ชีวประวัติ บุญราศี คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ มิ.ย. 16, 2021 8:17 pm

✍️ บทนำ: ชีวประวัติ
คุณพ่อนิโคลาสบุญเกิด กฤษบำรุง (เบเนดิกโต ชุนกิม)

🌱ชีวประวัตินี้ยังไม่ใช่ประวัติที่ละเอียดทีเดียวนักจัดทำขึ้นจากการค้นคว้าเอกสารต่างๆ
ที่สำคัญๆและนำมาเป็นข้อมูลในการเขียน ผู้อ่านจะมีความมั่นใจในความถูกต้อง
ของเรื่องที่เกิดขึ้นจะพบกับชีวิตและงานอภิบาลที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของคุณพ่อ ที่สำคัญที่สุด
จะพบกับวีรกรรมของคุณพ่อซึ่งยอมรับความทุกข์ยากสารพัด เพื่อพระราชัยของพระเป็นเจ้า
ด้วยใจสุภาพจนที่สุดได้ยอมรับความตายในที่คุมขัง
🌱คุณพ่อเป็นตัวอย่างที่ดียิ่งสำหรับความเชื่อของเราคริสตชนทุกคนหวังเป็นอย่างยิ่ง
ว่าเรื่องราวนี้จะช่วยให้ความเชื่อของเรามั่นคงขึ้น และเราทุกคนสามารถเลียนแบบ
อย่างชีวิตอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนี้ได้
🌱ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีบรรดาคริสตชนได้สวดภาวนาวอนขอพระพรของพระ
โดยผ่านทางคำเสนอวิงวอนของคุณพ่อนิโคลาสและได้รับผลกลับมาตามน้ำพระทัยของพระ...


🙏 ผู้จัดทำ 🙏
ห้องเอกสารอัคร
สังฆมณฑลกรุงเทพฯ
6 พฤศจิกายน 1995
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ มิ.ย. 16, 2021 8:24 pm

ประวัติสังเขป
🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱
คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง (เบเนดิกโต ชุนกิม)

ตอนที่: 1

ชีวิตเมื่อเยาว์วัย
คุณพ่อนิโคลาสเกิดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1895 รับศีลล้างบาป
วันทึ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1895 ที่วัดนักบุญเปโตร สามพรานได้รับชื่อนักบุญศีลล้างบาปว่า
" เบเนดืกโต " บิดาชื่อยอแซฟ โป ฉัง มารดาชื่ออักเนส เที่ยง มีพี่น้อง 5 คน ผู้หญิง 2คน
ผู้ชาย 3 คน คุณพ่อเป็นบุตรหัวปี เริ่มเรียนที่โรงเรียนประชาบาลนักบุญเปโตร

เข้าบ้านเณร
คุณพ่อแฟร์เลย์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญเปโตรอยู่ในเวลานั้นได้ส่งคุนพ่อเข้า
บ้านเณรเล็กบางช้าง เรียนที่นั่นเป็นเวลา 8 ปีเมื่อเรียนจบเป็นครูสอนหนังสือตามวัด
อีก 4 ปี ต่อจากนั้นไปศึกษาต่อที่บ้านเณรใหญ่ปีนังอีก 6 ปี
ในสมัยที่เรียนที่บ้านเณรปีนัง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีมาตลอด จากรายงานที่
คุณพ่อปาแชสส่งมาให้พระสังฆราชแปร์รอสเป็นประจำทุกปีเพื่อรายงานถึงผลการเรียน
ของสามเณรไทยที่ปีนังบอกว่าคุณะ่อที่ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นคนศรัทธา
มีความประพฤติเรียบร้อยดี มีความมานะอดทนไม่กลัวความยากลำบาก ไม่ฟุ้งเฟ้อ
เป็นคนค่อนข้างหัวดื้อ โกรธง่ายในบางครั้ง เมื่อถูกคุณพ่ออธิการเตือนท่านก็รับฟังและ
พยายามแก้ไขตนเองจนเป็นที่พอใจของคุณพ่ออธิการ
ท่านได้รับศีลน้อยก่อนขั้นสังฆานุกรวันที่ 24 กันยายน ค.ศ 1924
ได้รับศีลบวชเป็นสังฆานุกรวันที่ 11 มกราคม 1925
ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ 1926 ที่วัดอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ
โดยพระสังฆราชเรอเน แปร์รอสพร้อมกับเพื่อนอีก 4 คน
คือ คุณพ่อเลโอนาร์ด กลิ่น สิงหนาท ผลสุวรรณ คุณพ่อเฮนรี่ สุนทร วิเศษรัตน์
คุณพ่ออัมบรอซิโอ กิ๊น มิลลุกูล คุณพ่อแืโอ ถัง ลำเจริญ
คุณพ่อนิโคลาสและเพื่อนๆอีก 4 องค์ ได้รับเลือกสรรจากพระเป็นเจ้าจากบรรดาสามเณร
ร่วมรุ่นจำนวน 25 คน พระสังฆราชแปร์รอสเขียนบันทึกแสดงความยินดีว่า..
" ...เมื่อเดือนมกราคม มีการบวชพระสงฆ์ใหม่ 5 องค์เป็นกำลังเสริมที่ประเสริฐยิ่ง
ในขณะที่พระสงฆ์รุ่นเราๆลดจำนวนลงอยู่เสมอทั้งๆที่พวกคริสตังก็ทวีขึ้นทั้ง
ทางด้านจำนวนและคุณภาพ.."
เมื่อบวชเป็นพระสงฆ์ท่านได้รับชื่อว่า "คุณพ่อ นิโคลาส" ส่วนชื่อตัวคือ "ชุนกิม"
ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น "บุญเกิด" ในเดือน มกราคม ค.ศ 1941

เป็นปลัดวัดบางนกแขวก
เมื่อบวชเป็นพระสงฆ์แล้วท่านได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสของคุณพ่อดือรังด์ (durand)
ที่วัดบางนกแขวกจนถึงปี ค.ศ 1928
ปี ค.ศ 1927 คณะนักบวชซาเลเซียนได้เดินทางมาถึงเมืองไทยเพื่อทำงานแพร่ธรรม
คณะได้ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่บางนกแขวกโดยมีคุณพ่อดือรังด์
เจ้าอาวาส คุณพ่อนิโคลาสเป็นผู้ช่วยฯ ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น
งานสำคัญชิ้นแรกที่คณะซาเลเซียนต้องทำคือการเรียนและอ่านภาษาไทย คุณพ่อนิโคลาส
ได้ช่วยสอนภาษาไทย และแนะนำให้รู้จักขนบธรรมเนียมไทย วิธีการปกครองสำหรับคนไทย เป็นต้น..
วันที่ 1 มกราคม ค.ศ 1929 คุณพ่อดือรังด์ทำตามข้อตกลงคือ มอบวัดบางนกแขวกให้อยู่ใต้
การปกครองของคณะซาเลเซียน
คุณพ่อนิโคลาสและคุณพ่อดือรังด์ได้อำลาสมาชิกซาเลเซียนโดยไม่ได้เอาอะไรติดตัว
ไปเลยมอบทุกอย่างให้เป็นมรดกแก่คณะซาเลเซียน

เป็นผู้ช่วยคุณพ่อมิราแบลที่พิษณุโลก
คุณพ่อมิราแบลพระสงฆ์คณะ M.E.P. เดินทางมาถึงเมืองไทยในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ 1928
ในเดือน พฤศจิกายน ปีเดียวกันท่านถูกส่งไปอยู่ที่พิษณุโลกรับผิดชอบในการเผยแพร่
พระศาสนาทางภาคเหนือทั้งหมด ท่านได้เขียนจดหมายถึงพระสังฆราชแปร์รอสให้ช่วยส่ง
มิชชันนารีมาช่วยท่านทำงาน พระสังฆราชแปร์รอสเห็นว่าคุณพ่อนิโคลาสเป็นผู้มีใจร้อนรน
และมีความกระตือรือร้นในการทำงานดังนั้นท่านจึงถูก ส่งให้ไปช่วยงานที่พิษณุโลกกับ
คุณพ่อมิราแบล
คุณพ่อนิโคลาสเดินทางถึงพิษณุโลกในต้นเดือน มกราคม ค.ศ 1929 ท่านได้ช่วย
สอนภาษาจีนและภาษาไทยให้กับคุณพ่อมิราแบล เพราะมีชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
คุณพ่อทั้งสองได้ช่วยกันรวบรวมคริสตังชาวจีนเมื่อเห็นว่ามีจำนวนมากขึ้นจึงตัดสินใจสร้าง
วัดใหม่แทนวัดน้อยหลังเดิม วัดใหม่ที่สร้างนี้เป็นวัดไม้แข็งแรง และสร้างบ้านพักพระสงฆ์ด้วย
นอกจากสร้างวัดแล้วคุณพ่อทั้งสองยังช่วยกันสร้างโรงเรียนๆเป็นไม้ 2 ชั้นแทนโรงเรียน
นักบุญนิโกเลาหลังเดิมเปิดสอนทั้งภาษาไทยและภาษาจีนแก่เด็กชายและหญิง คุณพ่อนิโคลาส
ช่วยเต็มกำลังขยันมากจนเป็นที่พอใจอย่างยิ่งของคุณพ่อมิราแบล...

✍️ จบตอนที่ 1:
🌱ประวัติสังเขป
คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ มิ.ย. 16, 2021 8:56 pm

✍️ ตอนที่ 2:
🌱ประวัติสังเขป
คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

บุกเบิกวัดในเขตเชียงใหม่
ปี ค.ศ 1930 คุณพ่อมิราแบล ขึ้นไปบุกเบิกที่เชียงใหม่และให้คุณพ่อนิโคลาส
ไปอยู่ที่ลำปาง คุณพ่อนิโคลาสได้สร้างวัดน้อยหลังแรกที่ลำปางปี ค.ศ 1930
" ที่ลำปางคุณพ่อนิโคลาสพยายามตามหาแกะที่หลงทางจำนวนหนึ่งเข้าคอก
เป็นงานที่ยากลำบาก และสำเร็จยาก แต่เป็นงานที่น่าสรรเสริญให้เราภาวนาขอ
เจ้าของนาเถิด เพราะการที่จะเก็บเกี่ยวได้มากนั้น ย่อมสุดแต่พระองค์ท่านจะโปรด.."
ในระหว่างอยู่ที่ลำปางคุณพ่อได้ไปสอนคำสอนตามบ้านและยังได้ส่งซินแสไป
สอนศาสนาที่เมืองพานและเชียงรายด้วย
คุณพ่อเป็นคนที่ใจร้อน ยอมเสียสละตนเองเพื่อการประกาศพระวรสารสามารถ
หรือสอนตลอดวันโดยไม่เหน็ดเหนื่อยเอาใจใส่งานอภิบาลเป็นอย่างดี เอาใจใส่
บุกเบิกวัดในเขตเชียงใหม่
ปี ค.ศ 1930 คุณพ่อมิราแบล ขึ้นไปบุกเบิกที่เชียงใหม่และให้คุณพ่อนิโคลาสไปอยู่ที่ลำปาง
คุณพ่อนิโคลาสได้สร้างวัดน้อยหลังแรกที่ลำปางปี ค.ศ 1930
" ที่ลำปางคุณพ่อนิโคลาสพยายามตามหาแกะที่หลงทางจำนวนหนึ่งเข้าคอกเป็นงานที่
ยากลำบาก และสำเร็จยาก แต่เป็นงานที่น่าสรรเสริญให้เราภาวนาขอเจ้าของนาเถิด
เพราะการที่จะเก็บเกี่ยวได้มากนั้น ย่อมสุดแต่พระองค์ท่านจะโปรด.."
ในระหว่างอยู่ที่ลำปางคุณพ่อได้ไปสอนคำสอนตามบ้านและยังได้ส่งซินแสไป
สอนศาสนา ที่เมืองพานและเชียงรายด้วย
คุณพ่อเป็นคนที่ใจร้อน ยอมเสียสละตนเองเพื่อการประกาศพระวรสารสามารถเทศน์
หรือสอนตลอดวันโดยไม่เหน็ดเหนื่อยเอาใจใส่งานอภิบาลเป็นอย่างดี
เอาใจใส่ทุกข์สุขของบรรดาคริสตชน
วันที่ 18 มกราคม ค.ศ 1931คุณพ่อได้เดินทางมาถึงเชียงใหม่อาศัยในบ้านพัก
พระสงฆ์ ที่สร้างขึ้นบนที่ดินของมิสซังที่ได้ซื้อไว้
ทันทีที่มิชชันนารีทั้งสองไปถึงท่านก็รีบดำเนินการสร้างวัดน้อยขึ้นหลังหนึ่ง
โดยได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวคริสตัง 2-3 ครอบครัว เป็นผู้ที่กลับใจมา
ขอเรียนคำสอนกับคุณพ่อทั้งสอง และคุณพ่อก็พยายามที่จะทำให้คนพุทธกลับใจ
และท่านก็ทำสำเร็จในบางครั้ง
ผู้ที่กลับใจในตอนแรกๆ ได้ทำหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่ศาสนาคาทอลิก ความกระตือรือร้น
ของพวกเขาในบางครั้งรุนแรงและแข่งขันกัน พวกเขาเข้าใจในพระคัมภีร์และนำ
พระคัมภีร์มาใช้ในการโต้วาทีกับพวกผู้นำเก่าและเพื่อนๆของเขา
บรรดามิชชันนารีที่เดินทางมาถึงภาคเหนือของสยามพบว่ามีคนมากมายหลายเผ่าอยู่ที่นั่น
ซึ่งจะสามารถเพิ่มทวีความเชื่อ เป็นทั้งความโชคดีและความลำบากในการเผยแพร่พระวรสาร
แต่เดิมพวกเขาเคยเป็นกลุ่มเชื้อชาติที่มีเสียงข้างมากซึ่งเรียกตัวเองว่า "ประชากรของประเทศ"
ในลักษณะตรงข้ามกับคนไทยที่อยู่ทางภาคกลางและภาคใต้ เราเรียกพวกเขาว่าคนลาวอยู่เสมอๆ
เพราะในอดีตอาณาเขตศักดินานี้อยู่ในความปกครองของลาวตะวันตก...คุณพ่อมิราแบลและ
คุณพ่อนิโคลาสมีความเห็นเหมือนกันว่าการเผยแพร่พระวร สารจะต้องเริ่มต้นมาจากโรงเรียน
นี่คือเหตุผลว่าทำไมหนึ่งปีหลังจากการมาถึงของคุณพ่อทั้งสอง วิทยาลัยสำหรับเด็กหญิงแห่งหนึ่ง
ซึ่งดำเนินงานโดยซิสเตอร์คณะอูร์สุลิน และวิทยาลัยอีกแห่งหนึ่งสำหรับเด็กชายดำเนินงาน
โดยภราดาคณะเซนต์คาเบรียล วิทยาลัยทั้งสองแห่งนี้ถูกก่อตั้งขึ้นที่เชียงใหม่
ตั้งอยู่ข้างๆวัดในย่านที่พักอาศัย...
ต่อมาไม่นาน คุณพ่อทั้งสองมีความต้องการจัดตั้งโรงเรียนของวัดขึ้น ด้วยความช่วยเหลือ
ของบรรดานักบวชพื้นเมืองคือ ภคินีคณะพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า คุณพ่อทั้งสองจึงได้ช่วยกัน
สร้างโรงเรียนขึ้นมาหลังหนึ่งรับเด็กนักเรียนซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของคริสตัง
โรงเรียนนี้เป็นที่รู้จักกันดีอย่างกว้างขวางและในปัจจุบันนี้สามารถที่จะแข่งขันกับ
วิทยาลัยทั้งสองแห่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในสถานศึกษาทั้งสามแห่งนี้เต็มไปด้วยนักเรียน
ที่เป็นคนพุทธซึ่งทำให้เกิดความหวังที่จะชักจูงพวกนี้ให้มาเป็นคริสตังได้...
ในสามปีแรกของการก่อตั้งมิสซังเชียงใหม่ พวกโปรเตสตันท์ที่อยู่เมืองไทยและ
ในชนบทได้มาขอเรียนคำสอนกับมิชชันนารีและได้กลับใจมาเป็นคาทอลิกในที่สุด
มีครอบครัวชาวพุทธ 2-3 ครอบครัวที่นี่ได้กลับใจด้วย ตั้งแต่ปี ค.ศ 1933 ที่แม่ริม
และเวียงป่าเป้ามีการกลับใจเพิ่มมากขึ้น ต่อมามีการกลับใจที่พร้าว เมืองพานและเชียงดาว
นับตั้งแต่การเริ่มต้นในเวลานั้น มิชชันนารีทั้งสองได้พยายามไปเผยแพร่พระวรสารกับ
ชาวพุทธที่เวียงป่าเป้าเป็นพิเศษ
คุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาเป็นอย่างดี
มีคนต่างศาสนามาฟังคำสอนของท่านทั้งสอง เป็นต้นคริสเตียนนิกายเปรสบิเตเรียน
ความจริงคุณพ่อทั้งสองอยากแพร่ธรรมท่ามกลางชาวพุทธมากกว่าแต่กระนั้นก็ตาม
เมื่อมีคริสเตียนมาขอเรียนคำสอนด้วยใจซื่อเพื่อจะกลับใจมาเป็นคาทอลิกท่านก็ยินดีต้อนรับ
ในปี ค.ศ.,1931 นั้นเองมีผู้ขอรับศีลล้างบาปบ้าง บางคนในภายหลังได้มีส่วนช่วย
คุณพ่อทั้งสองในการแพร่ศาสนาต่อไป
คุณพ่อทั้งสองได้ช่วยกันสร้างวัดหลังเล็กๆขึ้นหลังหนึ่งได้รับความช่วยเหลือจาก
คาทอลิค 2-3 ครอบครัว วัดหลังนี้ทำพิธีเสกอย่างสง่าในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ 1932
ได้รับชื่อว่า " วัดพระหฤทัย " พระสังฆราชแปร์รอสเขียนบันทึกไว้ว่าดังนี้
" ความหวังของเราที่เชียงใหม่สำเร็จเป็นจริง โบสถ์ได้รับการเสกอย่างสง่า
เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ 1932 ในวันฉลองพระหฤทัยมีคนมาเต็มโบสถ์ แต่ส่วนใหญ่
เป็นคนต่างศาสนา และในวันนั้นมีคนรับศีลล้างบาป 12 คน ทำให้ฝูงแกะน้อย
ของเรามีจำนวนเพิ่มขึ้น.."
นอกจากสร้างวัดแล้วท่านยังได้ช่วยกันสร้างโรงเรียนของวัด ใช้ชื่อว่า
" โรงเรียนพระหฤทัย " ได้เชิญภคินีคณะพระหฤทัยแห่งกรุงเทพฯมาดูแล
การขยายตัวของมิสซังในช่วง 3 ปีแรกนั้นได้ตั้งวัดเชียงใหม่ต่อจาก
วัดพระหฤทัยที่เชียงใหม่ วัดแรกที่เปิดต่อมาคือวัดแม่ริม มีคนกลุ่มหนึ่งสมัครมา
เป็นคาทอลิกต่อจากนั้นคุณพ่อทั้งสองได้เดินทางไปประกาศศาสนาบริเวณรอบนอกตัวเมือง
เช่น บ่อสร้าง เวียงป่าเป้า พร้าว เชียงดาว เมืองพาน ส่วนมากเป็นพวกคริสเตียน
ที่เชิญคุณพ่อไปอธิบายคำสอนคาทอลิกให้พวกเขาฟัง..
คุณพ่อนิโคลาสมักจะเขียนจดหมายมาปรึกษาพระสังฆราชแปร์รอสอยู่เสมอๆ
ถึงเรื่องการทำงานอภิบาล
ถึงพระสังฆราชแปร์รอส
"...ทุกวันนี้ลูกอยู่สบายดี ทุกวันไปแปลคำสอนตามบ้านมีอยู่ 7 -8 หลังจะได้การ
ทุกบ้านหรือเปล่ายังเอาแน่ไม่ได้ เวลานี้ได้ใช้ซินแสไปเทศนาที่เมืองพานและ
เชียงรายราว 2-3 อาทิตย์ จะกลับ ถ้าได้การ คราวหน้าจะใช้ไปอีก เพราะทางเหนือมีเจ๊กมาก
บางคนพูดกับลูกว่าอยากกลับใจตาม jurisdictio ที่พระคุณเจ้าให้ลูกไม่มี reservatio
สำหรับฟังแก้บาปลูกเข้าใจว่าแม่ชีอูรสุลินจะมาแก้บาปกับลูกในวัด ลูกก็โปรดบาปได้
แต่สงสัยอย่างหนึ่งคือถ้าเขาเชิญไปฟังบาปเขาที่ capella ของเขา ลูกจะโปรดบาปเขา
ที่นั่นได้หรือ นี่พูดเผื่อคุณพ่อมิราแบลไปเข้าเงียบถ้าเขามาเชิญลูกไปฟังบาปของเขา ถ้าตาม
Jurisdicto ที่ให้โปรดบาปไม่ได้ ถ้าพระคุณเจ้าเห็นควรก็ขอ Jurisdictio สำหรับ casu นี้ด้วย.."
คุณพ่อมิราแบล และคุณพ่อนิโคลาสตัดสินใจไปพม่าเพื่อสำรวจพื้นที่และความเป็นไปได้
ในการขยายมิสซังตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1933 โดยมีครูบัปติสตาเป็นครูสอนคำสอน
ให้กับพวกกะเหรี่ยงเป็นผู้นำทาง
คุณพ่อนิโคลาสได้เขียนจดหมายเล่าการเดินทางให้พระสังฆราชแปร์รอสฟังอย่างละเอียด
ถึง 4 ตอน ด้วยกัน ท่านใช้ชื่อบทความว่า " จุดหมายเหตุรายวันการเยี่ยมมิสซังพม่า "
นอกจากคุณพ่อนิโคลาสจะเป็นพระสงฆ์ที่เทศน์เก่งแล้ว ท่านยังเขียนหนังสือได้น่าอ่านอีกด้วย
ท่านเป็นคนละเอียด ช่างสังเกต ช่างจดจำโดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา...
พระสังฆราชแปร์รอสเขียนถึงศูนย์กลางของคณะ M.E.P ที่กรุงปารีสว่า
"...คุณพ่อนิโคลาส และคุณพ่อมิราแบลได้บอกกับข้าพเจ้าว่าการเผยแพร่พระวรสารที่
เชียงใหม่ได้ผลเป็นที่น่ายินดีมีคนใหม่กลับใจมากขึ้นเรื่อยๆ..คุณพ่อทั้งสองเดินทางไปแพร่ธรรม
ที่พม่าซึ่งเป็นสถานที่ที่เคยมีมิชชันนารีองค์อื่นเดินทางไปแพร่ธรรมเมื่อปีที่แล้ว
แต่ไม่ประสบความสำเร็จเราเชื่อมั่นว่าการเดินทางในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จด้วยดี
และจะสามารถเปิดมิสซังใหม่ได้ที่นี่..."

จบตอนที่2
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ มิ.ย. 16, 2021 10:36 pm

✍️ ตอนที่ 3:
🌱ประวัติสังเขป
คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

ในปี ค.ศ 1933 คุณพ่อนิโคลาสได้ไปดูแลวัดบางเชือกหนังเป็นเวลา 3 เดือน
แทนคุณพ่อปาสกัลที่ป่วย และในปีเดียวกันพระสันตะปาปาปีโอที่ 11 ได้ประกาศให้
เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ มอบพระคุณการุณครบบริบูรณ์ให้แก่คริสตังทั่วโลก ซึ่งในสมัยนั้น
เรียกว่าพระคุณยูบีเลว ภายใต้การดูแลอย่างเอาใจใส่ของคุณพ่อนิโคลาส
คริสตังบางเชือกหนังจึงได้รับพระคุณนี้ ท่านอยู่ที่นี่เป็นเวลาสั้นๆ ก็ต้องกลับมา
รับผิดชอบงานในเขตเชียงใหม่และลำปางที่เดิม...
ในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ 1936 คุณพ่อนิโคลาสป่วยต้องเข้ารักษาตัวที่
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ อันเป็นผลมาจากความเคร่งเครียดกับการทำงาน
ท่านมากรุงเทพฯโดยมีคุณพ่อก้สต็องมาเป็นเพื่อน
วันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ 1936 นายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้บอกว่า
ท่านมีอาการน่าเป็นห่วง
ต่อมา ในวันที่ 23 ธันวาคม ท่านก็หายจากอาการป่วยและสามารถไปรับประทาน
อาหารที่อัสสัมชัญได้เป็นปกติ
หนังสือ Le Trail d'Union ได้บันทึกไว้ว่า
"คุณพ่อนิโคลาส นั่งรับประทานอาหารที่อัสสัมชัญในวันนี้หลังจากที่ได้รับศีลเจิมคนไข้
มาเป็นเวลา 8 วัน เป็นการทำลายสถิติที่ไม่มีใครอยากอิจฉา .."

เจ้าอาวาสวัดแม่พระเมืองลูร์ด โคราช
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1937 คุณพ่อนิโคลาสรับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโคราชแทน
คุณพ่อโอลลิเอร์คุณพ่อเอาใจใส่งานอภิบาลเป็นอย่างดี โดยเฉพาะทางด้านวิญญาณ
ท่านเขียนรายงานถึงพระสังฆราชแปร์รอสเกี่ยวกับสภาพของคริสตังที่โคราชดังนี่
" ที่โคราชพวกคริสตังส่วนมากยากจน อยู่กระจัดกระจายตามที่ต่างๆเพื่อหาเลี้ยงชีพ
เมื่ออยู่ห่างจากวัดก็ขาดโอกาสที่จะรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆไม่ได้ฟังเทศน์ ไม่ได้เรียนคำสอน
เขากลายเป็นคนเฉื่อยชาไปอย่างน่าอนาถ หญิงสาวไม่มีโอกาสได้แต่งงานกับคริสตัง
ก็ไปอยู่กินกับคนต่างศาสนา พวกเธอละอายไม่กล้ามาวัดสวดภาวนาหรือร่วมมิสซา
พวกลูกๆก็ไม่ได้รับศีลล้างบาปและได้รับการเลี้ยงดูแบบลูกคนต่างศาสนา ขายหญิง
เหล่านี้อยู่กินกันอย่างไม่ถูกต้องกลับใจยากมากเพราะไม่ยอมมาเรียนคำสอน
ข้าพเจ้ามีผู้เตรียมตัวรับศีลล้างบาปหลายคนซึ่งเรียนคำสอนมานานแล้ว ข้าพเจ้ายัง
ไม่กล้าโปรดศีลล้างบาปให้เขา เพราะยังไม่ค่อยแน่ใจในความมั่นคงของพวกเขา "
คุณพ่อนิโคลาสเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ในการเทศน์ได้น่าฟัง ผู้ที่เคยได้ยินได้ฟัง
บทเทศน์ของท่านต่าง รู้สึกประทับใจ
ในช่วงที่เป็นเจ้าอาวาสที่โคราชนี้เองคุณพ่อได้รับเชิญให้ไปเทศน์ที่วัดบ้านหัน
ในโอกาสฉลองนักบุญยอแซฟมีการโปรดศีลมหาสนิทอย่างสง่าในวันนั้นมีคริสตัง
รับศีลมหาสนิทถึง 74 คนจากจำนวนนวนคริสตังทั้งหมด 160 คน นับเป็นสิ่งที่ประเสริฐอย่างยิ่ง.."
คุณพ่อเอาใจใส่คริสตังตามที่อยู่ต่างๆ โดยเฉพาะที่ที่อยู่ห่างไกลไม่มีพระสงฆ์ดูแลประจำ
ท่านเป็นห่วงวิญญาณของพวกเขาเหล่านั้น อย่างเช่นที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่นมีคริสตัง
อาศัยอยู่แต่ไม่มีวัดไม่มีพระสงฆ์ คุณพ่อได้ไปเยี่ยมเยียนเพื่อให้เขาได้เตรียมตัว
ในโอกาสปาสกา ในปลายเดือนเมษายน ค.ศ 1938 คุณพ่อนิโคลาสได้รับอนุญาต
พิเศษจากพระสังฆราชในการประกอบพิธีโปรดศีลกำลัง ผู้รับศีลศักดิ์สิทธิ์นี้มี 8 คนด้วยกัน
มีคนหนึ่งอายุ 70 กว่าปี..

✍️ จบตอนที่ 3;
🌱ประวัติสังเขป
คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ มิ.ย. 16, 2021 10:40 pm

✍️ ตอนที่ 4:
🌱คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

เจ้าอาวาสวัดนักบุญเทเรซา โนนแก้ว
ในปี ค.ศ 1938 คุณพ่อย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโนนแก้ว นอกจากการเผยแพร่
พระวรสารให้คนกลับใจแล้ว ท่านได้ช่วยเหลือในเรื่องการทำมาหากินโดยเฉพาะ
คนยากจนโดยไม่เลือกว่าจะเป็นคริสตังหรือไม่ ท่านช่วยด้วยความเมตตา..
ท่านมีอุปนิสัยเป็นคนตรงรักความยุติธรรมทำให้บางครั้งการกระทำของท่านไปขัด
กับผลประโยชน์ของคนบางคนจึงมีผู้เกลียดชังท่านอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วท่านเป็นที่รัก
ของทุกคนรวมถึงคนต่างศาสนาด้วย
ในระหว่างที่คุณพ่ออยู่ที่วัดโนนแก้วท่านได้ช่วยเหลือชาวนาทั้งที่เป็นคริสตังและไม่ใช่
คริสตังไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากนายทุน ด้วยการรับซื้อข้าวจากชาวนาแล้วนำไปขายให้โรงสี
ของรัฐบาลเอง เพราะชาวนามักจะขายข้าวให้กับนายทุนซึ่งกดราคาและโกงตาชั่งอยู่เสมอ
เป็นการช่วยชาวนาและช่วยให้วัดมีรายได้อีกทางหนึ่งด้วยท่านได้เขียนจดหมายมาปรึกษา
พระสังฆราชแปร์รอสถึงเรื่องนี้จดหมายลงวันที่ 2 มกราคม ค.ศ 1939
"...เรื่อง mercatura ก่อนที่ลูกจะทำเห็นว่าเป็น mercatura จริงจึงขออนุญาตมา
ลูกคิดจะทำไม่ใช่ใหญ่โตอะไรเพราะไม่มีทุนคือจะขายข้าว ที่เรามีส่งไปทางรถไฟถึงรัฐบาลเอง
เพราะเวลานี้รัฐบาลมีโรงสีเอง เขาอุดหนุนช่วยคนจนชาวนา อย่าให้เจ๊กกดราคา ทุกสถานี
นายสถานีเป็นผู้จัดแจงส่งข้าว หาตู้ให้เรา เมื่อส่งข้าวขึ้นตู้เจ้าพนักงานทางกรมรถไฟฟ้าเขาจ่ายเงิน
ให้ครึ่งหนึ่งก่อน เมื่อขายขึ้นโรงสีแล้วจ่ายให้อีกครึ่งหนึ่ง จะได้กำไรหรือราคาดีกว่าที่ขายให้เจ๊กที่นี่
เมื่อขายไปตู้หนึ่งได้เงินแล้ว จะเอาเงินนี้มาซื้อข้าวส่งไปอีก กำไรคงมีเสมอไม่มากก็น้อย
การที่ลูกทำอย่างนี้เพื่อช่วยคริสตังอีกต่อคือเวลานี้คริสตังหลายคนหาบข้าวไปขาย
ให้เจ๊กทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละ 2 หาบ เจ๊กโกงตาชั่งบ้าง หักบ้าง กดราคาบ้าง ลูกจึงแนะนำ
ให้มาขายที่ลูก จะให้ราคาเหมือนเจ๊กแต่ไม่โกงตาชั่ง เพื่อช่วยคริสตังและคนจน และเพื่อหา
ผลเข้าวัดบ้างตามที่เห็นว่าจะมี..."
ในปี ค.ศ 1939 ไทยเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส ทางราชการและคนไทยชาตินิยม
ได้มีความคิดว่าศาสนาคริสต์เป็นศาสนาของฝรั่งเศสพวกเขาจึงกลัวว่าคริสตังจะพากันเข้า
ข้างฝรั่งเศสทางราชการได้สั่งปิดโรงเรียนคาทอลิกและพยายามทำให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนา
เหตุการณ์ต่างๆเป็นดังนี้
*โรงเรียนของวัดถูกสั่งปิด
*นักเรียนต้องไปเรียนที่โรงเรียนพุทธ
*ราชการมีคำสั่งให้ส่งมอบอาวุธปืนที่มีให้กับทางอำเภอ
*มีคำสั่งด่วนให้ชาวฝรั่งเศสทุกคนในภาคอิสานและภาคตะวันออกให้ออกจากพื้นที่
นั้นๆภายใน 24 ชั่วโมง
บรรดามิชชันนารีชาวฝรั่งเศสต้องเดินทางเข้ามาอยู่ในเขตพระนคร และเจ้าอาวาส
ที่ปกครองวัดต่างๆต้องเปลี่ยนเป็นพระสงฆ์ไทยชั่วคราว พระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสบางองค์ถูก
ทำร้ายร่างกายจากกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า " คณะเลือดไทย " คอยต่อต้านศาสนา ออกใบปลิว
และจดหมายให้คนไทยที่นับถือศาสนาคาทอลิกเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ ห้ามทำกิจกรรมที่
เกี่ยวข้องกับศาสนาคาทอลิกทั้งสิ้น ให้จัดการปลดไม้กางเขนในวัดโรมันคาทอลิกออกทั้งหมด
โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ มิฉะนั้นคณะเลือดไทย ฯ จะมาจัดการเองตามความเห็นชอบ...

✍️ จบตอนที่ 4:
🌱คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ มิ.ย. 16, 2021 10:46 pm

✍️ ตอนที่ 5:
🌱คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

ถูกจับที่วัดนักบุญยอแซฟ บ้านหัน
สมัยนั้นพระสงฆ์ไทยเข้าเงียบประจำปีเวลาค่ำของวันจันทร์หลังวันฉลอง
ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม ค.ศ 1941 คุณพ่อนิโคลาส
ออกจากโนนแก้ว ถึงโคราชวันศุกร์ที่ 10 มกราคมมุ่งหน้าจะไปรับคุณพ่อเลโอนาร์ด
สิงหนาท ผลสุวรรณเพื่อเข้ากรุงเทพฯด้วยกันแต่ปรากฏว่าคุณพ่อเลโอนาร์ด
ได้ฟังวิทยุรายการ " สนทนาของนายมั่น-นายคง " เป็นรายการที่หว่านความหวาดกลัว
ลงสู่จิตใจหมู่คริสตังทั่วประเทศ ท่านจึงตกใจกลัวรีบหนีไปหาที่หลบภัยที่วัดหัวไผ่
คุณพ่อนิโคลาสจึงเก้อและตัดสินใจไปวัดบ้านหันวันที่ 11 มกราคม คิดจะรับคุณพ่ออัมบรอซิโอ
(พ่อเตี้ย เจ้าอาวาสวัดบ้านหัน) เพื่อไปด้วยกันแต่ปรากฏว่าพ่อเตี้ยไม่อยู่ ท่านได้หนีหายไป
โดยไม่บอกอะไรทั้งสิ้นแม้แต่ซิสเตอร์หรือสัตบุรุษซึ่งไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร...
ดังนั้นเย็นวันที่ 11 มกราคม ค.ศ 1941 คุณพ่อนิโคลาสจึงยํ่าระฆังที่วัดบ้านหัน
เรียกคริสตังมาสวดภาวนาคำ และแจ้งให้คริสตังมาฟังมิสซาในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์
ตรงกับวันฉลองพญาสามองค์ พระสังฆราชแปร์รอสเขียนรายงานถึงศูนย์กลางของคณะ
ที่กรุงปารีสถึงเรื่องนี้ว่า...
" พระสงฆ์พื้นเมืององค์หนึ่งคือคุณพ่อนิโคลาสได้ถูกจับจำคุกเนื่องจากได้ตีระฆัง
ในเวลากลางวันของวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันฉลองสมโภชพญาสามองค์ ในเวลานั้นได้มีคำสั่ง
ห้ามตีระฆังในเวลากลางคืนเท่านั้น"
ขณะที่พวกเขากำลังสวดภาวนาอยู่ มีวิทยุกระจายเสียงจากกรุงเทพฯ ในรายการ
"สนทนาของนายมั่น-นายคง" ปลุกปั่นยุยงไปทั่ว สร้างความตื่นตระหนกแก่คริสตังไทยทั่วประเทศ
" พวกสมาชิกคณะเลือดไทยของบ้านหัน" จึงพากันไปยังวัดนักบุญยอแซฟบ้านหัน
ชาวเลือดไทยผู้หนึ่งขึ้นไปบนพุ่มไม้ใกล้หน้าต่างคอยเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของพวกคริสตัง
ขณะนั้นคุณพ่อนิโคลาสกำลังก่อบทสวดเร้าวิงวอนแม่พระ และสัตบุรุษก็ตอบรับตามเคยว่า
" ช่วยวิงวอนเพื่อข้าพเจ้าทั้งหลายนี้เถิด " การสวดก่อ-รับสลับกันเช่นนี้ เป็นผลให้สมาชิกเลือดไทย
ผู้นั้นเกิดความคิดอย่างหนึ่ง แล้วพวกเขาก็ไปรายงานกับนายอำเภอสีคิ้วและเจ้าหน้าที่ตำรวจฟังว่า
คุณพ่อนิโคลาสก่อสวดออกชื่อใครต่อใครก็ไม่ทราบ แต่ให้พวกคริสตังรับเป็นเสียงเดียวกันว่า
" ขอให้ฝรั่งเศษชนะไทยนี้เถิด "
รุ่งขึ้น วันที่ 12 มกราคม ค.ศ 1941 คุณพ่อนิโคลาสจึงถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม
พร้อมด้วยผู้ใหญ่ หัวหน้าครอบครัวคริสตังจำนวน 9 คน โดยนายอำเภอได้ประกาศว่า
" ตอนนี้เรารบกับฝรั่งเศษแล้วพวกนี้ (คริสตัง) เป็นพวกของฝ่ายศัตรูจึงต้องจับกุมด้วย "
เจ้าหน้าที่คุมตัวนักโทษทั้งหมดไปที่สี่คิ้ว พยายามเกลี้ยกล่อมให้ทิ้งศาสนาและเข้าเป็นพุทธ
การสอบสวนนั้นทางราชการพยายามใช้วิธีให้คริสตังปรักปรำกันเอง ได้นำคริสตังอีก 9 คน
มาจากบ้านหันและบังคับให้เป็นพยานเท็จปรักปรำผู้ที่ถูกจับกุม 9 คนแรก
รวมทั้งคุณพ่อนิโคลาสด้วยว่าเป็นพวกกบฏ พวกแนวที่ห้าเอาใจช่วยเหลือฝรั่งเศษ
นักโทษทั้ง 9 คนถูกจำคุกที่โคราชเป็นเวลาประมาณเดือนครึ่ง หลังจากนั้นก็ถูก
ส่งตัวมากรุงเทพฯ ถูกขังคุกที่ศาลาแดง 9 เดือน จำเลยทั้ง 9 คนถูกจับในข้อหาที่ว่า
" เป็นกบฏภายนอกราชอาณาจักร" ตามมาตราที่ 104/116/111
คุณพ่อนิโคลาสถูกตัดสินจำคุก 15 ปี...

✍️ จบตอนที่ 5:
🌱คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พุธ มิ.ย. 16, 2021 10:50 pm

✍️ ตอนที่ 6:
🌱คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

ถูกฟ้องในข้อหาเป็นแนวที่ห้า
พระสังฆราชแปร์รอสได้มีจดหมายลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1941
ไปถึงหลวงอดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจเพื่อชี้แจงว่าคุณพ่อนิโคลาสไม่มีความผิด
ท่านถูกคนเกลียดชังใส่ความว่าเป็นแนวที่ห้า ซึ่งจริงๆแล้วไม่มีความผิดเลย
ขอให้พิจารณาความและปล่อยตัวตามข้อ 13 แห่งรัฐธรรมนูญ
ในจดหมายลงวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ 1941 พระสังฆราชแปร์รอสเขียนว่า...
" คุณพ่อนิโคลาสถูกฟ้องข้อหาเป็นแนวที่ห้าเหมือนกับคุณพ่ออีก 2 องค์ ที่ถูกจับ
ที่ปราจีนบุรี คือคุณพ่อสงวน สุวรรณศรี กับคุณพ่อมิแชล ส้มจีน ศรีประยูร
ในตอนแรกคุณพ่อนิโคลาสถูกขังที่โคราช 2 เดือน แล้วย้ายมาที่สถานีตำรวจใหม่
เขตศาลาแดง กรุงเทพฯ กำลังคอยคำตัดสิน ผลคำตัดสินจะเป็นอย่างไร?.
.พระเจ้าแต่ผู้เดียวที่ทรงทราบ ระหว่างนั้นท่านยินดีทนทุกข์ทรมารเพื่อพระศาสนา
มีการส่งอาหารจากเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ไปให้ท่านทุกๆวัน แต่ห้ามมิให้พูดคุยกันเด็ดขาด "
ในจดหมายฉบับหนึ่งพระสังฆราชแปร์รอสเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส
ถึงนายการโร (GARREAU) กงศุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทย
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ 1941 มีรายละเอียดดังนี้
"..ข้าพเจ้ามีความเสียใจที่จะแจ้งให้ท่านทราบว่าคุณพ่อนิโคลาส ชุนกิม บุญเกิด
พระสงฆ์คาทอลิกไทยได้ถูกตัดสินจำคุก 15 ปีโดยศาลพิเศษ ในข้อหาว่าคุณพ่อได้ช่วยเหลือ
ฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีนต่อต้านไทย
คุณพ่อได้รับหน้าที่ดูแลคริสตังที่โคราชและโนนแก้วมาหลายปี เมื่อวันที่ 11 มกราคม
ที่ผ่านมา ท่านได้ไปที่บ้านหันซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมืองโคราชเพื่อพบกับคุณพ่ออัมบรอซิโอ
แต่คุณพ่ออัมบรอซิโอได้ออกเดินทางไปกรุงเทพฯแล้วก่อนหน้านี้เล็กน้อย วันรุ่งขึ้น
เป็นวันอาทิตย์ คุณพ่อได้ตีระฆังเพื่อเรียกคริสตังมาวัดฟังมิสซาในเวลาแปดโมงครึ่งตอนเช้า
ด้วยการกระทำอันนี้ ท่านถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่ง ของนายอำเภอซึ่งห้ามตีระฆัง
ในระหว่างเวลากลางคืน
คุณพ่อถูกจับกุมพร้อมด้วยคริสตังคนอื่นๆท่านต้องอยู่ในคุกเป็นเวลาหลายวัน
ต่อมาได้ถูกส่งตัวมายังกรุงเทพฯที่สถานีตำรวจศาลาแดงถูกควบคุมตัวอย่างเข้มงวด
เป็นเวลาเกือบ 4 เดือนโดยปราศจากการติดต่อกับบุคคลภายนอกห้ามเยี่ยมเด็ดขาด
ไม่อนุญาตให้มีทนายและตัดสิทธิ์ห้ามอุทธรณ์ ท่านถูกฟ้องกล่าวหาว่า "ได้ปฏิเสธโดย
ไม่ยอมมอบปืนเพื่อช่วยเหลือในการสร้างทางรถไฟและสายโทรเลข ได้ทำการประชุมลับ
เพื่อปลุกปั่นผู้สมรู้ร่วมคิดคนอื่นๆไม่ให้ช่วยเหลือรัฐบาลไทยต่อสู้กับอินโดจีน ได้สวดภาวนา
เพื่อชัยชนะของฝรั่งเศส ได้มีเจตนาในการตัดเส้นทางการคมนาคมและสายโทรเลข "
จำเลยทุกคนปฏิเสธข้อกล่าวหาทุกข้อว่าไม่เป็นความจริง ศาลได้ยืนยันว่าคุณพ่อ
ไม่ได้เอ่ยอ้างถึงพยานเลย
แต่ความจริงแล้วท่านได้อ้างถึงพยาน 9 คน เพื่อการต่อสู้คดี พยาน 4 คนได้ยืนยันว่า
ในตอนแรกพวกเขาถูกนายอำเภอบังคับให้ฟ้องกล่าวหาคุณพ่อที่ศาล แต่คำให้การของพยาน
ที่ศาลนั้นเป็นคำให้การที่นายอำเภอเขียนขึ้นมาให้พวกเขาท่องจำจนขึ้นใจเพื่อใช้ในการปรักปรำ
แต่การกลับคำให้การของพวกเขาที่กรุงเทพฯ ไม่มีประโยชน์สักนิดเดียว ศาลไม่ยอมรับคำ
ให้การตามความจริงของพวกเขา
กระบวนการพิจารณาคดีเช่นนี้เป็นการกระทำที่ไม่น่าเชื่อถือและยากที่จะเข้าใจได้...
" ยิ่งกว่านั้น พระสงฆ์อีกองค์หนึ่งได้แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่าที่แปดริ้วมีใบประกาศโฆษณา
ในหัวข้อ "เลือดไทยของชาวฉะเชิงเทรา" ห้ามไม่ให้ใครทำการติดต่อกับพวกคาทอลิก
การบีบบังคับให้ทิ้งศาสนามีมานานแล้ว "...

✍️จบ ตอนที่ 6:
🌱คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

พฤหัสฯ. มิ.ย. 17, 2021 8:33 pm

✍️ ตอนที่ 7:
🌱คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

ตัดสินจำคุก 15 ปี
คุณพ่อนิโคลาสถูกตัดสินจำคุก 15 ปี เช่นเดียวกับหัวหน้าครอบครัวคริสตัง
จากบ้านหัน 13 คน และถูกจำคุกที่บางขวางจากจดหมายฉบับหนึ่งลง
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1942 คุณพ่อนิโคลาสได้เขียนถึงพระสังฆราชแปร์รอส
ด้วยลายมือของท่านเองท่านบอกว่าสิ่งที่ทำให้ท่านมีความอดทนก็คือการสวดภาวนา
สวดสายประคำ และสวดมนต์ตามหนังสือที่พระสงฆ์ต้องสวด ซึ่งพระสังฆราชแปร์รอส
ได้ส่งไปให้ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้ทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาแต่ท่านก็ขอน้อมรับ
โทษอันนี้ตามน้ำพระทัยของพระเพื่อชดเชยความบาป
"..วันที่ 11 มกราคม พ.ศ 84 จนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม เป็นระหว่างที่ลูกอยู่ในที่คุมขัง
เหมือนนกใหม่ที่ถูกขังในกรงรู้สึกลำบากมาก เศร้าใจไม่ใช่น้อย มีเครื่องมือที่ทำให้ลูก
มีน้ำอดน้ำทนก็คือคำภาวนา และสวดมนต์ตามหนังสือที่พระสงฆ์ต้องสวดนั้น...
ในระหว่างนี้ลูกรู้สึกลำบากมากทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิตต์ ฝ่ายกายการกินการหลับนอน
ผิดกว่าที่โรงตำรวจศาลาแดงมาก ไม่มีใครส่งปิ่นโตให้อีกต่อไป ฝ่านจิตต์เศร้าใจ
นอนตื่นเมื่อไรก็คิดว่าถูกโทษ 15 ปี โดยไม่มีความผิดแม้แต่น้อย เป็นต้นไม่มีโอกาส
สวดมนต์ตามหนังสือสวดมนต์ข้อนี้ทำให้ลูกเป็นทุกข์โศรกมาก แต่ยังมีความบรรเทา
อยู่อย่างหนึ่งคือสวดลูกประคำ.."
"...ขอคุณบิดาอย่าเป็นทุกข์ถึงลูกเลย การที่ลูกต้องโทษคราวนี้โดยลูกไม่ได้นึกได้ฝันเลย
คุณบิดาก็ทราบดีว่าลูกรักประเทศชาติจนยอมสละความสนุกสบายฝ่ายข้างโลก
ลูกได้ช่วยชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกนั้นยังเตือนให้คนอื่นรักชาติ แต่อนิจจา
ลูกกลับถูกหาว่าขายชาติ พยานโจทก์ 3 ปากไร้ศีลธรรมอย่างที่สุด กล้าใส่ความสงฆ์
ผู้ทรงศีล ถึงกระนั้นก็ดีลูกรู้สึกว่าพระเจ้าทรงบันดาลให้เป็นเช่นนี้ลูกจึงขอน้อมรับโทษทันฑ์นี้
ตามน้ำพระทัยของพระเพื่อชดเชยความผิด ความบาปของลูกและเพื่อสันติสากลของ
โลกทั้งความเจริญของประเทศชาติที่รักของลูกด้วย ลูกสวดเสมอขอพระเอ็นดูยกความผิด
ของพยานเท็จที่ปรักปรำลูกตามฉบับแห่งพระเยซูอาจารย์แห่งสากลโลก..."

ชีวิตในเรือนจำของคุณพ่อนืโคลาส
ตลอดเวลาที่อยู่ในคุก คุณพ่อได้รับความลำบากมากห้องขังสกปรก คับแคบ
ไม่มีอากาศถ่ายเทอยู่กันแออัดแต่คุณพ่อไม่เคยบ่นถึงความลำบาก ท่านมีความอดทน
คอยให้กำลังใจพวกที่ถูกจับด้วยกันนอกจากนั้นท่านยังสอนคำสอนให้กับนักโทษทั้งที่
เป็นคริสตังและเป็นคนต่างศาสนา เมื่อมีคนมาเยี่ยมและนำอาหารมาให้ ท่านก็แบ่งปัน
ให้กับนักโทษคนอื่นๆด้วยความเมตตา
การที่ท่านถูกขังในห้องขังที่สกปรกอากาศไม่ถ่ายเท ทำให้ท่านป่วย และถูกนำตัว
ไปตรวจทางเรือนจำแจ้งให้ทราบว่าท่านป่วยเป็นวัณโรค และถูกแยกไปจะขังไว้ในเรือนจำ
ของคนโรคปอดอยู่ร่วมกับนักโทษที่ป่วยเป็นวัณโรค ท่านได้สอนคำสอนและช่วยดูแล
นักโทษที่ป่วย ได้โปรดศีลล้างบาปให้แก่นักโทษโดยเฉพาะคนใกล้ตาย
พระสังฆราชแปร์รอสได้ส่งหนังสือสวดภาษาไทยและลาติน และหนังสือสารสาสน์ไป
ให้คุณพ่อและพระสงฆ์อีก 2 องค์ซึ่งถูกขังอยู่ในเรือนจำ..
ทางเรือนจำได้ส่งหนังสือสารสาสน์คืนไม่อนุญาตให้คุณพ่อทั้งสามอ่าน
วันที่ 1 กันยายน ค.ศ 1943 กรมราชทันฑ์ได้มีจดหมายถึงสังฆราชแปร์รอสแจ้ง
ให้ทราบว่าขอระงับการเยี่ยมบาทหลวงทั้งสามไว้ชั่วคราว..
ในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ 1944 พระสังฆราชแปร์รอสได้มีจดหมายไปถึง
พ.ต.อ.มงคล กล้ากลางสมร อธิบดีกรมราชทันฑ์ขออนุญาตเข้าเยี่ยมนักโทษบุญเกิด
(คุณพ่อนิโคลาส) ซึ่งป่วยหนักอยู่ในโรงพยาบาลของเรือนจำเพื่อจะได้มีโอกาส
โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ให้แก่คุณพ่อแต่ได้รับการปฏิเสธ..

✍️จบ ตอนที่ 7:
🌱คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง
แก้ไขล่าสุดโดย rosa-lee เมื่อ เสาร์ มิ.ย. 19, 2021 3:55 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

ศุกร์ มิ.ย. 18, 2021 4:27 pm

✍️ ตอนที่ 8:
🌱คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

มรณภาพเพราะวัณโรค

ที่สุดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 ทางเรือนจำได้มีจดหมายแจ้งให้ทราบว่า
คุณพ่อนิโคลาสได้เสียชีวิตแล้วด้วยโรควัณโรคปอด..
ก่อนตายคุณพ่อได้ทำพินัยกรรมไว้ฉบับหนึ่ง มอบสิ่งของของท่านให้แก่คุณพ่อเอดรัว
และคุณพ่อเฮนรี่ ทางเรือนจำได้ส่งพินัยกรรมและสิ่งของนั้นมาให้พระสังฆราชแปร์รอส
พระสังฆราชแปร์รอสเขียนจดหมายลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944
ถึงศูนย์กลางของคณะ M.E.P. ที่กรุงปารีส มีใจความว่า
"...เราได้สูญเสียพระสงฆ์พื้นเมืององค์หนึ่งที่ถูกตัดสินจำคุกโดยไม่มีความผิด
คุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่มีใจร้อนรนมีความกระตือรือร้นกว่าทุกคน
เป็นระยะเวลา 8 เดือน ที่ท่านป่วยเป็นวัณโรคอยู่ในโรงพยาบาลของเรือนจำ
ท่านได้ทำให้คนกลับใจจำนวน 68 คน และโปรดศีลล้างบาปให้คนใกล้ตาย
ผู้ที่ลงโทษตัดสินจำคุกท่านอย่างอยุติธรรมคงไม่คาดคิดว่าจะได้รับผลตอบแทนเช่นนี้
ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เยี่ยมได้เดือนละครั้งมาเป็นเวลา 1 ปีครึ่งแล้ว
ต่อมาข้าพเจ้าและครอบครัวของคุณพ่อได้รับการปฏิเสธ ไม่อนุญาตให้เข้าเยี่ยม
แต่ข้าพเจ้าสามารถติดต่อกับคุณพ่อและเพื่อนพระสงฆ์ของท่านอีก 2 องค์ในคุก
โดยผ่านทางคริสตังที่นำอาหารและเงินจำนวนเล็กน้อยไปให้ท่านในแต่ละเดือน
คุณพ่อไม่สามารถพบเพื่อนพระสงฆ์อีก 2 องค์ซึ่งเป็นนักโทษเช่นเดียวกับท่าน
นี่เป็นการเบียดเบียนเพื่อต่อต้านศาสนาคาทอลิกซึ่งยังคงดำเนินต่อมาอีก
อย่างรุนแรงที่สุดเป็นระยะเวลา 2 ปี..."

✍️จบ ตอนที่ 8:
🌱คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

เสาร์ มิ.ย. 19, 2021 3:50 pm

✍️ ตอนที่ 9:
🌱คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

ขุดศพมาฝังที่อุโมงค์ วัดอัสสัมชัญ

ศพของคุณพ่อถูกนำไปฝังที่วัดบางแพร ซึ่งอยู่ใกล้กับเรือนจำ
อีกหนึ่งเดือนต่อมาพระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึงผู้ว่าราชการจังหวัดพระนคร
ลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ 1944 เพื่อขออนุญาตขุดศพคุณพ่อมาฝังไว้ที่อุโมงค์วัดอัสสัมชัญ
แต่ได้รับการปฏิเสธท่านแปร์รอสพยายามขออนุญาตอีกหลายครั้ง อีกประมาณ 2 เดือนต่อมา
จึงได้รับอนุญาตให้ขุดศพได้ ท่านได้ให้ญาติพี่น้องของคุณพ่อไปขุดศพมาจากวัดบางแพร
ศพของคุณพ่อถูกฝังอยู่ในดินซึ่งขุดเป็นหลุมสี่เหลี่ยมเล็กๆ ร่างของท่านมีลักษณะคุดคู้
ไม่มีโลง ไม่มีอะไรห่อศพ เนื้อหนังและเส้นผมยังมีอยู่ แต่ไม่มีกลิ่น
พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึงคุณพ่อเบรสซอง ลงวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ 1944
เล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆของมิสซังรวมทั้งการเบียดเบียนศาสนาว่า..
"...เรารู้สึกเสียใจที่ต้องสูญเสียพระสงฆ์พื้นเมืองที่ดีที่สุดของเราองค์หนึ่งไป
คุณพ่อนิโคลาสได้ตายในคุกซึ่งเขาต้องอยู่ในนั้นเป็นเวลา 2 ปี ท่านถูกกล่าวหาว่า
ช่วยเหลือฝรั่งเศสในระหว่างสงครามอินโดจีน-ไทย ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เยี่ยมเป็น
ระยะเวลา 1 ปี พร้อมทั้งคุณพ่ออีก 2 องค์ คือคุณพ่อเอดรัว และคุณพ่อเฮนรี่ซึ่งถูกจำคุก
เหมือนท่าน ทั้งหมดไม่มีความผิด ต่อมาข้าพเจ้าได้รับการปฏิเสธเด็ดขาดไม่อนุญาต
ให้เยี่ยม คุณพ่อป่วยหนักข้าพเจ้าต้องการไปเยี่ยมแต่ก็ถูกปฏิเสธห้ามเยี่ยม..
หลังจากการตายของคุณพ่อข้าพเจ้าไม่สามารถรับศพคุณพ่อออกมาได้คุณพ่อ
ได้ถูกฝังไว้ที่วัดพุทธใกล้ๆเรือนจำ ประมาณ 2 เดือนต่อมาข้าพเจ้าสามารถจ้างคนไป
ขุดศพเอาใส่โลงแล้วนำมาบรรจุไว้ในสุสานซึ่งอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินที่วัดอัสสัมชัญ
พวกเราได้สูญเสียคุณพ่อบนแผ่นดินนี้ แต่ข้าพเจ้ามีความหวังว่า
คุณพ่อคอยช่วยเหลือพวกเราบนสวรรค์
ข้าพเจ้ากำลังดำเนินการขออิสรภาพให้กับนักโทษอีก 2 คนนั้นคือคุณพ่อเอดรัว
และคุณพ่อเฮนรี่ ซึ่งถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต

จากรายงานประจำปีของปี ค.ศ 1941-1947 พระสังฆราชแปร์รอสเขียนสรุปไว้ว่า
ต่อมาพระสงฆ์ 2 องค์ก็ถูกปล่อยเป็นอิสระ ส่วนคุณพ่อนิโคลาสซึ่งเป็นพระสงฆ์ดีเด่น
และร้อนรนยิ่งนักถึงแก่มรณภาพในระหว่างที่ต้องโทษ ...
ตลอดเวลาที่ท่านป่วยรักษาตัวในคุกนั้นได้อุทิศตนสอนคำสอน แก่คนป๋วยที่
เป็นนักโทษด้วยกัน และช่วยเตรียมตัวให้เขาตายในศีลในพรของพระ..

หนึ่งวันก่อนถึงแก่มรณภาพ ท่านได้หาทางแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า
ท่านได้โปรดศีลล้างบาปให้คนใกล้ตาย 68 คน ผลงานยอดเยี่ยมนี้ไม่มีสมาชิกท่านใด
ในมิสซังทำได้ในช่วงเวลา 1 ปีเต็ม ผู้เบียดเบียนซึ่งมุ่งที่จะจับพวกพระสงฆ์ใส่คุก
โดยเฉพาะ คงมิได้คาดคิดว่าจะมีผลเช่นนี้เป็นแน่.."

✍️🌱จบบริบูรณ์
ตอบกลับโพส