มาทำสายประคำให้ศักสิทธิ์ด้วยตนเอง กันเถอะครับ!

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
roseofshalon
โพสต์: 173
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ต.ค. 01, 2012 12:08 pm

พุธ ต.ค. 10, 2012 2:46 pm

รูปภาพ
ถ้าเราภาวนาประคำวันละหนึ่งร้อยจบ ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลาสามปีโดยมิได้ขาด พระแม่มารีย์ พระเยซูคริสต์ จักเสด็จมาประสิทธิ์ให้ ถ้าตัวคนสวดสายประคำยังได้รับการประสิทธิ์ถึงขนาดนี้ แล้วประคำบริสุทธิ์เส้นนี้(ที่สวดจนครบตามนี้)จักยังความบริสุทธิ์ และชำระให้แก่ผู้ที่ได้ถือครองขนาดไหน

รูปภาพ
ของใช้นักบุญดีมิเทรียส (St. Demetrius) ที่มหาวิหาร Thessalonika, ประเทศกรีซ

ในต่างประเทศนิยมนำของใช้นักบุญมาเก็บรักษาสำหรับรำลึกเพราะเชื่อพลังศักสิทธิ์บริสุทธิ์เชื่อว่าช่วยให้โชคดีเนื่องจาก มีอำนาจในการป้องกันสิ่งชั่วร้าย ของใช้นักบุญจึงยังมีความนิยมและความสำคัญทางคริสต์ศาสนา ความศักดิ์สิทธิ์อันนี้อาจครอบคลุมไปถึงบริเวณที่มีวัตถุมงคลตั้งอยู่เช่นตัวเมือง เมื่อนักบุญมาร์ตินแห่งทัวร์เสียชีวิตเมื่อ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 397 หมู่บ้านระหว่างเมืองทัวร์ไปจนถึงปัวตีเย ต่างหวังได้ร่างของท่านมาเป็นสมบัติแต่เมืองทัวร์เป็นผู้ได้ไป บางครั้งความที่อยากเป็นเจ้าของทำให้มีการโขมยกันเช่นร่างของนักบุญนิโคลัสแห่งไมรา (St Nicholas of Myra) ตำนานหนึ่งว่ากลาสีจากอิตาลีไปเอามาจากบาทหลวงออร์ทอดอกซ์ที่อาร์มีเนียหลังศึกแมนซิเคิท (Battle of Manzikert) เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่าวัตถุมงคลของท่านเกือบทั้งหมดถูกนำไปไว้ที่เมืองเวนิส หรือความชื่อที่ว่าของใช้ที่เรียกว่า “รูปเอเดสสา” (Image of Edessa) ซึ่งเป็นผืนผ้าที่มีรูปพระพักตร์ของพระเยซู สามารถปกป้องเมืองไม่ให้ศัตรูเข้าเมืองได้

หลักฐานแรกที่กล่าวถึงปรากฏใน “คัมภีร์ไบเบิลฉบับคิงเจมส์” (King James' Bible) กล่าวถึงปาฏิหาริย์ว่า “เอลิชา (Elisha) ตายและถูกฝัง ปัจจุบันมีโจรเข้ามาทุกฤดูใบไม้ผลิ ครั้งหนึ่งขณะที่ชาวยิวกำลังฝังศพอยู่ เห็นโจรกลุ่มหนึ่ง ชาวยิวจึงจับโจรโยนลงไปในที่ฝังศพของเอลิชา เมื่อร่างของโจรถูกกระดูกของเอลิชา โจรฟื้นชึวิตขึ้นมาและยืนบนขาของตัวเอง”

เอกสารอีกฉบับหนึ่งที่เขียนไว้ใน “การเป็นมรณสักขีของโพลิคาร์ป” (Martyrdom of Polycarp) เมื่อระหว่างปี ค.ศ. 150 ถึงปี ค.ศ. 160 กล่าวถึงของใช้ของนักบุญโพลิคาร์ป (Polycarp) ตามเอกสาร กิจการของอัครทูต 19:11-12 กล่าวถึงผ้าเช็ดหน้าของนักบุญโพลิคาร์พว่า ได้รับอำนาจจากพระเยโฮวาห์ทำให้สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้

ตำนานปาฏิหาริย์เกื่ยวกับของใช้เริ่มมีกันมาตั้งแต่เริ่มมีมาตั้งแต่ยุคต้นของคริสต์ศาสนา แล้วนิยมแพร่หลายกันมากในยุคกลาง มีการรวบรวมเป็นหนังสือแบบที่เรียกว่า “วิทยานักบุญ” เช่น “ตำนานทอง” หรืองานเขียนโดยซีซาร์แห่งไฮสเตอร์บาค (Caesar of Heisterbach) หนังสีอเหล่านี้เป็นที่นิยมและเสาะหากันมากในสมัยยุคกลาง :s002:
แก้ไขล่าสุดโดย roseofshalon เมื่อ พฤหัสฯ. ต.ค. 11, 2012 8:03 am, แก้ไขไปแล้ว 7 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
roseofshalon
โพสต์: 173
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ต.ค. 01, 2012 12:08 pm

พุธ ต.ค. 10, 2012 2:47 pm

ของใช้ของพระเยซูมีหลายอย่าง โดยชิ้นที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายมาก เช่น

ผ้าห่อพระศพแห่งตูริน (Shroud of Turin) เชื่อกันว่าเป็นผ้าที่ใช้ห่อพระศพของพระเยซูเมื่อนำร่างลงมาจากกางเขน แต่เป็นที่ถกเถียงกันมาก เก็บรักษาที่ มหาวิหารเซนต์จอห์นแบพทิสต์ เมืองตูริน ประเทศอิตาลี
กางเขนจริง (True Cross) เชื่อกันว่าเป็นชิ้นไม้จากไม้กางเขนที่พระเยซูถูกตรึง ชิ้นไม้นี้เป็นที่เสาะหากันมากและมีการทำปลอมมากจนจอห์น คาลวิน (John Calvin) กล่าวเยาะว่าชิ้นไม้จากไม้กางเขนที่มีกันอยู่สมัยนั้นสามารถเอาไปสร้างเรือได้ทั้งลำ อย่างไรก็ตาม เมื่อเอาชิ้นไม้จากไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดที่มีอยู่ขณะนั้นมารวมกัน หนักเพียง 1.7 กิโลกรัม มีเนี้อที่ 0.04 ตารางเมตรเท่านั้น ถึงกระนั้น บางชิ้นเมื่อวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว กลับพบว่ามาจาก ค.ศ. 1870
ภาพประจำตัวสมาชิก
roseofshalon
โพสต์: 173
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ต.ค. 01, 2012 12:08 pm

พุธ ต.ค. 10, 2012 2:53 pm

การจัดระดับและการประกาศห้ามมีวัตถุมงคลในนิกายโรมันคาทอลิก

รูปภาพ
ภาพเขียนของผ้าซับพระพักตร์ของพระเยซู โดยฟรานซิสโก เดอ เซอบาราน

คริสต์ศาสนิกชนคาทอลิกชาวไทยเรียกของใช้ว่าพระธาตุ และแบ่งของใช้เป็นสามชั้น

ของใช้ชั้นหนึ่ง คือวัตถุที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตของพระเยซู (รางหญ้า, กางเขน, อื่นๆ) หรือชิ้นส่วนจากร่างของนักบุญ (กระดูก, ผม, แขน, อื่นๆ)

ตามธรรมดาแล้ววัตถุมงคลจากนักบุญที่พลีชีพมีค่ากว่านักบุญที่มิได้พลีชีพ และส่วนของร่างกายแต่ละส่วนมีค่ามากน้อยต่างกัน เช่น แขนขวาของนักบุญสตีเฟนแห่งฮังการี (King St. Stephen of Hungary) มีความสำคัญมากกว่าส่วนอื่นของร่างกายเพราะเป็นสัญลักษณ์ของฐานะการปกครองของพระองค์ หัวของนักศาสนวิทยามีค่ามากที่สุดในบรรดาร่างกายส่วนอื่น เช่น หัวของนักบูญทอมัสอควินาถูกแยกจากร่างโดยพระที่สำนักสงฆ์ที่ฟอสซาโนวาเมื่อท่านสิ้นชีวิต หรือถ้านักบุญเดินทางบ่อยกระดูกเท้าอาจสำคัญ (ตามกฏสถาบันคาทอลิกในปัจจุบันห้ามแบ่งวัตถุมงคลที่ใช้ในคริสต์ศาสนพิธีจนไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นส่วนใดของร่างกาย)

ของใช้ชั้นสอง คือ วัตถุที่นักบุญสวมใส่ (เช่นถุงเท้า ถุงมือ หรือ เสื้อ) รวมทั้งสิ่งที่เป็นของนักบุญหรือสิ่งที่นักบุญใช้บ่อย เช่นกางเขน หรือ หนังสือ สิ่งที่สำคัญเป็นพิเศษต่อนักบุญมีค่ามากกว่าสิ่งอื่น

ของใช้ชั้นสาม คือ วัตถุที่เคยสัมผัสของใช้ชั้นหนึ่งและสองมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม มีประกาศห้ามซื้อขายหรือเคลื่อนย้ายตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรระบุไว้ว่า

§1190 §1 - ห้ามการซื้อขายของใช้ศักดิ์สิทธิ์โดยเด็ดขาด

§1190 §2 - ห้ามย้ายของใช้ที่มีความสำคัญและวัตถุมงคลอื่นๆที่เป็นที่สักการะโดยมิได้มีการอนุญาตจากเขตมิสซัง
แก้ไขล่าสุดโดย roseofshalon เมื่อ พฤหัสฯ. ต.ค. 11, 2012 8:00 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
roseofshalon
โพสต์: 173
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ต.ค. 01, 2012 12:08 pm

พุธ ต.ค. 10, 2012 2:56 pm

รูปภาพ
ภาพการเคลื่อนย้ายวัตถุมงคลของนักบุญคอร์บิเนียนจากเมราโนในอิตาลีไปยังไฟรซิงในเยอรมนี (ภาพเขียนในคริพท์ของมหาวิหารไฟรซิง)

การเคลื่อนย้ายวัตถุมงคล (อังกฤษ: Translation of relics) ในคริสต์ศาสนา "การเคลื่อนย้ายวัตถุมงคล" คือการโยกย้ายสิ่งของศักสิทธิ์ (เช่นการโยกย้ายอัฐิ หรือ มงคลวัตถุที่เป็นของนักบุญ) จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งที่อาจจะเป็นคริสต์ศาสนสถานอื่น หรือ มหาวิหาร การโยกย้าย หรือ "Translation" ทำได้หลายวิธีที่รวมทั้งการทำสนธยารำลึกตลอดคืน หรือ การแบกมงคลวัตถุอันมีค่าในหีบที่ทำด้วยเงินหรือทอง ภายใต้กลดคล้ายไหม

การเคลื่อนย้ายอันเป็นพิธีรีตอง (อังกฤษ: elevatio corporis) ของมงคลวัตถุถือกันว่าเป็นพิธีที่เป็นการแสดงความยกย่องในความศักดิ์สิทธิ์ของผู้ที่ถูกเคลื่อนย้าย ที่เท่าเทียมกับการรับการแต่งตั้งให้เป็นนักบุญในสถาบันออร์ธอด็อกซ์ พิธีเคลื่อนย้ายในนิกายโรมันคาทอลิกมีจุดประสงค์เดียวกันจนกระทั่งมามีพิธีประกาศการเป็นนักบุญกันขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นมาตรฐานและตามพระประสงค์ของพระสันตะปาปา

วันเคลื่อนย้ายมงคลวัตถุของนักบุญเป็นวันที่จะฉลองแยกจากวันสมโภชน์ เช่นวันที่ 27 มกราคมเป็นวันฉลองการเคลื่อนย้ายมงคลวัตถุของนักบุญจอห์น คริสซอสตอมจากหมู่บ้านโคมานาในอาร์เมเนียที่ทรงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 407 ไปยังคอนสแตนติโนเปิล

การเคลื่อนย้ายบางครั้งก็จะเป็นการเคลื่อนย้ายทางไกล เช่นการย้ายมงคลวัตถุของนักบุญไธร์ซัสจากโซโซโพลิสในอานาโตเลียไปยังคอนสแตนติโนเปิล และ ต่อมาสเปน ลัทธินิยมนักบุญไธร์ซัสเป็นที่นิยมกันในคาบสมุทรไอบีเรียที่เป็นที่รู้จักกันในนามของนักบุญเทอร์โซ มงคลวัตถุของนักบุญไธร์ซัสบางส่วนก็ถูกนำไปยังฝรั่งเศส นักบุญไธร์ซัสจึงเป็นนักบุญของมหาวิหารซิสเตอรองในบาสอัลป์ ที่ได้รับชื่อว่ามหาวิหารโนเทรอดามเซนต์ไธร์ซัส ฉะนั้นจึงถือกันว่าทรงเป็นนักบุญผู้พิทักษ์ของซิสเตอรอง ส่วนนักบุญลิโบเรียสแห่งเลอมองส์ก็กลายเป็นนักบุญผู้พิทักษ์ของพาเดอร์บอร์นในเยอรมนีหลังจากที่มงคลวัตถุของท่านได้รับการเคลื่อนย้ายมาในปี ค.ศ. 836
ภาพประจำตัวสมาชิก
roseofshalon
โพสต์: 173
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ต.ค. 01, 2012 12:08 pm

พุธ ต.ค. 10, 2012 2:59 pm


รูปภาพ
เรลิกจาก มงกุฎหนาม
รูปภาพ
ที่ปิดเปิดจากกล่องที่บรรจุหินจากที่บรรจุพระศพของพระเยซู

เรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล (อังกฤษ: Relics of Sainte-Chapelle) คือเรลิกที่เป็นของพระเยซูที่ได้มาโดยพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในยุคกลางที่ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของอัครมุขมณฑลปารีส เดิมเรลิกหล่านี้เก็บรักษาไว้ที่แซ็งต์-ชาแปลในปารีส แต่ในปัจจุบันเป็นสมบัติของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส

สมัยกลางและสมัยใหม่ตอนต้น

นักบุญหลุยส์หรือพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสทรงสร้างแซ็งต์-ชาแปลขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เก็บรักษา "มงกุฎศักดิ์สิทธิ์", ชิ้นส่วนจากกางเขนแท้ (True Cross) และเรลิกอื่นๆ ที่ทรงซื้อจากบอลด์วินที่ 2 แห่งคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งทำให้ชาเปลที่สถานที่สำคัญในการเก็บรักษาเรลิกต่างๆ ที่รวมทั้งเรลิกของพระแม่มารีย์, หอกศักดิ์สิทธิ์, ฟองน้ำศักดิ์สิทธิ์ และภาพเอเดสซา (Image of Edessa) ที่เชื่อกันว่าเป็นภาพของพระเยซู[1] เมื่อมาถึงสมัยใหม่ตอนต้นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสก็ทรงใช้เงินในท้องพระคลังจนแทบไม่เหลือหรอ ซึ่งทำให้ต้องขายเพชรพลอย หลอมทองเพื่อใช้ในการบำรุงกองทัพ และใช้ทรัพย์สมบัติทางศาสนาเป็นทุนสำรองในยามที่ต้องการเงิน ซึ่งเมื่อมาถึงสมัยพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ทรัพย์สมบัติของชาเปลก็เหลือเพียงเท่าที่มีอยู่เมื่อมาถึงสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส
การปฏิวัติและปัจจุบัน

การปฏิวัติหมายถึงการยุติความจำเป็นในการการรักษาเรลิก และสิ่งที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เรลิกเหล่านี้ถูกมอบให้อาร์ชบิชอปแห่งปารีสในปี ค.ศ. 1804 และยังคงเป็นสมบัติของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส โดยมีอัศวินคณะพระคูหาศักดิ์สิทธิ์ (Order of the Holy Sepulchre) เป็นผู้ดูแลรักษา ทุกวันพุธแรกของเดือนก็จะมีการนำออกมาให้สักการะที่แท่นบูชาเอก ยกเว้นในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ที่อนุญาตให้ทำการสักการะได้ตลอดวัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
roseofshalon
โพสต์: 173
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ต.ค. 01, 2012 12:08 pm

พุธ ต.ค. 10, 2012 3:02 pm


รูปภาพ
รูปเคารพของนักบุญกุรีย์แห่งคาซานที่มีวัตถุมงคลฝังอยู่ด้วยในภาพ

รูปภาพ
เครื่องบรรจุวัตถุมงคลที่เซวิลล์

รูปภาพ
หีบวัตถุมงคลปิดทองของนักบุญทอรินนักบุญทอรินัส

รูปภาพ
หีบบรรจุพระกะโหลกของ
นักบุญเอลิซาเบธแห่งฮังการี
บรัสเซลส์, เบลเยียม

รูปภาพ
การแห่หีบบรรจุวัตถุมงคล
เบลเยียม

หีบวัตถุมงคล (อังกฤษ: Reliquary) หรือบางครั้งก็เรียกว่า “หีบสักการะ” หรือคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “châsse” ที่แปลว่า “หีบ” คือตู้ที่ใช้บรรจุวัตถุมงคล ที่อาจจะเป็นชิ้นส่วนจากร่างของนักบุญเช่นกระดูก ชิ้นเสื้อผ้า หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับนักบุญ หรือ บุคคลสำคัญทางศาสนา ความแท้ของสิ่งของดังกล่าวมักจะเป็นเรื่องที่โต้แย้งกัน คริสต์ศาสนสถานบางแห่งก็ระบุว่าต้องการเอกสารที่พิสูจน์ประวัติความเป็นเจ้าของ

ลักษณะรูปทรงและประวัติ

“Philatory” เป็นหีบวัตถุมงคลแบบใสที่ออกแบบเพื่อให้เห็นกระดูกหรือวัตถุมงคลของนักบุญที่บรรจุอยู่ภายใน หีบวัตถุมงคลอีกแบบหนึ่งเรียกว่า “แป้นมอนสแทรนซ์” (monstrance) ซึ่งก็เป็นอีกแบบหนึ่งที่สามารถมองเห็นสิ่งของที่บรรจุอยู่ภายในได้

เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่าวัตถุมงคลมีความสำคัญต่อทั้งผู้นับถือศาสนาฮินดู และ ศาสนาพุทธ[1][2][3] ในวัฒนธรรมของทั้งสองศาสนาวัตถุมงคลมักจะบรรจุไว้ในเจดีย์หรือวัด เพื่อให้ผู้ศรัทธาสามารถเดินทางมาทำการจาริกแสวงบุญได้

ในแอฟริกาตะวันตกสิ่งบรรจุวัตถุมงคลที่ใช้ในธรรมเนียม Bwete จะประกอบด้วยสิ่งของที่ถือว่าขลัง หรือ กระดูกของบรรพบุรุษ และมาจะมีรูปผู้พิทักษ์อยู่ด้วย
รูปเคารพของนักบุญกุรีย์แห่งคาซานที่มีวัตถุมงคลฝังอยู่ด้วยในภาพ

การใช้สิ่งบรรจุวัตถุมงคลกลายมาเป็นสิ่งสำคัญในธรรมเนียมของผู้นับถือคริสต์ศาสนามาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 วัตถุมงคลสักการะกันในคริสต์ศาสนสถานของนิกายโอเรียนทัลออร์โธด็อกซ์, อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์, โรมันคาทอลิก และบางครั้งก็ในนิกายอังกลิคันด้วย ตู้หรือหีบวัตถุมงคลเป็นสิ่งที่ใช้ป้องกันและใช้แสดงวัตถุมงคลที่เชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่ได้รับพรจากอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าให้มีพลังปาฏิหาริย์ สิ่งที่ใช้บรรจุวัตถุมงคลมีด้วยกันหลายขนาดตั้งแต่เป็นจี้หรือแหวนไปจนถึงหีบที่มีลักษณะคลายหีบศพอย่างง่ายๆ ไปจนถึงสิ่งที่ตกแต่งอย่างวิจิตร สิ่งที่ใช้บรรจุวัตถุมงคลหลายชิ้นออกแบบเพื่อการขนย้ายได้ง่าย หรือ ใช้ในการตั้งแสดงให้สาธารณชนทำการสักการะได้ หรือ ใช้ในการแห่ในกระบวนพิธีทางศาสนาในวันสมโภชน์นักบุญหรือวันสำคัญทางศาสนา นักแสวงบุญก็มักจะนิยมมาทำการสักการะวัตถุมงคลที่อาจจะทำโดยการก้มหรือจูบวัตถุมงคล

สิ่งที่ใช้บรรจุวัตถุมงคลในสมัยแรกโดยทั่วไปจะเป็นกล่องที่อาจจะเป็นแบบเรียบง่ายหรือมีลักษณะคล้ายสิ่งก่อสร้าง (ตามทรงคริสต์ศาสนสถาน) ที่เรียกกันว่า “หีบสักการะ” หรือ “chasses” สัตยกางเขน (True Cross) เป็นวัตถุมงคลเป็นที่นิยมกันในคริสต์ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมาและมาจะบรรจุในสิ่งที่เป็นทรงกางเขนที่ทำด้วยเงินหรือทอง ตกแต่งด้วยเอนาเมลและอัญมณี ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 หีบบรรจุวัตถุมงคลทรงเดียวกันกับวัตถุที่แสดงกลายมาเป็นสิ่งที่นิยมทำกัน เช่นพระเศียรของสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ก็ได้รับการบรรจุในกล่องที่เป็นทรงศีรษะ ในทำนองเดียวกันกระดูกของนักบุญก็มักจะบรรจุในกล่องที่เป็นทรงเดียวกับส่วนของกระดูกที่แสดง เช่นเท้า หรือ มือเป็นต้น

ในปลายยุคกลางก็มีการเริ่มใช้ “แป้นมอนสแทรนซ์” ที่แสดงวัตถุมงคลในผอบแก้วที่ตั้งบนท่อนโลหะ ในช่วงเดียวกันนี้ก็เริ่มมีที่บรรจุวัตถุมงคลที่เป็นเพชรพลอยที่ใช้บรรจุวัตถุมงคลขนาดเล็กเช่นหนามศักดิ์สิทธิ์จากมงกุฎหนาม

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 นักปฏิรูปเช่นมาร์ติน ลูเทอร์เป็นปฏิปักษ์ต่อการสักการะวัตถุมงคล เพราะวัตถุดังกล่าวไม่มีเครื่องพิสูจน์ได้ว่าเป็นสิ่งของที่แท้จริงตามที่กล่าว วัตถุมงคลหลายชิ้นโดยเฉพาะทางตอนเหนือของยุโรปถูกทำลายโดยกลุ่มคาลวินหรือผู้สนับสนุนระหว่างการปฏิรูปศาสนาของนิกาย โปรเตสแตนต์ บางชิ้นก็ถูกหลอมหรือถอดออกเพื่อเอาอัญมณีที่บรรจุอยู่ภายในหรือใช้ตกแต่ง แต่กระนั้นการสร้างสิ่งบรรจุวัตถุมงคลก็ยังคงทำกันอยู่จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะสำหรับประเทศที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์


:s002:
ภาพประจำตัวสมาชิก
sunofgod
โพสต์: 2477
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 8:17 pm

พุธ ต.ค. 10, 2012 8:34 pm

:s015:
เมจิ
โพสต์: 3257
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:44 pm

พุธ ต.ค. 10, 2012 8:35 pm

ขอบคุณที่เเบ่งปันค่า :s012:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ohmmiez
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ย. 20, 2011 3:28 pm

พฤหัสฯ. ต.ค. 11, 2012 6:16 pm

:s015: :s015: :s015: :s015:
เมจิ
โพสต์: 3257
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:44 pm

พฤหัสฯ. ต.ค. 11, 2012 6:23 pm

:s023: :s023: :s023: :s015: :s015: :s015: :s015:
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

ศุกร์ ต.ค. 12, 2012 12:42 pm

เกี่ยวกับพระธาตุรูปพระต่างๆเราไม่เรียกวัตถุมงคล
viewtopic.php?f=1&t=18191
ภาพประจำตัวสมาชิก
sunofgod
โพสต์: 2477
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 8:17 pm

ศุกร์ ต.ค. 12, 2012 3:27 pm

:s015:
เมจิ
โพสต์: 3257
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:44 pm

ศุกร์ ต.ค. 12, 2012 5:25 pm

ถ้าเรียกวัตถุมงคลคนพุญจะบอกว่าเราเลียดเเบบคำพูดค่ะ สัตบุรุษอะไรประมาณนั้น :s007:
littleseal
โพสต์: 1029
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ มิ.ย. 13, 2010 9:53 pm

ศุกร์ ต.ค. 12, 2012 11:23 pm

คือก็เข้าใจนะคะว่าเป็นความเชื่อในแต่ละบุคคล
ส่วนตัวหงุดหงิดทุกครั้งกับเรื่อง "วัตถุมงคล วัตถุศักดิ์สิทธิ์ พระธาตุ" มากค่ะ

::023::

ไหน ๆ ก็เป็นผู้ที่เชื่อและติดตามพระคริสตเจ้าแล้ว
ทำไมแทนที่จะยึดติดกับสิ่งของทางโลกพวกนี้
ไปยึดติดกับพระวาจาแล้วนำพระวาจาให้บังเกิดผลในชีวิตดีกว่ามั้ยคะ

สวดสายประคำทั้งวันทั้งคืนไม่ยอมวางสายประคำเลยจนตาย
แต่ไม่เคยสนใจถึงสิ่งที่พระเยซูสอนและให้ปฏิบัิติตาม
กับทำความดี มอบความรัก เสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น

การปฏิบัิติอย่างไรที่จะได้เห็นพระเป็นเจ้า

ไม่อยากให้มีความเชื่อเรื่องพระธาตุของนักบุญ
กลายเป็นความงมงายเรื่องเครื่องราง ของขลังค่ะ

ขอพระเจ้าทรงอวยพรค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
roseofshalon
โพสต์: 173
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ต.ค. 01, 2012 12:08 pm

เสาร์ ต.ค. 13, 2012 11:04 am

rosa-lee เขียน:เกี่ยวกับพระธาตุรูปพระต่างๆเราไม่เรียกวัตถุมงคล
viewtopic.php?f=1&t=18191
ขอโทษนะเรียกไม่ถูกอะ
ตอบกลับโพส