ประวัตินักบุญอย่างย่อเดือนมิถุนายน( วันที่1-15)

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร มิ.ย. 01, 2021 12:01 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๑ มิถุนายน
นักบุญยุสติน มรณสักขี
St. Justin, Martyr

……ยุสติน (ประมาณ ค.ศ.๑๐๐-๑๖๕) เป็นหนึ่งในผู้ปกป้องความเชื่อคนสำคัญที่สุดของคริสตชน
ท่านได้รับความเคารพว่าเป็นนักปรัชญาชาวคริสต์คนแรก ท่านเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของนักปรัชญา

ยุสตินเกิดที่เมืองเชเคม ในแคว้นสะมาเรีย บิดามารดาของท่านเป็นชาวกรีก ท่านเรียนปรัชญา
ที่เมืองเอเฟซัสและอเล็กซานเดรียเพื่อแสวงหา "นิมิตของพระเจ้า" ท่านเข้าเป็นคริสตชน
ในปี ๑๓๐ เพราะท่านประทับใจในองค์พระคริสต์ผู้มีบทบาทตามคำทำนายของบรรดา
ประกาศกในพระธรรมเก่า และเพราะท่านเห็นการยอมสละชีพเพื่อความเชื่อของคริสตชน

ภายหลังการกลับใจยุสตินออกถกเถียงกับชาวยิวและผู้ไม่เชื่อศาสนาในฐานะนักปรัชญา
ที่เป็นคริสตชนท่านไปโรมในปี ๑๕๐ ที่นั่น ท่านตั้งสำนักปรัชญา สอนและเขียนผลงาน
สำคัญหลายชิ้น งานเขียนของท่านได้ให้ข้อมูลเรื่องการปฏิบัติพิธีกรรมของพระศาสนจักรยุคแรก
และทำให้เข้าใจสภาพของพระศาสนจักรในศตวรรษที่ ๒

ยุสตินถูกจับในรัชสมัยของ Marcus Aurelius เพราะท่านปฏิเสธจะบูชาเทพเจ้าองค์อื่นๆ
ท่านถูกสังหารในปี ๑๖๕

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ มิ.ย. 02, 2021 3:40 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๒ มิถุนายน
นักบุญมาร์แชลลิน และนักบุญเปโตร มรณสักขี
St. Marcellinus and St. Peter, Martyrs

มาร์แชลลินและเปโตร (เสียชีวิต ค.ศ.๓๐๔) เป็นมรณสักขีชาวโรมัน
มาร์เซลลีนัสเป็นพระสงฆ์ที่โดดเด่นของโรม เปโตรเป็นผู้ขับไล่ปีศาจ
พวกท่านถูกจับคุมขังและต่อมาถูกตัดศีรษะในรัชสมัยของจักรพรรดิ Diocletian

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. มิ.ย. 03, 2021 9:14 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๓ มิถุนายน
นักบุญชาร์ลส์ ลวงก้า และเพื่อนมรณสักขี
St. Charles Lwanga and Companions, Martyrs of Uganda

ชาร์ลส์ ลวงก้า (ค.ศ.๑๘๖๐-๘๖) เป็นมรณสักขีของแอฟริกา ท่านถูกสังหาร
เมื่ออายุ ๒๑ ปี เพราะถือความเชื่อคริสตชน เพื่อนๆ ของท่านก็ถูกสังหารด้วยรวม
ทั้งชาวโปรแตสแตนท์อีก ๒๔ คน

ชาร์ลส์เกิดในมณฑล Buddu แห่ง Uganda ท่านรู้จักคริสตศาสนาผ่านทางสมาชิกสองคน
ในศาล ไม่ช้าชาร์ลส์ก็ได้เรียนคำสอน ชาร์ลส์รับใช้ Joseph Mkasa ผู้รับใช้หัวหน้าเผ่า
ในคืนที่ Mkasa ถูกตัดศีรษะตามคำสั่งของหัวหน้าคนใหม่ ชาร์ลส์ก็ขอรับพิธีล้างบาป
ชาร์ลส์เป็นหัวหน้าของพวกผู้รับใช้และสอนความเชื่อคริสตชนให้พวกเขา เมื่อพวกเขา
เสี่ยงต่ออันตรายที่จะถูกจับกุม ชาร์ลส์ก็ล้างบาปพวกเขาทั้งหมด ชาร์ลส์และพวกผู้รับใช้
ถูกบังคับให้สารภาพความเชื่อ พวกเขาถูกจับ และให้เดินเท้า ๑๖ ไมล์ ไปยังเมือง Namugongo
ริมทะเลสาปวิคตอเรีย พวกเขาถูกสังหารที่นั่น มรณสักขีของยูกันดาเหล่านี้ได้รับการประกาศ
เป็นนักบุญโดยพระสันตะปาปาเปาโล ที่ ๖ ในปี ๑๙๖๔

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

ศุกร์ มิ.ย. 04, 2021 11:24 am

ฉลองนักบุญ วันที่ ๔ มิถุนายน
นักบุญเมโทรฟาเนส พระสังฆราช
St. Metrophanes, Bishop

เมโทรฟาเนส (เสียชีวิต ค.ศ.๓๒๕) เป็นพระอัยกา (patriarch) คนแรกของ
เมืองคอนสแตนติโนเปิลท่านเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่จักรพรรดิคอนสแตนติน
เลือกเมืองไบแซนติอุม (Byzantium) เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของจักรวรรดิของพระองค์

โดเมทิอุส (Dometius) ผู้เป็นบิดาของเมโทรฟาเนส นำครอบครัวเข้าอาศัย
ในเมืองไบแซนติอุมหลังจากได้กลับใจเป็นคริสตชน ในเวลานั้นไบแซนติอุมเป็นเพียง
เมืองเล็กๆ เมืองหนึ่ง โดเมทิอุสเป็นเพื่อนสนิทของพระสังฆราชแห่ง Heracles
ซึ่งได้บวชเขาเป็นพระสงฆ์และให้เขารับตำแหน่งสังฆราชต่อจากเขาลูกชายคนโต
ของโดเมทิอุสสืบตำแหน่งสังฆราช และเมื่อเขาเสียชีวิต เมโทรฟาเนส ลูกชายคนสุดท้อง
ก็เป็นพระสังฆราชในปี ๓๑๓ ไม่ทราบเหตุผลแน่ชัดที่เขตปกครองของสังฆราชเมโทรฟาเนส
ย้ายจากเมือง Heracles สู่เมืองไบแซนติอุม อาจเป็นว่ามีการแบ่งเขตเมื่อคอนสแตนตินยก
ให้ไบเซนติอุมเป็นเมืองหลวงใหม่ อย่างไรก็ตาม เมโทรฟาเนสเป็นพระสังฆราชคนแรกของ
ไบแซนติอุม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองคอนสแตนติโนเปิล

เมโทรฟาเนสเป็นที่รู้จักทั่วอาณาจักรตะวันออกในฐานะผู้ศักดิ์สิทธิ์

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

เสาร์ มิ.ย. 05, 2021 11:49 am

ฉลองนักบุญ วันที่ ๕ มิถุนายน
นักบุญบอนีฟาส พระสังฆราชและมรณสักขี
St. Boniface, Bishop and Martyr

บอนีฟาส (ค.ศ.๖๗๕-๗๕๔) เป็น "อัครสาวกแห่งเยอรมนี" และเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์องค์หนึ่ง
ของประเทศนี้ท่านเกิดในเมือง Devon ประเทศอังกฤษ มีชื่อว่า Wynfrith ท่านได้รับการอบรมศึกษา
ในอารามคณะเบเนดิกติน เมื่อท่านเป็นนักพรตหนุ่มและทำหน้าที่สอนหนังสือ ท่านได้เขียนหนังสือ
ไวยากรณ์ละตินฉบับภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรก ท่านบวชเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุ ๓๐ ปีและเป็นนักเทศน์
และครูที่มีชื่อเสียง ท่านเลือกจะทำงานเป็นธรรมทูต ในปี ๗๑๖ ท่านเดินทางไป Frisia
(ภาคเหนือของเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน) แต่ชนเผ่าที่นั่นต่อต้านรุนแรงจนท่านต้องเดินทางกลับอังกฤษ
ในปี ๗๑๙ท่านได้รับคำสั่งโดยตรงจากพระสันตะปาปาเกรกอรี ที่ ๒ ให้ไปประกาศพระวรสาร
ใน Bavaria และHesse ขณะเดินทางไปที่นั่น ท่านได้ข่าวว่าสถานการณ์ใน Frisia เปลี่ยนแปลง
ท่านจึงไป Frisia เพื่อประกาศพระวรสารเป็นเวลา ๓ ปี ในปี ๗๒๒ ท่านไปเยือนโรม
พระสันตะปาปาอภิเษกให้ท่านเป็นพระสังฆราชปกครองดินแดนของพวกเยอรมัน ช่วงเวลานี้เอง
ที่ท่านเปลี่ยนชื่อเป็นบอนีฟาส

บอนีฟาสได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ Charles Martel เพราะมีจดหมายรับรองของพระสันตะปาปา
ในการประกาศพระวรสารใน Hesse ท่านทำให้คนกลับใจมากมายและก่อตั้งอารามนักพรตหลายแห่ง
ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนพระสันตะปาปาในเยอรมันในปี ๗๓๙ ท่านจัดระเบียบศาสนจักร
ในดินแดนนั้นใหม่ ท่านจัดให้มีการประชุมสมัชชา ๕ ครั้งและควบคุมดูแล เรื่องความประพฤติ
นอกลู่นอกทางของพระสงฆ์ท่านกำหนดให้ใช้พระวินัยของคณะเบเนดิกตินในอารามทุกแห่ง
ในปี ๗๕๒ โบนิฟาส ซึ่งมีอายุ ๘๐ ปีลาออกจากการเป็นผู้นำของพระศาสนจักรเยอรมันและ
กลับคืนสู่งานประกาศพระวรสารแก่พวก Frisians ท่านได้เดินทางลึกเข้าสู่ดินแดนที่มีชนเผ่า
เป็นศัตรูขณะท่านกำลังอ่านหนังสือในกระโจมที่ Dokkum รอคอยผู้จะมารับศีลกำลัง
ที่พักของท่านก็ถูกโจมตีบอนีฟาสห้ามการต่อสู้ตอบโต้ท่านและผู้ร่วมทาง ๕๓ คนถูกสังหาร

จดหมายจำนวนมากมายที่บอนีฟาสเขียนถึงผู้นำพระศาสนจักรและศิษย์ได้ตกทอด
เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลัง ท่านเป็นผู้อภิบาลที่มีความรักเมตตา เรียบง่าย
และอุทิศตัวเองเพื่อพระวรสาร

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อาทิตย์ มิ.ย. 06, 2021 1:45 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๖ มิถุนายน
นักบุญนอร์เบิร์ต
St. Norbert, Bishop

นอร์เบิร์ต (ค.ศ.๑๐๘๐-๑๑๓๔) เป็นผู้ก่อตั้งคณะ Premonstratensians
หรือที่รู้จักในชื่อ Canons Regular of Premontre หรือเรียกง่ายๆ ว่า Norbertines

ท่านเกิดในครอบครัวขุนนางที่เมือง Xanten ใน Rhineland
ประสบการณ์เฉียดตายในปี ๑๑๑๕
ทำให้ท่านกลับใจ ท่านบวชเป็นพระสงฆ์ในปีเดียวกันนั้นและออกเดินทางเป็นนักเทศน์
ไปทั่วดินแดนภาคเหนือของฝรั่งเศส เยอรมัน และเบลเยี่ยมในปัจจุบัน ท่านพยายาม
ปฏิรูปผู้ทำหน้าที่เป็นอาลักษณ์ของวัดจนได้รับการสนับสนุนจากสังฆราชท้องถิ่น
ท่านมีสมาชิกร่วมด้วยในระยะเริ่มต้น ๑๓ คนที่หุบเขา Premontre และจำนวนคน
เพิ่มเป็นสี่สิบคนในไม่ช้า ทุกคนถือคำปฏิญาณตามวินัยของนักบุญออกัสติน

พวกท่านไม่ใช่คณะที่ก่อตั้งขึ้นใหม่แต่เป็นขบวนการปฏิรูปสำหรับผู้ทำงานของวัด
ขบวนการของพวกท่านแผ่ขยายไปยังประเทศอื่นๆ มีทั้งผู้หญิงและผู้ชายเข้าร่วม
พระสันตะปาปาตั้งนอร์เบิร์ตเป็นสังฆราชแห่ง Magdeburg ในปี ๑๑๒๖
ท่านได้รับการประกาศเป็นนักบุญในปี ๑๕๘๒

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ มิ.ย. 07, 2021 12:16 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๗ มิถุนายน
นักบุญวิลลิบัลด์ พระสังฆราช
St. Willibald, Bishop

วิลลิบัลด์ (เสียชีวิต ค.ศ.๗๘๖) เป็นสังฆราชของ Eichstatt ท่านเป็นน้องชายของ
นักบุญ Winnibald และนักบุญ Walburga นักบุญบอนีฟาสเป็นลุงของท่าน

วิลลิบัลด์เกิดใน Wessex ท่านเข้าเป็นฤษีตั้งแต่ยังหนุ่มหลังหายจากอาการเจ็บป่วย
ที่เกือบทำให้ท่านเสียชีวิต เมื่อสำเร็จการศึกษา ท่านออกเดินทางไปยังที่หลายแห่ง
ในปี ๗๒๐ ท่านจาริกแสวงบุญไปที่โรมซิซิลี ไซปรัส เตอร์กี ซีเรีย และปาเลสไตน์
ท่านพำนักอยู่ในเมืองคอนสแตนติโนเปิลเป็นเวลานานจน
กระทั่งกลับคืนสู่อิตาลีในปี ๗๓๐ และเข้าพักที่อาราม Monte Cassino เป็นเวลา ๑๐ ปี
ที่นั่น ท่านได้ช่วยฟื้นฟูการถือพระวินัยดั้งเดิมของคณะเบเนดิกติน

ในปี ๗๔๐ สันตะปาปาเกรกอรี ที่ 3 ส่งท่านไปเยอรมันเพื่อร่วมทำงานแพร่ธรรมกับ
นักบุญบอนีฟาสลุงของท่าน ท่านบวชเป็นพระสงฆ์ในปี ๗๔๑ ท่านทำงานประกาศพระวรสาร
ใน Franconia และได้รับอภิเษกเป็นสังฆราชในปี ๗๔๒ ท่านตั้งอาราม ๒ แห่ง
ที่ Heidenheim โดยให้ถือพระวินัยเหมือนกับที่อาราม Monte Cassino
ท่านทำหน้าที่ของพระสังฆราชนานถึง ๔๕ ปี

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร มิ.ย. 08, 2021 11:59 am

ฉลองนักบุญ วันที่ ๘ มิถุนายน
นักบุญวิลเลียมแห่งยอร์ค พระสังฆราช
St. William of York, Bishop

วิลเลียม (เสียชีวิต ค.ศ.๑๑๕๔) เป็นอัครสังฆราชแห่งยอร์ค ท่านเกิดมา
ในครอบครัวขุนนางที่มีสายสัมพันธ์กับราชวงศ์ บิดาของท่านเป็นผู้ดูแลโบสถ์
และเป็นวิญญาณรักษ์ของกษัตริย์ Stephen ด้วย

กษัตริย์ทรงเลือกให้วิลเลียมเป็นอัครสังฆราชคนใหม่ของยอร์คในปี ๑๑๔๐
แต่มีหลายคนคัดค้าน รวมทั้งนักบุญเบอร์นาร์ดแห่งคลาโว ทั้งสองฝ่ายยื่นอุทธรณ์
ต่อพระสันตะปาปา Lucius ที่ ๒ แต่พระองค์สิ้นพระชนม์เสียก่อน
พระสันตะปาปา Eugenius ที่ ๓ ซึ่งเป็นสมาชิกคณะ Cistercian เหมือนนักบุญ
เบอร์นาร์ดขึ้นดำรงตำแหน่ง พระองค์ให้ปลดวิลเลียมและแต่งตั้งพระสงฆ์คณะ Cistercian
คนหนึ่งทำหน้าที่แทน วิลเลียมลาเกษียณไปอยู่ที่เมือง Winchester
ท่านดำเนินชีวิตอย่างสมถะและศรัทธา

ปี๑๑๕๓ พระสันตะปาปา Eugenius ที่ ๓ สิ้นพระชนม์ นักบุญเบอร์นาร์ดและอัครสังฆราช
แห่งยอร์คก็เสียชีวิต วิลเลียมได้รับตำแหน่งคืนจากพระสันตะปาปาองค์ใหม่
คือ Anastasius ที่ ๔ ท่านกลับคืนสู่ยอร์คอย่างผู้มีชัยชนะในวันที่ ๘ มิถุนายน ๑๑๕๔
ท่านเสียชีวิตอย่างกะทันหันหลังถวายมิสซา

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. มิ.ย. 10, 2021 5:48 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๙ มิถุนายน
นักบุญเอเฟรม นักปราชญ์ของพระศาสนจักร
St. Ephrem, Deacon and Doctor of the Church

เอเฟรม (ค.ศ.๓๐๖-๗๓) เป็นผู้ประพันธ์บทขับร้องจำนวนมากมาย
และเขียนอรรถาธิบายพระคัมภีร์จนทำให้ท่านได้รับการยกย่องเป็น
นักปราชญ์ของพระศาสนจักรในปี ๑๙๒๐

เอเฟรมเกิดที่เมือง Nisibis ในเมโสโปเตเมีย ท่านรับศีลล้างบาปในปี ๓๒๔
และเข้าร่วมในสำนักของอาสนวิหารที่นั่นจนได้ขึ้นเป็นหัวหน้า
เมื่อพวกเปอร์เซียนบุกยึด Nisibis ในปี ๓๖๓ ท่านก็ออกไปดำเนินชีวิตเป็นฤาษี
ในถ้ำแห่งหนึ่งใกล้ Edessa ในช่วงเวลานี้เองที่เอเฟรมเขียนบทขับร้องมากมาย
(ซึ่งยังหลงเหลือมาถึงเรามากกว่า ๕๐๐ บท) และท่านเขียนคำอธิบายหนังสือ
ในพระธรรมเก่าเกือบทุกเล่มและหนังสือในพระธรรมใหม่อีกมาก

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. มิ.ย. 10, 2021 5:49 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๑๐ มิถุนายน
บุญราศียอห์น โดมินิชี พระสังฆราช
Blessed John Dominici, Bishop

ยอห์น โดมินิชี (ค.ศ.๑๓๖๗-๑๔๑๙) เป็นนักเทววิทยาชั้นแนวหน้าและ
เป็นนักเทศน์ชั้นยอดของยุคสมัยของท่าน ท่านเป็นผู้นำการปฏิรูปคณะโดมินิกัน
ในภาคเหนือของอิตาลีท่านนำการใช้พระวินัยเคร่งครัดของนักบุญโดมินิกกลับมา
ใช้อีก ท่านเป็นผู้ฟังสารภาพบาปและพ่อวิญญาณของพระสันตะปาปาเกรกอรี ที่ ๑๒
ท่านแนะนำให้สันตะปาปาองค์นี้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อยุติความแตกแยกของ
พระศาสนจักรตะวันตกที่เกิดมาตั้งแต่ปี ๑๓๗๘-๑๔๑๗ ท่านได้เป็นพระสังฆราช
และคาร์ดินัล ท่านเป็นผู้นำข่าวการลาออกของพระสันตะปาปามาแจ้งแก่ที่ประชุม
สังคายนาเมืองคอนสแตนซ์ ท่านได้รับการประกาศเป็นบุญราศีในปี ๑๘๓๒

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

เสาร์ มิ.ย. 12, 2021 11:18 am

ฉลองนักบุญ วันที่ ๑๑ มิถุนายน
นักบุญบาร์นาบัส อัครสาวก
St. Barnabas, Apostle

บาร์นาบัส (ศตวรรษที่ ๑) ไม่ได้อยู่ในกลุ่มอัครสาวกแรกเริ่ม แต่ท่านก็ได้รับการยอมรับว่า
เป็นอัครสาวกเพราะท่านทำงานเป็นธรรมทูตนอกเมืองเยรูซาเล็ม ชื่อเดิมของบาร์นาบัสคือ
โยเซฟ ท่านเป็นคนเก็บภาษีจากไซปรัส พวกอัครสาวกตั้งชื่อให้ท่านว่าบาร์นาบัส ซึ่งหมายถึง
"บุตรแห่งการปลอบบรรเทาหรือให้กำลังใจ" เพราะลักษณะการพูดที่ชื่นชูใจคนฟังของท่าน

เมื่อบาร์นาบัสตัดสินใจเป็นศิษย์ของพระเยซู ท่านได้ขายและบริจาคทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อจะ
ได้ทำงานธรรมทูต ท่านเป็นผู้แนะนำเปาโลแก่บรรดาผู้นำศาสนจักรในเยรูซาเล็ม ท่านและ
เปาโลร่วมเดินทางไปประชุมที่เยรูซาเล็มเพื่อตกลงปัญหาการเข้าสุหนัตของคนต่างศาสนาที่กลับใจ

บาร์นาบัสเดินทางไปไซปรัสกับมาระโก ธรรมประเพณีเล่าว่าท่านได้ก่อตั้งกลุ่มคริสตชนชาวไซปรัส

ท่านถูกหินทุ่มจนตายในเมืองของพวกซาลามีในปี ๖๐ หรือ ๖๑ ไม่มีงานเขียนของท่านหลงเหลือ
ถึงเรา"จดหมายของบาร์นาบัส" ไม่ใช่ผลงานท่านเพราะถูกเขียนในปี ๑๓๐
บาร์นาบัสเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของไซปรัส

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

เสาร์ มิ.ย. 12, 2021 11:26 am

ฉลองนักบุญ วันที่ ๑๒ มิถุนายน
นักบุญโอนูโฟรอิส ฤษี
St. Onouphrois, Hermit

โอนูโฟรอิส (เสียชีวิตราว ค.ศ.๔๐๐) เป็นฤษีชาวอียิปต์มีอาสนวิหารชื่อ San Onofrio
ในโรม ที่ในศตวรรษที่ ๑๕ เพื่ออุทิศแด่ท่าน

ฤษีคนหนึ่งชื่อ พาฟนูติออส (Paphnoutios) ได้พบโอนูโฟรอิสในทะเลทราย
โอนูโฟรอิสซึ่งเปลือยกาย มีหนวดเคราขาวเล่าเรื่องราวชีวิตของท่านให้พาฟนูติออสฟัง

โอนูโฟรอิสเคยเป็นฤษีในอารามขนาดใหญ่ที่ Thebaid แต่ปลีกตัวออกมาอยู่ลำพัง
เพราะสัมผัสถึงกระแสเรียกชีวิตสันโดษ ท่านอยู่ในทะเลทรายเป็นเวลานาน ๖๐ ปี
ท่านได้รับนิมิตจากพระเจ้าว่าจะเสียชีวิตและพาฟนูติออสจะเป็นผู้ฝังท่าน ซึ่งท่าน
ก็ได้เสียชีวิตลง พาฟตูนิออสฝังท่านในถ้ำแห่งหนึ่งบนภูเขา แต่ถ้ำแห่งนั้นสูญสลาย
หายไปทันที พาฟตูนิออสคิดว่านั่นเป็นเครื่องหมายบอกว่าท่านไม่ควรอยู่ที่นั่นต่อไป
เรื่องเล่าของโอนูโฟรอิสเป็นที่นิยมแพร่หลายมากในศตวรรษที่ ๖

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

เสาร์ มิ.ย. 12, 2021 6:37 pm

13 มิถุนายน
ระลึกถึง นักบุญอันตน แห่งปาดัว พระสงฆ์ นักปราชญ์
(St. Anthony of Padua, Priest & Doctor, memorial)

นักบุญอันตนเกิดที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1195
ขณะรับศีลล้างบาปได้รับชื่อว่า Ferdinand Bouillon บิดามารดาของท่าน
เป็นเชื้อสายผู้ดีชาวโปรตุกีส บิดาของท่านได้เป็นอัศวินในราชสำนักของ
กษัตริย์อัลฟอนโซ ที่ 2 (King Alfonso II) การศึกษาขั้นเริ่มแรกที่ท่านได้รับ
เกิดขึ้นที่อาสนวิหารแห่งกรุงลิสบอนนั่นเอง เมื่ออายุ 15 ปี ได้เข้าคณะของ
นักบุญออกัสติน (The Regular Canons of St. Augustine) และได้ถูกย้าย
ให้ไปอยู่ในอารามที่เมืองโคอิมบรา (Coimbra) ในอีกสองปีต่อมา
สาเหตุเพราะมีเพื่อนๆของท่านมาเยี่ยมมากไปทำให้เกิดความวอกแวก
ที่อารามนี้ท่านได้อุทิศตนในการภาวนาและการศึกษาจนกลายเป็นผู้รอบรู้
ในพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นอย่างดี

ในปี ค.ศ. 1220 ขณะที่ท่านมีอายุได้ 25 ปี คุณพ่อเปโดร แห่งโปรตุเกส
(Don Pedro of Portugal) ได้นำพระธาตุของพวกนักบวชฟรังซิสกันรุ่นแรกที่
ยอมตายเป็นมรณสักขีจากประเทศโมร็อกโก กลับมายังเมืองโคอิมบรา
นักบุญอันตนได้รับแรงกระตุ้นให้อยากเป็นมรณสักขีเป็นอย่างมาก
จึงไปขอเข้าคณะฟรังซิสกันในปี ค.ศ. 1221 และได้รับเข้าเป็นสมาชิก
ที่นี่ท่านได้รับชื่อว่า "อันตน" (Anthony) และท่านก็ขอให้ส่งท่านไปประเทศโมร็อกโก
เพื่อไปเทศน์สอนพระวรสารให้กับพวกแขกมัวส์ (Moors) แต่ขณะเดินทางไป ท่
านป่วยหนักมาก จึงถูกบังคับให้กลับมา แต่เรือของท่านเจอพายุใหญ่
จนต้องไปขึ้นฝั่งที่เกาะซิซิลี ประเทศอิตาลี ต่อจากนั้นท่านได้ยินว่ามีการประชุมครั้งใหญ่
ของคณะฟรังซิสกันที่เมืองอัสซีซี ในปี ค.ศ. 1221 ท่านจึงได้เข้าร่วมประชุมกับ
บรรดาภราดา 3,000 คนที่นั่น และได้เห็นนักบุญฟรังซิส อัสซีซี เป็นครั้งแรก
หลังการประชุมนั้นท่านได้รับหน้าที่ทำงานรับใช้พื้นๆที่อารามใกล้เมืองฟอร์ลี
เพราะความสุภาพของท่าน จึงไม่มีใครรู้ว่าท่านเป็นผู้มีความรู้ดีมากคนหนึ่ง
จนกระทั่งต่อมาที่มีบางครั้งท่านถูกขอร้องให้พูดบ้างเล็กน้อยในพิธีบวช
จึงได้ทำให้คนอื่นๆเพิ่งค้นพบว่าท่านมีพรสวรรค์ในการเทศน์อย่างน่าทึ่ง

นักบุญอันตนสามารถอธิบายพระคัมภีร์ให้เข้าใจง่ายๆ แต่ลึกซึ้ง และชัดแจ้ง
จนกระทั่งนักบุญฟรังซิสเองเขียนจดหมายไปถึงท่านว่าดังนี้ "ฉันปรารถนาให้ท่าน
สอนเทววิทยาให้กับบรรดาภราดาของเรา แต่อย่างไรก็ตาม มีเงื่อนไขว่าต้องไม่ทำ
ให้จิตตารมณ์ของการภาวนา และความศรัทธาดับมอดไป" ดังนั้น ท่านก็ได้เริ่มสอน
และเทศนาตลอดทั่วทั้งฝรั่งเศสตอนใต้ และอิตาลีทางตอนเหนือ ด้วยบุคลิกภาพที่
น่าชื่นชมของท่าน ผนวกกับน้ำเสียงที่ชัดเจน มีอำนาจ และน่าฟัง ทำให้ท่านสามารถ
ถ่ายทอดความรู้ของท่านไปยังคนอื่นๆได้เป็นอย่างดี และพระเจ้าได้ทรงมอบพระพร
แก่ท่านในด้านการทำอัศจรรย์ (miracles) การใช้ลิ้น(tongues = ภาษาที่ชักจูง)
และการทำนาย(prophecy) นอกจากนี้ท่านยังได้ต่อสู้อย่างเข้มแข็งกับพวกเฮเรติ๊ก
Cathari และ Patarines ที่แพร่หลายมากในขณะนั้น พวกนี้สอนให้ดื้อดึงอยู่
ในพยศชั่วของความหรูหราฟุ้งเฟ้อ ความหยิ่งยโส การกดขี่ ความเกลียดชัง
และความโลภ ซึ่งท่านก็ประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับพวกนี้ด้วย

นักบุญอันตนเป็นคนที่สุภาพมาก ท่านเห็นว่าคำสอนของท่านก็ดี
งานอภิบาลของท่านก็ดี ตลอดจนทั้งชีวิตของท่านเป็นการบริการรับใช้
เพื่อจะได้นำวิญญาณของคนจำนวนมากมายมาถวายแด่พระคริสต์
ท่านได้ทำให้คนที่เป็นศัตรูกันมานานคืนดีกัน บรรดาลูกหนี้ได้ออกจากคุก
พวกโจรหันมาประกอบอาชีพสุจริต คนโกงเขามาก็ได้ชดใช้ให้คืนไป
และผู้ปกครองบ้านเมืองได้ตรากฎหมายที่มีคุณประโยชน์เพื่อแก้ไขความผิดพลาด
ให้กลับสู่ความถูกต้อง

นักบุญอันตนสามารถดึงดูดผู้คนมากมายให้มาฟังคำเทศน์ของท่านไม่ว่า
จะไปที่ไหนในอิตาลีก็ตาม และโดยเฉพาะท่านประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง
ที่เมืองปาดัว ที่นี่คนเกือบทั่วทั้งเมืองจะมาชุมนุมกันเนืองแน่นเพื่อฟังท่าน
และให้การต้อนรับท่านเหมือนเป็นนักบุญฟรังซิส(อัสซีซี)อีกองค์หนึ่ง

ภายหลังนักบุญฟรังซิสสิ้นชีพแล้ว นักบุญอันตนได้ไปเป็นเจ้าคณะแขวง
ของแคว้นเอมิลิอา(Emilia) หรือ โรมาญา(Romagna) และในปี ค.ศ. 1226
ได้รับเลือกเป็นทูตพิเศษของคณะไปเฝ้าพระสันตะปาปาเกรโกรี่ที่ 9 ไม่นานหลังจากนั้น
ท่านพ้นจากหน้าที่นี้ แล้วกลับไปเทศน์สอนได้ใหม่ ท่านได้กลับไปที่เมืองปาดัว
และเทศน์สอนที่นั่นจนถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1231
เมื่ออายุ 36 ปีเท่านั้น อีกหนึ่งปีต่อมาได้รับการประกาศแต่งตั้งเป็นนักบุญ
และจำเนียรกาลต่อมาจึงได้รับการประกาศเป็นนักปราชญ์ของพระศาสนจักร
ในปี ค.ศ. 1946 โดยพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ท่านเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์
ของประเทศโปรตุเกส ของนักเดินทาง ของหญิงที่ตั้งครรภ์และหญิงที่มีลูกยาก
ของคนยากคนจน (St. Anthony's Bread) และพวกที่ทำของหายมักจะขอ
ความช่วยเหลือจากท่านเป็นพิเศษ รวมทั้งพวกที่อยู่ในอันตรายในกรณีเรือ
จะอับปางด้วย

พระธาตุของนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ ซึ่งชื่อภาษากรีกของท่านมีความหมายว่า
"ประเมินค่ามิได้" (= priceless) ก็กลายเป็นสิ่งที่หาค่ามิได้ของท่านจริงๆ
เช่น ลิ้นของท่าน ที่เทศน์ให้ชาวเมืองปาดัวและเมืองลิสบอนให้กลับใจมาสัมผัส
ความรักจากพระเจ้า ทุกวันนี้ยังคงความสดและมีสีแดงอยู่ท่ามกลางความเปื่อยสลาย
ไปของพระธาตุส่วนอื่นๆของท่าน และลิ้นของท่านนี้ยังคงถูกเก็บไว้บูชาในบาสิลิกา
ที่สร้างให้เป็นเกียรติแก่ท่านในปี ค.ศ.1263

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ
จากหนังสือ Saint Companions For Each Day
; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ J.K. Mausolfe
และ The Book of Saints ; Text : Victor Hoagland, C.P.,
Illustrations : George Angelini ; The Regina Press, New York)
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ มิ.ย. 14, 2021 5:23 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๑๔ มิถุนายน
นักบุญเมโธดิอุสแห่งคอนสแตนติโนเปิล
St. Methodius of Constantinople

เมโธดิอุส (เสียชีวิต ค.ศ.๘๔๗) ได้รับความเคารพอย่างสูงในพระศาสนจักรตะวันออก
เพราะบทบาทสำคัญของท่านในการพิชิตพวกต่อต้านการเคารพรูปศักดิ์สิทธิ์ (iconclasm)
ขบวนการกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิ พวกเขาปฏิเสธการสักการะรูปภาพ
ศักดิ์สิทธิ์และการแสดงความเคารพนักบุญ

เมโธดิอุสเกิดและได้รับการศึกษาที่เมือง Syracuse ในซิซิลีท่านเข้าอารามที่ Bythnynia
และต่อมาได้เป็นอธิกานอาราม ท่านสร้างอารามแห่งหนึ่งบนเกาะ Khios หลังจากนั้น
พระอัยกา Nicephorus เรียกท่านไปที่เมืองคอนสแตนติโนเปิลเพราะกลุ่มต่อต้านการ
เคารพรูปภาพศักดิ์สิทธิ์กำลังฟื้นตัวโดยการสนับสนุนของจักรพรรดิลีโอ ที่ ๕ ชาวอาร์มาเนียน

พระอัยกา Nicephorus ถูกถอดจากตำแหน่งและถูกอัปเปหิ พวกพระสังฆราชจึงส่งเมโธดิอุส
ไปที่โรมเพื่อแจ้งข่าวพระสันตะปาปา ท่านพักอยู่ที่โรมจนกระทั่งจักรพรรดิสิ้นพระชนม์
พระสันตะปาปาทรงส่งสาสน์ถึงจักรพรรดิองค์ใหม่เรื่องแต่งตั้งพระอัยกา แต่เมื่อเมโธดิอุส
กลับมาคอนสแตนติโนเปิลในปี๘๒๑ ท่านถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ยุยงให้พระสันตะปาปา
เขียนสาสน์ฉบับนั้น ท่านถูกจับขังคุกเป็นเวลา ๗ปี

เมื่อจักรพรรดิองค์ใหม่ทรงโจมตีการเคารพรูปศักดิ์สิทธิ์อีกเมโธดิอุสก็คัดค้านและท่านถูกจับ
ขังคุกอีก จักรพรรดิสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นไม่นาน มเหสีหม้ายของพระองค์ขึ้นครองราชย์แทน
และพระนางให้ยุติการเบียดเบียนผู้เคารพภาพศักดิ์สิทธิ์ พระสงฆ์ที่ถูกอัปเปหิได้รับอนุญาต
คืนเมืองและภาพศักดิ์สิทธิ์ก็ถูกนำกลับมาประดับประดาวัดแห่งต่างๆ พระอัยกาผู้ต่อต้าน
การเคารพรูปภาพศักดิ์สิทธิ์ถูกปลดจากตำแหน่ง เมโธดิอุสได้รับการแต่งตั้งแทน

CR. : Sinapis
ตอบกลับโพส