยความยินดี เพราะถือว่าเป็นโอกาสที่ได้ทนทุกข์เพื่อพระคริสต์ เมื่อพวกอัครทูตถูกผู้ใหญ่จับมาขังไว้ในคุกหลวง ทูตสวรรค์ก็มาเปิดประตูคุกปล่อยพวกท่านออกไป อัครทูตก็ไปประกาศสั่งสอนในพระวิหาร ก็ถูกจับตัวมาอีก เพื่อสั่งห้ามสอนเรื่องพระเยซูคริสต์ แต่อัครทูตต่างก็ปฏิเสธโดยตอบกลับไปว่า “เราจำเป็นต้องเชื่อฟังพระเจ้ามากกว่าเชื่อฟังมนุษย์” (กจ. 5:29) มหาปุโรหิตจึงสั่งเฆี่ยนอัครทูต แล้วปล่อยตัวไป แทนที่พวกท่านจะขมขื่น น้อยใจ ต่อว่าพระเจ้า คิดถอยหลัง ไม่ใช่เลย พวกท่านมีแต่ความชื่นชมยินดี “เมื่อได้เรียกพวกอัครทูตเข้ามาแล้ว จึงเฆี่ยนและกำชับไม่ให้ออกพระนามของพระเยซู แล้วก็ปล่อยไป พวกอัครทูตจึงออกไปให้พ้นหน้าสภาด้วยความยินดี ที่เห็นว่าตนสมจะได้รับการหลู่เกียรติเพราะพระนามนั้น” (กจ. 5: 40-41) อัครทูตเปโตรหนุนใจให้เผชิญหน้ากับการข่มเหงด้วยความชื่นชมยินดี ไม่บ่นและไม่ท้อใจ เพราะเป็นการมีส่วนร่วมในการทนทุกข์ของพระคริสต์ “แต่ว่าท่านทั้งหลายจงชื่นชมยินดีในการที่ท่านได้มีส่วนร่วมในความทุกข์ยากของพระคริสต์ เพื่อว่าเมื่อพระสิริของพระเจ้าปรากฏขึ้น ท่านทั้งหลายก็จะได้ชื่นชมยินดีเป็นอันมากด้วย ” (1 ปต. 4:13-14)

พระพรของผู้ที่ถูกข่มเหงเพราะความชอบธรรม คือ แผ่นดินสวรรค์เป็นของเขา (เป็นปัจจุบันกาล)

พระพรข้อ 8 นี้เหมือนกับในข้อ 1 และเป็นปัจจุบันกาลเหมือนกัน เพื่อแสดงว่า คำเทศนาเรื่องผู้เป็นสุขนี้เริ่มต้นด้วยแผ่นดินสวรรค์และจบลงที่แผ่นดินสวรรค์ด้วย
เมื่อพระเยซูตรัสสอนคุณสมบัติต่างๆ ครบทั้ง 8 ประการแล้ว ก็หันกลับมาที่สาวก เพื่อขยายความพระพรในประการที่ 8 อีกทีหนึ่ง โดยการนำมาประยุกต์ใช้กับพวกเขาทันที สังเกตว่าทรงเปลี่ยนจาก “บุคคลผู้ใด”มาเป็น “ท่านทั้งหลาย” ซึ่งเป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 เพื่อสอนว่า เมื่อพวกเขาถูกกดขี่ข่มเหง ได้รับการดูถูกดูหมิ่นและเหยียดหยามเพราะเป็นสาวกของพระองค์ ก็ไม่ต้องกลัว
ตอบกลับโพส