ผลการจัดอันดับ 200 โรงเรียนที่เก่งที่สุดในประเทศไทย ปี 2549

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
Florian
โพสต์: 1513
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ พ.ค. 31, 2006 12:05 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 8:50 am

อยู่ รส. หรอ รุ่นไหนอ่ะ เรารุ่น 99
อ่า ราชสีห์รุ่น ๑๐๑ ครับ (จบหมาดๆ ซิงๆ) ตอนพี่อยู่ ม.6 เอชก็อยู่ ม.4 อ่ะดิ จำได้ว่ารุ่นนั้นห้องคิงอยู่ /1 (สลับกับรุ่นเอชแฮะ)
และน้องเปรมกับน้องเอชก็มีความแตกต่างกันอีกหนึ่งเรื่องคือ

น้องเปรมบอกผมว่าจะไปงานอภิเษกพระสังฆราชองค์ใหม่ของมิสซังโคราชแน่นอน แต่น้องเอชบอกว่าจะไม่ไปแน่นอน  :grin:  :grin:  :grin:
Alphonse
โพสต์: 1792
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ส.ค. 23, 2006 10:45 pm
ที่อยู่: Thailand

ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 9:04 am

Florian เขียน:
อยู่ รส. หรอ รุ่นไหนอ่ะ เรารุ่น 99
อ่า ราชสีห์รุ่น ๑๐๑ ครับ (จบหมาดๆ ซิงๆ) ตอนพี่อยู่ ม.6 เอชก็อยู่ ม.4 อ่ะดิ จำได้ว่ารุ่นนั้นห้องคิงอยู่ /1 (สลับกับรุ่นเอชแฮะ)
และน้องเปรมกับน้องเอชก็มีความแตกต่างกันอีกหนึ่งเรื่องคือ

น้องเปรมบอกผมว่าจะไปงานอภิเษกพระสังฆราชองค์ใหม่ของมิสซังโคราชแน่นอน แต่น้องเอชบอกว่าจะไม่ไปแน่นอน  :grin:  :grin:  :grin:
แง๊..........พี่อ่ะ คนเค้ารู้กันหม๊ดดดดดดด ว่าไม่ไป
อ่าหาข้อแก้ตัว......(คิดๆๆๆ)
1. ช่วงใกล้สอบต้องอยู่มหาวิทยาลัยเคลียร์งาน
2. วันเสาร์เป็นวันกด KTB TELEBANK ลงทะเบียน Summer
3. เตรียมงานวาเลนไทน์
4. เปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ของชมนุมค่ายอาสาพัฒนาชนบท
5. ฯลฯ (ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นข้อแก้ตัวที่คิดขึ้นมาทีหลังจากที่ตัดสินใจว่าจะไม่ไป) 555+
ภาพประจำตัวสมาชิก
Florian
โพสต์: 1513
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ พ.ค. 31, 2006 12:05 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 9:09 am

necromancer เขียน:
Florian เขียน:
อยู่ รส. หรอ รุ่นไหนอ่ะ เรารุ่น 99
อ่า ราชสีห์รุ่น ๑๐๑ ครับ (จบหมาดๆ ซิงๆ) ตอนพี่อยู่ ม.6 เอชก็อยู่ ม.4 อ่ะดิ จำได้ว่ารุ่นนั้นห้องคิงอยู่ /1 (สลับกับรุ่นเอชแฮะ)
และน้องเปรมกับน้องเอชก็มีความแตกต่างกันอีกหนึ่งเรื่องคือ

น้องเปรมบอกผมว่าจะไปงานอภิเษกพระสังฆราชองค์ใหม่ของมิสซังโคราชแน่นอน แต่น้องเอชบอกว่าจะไม่ไปแน่นอน  :grin:  :grin:  :grin:
แง๊..........พี่อ่ะ คนเค้ารู้กันหม๊ดดดดดดด ว่าไม่ไป
อ่าหาข้อแก้ตัว......(คิดๆๆๆ)
1. ช่วงใกล้สอบต้องอยู่มหาวิทยาลัยเคลียร์งาน
2. วันเสาร์เป็นวันกด KTB TELEBANK ลงทะเบียน Summer
3. เตรียมงานวาเลนไทน์
4. เปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ของชมนุมค่ายอาสาพัฒนาชนบท
5. ฯลฯ (ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นข้อแก้ตัวที่คิดขึ้นมาทีหลังจากที่ตัดสินใจว่าจะไม่ไป) 555+
อีกเหตุผลหนึ่งที่น้องอาจจะลืมบอก ก็คือ มันใกล้บ้านเกินปายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย ใช่ปะ  :grin:
Alphonse
โพสต์: 1792
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ส.ค. 23, 2006 10:45 pm
ที่อยู่: Thailand

ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 9:28 am

Florian เขียน:
อีกเหตุผลหนึ่งที่น้องอาจจะลืมบอก ก็คือ มันใกล้บ้านเกินปายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย ใช่ปะ  :grin:
: emo031 : เย้ยยยยยย ถูกแฉอีกแว้วววว
อ่า....นอกจากใกล้บ้านเกินไปแล้ว
(ก็ไม่ใกล้มากนะถ้าขับรถไปก็ตั้ง 15 นาทีแน่ะ...หรือมากกว่าถ้ารถติดและอาจจะถึงครึ่งชั่วโมงถ้าชั่วโมงเร่งด่วน ::011::)
ยังอยู่ใกล้โรงเรียนเก่าตอนประถมด้วยอ่ะดิ 555+  ::012::
เอาน่าๆ พี่ส่งคนไปแทนแล้ว....5555+ (แก้ตัวไม่ขึ้นแล้วแฮะ)
-*-

: emo018 : : emo018 : : emo018 :
warlock
โพสต์: 642
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 20, 2006 3:37 am

ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 12:37 pm

จอมนางกระบี่เดี่ยว เขียน:
ต๊ายยยย เขียนรู้เรื่องดีนะยะเนี่ย รู้เรื่องดี ดีกว่าพูดตั้งเยอะ

แหม ไม่คิดจะเข้ามากระทู้นี้อีกเลย เพราะคิดว่าคงไม่มีสาระ ปรากฏว่ามีดีเหมือนกันแฮะ นักสังคมวิทยารุ่นเยาว์มีปรากฏให้เห็นเหมือนกัน ดีจ้า วิพากษ์วิจารณ์เชิงสังคมก็เท่ากับลับหัวสมองได้เหมือนกัน หวังว่าเราจะนักพัฒนารุ่นใหม่เพิ่มขึ้นน๊า สังคมนี้ออยู่จ้า

อ่ะนะ พี่น้องทั้งหลาย การจัดสถิติ ก็คงมีเหตุผลที่ดีบางประการอยู่ สำหรับในแง่มุมของการบริหาร หรือการวางแผนอะไรก็ตามแต่ สำคัญที่เรานั้นเนี่ย ต้องแยกแยะ สถิติก็คือสถิติ ไม่เกี่ยวอะไร กับความเป็น มนุษย์ ของเราสักติ๊ด อย่าเอาคุณค่าความเป้นมนุษย์ของเราและของคนอื่นไปผูกติดกับตัวเลขใด ๆ เลยนะจ้ะ
                      โอ้,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,  มีมาแซวววววว ๆ  ไม่เจ๊อะกั่น นานนนน  คิดถึง จั่งเล๊ยยยยยยยยยยยยยยยยยยย  ::011:: ::011:: ::011::  ถนัดทำสิ่งใดก็จงทำสิ่งนั้นให้ดีนะคร๊าบบบบบบพี่น้อง  ::011:: ::011:: ::011::
อันตน
~@
โพสต์: 4164
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 06, 2005 6:50 pm
ที่อยู่: ภูเก็ต

ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 1:08 pm

warlock เขียน:
จอมนางกระบี่เดี่ยว เขียน:
ต๊ายยยย เขียนรู้เรื่องดีนะยะเนี่ย รู้เรื่องดี ดีกว่าพูดตั้งเยอะ
                       โอ้,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,  มีมาแซวววววว ๆ   ไม่เจ๊อะกั่น นานนนน   คิดถึง จั่งเล๊ยยยยยยยยยยยยยยยยยยย   ::011:: ::011:: ::011::   ถนัดทำสิ่งใดก็จงทำสิ่งนั้นให้ดีนะคร๊าบบบบบบพี่น้อง  ::011:: ::011:: ::011::
อูยยยย ใครเอาขี้เถ้ามาโรยมดแถวๆเวปนี้มั่งเถอะ หวานไปซะทุกกระทู้แล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
lovejesus(cap)
โพสต์: 250
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ เม.ย. 17, 2006 7:15 pm

ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 2:04 pm

ว้าว**** ดีใจจัง มีโรงเรียนผมด้วย  ::017::

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ติดลำดับที่ 101

...........ขอบคุณพระเจ้า............... : xemo026 : : xemo026 : : xemo026 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
NKL
โพสต์: 189
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 01, 2005 7:32 pm
ติดต่อ:

ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 6:14 pm

เอาบทความน่าสนใจมาลง

==================================
บทความ : RoboSlavism ลัทธิทาสยุคทุนนิยม
แด่ " ยุคสมัยแห่งเครื่องจักร "

แด่ " จินตนาการที่ไร้ความจำเป็น "

น่าเศร้าเสียเหลือเกิน กับคำขวัญที่ว่า " เก่ง ดี มีความสุข " ที่บรรดาผู้นำทั้งหลายพยายามจะมอบมันให้กับเยาวชนและประชาชน มันเป็นคำพูดที่สวยหรู แต่ทว่าในความเป็นจริง มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลยแม้แต่น้อย!

ก่อนอื่นผมคงต้องขออธิบายเสียก่อน ที่มาของคำว่า RoboSlavism นั้นมาจากคำว่า " Robot " ( หุ่นยนต์ ) และคำว่า " Slave " ( ทาส ) นำมารวมกัน ทั้งนี้ผมได้เปรียบเทียบสภาพสังคมในยุคปัจจุบันว่าเราเป็นทาสที่เป็นทาสแบบหุ่นยนต์ กล่าวคือเป็นทาสที่จะไม่ร้องโอดโอย บ่นโน่นพูดนี่ ดุจหุ่นยนต์ที่ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

สาระสำคัญของลัทธินี้อยู่ที่ว่า " มนุษย์นั้นเกิดมาต้องรับใช้อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย " กล่าวคือโดยปกติเมื่อมนุษย์รวมตัวกันเป็นสังคมแล้ว จะต้องมีการร่างกฏระเบียบ ข้อตกลงกันขึ้นมา และเมื่อกฏถูกใช้ไปนานๆ เข้า ก็จะกลายเป็นค่านิยม ประเพณีไป

ตัวอย่างง่ายๆ ของสังคมในลัทธินี้นั้น คือเรื่องของระบบการศึกษาที่พยายามจะยัดโน่นยัดนี่ให้จนลืมไปว่าเด็กแต่ละคนนั้นมีความถนัด ความชอบไม่เหมือนกัน แต่ผู้ที่ยึดมั่นในลัทธิ RoboSlavism จะใช้คำว่า " คนเราทำได้ทุกอย่างถ้าจะทำ " มาเป็นข้ออ้างในการโต้แย้งผู้ที่คิดเห็นตรงข้าม และใช้เพื่อเกลี้ยกล่อมให้พวกหัวอ่อนยอมจำนน

ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้ระบบเสีย โดยเรามักจะบบการเจริญเติบโตของลัทธิ RoboSlavism ได้ในประเทศทุนนิยมมากกว่าสังคมนิยม ทั้งนี้เพราะว่า RoboSlavism เป็นกลวิธีที่แยบคาย และนุ่มนวลจนแทบไม่มีใครรู้สึกตัวว่าเป็นส่วนหนึ่งของมันอยู่ การที่คนเราเกิดมา ถูกบังคับยัดเยียดให้เรียนโน่นนี่ ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ชอบ ไม่ถนัด แต่ก็ยังจะต้องเรียน เพื่อที่จะหางานทำได้ง่าย อย่างคำที่พ่อแม่ชอบสอนว่า " เรียนให้เก่งๆ นะลูก จะได้ทำงานรวยๆ " ซึ่งอาชีพดังกล่าวมักจะต้องเรียนในสายการเรียนวิทย์ - คณิต แต่บางทีเด็กหัวไม่ไป แต่ที่ยอมทนเรียนเพราะว่าเกรงใจพ่อแม่

แท้จริงแล้วมนุษย์เรามีความชอบ ความถนัดไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นธรรมชาติของสังคมที่พิเศษและสลับซับซ้อนตามคำที่อริสโตเติลได้กล่าวว่า " มนุษย์เป็นสั.ตว์สังคม " ต้องพึ่งพากัน ไม่มีใครที่จะเก่งไปหมดทุกด้านอย่างแท้จริง

และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง มนุษย์นั้นจะมีความสุขเมื่อสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จ และแน่นอนว่าถ้าคนเราค้นพบว่า เรามีความถนัดใดด้านใด และเลือกเรียน ทำงานด้านนั้น เราก็จะสามารถ " มีความสุข " กับมันได้บ่อยๆ สภาวะ " เก่ง ดี มีความสุข " ก็จะตามมาเอง เพราะเราไม่ได้แข่งกับใครเพื่อเอาตัวรอด เพื่อได้ลาภยศสรรเสริญมากไปกว่าที่เราจะแข่งขัน พัฒนาทักษะเพราะเราชื่นชอบ ดุจนักฟุตบอลที่ไม่ได้เล่นอาชีพเพราะอยากรวย แต่เล่นฟุตบอลเพราะรักในกีฬาฟุตบอล ส่วนเงินรางวัลต่างๆ นั้นเป็นแค่เพียงผลตอบแทนของการพัฒนาฝีมือเท่านั้น ไม่ได้เป็นจุดหมายหลักแต่อย่างใด

หากทำเช่นนี้แล้ว ผู้คนย่อมไม่มีความเครียด เพราะต่างคนต่างได้ค้นพบว่าเราถนัดอะไร ชอบอะไร และเดินไปด้วยความมุ่งมั่น รอยยิ้มอันเกิดจากการค้นพบนี้ก็จะปรากฏ ผิดกับพวกที่อยู่ในลัทธิ RoboSlavism ที่จะทำทุกอย่างเพื่อหวังว่าจะได้หลุดพ้นจากฐานะ " ทาส " ไปเป็น " นายทาส " ด้วยฐานะทางการเงินตามลัทธิทุนนิยมเท่านั้น แม้ทำงานได้เงินมากก็ไม่มีความสุข เพราะไม่ได้รักในอาชีพนั้นๆ แม้แต่น้อย

ทว่ามีน้อยคนเหลือเกิน ที่คิดจะลุกขึ้นสู้ ปฏิเสธลัทธิที่ชั่วร้ายนี้ เพราะค่านิยมมันฝังหัวไปซะแล้ว โดยเฉพาะในยุคนี้ ยุคที่ต้องเร่งรีบแข่งขันกันแบบ " หยุดก้าวเดียวอาจถึงตาย "

มนุษย์ยุคนี้จึงยังคงต้องเป็น " จักรกลทาส " ต่อไป และแต่ละคนก็หวังว่าวันนึงจะได้เลื่อนระดับจากทาส ไปเป็นนายทาส เป็นเช่นนี้ไม่จบไม่สิ้น

คำว่า " เก่ง ดี มีความสุข " จึงเป็นแค่ความเพ้อฝันนั่นแล

TonyMao_NK51 ( ชาวยุทธ์อกหัก )

Mail To : tonymao_nk5@hotmail.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
NKL
โพสต์: 189
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 01, 2005 7:32 pm
ติดต่อ:

ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 6:15 pm

การศึกษาไทย! ยัดความรู้ แต่ไม่ดูผู้เรียน..........
แด่ " ชีวิตเยาวชนผู้น่าสงสาร "

" หลักสูตรใหม่ของการศึกษาระดับมัธยมปลาย ทุกแผนต้องเรียน คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ "
ผมได้ฟังคำพูดนี้เมื่อสมัยผมอยู่ ม.6 ปีการศึกษา 2545 ซึ่งขณะนั้น ผมยังเรียนหลักสูตรเก่าอยู่ และผมเป็นรุ่นรองสุดท้ายในโรงเรียนที่ได้เรียนหลักสูตรเก่า
หลังจากจบ ม.6 แล้ว ผมก็เพิ่งจะมานึกได้ เนื่องจากเห็นกระทู้ๆ หนึ่ง มีเด็ก ม.3 มาถามว่า
" อยู่ ม.3 แล้วท่องตารางธาตุไม่ได้ แปลกไหม "
เด็กคนนี้บอกว่าจะเรียนศิลป์ครับ
โอ้! DP มันโครตมหาแย่คับ สุดยอดแห่งความแย่จริงๆ มีอย่างที่ไหน ทุกแผนต้องไปเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวะ
เด็กเขามุ่งแล้ว เขารู้หัวไม่ไหว เลยอุตส่าห์หนีจากสายวิทย์มาเรียนสายศิลป์ เขารู้ว่าวิทย์ เรียนไปไม่จบแน่ๆ ก็ยังจะเอาไอ่ที่เขาหนี เขาไม่ชอบ ไปเรียนสายที่เขาชอบ เขาถนัด ไม่ยากเกินความสามารถของเขา
หลักสูตรเก่าไม่ดีตรงไหน?
ใช่ครับ มันเก่าครับ แต่ เก่าตรงไหนครับ ถ้าเก่าตรงเนื้อหา ก็ปรับปรุงเฉพาะเนื้อหาสิครับ ไปเกี่ยวอะไรกับการเพิ่มวิชามหาโหดเหล่านั้นเข้าไปด้วย
คนเราความสามารถไม่เหมือนกัน บางคนเก่งวิทย์ บางคนเก่งภาษา กีฬา ดนตรี คอมพิวเตอร์ ฯลฯ อะไรก็ว่ากันไป และที่หลายคนไม่เลือกเรียนวิทย์ เขารู้ว่าเขาไม่ไหวจริงๆ อีกอย่าง ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ไม่ได้ใช้กันทุกคน เว้นแต่คนจะไปเป็นมืออาชีพทางนั้นจริงๆ อย่างหมอ วิศวะ นักวิทยาศาสตร์
แต่พวก ตำรวจ ทหาร ( ถ้าไม่ใช่สายวัตถุระเบิด หรือพวกคิดจะสอบสายนายร้อย ) ได้ใช้หรือครับ
นักกฏหมาย นักรัฐศาสตร์ บัญชี การเงิน ได้ใช้หรือครับ
ไม่งั้นจะแบ่งสายการเรียนไปทำไม
วิทย์ - คณิต ศิลป์ - คำนวณ ศิลป์ - ภาษา เหล่านี้จะแบ่งไปทำพระแสงทวนหรือไงครับ ในเมื่อมันเรียนเหมือนกันหมด
ตัวผมตอน ม.4 เคยเรียนสายวิทย์ - คณิต แต่ไม่ไหวจริงๆ พอขึ้น ม.5 ขอย้ายสาย โอนหน่วยกิตไปเป็น คณิต - อังกฤษ ตามที่ผมพอจะไปได้ ต้องขอบคุณหลักสูตรเก่าครับ ถ้าเป็นหลักสูตรใหม่ ผมอาจไม่มีวันเรียนจบ
แล้วเด็กที่เรียนไม่จบนี่ล่ะ หลายคนอาจท้อ แล้วเดินเข้าสู่ด้านมืดได้ ( ไม่แน่ถ้าผมเรียนหลักสูตรใหม่ ผมเรียนไม่จบ ม.6 อาจจะเห็นผมพาดหัวข่าวหน้า 1 " วิสามัญแก๊งค์โจรโหด ปล้นธนาคาร ตัดหัวตัวประกัน " อะไรแบบนี้ก็ได้ หึๆๆ )
แล้วผมก็เรียนจนจบมาครับ ไม่ต้องเป็นด้านมืดแบบตัวอย่าง
ไม่เถียงว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญ แต่หลักสูตรเก่า สายอื่นๆ ก็มีวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว เพียงแต่ไม่แยกเจาะลึกแบบสาย วิทย์ - คณิต ( ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ) ก็เท่านั้นเอง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า มันจะทำให้ไม่รู้วิทยาศาสตร์ตรงไหน ก็ในเมื่อเขาไม่อยากเป็นหมอ ไม่อยากเป็นวิศวะ แล้วจะไปยัดอะไรนักหนา

ทุกวันนี้การแข่งขันก็สูงมากอยู่แล้ว เด็กเดี๋ยวนี้แทบไม่มีใครไม่เรียนกวดวิชา ขนาดหลักสูตรเก่าสมัยผม คนที่ไม่เรียนกวดวิชา ( รวมทั้งพวกหัวกบฏอย่างผมด้วย ) ยังไม่ค่อยจะมี

แล้วถ้ายิ่งเพิ่มความโหดไปล่ะ

มันจะมีใครอยากมาเรียนบ้าง แต่ถ้าไม่จบ ม.6 ก็ต่อมหาลัยไม่ได้

แล้วตอนจบ ม.6 ไปต่อมหาลัย ก็จะรู้เลยว่า ไอ่ที่เรียนๆ มา แทบจะไม่ได้ใช้หรอก

สำหรับคณิตศาสตร์ผมเห็นด้วยที่จะให้มีทุกแผนการเรียน เพราะไม่จำเป็นต้องเป็นสายหมอ วิศวะ เท่านั้น โดยเฉพาะสถิติ แทบทุกสายต้องใช้ ( หมอดูยังใช้เลย มากด้วย )

ดังนั้น ไม่ได้เกี่ยวกันเลยที่จะยัด ยัด แล้วก็ยัดแบบนี้ เพื่อหวังให้รู้วิทยาศาสตร์ทุกคน

ตรงกันข้าม ยัด ยัด แล้วก็ยัด มันจะกลายเป็นแฮ้งค์ และ Error มากกว่า

คอม Error รีสตาร์ทได้ แต่คน Error ก็ไม่รู้จะทำไงล่ะครับ

ก็แค่อยากให้คนได้เรียนจบอย่างมีความสุข เรียนในสิ่งที่ถนัด ที่ชอบ และจบออกมาเป็นคนดี ก็พอแล้ว

In the name of Sadness

TonyMao_NK51 ( ชาวยุทธ์อกหัก )

ปล.ไม่ได้ทำเพื่อบ้านเมือง แต่ทำเพื่อความสงบสุขของสังคม และผู้คน
ภาพประจำตัวสมาชิก
NKL
โพสต์: 189
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 01, 2005 7:32 pm
ติดต่อ:

ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 6:17 pm

การศึกษาไทยยิ่งแก้ยิ่งเละ (บทความโดยTonymao_nk51)
แด่ " ชะตากรรมที่น่าสงสาร "
แด่ " ความทรมานที่ยังไม่สิ้นสุด "
แด่ " แรงฉุดดึงแห่งชะตากรรม "
และแด่ " ความโง่เขลาของผู้คน "

ผมจำได้ว่า ผมเคยเขียนบทความวิจารณ์การปฏิรูปการศึกษาไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเกือบหนึ่งป ีก่อน ว่าด้วยเรื่องแผนการเรียนแบบใหม่ ที่ให้ ม.ปลาย ทุกแผนการเรียนต้องเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ด้วยจุดมุ่งหมายที่ดูดี ที่ว่าอยากให้คนไทยทุกคนเก่งวิทยาศาสตร์ จะได้พัฒนาประเทศได้ 

ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายก็กลับเข้ามาแทรก ราวกับสุมาตราที่เกิดแผ่นดินไหว แล้วไม่กี่อึดใจ สึนามิก็ถาโถมเข้ามาคร่าชีวิตผู้คน เพียงแต่ครั้งนี้ ไม่ใช่สึนามิที่มากับน้ำ ไม่ใช่แผ่นดินไหวบนดิน แต่เป็นภัยพิบัติทางความคิดของคนไม่กี่คน

" เอ็นทรานซ์แบบใหม่ GPA 50% "

มันช่างเป็นแนวคิดที่เยี่ยม ที่เจ๋งเหลือเกินในสายตาของพวกเขา ด้วยอุดมคติที่ว่า เด็กจะได้ไม่ต้องมาซีเรียสในฤดูกาลสอบเอ็นทรานซ์ และเด็กจะได้ตั้งใจเรียนตลอด 3 ปี วิชาจะได้แน่นปึ้ก อืม! มันช่างเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เยี่ยมมากใช่ไหมครับจอร์จ?

แต่เปล่าเลย!

การศึกษาไทยเป็นเช่นไร เราๆ ก็รู้กันอยู่ ความเหลื่อมล้ำในแต่ละโรงเรียนเป็นเช่นไร ทั้งในเรื่องความเข้มข้นทางวิชาการ และสภาพแวดล้อมในการเรียน

ก่อนอื่นผมต้องขออธิบายสภาพของโรงเรียนกันก่อน โดยพวกคุณคงจะรู้กันดี ว่าโรงเรียนแต่ละที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็มีบางอย่างที่คล้ายกัน จึงแบ่งเกรดได้ดังนี้

- พวก A Class หรือพวกโรงเรียนดังๆ มีชื่อเสียงระดับประเทศ ( แบบว่าพูดถึงโรงเรียนดีๆ ชื่อพวกนี้ต้องอยู่ในหัวเป็นอันดับต้นๆ ) พวกนี้การเรียนเข้ม วิชาแน่น สภาพแวดล้อม บรรยากาศในโรงเรียนดีเยี่ยม

- พวก B Class พวกนี้ถึงแม้ไม่ดังในระดับประเทศ แต่ถ้าเป็นระดับจังหวัด หรือภาค ก็ถือว่ามีชื่อเสียงไม่น้อย พวกนี้เป็นโรงเรียนระดับกลาง

- พวก C Class พวกนี้เป็นโรงเรียนที่ดู " อาภัพ " ที่สุด เพราะต้องรองรับเด็กที่ตกชั้นมาจาก A และ B Class หลายครั้งที่โรงเรียนพวกนี้ถูกมองว่า " ที่รวมของพวกเด็กเหลือขอ " เพราะมีแต่เด็กที่เรียนไม่เก่งบ้าง หรือเรียนดีแต่มีปัญหาบางอย่างบ้าง

แน่นอนว่า หากแบ่งกันตามนี้ แล้วไปสำรวจอยู่ จะพบว่ามันต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้ในบางกรณี จะเป็นโรงเรียน Class เดียวกันก็ตาม

โรงเรียนบางแห่งนั้นเป็นรู้กันดีว่ามีการปล่อยเกรด ปล่อยผลการเรียนทำให้เด็กได้เกรดดี แต่วิชาความรู้ไม่แน่น ขณะที่บางแห่งต่างกันสุดขั้ว คืองกเกรดมากเกินไป ทำให้เด็กที่เก่ง ได้คะแนนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

เมื่อระบบ GPA 50% ถูกกำหนดให้ใช้ ผลที่ได้จะตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ เด็กเรียนดีก็อาจจะไม่ได้เข้าเรียนในสถาบันที่ควรจะได้ เพราะสมัยมัธยมโดนกั๊กเกรด ขณะที่เด็กที่ไม่เก่งจริง อาจจะได้เข้าเรียน เพราะว่าทางสมัยมัธยมนั้นปล่อยเกรดมากเกินไป

ยังครับ! แค่นั้นยังไม่พอ เรายังมีปัญหาแถมให้เด็กๆ อีกมากมาย 

ปัญหาต่างๆ ที่ตามมาเป็นลูกโซ่นั้นอาจจะไม่มีใครคาดคิด หรือมองผ่านไปแบบเห็นมันเป็นเหมือนเศษฝุ่น 

ประการแรก เด็กจะต้องเครียดตลอดสามปี และนำมาซึ่งการแห่กันไปกวดวิชาตามสถาบันกวดวิชาต่างๆ 

ถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะว่าจากเดิมที่เด็กจะไปเอาจริงกับการเรียนช่วง ม.5 เทอม 2 - ม.6 เพื่อเตรียมสอบเอ็นทรานซ์ ( ผมอยากจะเรียกว่า " เอ็นสะท้าน กระดูกสะเทือน " มากกว่า ) กลับต้องมาเอาจริงตั้งแต่ ม.4 เทอม 1 ไม่สิ พ่อแม่ประเภท " กระต่ายตื่นตูม " จะต้องเคี่ยวลูกตั้งแต่อยู่ ม.ต้นเป็นแน่แท้ หรือซ้ำร้ายอาจจะเคี่ยวกันตั้งแต่ประถม เพื่อให้พร้อมก่อนเข้าสู่" สมรภูมินรก " ในช่วง 3 ปีแรกที่ใช้คำว่า " นาย/นางสาว " ในบัตรประชาชน 

ประการที่สอง พ่อแม่เด็กก็คงยังเหมือนเดิม ไม่เชื่อมั่นว่าโรงเรียนใกล้บ้านจะทำให้ลูกเก่งได้ ซึ่งแต่เดิม รัฐบาลพยายามจะทำให้พ่อแม่และเด็กเกิดทัศนคติว่า " ใกล้บ้านก็เรียนได้ " แต่กลับเป็นตรงกันข้าม เพราะเมื่อ GPA จำเป็นมากเช่นนั้น สู้ส่งลูกไปเรียนที่ดีๆ แม้จะอยู่ไกลบ้านไม่ดีกว่ารึ 
สุดท้ายก็จะเข้ารอยเดิม นั่นคือการแย่งกันเข้าแต่พวก A Class กันหมด และถึงเข้าได้ แต่อยู่ไกลบ้านก็ไม่ใช่สิ่วดีเลย เพราะยังไงร่างกายคน การพักผ่อนก็เป็นสิ่งสำคัญ นอนดึกเพราะทำการบ้าน แล้วตื่นเช้ามืดไปเรียน ไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก ทำให้ร่างกายพักผ่อนน้อย สุขภาพทรุดโทรมเร็ว และการพักผ่อนน้อยเป็นการขัดขวางการเจริญเติบโต ทั้งของร่างกาย และการซ่อมแซมเซลล์สมอง ซึ่งร่างกายจะดำเนินการสิ่งเหล่านั้นในยามที่เรานอนหลับ 
ประการที่สาม คุณอาจจะมองข้ามไป เกี่ยวกับระบบ UnderTable ซึ่งรู้กันดีว่ามันคือวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่งมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว ทุกวันนี้ขนาดยังเป็นระบบเก่า แต่ก็ยังมีระบบนี้มาตลอด และหากเป็นระบบใหม่ ระบบนี้ก็จะยิ่งใช้ได้ง่ายขึ้น 
ผมได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการศึกษาจากเด็กหลายคน ซึ่งส่วนใหญ่มักให้ข้อมูลว่า โรงเรียนนั้นมีการเข้มงวดในเรื่องเครื่องแต่งกาย ไม่ว่าจะเป็นทรงผม เครื่องแบบ มากกว่าการหนีเรียน หรือคะแนนการเรียน ในตอนแรกผมก็ไม่ได้สนใจมากนัก จนไปเจอข้อความในเวปบอร์ดแห่งหนึ่ง ที่มีคนออกมาแฉความจริงเรื่องนี้ 


============================================================

เครดิตบทความทั้งหมดโดย

Tonymao_nk51 นักเขียนบทความชั้นแนวหน้าของประมูล
Alphonse
โพสต์: 1792
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ส.ค. 23, 2006 10:45 pm
ที่อยู่: Thailand

ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 10:56 pm

NKL เขียน: เขาไม่ไหวจริงๆ อีกอย่าง ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ไม่ได้ใช้กันทุกคน เว้นแต่คนจะไปเป็นมืออาชีพทางนั้นจริงๆ อย่างหมอ วิศวะ นักวิทยาศาสตร์
แต่พวก ตำรวจ ทหาร ( ถ้าไม่ใช่สายวัตถุระเบิด หรือพวกคิดจะสอบสายนายร้อย ) ได้ใช้หรือครับ
นักกฏหมาย นักรัฐศาสตร์ บัญชี การเงิน ได้ใช้หรือครับ
ไม่งั้นจะแบ่งสายการเรียนไปทำไม
วิทย์ - คณิต ศิลป์ - คำนวณ ศิลป์ - ภาษา เหล่านี้จะแบ่งไปทำพระแสงทวนหรือไงครับ ในเมื่อมันเรียนเหมือนกันหมด
อ่า
ที่ว่าเรียนเหมือนกันหมด
คือเรียนวิชาพื้นฐาน คือแค่ตัวเดียว(รหัสเดียว)
ซึ่งมันเป็นพื้นฐานจริง จิ๊งงงงงงงงงงงงง..... เหมือนวิทยาศาสตร์กายภาพเลยอ่ะครับ

และอีกอย่างตอนนี้เอชเรียนนิติศาสตร์อยู่
เอชว่าเอชได้ใช้นะฟิสิกส์ เคมี ชีวะ มากด้วยล่ะ
ถ้าไม่ได้เรียนวิชาพวกนี้มา คงซวยไปแล้วในหลายๆ วิชา
เหอ ๆ

ปล. ประชาธิปไตย.....อัปลักษณ์ยิ่งนัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
NKL
โพสต์: 189
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 01, 2005 7:32 pm
ติดต่อ:

เสาร์ ก.พ. 10, 2007 4:27 pm

necromancer เขียน:
NKL เขียน: เขาไม่ไหวจริงๆ อีกอย่าง ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ไม่ได้ใช้กันทุกคน เว้นแต่คนจะไปเป็นมืออาชีพทางนั้นจริงๆ อย่างหมอ วิศวะ นักวิทยาศาสตร์
แต่พวก ตำรวจ ทหาร ( ถ้าไม่ใช่สายวัตถุระเบิด หรือพวกคิดจะสอบสายนายร้อย ) ได้ใช้หรือครับ
นักกฏหมาย นักรัฐศาสตร์ บัญชี การเงิน ได้ใช้หรือครับ
ไม่งั้นจะแบ่งสายการเรียนไปทำไม
วิทย์ - คณิต ศิลป์ - คำนวณ ศิลป์ - ภาษา เหล่านี้จะแบ่งไปทำพระแสงทวนหรือไงครับ ในเมื่อมันเรียนเหมือนกันหมด
อ่า
ที่ว่าเรียนเหมือนกันหมด
คือเรียนวิชาพื้นฐาน คือแค่ตัวเดียว(รหัสเดียว)
ซึ่งมันเป็นพื้นฐานจริง จิ๊งงงงงงงงงงงงง..... เหมือนวิทยาศาสตร์กายภาพเลยอ่ะครับ

และอีกอย่างตอนนี้เอชเรียนนิติศาสตร์อยู่
เอชว่าเอชได้ใช้นะฟิสิกส์ เคมี ชีวะ มากด้วยล่ะ
ถ้าไม่ได้เรียนวิชาพวกนี้มา คงซวยไปแล้วในหลายๆ วิชา
เหอ ๆ

ปล. ประชาธิปไตย.....อัปลักษณ์ยิ่งนัก
พื้นฐานตอนเรียน เรียนไปก็ตกทั้งห้อง เพราะไม่มีใครชอบ  เรียนจบก็ลืมกันจนหมด ตอนเรียนก็หลับยกห้อง(ปล.ผมสายอังกฤษ-สังคม)
เลข หลักแค่ตัวเดียวก็น่าจะพอแล้ว นี่มาใส่เสริมมาอีกตัว มันได้อะไรครับ? ตอนเรียนก็ลอกกันชิบหายวายวอด เรียนกันไปโดยไม่ได้รู้จุดหมายว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร

ใส่ไว้แล้วได้อะไรครับ
แก้ไขล่าสุดโดย NKL เมื่อ เสาร์ ก.พ. 10, 2007 4:29 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
NKL
โพสต์: 189
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 01, 2005 7:32 pm
ติดต่อ:

เสาร์ ก.พ. 10, 2007 4:31 pm

จะเอาบทความวิจารณ์ด้านการศึกษาไทยมาลงเรื่อยๆนะครับ
=====================================
การศึกษาไทย กับความรู้ ที่ไม่ก่อให้เกิด ปัญญา
.....คำยอดฮิต ประจำวงอภิปรายเรื่อง "การศึกษาไทย กับความรู้ ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญญา" ซึ่งกลุ่มเสียงนิสิต และสภานิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดขึ้น เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๑ คือคำว่า "ควายกระป๋อง"
.....ผู้เข้าฟังการอภิปราย ที่หยิบยกถ้อยคำดังกล่าว ขึ้นมาเปรียบเทียบกับ นิสิตนักศึกษา ที่อยู่ในระบบ การศึกษา ของไทย ยังแสดงความเห็นอีกด้วยว่า "มหาวิทยาลัย" ก็คือ โรงงานผลิต ควายกระป๋อง (พร้อมใบรับประกัน คุณภาพ คือ ปริญญาบัตร) นั่นเอง
.....นี่เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ระบบการศึกษา ของไทย โดยเฉพาะการเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัย ถูกหยิบยกขึ้นมา วิพากษ์วิจารณ์ อย่างเผ็ดร้อน
.....วิทยากร ทั้งสามท่านคือ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง หนึ่งในคณะกรรมการ ปฏิรูปการศึกษา แห่งชาติ อาจารย์สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการ กรรมาธิการการศึกษา และนพ.พร พันธุ์โอสถ ผู้อำนวยการ โรงเรียนปัญโญทัย ได้หยิบยก ประเด็น ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ระบบการศึกษา มาเสนอมากมาย -- ดร.เอกวิทย์ เห็นว่า เป็นเรื่องน่าเห็นใจ ที่นิสิตนักศึกษา ต้องอยู่ในระบบการศึกษา และเรียนในสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์ในชีวิตจริง หรือนำมาประยุกต์ใช้ไม่ได้ แต่ไม่ควร สรุปว่า ระบบการศึกษานั้น "ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง" เพราะความรู้นั้น อาจจะนำไปใช้ได้ ในระยะยาว
.....อาจารย์สมพงษ์ เรียกระบบการเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัยของไทยว่าเป็น "วัฒนธรรมไร้สาระ" เพราะเด็กที่สอบเข้า มหาวิทยาลัยได้ ถือว่าตัวเองหมดภาระแล้ว หลังจากที่ถูกยัดเยียดว่า ต้องเรียนหนังสือให้เก่ง มาตั้งแต่อนุบาล เมื่อสอบ เอ็นทรานซ์ได้ จึงทำตัวไร้สาระกันเต็มที่ นอกจากนี้ความเป็นมนุษย์ และธรรมชาติ ความอยากเรียนรู้ ของเด็ก ยังถูกทำลายไป จากการที่ถูก "เร่งเครื่อง" เต็มที่ และต้องเจอกับ สภาพความกดดันจาก การแข่งขัน เรื่องการเรียนอีกด้วย
.....ด้านนพ.พร ฟันธงว่า ระบบการศึกษาของไทยนั้น ล้มเหลว ซึ่งตัวมันเอง มองไม่เห็น และแก้ไม่ได้ นอกจากนี้ เขาเห็นด้วยกับ ผู้ฟังท่านหนึ่งที่เสนอว่า ข้อบัญญัติในมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปี นั้นเป็น "คุกทางความคิด" ที่อันตรายที่สุด
....."ด้วยสำนึกแห่งความเป็นรัฐ การศึกษาภาคบังคับ ก็คือการจับประชาชนเข้าคุก เราเคยเสนอให้ เปลี่ยนมาใช้คำว่า "การศึกษาขั้นพื้นฐาน" ซึ่งหมายถึง การที่ประชาชน มีอำนาจในการจัดการศึกษา ให้กับตัวเอง และจะเป็น ระบบ การศึกษา ที่นำไปสู่ การเปลี่ยนแปลง ทางความรู้ ความคิด และก่อให้เกิดปัญญา ถ้าปล่อยให้รัฐ จัดการอยู่อย่างนี้ เขาจะไม่สนใจอะไรหรอก เขาก็จับคุณ ยัดเข้าโรงเรียน เข้ามหาวิทยาลัย แล้วก็ปล่อยให้คุณเป็น ควายกระป๋อง อยู่อย่างนั้น"
.....อย่างไรก็ตาม รสชาติ และความน่าสนใจในเวทีเสียงนิสิตครั้งนี้ ดูเหมือนจะอยู่ที่ เสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วมฟัง กว่า ๒๐๐ คนซึ่งเกือบทั้งหมด เป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมากกว่า
....."ปัญหาของระบบการศึกษาอยู่ที่ไหน? เป็นความบกพร่องของ ครูบาอาจารย์ หรือความล้มเหลว ในการตั้งเป้าหมาย ทางการศึกษาของนักเรียน? ความรู้ที่ใช้ในการเรียนการสอน เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับ ความเป็นไปของสังคม บ้างหรือเปล่า? หรือแท้จริงแล้ว กระบวนการถ่ายทอดระหว่าง ครูกับศิษย์ เป็นกระบวนการที่ใช้ไม่ได้?" กลุ่มเสียงนิสิต ตั้งคำถามนำ
....."อาจารย์ไม่เคยถามเลยว่า นิสิตต้องการอะไร คงจะมองว่า นิสิตเป็นเหมือน คอมพิวเตอร์ ที่ต้องเอาข้อมูลมาป้อน นิสิตก็ save ไว้เพื่อเอาไปสอบ พอสอบเสร็จก็ format ทิ้ง เตรียมรับข้อมูลชุดใหม่ พอจบออกไป ปรากฏว่า เราเอาอะไรไปใช้ไม่ได้เลย" (นิสิตปี ๒ คณะอักษรศาสตร์)
....."สิ่งที่ผมอยากเจอก็คือ อาจารย์ที่สอนอย่าง มีจิตวิญญาณ บ่อยครั้งที่ผมเดินเข้าไปในห้องเรียน แล้วรู้สึกว่า มันเป็นเพียงแค่ กรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆ จึงไม่อยากเข้าไปเท่าไหร่" (นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์)
....."ผมไม่รู้ว่าปัญหาของเราอยู่ที่ไหน หรือว่าเป็นความผิดของใคร บางทีอาจะเป็นเพราะ อาจารย์ไม่ได้ให้ สิ่งที่เราต้องการ อย่างแท้จริง ขณะเดียวกัน สิ่งที่อาจารย์นำมาสอน ก็เป็นองค์ความรู้ ที่ไม่ทันสมัย ไม่กว้าง ไม่ทันกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง" (นิสิตปี ๒ คณะวิศวกรรมศาสตร์)
....."คำถามก็คือ ทุกวันนี้สังคมมุ่งมั่นกับความเป็นเลิศทางวิชาการของนักศึกษามากเกินไปหรือเปล่า จริงๆ แล้วเรา อาจจะไม่ต้องเป็นอย่างนั้นก็ได้ เราน่าจะได้มีเวลาว่างมากขึ้นเพื่อที่จะไป 'ใช้ชีวิต' ผมคิดว่า สิ่งนี้จะช่วยให้เรา เกิดปัญญาขึ้นมา ไม่ใช่ความรู้ที่ได้จากห้องเรียนอย่างเดียว" (นิสิตคณะนิติศาสตร์)
....."อย่าไปโทษระบบการศึกษา อาจารย์ หรือมหาวิทยาลัยเลย เพราะถ้าเรา ยังทำตัวเหมือนมีพ่อ เป็นชาวฝรั่งเศสชื่อ หลุยส์วิตตอง มีแม่ชื่อ แชนแนล มีเพื่อนสนิทชื่อ แมคโดนัลด์ มีญาติผู้ใหญ่ชื่อ ผู้พันแซนเดอร์ แล้วละก็ เราคงจะ หยุดความคิดแบบ บริโภคนิยม ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งหมดนี้ไม่ได้ (ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
.....จากการที่ มีนิสิตนักศึกษา เข้าร่วมฟังการอภิปราย และแสดงความคิดเห็น มากเกินความคาดหมาย ของทั้งผู้จัด และวิทยากรนั้น ผู้อำนวยการโรงเรียนปัญโญทัย ตั้งข้อสังเกตว่า นี่เป็นเครื่องบ่งชี้ และยืนยันถึง ความล้มเหลว ของระบบการศึกษา
.....ขณะเดียวกัน ปรากฏการณ์นี้ ก็น่าจะเป็นการพิสูจน์สมมติฐานของ มนฑกานต์ ตันชัยสวัสดิ์ นิสิตชั้นปีที่ ๔ คณะนิเทศศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้จัดการอภิปราย ที่เชื่อว่า ทุกคนมีความอัดอั้นตันใจ และคับข้องใจกับ ระบบการศึกษา ต้องการระบาย และช่วยกันขบคิดหาทางออก
....."ข่าวการฆ่าตัวตายของนิสิตนักศึกษาที่ถี่ขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้เรา หยิบประเด็นเรื่อง ระบบการศึกษาไทยขึ้นมาพูดคุยกัน เราคิดว่า นี่ไม่ใชประเด็นเล็กๆ และไม่ใช่ปัญหาสังคมธรรมดา แต่ระบบการศึกษา ต้องมีส่วนอย่างมาก ที่ทำให้นิสิตนักศึกษาฆ่าตัวตาย"
.....สำหรับคำถามสำคัญ ซึ่งเป็นบทสรุปของการอภิปราย ที่มนฑกานต์ตั้งไว้ คือ ในเมื่อตลอดเวลาที่ผ่านมา ระบบการศึกษา ได้สร้างองค์ความรู้ ชนิดที่ก่อให้เกิด "ปัญหา" แล้วระบบการศึกษาแบบใดเล่า ที่จะสร้าง องค์ความรู้ ชนิดที่ก่อให้เกิด "ปัญญา" ขึ้นมาได้ ?
.....คำตอบที่ดี และชัดเจนที่สุดในเวทีนี้ น่าจะเป็นของ นพ.พร พันธุ์โอสถ
....."ปัญญาเกิดจาก การรู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเองดี ความรู้ที่ทำให้เกิดปัญญา ไม่อาจหาได้จาก ระบบการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย หรือการจดตามคำบอก ของอาจารย์ แต่เกิดจากการที่ คุณมานั่งทบทวน การกระทำของคุณ แล้วถามตัวเองว่า กำลังทำอะไรไป เพื่ออะไร กำลังก้าวไปทางไหน และมีชีวิตอยู่ในวันนี้ เพื่ออะไร... ระบบการศึกษา ที่จะทำให้เกิดปัญญา ก็คือ ระบบการศึกษา แห่งการเข้าใจตัวเองนั่นเอง"
ภาพประจำตัวสมาชิก
NKL
โพสต์: 189
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 01, 2005 7:32 pm
ติดต่อ:

เสาร์ ก.พ. 10, 2007 4:32 pm

บทความจินตนาการกับความจริงที่สวนทาง
แด่ " จินตนาการอันสวยงามที่หายไป "
นานมาแล้ว เด็กชายหญิงกลุ่มหนึ่งอยู่ในชั้นเรียนประถมต้น วันนึงในชั่วโมงเรียน ครูให้นักเรียนหัดเขียนเรียงความเกี่ยวกับความใฝ่ฝันของตัวเองขึ้น
หลังจากส่งแล้ว นักเรียนหลายคนถูกครูเรียกออกมาเล่าจินตนาการนั้นให้ฟัง บ้างก็ว่า
" ผมอยากเป็นตำรวจครับ จะได้ปราบผู้ร้าย "
" ผมอยากเป็นหมอครับ จะได้รักษาคนป่วย "
และอีกหลายๆ อาชีพที่ออกมาจากปากของหนูน้อยทั้งหลาย ภาพสวยงามเหล่านั้นเป็นจินตนาการในความคิดของเด็กเหล่านั้นมาตลอด ผ่านคำสอนของพ่อแม่ของพวกเขา
หลายปีผ่านไป เด็กเหล่านี้เติบโตเป็นวัยผู้ใหญ่ที่มีพลังทั้งร่างกาย และความคิด แต่ทว่า......... บางสิ่งที่สวนทางกันก็เริ่มขึ้น
เด็กชายที่อยากเป็นหมอได้เป็นหมอ และมีชื่อเสียง
เด็กชายที่อยากเป็นตำรวจได้เป็นนายตำรวจใหญ่ชั้นนายพัน มีอำนาจ และตำแหน่งใหญ่พอสมควร
เด็กหญิงที่อยากเป็นครูได้เป็นครู และมีผู้รู้จักมากมาย
แต่บางสิ่งที่กลับกัน
แพทย์ผู้มีชื่อเสียง เบื้องหลังกลับเลี้ยงไข้ เลือกรักษาคนป่วย และซ้ำร้ายยังแอบขโมยอวัยวะผู้ป่วยยากจนไปขายให้ผู้ป่วยร่ำรวย
นายตำรวจใหญ่เริ่มรับสินบน ตั้งตัวเป็นมาเฟียหลังฉาก
ครูผู้มีคนรู้จัก สอนในห้องเรียนแบบเอื่อยๆ แต่ของดีไปสอนในที่กวดวิชา เก็บค่าเรียนแพงๆ
และเส้นทางที่พวกเขาและเธอโคจรมาพบกันอีกครั้ง ก็คือ " เส้นทางแห่งการเมือง "
ต่อหน้าประชาชน อภิมหาโครงการต่างๆ ถูกยกมา แต่พอเอาจริงๆ โครงการเหล่านั้นกลับไม่ทำบ้าง หรือทำโดยแอบแฝงผลประโยชน์ของตนเบื้องหลังบ้าง
" จินตนาการของเขาและเธอหายไปไหน อะไรที่ทำลายความสวยงามอันนั้น "

วัยเด็กเป็นวัยที่สดใส ไม่ต้องแย่งชิง ทุกอย่างล้วนสวยงาม สนุกสนานไปหมด ดังนั้น เด็กจะคิดสิ่งเหล่านั้นก็ได้

แต่ในความเป็นจริง เมื่อเด็กเริ่มก้าวสู่วัยมัธยม ความโหดร้าย การแก่งแย่งก็เริ่มขึ้น โดยที่ " พ่อแม่ " เป็นผู้นำมันเข้ามาหาลูกของพวกเขาเอง

" เรียนให้เก่งๆ จะได้เป็นเจ้าคนนายคน "

ค่านิยมนี้ฝังหัวคนไทย แต่ไม่ใช่ มันเป็นค่านิยมของมวลมนุษยชาติเลยต่างหาก ยิ่งในประเทศที่แข่งขันกันสูง เช่นญี่ปุ่น ที่นั่นเด็กๆ จะถูกสอนให้เอาชนะอย่างเดียวเท่านั้น ทุกคนคือศัตรู ( ค่านิยมนี้เองที่มีคนเอามาทำเป็นหนัง Battle Royale ) ขณะที่ประเทศไทย ค่านิยมตัวนี้ช่างเข้ากับความคิดโบราณของคนไทยได้ดีราวกับน้ำมันกับไฟ

" เรียนให้เก่งๆ นะลูก จะได้เป็นเจ้าคนนายคน "

เดิมทีคนไทยสมัยโบราณเองก็มีการแบ่งชนชั้นในระบบ " ศักดินา " และชนชั้นต่ำจะเลื่อนเป็นชนชั้นสูงได้ ก็ต้องเข้ารับราชการเท่านั้น แน่นอนว่า การจะรับราชการได้ พ่อแม่จะต้องนำตัวบุตรชายไปฝากไว้กับชนชั้นสูง อาจเป็นขุนนาง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เรียกว่า " ระบบอุปถัมภ์ " แน่นอน สมัยโบราณไม่ว่าประเทศไหน ชนชั้นขุนนางมักจะมีอำนาจล้นฟ้า และภาพนั้นก็ฝังลึกในความคิดของคนมาตลอด ไม่ว่าจะชาติไหนก็ตาม

ภาพเด็กหนุ่มนับหมื่นสมัครเข้าสอบ นตท. , นนส. หรือการที่เด็ก ม.6 สอบเอ็นทรานซ์ ( ผมอยากเรียกเอ็นสะท้านมากกว่า ) เป็นภาพแสดงถึงค่านิยมในอำนาจ และเงินทอง ได้อย่างดี

เพราะมหาลัยดังๆ หรือ ร.ร. เหล่าต่างๆ นั้น เมื่อจบออกมาแล้ว คนผู้นั้นจะเหมือนชุบตัวออกมา และสร้างอำนาจ เงินทองได้อย่างไม่ยาก ทั้งๆ ที่มหาลัยอื่นๆ ก็เรียนในวิชาเดียวกัน ตำราเดียวกัน

นั่นเพราะ " ชนชั้นสูง " มักจะเรียนในที่ดังๆ เสมอ

เพื่อนสนิทของผม 2 คน ล้วนแต่เป็นคนเก่งทั้งคู่ คนแรกอายุน้อยกว่าผม 1 ปี ปัจจุบันเรียนวิศวะฯ อยู่ที่บางมด ได้เล่าถึงมหาลัยชื่อดังที่ต้องสอบเข้าแห่งหนึ่งไว้ว่า

" ที่นั่นอาจารย์ขับรถญี่ปุ่น ขณะที่ลูกศิษย์ขับรถยุโรป "

เพื่อนสนิทคนที่ 2 ของผม อายุมากกว่าผม 3 ปี คนผู้นี้เป็นด้านมืด ชีวิตที่ต้องต่อสู้แต่เด็ก แม้หลักฐานการศึกษาไม่แน่นอนนัก แต่เขาทำเป็นหลายอย่าง ทั้งบัญชี เป็นผู้ที่รู้เกี่ยวกับอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ การดัดแปลงวิทยุสื่อสาร แต่งมอไซค์ และหลายๆ อย่างที่เป็นด้านมืด รวมถึงค่อนข้างจะรู้กฏหมายพอสมควร ( ยอมรับว่ามันชอบเรียนรู้มาก แต่ไม่ได้เรียนแบบมีหลักประกันแค่นั้นเอง ) ได้สอนผมไว้ประโยคหนึ่งว่า

" เมิงไม่มีเงินไม่เป็นไร แต่ถ้าคอเมิงมีทองใส่ ใครๆ ก็เชื่อเมิง "

แน่นอน มันเป็นความจริง ความจริงที่น่าเจ็บปวดเสียด้วย

สาวๆ หลายคนยอมเป็นเมียเก็บเสี่ยก็เพราะเงิน ขณะที่อุดมการณ์ของบุคคลต่างๆ จบสิ้น ก็เพราะเงิน

" เงิน " คือพระเจ้า

แม้ภายนอก หลายคนจะปฏิเสธข้อนี้ ด้วยการพูดว่า คนเราคบกันที่นิสัยบ้าง หรือคนเรามีอุดมการณ์บ้าง เงินซื้อทุกอย่างไม่ได้บ้าง

แต่มันก็เป็นความจริงเสมอ เพราะมนุษย์ยอมรับมันเสียแล้ว

น้องสาวผมคนนี้บอกว่าไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ ก็คงเพราะเหตุนี้แล

" ความจริง " มันน่าเจ็บปวดเสมอครับ

In The Name of Sadness
ภาพประจำตัวสมาชิก
NKL
โพสต์: 189
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 01, 2005 7:32 pm
ติดต่อ:

เสาร์ ก.พ. 10, 2007 4:33 pm

ส่วนนี่คือบทความของ Louiseelven แห่ง ประมูล กล่าวถึงค่านิยมการบังคับบุตรหลานให้เรียนตามที่กำหนดวางไว้
====================================
บทความ "บังคับบุตรหลาน ทำถูกแล้วหรือ"
ก่อนอื่น ผมบอกก่อนนะครับ ว่าเป็นบทความชิ้นแรกของผม

ดีเลวยังไงผมไม่สนครับ เพราะมันคือชิ้นแรก ^_^

แต่ใครมีอะไรติชมผมได้นะครับ ขอบคุณ

แด่ "คนผู้ที่ถูกบังคับ "

แด่ "เด็กที่ที่โดนดันผิดทาง"

แด่"ผู้ที่อยากเดินทางนึงแต่โดนดันอีกทางนึง"

แด่ "คนที่มักถูกดูเฉพาะข้อเสียของตน"

คุณเคยโดนผลักดันผิดทางบ้างหรือไม่ ?? เช่นว่า คุณอยากทำอย่างนึง แต่บิดามารดาเห็นว่าไม่ดี เลยโดน

ดันให้ไปทำอีกทางนึง ทั้งๆที่เราทำไม่เป็น ?? ถ้าคุณตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ คุณจะรู้สึกอย่างไร

หากบิดามารดาของท่าน ผลักดันท่านไปในทางที่ไม่ถนัด ท่านก็ต้องตามเขาสิครับ พอเราทำตามท่าน

เราทำได้ไม่ดี เพราะเราไม่ถนัดด้านนั้น แล้วท่านกลับต่อว่าเรา แต่ด้านที่เราถนัด กลับโดนมองข้าม

ไม่สนใจ กลับพยามยัดเยียดในสิ่งที่เราไม่ชอบ ไม่ถนัด นอกไปจากนั้น บิดามารดาของเรามักจะ

ไม่สนใจว่าบุตรหลานของตนนั้นพูดอะไร มักจะเอาแต่ใจตน ว่า บุตรของตน ต้องดีเลิศ ต้องสุดยอด

ไปกว่าเด็กคนอื่น ห้ามมีปมด้อย แต่ด้านดีของบุตร กลับไม่สนับสนุน แต่วางเฉยไป ไม่สนใจ

ว่าบุตรของตนเก่งด้านนั้น ไม่สนับสนุน ส่งเสริม (ทั้งที่ส่งเสริม แล้วบุตรของตนมีความสามารถจริงๆ)

และบิดามารดาของเรา มักจะเลี้ยงลูกแบบที่ตนเคยโดนปู่ย่าตายายของเราเลี้ยง โดยไม่สนว่ายุคปัจจุบัน

จะเป็นอย่างไร เช่น ต้องทำไรซ้ำๆซากๆ ใช้ความรู้เก่าๆ ต้องคิดแบบเก่าๆ โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่า

ความคิดใหม่ๆนั้น จะทำให้เราไม่ทันโลก แต่ก็มิได้มองข้ามความคิดเก่าๆหรอกครับ หลายส่วนก็มีส่วนดี

ถ้าท่านโดนผลักดันผิดทาง ท่านจะรู้ตัวว่าท่านทำมันไม่ได้ เช่น ท่านถนัดด้านศิลปะ แต่กลับโดนบังคับ

ให้เรียน ฟิสิกข์ ท่านจะทำมันได้หรือไม่ ท่านไม่ถนัดมันเลย ไม่เคยชอบมันเลย ไม่อยากเรียนมันเลย

แล้วพอบิดามารดาของท่านรู้พวกท่านก็ตัดสินปัญหาโดยการ ให้เรียนหนักไปอีก เพื่อจะได้ชอบมัน บิดามารดา

ของท่านเขาทำถูกแล้วหรือ ?? นอกจากนั้น ท่านยังไม่รับฟังเหตุผลของบุตร เพราะท่านคิดว่า เราเถียงไปตลอด

พอเราบอกว่าท่านไม่เปิดโอกาศให้เราพูดบ้าง ท่านกลับบอกว่า อย่าเถียงสิ เค้าสั่งสอน หัดพูดจามีเหตุมีผลเสียบ้าง

ท่านคิดว่า การกระทำแบบนี้ถูกหรือ บิดามารดาไม่ฟังเหตุผลบุตรหลานเลย และพอบุตรหลานให้เหตุผล กลับบอกว่าเถียง

พอพูดเหตุผล กลับบอกว่า เหตุผลไร้สาระ ทั้งๆที่มันเป็นเหตุผลที่ดีเช่น นาย ก เป็นพ่อ ของ ด.ช. ข นาย ก กำลังดุ ด.ช. ข

เรื่องงานที่โรงเรียน เด็กชาย ข . ซึ่งไม่ถนัดวิชา วิทยาศาสตร์ โดนพ่อดุอยู่ นาย ก ด่า ด.ช. ข ว่า เป็นคนไม่รับผิดชอบ

โง่ ขี้เกียจ แล้วเอาตัว เด็ก ชาย ข ไปเปรียบเทียบกับ คนที่เก่ง วิทยาศาสตร์มากๆ พอเด็กชาย ข พูดกลับไปว่า

ตัวเขาถ้าเทียบกับเพื่อนในห้องแล้ว เขาไม่ได้ด้อยไปกว่าใครเลย แต่พ่อบอกกลับมาว่า อย่าเอาเทียบกับเด็กในห้องสิ

ไปเทียบกับเด็กคนอื่นสิ ท่านหมายถึงว่า จะเอาเด็ก ไอคิว 110 ไปเทียบกับคนที่ ไอคิว 150 จะเอาเด็กที่

อีคิว 105 ไปเทียบกับคนที่อีคิว 150 แล้วมันจะเทียบกันติดหรือ ?? ท่านไม่เคยคิดจะเอาตัวเรา

ไปเทียบกับคนในระดับเดียวกันเลย ทั้ง ไอคิว และอีคิว ท่านคิดว่าการกระทำแบบนี้ มันจะช่วย

ให้บุตรหลาน เก่งขึ้นหรือไม่ นอกไปจากนั้น เวลาตนเองอารมณ์ไม่ดี มาพาลลูกหลาน ด่าโน่นด่านี่ ทุบตี

พอลูกหลานอารมณ์ไม่ดี แล้วตอบแบบโมโห กลับทุบทีลูกหลาน โทษฐาน พาล มั่ว ท่านคิดว่ามันทำถูกแล้วหรือ

และบิดามารดาบางท่าน คิดว่า ตน สอนลูกหลานได้อย่างเลิศเลอ เพอเฟค แล้ว พอลูกหลานของท่านทำให้ผิดหวัง

กลับทุบตี แล้วบอกว่าสั่งสอนอะไรไม่จำ ทั้งๆที่ตนสอนบุตรหลานไม่ดีเอง ทำแบบนี้มันถูกแล้วหรือ...

ตัวผมไม่ได้มี อคติอะไรกับ บิดามารดาของผมหรอกครับ ใครอ่านแล้ว เป็นไงก็ช่าง ผมไม่สน

อยากระบายออกมาเพียงเท่านั้น เพื่อให้คนอื่นเข้าใจมันง่ายๆเลยเขียนมาเป็นบทความเพื่อสะดวกในการอ่าน

และมันเป็นงานที่ผมทำด้วยตนเองชิ้นแรก หากมีอะไรดีไม่ดีก็สามารถติชมกันได้นะครับ

ขอบคุณ

Louiseelven`ฟินิกส์ปีกหัก

E- mail Louiseelven@aomyim.com
Msn Elvenwariror@hotmail.com
Credit : Tonymao Nk51 อาจารย์ซึ่งไม่เคยสอนอะไรผม แต่ผมกลับได้อะไรจากเขามากมาย โดยที่เขาไม่สอนผมเลย
แก้ไขล่าสุดโดย NKL เมื่อ เสาร์ ก.พ. 10, 2007 4:35 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Alphonse
โพสต์: 1792
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ส.ค. 23, 2006 10:45 pm
ที่อยู่: Thailand

อาทิตย์ ก.พ. 11, 2007 4:37 am

ห้องสี่เหลี่ยม  โดย คนหลังห้อง (ตีพิมพ์ครั้งแรกในจุลสารไม้ขีดไฟ ชุมนุมค่ายอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
.....................................


นั่งในห้องสี่เหลี่ยมเหมือนเคย
โต๊ะเก้าอี้เรียงรายเป็นระเบียบ
แต่ใจเล่า ? เป็นระเบียบจริงหรือ
เสียงคนคนหนึ่งโหวกเหวกอยู่หน้าห้อง
ปากกาที่มือเราร่ายรำเป็นตัวอักษร
แต่รู้ตัวไหม ? เรากำลังจดอะไรลงไป
หนุ่มสาวสวยหล่อบนเก้าอี้
กำลังตั้งใจฟัง จดคำบรรยาย นั่งหาว แอบคุย
แต่เราล่ะ ? เรากำลังทำอะไรอยู่
ตัวหนังสือที่อ่านไม่รู้เรื่องบนหน้าหนังสือ
ตัวหนังสือต่างด้าวเต็มพรืดบนกระดานหน้าห้อง
แต่ไม่มีตัวหนังสือตัวใดผ่านเข้าหัว
ที่นี่คือห้องเรียน
และนี่คือการเรียน
แต่เราเรียนอะไรอยู่ ?
หนังสือเรียนกองพะเนินที่ต้องอ่าน
การงานการบ้านล้นมือ
แต่สมองเราได้เรียนรู้อะไรจากมันบ้าง ?
เรียนเพื่อกระดาษซักแผ่น
เรียนเพื่อเงินซักฟ่อน
แต่เท่านั้นจริง ๆ หรือ
เสียงเจื้อยแจ้วยังดังจากปกคนหน้าห้องเหมือนเดิม
เครื่องปรับอากาศยังทำให้หนาวเหมือนเดิม
แต่ใจกลับลอยไปแสนไกล
เด็กสาวตาดำ ๆ บนยอดดอย
เด็กหนุ่มไร้บ้านริมทางเท้า
แต่เราละ ? หนุ่มหล่อสาวสวยในห้องสี่เหลี่ยม
เข็มบนหน้าปัดนาฬิกาคล้อยเคลื่อนไป
บทเรียนเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว
แต่ทำไมรู้สึกว่าเวลามันช่างยืดยาดเหลือเกิน
หนังสือถูกปิดลง หมดเวลาแล้ว
เดินช้า ๆ ออกจากห้องสี่เหลี่ยม
เพื่อเข้าห้องสี่เหลี่ยมอีกห้องหนึ่ง..........................
Alphonse
โพสต์: 1792
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ส.ค. 23, 2006 10:45 pm
ที่อยู่: Thailand

อาทิตย์ ก.พ. 11, 2007 4:48 am

สังคมของเยาวชน

สถาบันแหล่งเรียนแหล่งศึกษา ร่ำเรียนมาหวังเพียงจิตสร้างสรรค์
ด้วยร่างกายและปัญญาจำพึ่งกัน หากไม่ทันมีฤาอยู่สังคม
สามขวบแรกพ่อข้าพามาส่ง เพียงจำนงพื้นฐานได้สั่งสม
"อนุบาล" บริสุทธิ์ด้วยไม่จม ในมูกหมมของสังคมชาวปัญญา
สองปีนี้ข้าสุขและมีฝัน ด้วยทุกวันข้าใฝ่และสรรหา
กรอบความคิดยังมิถูกท่านนำพา ให้กายาข้าเป็นเช่นตุ๊กตา
นาทีผ่านวัยยุวะยังคงอยู่ เพียงแต่ดูข้าเติบโตขึ้นฤาหวา
มีความรู้มีความสุขมากมิตรา โอ้เพื่อนยาประถมศึกษาร่าเริงใจ
ข้าหัวเราะข้าร้องไห้พร้อมสหาย จิตและกายดำรงอยู่ไม่ไปไหน
โรงเรียนฤามีหรือข้าไม่อยากไป ด้วยใครใครต่างมีความซื่อตรง
หกปีผ่านวัยข้าเริ่มผันเปลี่ยน ตัวข้าเวียนสู่ชั้นกลางตามท่านประสงค์
การศึกษาภาคบังคับเพื่อดำรง ข้าให้คงอยู่ในสังคมไทย
สามปีนี้ข้ายังคงมีความสุข ไร้ความทุกข์บินตามฝันไปไหนไหน
ความฝันข้าบินไปสุดแสนไกล ด้วยเพื่อนใกล้สังคมดีมีกังวล
มัธยมปลายสามปีนี้ข้าต้องสู้ ต้องเรียนรู้ทุกวิถีเพื่อหลุดพ้น
เพื่อนข้ามีแต่ข้าต้องทุกข์ทน เหตุสันดานเอาตัวรอดโผล่ออกมา
ความเป็นเพื่อนของข้ายังสถิต หากไม่คิดจะแบ่งปันอีกแล้วหนา
ข้าต้องเร่งหาศาสตร์หาวิทยา เพื่อตัวข้าจะได้เรียนมหาวิทยาลัย
อุดมศึกษาเส้นทางน่าอดสู ไม่โก้หรูไม่งดงามตามข้าใฝ่
อุดมการณ์ข้าเคยมีอยู่ในใจ ต่างหมดไปไม่มีแม้สิทธิ์มองเมียง
ปิดโอกาส ปิดปาก ปิดสมอง ถูกจำจองสถิตอยู่ห้ามข้าเถียง
ท่านผู้ใหญ่ท่านชอบเด็กรักเลียน ต้องพากเพียรท่องที่ท่านสั่งให้จำ
ปริญญาสิ่งสำคัญสุดดวงจิต ส่งชีวิตมีข้าวกินและอิ่มหนำ
เร่งขวนขวายแม้ใจข้าต้องระยำ หรือต้องนำสันดานบาปมากระทำ
ตุ๊กตาข้าฟังแล้วตลก สังคมรกเพราะเหตุใดข้าเห็นขำ
มีโครงสร้างที่ผู้ใหญ่ท่านได้ทำ ให้เยาวชนเป็นดังเช่น
ภาพประจำตัวสมาชิก
NKL
โพสต์: 189
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 01, 2005 7:32 pm
ติดต่อ:

อาทิตย์ ก.พ. 11, 2007 11:03 am

อันนี้บทความจาก Student Net ในอดีต

===================================================================
ระบบโรงเรียน กับวัฒนธรรมแห่งอำนาจ







บทนำ
การศึกษา ตามความหมายในอุดมคติ คือกระบวนการที่จะสร้างคนให้เติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ มีความรู้ที่จะพัฒนาตนเองและสังคม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
วัฒนธรรม มีความหมายตรงตัวคือ ธรรมชาติที่เจริญงอกงาม วัฒนธรรมจึงไม่ใช่ของสำเร็จรูป หากแต่เป็นสิ่งที่ค่อยๆ เพาะตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ ควบคู่ไปกับสังคม และเราต้องไม่ลืมว่าคนนั่นเองเป็นผู้ทำให้เกิดวัฒนธรรมขึ้น
ทุกวันนี้ โลกและสังคมมีแต่จะยิ่งทวีความซับซ้อน ปัญหาที่มนุษย์ต้องเผชิญ ย่อมมากขึ้นกว่าแต่ก่อนอย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้ เช่นเดียวกันกับวัฒนธรรมไทยของเรา ก็ต้องเผชิญกับกระแสวัฒนธรรมต่างๆ ที่เคลื่อนไหวไปทั่วโลกอย่างไร้การควบคุม นอกจากนี้ยังต้องเผชิญหน้ากับการท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด คือ การตั้งคำถามจากความเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีการวิวัฒนาการมายาวนาน จนพ้นจากยุคที่สิ่งใดๆ จะสามารถได้รับการยอมรับจากผู้คนโดยใช้เพียงแค่ศรัทธาความเชื่ออันมืดบอดอีกต่อไปแล้ว ... ในที่นี้ เราจะพูดถึงแนวคิดหลักเพียงบางเรื่อง ที่นับได้ว่าเป็นแก่น เป็นเสาหลักของวัฒนธรรมไทย และเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาโดยตรง

ระบบอาวุโส
การเคารพนับถือผู้อาวุโสในสังคมไทย ในสภาพที่เป็นอยู่นี้ ดูแล้วน่าจะเป็นการทำช่องว่างระหว่างวัยให้กลายเป็นความขัดแย้ง มากกว่าที่จะทำให้มีการเคารพและเข้าใจกันโดยแท้จริง ยิ่งไปกว่านั้น ... มันยังจัดเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุด ที่จะทำให้กระบวนการครอบงำครบวงจรได้อย่างสมบูรณ์และสร้างเสถียรภาพอันมั่นคงให้แก่ระบบได้ เพราะผู้ใหญ่นั้นมีประสบการณ์และอาจจะมีความรู้สูงกว่าก็จริง แต่ก็มีพลังงานและความสามารถในการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า ส่วนความคิดของเด็กยังอ่อนตัวอยู่ จิตใจยังรับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ได้ง่าย ... ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีความพยายามตีกรอบจำกัดทั้งความคิดและการกระทำให้อยู่ในพื้นที่แคบๆ โดยบอกว่า "เด็กมีหน้าที่เรียน ก็ควรจะไปคิดเรื่องเรียน" "เดินตามผู้ใหญ่ หมาไม่กัด" ฯลฯ เป็นการป้องกันทุกวิถีทาง ไม่ให้ความคิดของพวกเขามีโอกาสมาสัมผัส และสร้างความกระทบกระเทือนให้กับระบบ หรือรับปัจจัยที่กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกได้ ... จนเมื่อพวกเขาผ่านขั้นตอนการศึกษาทั้งหมด และกลายเป็น "ผู้ใหญ่" นั่นคือ เมื่อพวกเขาได้ถูกกลืนกินจนเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ไม่อาจคิดและทำในสิ่งที่แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนๆ ได้อีก เมื่อนั้น พวกเขาจะถูกเคลื่อนย้ายเข้าสู่โลกของผู้ใหญ่ ที่ซึ่งพวกเขาได้รับการถ่ายโอนอำนาจอภิสิทธิ์ เพื่อใช้ในการควบคุมเด็กรุ่นหลัง ให้เป็นเหมือนกับพวกเขาอีกเรื่อยไป ... พวกเขาจึงยินดีจะยอมจำนนต่อระบบ พวกเขาจะไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆ เพราะบัดนี้พวกเขาได้กลายมาเป็นฝ่ายได้ประโยชน์และมีสิทธิ์อยู่เหนือกว่าแล้ว พวกเขาจะยึดถือว่าทุกคนที่มาทีหลังจะต้องเชื่อฟัง ตนเองอาบน้ำร้อนมาก่อน คิด ทำอะไรก็ถูกต้องทุกอย่าง เด็กไม่มีสิทธิ์โต้เถียง ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่มีสัมมาคารวะ หัวแข็ง ... พวกเขาจะดูถูกคนรุ่นต่อไปว่า มีแต่ความเหลวแหลก หาสาระอะไรไม่ได้ .... แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งที่พวกเขาได้รับการปลูกฝังหรือตั้งโปรแกรมมาในจิตใจส่วนลึก ให้กลัวมากที่สุด ... คือเด็กที่มี "สาระ" และมีความคิดเป็นของตัวเอง ซึ่งนับแต่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวันๆ ภายใต้การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่พวกเขาพยายามปิดหูปิดตาไม่ยอมรับรู้นั่นเอง

สถาบัน
ศักดิ์ศรีและเอกลักษณ์ของสถาบัน ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายแต่อย่างใด แต่สภาพที่เราเห็นจนชินตานั้น กลับดูเหมือนว่า ... ความเป็นสถาบัน จะถูกผูกขาดให้เป็นของครูอาจารย์เท่านั้น หรือว่านักเรียนซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ในโรงเรียน ไม่มีส่วนร่วมในสถาบันมากไปกว่าการยอมรับมาตรฐาน แนวทางและกฎเกณฑ์ต่างๆที่ถูกกำหนดมาจากเบื้องบน แล้วก็บอกว่านี่คือโรงเรียนของเรา เราต้องมีความภาคภูมิใจ เราต้องรักษาชื่อเสียงของโรงเรียนด้วยการคิดแบบนั้น เป็นอย่างนี้ ทำสิ่งต่างๆ ที่สมมุติขึ้นมาเหล่านี้ คนที่ไม่เห็นด้วย ไม่ใช่พวกของเรา สมควรจะออกไปอยู่ที่อื่น งั้นหรือ?
คนไทยได้ถูกความเชื่อที่ยึดติดกับสถาบันฝังหัวมานานแสนนาน ไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นภาพของเด็กที่ไล่ตีไล่ฆ่ากันทั้งที่ไม่เคยรู้จัก หรือมีความแค้นอะไรกันเลยแม้แต่นิดเดียว แต่นั่นก็เป็นเพียงตัวอย่างส่วนเสี้ยวเล็กๆ เท่านั้น ... "ความบ้าสถาบัน" ยังคงแสดงออกให้เห็นในรูปแบบหลากหลายในคนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ปัญญาชน ข้าราชการ นักวิชาการ จนไปถึงรัฐมนตรี ... เมื่อเร็วๆ นี้เอง ได้มีเด็กมัธยมคนหนึ่งเล่นอยู่ใน webboard ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของไทย โดยใช้ชื่อ "ว่าที่........." ซึ่งเป็นชื่อที่แสดงถึงสถาบันแห่งหนึ่งที่เธอมีความตั้งใจที่จะเข้า แสดงความคิดเห็นต่างๆ อย่างที่ปัญญาชนทั่วไปพึงกระทำได้ และมีความคิดก้าวหน้ากว่าผู้ใหญ่หลายๆ คนเสียด้วยซ้ำ ต่อมาได้มีผู้อ้างตัวว่าเป็นรุ่นพี่ในสถาบันนี้ ออกมาตั้งกระทู้โจมตีและบอกให้เธอเลิกใช้ชื่อดังกล่าว เขาอ้างว่าการกระทำเช่นนี้ทำให้เสื่อมเสีย เพียงเพราะความคิดแตกต่างกัน และเขาถือว่าแนวทางของตัวเขาเท่านั้น คือความถูกต้องตามมาตรฐานของสถาบันที่เอ่ยถึง ...
เหตุการณ์นี้ทำให้เราต้องกลับมาคิดทบทวนอย่างหนักอีกครั้งในเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน ... คิดเชื่อมโยงไปถึงเรื่องเครื่องแบบ ความเป็นปัจเจกบุคคลกับความเป็นส่วนรวม และปฏิบัติการจองเวรต่อ webboard และพื้นที่แสดงความคิดเห็นสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนต่างๆ โดยครูอาจารย์ทั้งหลายตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ... แล้วก็มีคำถามว่า ทำไม? เมื่อเราสวมเครื่องแบบ เราจึงต้องสละความเป็นตัวของตัวเอง แล้วหลอมรวมความรู้สึกนึกคิดเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับแบบแผนของสถาบันขนาดนั้น ทำไม? ความเป็นสถาบันจะต้องสูงส่งและยิ่งใหญ่จนความเป็นคนธรรมดาอย่างเราๆ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันเช่นกัน ไม่อาจแตะต้อง ... และถ้าการดำเนินชีวิตประจำวันถูกทำให้กลายเป็นเหมือนพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ไปทุกย่างก้าวเช่นนี้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้หรือ???
และเมื่อใดก็ตามที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ในระดับที่กระทบกระเทือนต่อชะตากรรมของสถาบันและผู้บริหาร ความสามัคคี คือสิ่งที่มักจะถูกนำมาอ้าง เพื่อให้ทุกคนยอมเสียสละสิ่งที่พวกเขาสมควรได้รับ เพื่อเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของส่วนรวม ... สุดท้ายแล้ว ก็จะเหลือแต่ความสามัคคีจอมปลอมที่ตั้งอยู่บนความอยุติธรรมเท่านั้น ดังที่เห็นกันว่า "ผู้ใหญ่" ในสังคมเรา มักใช้ความสามัคคี และชื่อเสียงของสถาบันมาเป็นเครื่องบังหน้าเสมอ เพื่อบิดเบือนความจริง เพื่อปกปิดความผิดและความฉ้อฉลทั้งปวง ให้ยังคงอยู่ในมุมมืดตลอดไป ส่วนคนไทยจำนวนมาก ก็ยังคงเคยชินกับการประนีประนอมและยอมจำนน(ซึ่งได้ถูกสอนมาว่าคือความอดทน)ในทุกสถานการณ์ ทำเหมือนคนอื่นๆ เพียงเพื่อจะเอาตัวรอดไปวันๆ ไม่ต้องเรื่องมาก หรือมีปัญหาใดๆ กับคนที่พวกเขาเชื่อสนิทใจเสียแล้วว่า ... คือคนใหญ่คนโต ที่พวกเขาไม่อาจเอื้อมไปต่อกรด้วยได้ และจำต้องยอมเป็นเบี้ยล่าง ทำตัวให้น่ารักน่าเอ็นดูเพื่อหวังเพียงความเมตตาบ้างเท่านั้น
ขอจงพิจารณาดูให้ดี สถาบันนั้นไม่ได้มีชีวิตในตัวของมันเอง คนต่างหากที่ทำให้มันมีความหมาย และแท้จริงแล้วสถาบันถูกสร้างขึ้นมาให้รับใช้คน จะมีประโยชน์อะไร กันเล่า... ถ้าเรารักษาเปลือกอันว่างเปล่าของสถาบันเอาไว้ได้โดยต้องสูญเสียความเป็นคน???

กฎระเบียบ
ทราบหรือไม่? ว่าแท้ที่จริง "อำนาจ" ใดๆ ล้วนแต่มาจากการยอมรับของผู้อยู่ใต้อำนาจทั้งสิ้น และ "กฎ" ต่างๆ ก็มีความศักดิ์สิทธิ์ได้เพราะมีอำนาจต่างๆ สนับสนุน เช่นเดียวกับเงินตราจะมีมูลค่าได้ก็ต่อเมื่อมีทองคำเป็นหลักฐานรองรับ ... สำหรับกฎที่ถือกันเป็นสากลเพื่อรักษาความสงบสุขส่วนรวมนั้น ย่อมมีอำนาจอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว นั่นคืออำนาจของ "ความชอบธรรม" ที่จิตใต้สำนึกของคนมิอาจปฏิเสธได้ ส่วนกฎชนิดอื่นๆ ที่จะบังคับใช้ได้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ออกกฎนั้นมีอำนาจพอหรือไม่ โดยที่ต้นทุนของกฎแต่ละข้อ ก็ยังขึ้นอยู่กับระดับของการบังคับให้คนต้องปฏิบัติในสิ่งที่ฝืนความรู้สึกตัวเองมากน้อยเพียงใด และต้องคัดง้างกับอำนาจอื่นใดอีกบ้าง ... แต่ในโรงเรียน มีการออกกฎหลายอย่างที่น่าสงสัย ... ว่าคุณค่าของมัน เพียงพอแล้วหรือ? ให้ผลคุ้มค่าหรือไม่? ต่อการที่จะสถาปนาขึ้นมาเป็นกฎเพื่อปกครองเด็กทั้งหมด และอำนาจที่หนุนกฎกลวงๆเหล่านี้ ก็ไม่ได้มาจากการเข้าใจและยอมรับโดยชอบธรรม แต่มาจากการสร้างความกลัว ความกดดัน ใช้คำว่า ศักดิ์ศรี ความเรียบร้อย ความมีระเบียบ อย่างเลื่อนลอย ... มาทำให้เด็กต้องยอมทำตาม และจะยิ่งกลายเป็นการขยายขอบเขตแห่งอำนาจของโรงเรียนที่มีเหนือตัวเด็กให้ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ... ด้วยวิธีเช่นนี้เอง ทำให้ในโรงเรียน และในสังคมไทยส่วนมาก เกิดภาวะ "อำนาจเฟ้อ" อย่างหนัก ... ลองสังเกตดู ว่าที่ผ่านมา คนไทยคิดวิธีแก้ปัญหาแบบอื่นๆ ไม่ค่อยเป็น นอกจากมีอะไรก็สักแต่ออกกฎมาบังคับอย่างพร่ำเพรื่อ หรือถ้าถึงแก่อับจนปัญญาเสียแล้ว ก็จะใช้กำลังเข้าปะทะแบบไร้หลักการ ไร้ทิศทางอยู่ร่ำไป ... นี่เป็นเพราะเคยชินกับวิธีคิดแบบอำนาจนิยมมาตลอดนั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้น หลายครั้งกฎไม่ได้ถูกใช้เพื่อเจตนารมณ์ที่แท้จริง แต่ถูกครูอาจารย์นำมาตีความบิดเบือน เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่เพื่อใช้บังคับแบบพาลใส่นักเรียน เพียงเพราะคิดไปว่านักเรียนกำลังท้าทายอำนาจของตนเอง นี่หมายถึงอะไร? บรรทัดฐานความดีงาม ความถูกต้องในสายตาของครูอาจารย์เหล่านั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่าคติที่ว่า "ใครมิยอมค้อมหัวให้ตูข้า ต้องพิฆาตเข่นฆ่าให้อาสัญ ใครคิดต่างมองเห็นไม่เหมือนกัน มันผู้นั้นเป็นพวกหนักแผ่นดิน" อย่างนั้นหรือ???
จากที่กล่าวมา เราคงเริ่มเห็นแล้วว่า ธาตุแท้ของกฎเหล่านี้ คือการบีบบังคับให้คนสละสิทธิและอำนาจส่วนบุคคล แล้วสูบเข้ามาเพิ่มอำนาจรวมศูนย์ในส่วนกลางให้เข้มข้นยิ่งขึ้น สอดคล้องกันพอดีกับภาพการเติบโตพัฒนาของสังคมแบบที่เรียกกันว่า "หัวโตตัวลีบ" ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน
และนี่คือ ... สิ่งที่ได้รับการกล่าวอ้าง ว่ากฎเหล่านี้มีไว้เพื่อสอนให้มีวินัย อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบ แต่แท้จริงแล้ว ... สิ่งที่แฝงไว้ คือการสอนให้ยอมสยบต่อกฎและอำนาจที่ไร้เหตุผล ขาดความชอบธรรม ... หกสิบปีแห่งประชาธิปไตย จึงเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนรูปแบบภายนอก มีการเลือกตั้ง แต่ยังไม่อาจทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในบ้านเมืองอย่างแท้จริง ... ไม่ต้องไปดูที่ไหนไกล ตามโรงเรียนที่มีคณะกรรมการนักเรียน ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นได้แค่หุ่นเชิดของครูอาจารย์ คอยรับคำสั่งบอกบทการทำงานต่างๆ ... ในขณะที่เชื้อพันธุ์แห่งจิตวิญญาณเผด็จการ ยังคงถูกหมกเม็ดอยู่ในระบบการศึกษาเพื่อรอคอยที่จะฝังรากเหง้าของมันลงสู่ความคิดของคนรุ่นต่อๆไป สังคมไทยจึงไม่เคยขาด "ทรราช" ที่มีอยู่ทั่วไปทุกแห่งหน เพียงแต่ว่าใครจะได้มีโอกาส จังหวะเวลา และปัจจัยอื่นๆ เพื่อขึ้นมาสู่อำนาจในระดับต่างๆ กันเท่านั้น ... และพวกเรานั่นเองที่ต้องแบกรับผลของกรรมเช่นนี้ตลอดมา ... ถ้าหากจะมีใครได้ศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์เพิ่มเติม นอกเหนือจากประวัติศาสตร์ชาติไทยฉบับกระทรวงศึกษาธิการที่ล้างสมองคนไทยมานานบ้าง ... ก็จะรู้ซึ้งถึงความหมายนี้เป็นอย่างดี

วัฒนธรรมไทย ใครคือผู้กำหนด?
สิ่งเหล่านี้นี่เอง คือกลไกของระบบการศึกษา ที่ใช้ในการหล่อหลอมความคิดของบุคคล จนกระทั่งเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาจึงได้ไปสร้างระบบการเมือง ระบบสังคม-วัฒนธรรม ระบบราชการ ฯลฯ ตามแม่แบบที่ถูกกำหนดไว้เป็นอย่างเดียวกัน และเชื่อมโยงเป็นโครงสร้างมหึมาในระดับเหนือขึ้นไปกว่านั้น จนกลับมาแผ่ขยายครอบคลุมสังคมไทยทั้งหมดเอาไว้
การมีวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราแยกวัฒนธรรมออกจากวิถีชีวิต แล้วเอาซากของมันไปวางไว้บนหิ้ง ตกแต่งด้วยสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เพื่อบังคับให้คนก้มหน้าก้มตากราบไหว้ เมื่อนั้นมันก็ไม่ใช่ความดีงามอีกต่อไป ... แต่จะกลายเป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจของผู้ที่พยายามผูกขาดแสดงตัวเป็นเจ้าของวัฒนธรรมนั้น โดยสืบทอดผ่านกระบวนการให้การศึกษา และอบรมเลี้ยงดูสมาชิกใหม่ของสังคมต่อๆ กันไปเป็นวัฏจักร
ขอให้พวกเรา ลองกลับไปคิดดู นี่หรือ? คือวัฒนธรรมที่เราต้องการ? วัฒนธรรมแห่งการใช้อำนาจควบคุม วัฒนธรรมที่ยึดถืออาวุโสและตัวบุคคลเหนือความสามารถ ยึดถือความสัมพันธ์เหนือเหตุผลและความถูกต้อง ยึดถือความสวยงามเหนือแนวคิดและประโยชน์ใช้สอย และยึดถือความสงบเรียบร้อยที่เปลือกนอกเหนือความเป็นธรรม นี่ใช่ไหม? คือสิ่งที่พวกท่านยกย่อง และพยายามยัดเยียดมันให้กับลูกหลาน คิดดูให้ดี ....
เมื่อเรารู้แล้วว่า สภาพการณ์ที่ทำให้เราต้องปฏิรูปการศึกษา มันไม่ใช่แค่ปัญหาหรืออุปสรรคธรรมดาที่เกิดขึ้นจากความบกพร่อง ความผิดพลาด ความไม่สมบูรณ์ต่างๆ ... แต่เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วอย่างสลับซับซ้อน เพื่อวัตถุประสงค์เพียงหนึ่งเดียว ... ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์และอุดมการณ์ของเราโดยสิ้นเชิง นั่นเท่ากับว่า เราจะยิ่งต้องทำงานหนักกว่าเดิมในการคิดแผนยุทธศาสตร์งานปฏิรูป โดยต้องคิดให้ลึก และไกลยิ่งไปกว่าการที่จะมามัวแต่แก้ไขรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่นเร่งสร้างโรงเรียนและปั๊มครูออกมาเพิ่ม ซื้อหนังสือคู่มือเตรียมสอบเข้าไปบรรจุให้เต็มห้องสมุด ซื้อคอมพิวเตอร์แจก ทำข้อสอบวัดมาตรฐาน หรือเข็นโรงเรียนให้ได้ ISO เลขเยอะๆ โดยมองข้ามการปฏิรูปวัฒนธรรม แนวความคิดหลักของคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการศึกษา เพราะมันถึงเวลาแล้ว ... ที่เราจะต้องต่อสู้กับ "ระบบ" ที่ครอบงำพวกเรามายาวนานนับร้อยนับพันปี...


เพื่ออิสรภาพ เพื่อความเป็นไทโดยแท้จริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
NKL
โพสต์: 189
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 01, 2005 7:32 pm
ติดต่อ:

อาทิตย์ ก.พ. 11, 2007 11:03 am

ฝึกให้เชื่อง
โดย จัน ทุ่งสว่าง
เมื่อเร็วๆนี้ ผมได้ไปเจอบทความในนิตยสารฉบับหนึ่งของสหรัฐที่กล่าวว่า สถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกานั้นมีไว้เพื่อสร้างบุคลากรที่เชื่องและบริหารง่าย

อ่านเจอของอย่างงี้ก็น่าตกใจนะครับ ผมเองก็วนเวียนอยู่ในโรงเรียน มานานเกือบ 20 ปีแล้ว ไม่เห็นจะเคยคิดเลยว่าเราจะเรียนอะไรกันได้ ถ้าไม่มีสถาบันการศึกษา คุณลุงผู้เขียนบทความที่ว่านี้เคยเป็นครูมานานกว่า 30 ปีแล้ว แต่ไม่นานมานี้ เขาได้ไปค้นพบหนังสือเก่าแก่เล่มหนึ่ง เขียนเมื่อประมาณ 85 ปีที่แล้วโดยนาย Alexander Inglis ชื่อว่า Principles of Secondary Education (1918) หนังสือเล่มนี้พูดถึงเหตุผลที่แท้จริง ของการริเริ่มโรงเรียนในสหรัฐอเมริกา

1. เพื่อปลุกฝังลักษณะการแสดงปฎิกิริยาที่ควรต่อผู้ทรงอํานาจ

การที่เด็กฟังคําสั่งครูหรือหัวหน้าชั้นโดยไม่กล้าเถียงก็ถือว่าเป็นความสําเร็จก้าวแรกของสถาบันการศึกษาแล้วกระมัง ข้อนี้สําคัญมากครับ เพราะถ้าเด็กกล้าที่จะท้าทายระบบอํานาจกันตั้งแต่ยังเล็กแล้ว เมื่อเขาโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ จะไม่ยากที่จะควบคุมหรอกหรือ
2. เพื่อปลุกฝังลักษณะความคิดและจิตสํานึกของเด็กให้คล้ายคลึงกันมากที่สุด

ทําให้บุคลากรโดยรวมนั้นบริหารง่ายและเดาใจได้ ในสหรัฐอเมริกานั้นเด็กเขาต้องท่องกันเป็นนกแก้วนกขุนทอง ความหมายของการเป็นชาวอเมริกัน "Freedom" "Democracy" "Peace" (แม้ว่าคําว่า "Peace" นั้นจะถูกใช้เป็นเหตุผลในการทําสงครามที่บ่อยที่สุดก็ตาม) จริงๆแล้วพี่ไทยเราก็มีคํัา 3 คําไว้ปลุกใจเด็กไม่แพ้เขาเหมือนกันนะ

3. เพื่อค้นหาบทบาทของเด็กที่จะมีต่อสังคม

อันนี้ทําได้โดยใช้การสอบและเก็บคะแนนครับ ใครได้คะแนนสูงก็แปลว่าผู้นั้นทําตามเป้าหมายข้อที่ 1 และ 2 (ที่กล่าวมาข้างต้น) ได้ดียิ่งนัก

4. เพื่อแบ่งแยกเด็ก

เมื่อค้นหาบทบาทได้แล้ว ก็ต้องแบ่งแยกเด็กตาม "ความสามารถ" ของเด็กที่จะตอบสนองความต้องการของระบบอํานาจ ที่เป็นอยู่ แต่การแบ่งแยกเด็กเพียงอย่างเดียวนั้นก็ไม่ต่างจากการสับพริกหยวกให้เป็นชิ้นๆ คือว่าโดยรวมแล้วพริกหยวกที่ถูกสับแล้วก็ยังเผ็ดอยู่ดี คราวนี้จะทํายังไงให้พริกหยวกนั้นไม่เผ็ดเล่า ?

5. การคัดเลือก

ใช่ครับ หน้าที่อีกอย่างหนึ่งของโรงเรียนก็คือการคัดเลือกเด็ก ....คงเหมือนกับการคว้านเอาส่วนที่เผ็ดของพริกนั้นออกจากส่วนที่ไม่เผ็ดละกระมัง ผมยังจําคําคมของครูแนะแนวของ ผมได้เลย "จัน...เธอนะ ควรเรียนวิศวฯ หรือช่างกล....จบออกมาจะได้หางานเอาง่ายๆ อย่าไปสนใจสังคมหรือการเมืองเลย เดี๋ยวจะโดนเขาจับเข้าคุกเปล่าๆ" ผมเกือบจะถามครูแนะแนวแล้วว่า "เขา" ที่จะมาจับผมเข้าคุกคือใครกัน และพวก "เขา" เหล่านั้น ทําหน้าที่ต่างจากครูประจําชั้นหรือไม่

6. เพื่อสร้างผู้บริหารมวลชน

ระบบโครงสร้างดังกล่าว เอื้อให้เกิดผู้บริหารกลุ่มน้อย ที่ถูกคัดเลือกโดยระบบอํานาจปัจจุบันให้เป็นผู้คุมอํานาจและบริหารในอนาคต พวกเขาจะถูกสอนให้รู้จักการจัดการมวลชนกลุ่มใหญ่ ที่จะถูกระบบคัดเลือกให้เป็นผู้ใช้แรงงาน
ในสหรัฐอเมริกานั้นเราจะเห็นการสร้างกระบวนการ "ฝึก" ดังที่กล่าวมาแล้ว 6 ข้อได้อย่างจริงจังในสมัยต้นศตวรรตที่ 20 โดยนาย James B. Conant ซึ่งเป็นประธานของมหาลัย Harvard มากว่า 20 ปี นาย James Conant คนนี้เคยเป็นผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านก๊าซมรณะ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และเป็นหนึ่งในผู้บริหารโครงการผลิตระเบิดปรมาณูในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2...... พอได้ปล่อยระเบิดกันเสร็จที่ญี่ปุ่นแล้วนาย James Conant ก็ทิ้งคราบเลือดและกลิ่นก๊าซมรณะ มาเป็นบิดาแห่งระบบการศึกษาในสหรัฐอเมริกา เขาเริ่มสนับสนุนโครงการสร้างโรงเรียนรัฐและการ เกณฑ์นักเรียนทั่วประเทศเข้าสู่ระบบ การสอบมาตรฐาน (Standardized Tests)

การปฎิรูปการศึกษาของเขานั้นเป็นผลสําเร็จอย่างสูง แต่สิ่งที่น่ากลัวในความสําเร็จอันนี้ก็คือ การสูญเสียบุคลากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ ที่ไม่อาจนํามาทดแทนได้ด้วยการสอบมาตรฐานหรือการแข่งโอลิมปิกวิชาการ

หลังจากการปฎิรูปการศึกษาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 (1905) เราไม่ได้เห็นบุคลากรอัจฉริยะ อย่าง Henry George, Benjamin Franklin, Abraham Lincoln, George Washington, Mark Twain, Magaret Mead, หรือ Thomas Edison อีกเลยในทวีปอเมริกา และที่น่าสนก็คือบุคลากรเหล่านี้ไม่เคยเข้าโรงเรียนกันเลยสักคนเดียว

การมีระบบการศึกษาไว้เพื่อจัดการและบริหารมวลชนตั้งแต่เด็กนั้นอาจดูเหมือนเป็นผลดีต่อระบบอํานาจ (รัฐและนายทุน) แต่สําหรับการเรียนรู้ของเยาวชนที่มีความคิดสร้่างสรรค์แล้ว มันคงไม่ใช่สิ่งที่พึงปรารถนาเป็นแน่


==================================================================================

ประเทศไหนก็ไม่รู้ ( เสียดสีสังคม )

ประเทศไหนก็ไม่รู้
1.ผู้ใหญ่ถูกเสมอ
2.กลับไปอ่านข้อ 1
ประเทศไหนก็ไม่รู้
1.เด็กที่ดีต้องไม่เถียงผู้ใหญ่
2.กลับไปอ่านข้อ1
ประเทศไหนก็ไม่รู้
1.เด็กที่ดีต้องเดินตามเส้นทางที่ผู้ใหญ่กำหนดไว้ให้โดยไม่มีข้อแม้
2.กลับไปอ่านข้อ 1
และ
ประเทศไหนก็ไม่รู้
1.เด็กที่ไม่ทำตามผู้ใหญ่ คือเด็กเลวอย่างไม่มีข้อแก้ตัว
2.กลับไปอ่านข้อ1
In the Name of Sadness.
TonyMao_NK51( ชาวยุทธ์อกหัก )
tonymao_nk51@hotmail.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
NKL
โพสต์: 189
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 01, 2005 7:32 pm
ติดต่อ:

อาทิตย์ ก.พ. 11, 2007 11:07 am

บทความพิเศษ"นิยามเด็กดี"ในสายตาผู้ใหญ่ไทย โดย  TonyMao_NK51

"เด็กเอ๋ย เด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน"
บทเพลงนี้ทุกคนคงร้องกันได้ เพราะได้ยินกันเป็นประจำตอนเป็นนักเรียนอยู่แล้ว
ผมเคยเป็นเด็ก และตอนนี้ยังอาจเป็นเด็กอยู่ก็ได้ เพราะผมเพิ่งอายุ 18 ปีเท่านั้น
สิ่งที่ผมได้เห็น ได้พบ และได้ประสบมาตลอดหลายปี นับตั้งแต่ที่พ่อผม ปล่อยผมออกจากบ้าน ไปที่ต่างๆ ด้วยตัวเอง นับตั้งแต่ตอนผมอายุได้ 13 ปี บ้างก็เป็นสิ่งที่น่าประทับใจ แต่หลายครั้ง ที่ผมเห็นสิ่งที่ไม่น่าประทับใจนัก
ผมกำลังจะพูดถึง"นิยามเด็กดี"ครับ
เด็กดีต้องเป็นอย่างไร?
ผมว่า คำถามนี้มันคล้ายกับการถามเรื่อง"ความถูกต้องของวัฒนธรรม"เสียมากกว่า
วัฒนธรรมแต่ละที่ไม่เหมือนกัน เช่นว่า ไทยทักทายด้วยการไหว้ จีนใช้การคำนับ ฝรั่งใช้การจับมือ หรือการที่คนไทยไม่นิยมซักถุงเท้า พร้อมกับเสื้อผ้า แต่พวกฝรั่งไม่ถือเรื่องนี้
ค่านิยมเรื่องเด็กดี ก็เช่นกัน ทุกๆที่จะบอกเสมอว่า เด็กดีจะต้องเป็นผู้ที่เชื่อฟังพ่อแม่ อาจารย์ เป็นประการแรก ซื่อสัตย์ ประการที่สอง ขยัน ตั้งใจเรียน เป็นประการที่สาม เป็นต้น
แต่สำหรับชาวเอเชียแล้ว ดูเหมือนจะเน้นประการแรกเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศไทย ที่แม้ว่า โลกจะผ่านไปเช่นไร ก็ยังยึดข้อนี้เช่นเดิม
หลายครั้งที่ผมเจอเรื่องราวของคนอื่น ผมรู้สึกไม่ค่อยดีนัก แต่อีกใจหนึ่ง ผมก็รู้สึกโชคดี ที่มีพ่อที่เข้าใจเหตุผล และเป็นประชาธิปไตยกับลูก ผมจึงไม่ต้อง"ซวย"ดังเช่นเด็กหลายคน

ก่อนที่ผมจะรู้จัก "คอมพิวเตอร์","อินเตอร์เน็ต" ผมก็ท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ ดูชีวิตของผู้คน ในรัศมีเกือบจะทั่วกรุงเทพฯ เมืองหลวงแห่งนี้

ผมจำเหตุการณ์วันสงกรานต์คราวนั้นได้ดี กรณีที่ลูกเล่นน้ำสงกรานต์อย่างสนุกสนาน แล้วอยู่ดีๆ พ่อของเด็กคนนั้นก็ใช้ท่อPVC ที่เด็กถืออยู่ ตีลูกของตัวเอง แม้จะไม่ถึงกับบาดเจ็บ แต่ผมก็ถือว่าสะเทือนใจ เพราะว่าผู้เป็นพ่อ ลงมือโดยไร้เหตุผล เวลานั้นอากาศดี เวลาก็ยังไม่เย็น(แค่ราว 14.30-15.00 น.มั้ง) จะอ้างว่า จะออกไปไหนก็ไม่ได้ เพราะผมสังเกตการณ์แถวนั้นเป็นชั่วโมงๆ ก็ไม่เห็นว่า จะทำอะไรกัน

"งงครับ"ผมใช้คำนี้ได้เท่านั้น เพราะไม่ทราบว่าจะห้ามทำไม

ต่อมา ผมเริ่มใช้คอมฯ ตามร้านเน็ต เริ่มด้วยการเล่นเกม CS ตามมาด้วยการใช้ Internet เหตุการณ์หลายครั้งที่ผมพบ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก

"พ่อเอาไม้มาตีลูกในร้าน ต่อหน้าเพื่อนๆ"ผมว่า นี่เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง หากคุณมองในมุมกลับ คุณเป็นฝ่ายถูกกระทำ คุณจะรู้สึกอย่างไร ยิ่งเด็กๆ เป็นพวกชอบล้อ ชอบแซวอยู่แล้วด้วย เด็กคนนั้นคงจะเป็นปมด้อยไม่น้อย

ผมเคยอ่านเรื่องของ Starsoccer มีบทความนึงเขียนไว้ ผมคิดว่า ผู้ปกครองที่ดีควรนำไปใช้ แต่น้อยคนนัก ที่จะคิดถึง

"ต่อหน้าแฟนบอลนับหมื่น เซอร์ Alex Ferguson จะคอยปกป้องลูกทีม แมนฯยูฯ ตลอด โดยเฉพาะ David Beckham หลายครั้งที่ท่านเซอร์ผู้นี้ ต้องออกโรงช่วยเหลือ ยิ่งในตอนที่นักข่าวรุมล้อมสัมภาษณ์ เขาก็ไม่เคยตำหนิลูกทีมต่อหน้าสาธารณะชนเลย แต่เชื่อเถอะ ในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ลูกทีมผีแดงของเขาก็คงโดนด่าเละเหมือนกันล่ะ"

น้อยคนสำหรับผู้ปกครองของเด็กไทย ที่จะทำเช่นนี้ได้ รู้จักใช้จิตวิทยาในการปกครอง ส่วนใหญ่ มักใช้อารมณ์ทั้งสิ้น
ผู้ใหญ่มักคิดว่า ตนเองถูกเสมอ และยังรับไม่ค่อยได้ เมื่อเด็กเริ่มมีปากมีเสียง เด็กคนนั้นมักถูกตราหน้าว่าเป็นคนไม่ดี เพราะ"ไร้สัมมาคารวะ"เสียแล้ว

ก็ในเมื่อบางที"ผู้ใหญ่เลอะเลือน"แล้วทำไม เด็กจะพูดไม่ได้เล่า"

ผมจำหลายกระทู้ ที่ผมไปแสดงความเห็น เมื่อครั้งยังเป็น"เด็กใหม่"ในสังคมCyber นี้ เช่น กระทู้"ตู้ขายถุงยางอัตโนมัติ","การที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ยึดหนังโป๊ได้จากนักเรียน แล้วเอามาเป็นสื่อการสอน" ถูกโจมตีมากมาย หลายครั้งที่เอาแต่อ้างเรื่อง"วัฒนธรรมอันดีงาม"เป็นหลัก โดยมิได้ดูว่า ยุคสมัยเปลี่ยนไปเช่นไร แล้วคนเสนอความคิดเห็นนี้ มีจุดประสงค์เช่นไร

หรือแม้แต่ประเด็นเล็กๆ เช่น"การต้องแต่งงานกับคนที่พ่อแม่หาให้ แต่เรามิได้รัก" หลายครั้งที่ผมเข้าไป post ในกระทู้จำพวกนี้ แล้วถูกประณามว่า เป็นคนอกตัญญูบ้าง ไร้สัมมาคารวะบ้าง

แล้วไม่ทราบว่า"การแต่งงานแบบคลุมถุงชน จะดีหรือครับ"

คนคงไม่รักกันจริงๆ แน่

วันเวลาผ่านไป ขณะนั้นผมอายุ 16(ปี2544) ตอนนี้ผม 18 แล้ว(2546) ตอนนี้ ประเด็นสำคัญ อยู่ที่ เกม Ragnarok ที่กำลังเป็นประเด็นระดับชาติ ในปัจจุบัน
ผมไปทำธุระมา 2 เดือน พอกลับมา ไม่นึกว่า วงการนี้เกิดอะไรขึ้นมากมาย

แต่เรื่องที่ดังที่สุด คงไม่พ้น"คนตีกันเพราะเรื่องขาย zeny ใน RO"

ตามมาด้วยการจะสั่งปิดเกมๆ นี้ ของกระทรวง ICT

นี่หรือ ผู้ใหญ่ที่เชื่อว่าตัวเอง"ถูกต้อง" แม้ต่อมา ทางกระทรวงจะยอมลดความแข็งกร้าวลง โดยมีข้อเสนอมากมาย ผมก็ว่า มันก็ไม่เป็นประชาธิปไตยอยู่ดี

การให้ปิด server 22.00-6.00 น. อันนี้ยังพอรับไหว แต่สำหรับวันหยุด ควรให้เปิดได้ทั้งวัน

การห้าม deal zeny หรืออะไรสักอย่างทำนองนี้ ผมไม่พอใจมาก เพราะการ deal แลกเปลี่ยนเงิน หรือของ ถือเป็นการจำลองสังคมบน rag และเกม online อื่นๆ ถ้าไม่มีเช่นนี้ จะเป็นเกม online ได้อย่างไร เพราะการซื้อขายแลกเปลี่ยน เป็นสิ่งที่มีบนสังคมจริงๆ

คำพูดที่ว่า "RO เหมือนการพนัน" ผมไม่ทราบว่า มันเป็นการพนันตรงไหน มันไม่ใช่หวย หรือบ่อนคาสิโน เดิมที ผมสนับสนุนอยากให้เปิดบ่อน เพื่อเอาเงินเข้าประเทศ แต่เห็นวิธีแก้ปัญหาเช่นนี้ ผมว่า ผมคงไม่เอาดีกว่า เพราะขนาดผู้นำยังเป็นเช่นนี้ แล้วพวก จนท.ดูแลบ่อน คงไม่ต่างจากพวกมาเฟียเป็นแน่

สุดท้าย ผมอยากถามนิดหน่อย หากพรรครัฐบาล รวมถึง รมต.(และอาจรวมถึงนายกด้วย) ได้มาอ่านเรื่องนี้

ไม่ทราบว่า N-Age มีผลประโยชน์ขัดกับ Rag ไหมคับ?
ถ้ามี แล้ว N-Age เป็นของใครคับ?

ผมหวังว่าท่าน จะรู้อยู่แก่ใจ
Alphonse
โพสต์: 1792
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ส.ค. 23, 2006 10:45 pm
ที่อยู่: Thailand

จันทร์ ก.พ. 12, 2007 5:16 am

อ่า......
บทความหลายๆ บทความที่คุณ NKL เอามาลงนั้น
อ่านแล้ว รู้สึกดี ที่อย่างน้อยสังคมปัจจุบัน
ก็ยังมีคนคิด
และคนๆ นั้นก็เป็นเยาวชน

แต่...................
มีบางอย่างที่อยากฝากคุณ NKL เอาไว้
ว่าการที่คนเราคิดนั้นเป็นเรื่องดี
แต่คิดแล้ว(ขอพูดตรงนะครับ ขออภัยด้วย)
ขอให้ปฏิบัติ การคิดอย่างเดียว ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น
แม้เราจะปฏิบัติเป็นคนกลุ่มน้อย
แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีใครทำเลย
เหมือนพวกนักวิชาการ
เอาแต่เสวนาๆๆๆ แต่ไม่เคยทำอะไร

และก่อนทำและคิด
อยากฝากว่า ควรหาข้อมูลดีๆ ก่อน
เพราะ หลายๆ ครั้ง ที่เรา พูด คิด ทำ
แต่คนอื่นสามารถค้านได้
เพราะข้อมูลของเราไม่แน่น
และไม่ตรงกับความเป็นจริง.................

ขออภัยนะครับ หากทำให้ไม่พอใจ
เพียงแต่อยากแนะนำ

จากผู้ที่อยู่ในวัยเดียวกัน
ตอบกลับโพส