โป๊ปย้ำพระศาสนจักรไม่ยุ่งการเมืองแต่มีหน้าที่ชี้แนะศีลธรรมให้

คริสตสัมพันธ์ เอกภาพในคริสตศาสนา
ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ministry Of Men
โพสต์: 3972
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 18, 2007 3:09 pm

พฤหัสฯ. ก.ย. 27, 2007 9:00 am

โป๊ปย้ำพระศาสนจักรไม่ยุ่งการเมืองแต่มีหน้าที่ชี้แนะศีลธรรมให้
สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ประมุขสูงสุดแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ทรงยืนยันอย่างหนักแน่น พระศาสนจักรไม่มีหน้าที่ชี้นิ้วออกคำสั่งทางการเมือง เพราะบทบาทของพระศาสนจักรในเวทีการเมืองคือการแนะแนวศีลธรรมที่ถูกต้องให้กับนักการเมืองทุกคน พร้อมกันนี้ ยังทรงเรียกร้องให้บรรดานักการเมืองคริสตังทุกคนกล้าแสดงความเป็นผู้นำตามแบบฉบับคาทอลิกให้ประชาคมโลกได้รับรู้

สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงกล่าวย้ำว่า พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกจะไม่เข้าไปยุ่งนโยบายทางการเมือง แต่จะคอยชี้แนะศีลธรรมที่เหมาะสมให้กับผู้นำการเมือง โดยพระองค์ตรัสเรื่องนี้กับสมาชิกกลุ่มประชาธิปไตยสากล (The Centrist Democratic International) และสภานิติบัญญัติของสหภาพยุโรปกว่า 200 คนที่มาเข้าเฝ้า ณ คาสเตล กันดอลโฟ เมื่อช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 21 กันยายน ที่ผ่านมา

"พระศาสนจักรทราบดีว่า การเมืองไม่ใช่หน้าที่หลักที่พระศาสนจักรจะต้องเข้าไปมีบทบาทควบคุมและออกคำสั่ง แต่วัตถุประสงค์ของพระศาสนจักรต่อการเมืองก็คือ การทำให้ทุกคนเล่นการเมืองด้วยความรับผิดชอบและมีศีลธรรม" พระสันตะบิดรผู้ศักดิ์สิทธิ์ตรัสย้ำจุดยืนของพระศาสนจักรภายใต้การนำของพระองค์

จากนั้น พระสันตะปาปาชาวเยอรมันทรงเตือนสติผู้มีหน้าที่บัญญัติกฏหมายว่า การให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน,การสร้างสันติภาพ,การสร้างความยุติธรรมในสังคม ต้องดำเนินการให้สอดคล้องและควบคู่ไปด้วยกัน ถ้าทำได้ตามนี้ สังคมโลกก็จะน่าอยู่ยิ่งขึ้น

"คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรคาทอลิกเน้นที่ตัวบุคคลเป็นสำคัญ ซึ่งได้แก่ การสร้างสันติและความเสมอภาคให้กับทุกคน สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ทำนองเดียวกัน ถ้าสิทธิมนุษยชนถูกย่ำยี ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ก็ถูกทำลายไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น ถ้าเราต้องรักษาสามสิ่งนี้ไว้และผลักดันให้เดินไปด้วยกัน และเมื่อนั้น โลกก็จะน่าอยู่มากขึ้น"

นอกจากจะตรัสสอนแล้ว พระสังฆราชแห่งกรุงโรม (พระสันตะปาปา) ทรงแสดงความคาดหวังด้วยว่า บรรดานักการเมืองคริสตังจะกล้าแสดงความเป็นผู้นำตามแบบฉบับคาทอลิกที่ดีให้ประชาคมโลกได้รับรู้ โดยพระองค์แนะว่า หนึ่งในวิธีแสดงความเป็นผู้นำแบบคาทอลิกก็คือการต่อสู้กับภัยก่อการร้ายที่นำพระนามของพระเจ้ามาเป็นข้ออ้างในการกระทำการอันชั่วร้าย

"น่าอับอายมากที่การก่อการร้ายนำพระเจ้ามาเป็นข้ออ้างในการกระทำการซึ่งไม่สามารถยกโทษให้ได้ พ่อเชื่อว่า พวกท่านสามารถรับมือกับสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยการแสดงความเป็นผู้นำตามวัฒนธรรมคาทอลิก ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องศีลธรรมและกฏหมาย" พระสันตะปาปาตรัสปิดท้าย


คัดลอกมาจาก
http://catholicworldtour.spaces.live.co ... 1510.entry

บรรยากาศการเข้าเฝ้าของสมาชิกกลุ่มประชาธิปไตยสากลและสภานิติบัญญัติของสหภาพยุโรป



 
ภาพประจำตัวสมาชิก
Edwardius
โพสต์: 1392
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ต.ค. 12, 2006 3:02 pm
ที่อยู่: Lamphun, Thailand

พฤหัสฯ. ก.ย. 27, 2007 12:00 pm

นับว่าเป็นการประกาศจุดยืนของพระศาสนจักรที่ชัดเจน และน่าชื่นชม
นับว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่สำคัญสำหรับพระศาสนจักรในอนาคต
นับว่าเป็นการทำลายความเชื่อเก่าๆ ที่ใช้พระศาสนจักรบังคับการเมือง
นับว่าเป็นการดีที่พระสันตะปาปาทรงห่วงใยพระศาสนจักรของพระคริสตเจ้า
AVE MARIA
โพสต์: 52
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ พ.ค. 04, 2007 10:20 am
ที่อยู่: Bangkok
ติดต่อ:

ศุกร์ ต.ค. 05, 2007 11:33 pm

พระสันตะปาปายืนยันพระศาสนจักรไม่แสวงหาอำนาจทางสังคม

สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ประมุขสูงสุดแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ทรงเน้นย้ำอีกรอบว่า พระศาสนจักรไม่แสวงหาอำนาจและสิทธิพิเศษทางสังคม รวมถึงผลประโยชน์จากเศรษฐกิจทุกประเภท เพราะหน้าที่ที่แท้จริงของพระศาสนจักรคือการรับใช้มวลมนุษยชาติในการส่งเสริมให้ทุกคนแสวงหาและปฏิบัติตนตามแบบฉบับของพระเยซูคริสต์เจ้า

สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงย้ำเรื่องดังกล่าวในระหว่างการต้อนรับ อันโตนิโอ ลานดี้ เอกอัครราชทูตคนใหม่ของสาธารณรัฐอิตาลีประจำนครรัฐวาติกันซึ่งเดินทางมาเข้าเฝ้าเนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งครั้งแรก ณ สันตะสำนัก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคมซึ่งตรงกับวันระลึกถึง นักบุญ ฟรานเชสโก้ (ฟรานซิส) อัสซีซี องค์อุปถัมภ์ของประเทศอิตาลี

พระสันตะปาปาตรัสย้ำกับทูตอิตาลีด้วยการกล่าวว่า "พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกไม่ได้แสวงหาสิทธิพิเศษ,ผลประโยชน์ รวมทั้งอำนาจในระบบการเมืองและเศรษฐกิจโลก แต่หน้าที่ของพระศาสนจักรคือการส่งเสริมและให้ความสำคัญกับการทำความดีซึ่งเป็นสิ่งสวยงามที่สามารถพบได้บนโลกใบนี้"

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ในระหว่างการประชุมกลุ่มสหภาพยุโรป ได้มีสมาชิกบางชาติตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมสเปนต้องลดหย่อนการเก็บภาษีทรัพย์สินของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ขณะที่อิตาลีถึงกับยกเว้นการเก็บภาษีพระศาสนจักรเลยทีเดียว พระสันตะปาปาจึงตรัสไขปัญหาดังกล่าวให้ทูตอิตาลีฟังและนำไปอธิบายให้กับประชาคมโลกได้เข้าใจว่า เรื่องดังกล่าวขึ้นอยู่กับจิตใต้สำนึกล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับการใช้อำนาจบังคับแต่อย่างใด

"การบริหารงานพระศาสนจักรกับการบริหารงานประเทศ แยกออกจากกันอย่างชัดเจน ทุกอย่างมีกฏระเบียบแบบแผน แต่ถ้าท่านจะถามว่า ทำไมถึงมีการยกเว้นภาษีให้กับพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก เรื่องนี้ ท่านต้องเข้าใจว่า มันเกิดจากจิตใต้สำนึกของผู้บริหารประเทศ มิใช่การบีบบังคับจากพระศาสนจักรแต่อย่างใด" พระสันตะปาปา ตรัสปิดท้าย
ล็อคหัวข้อ