เหตุการณ์การแตกนิกาย นี้เกิดมาจากการที่ โรมัน มีแต่งตั้งตำแหน่ง pope ขึ้นมา

คริสตสัมพันธ์ เอกภาพในคริสตศาสนา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Edwardius
โพสต์: 1392
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ต.ค. 12, 2006 3:02 pm
ที่อยู่: Lamphun, Thailand

อาทิตย์ ม.ค. 31, 2010 12:43 am

เจนจิรา เขียน: พระศาสนจักร ตะวันออกก็ไม่เห็น จะมีแนวคิด ที่ แวกแนว ในเรื่องความเชื่อ และคำสอน ทั้งๆ ที่ ตำแหน่งทางพระศาสนจักร จะมี สูงสุด เพียง พระอัครสังฆราช เรายังเหมือนเดิม และยึดมั่นธรรมเนียมเดิม ทุกอย่าง โดยไม่ยอม รับ การพัฒนา ทาง  ศาสนศาตร์ ไม่ว่าเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น โดยถือว่า หาก ก้่าว ล่วงไปกว่า ที่ เรา มีมาแต่ก่อน สิ่ง นั้นเกรงว่า เป็น คำสอนที่ นอกรีต
โดย การประชุมการใช้คำสอนร่วมกัน นั้น ต้องยึดหมั่น ในคำสอนของ พระศาสนจักร ที่พระเยซู ทรงตั้ง ขึ้น เมื่อ 2000 ปี ทีแล้ว  โดยการประชุมร่วมกัน และ ร่วมกันลงประชามติ เอกฉันท์ จาก สังฆราชจาก ทุกประเทศ โดยไม่ต้อง มีตำแหน่ง ที่ สูงกว่า นี้ อนุมัติ เพราะ เรา ( orthodox และ Roman cathlic เคย  ทำแบบนี้มาก่อน )
อันที่จริง ทางตะวันออกและตะวันตกยอมรับกาีรสถาปนาสมณศักดิ์จริงครับ

การสังคายนาครั้งที่ 1 แห่ง ไนเซีย (325) ได้ยอมรับหลักข้อเชื่อไนเซีย และ "รับทราบ/ยอมรับ" (recognized) เอกสภาพ (สภาพความเป็นที่หนึ่งในความเท่าเทียม) ของสันตสำนักแห่งโรม อเลกซานเดรีย และ อันติโอค ทั้งนี้ ยังยกย่องให้เกียรติสถานภาพของสันตสำนักแห่งเยรูซาเลมด้วย
อีก 100 กว่าปีถัดมา ในสมัยของ การสังคายนาแห่งคาลเชโดน (451) ก็ได้ยกระดับสถานภาพของสังฆราช (Bishopric) เยรูซาเลม และคอนสแตนติโนเปิล ขึ้นเป็น สังฆอัยกภาพ (Patriarchates)

ส่วนเรื่องที่ว่า ตะวันออกไม่ยุ่งกับตะวันตก เพราะ "เราเตือนแล้วไม่ฟัง" เนี่ย ผมไม่เห็นด้วยครับ
ตั้งแต่จบการสังคายนาครั้งที่ 7 พระศาสนจักรตะวันออกและตะวันตกก็มีปัญหาเรื่อยมา โดยเฉพาะการแต่งตั้งผู้มีอำนาจที่ว่างลง

ส่วนเรื่องเตือนแล้วไม่ฟัง วิํธีแก้ปัญหาก็คือ การเปิดสภาสังคายนาเพื่อชำระความ แต่ปัญหาของการเปิดสภาใหม่มีมาก เช่น
1. ภาวะสงคราม และการขยายตัวของโลกมุสลิม
2. ขนาดของสังฆราชที่จะเข้่าประชุมเริ่มไม่ลงตัว เพราะ สังตะสำนักบางแห่งไม่เข้าร่วม และ สังฆราชที่ฝักใฝ่โรมมีมากด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ทำให้เปิดไปก็ชำระไม่ได้
3. ความบาดหมางในทางการเมืองพระศาสนจักรเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพอไม่ได้ประชุมนาน แต่ละสายก็ไำปตัดสินปัญหากันเองเรียบร้อย เหมือนสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่ต่างกันไปแล้ว

ในที่สุด แต่ละฟากที่กั้นด้วยอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ และการเมืองก็เปิดประชุมสภาฯ กันเอง และยอมรับกันเอง นับฝั่งตะวันออกได้ 7+1 และตะวันตกได้ 7+14
ที่สุดแล้ว พี่น้องฝั่งตะวันออกโชคร้ายกว่า (มั๊ง) ที่ถูกกลืนเข้าโลกมุสลิมมากขึ้น การขยายตัวของสันตสำนักแห่งคอนสแตนติโนเปิลจึงลดลง และเงียบหายไปจากโลกส่วนที่เหลือ

เอาเถอะ ประเด็นของผมก็คือ ไม่ใช่ว่า "เตือนแล้วไม่ฟังเราเลยไม่คุยด้วย" แต่เป็น "ปัญหารุมเร้าเลยอดคุยกัน" มากกว่า

ส่วนฝั่งตะวันตก ปัญหาเชิงการเมืองในแบบ โดนรุกราน โดนรบ โดนกลืน มันน้อยกว่า หรือจริงๆ ก็คือ แทบจะไม่โดนทำลายไปไหนเลย อย่างมากก็กักกันไป แย่งกันมาระหว่างขั้วอำนาจ
ทำให้พัฒนาการของพระศาสนจักรค่อนข้างจะต่อเนื่อง ในเชิงเทววิทยาเองก็ได้รับการสนับสนุนจากการเมืองทางโลก ที่เอื้อให้เกิดการติดต่อกัน
เพราะแต่ละแห่งก็ไม่อยากขัดใจสันตะสำนัก เพราะสันตะสำนักคือ "ตัวแทนสวรรค์" ที่มอบอำนาจให้ปกครองพลเมืองได้ (ยืมกรณี ซามูเอลตั้งซาอูล-ดาวิดเป็นกษัตริย์)
ดังนั้น พระสงฆ์และสังฆราชท้องถิ่นอยากทำอะไร การเมืองไม่ค่อยจะห้าม แต่จะพยายามเอาใจ หรือหนักกว่าก็คือ ส่งคนของตัวเองเข้่าไปเป็น
การประชุมสังคายนาของฝ่ายตะวันตกถึงมีตั้ง 21 ครั้ง หรือ 14 ครั้งที่เพิ่มเข้ามาหลังไม่ได้ประชุมกับฝ่ายตะวันออก

อย่าเพิ่งเอาเรื่อง Infallibility ของพระสันตะปาปามาเกี่ยวนะครับ เรื่องนั้นโผล่มาจริงๆ สมัยสภาสังคายนาวาติกันที่ 1 (1870-1960) โน่น
ภาพประจำตัวสมาชิก
เจนจิรา
โพสต์: 1168
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ธ.ค. 21, 2008 12:13 am

อาทิตย์ ม.ค. 31, 2010 12:55 am

คุณ Edwardius เก่งจังเลยค่ะ ใช้หลัก วิชาการ ได้ยอดเยี่ยม ทุกงานเลย  : emo038 : เรียนจบ ที่ใหน หรอ ค่ะ  ต่างประเทศ หรือเปล่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
Edwardius
โพสต์: 1392
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ต.ค. 12, 2006 3:02 pm
ที่อยู่: Lamphun, Thailand

อาทิตย์ ม.ค. 31, 2010 2:38 am

จบเมืองไทยครับ

ผมวิเคราะห์ที่ที่ข้อมูลจะมี ถ้ามีข้อมูลแย้งที่เป็นจริงและหนักแน่นพอ

ทุกอย่างก็สมควรให้มีการพิจารณากันใหม่ได้

ไม่ใช่ตามหลักของวิชาการ แต่เป็นหลักของความจริงที่ครบถ้วนมากกว่า
Alphonse
โพสต์: 1792
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ส.ค. 23, 2006 10:45 pm
ที่อยู่: Thailand

อาทิตย์ ม.ค. 31, 2010 7:04 pm

Edwardius เขียน: จบเมืองไทยครับ

ผมวิเคราะห์ที่ที่ข้อมูลจะมี ถ้ามีข้อมูลแย้งที่เป็นจริงและหนักแน่นพอ

ทุกอย่างก็สมควรให้มีการพิจารณากันใหม่ได้

ไม่ใช่ตามหลักของวิชาการ แต่เป็นหลักของความจริงที่ครบถ้วนมากกว่า
ชื่นชมตรงที่ใช้หลักการค้นคว้าข้อมูลอย่างพอเพียงก่อนเสนอ มากๆ ครับ
ผมไม่ค่อยชอบบางท่านที่ใช้หลัก"ฟังความข้างเดียว" แล้วก็เชื่อไปเสียหมดเอาเสียเลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
เจนจิรา
โพสต์: 1168
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ธ.ค. 21, 2008 12:13 am

อาทิตย์ ม.ค. 31, 2010 7:44 pm

Alphonse เขียน:
Edwardius เขียน: จบเมืองไทยครับ

ผมวิเคราะห์ที่ที่ข้อมูลจะมี ถ้ามีข้อมูลแย้งที่เป็นจริงและหนักแน่นพอ

ทุกอย่างก็สมควรให้มีการพิจารณากันใหม่ได้

ไม่ใช่ตามหลักของวิชาการ แต่เป็นหลักของความจริงที่ครบถ้วนมากกว่า
ชื่นชมตรงที่ใช้หลักการค้นคว้าข้อมูลอย่างพอเพียงก่อนเสนอ มากๆ ครับ
ผมไม่ค่อยชอบบางท่านที่ใช้หลัก"ฟังความข้างเดียว" แล้วก็เชื่อไปเสียหมดเอาเสียเลย
นั้นนะสิค่ะ ชอบ บทความที่ดูเป็นกลาง และไม่เข้าข้างใคร มากเกินไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
Edwardius
โพสต์: 1392
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ต.ค. 12, 2006 3:02 pm
ที่อยู่: Lamphun, Thailand

อาทิตย์ ม.ค. 31, 2010 8:50 pm

เจนจิรา เขียน:
Alphonse เขียน:
Edwardius เขียน: จบเมืองไทยครับ

ผมวิเคราะห์ที่ที่ข้อมูลจะมี ถ้ามีข้อมูลแย้งที่เป็นจริงและหนักแน่นพอ

ทุกอย่างก็สมควรให้มีการพิจารณากันใหม่ได้

ไม่ใช่ตามหลักของวิชาการ แต่เป็นหลักของความจริงที่ครบถ้วนมากกว่า
ชื่นชมตรงที่ใช้หลักการค้นคว้าข้อมูลอย่างพอเพียงก่อนเสนอ มากๆ ครับ
ผมไม่ค่อยชอบบางท่านที่ใช้หลัก"ฟังความข้างเดียว" แล้วก็เชื่อไปเสียหมดเอาเสียเลย
นั้นนะสิค่ะ ชอบ บทความที่ดูเป็นกลาง และไม่เข้าข้างใคร มากเกินไป
โดยส่วนตัว ผมไม่ชอบวิธีการในการศึกษาทางวิชาการหลายอย่างครับ
เช่น เน้นนำเสนอประเด็นที่เราสนใจอย่างรอบด้าน "แต่" พยายามมให้ความสำคัญมากๆ กับเรื่องที่จะนำเสนอ และลดความสำคัญกับเรื่องที่อาจเป็นภัยต่องานศึกษา
งานศึกษาที่ออกมาประเภทนี้มักจะ "อิ่มตัว" ในด้านเดียว แล้วมันก็จะพังลงอย่างง่ายๆ ถ้ามีคนมาสะกิดด้านที่พยายามปกปิด เพราะจริงๆ ความลับไม่มีในการศึกษา

โดยมากงานที่สมบูรณ์แบบ ประเภทเสนอครบทุกด้าน ไม่ใช่แค่อิ่มตัว จะถูกวิพากษ์เรื่องความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล (Authenticity of Source) มากกว่า
เช่นกรณีพระคัมภีร์ เราจะเห็นว่า นักเทววิทยาด้านประวัติศาสตร์พระคัมภีร์ทุกวันนี้จะไม่เถียงกันแล้วว่า ตีความทางไหน เพราะไม่ใช่ประเด็นทางประวัติศาสตร์
แต่จะเถียงกันว่า จริงๆ ข้อความนั้นๆ ผู้เขียนต้องการสื่ออะไร เพราะภาษาสมัยโบราณกับสมัยนี้บางครั้งเมื่อผ่านกาลเวลา มันก็อาจเปลี่ยนความหมายได้
หรืออาจถกเถียงกันว่า แหล่งข้อมูลทั้งตัวเนื้อหา และแหล่งอ้างอิงด้านภาษาอื่นๆ น่าเชื่อถือแค่ไหน อย่างไร

เหมือนกับสมมติคุณไปพบเอกสารพูดถึงประวััติศาสตร์พม่า คนเขียนเป็นคนเมือง แล้วใช้ภาษาไทยเขียน ปัญหาที่พบไม่ใช่แค่ว่า ข้อมูลเที่ยงตรงกับประวัติศาสตร์จริงเท็จแค่ไหน
ยังรวมไปถึงอคติของคนเขียนต่อสถานการณ์นั้นๆ มากน้อยเพียงใด และการใช้ภาษาถ่ายทอดได้ตรงตามความต้องการของผู้เขียนขนาดไหน

สมมติเขาเขียนว่า ปี 1756 เดือน 2 ไทยแพ้พม่า แต่หลักฐานอื่นๆ บ่งชี้ว่า ไทยชนะพม่า และเดือนที่รบกันก็เป็นเดือน 12
อาจเป็นเพราะ ผู้เขียนเคยชินกับการใช้คำว่า "แพ้" ที่หมายถึง ชนะ ในคำเมือง (ออกเสียงว่า แป๊ ส่วนไม่ชนะใช้คำว่า ก๊าน)
อีกทั้งปฎิทินล้านนา เดือนยี่ หรือ เดือน 2 ก็ตรงกับเดือน 12 ตามปฎิืทินจันทรคติของไทยภาคกลาง (ยี่เป็ง หมายถึง วันเพ็ญเดือนสอง)
ถามว่า ข้อมูลนี้ยัง Authenticated หรือใช้ได้อยู่หรือไม่ ตัวผม ที่เข้าใจระบบดังกล่าวก็จะตอบว่า ใช้ได้ แต่ต้องหมายเหตุอธิบายกำกับ
แต่บา่งท่านอาจบอกว่า ไม่มีประโยชน์ เขียนมั่ว ฯลฯ

ทั้งนี้ อย่างประเด็นประวัติศาสตร์ที่ผ่านๆ มาแล้ว ต้องยอมรับว่า แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ย่้อมอยากเขียนให้ตัวเองดูดีทั้งนั้น
พอกรองออกมาจริงๆ มันก็เหลือเนื้อให้เราได้ย่อยไม่เท่าไหร่ ที่เหลือก็สิ่งเสริมแต่งจากคนที่ผ่านประวัติศาสตร์มาแล้วทั้งนั้น
บางครั้งเราก็อาจไม่ชอบใจนักกับความพ่ายแพ้ ความอ่อนแอ หรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ในความเป็นจริง ไม่มีใครสมบูรณ์และดีพร้อม แม้แต่ผมที่คุณๆ ชมกันว่าการวิเคราะห์เป็นกลาง ผมก็ไม่คิดว่า ผมจะเป็นกลางจริงๆ
ยังไงซะ ผมก็เลือกข้างในใจอยู่ดี อยู่ที่ว่าจะเผลอหลุดเอามันลงไปในบทความตรงไหน และมากน้อยเพียงใดเท่านั้นเอง
ตอบกลับโพส