Catholic Reconciliation

คริสตสัมพันธ์ เอกภาพในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
Edwardius
โพสต์: 1392
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ต.ค. 12, 2006 3:02 pm
ที่อยู่: Lamphun, Thailand

เสาร์ มี.ค. 10, 2007 2:39 pm

ความพยายามสร้างเอกภาพ (Reconciliation)
พระศาสนจักร คืออคาธกายของพระคริสตเจ้า
พระศาสนจักร คืออคาธกายของพระคริสตเจ้า (Body of Christ) เพราะพระบุตรของพระเป็นเจ้า ขณะทรงอยู่ในธรรมชาติมนุษย์ ซึ่งได้ทรงรับเอามาร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ เดชะมรณกรรม และการกลับคืนพระชนม์ชีพได้ทรงมีชัยต่อความตาย ได้ทรงไถ่มนุษย์ และได้ทรงแปรพระรูปเป็นสัตว์โลกใหม่ คราวทรงมอบพระจิตของพระองค์แก่บรรดาพี่น้องที่ได้ทรงเรียกมาจากประเทศทั้งหลายได้ทรงแต่งตั้งพวกเขาขึ้นโดยทำนองลึกล้ำให้เป็น “กาย” ของพระองค์
สากลภาพ หรือความเป็นคาทอลิกแห่งประชากร แต่เป็นประชากรเดียวของพระเป็นเจ้า ในสภาพของประชากรใหม่ของพระเจ้านั้น มนุษย์ทุกคนถูกเชิญให้เข้ามาสู่พระศาสนจักร เพราะฉะนั้นประชากรนี้ มีอันเดียว และคงเป็นอยู่แต่อันเดียวเท่านั้น อันที่จะแผ่กระจายไปสู่ทั่วโลกจักรวาล และตลอดกระแสศตวรรษทั้งหลาย เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งประสงค์ของพระเป็นเจ้า ผู้ซึ่งในเบื้องต้นได้ทรงสร้างธรรมชาติมนุษย์มาแต่ธรรมชาติเดียว และลูกทั้งหลายของพระองค์ที่ได้กระจัดกระจายไปนั้น พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะนำกลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันในที่สุด เพราะเหตุนี้เอง พระเป็นเจ้าจึงได้ทรงส่งพระบุตรของพระองค์มา ทรงแต่งตั้งให้เป็นทายาทของโลกจักรวาล ให้เป็นพระอาจารย์ พระราชา และพระสงฆ์ของทุกคน ให้เป็นประมุข (หัวหน้า) ของประชากรใหม่ ประชากรสากลแห่งลูกของพระเป็นเจ้า ที่สุดเพราะเหตุนี้เอง พระเป็นเจ้าได้ทรงส่งพระจิตแห่งพระบุตรของพระองค์มา พระจิตนี้เป็นพระผู้บันดาลชีวิต พระองค์นี้แหละสำหรับพระศาสนจักรทั้งหมด ทั้งสำหรับผู้มีความเชื่อคนละคนและทุกคนรวมกัน ทรงเป็นแหล่งที่มาแห่งการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน และเอกภาพในคำสอนของพวกอัครสาวก, แห่งสหพันธ์, การหักปัง, และการบำเพ็ญภาวนา

สัมพันธภาพของพระศาสนจักรกับคริสตชนที่ไม่ใช่คาทอลิก
บุคคลที่ได้รับศักดิ์สิทธิ์ (การล้างบาป) ประกอบอยู่ด้วยเกียรตินามว่าเป็นคริสตชน แต่เขาไม่ประกาศรับรองความเชื่อทั้งครบ (ของพระศาสนจักรคาทอลิก) หรือเขาไม่รับรู้เอกภาพแห่งสหพันธ์ภายใต้อำนาจผู้สืบตำแหน่งของท่านเปโตร พระศาสนจักรก็ทราบดีว่าตัวท่านมีความสัมพันธ์กับคนเหล่านี้ ด้วยเหตุผลหลายประการ คนเหล่านี้ส่วนมากเคารพพระคัมภีร์ และยึดถือเอาเป็นหลักของความเชื่อและของการประพฤติดำรงชีวิต เขาจริงใจแสดงความร้อนรนภักดีต่อพระศาสนา เขาเชื่อด้วยใจรักในพระเป็นเจ้า พระบิดาทรงสรรพานุภาพ และในพระคริสตเจ้าพระเทวบุตรผู้ทรงกอบกู้ เขาได้รับประทับตราของศักดิ์สิทธิ์ (การล้างบาป) จึงร่วมสนิทกับพระคริสตเจ้า กว่านั้นอีกเขารับรู้ และเข้าไปรับศักดิ์สิทธิ์การต่างๆ ในศาสนจักรกลุ่มของเขา หรือในหมู่ศาสนจักรของเขาในพวกเขา มีหลายท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นพระสังฆราช เขาทำพิธีถวายสดุดีบูชา ทั้งยังส่งเสริมความภักดีต่อพระนางพรหมจาริณี พระเทวมารดา นอกนั้นเขายังมีสหพันธ์ของการอธิษฐานภาวนา และของพระคุณานุคุณ ด้านวิญญาณอย่างอื่นๆ อีก ยิ่งกว่านั้นเขายังมีสหพันธ์อย่างหนึ่งในพระจิตเจ้า พระองค์ทรงแผลงฤทธิ์ทำงาน ประทานพระคุณต่างๆ แม้กระทั่งในตัวเขา พระองค์ทรงใช้ฤทธิ์เดชบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ท่าน ทำให้บางคนในพวกเขามีใจกล้าหาญ ยอมพลีหลั่งโลหิตของตนเองเพื่อพระศาสนา นี่แหละ พระจิตเจ้าทรงปลุกให้สานุศิษย์ทั้งหลายของพระคริสตเจ้า เกิดมีความปรารถนาและการออกแรงทำงาน เพื่อให้ทุกๆ คนเข้ามารวมกัน ในทำนองที่พระคริสตเจ้าทรงกำหนดไว้ ให้รวมกันเป็นหนึ่งโดยสันติ เพื่อจะได้เป็นฝูงแกะเดียว และนายชุมพาบาลแต่ผู้เดียว สำหรับบรรลุผลสำเร็จดังนี้ พระศาสนจักรผู้เป็นมารดา ไม่หยุดยั้งที่จะบำเพ็ญภาวนา เผ้าคอยความหวัง และออกแรงทำงานและตักเตือนลูกๆ ของท่านให้ชำระตน ให้ปฏิรูปตนใหม่ เพื่อสัญลักษณ์ของพระคริสตเจ้าจะได้เปล่งรัศมีแจ่มจรัสขึ้นบนใบหน้าของพระศาสนจักร

กฤษฎีกาคริสตศาสนสัมพันธ์ (Unitatis Redintegratio)
กฤษฎีกาคริสตศาสนสัมพันธ์ เป็นกฤษฎีกาฉบับที่ 2 จากกฤษฎีกาทั้งหมด 9 ฉบับ ได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 1964 ในสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ด้วยคะแนนเสียง 2,137 ต่อ 11 เสียง เอกสารนี้เป็นก้าวสำคัญของพระศาสนจักร โดยมุ่งฟื้นสัมพันธ์กับคริสตชนนิกายอื่นๆ ไม่ใช่ให้กลับคืนมาอยู่ใต้อำนาจกรุงโรม เอกสารนี้ยอมรับคำตำหนิสำหรับการแยกตัวของทั้ง 2 ฝ่าย และเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงจิตใจเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างคริสตชนต่างนิกายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ การร่วมพิธีศีลมหาสนิทในบางเวลาอาจเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อจะได้รับพระหรรษทานแห่งความเป็นหนึ่งเดียว เอกสารนี้สนับสนุนให้มีการเสวนา และเรียกร้องพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกให้ปฏิรูปตัวเองสำหรับกระบวนการคืนกลับมาร่วมเป็นหนึ่งเดียว กฤษฎีกานี้ประกอบด้วย 24 หัวข้อ ใน 3 บท คือ
1. หลักการของคาทอลิกเรื่องคริสตศาสนสัมพันธ์
2. ภาคปฏิบัติของคริสตศาสนสัมพันธ์
3. คริสตจักร และประชาคมศาสนาที่แยกตัวจากศาสนจักรโรมันคาทอลิก

กฤษฎีกาบรรดาคริสตจักรคาทอลิกตะวันออก (Orientalium Ecclessiarum)
กฤษฎีกาบรรดาคริสตจักรคาทอลิกตะวันออก เป็นกฤษฎีกาฉบับที่ 3 จากกฤษฎีกาทั้งหมด 9 ฉบับ ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 1964 ในสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ด้วยคะแนนเลียง 2,110 ต่อ 39 เสียง เอกสารนี้ให้มุมมองของศาสนจักรโรมันคาทอลิกเกี่ยวกับพระศาสนจักรจารีตตะวันออก 6 แห่ง เอกสารกล่าวถึงความปราถณาที่จะกลับคืนดีกัน และประกาศอย่างชัดเจนถึงความเสมอภาคของธรรมประเพณีจารีตตะวันออก กับจารีตตะวันตก โดยเอกสารนี้ประกอบด้วย 30 หัวข้อ ใน 6 บท คือ
1. พระศาสนจักร หรือจารีตแต่ละแห่ง
2. การเก็บรักษามรดกฝ่ายจิตวิญญาณของพระศาสนจักรจารีตตะวันออก
3. พระอัยกาของจารีตตะวันออก
4. กฎระเบียบของศีลศักดิ์สิทธ์
5. การถวายบูชาแด่พระเจ้า
6. สัมพันธภาพกับพี่น้องของศาสนจักรที่แยกตัวไป

ถ้อยแถลงร่วมของทั้งสองพระศาสนจักร
ถ้อยแถลงร่วมของพระสันตะปาปาปอลที่ 6 (Pope Paul VI) และพระอัยการเอเธนนากอรัสที่ 1 (Patriarch Athennagorus I) ได้รับการประกาศในเวลาเดียวกันที่กรุงโรม และอีสตันบูล (กรุงคอนสแตนติโนเปิล) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1965 ถ้อยแถงนี้เป็นประกาศยกเลิกบัพพาชนียกรรม (Excommunication) ที่พระศาสนจักรทั้ง 2 ฝ่ายประกาศต่อกันในปีคริสตศักราช 1054 ในการนี้ ท่านทั้งสองได้เชิญชวนชาวโลกให้ดำเนินตาม และหาวิธีเข้าสู่ความเป็นเอกภาพมากขึ้น เมื่อผู้แทนของพระอัยกาคุกเข่าลงเพื่อจุมพิตพระธำมรงค์ของพระสันตะปาปา พระสันตปาปาปอลทรงพยุงท่านสวมกอด และมอบจุมพิตแห่งสันติ ผู้คนยืนปรบมือกึกก้อง และมีการลงคะแนนเสียงครั้งสุดท้ายสำหรับเอกสารที่เหลืออยู่ และมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
ตอบกลับโพส