คำแถลงของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่อง

คริสตสัมพันธ์ เอกภาพในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

เสาร์ เม.ย. 19, 2008 3:52 pm

คำแถลงของสภาสังคายนา วาติกันที่2

เรื่อง ความสัมพันธ์แห่งพระศาสนจักร กับบรรดาศาสนาที่มิใช่คริสตศาสนา

Nortra Aetate

       
        1.ในสมัยของเรานี้ มนุษยชาติสนิทใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น และชาติต่างๆ ยิ่งมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น พระศาสนจักรพิจารณา

ด้วยความสนใจยิ่งขึ้นว่า ตนมีความสัมพันธ์อย่างไร กับศาสนาที่มิใช่คริสตศาสนา
เนื่องจากมีภาระหน้าที่

ที่ต้องส่งเสริมเอกภาพและความรักระหว่างมนุษย์ และแม้ระหว่างชาติต่างๆ พระศาสนจักรชอพิจารณาในที่นี้ก่อนว่า


มนุษย์มีอะไรร่วมกัน ?และมีอะไรชักจูงมนุษย์ ให้มาร่วมชีวิตเป็นมิตรกัน ?

           ด้วยว่าชนทุกชาติเป็นประชาคมเดียวกัน ชนทุกชาติมีต้นกำเนิดอันเดียวกัน เพราะ....

" พระเป็นเจ้าให้มนุษยชาติ ทั้งมวลอาศัยอยู่บนพื้นพิภพ "(เทียบ กจ.17:26 )

" ชนทุกชาติ มีจุดหมายปลายทางอันเดียวกัน คือ องค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์เอาพระทัยสอดส่อง แสดงพระทัยดี

และตั้งพระทัยช่วยมนุษย์ทุกคนให้เอาตัวรอด" (เทียบ ปชญ.8:1;กจ.14:17;รม.2:6-7;1ทธ.2:4)


" จนกว่าบรรดาผู้ได้รับเลือกสรรจะชุมนุมอยู่ร่วมกันในสันตินคร ซึ่งสุกใสด้วยสิริโรจนาการของพระเป็นเจ้า

และประชาชนทุกชาติจะเดินตามแสงโชติช่วงของพระองค์ (เทียบ วว.)


       มนุษย์ทั้งหลายคอยให้มวลศาสนาตอบปัญหาต่างๆ ซึ่งยังคงซ่อนเร้นอยู่  เกี่ยวกับสภาพของมนุษย์ในอดีตก็เหมือนในปัจจุบัน
ที่ทำให้หัวใจมนุษย์ปั่นป่วนวุ่นวายอย่างหนักหน่วงอยู่ เช่น....

       มนุษย์เป็นอะไร ?

       ความหมายและจุดหมายของชีวิตคืออะไร ?

       ความดีคืออะไร ?และบาปคืออะไร ?

       ต้นกำเนิดและจุดหมายของทุกข์คืออะไร ?

       อะไร?เป็นหนทางสำหรับบรรลุถึงความสุขแท้ ? ความตาย การพิพากษาและการรับรางวัล

       และการรับรางวัลตอบแทนหรือรับโทษเมื่อตายแล้ว คืออะไร ?


       ที่สุด อัตถ์ลึกลับประการสุดท้ายที่ไม่รู้จะพูดอย่างไรถูก เกี่ยวกับชีวิตของเรา ซึ่งเราถือกำเนิด

       และกำลังเดินมุ่งไปหานั้น เป็นอะไร ?



2.ศาสนาต่างๆที่มิใช่คริสตศาสนา

       ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ที่สุดจนถึงทุกวันนี้ เราเห็นว่าในชนชาติต่างๆ มีความรู้สึกอย่างหนึ่ง ถึงพลังอันเร้นลับ ซึ่งอยู่ในกระแส

สิ่งของ และเหตุการณ์ของชีวิตมนุษย์ บางครั้งก็มีกระทั่งการยอมรับนับถือพระเจ้าสูงสุด หรือพระบิดา ความรู้สึกและรับรู้เช่นนี้

ทำให้ชีวิตของเราซาบซ่านไปด้วยความสำนึกในเรื่องศาสนาอย่างลึกซึ้ง ส่วนบรรดาศาสนาที่กี่ยวโยงกับวัฒนธรรมเจริญขึ้น ก็พยายามจะ

ตอบปัญหาเห่านั้น ด้วยความรู้สึกที่ละเอียดกว่า และภาษาพูดที่กล่อมเกลาดีกว่า

ดังนั้นในศาสนาฮินดูมนุษย์พยายามไตร่ตรองช้อลึกลับเกี่ยวกับพระเป็นเจ้า และอธิบายออกมาเป็นนิยายมากมายไม่รู้จบ

กับพยายามค้นคว้าทางปรัชญา เขาแสดงความรอดพ้นจากความกระวนกระวายแห่งสภาพมนุษย์ของเรา ด้วยการเจริญชีวิตอย่าง

เคร่งครัดแบบต่างๆบ้าง ด้วยการพิจารณารำพึงอย่างซาบซึ้งบ้าง ด้วยการหลบพักพิงในพระเจ้าโดยความรัก ความไว้ใจบ้าง

ในพุทธศาสนา ตามที่ยอมรับว่า โลกที่เปลี่ยนแปลงมานี้ไม่เที่ยงแท้เลย และสอนหนทางที่มนุษย์อาจเดินไปถึงสภาพที่หลุดพ้น

เป็นอิสระอย่างแท้จริงได้ด้วยจิตใจศรัทธาและไว้ใจ หรือบรรลุถึงความรู้แจ้งอย่างสูงสุดด้วยความพยายามของตน หรือด้วยความช่วยเหลือ

ที่มาจากเบื้องบน เช่นเดียวกันในศาสนาอื่นๆทั่วไปในโลก พยายามจะแก้ความกระวนกระวายใจของหัวใจมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ โดยเสนอ

" มรรค " หลาย "มรรค" ซึ่งได้แก่พระธรรม คำสอน กฎชีวิต และจารีตพิธีศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ

       พระศาสนจักรคาทอลิกไม่ปัดสิ่งใดที่จริงและศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาเหล่านี้ พระศาสนจักรพิจารณา

ด้วยความเคารพอย่างจริงใจ
ซึ่งวิธีปฏิบัติและดำรงชีวิต ตลอดจนกฎและพระธรรมคำสอนเหล่านี้ ถึงแม้จะผิดกับที่ตนเองถือ

หรือสอนหลายประการ แต่บ่อยครั้ง ก็นำแสงจากองค์ความจริงมาให้ ซึ่งฉายส่องสว่างแก่มนุษย์ทุกคน อย่างไรก็ตามพระศาสนจักรประกาศและมี

พันธะที่จะไม่หยุดยั้งประกาศองค์พระคริสตเจ้า ซึ่งทรงเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต ( เทียบ ยน.14:6 )

ในพระองค์นั้น มนุษย์ต้องพบชีวิตทางศาสนาอย่างเต็มเปี่ยม และในพระองค์นั้นพระเป็นเจ้าทรงได้รับทุกสิ่งกลับมาคืนดีกับพระองค์

(เทียบ 2 คร.5:18-19)

        ฉะนั้น พระศาสนจักรจึงขอเตือนลูกๆให้รับรู้ ป้องกัน และทำให้คุณค่าทางจิตใจ

ทางศีลธรรมทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีอยู่ในตัวตนคนต่างศาสนาเหล่านี้ ให้ลูกๆทำเช่นนี้ โดยการติดต่อ เสวนา

ร่วมมือกับผู้ถือศาสนาอื่น ด้วยความรักและฉลาดรอบคอบ แสดงความเชื่อและเจริญชีวิตคริสตชน



(มีต่อ)
แก้ไขล่าสุดโดย ignatius เมื่อ จันทร์ เม.ย. 21, 2008 8:04 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ผไกร

เสาร์ เม.ย. 19, 2008 4:26 pm

ศาสนาพุทธบอกว่า
มนุษย์เป็นเวไนยสัตว์ แปลว่า สัตว์ผู้ควรแก่การแนะนำสั่งสอน สัตว์ที่พึงแนะนำได้ สัตว์ที่พอดัดได้สอนได้
คริสต์บอกว่า
มนุษย์เป็นสิ่งสร้างตามพระฉายาของพระ
ฯลฯ
พลาโตบอกว่า
ความดีคือความรู้
Virtue is knowledge
ฯลฯ
น้องจ๋ากระทู้น้องนี้เรียนถึง
ป.เอกยังไม่จบเลยนะ  :grin:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 8:36 am

ผไกร เขียน: ศาสนาพุทธบอกว่า
มนุษย์เป็นเวไนยสัตว์ แปลว่า สัตว์ผู้ควรแก่การแนะนำสั่งสอน สัตว์ที่พึงแนะนำได้ สัตว์ที่พอดัดได้สอนได้
คริสต์บอกว่า
มนุษย์เป็นสิ่งสร้างตามพระฉายาของพระ
ฯลฯ
พลาโตบอกว่า
ความดีคือความรู้
Virtue is knowledge
ฯลฯ
น้องจ๋ากระทู้น้องนี้เรียนถึง
ป.เอกยังไม่จบเลยนะ  :grin:
:grin:
งั้นต้องรีบต่อ เวลามีน้อย....เดี๋ยวไม่ถึง ป.เอก :grin:

ศาสนาอิสลาม

        3.พระศาสนจักรยังเพ่งพินิจดูผู้ถือศาสนามุสลิมด้วยความนับถือ เขานมัสการพระเจ้าองค์เดียวผู้ทรงชีวิตและดำรงอยู่

มีพระทัยเมตตาและทรงฤทธิ์ทุกประการ เป็นผู้สร้างสวรรค์และแผ่นดินและได้ตรัสแก่มนุษย์ เขาพยายามด้วยสิ้นสุดจืตใจที่นอบน้อมต่อประกาศิต แม้ที่หยั่งรู้ไม่ถึงของพระเป็นเจ้าเหมือนดังที่ท่านอับราฮัม ตามความเชื่อของชาวมุสลิมและชอบอ้างอิง

ถึงว่าท่านได้อ่อนน้อมต่อพระเป็นเจ้ามาแล้ว แม้ว่าเขาไม่ยอมรับนับถือพระเยซูเจ้าเป็นพระเจ้า แต่เขานับถือ

พระองค์เป็นประกาศก เขาเคารพพระนางมารีย์พระมารดาพรหมจารีของพระองค์ และบางครั้งยังวิงวอนขอพระนางด้วความ

เลื่อมใสศรัทธาอีกด้วย ยิ่งกว่านั้นเขาคอยวันพิพากษาซึ่งในวันนั้นพระเป็นเจ้าจะทรงปูนบำเหน็จ หรือลงโทษมนุษย์ที่กลับฟื้นคืน

ชีวิตขึ้นมา เพราะฉะนั้นเขายกย่องการดำรงชีวิตอย่างมีศีลมีสัตย์ และถวายคารวกิจแด่พระเป็น เป็นต้นการภาวนา

ทำบุญให้ทาน และอดอาหาร


       ถ้าหากว่าในศตวรรษก่อนๆนี้ ได้เกิดความบาดหมางและความเป็นศัตรูระหว่างคริสตศาสนิกชนกับชาวมุสลิมหลายครั้ง

หลายหนสภาสังคายนานี้ ขอเตือนทั้งสองฝ่าย ให้ลืมเรื่องในอดีตเสียและให้พยายามที่จะทำความ

เข้าใจอย่างจริงใจ ตลอดจนร่วมกันคุ้มครองและส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม คุณค่าทางศีลธรรม และอิสรภาพ

เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ทุกคน



( ศาสนายิว ")
แก้ไขล่าสุดโดย ignatius เมื่อ จันทร์ เม.ย. 21, 2008 8:08 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Man of Macedonia
โพสต์: 973
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ธ.ค. 04, 2006 9:33 pm
ที่อยู่: Virtusian's House of Prayer,Thailand
ติดต่อ:

อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 1:50 pm

รออ่านและรอเสริมทีเดียวครับ
ผไกร

อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 2:07 pm

ignatius เขียน:        ถ้าหากว่าในศตวรรษก่อนๆนี้ ได้เกิดความบาดหมางและความเป็นศัตรูระหว่างคริสตศาสนิกชนกับชาวมุสลิมหลายครั้งหลายหน

สภาสังคายนานี้ ขอเตือนทั้งสองฝ่าย ให้ลืมเรื่องในอดีตเสียและให้พยายามที่จะทำความเข้าใจอย่างจริงใจ ตลอดจน

ร่วมกันคุ้มครองและส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม คุณค่าทางศีลธรรม และอิสรภาพ เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ทุกคน

หนุ่มคาทอลิกคนหนึ่งได้ลืมเรื่องในอดีต
ไปหลงรักสาวมุสลิมเข้า
เพราะมั่นใจในรัก จึงไปขอพบพ่อแม่สาวและอาจารย์สอนศาสนา (โต๊ะอิหม่าม)
แต่ถูกปฏิเสธ เขาก็อ้างคัมภีร์อัลกุลอานห์ ว่า
"เจ้าอย่ายกลูกสาวของเจ้าให้คนที่ไม่นับถือพระเจ้า"
ผมก็นับถือพระเจ้าองค์เดียวกับท่าน ท่านควรจะยกลูกสาวให้ผม
เขาตอบว่าพระเจ้าเดียวกันแต่ต่างศาสนา ยกให้ไม่ได้

(อาจจะ ยังมีต่อ)  :tongue:
Phulasso
โพสต์: 1236
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.พ. 24, 2006 10:18 am
ที่อยู่: Thailand

อาทิตย์ เม.ย. 20, 2008 2:17 pm

ฝากบอกเขาว่าที่นิวมานา
ยังมีสาวคาทอลิกที่เป็นโสดหลายคน 
:cheesy:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

จันทร์ เม.ย. 21, 2008 11:27 am

ศาสนายิว

         4.เมื่อใคร่ครวญดูเหตุการณ์ลึกลำ้เรื่องพระศาสนจักร สภาสังคายนาระลึกถึงสายสัมพันธ์ฝ่ายจิตที่ผูกโยงประชากร

แห่งพันธสัญญาใหม่กับเชื้อสายของอับราฮัม

   แท้จริง พระศาสนจักรของพระคริสตเจ้ารับว่า ตามแผนการลำ้ลึกของพระเป็นเจ้า เรื่อง

ความรอด ความเชื่อ และการได้รับเลือกสรรของพระสาสนจักรมีต้นเดิม มาจากบรรดาอัยกา โมเสสและบรรดาประกาศก

พระศาสนจักรขอรับว่า สัตบุรุษทุกคนของพระคริสตเจ้าซึ่งเป็นบุตรของอับราฮัม ตามความเชื่อนั้น ( เทียบ กท.3:7 ) ต้องนับ

รวมเข้าอยู่ในกระแสเรียกของท่านอัยกาผู้นี้ และความรอดของพระศาสนจักรก็มีรูปหมายถึงอย่างลึกซึ้งมาก่อน ด้วยการที่

ประชากรที่ได้รับเลือกสรรออกจากดินแดนที่ตนเป็นทาส

    ด้วยเหตุนี้พระศาสนจักรลืมไม่ได้ว่า พระศาสนจักรได้รับการเปิดเผยในพันธสัญญาเดิมโดยอาศัยชนชาตินี้ ซึ่งพระเป็นเจ้า

ได้ทรงทำพันธสัญญาเดิมด้วย เพราะมีพระทัยเมตตาเหลือที่จะกล่าวได้ พระศาสนจักรลืมไม่ได้ว่า พระศาสนจักรเลี้ยงตัวด้วย

อาหารจากรากมะกอกที่ปลูกไว้ด้วยความทะนุถนอม มีกิ่งมะกอกป่ามาต่อซึ่งหมายถึงคนต่างศาสนา (เทียบ รม.11:17-24)


พระศาสนจักรถือว่า พระคริสตเจ้าซึ่งเป็นองค์สันติภาพของเรา ทรงใช้กางเขนของพระองค์

ทำให้พวกยิวและคนนอกศาสนากลับคืนดีกัน และทรงทำให้คนสองพวกนี้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในพระองค์ (เทียบ อฟ.

2:14-16)


      พระศาสนจักรนึกอยู่เสมอถึงวาทะที่อัครธรรมฑูตเปาโลพุดถึงชนชาติเดียวกัน ซึ่ง" ได้รับเลือกสรรเป็นบุตรบุญธรรม ได้

รับเกียรติมงคล  พันธสัญญาต่างๆ ธรรมบัญญัติ คารวกิจและพระสัญญาต่างๆ เขาสืบมาจากพระอัยกาและพระคริสตเจ้าทาง

ฝ่ายเนื้อหนัง ก็สืบมาจากพวกเขา"(รม.9:4-5)เป็นพระโอรสของพระนางพรหมจารีมารีย์

พระศาสนจักรยังขอเตือนให้สำเหนียกด้วยว่า บรรดาธรรมฑูตซึ่งเป็นรากฐานและหลักมั่นของ

พระศาสนจักร ตลอดจนศิษย์หมู่แรกเป็นจำนวนมากที่ประกาศข่าวดีเรื่องพระคริสตเจ้าแก่โลก ก็เกิดมาจากชนชาติยิว


        ตามข้อความในพระคัมภีร์ กรุงเยรูซาเล็มไม่รู้เวลาที่พระเป็นเจ้าเสด็จมายังชาวกรุง (เทียบ ลก.19:45) พวกยิวเป็น

ส่วนมากไม่ยอมรับข่าวดี และคนยิวที่ขัดขวางมิให้ข่าวดีแพร่หลายก็มีอยู่ไม่น้อย(เทียบ รม.11:18)ถึงกระนั้นก็ดีตามความเห็น

ของอัครธรรมฑูตเปาโล เพราะเห็นแก่บรรพบุรุษของพวกยิว พวกยิวก็ยังคงเป็นที่โปรดปรานยิ่งของพระเป็นเจ้า พระองค์

ประทานสิ่งใดหรือเรียกใครแล้วก็ไม่เคยนึกเสียพระทัยภายหลัง พร้อมกับบรรดาประกาศกและอัครธรรมฑูตองค์เดียวกันนี้

พระศาสนจักรคอยวันที่พระเป็นเจ้าแต่พระองค์เดียวทรงทราบ คือวันที่ทุกๆชาติ จะอ้อนวอน

เจ้าพระคุณเป็นเสียงเดียวกัน และ "จงรับใช้พระองค์ภายใต้แอกอันเดียวกัน" (เทียบ ปชญ.3:9;อสย.66:23;สดด.65:4;รม.

11:11-32) โดยที่พวกคริสตชนและพวกยิวมีมรดกฝ่ายจิตใจที่ประเสริฐยิ่งร่วมกันฉะนี้ พระสังคายนาใคร่ขอเตือนและกำชับให้

ทั้งสองฝ่ายทำความรู้จัก และมีความเข้าใจ นับถือกันและกัน ทั้งสองสิ่งนี้จะเกิดขึ้นด้วยการศึกษาพระคัมภีร์และเทวศาสตร์ กับ

ด้วยการเจรจา สังสรรค์กันอย่างฉันท์พี่น้อง เป็นต้น


      แม้ผู้มีอำนาจของชาวยิวบางคนกับพรรคพวก ผู้ให้ประหารชีวิตพระคริสตเจ้าก็ดี (ดู ยน.19:6)แต่สิ่งที่เขาได้กระทำใน

ระหว่างการรับทรมานของพระองค์นั้น จะยกมาเอาผิดกับชาวยิวทุกคนที่มีชีวิตอยู่ในสมัยนั้นโดยไม่เลือก หรือชาวยิวในสมัยนี้

หาได้ไม่ ถ้าหากเป็นความจริงว่าพระศาสนจักรเป็นประชากรใหม่ของพระเป็นเจ้า ก็ไม่ควรจะถือว่าชาวยิวเป็นผู้ที่พระเป็นเจ้า

ประณามและสาปแช่งเหมือนกับว่าเป็นผลจากพระคัมภีร์

ฉะนั้น เวลาอธิบายคำสอนและเทศน์สอนพระวาจาของพระเป็นเจ้า ขอให้ทุกคนระวังอย่า

สอนอะไรที่ผิดต่อความจริงเรื่องข่าวดีและจิตตารมณ์ของพระคริสตเจ้า


      นอกจากนี้ พระศาสนจักรไม่ชอบกับการเบียดเบียน รังแกมนุษย์ ทุกชาติชั้นวรรณะ ไม่ว่าจะเป็น

ใครก็ตาม เนื่องจากไม่สามารถจะลืมมรดกซึ่งมีร่วมกันกับชาวยิว กับทั้งกระตุ้นเตือนมิใช่ด้วยเหตุผลทางการเมือง


[uแต่ด้วยความรักตามแบบที่พระวรสารสอน[/u]

      พระศาสนจักรขอประณามความเกลียดชัง การเบียดเบียนข่มเหงและการแสดงเป็น

ปฏิปักษ์ต่อชาติเสมิติก ซึ่งกระทำต่อชนชาติยิวทุกครั้ง ไม่ว่าจะกระทำในสมัยใดและใครเป็นผู้กระทำก็ตาม



      อนึ่งตามที่พระศาสนจักรเคยเชื่อเสมอและยังเชื่ออยู่ว่า พระคริสตเจ้าเป็นความรักอัน

ใหญ่หลวงหาที่สุดมิได้ ทรงยอมรับทรมานและสิ้นพระชนม์ เพราะบาปของมนุษย์ทุกคน และเพื่อ

ให้มนุษย์ทุกคนบรรลุถึงความรอด ฉะนั้น หน้าที่ของพระศาสนจักรในการประกาศเทศน์ จึงต้องประกาศว่า


กางเขนของพระคริสตเจ้า เป็นเครื่องหมาย แสดง ความรักของพระเป็นเจ้าและบ่อเกิดแห่ง

พระคุณทั้งปวง


      ภราดรภาพสากลไม่ยอมให้มีการแบ่งแยกใดๆทั้งสิ้น

      5. เราวิงวอนขอพระเป็นเจ้า พระบิดาของมนุษย์ทุกคน ถ้าหากเราไม่ยอมประพฤติตนฉันท์

พี่น้องต่อเพื่อนมนุษย์ไม่ว่าใคร เพราะพระเป็นเจ้าสร้างเขามาตามพระฉายาของพระองค์ ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับ

พระเป็นเจ้าผู้เป็นพระบิดาและความสัมพันธ์ของมนุษย์ด้วยกันนั้น มีความเกี่ยวโยงถึงกันอย่างแน่นแฟ้น จนพระคัมภีร์กล่าวว่า


" ผู้ใดไม่รัก ก็ไม่รู้จักพระเป็นเจ้า " (1ยน.4:8)

         ดังนี้ ก็เท่ากับเป็นการโค่นทำลายรากฐานของทฤษฎี หรือการปฏิบัติใดๆที่ถือ การแบ่งแยกระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และ

ระหว่างชาติกับชาติในเรื่องศักดิ์ศรีและสิทธิต่างๆที่เกิดจากศักดิ์ศรีนั้น ฉะนั้น พระศาสนจักร

ขอประณามว่า การแบ่งแยกหรือเบียดเบียนรังแกใดๆที่กระทำต่อมนุษย์เพราะเรื่องชาติ ผิว ชั้น และศาสนาของเขานั้น เป็นการ

ผิดต่อจิตตารมณ์ ของพระคริสตเจ้า


        ด้วยเหตุนี้ ตามรอยของอัครธรรมฑูตเปโตรและเปาโล สภาสังคายนา ขอวิงวอน

บรรดาสัตบุรุษของพระคริสตเจ้าอย่างเร่าร้อน ให้ "ประพฤติตนให้เป็นที่น่าเคารพนับถือท่ามกลางชนชาติอื่น" (1ปต.2:12)

และถ้าเป็นไปได้ ขอให้อยู่เป็นปกติสุข กับเพื่อนมนุษย์ทุกคนเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะเป็นบุตรแท้ของพระบิดาผู้ทรงสถิตย์อยู่ใน

สวรรค์.


        ข้อความแต่ละข้อทั้งสิ้รที่ประกาศไว้ในสังฆธรรมนูญฉบับนี้ บรรดาปิตาจารย์ได้เห็นชอบแล้วนั้น อาศัยอำนาจของ

ท่านอัครธรรมฑูตซึ่งเราได้รับมอบจากพระคริสตเจ้า เราพร้อมกับบรรดาปิตาจารย์ที่เคารพเหล่านี้ในพระจิตเจ้า จึงเห็นชอบ

กำหนดและตราไว้ และสิ่งใดที่สภาสังคายนา ได้ตราขึ้น เราสั่งให้ประกาศใช้เพื่อเป็นเกียรติแด่พระเป็นเจ้า


                                                                     
                                                                        กรุงโรม ณ วิหารนักบุญเปโตร

                                                                            วันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ.1965
       
                                                                 เรา-เปาโล สังฆราชแห่งพระศาสนจักรคาทอลิก
แก้ไขล่าสุดโดย ignatius เมื่อ จันทร์ เม.ย. 21, 2008 11:36 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ตอบกลับโพส