หนังสือจำลองแบบพระคริสต์

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
GMO
โพสต์: 76
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 25, 2013 5:55 pm

เสาร์ ก.ค. 06, 2013 9:02 am

จำลองแบบพระคริสต์ ได้ดูในยูทูปแล้วอยากได้ไว้อ่านสักเล่มครับ หนังสือจำลองแบบพระคริสต์ พอหาได้ที่ไหนครับ พี่น้อง

รูปภาพ
แก้ไขล่าสุดโดย GMO เมื่อ พุธ ส.ค. 28, 2013 9:29 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
salvation7
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 522
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 31, 2010 1:05 am
ติดต่อ:

เสาร์ ก.ค. 06, 2013 10:20 am

หาซื้อได้ที่ ศาสนภัณฑ์อัสสัมชัญ
หรือไม่ก็ศาสนภัณฑ์มหาไถ่ค่ะ

เล่มสีขาวนวล 2 ภาษา

ถ้า Online ใน webbord นี้ ก็ตาม Linkนี้เลยจ๊ะ
GMO
โพสต์: 76
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 25, 2013 5:55 pm

เสาร์ ก.ค. 06, 2013 11:04 am

salvation7 เขียน:หาซื้อได้ที่ ศาสนภัณฑ์อัสสัมชัญ
หรือไม่ก็ศาสนภัณฑ์มหาไถ่ค่ะ

เล่มสีขาวนวล 2 ภาษา

ถ้า Online ใน webbord นี้ ก็ตาม Linkนี้เลยจ๊ะ
ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5975
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ก.ค. 08, 2013 8:03 pm

เป็นหนังสือที่ดีมากๆ :s002:
ภาพประจำตัวสมาชิก
salvation7
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 522
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 31, 2010 1:05 am
ติดต่อ:

พฤหัสฯ. ก.ค. 11, 2013 12:18 am

rosa-lee เขียน:เป็นหนังสือที่ดีมากๆ :s002:
ใช่ค่ะ เป็นหนังสือที่ดีมาก ๆ แต่น้อยคนที่จะเลียนแบบได้ หลายคน เลือกปฏิบัติกันซะส่วนใหญ่ เพราะอยากจะสบาย ไม่อยากลำบาก...

ใครอ่านแล้วนำไปปฏิบัติได้ อย่างพระอาจารย์ นั้นสุดยอดหล่ะค่ะ ขอยอมรับ และนับถือค่ะ
GMO
โพสต์: 76
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 25, 2013 5:55 pm

จันทร์ ก.ค. 15, 2013 3:44 pm

salvation7 เขียน:
rosa-lee เขียน:เป็นหนังสือที่ดีมากๆ :s002:
ใช่ค่ะ เป็นหนังสือที่ดีมาก ๆ แต่น้อยคนที่จะเลียนแบบได้ หลายคน เลือกปฏิบัติกันซะส่วนใหญ่ เพราะอยากจะสบาย ไม่อยากลำบาก...

ใครอ่านแล้วนำไปปฏิบัติได้ อย่างพระอาจารย์ นั้นสุดยอดหล่ะค่ะ ขอยอมรับ และนับถือค่ะ
หากเราเป็นคนบาปแล้วสารภาพความผิดบาปต่อพระเจ้าพระเยซู
และได้รับบัพติสมาตายจากคนเก่าแล้วเป็นคนใหม่ในพระคริสต์
พระวิญญาณบริสุทธิ์ที่อยู่ภายในเราจะร่วมผสมผสานเป็นหนึ่งกับวิญญาณของเรา
นอกจากยี้เราจำต้องหมั่นอธิษบาฯสารภาพความผิดบาปที่อยู่ภายในเราออกมา
ยิ่งอธิษฐานสารภาพความผิดบาปมากก็จะพบความผิดบาปมาก

การอ่านพระคัมภีร์คือพระคำของพระเจ้าและร่วมดำเนินชีวิตคริสตจักรร่วมกับพี่น้องในพระคริสจะเปลี่ยนแปลงเราให้เป็นคนใหม่ในพระคริส
เราจำต้องถอดแบบพระคริส และเราเป็นแม่พิมพ์ใหม่ในพระวิญญาณ

การใช้กำลังของเนื้อหนังของเราไม่สามารถทำได้สำเร็จไม่ว่าเราจะอ่านตำราเล่มใดก็ตาม
วันนี้เราจำต้องยอมจำนนต่อพระเจ้าพระวิญญาณของเราก็จะเปลี่ยนแปลงตัวเองในที่สุด

อธิษฐาน อ่านพระคัมภีร์ ร่วมประชุมคริสจักรในยามปกติ เราก็จะเติบโตเป็นดังการถอดแบบของพระเจ้าในที่สุด
GMO
โพสต์: 76
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 25, 2013 5:55 pm

จันทร์ ก.ค. 15, 2013 3:49 pm


ดนอ.12:3        และบรรดาคนที่ฉลาด จะส่องแสงเหมือนแสงรัศมี ในพื้นฟ้าอากาศ และบรรดาผู้ที่ทำให้คนเป็นอันมาก หันมาสู่ความชอบธรรม จะส่องแสงเหมือนดวงดาว เป็นนิจนิรันดร์.
วว.1:20           คือข้อลับลึก แห่งดวงดาวทั้งเจ็ดดวง ซึ่งเจ้าเห็นอยู่ในมือขวาของเรา และข้อลับลึก แห่งคันประทีปทองคำทั้งเจ็ดนั้น: ดวงดาวเจ็ดดวงก็คือ ทูตของคริสตจักรทั้งเจ็ด และคันประทีปเจ็ดคัน ก็คือคริสตจักรทั้งเจ็ด.
ไม่เพียงพระคริสต์เท่านั้น ที่เป็นดวงดาว [เทียบ อฤธ.24:17] แต่เหล่าผู้ติดตามพระองค์ ซึ่งก็คือผู้ที่ส่องสว่าง อยู่ในคริสตจักรทั้งหลาย ก็เป็นดวงดาวด้วยเช่นกัน. ในหนังสือกิจการ และหนังสือจดหมาย บรรดาผู้นำพาถูกเรียกว่า ผู้อาวุโส แต่ในหนังสือเล่มสุดท้าย ของพระคัมภีร์ พวกเขาเป็นดวงดาว. ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องของชื่อเรียก หรือตำแหน่ง แต่เป็นเรื่องของการส่องสว่าง. ผู้ที่มีชีวิตทุกคน ในคริสตจักรท้องถิ่นทั้งหลาย จำต้องเป็นดวงดาวที่ส่องแสง.
 
การเป็นดวงดาวนั้น หมายความว่าอะไร? ดานิเอล 12:3 ให้คำตอบว่า "และบรรดาคนที่ฉลาด จะส่องแสงเหมือนแสงรัศมี ในพื้นฟ้าอากาศ และบรรดาผู้ที่ทำให้คนเป็นอันมาก หันมาสู่ความชอบธรรม จะส่องแสงเหมือนดวงดาว เป็นนิจนิรันดร์." ดวงดาวคือคนเหล่านั้น ที่ส่องสว่างในความมืด และหันผู้คนจากหนทางที่ผิด มาสู่หนทางที่ถูกต้อง. บัดนี้ในระหว่างยุคของคริสตจักร เป็นช่วงเวลากลางคืน. ดังนั้น เราจึงต้องการ การส่องสว่างของดวงดาว. บรรดาผู้นำพาในคริสตจักรท้องถิ่นทุกคน ไม่ควรอวดอ้างถึงตำแหน่งของตน. พวกเขาไม่ควรกล่าวว่า "ข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในผู้อาวุโส. ท่านต้องยอมรับข้าพเจ้า." หากพวกเขากล่าวเช่นนี้ พวกเขาก็อยู่ในความมืด. เราต้องการพี่น้องชายหญิงที่ส่องสว่าง. เราต้องการดวงดาวที่ส่องแสง. โดยอาศัยการส่องสว่างสู่ความมืดในวันนี้ ผู้คนก็จะได้รับการชี้นำ และหันออกจากทางที่ผิด มาสู่หนทางที่ถูกต้อง. ทุกสิ่งที่ผิดล้วนแต่ไม่ชอบธรรม. ส่วนทุกสิ่งที่ถูกต้อง ก็ย่อมชอบธรรม. คนเหล่านั้น ที่ทำให้คนเป็นอันมาก หันมาสู่ความชอบธรรม ก็คือดวงดาวซึ่งส่องแสงอยู่ ตลอดไปเป็นนิตย์. (Finding Christ by the Living Star, pp. 24-25)
 

ในตอนต้นของพันธสัญญาใหม่ มีดวงดาวเพียงดวงเดียว ที่อยู่ในสวรรค์ แต่ในตอนท้ายของพันธสัญญาใหม่ มีดวงดาวเจ็ดดวง ที่อยู่ในคริสตจักรท้องถิ่นทั้งเจ็ด. ในคริสตจักรท้องถิ่นทุกแห่ง ล้วนแต่มีดวงดาว. ในคริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่ง มีบางสิ่งที่ส่องสว่าง, ที่คอยนำพาผู้คนไปยังทางที่ถูกต้อง...ในวันนี้ดวงดาว ก็อยู่ในคริสตจักรท้องถิ่นทั้งหลาย. พระคัมภีร์จบลงด้วยถ้อยคำที่ว่า "เราเป็นราก และเป็นเชื้อสายของดาวิด เราเป็นดาวประจำรุ่งอันสุกใส. พระวิญญาณนั้น และเจ้าสาวก็ว่า 'เชิญมาเถิด!'" (วว.22:16-17). ในวันนี้ดวงดาวอยู่ร่วมกับ พระวิญญาณนั้นและเจ้าสาว. พระวิญญาณนั้นอยู่ที่ไหน ดวงดาวก็อยู่ที่นั่น. เจ้าสาว ซึ่งก็คือคริสตจักรอยู่ที่ไหน ดวงดาวก็อยู่ที่นั่น.
 
ในพระคัมภีร์เราไม่เพียงมองเห็นว่า เราจะติดตามดวงดาวอย่างไร แต่เราจะกลายเป็นหนึ่ง ในดวงดาวเหล่านั้น. หนทางที่จะกลายเป็นดวงดาว มีอยู่ด้วยกันสองหนทาง: หนทางแรกคือ โดยพระคัมภีร์ และหนทางที่สอง คือโดยพระวิญญาณ.
 
2 เปโตร 1:19 ให้เคล็ดลับประการแรกแก่เรา: "และเรามีถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ ที่แน่นอนยิ่งขึ้น ซึ่งท่านทั้งหลายได้ใส่ใจ ในถ้อยคำเหล่านี้ ดุจดังใส่ใจต่อตะเกียง ที่ส่องแสงอยู่ในที่มืด จนแสงอรุณจะเบิกฟ้า และดาวประจำรุ่งจะผุดขึ้น ในใจของท่านทั้งหลาย." เรามีถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ นั่นก็คือพระคัมภีร์. ทว่า ถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ ไม่ใช่ดวงดาว. พระคัมภีร์ไม่ใช่ดวงดาว. แล้วเราจะทำอย่างไร? ข้อนี้กล่าวว่า ในเมื่อเรามีถ้อยคำ ของผู้เผยพระวจนะ เราก็ต้องใส่ใจในถ้อยคำเหล่านี้ เราต้องให้ความสนใจ ต่อถ้อยคำเหล่านี้ จนกว่าแสงอรุณจะเบิกฟ้า และดาวประจำรุ่งจะผุดขึ้น ในใจของเรา....ดาวดวงนี้เรืองแสง โดยนำความสว่าง ส่องเข้ามาในความมืด....หากเราอ่านพระคำอย่างมีชีวิตชีวา และถูกต้อง พระคำย่อมเปลี่ยนเป็นพระคริสต์ ผู้ทรงพระชนม์อย่างแน่นอน. นี่เป็นจุดหันเปลี่ยน – พระคำจำต้องเปลี่ยน เป็นพระคริสต์. ถ้อยคำที่เป็นตัวอักษร ต้องเปลี่ยนเป็นถ้อยคำที่มีชีวิต. เราไม่อาจแยกพระคริสต์ ออกจากพระคำที่มีชีวิตได้. เราต้องใส่ใจต่อถ้อยคำ ของผู้เผยพระวจนะ จนกระทั่งถ้อยคำนี้ ผุดขึ้นภายในเรา กลายเป็นพระคริสต์, เป็นดวงดาว ที่เรืองแสงออกมา และเป็นเหมือนแสงอรุณ ที่พุ่งทะลุผ่านกลางคืน.
 
การมีพระคัมภีร์อยู่ในมือเป็นเรื่องหนึ่ง ส่วนการใส่ใจต่อพระคำ จนดาวประจำรุ่ง ผุดขึ้นในใจของท่านนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง. การมีความรู้เกี่ยวกับพระคัมภีร์ เป็นเรื่องหนึ่ง แต่การมีดวงดาวที่ส่องแสงผุดขึ้น ในวิญญาณของท่านนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง....สิ่งที่เราต้องการในวันนี้ คือนำพระคำเข้าสู่ตัวเรา, ใส่ใจต่อพระคำที่มีชีวิต จนกว่าบางสิ่งที่อยู่ภายใน จะผุดขึ้นและ ส่องสว่างอยู่ในใจของเรา. จากนั้นเราก็จะมีดวงดาว แล้วเราก็จะสามารถ กลายเป็นดวงดาว. นี่ไม่เพียงเป็นความรู้ เกี่ยวกับพระคริสต์ แต่คือตัวของพระคริสต์เอง ในฐานะดวงดาวที่มีชีวิต.  
GMO
โพสต์: 76
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 25, 2013 5:55 pm

จันทร์ ก.ค. 15, 2013 3:51 pm

GMO เขียน:
ดนอ.12:3        และบรรดาคนที่ฉลาด จะส่องแสงเหมือนแสงรัศมี ในพื้นฟ้าอากาศ และบรรดาผู้ที่ทำให้คนเป็นอันมาก หันมาสู่ความชอบธรรม จะส่องแสงเหมือนดวงดาว เป็นนิจนิรันดร์.
วว.1:20           คือข้อลับลึก แห่งดวงดาวทั้งเจ็ดดวง ซึ่งเจ้าเห็นอยู่ในมือขวาของเรา และข้อลับลึก แห่งคันประทีปทองคำทั้งเจ็ดนั้น: ดวงดาวเจ็ดดวงก็คือ ทูตของคริสตจักรทั้งเจ็ด และคันประทีปเจ็ดคัน ก็คือคริสตจักรทั้งเจ็ด.
ไม่เพียงพระคริสต์เท่านั้น ที่เป็นดวงดาว [เทียบ อฤธ.24:17] แต่เหล่าผู้ติดตามพระองค์ ซึ่งก็คือผู้ที่ส่องสว่าง อยู่ในคริสตจักรทั้งหลาย ก็เป็นดวงดาวด้วยเช่นกัน. ในหนังสือกิจการ และหนังสือจดหมาย บรรดาผู้นำพาถูกเรียกว่า ผู้อาวุโส แต่ในหนังสือเล่มสุดท้าย ของพระคัมภีร์ พวกเขาเป็นดวงดาว. ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องของชื่อเรียก หรือตำแหน่ง แต่เป็นเรื่องของการส่องสว่าง. ผู้ที่มีชีวิตทุกคน ในคริสตจักรท้องถิ่นทั้งหลาย จำต้องเป็นดวงดาวที่ส่องแสง.
 
การเป็นดวงดาวนั้น หมายความว่าอะไร? ดานิเอล 12:3 ให้คำตอบว่า "และบรรดาคนที่ฉลาด จะส่องแสงเหมือนแสงรัศมี ในพื้นฟ้าอากาศ และบรรดาผู้ที่ทำให้คนเป็นอันมาก หันมาสู่ความชอบธรรม จะส่องแสงเหมือนดวงดาว เป็นนิจนิรันดร์." ดวงดาวคือคนเหล่านั้น ที่ส่องสว่างในความมืด และหันผู้คนจากหนทางที่ผิด มาสู่หนทางที่ถูกต้อง. บัดนี้ในระหว่างยุคของคริสตจักร เป็นช่วงเวลากลางคืน. ดังนั้น เราจึงต้องการ การส่องสว่างของดวงดาว. บรรดาผู้นำพาในคริสตจักรท้องถิ่นทุกคน ไม่ควรอวดอ้างถึงตำแหน่งของตน. พวกเขาไม่ควรกล่าวว่า "ข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในผู้อาวุโส. ท่านต้องยอมรับข้าพเจ้า." หากพวกเขากล่าวเช่นนี้ พวกเขาก็อยู่ในความมืด. เราต้องการพี่น้องชายหญิงที่ส่องสว่าง. เราต้องการดวงดาวที่ส่องแสง. โดยอาศัยการส่องสว่างสู่ความมืดในวันนี้ ผู้คนก็จะได้รับการชี้นำ และหันออกจากทางที่ผิด มาสู่หนทางที่ถูกต้อง. ทุกสิ่งที่ผิดล้วนแต่ไม่ชอบธรรม. ส่วนทุกสิ่งที่ถูกต้อง ก็ย่อมชอบธรรม. คนเหล่านั้น ที่ทำให้คนเป็นอันมาก หันมาสู่ความชอบธรรม ก็คือดวงดาวซึ่งส่องแสงอยู่ ตลอดไปเป็นนิตย์.
 

ในตอนต้นของพันธสัญญาใหม่ มีดวงดาวเพียงดวงเดียว ที่อยู่ในสวรรค์ แต่ในตอนท้ายของพันธสัญญาใหม่ มีดวงดาวเจ็ดดวง ที่อยู่ในคริสตจักรท้องถิ่นทั้งเจ็ด. ในคริสตจักรท้องถิ่นทุกแห่ง ล้วนแต่มีดวงดาว. ในคริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่ง มีบางสิ่งที่ส่องสว่าง, ที่คอยนำพาผู้คนไปยังทางที่ถูกต้อง...ในวันนี้ดวงดาว ก็อยู่ในคริสตจักรท้องถิ่นทั้งหลาย. พระคัมภีร์จบลงด้วยถ้อยคำที่ว่า "เราเป็นราก และเป็นเชื้อสายของดาวิด เราเป็นดาวประจำรุ่งอันสุกใส. พระวิญญาณนั้น และเจ้าสาวก็ว่า 'เชิญมาเถิด!'" (วว.22:16-17). ในวันนี้ดวงดาวอยู่ร่วมกับ พระวิญญาณนั้นและเจ้าสาว. พระวิญญาณนั้นอยู่ที่ไหน ดวงดาวก็อยู่ที่นั่น. เจ้าสาว ซึ่งก็คือคริสตจักรอยู่ที่ไหน ดวงดาวก็อยู่ที่นั่น.
 
ในพระคัมภีร์เราไม่เพียงมองเห็นว่า เราจะติดตามดวงดาวอย่างไร แต่เราจะกลายเป็นหนึ่ง ในดวงดาวเหล่านั้น. หนทางที่จะกลายเป็นดวงดาว มีอยู่ด้วยกันสองหนทาง: หนทางแรกคือ โดยพระคัมภีร์ และหนทางที่สอง คือโดยพระวิญญาณ.
 
2 เปโตร 1:19 ให้เคล็ดลับประการแรกแก่เรา: "และเรามีถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ ที่แน่นอนยิ่งขึ้น ซึ่งท่านทั้งหลายได้ใส่ใจ ในถ้อยคำเหล่านี้ ดุจดังใส่ใจต่อตะเกียง ที่ส่องแสงอยู่ในที่มืด จนแสงอรุณจะเบิกฟ้า และดาวประจำรุ่งจะผุดขึ้น ในใจของท่านทั้งหลาย." เรามีถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ นั่นก็คือพระคัมภีร์. ทว่า ถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ ไม่ใช่ดวงดาว. พระคัมภีร์ไม่ใช่ดวงดาว. แล้วเราจะทำอย่างไร? ข้อนี้กล่าวว่า ในเมื่อเรามีถ้อยคำ ของผู้เผยพระวจนะ เราก็ต้องใส่ใจในถ้อยคำเหล่านี้ เราต้องให้ความสนใจ ต่อถ้อยคำเหล่านี้ จนกว่าแสงอรุณจะเบิกฟ้า และดาวประจำรุ่งจะผุดขึ้น ในใจของเรา....ดาวดวงนี้เรืองแสง โดยนำความสว่าง ส่องเข้ามาในความมืด....หากเราอ่านพระคำอย่างมีชีวิตชีวา และถูกต้อง พระคำย่อมเปลี่ยนเป็นพระคริสต์ ผู้ทรงพระชนม์อย่างแน่นอน. นี่เป็นจุดหันเปลี่ยน – พระคำจำต้องเปลี่ยน เป็นพระคริสต์. ถ้อยคำที่เป็นตัวอักษร ต้องเปลี่ยนเป็นถ้อยคำที่มีชีวิต. เราไม่อาจแยกพระคริสต์ ออกจากพระคำที่มีชีวิตได้. เราต้องใส่ใจต่อถ้อยคำ ของผู้เผยพระวจนะ จนกระทั่งถ้อยคำนี้ ผุดขึ้นภายในเรา กลายเป็นพระคริสต์, เป็นดวงดาว ที่เรืองแสงออกมา และเป็นเหมือนแสงอรุณ ที่พุ่งทะลุผ่านกลางคืน.
 
การมีพระคัมภีร์อยู่ในมือเป็นเรื่องหนึ่ง ส่วนการใส่ใจต่อพระคำ จนดาวประจำรุ่ง ผุดขึ้นในใจของท่านนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง. การมีความรู้เกี่ยวกับพระคัมภีร์ เป็นเรื่องหนึ่ง แต่การมีดวงดาวที่ส่องแสงผุดขึ้น ในวิญญาณของท่านนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง....สิ่งที่เราต้องการในวันนี้ คือนำพระคำเข้าสู่ตัวเรา, ใส่ใจต่อพระคำที่มีชีวิต จนกว่าบางสิ่งที่อยู่ภายใน จะผุดขึ้นและ ส่องสว่างอยู่ในใจของเรา. จากนั้นเราก็จะมีดวงดาว แล้วเราก็จะสามารถ กลายเป็นดวงดาว. นี่ไม่เพียงเป็นความรู้ เกี่ยวกับพระคริสต์ แต่คือตัวของพระคริสต์เอง ในฐานะดวงดาวที่มีชีวิต.  
GMO
โพสต์: 76
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 25, 2013 5:55 pm

จันทร์ ก.ค. 15, 2013 3:53 pm


2ปต.1:19        และเรามีถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ ที่แน่นอนยิ่งขึ้น ซึ่งท่านทั้งหลายได้ใส่ใจ ในถ้อยคำเหล่านี้ ดุจดังใส่ใจต่อตะเกียง ที่ส่องแสงอยู่ในที่มืด จนแสงอรุณจะเบิกฟ้า และดาวประจำรุ่งจะผุดขึ้น ในใจของท่านทั้งหลาย.
วว.3:1            จงเขียนจดหมาย ถึงทูตของคริสตจักร ที่อยู่ในเมืองซัรไดว่า'องค์ผู้มีพระวิญญาณ ทั้งเจ็ดของพระเจ้า และมีดวงดาวทั้งเจ็ดนั้น ตรัสดังนี้ว่า 'เรารู้ถึงการประพฤติของเจ้าว่า เจ้ามีชื่อว่าเป็นอยู่ แต่แท้จริงได้ตายเสียแล้ว.
เปโตรได้เปรียบถ้อยคำ ที่ได้พยากรณ์ไว้ ในพระคัมภีร์ เป็นเหมือนตะเกียงที่ส่องแสง อยู่ในที่มืด. กรณีนี้บ่งชี้ว่า (1) ยุคปัจจุบันนี้คือ ที่มืดแห่งราตรีกาล (รม.13:12) และมนุษย์โลกทุกคน ล้วนเคลื่อนไหวและกระทำการ อยู่ในความมืด (2) ถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ ในพระคัมภีร์ ซึ่งเปรียบเหมือนตะเกียง ที่ส่องแสงแก่ผู้เชื่อนั้น ได้ถ่ายทอดแสงสว่างฝ่ายวิญญาณ ที่ฉายส่องอยู่ใน ความมืดของพวกเขา (ไม่เพียงแต่เป็นความรู้ ที่เป็นตัวอักษร ซึ่งเข้าใจได้ในความคิดเท่านั้น) เพื่อนำพาเขาให้เข้าสู่กลางวัน...วันที่องค์พระผู้เป็นเจ้า จะเสด็จมาปรากฏ....ก่อนที่องค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นแสงอรุณจะมาปรากฏ เราต้องการให้ความสว่าง แห่งถ้อยคำของพระองค์ มาส่องสว่างแก่ย่างก้าวของเรา. (2ปต.1:19, คำอธิบาย2)
 
แสงอรุณเบิกฟ้า เป็นคำอุปมาที่บรรยายถึง กาลเวลาที่เต็มด้วยความสว่าง ซึ่งจะมาถึง เช่นเดียวกับเวลาที่แสงอรุณเบิกฟ้า โดยจะมีดาวประจำรุ่ง ผุดขึ้นในใจของผู้เชื่อ ก่อนที่รุ่งอรุณจะมาถึง. ผู้เชื่อเหล่านี้ได้รับแสงสว่าง และถูกส่องสว่างให้กระจ่างแจ้ง เพราะได้ใส่ใจต่อถ้อยคำ ที่ส่องสว่างในคำพยากรณ์ ที่อยู่ในพระคัมภีร์...สิ่งนี้จะชักนำและหนุนใจ เขาเหล่านั้นให้กระหาย ที่จะแสวงหา การสถิตอยู่ของพระองค์ และระวังระไว เพื่อเขาทั้งหลายจะไม่พลาด ที่จะพบกับพระองค์ ในการเสด็จกลับมา (พารุสเซีย) ในส่วนที่ซ่อนเร้น ขององค์พระผู้เป็นเจ้า เมื่อพระองค์จะเสด็จมาดุจขโมย....ดังนั้น อุปมานี้ควรจะชี้ถึงยุคหน้า ซึ่งก็คือยุคแห่งอาณาจักร อันเป็นแสงอรุณที่จะส่องแสง ในเวลาที่พระองค์จะมาปรากฏ (เสด็จกลับมา) (ข้อ 16) เป็นดวงตะวัน แห่งความชอบธรรม (มลค.4:2) ซึ่งความสว่างของพระองค์ จะฉายส่องพุ่งทะลุความมืดมน แห่งราตรีกาลของยุคปัจจุบันนี้. (2ปต.1:19, คำอธิบาย 4)
 

ในช่วงเวลาที่มืดมนที่สุด แห่งราตรีกาล องค์พระผู้เป็นเจ้า จะปรากฏเหมือนดาวประจำรุ่ง (วว.2:28; 22:16) แก่บรรดาคนที่เฝ้าระวัง และเฝ้าหวังคอยการปรากฏ ที่น่ารักของพระองค์ (2ตธ.4:8). พวกเขาได้รับการส่องสว่าง โดยความสว่างแห่งถ้อยคำ ของผู้เผยพระวจนะ ซึ่งสามารถนำเขาทั้งหลาย มาถึงยามรุ่งอรุณ. ถ้าเราใส่ใจต่อถ้อยคำ ในพระคัมภีร์...เราก็จะได้รับแสงนี้ ผุดขึ้นในใจของเรา เพื่อส่องสว่างเข้าไปในความมืดมน แห่งการทรยศที่เราได้เผชิญนั้น ก่อนที่พระคริสต์ จะเสด็จมาปรากฏอย่างแท้จริง ดุจดาวประจำรุ่ง. (2ปต.1:19, คำอธิบาย 4)
 
พระวิญญาณทั้งเจ็ดของพระเจ้า มีไว้เพื่อเพิ่มกำลัง ให้คริสตจักรมีชีวิตเป็นอยู่ และดาวทั้งเจ็ดดวงนั้น เพื่อเพิ่มกำลัง ให้คริสตจักรสว่างไสว.สำหรับคริสตจักร ที่อยู่ในเมืองเอเฟโซ พระคริสต์ทรงเป็นผู้ถือดาวทั้งเจ็ด ไว้ในพระหัตถ์ และดำเนินอยู่ท่ามกลาง คันประทีปทั้งเจ็ด. คริสตจักรในสมัยแรกเริ่ม ต้องได้รับการดูแลของพระคริสต์ และผู้นำของคริสตจักร ก็ต้องการพระคุณ แห่งการคุ้มครองของพระองค์ด้วย. สำหรับคริสตจักร ที่อยู่ในเมืองซะมุระนานั้น พระคริสต์ทรงเป็นผู้เคยตายแล้ว ยังมีชีวิตอยู่อีก. คริสตจักรที่ทนทุกข์ ต้องการชีวิตแห่งการเป็นขึ้น ของพระคริสต์. สำหรับคริสตจักร ที่อยู่ในเมืองเประฆาโมนั้น พระคริสต์ทรงเป็นผู้ถือ พระแสงดาบสองคม. คริสตจักรที่ตกต่ำและอยู่ฝ่ายโลก ต้องการพระคำแห่งการพิพากษา และการประหารของพระคริสต์. สำหรับคริสตจักร ที่อยู่ในเมืองธุอาไตระนั้น พระคริสต์ทรงเป็นผู้มีพระเนตร ดั่งเปลวเพลิง และพระบาทดุจทองเหลืองสุกปลั่ง. คริสตจักรที่ทรยศ ต้องได้รับการสำรวจ และการพิพากษาของพระคริสต์. ในที่นี้สำหรับคริสตจักร ที่อยู่ในเมืองซัรไดนั้น พระคริสต์ทรงเป็น ผู้มีพระวิญญาณทั้งเจ็ดของพระเจ้า และดาวทั้งเจ็ดดวง.คริสตจักรที่ผ่านการปฏิรูป ซึ่งตกอยู่ในความตายนั้น ต้องการพระวิญญาณ ที่เพิ่มกำลังเจ็ดเท่าของพระเจ้า และผู้นำที่ส่องสว่าง. พระวิญญาณที่เพิ่มกำลังเจ็ดเท่านี้ ทรงพระชนม์อยู่ และไม่อาจแทนที่ด้วย ความรู้แห่งตัวอักษรที่ตายแล้วได้ (2กธ.3:6). (วว.3:1, )
 
ใน 2 เปโตรเรามีถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะ แต่ในวิวรณ์ เรามีพระวิญญาณทั้งเจ็ด. วิวรณ์ 3:1 กล่าวว่า "องค์ผู้มีพระวิญญาณ ทั้งเจ็ดของพระเจ้า และมีดวงดาวทั้งเจ็ดนั้น ตรัสดังนี้ว่า." ในพระหัตถ์ของพระเยซู ไม่เพียงถือดวงดาวทั้งเจ็ด แต่ถือพระวิญญาณทั้งเจ็ดด้วย. กรณีนี้หมายความว่า พระวิญญาณทั้งเจ็ดเป็นหนึ่ง กับดวงดาวทั้งเจ็ด และดวงดาวทั้งเจ็ด ก็เป็นหนึ่งกับพระวิญญาณทั้งเจ็ด. หากเรามีพระคำที่มีชีวิต ผุดขึ้นอยู่ภายในของเรา ดุจดาวประจำรุ่ง และเราเป็นหนึ่ง กับพระวิญญาณทั้งเจ็ด สุดท้ายเราก็จะกลายเป็นดวงดาว. เราไม่เพียงมีดวงดาวส่องแสง อยู่ภายในเรา แต่โดยการเพ่งมองไปยังดวงดาว และติดตามพระวิญญาณนั้น เราก็จะกลายเป็นดวงดาว.  
GMO
โพสต์: 76
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 25, 2013 5:55 pm

อังคาร ก.ค. 16, 2013 6:58 am

ถ้อยคำที่เกี่ยวกับวิญญาณมนุษย์ และด้านต่างๆ ของพระคริสต์ ที่ถูกเปิดเผยไว้ในซะคาระยา เพื่อการเคลื่อนไหวของพระองค์ บนแผ่นดินโลก

ซคย.12:1 ภาระแห่งพระคำของพระยะโฮวา ว่าด้วยเรื่องอิสราเอล. พระยะโฮวา ผู้ทรงขึงฟ้าสวรรค์ทั้งหลาย และทรงวางฐานรากแห่งแผ่นดินโลก และทรงสร้างวิญญาณไว้ ภายในมนุษย์.

ยฮ.4:24 พระเจ้าทรงเป็นพระวิญญาณ และผู้ที่นมัสการพระองค์ ต้องนมัสการในวิญญาณ และความสัตย์จริง.

1กธ.2:15 มีเพียงมนุษย์ฝ่ายวิญญาณ จึงเห็นแจ้งถึงสิ่งสารพัดได้ แต่ไม่ผู้ใดจะเห็นแจ้งถึงเขาได้.

ในการเนรมิตสร้างของพระเจ้า พระองค์ทรงสร้างสามสิ่ง ที่เป็นจุดชี้ขาด และมีความสำคัญเท่าเทียมกัน - ฟ้าสวรรค์, แผ่นดินโลก, และวิญญาณของมนุษย์. ฟ้าสวรรค์มีไว้ สำหรับแผ่นดินโลก, แผ่นดินโลก มีไว้สำหรับมนุษย์, และมนุษย์ถูกพระเจ้าเนรมิตสร้าง ให้มีวิญญาณ เพื่อเขาจะติดต่อพระเจ้า, ต้อนรับพระเจ้า, นมัสการพระเจ้า, ดำเนินชีวิตพระเจ้า, สำเร็จพระประสงค์ของพระเจ้า เพื่อพระเจ้า, และเป็นหนึ่งกับพระเจ้า. ในแผนการบริหารของพระองค์นั้น พระเจ้าทรงวางโครงการ ให้พระคริสต์เป็นศูนย์กลาง และการแพร่หลาย แห่งการเคลื่อนไหวของพระองค์ บนแผ่นดินโลก. ถ้าพลไพร่ซึ่งพระองค์ทรงเลือกสรร จะเอาใส่ใจต่อพระองค์ ในฐานะที่ทรงเป็นผู้เนรมิตสร้าง และพระผู้ไถ่ พระเจ้าก็จะต้องเนรมิตสร้างอวัยวะ สำหรับต้อนรับ เพื่อให้พวกเขามีศักยภาพ ที่จะต้อนรับทุกสิ่ง ที่พระคริสต์ทรงเป็น ตามที่พระเจ้าทรงวางโครงการไว้. ดังนั้นซะคาระยาจึงกำชับ ให้เราใส่ใจต่อวิญญาณมนุษย์ของเรา อย่างเต็มที่ เพื่อเราจะได้ต้อนรับพระคริสต์ ที่ถูกเปิดเผยไว้ในหนังสือเล่มนี้ และจะเข้าใจทุกสิ่ง ที่เกี่ยวกับพระองค์ ซึ่งถูกเปิดเผยไว้ได้ (อฟ.1:17-18ก; 3:5). (ซคย.12:1 คำอธิบาย 2)

ใน 1กธ.2:14 คำว่า ฝ่ายวิญญาณ ชี้ถึงวิญญาณของมนุษย์ ที่ถูกพระวิญญาณของพระเจ้ากระตุ้น ให้เกิดการใช้งานอย่างเต็มที่ จนได้แทนที่การบังคับบัญชา และการควบคุมแห่งจิตที่มีต่อมนุษย์. มนุษย์จึงเห็นแจ้ง ถึงเรื่องราวแห่งพระวิญญาณ ของพระเจ้าได้ ก็โดยวิญญาณนี้เอง. คนเช่นนี้ก็คือ มนุษย์ฝ่ายวิญญาณที่ได้กล่าวไว้ในข้อ 15. เพราะพระเจ้าทรงเป็นพระวิญญาณ ฉะนั้นทุกเรื่องราว แห่งพระวิญญาณของพระเจ้า ก็ต้องเป็นของฝ่ายวิญญาณด้วย. ดังนั้นหากมนุษย์ต้องการที่จะเห็นแจ้ง และเข้าใจในเรื่องราว แห่งพระวิญญาณของพระเจ้า ก็จำต้องใช้วิญญาณของมนุษย์ (ยฮ.4:24). (1กธ.2:14 คำอธิบาย 6)

ซะคาระยา 12:1 กล่าวว่า "ภาระแห่งพระคำของพระยะโฮวาว่า ด้วยเรื่องอิสราเอล. พระยะโฮวา ผู้ทรงขึงฟ้าสวรรค์ทั้งหลาย และทรงวางฐานรากแห่งแผ่นดินโลก และทรงสร้างวิญญาณไว้ ภายในมนุษย์."...นี่ช่างเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ ที่ข้อพระคัมภีร์เช่นนี้ ถูกบันทึกไว้ในพันธสัญญาเดิม ซึ่งได้เปิดเผยถึงพระคริสต์ ผู้มีความเกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์ และการเมืองของมนุษย์. สิ่งนี้บ่งชี้ว่า ในแผนการบริหารของพระเจ้า พระองค์ทรงวางโครงการ ให้พระคริสต์เป็นศูนย์กลาง และการแพร่หลาย แห่งการเคลื่อนไหวของพระองค์ บนแผ่นดินโลก. ในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้า พระองค์ทรงปกครอง เหนือเผ่าพันธุ์มนุษย์ทั้งหมด ทรงจัดการสถานการณ์ของโลก ยุคแล้วยุคเล่าเป็นเวลาหลายพันปี....พระคริสต์ทรงดีเลิศ ทว่าหากเราไม่มีวิญญาณ แล้วเราจะต้อนรับ พระองค์ได้อย่างไร? วันนี้ในวัฏจักรของสังคม ผู้คนไม่ได้ใช้ วิญญาณของตัวเองเลย. กระทั่งในวัฏจักรของศาสนา เรื่องของวิญญาณมนุษย์ ก็ถูกละเลยหรือกระทั่ง ถูกต่อต้านและปฏิเสธ. หากเราละเลยวิญญาณ มนุษย์ของเรา เราก็ไม่มีหนทาง ที่จะติดต่อพระเจ้าได้.

ซะคาระยาเป็นหนังสือ ที่เปิดเผยถึงพระคริสต์ ในฐานะศูนย์กลาง และเส้นรอบวงของพระเจ้า ทว่าพระคริสต์ผู้นี้ ทรงมีความเกี่ยวข้อง กับประวัติศาสตร์ของมนุษย์ อย่างใกล้ชิด. ไม่ใช่ทุกคน ที่จะสามารถรู้จักพระองค์ผู้นี้ มีเพียงผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกสรร ที่ตระหนักว่าตัวเอง มีวิญญาณเท่านั้น จึงจะสามารถรู้จักพระองค์ได้. ก่อนที่จะมาอ่านหนังสือซะคาระยา และก่อนที่จะมาติดต่อกับพระคริสต์ ที่ถูกเปิดเผยไว้ในหนังสือเล่มนี้ได้ เราจะต้องรู้ว่าเรามีวิญญาณ. จากนั้นเราก็ต้องฝึกฝนวิญญาณของเรา โดยการอธิษฐานว่า "พระองค์เจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องการได้รับพระคริสต์ ที่ถูกเปิดเผยไว้ ในหนังสือซะคาระยา." หากเราฝึกฝนวิญญาณของเราเช่นนี้ เราก็จะรู้สึกถึงบางสิ่ง ที่มีชีวิต กำลังมาสัมผัสส่วนลึกภายในเราอยู่. นี่คือสาเหตุที่ในหนังสือเล่มนี้มี 12:1 ซึ่งเป็นข้อพระคัมภีร์ ที่กำชับให้เราให้ความใส่ใจอย่างยิ่ง ต่อวิญญาณมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องรับที่อยู่ภายในเรา เพื่อเราจะสามารถต้อนรับพระคริสต์ ที่ถูกเปิดเผยไว้ ในหนังสือซะคาระยาได้.

แม้ว่าซะคาระยาจะเป็นอนุชน แต่เขาก็รู้จักเคล็ดลับ ในการติดต่อกับพระเจ้า เพื่อต้อนรับ สิ่งที่พระองค์ทรงเปิดเผย. เราทุกคนจะต้องเรียนรู้จากเขา ในการฝึกฝนวิญญาณของเรา มาต้อนรับพระเจ้า และต้อนรับสิ่งที่พระองค์ทรงเปิดเผย.
GMO
โพสต์: 76
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 25, 2013 5:55 pm

อังคาร ก.ค. 16, 2013 7:02 am

ซคย.2:1-2 ข้าพเจ้าเงยหน้าขึ้นอีกแลเห็น ดูเถิด ชายคนหนึ่งมีเชือกวัดอยู่ในมือ. ข้าพเจ้าจึงถามว่า "ท่านจะไปไหน" เขาจึงบอกข้าพเจ้าว่า "จะไปวัดเยรูซาเล็มดูว่า กว้างเท่าใด ยาวเท่าใด."

ซคย.2:5 เราจะเป็นกำแพงเพลิงล้อมเมืองนั้นไว้ และเราจะเป็นสง่าราศีในเมืองนั้น พระยะโฮวาตรัสดังนี้แหละ.

กำแพงของกรุงเยรูซาเล็ม และสง่าราศีที่อยู่ในเมืองนั้น คือตัวของพระยะโฮวาเอง สิ่งนี้บ่งชี้ว่าพระยะโฮวา ในฐานะพระคริสต์ จะเป็นการปกป้อง ของกรุงเยรูซาเล็ม ที่เป็นรอบวง และเป็นสง่าราศีของเมืองนั้น ที่เป็นศูนย์กลาง. เรื่องนี้แสดงถึงศูนย์กลาง และการแพร่หลายของพระคริสต์ ในแผนการบริหารของพระเจ้า. วันนี้พระคริสต์ ทรงเป็นสง่าราศี ที่เป็นศูนย์กลางของคริสตจักร และพระองค์ยังเป็นไฟที่ลุกโชนอยู่ ที่รอบวงของคริสตจักร เพื่อการปกป้องคริสตจักร. ในกรุงเยรูซาเล็มใหม่ พระเจ้าตรีเอกภาพ ที่อยู่ในพระคริสต์ จะเป็นสง่าราศีที่เป็นศูนย์กลาง (วว.21:23; 22:1, 5) และสง่าราศีนี้ จะฉายส่องผ่านกำแพง โปร่งใสของเมืองนั้น (วว.21:11, 18ก, 24) เพื่อจะเป็นไฟที่ปกป้องไว้. (ซคย.2:5 คำอธิบาย 1)

พระเมษโปดกใน วว.5:6 ผู้เป็นศิลาใน ซคย.3:9 นั้นคือพระคริสต์ และตาเจ็ดดวงก็คือ พระวิญญาณที่เพิ่มกำลังเจ็ดเท่า. ดังนั้นพระคริสต์ ผู้ที่พระเจ้าทรงแกะสลักไว้ ให้ขจัดความบาปของเรานั้น ได้นำมาซึ่งพระวิญญาณ ที่เพิ่มกำลังเจ็ดเท่า. แท้ที่จริง พระองค์ก็คือ อาดามคนสุดท้าย ที่ได้กลายเป็น พระวิญญาณผู้ประทานชีวิต (1กธ.15:45ข) กระทั่งทรงเป็นพระวิญญาณ ที่เพิ่มกำลังเจ็ดเท่า. วันนี้พระคริสต์ ทรงเป็นพระวิญญาณนั้น และเราก็มีวิญญาณ ที่พระเจ้าทรงสร้างขึ้น โดยเฉพาะเพื่อเป็นคู่ประสาน กับพระคริสต์.

ในช่วงแรกของซะคาระยา (บทที่ 1-6) มีนิมิตห้าประการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระคริสต์ ส่วนในช่วงหลัง (บทที่ 9-14) ก็มีรายละเอียดมากมาย ที่เกี่ยวกับพระคริสต์....ในนิมิตแรก จากนิมิตทั้งห้าเกี่ยวกับพระคริสต์ พระคริสต์ทรงถูกเปิดเผยออก ในฐานะมนุษย์ ซึ่งเป็นทูตของพระยะโฮวา ที่ขี่ม้าสีแดง และยืนอยู่ท่ามกลางต้นพุ่มชะลูด (1:7-17). ต้นพุ่มชะลูด เป็นเครื่องหมายเล็งถึง พลไพร่ชาวอิสราเอล ที่ถูกจับเป็นเชลยซึ่งอัปยศแต่ก็ล้ำค่า. พระคริสต์ทรงขี่ม้าสีแดงบ่งชี้ว่า พระองค์ทรงเป็นพระผู้ไถ่. การที่พระองค์เป็นทูตของพระยะโฮวานั้น บ่งชี้ว่าพระองค์ ทรงเป็นผู้ที่พระเจ้าคาดหวัง และใช้มาเพื่อดูแลพลไพร่ของพระองค์ ในขณะที่พวกเขาตกเป็นเชลย.

ในนิมิตที่สอง (ข้อ 20-21) พระคริสต์ทรงเป็นช่างฝีมือ ที่พระเจ้าทรงใช้มาหักทำลายเขาทั้งสี่ - จักรวรรดิบาบิโลน, เปอร์เซีย, กรีก, และโรมัน – ที่มาทำร้ายและทำลาย พลไพร่ที่พระเจ้าทรงเลือกสรร (ข้อ 18-19). พระคริสต์จะเป็นผู้เดียว ที่ไม่เพียงมาหักทำลายเขาทั้งสี่ แต่ยังมาบดขยี้ การปกครองทั้งหมดของมนุษย์ ตั้งแต่นิ้วเท้าจนถึงศีรษะ ซึ่งมีปฏิมากรใหญ่รูปมนุษย์ ในดานิเอลบทที่ 2 เป็นแบบเล็ง.

ในนิมิตต่อมา พระคริสต์ทรงเป็นผู้ที่มาวัด กรุงเยรูซาเล็ม เพื่อที่จะมาครอบครองเมืองนี้ (ซคย.2:1-2). พระองค์ผู้นี้ไม่เพียงมาครอบครอง กรุงเยรูซาเล็ม แต่ยังทรงกลายเป็นศูนย์กลาง ของกรุงเยรูซาเล็ม ในฐานะสง่าราศีที่อยู่ภายใน และกลายเป็นเส้นรอบวง ของกรุงเยรูซาเล็ม ในฐานะกำแพงเพลิงที่อยู่ภายนอก (ข้อ 5). ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ยังทรงเป็นทั้งผู้ทรงใช้ไป และผู้ที่ถูกใช้มาอีกด้วย. พระองค์ ซึ่งก็คือพระยะโฮวาจอมพลโยธานั้น ได้ทรงใช้ตัวของพระองค์เอง มาในฐานะทูตของพระยะโฮวา (ข้อ 8-9, 11).

ในนิมิตที่สี่ พระคริสต์ทรงถูกเปิดเผย ในฐานะศิลายอดแห่งพระคุณ (4:7)....ส่วนนิมิตที่ห้านั้น มีความเกี่ยวข้องกับพระคริสต์ ผู้เป็นนิมิตของคันประทีปทองคำ และต้นมะกอกเทศสองต้น (4:2-3, 11-14). คันประทีปในที่นี้ เป็นเครื่องหมายเล็งถึง ชนชาติอิสราเอล ในฐานะพยานแห่งกลุ่มชน ของพระเจ้าที่ส่องสว่าง ออกซึ่งคุณธรรมทั้งหมดของพระองค์. เราอาจกล่าวได้ว่า คันประทีปนี้ยังเป็นแบบเล็งถึงพระคริสต์ ผู้เป็นการแปรสภาพเป็นรูปธรรม ของพระเจ้าตรีเอกภาพ. ในช่วงเวลาของซะคาระยา ต้นมะกอกเทศทั้งสอง คือยะโฮซูอะและซะรุบาเบล ทว่าในช่วงสามปีครึ่ง ของภัยพิบัติใหญ่นั้น ต้นมะกอกเทศทั้งสอง จะเป็นโมเซและเอลียา.

หนังสือซะคาระยา ได้เปิดเผยด้านต่างๆ มากมายเกี่ยวกับพระคริสต์. ประการแรกคือ พระคริสต์พระผู้ไถ่ ในฐานะมนุษย์ และในฐานะทูตของพระยะโฮวา ผู้เป็นการแปรสภาพ เป็นรูปธรรมของพระเจ้าตรีเอกภาพ ที่ถูกพระเจ้าใช้มา ให้อยู่กับพลไพร่ชาวอิสราเอล ที่อัปยศซึ่งตกเป็นเชลย ดังที่มีต้นพุ่มชะลูดเป็นแบบเล็ง (1:8-11). จากนั้น พระคริสต์ในฐานะมนุษย์ ในสภาพมนุษย์ของพระองค์ ทรงเป็นผู้ที่พระยะโฮวา จอมพลโยธาทรงใช้มา และก็ยังเป็นผู้ใช้ ซึ่งก็คือตัวของพระยะโฮวา จอมพลโยธาเอง เพื่อมาจัดการ กับบรรดาประชาชาติ ที่มาทำให้พลไพร่แห่งซีโอน กระจัดกระจายไป และมาแตะต้องพวกเขา ซึ่งก็เหมือนกับมาแตะต้อง แก้วพระเนตรของพระองค์
GMO
โพสต์: 76
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 25, 2013 5:55 pm

อังคาร ก.ค. 16, 2013 10:21 am

2กธ.5:14–15 เพราะว่าความรักของพระคริสต์ได้บังคับเราอยู่ เพราะเราได้ตัดสินอย่างนี้คือว่ามีผู้หนึ่งได้ตายเพื่อคนทั้งปวง เหตุฉะนั้น คนทั้งปวงนั้นจึงได้ตายเสียแล้ว และพระองค์ได้ทรงวายพระชนม์เพื่อคนทั้งปวง เพื่อคนเหล่านั้นที่มีชีวิตอยู่จะมิได้เป็นอยู่ต่อตัวเองอีก แต่จะเป็นอยู่ต่อพระองค์นั้นผู้ทรงวายพระชนม์และทรงเป็นขึ้นมาใหม่เพราะเห็นแก่เขา.
2กธ.5:18 แต่ทุกสิ่งล้วนเป็นมาจากพระเจ้าผู้ทรงให้เราคืนดีกันกับพระองค์โดยพระคริสต์ และได้ทรงโปรดประทานการปฏิบัติแห่งการคืนดีกันนี้ให้เรา.
2กธ.5:21 เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงกระทำให้พระองค์ผู้ไม่รู้จักความบาปให้กลายเป็นความบาปแทนที่เรา เพื่อเราจะได้กลายเป็นความชอบธรรมของพระเจ้าในพระองค์.

การปฏิบัติแห่งการคืนดีกันที่เปาโลได้ทำการปฏิบัตินั้นคืออะไร? ข้าพเจ้าเคยอ่านหนังสือที่พูดถึงหัวข้อนี้มาบ้าง แต่ไม่มีหนังสือเล่มไหนที่บ่งชี้ว่าการปฏิบัติแห่งการคืนดีนั้นไม่เพียงนำคนบาปกลับมาหาพระเจ้า ยิ่งกว่านั้นยังต้องนำผู้เชื่อเข้าสู่พระเจ้าอย่างสิ้นเชิง. ด้วยเหตุนี้ เพียงแต่ถูกนำกลับมาหาพระเจ้านั้นยังไม่เพียงพอ เรายังต้องอยู่ในพระองค์อีกด้วย.

ถ้าว่าตาม 2 โกรินโธ 5:21 นั้นเราไม่เพียงกลายเป็นความชอบธรรมของพระเจ้าโดยพระคริสต์ ร่วมกับพระคริสต์หรือพึ่งพิงพระคริสต์เท่านั้น แต่เรายังได้กลายเป็นความชอบธรรมของพระเจ้าโดยการอยู่ในพระคริสต์อีกด้วย. เรายังได้มองเห็นในข้อนี้ว่าเราไม่เพียงเป็นผู้ที่ชอบธรรมจำเพาะเบื้องพระพักตร์พระเจ้า แต่เรายังได้กลายเป็นความชอบธรรมของพระเจ้าด้วย. การกลายเป็นผู้ที่ชอบธรรมนั้นเป็นเรื่องหนึ่ง ส่วนการกลายเป็นความชอบธรรมก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง. ตัวอย่างเช่น สิ่งของอย่างหนึ่งอาจจะเป็นทอง แต่อาจจะไม่ใช่ทองคำบริสุทธิ์ก็ได้. การที่เราสามารถกลายเป็นความชอบธรรมของพระเจ้าในพระคริสต์นั้นเป็นสิ่งที่อัศจรรย์ยิ่งนัก!

ท่านมีความมั่นใจที่จะป่าวประกาศได้หรือไม่ว่าท่านอยู่ในพระคริสต์? พวกเราที่เป็นผู้เชื่อแท้ล้วนสามารถเป็นพยานได้ว่าเราได้อยู่ในพระองค์. แต่ว่าการดำเนินชีวิตประจำวันของเรานั้นเราได้อยู่ในพระคริสต์อย่างเป็นจริงหรือไม่? ตัวอย่างเช่น ...ขณะที่ท่านพูดเล่นนั้น ท่านมีความเชื่อมั่นหรือไม่ว่าท่านอยู่ในพระองค์? ท่านจำต้องยอมรับว่าเวลานั้นท่านได้อยู่นอกพระคริสต์เสียแล้ว. ในที่นี้ไม่มีเรื่องของความเป็นกลาง นั่นก็คือถ้าเราไม่อยู่ในพระคริสต์ เราก็อยู่นอกพระคริสต์. เพราะว่าเราไม่ได้อยู่ในพระคริสต์อย่างเป็นจริงตลอดเวลา ดังนั้น เราจึงต้องการการคืนดีอีกขั้นหนึ่ง. เราต้องได้รับการคืนดีจนถูกนำเข้าสู่ภายในของพระคริสต์.

ถ้าสมมุติว่าท่านอยู่ในเหตุการณ์ที่ต้องเข้าแถวรอคิวยาวเหยียด. ขณะที่ท่านรอคิวอยู่นั้นท่านอาจจะไม่ค่อยสบอารมณ์เท่าไหร่. ในความเป็นจริงนั้น ท่านอาจจะรู้สึกเบื่อยิ่งนัก. เวลานั้นท่านอยู่ในพระคริสต์หรือไม่? ไม่เลย ท่านอยู่นอกพระคริสต์ต่างหาก. ถ้าเช่นนั้นท่านอยู่ที่ไหนเล่า? ท่านก็อยู่ในตัวท่านเอง. บางครั้งสภาพการณ์ของท่านอาจจะแย่กว่านี้ เพราะว่าท่านอยู่ในเนื้อหนัง ยิ่งกว่านั้นท่านยังอยู่ในการบันดาลโทสะด้วยซ้ำไป. ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงต้องการการปฏิบัติแห่งการคืนดีเพื่อนำท่านกลับมาสู่ภายในของพระเจ้าอีกครั้งหนึ่ง.

ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าผู้คนมากมายที่อ่าน 2 โกรินโธบทที่ 5 แล้วจะมีความเข้าใจว่าการคืนดีก็คือการถูกนำเข้าสู่ภายในของพระเจ้า. ท่านมีความเข้าใจต่อการคืนดีในบทนี้เช่นนี้ใช่หรือไม่? ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงนี่ก็คือความหมายที่เปาโลได้พูดถึงการคืนดีนั่นเอง.

ถ้าอ้างอิงตามพระคัมภีร์นั้นความหมายที่ครอบคลุมอยู่ในการคืนดีก็มีมากกว่าการถูกนำกลับมาหาพระเจ้าอย่างแน่นอน. การคืนดีก็คือการถูกนำเข้าสู่ภายในของพระเจ้า. ด้วยเหตุนี้ ถ้าเราพิจารณาตามพระคัมภีร์นั้นการนำผู้คนมาหาพระเจ้าก็หมายถึงการนำพวกเขาเข้าสู่ภายในของพระเจ้า เพื่อพวกเขาจะกลายเป็นหนึ่งกับพระเจ้าอย่างสิ้นเชิง. แต่ว่าในคำสอนของศาสนาคริสต์ที่มีมากมายนั้นเรื่องของการกลายเป็นหนึ่งกับพระเจ้าได้ถูกอธิบายอย่างผิดๆ . ถ้าพิจารณาตามทัศนะที่คริสเตียนมากมายได้ยึดถือนั้นการเป็นหนึ่งกับพระเจ้าสามารถเปรียบได้กับการเป็นหนึ่งของสามีภรรยา. นั่นก็คือระหว่างสามีและภรรยานั้นมีความเป็นหนึ่งที่เป็นกลุ่มชน. แต่ในพระคัมภีร์นั้นความหมายของการเป็นหนึ่งกับพระเจ้าก็คือการผสมผสานกับพระเจ้า. นี่ก็คือการอยู่ในพระเจ้าและการให้พระเจ้าเข้าสู่ภายในเรา. การเป็นหนึ่งกับพระเจ้าในพระคัมภีร์นั้นเป็นการเป็นหนึ่งที่เราได้เข้าสู่ภายในของพระเจ้าและพระเจ้าก็ได้เข้าสู่ภายในเรา. ด้วยเหตุนี้ องค์พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงอาศัยอยู่ในเราและเราอาศัยอยู่ในท่าน” (ยฮ.15:4). พระองค์ไม่ได้ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงอยู่ด้วยกันกับเราและเราจะอยู่ด้วยกันกับท่าน”. แต่คริสเตียนบางคนกลับต่อต้านในเรื่องของ “การกลายเป็นหนึ่งกับพระเจ้าโดยการผสมผสานกับพระเจ้า” ซึ่งเป็นทัศนะอันอัศจรรย์ที่สอดคล้องกับพระคัมภีร์ จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายจริงๆ!

เราต้องการการปฏิบัติแห่งการคืนดีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่เปาโลได้รับมอบหมายจากพระเจ้า จนกว่าเราจะกลายเป็นหนึ่งกับองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างสิ้นเชิง อยู่ในพระองค์อย่างสิ้นเชิงและให้พระองค์อยู่ในเราอย่างสิ้นเชิง. เปาโลได้รับมอบหมายให้ทำการงานอย่างหนึ่ง นั่นก็คือนำผู้เชื่อเข้าสู่ภายในของพระเจ้าอย่างสิ้นเชิงและเที่ยงแท้.
GMO
โพสต์: 76
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 25, 2013 5:55 pm

อังคาร ก.ค. 16, 2013 10:23 am

2กธ.5:18–20 แต่ทุกสิ่งล้วนเป็นมาจากพระเจ้าผู้ทรงให้เราคืนดีกันกับพระองค์โดยพระคริสต์ และได้ทรงโปรดประทานการปฏิบัติแห่งการคืนดีกันนี้ให้เรา คือว่าในพระคริสต์นั้น พระเจ้าทรงกระทำให้มนุษย์โลกคืนดีกันกับพระองค์เองโดยไม่ทรงนับการล่วงละเมิดของเขา และได้ทรงมอบพระคำแห่งการคืนดีนั้นไว้กับเรา. เหตุฉะนั้น เราจึงเป็นราชทูตสำหรับพระคริสต์เหมือนหนึ่งพระเจ้าได้ทรงวิงวอนท่านโดยเรา เราจึงขอร้องท่านทั้งหลายแทนพระคริสต์ให้คืนดีกันกับพระเจ้า.

หนังสือ 2 โกรินโธให้เรามองเห็นว่าหลังจากที่ผู้เชื่อชาวโกรินโธได้คืนดีกับพระเจ้าในเบื้องต้นแล้ว พวกเขาก็ยังคงมีชีวิตเป็นอยู่ในเนื้อหนังและมีชีวิตเป็นอยู่ในมนุษย์ภายนอก. ระหว่างพวกเขากับพระเจ้านั้นยังมีม่านแห่งเนื้อหนังและมนุษย์ธรรมชาติกั้นไว้. ซึ่งม่านชั้นนี้ไม่ใช่ม่านที่กั้นทางเข้าไปยังที่บริสุทธิ์ แต่เป็นม่านที่กั้นอยู่ในพลับพลาซึ่งก็คือม่านที่กั้นระหว่างที่บริสุทธิ์กับที่บริสุทธิ์สุด. ผู้เชื่อชาวโกรินโธอาจจะอยู่ในที่บริสุทธิ์ แต่พวกเขาก็ไม่ได้อยู่ในที่บริสุทธิ์สุด. นี่ก็หมายความว่าพวกเขาได้แยกออกจากสถานที่ที่พระเจ้าได้อาศัยอยู่. ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงไม่ได้คืนดีกันกับพระเจ้าอย่างสิ้นเชิง.

2 โกรินโธ 5:19 นั้นเป็นการทำให้ชาวโลกคืนดีกันกับพระเจ้า ส่วนข้อ 20 นั้นเป็นการทำให้ผู้เชื่อที่ได้คืนดีกันกับพระเจ้าแล้วมีการคืนดีกันกับพระเจ้าอีกครั้งหนึ่ง. นี่เป็นการชี้ชัดว่าการที่มนุษย์คืนดีกันกับพระเจ้าอย่างสิ้นเชิงนั้นมีอยู่สองขั้น. ขั้นที่หนึ่งก็คือการที่คนบาปหลุดพ้นจากความบาปกลับมาคืนดีกันกับพระเจ้า เพื่อเป้าหมายนี้พระคริสต์จึงได้ตายเพื่อความบาปของเรา (1กธ.15:3) ทำให้ความบาปของเราได้รับการอภัยจากพระเจ้า. นี่ก็คือการตายของพระคริสต์ในด้านที่เป็นทัศนะภายนอก. ซึ่งในด้านนี้พระองค์ได้แบกรับความบาปของเราบนไม้กางเขนและได้รับการพิพากษาจากพระเจ้าแทนเรา. ขั้นที่สองก็คือผู้เชื่อที่มีชีวิตเป็นอยู่ในชีวิตธรรมชาติได้หลุดพ้นจากเนื้อหนังกลับมาคืนดีกันกับพระเจ้า เพื่อเป้าหมายนี้พระคริสต์จึงได้ตายแทน “ตัวเรา” คนนี้ เพื่อเราจะสามารถมีชีวิตเป็นอยู่ต่อพระองค์ในชีวิตแห่งการเป็นขึ้นของพระองค์ (2กธ.5:14–15). นี่ก็คือการตายของพระคริสต์ในด้านที่เป็นทัศนะภายใน. ซึ่งในด้านนี้พระองค์ได้กลายเป็นความบาปเพื่อเรา รับการพิพากษาจากพระเจ้าและถูกพระเจ้าตัดทิ้งเสีย เพื่อให้เรากลายเป็นความชอบธรรมของพระเจ้าในพระองค์. โดยการตายทั้งสองด้านนี้ของพระองค์ พระองค์ก็ได้ทำให้ผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกสรรได้คืนดีกันกับพระเจ้าอย่างสิ้นเชิง.

การคืนดีกันทั้งสองขั้นนี้ได้มีการบรรยายอย่างชัดเจนโดยม่านทั้งสองชั้นของพลับพลา (อซด.26:36). คนบาปได้ถูกนำกลับมาหาพระเจ้าโดยการคืนดีของพระโลหิตแห่งการช่วยไถ่ ซึ่งกรณีนี้ต้องผ่านม่านที่กั้นบริเวณภายนอกกับที่บริสุทธิ์. นี่ก็เป็นแบบเล็งถึงการคืนดีกันในขั้นที่หนึ่ง. แต่ยังมีม่านชั้นที่สอง (อซด.26:31–35; ฮร.9:3) ซึ่งได้กั้นเราออกจากพระเจ้าที่อยู่ในที่บริสุทธิ์สุด. ม่านชั้นนี้จำต้องแยกออก เพื่อเราจะถูกนำเข้าสู่พระเจ้าที่อยู่ในที่บริสุทธิ์สุด. นี่ก็คือการคืนดีกันในขั้นที่สอง. ผู้เชื่อชาวโกรินโธได้คืนดีกันกับพระเจ้าโดยการผ่านม่านชั้นที่หนึ่งเข้าสู่ที่บริสุทธิ์แล้ว แต่พวกเขายังคงมีชีวิตเป็นอยู่ในเนื้อหนัง ซึ่งยังต้องผ่านม่านชั้นที่สองที่แยกออกนั้น (มธ.27:51; ฮร.10:20) เพื่อเข้าสู่ที่บริสุทธิ์สุดและได้มีชีวิตอยู่ด้วยกันกับพระเจ้าในวิญญาณของพวกเขา (1กธ.6:17). เป้าหมายของหนังสือ 2 โกรินโธก็คือการนำพวกเขาให้มาถึงขั้นนี้ เพื่อพวกเขาจะเป็นผู้ที่อยู่ในวิญญาณ (1กธ.2:14) คือผู้ที่อยู่ในที่บริสุทธิ์สุด. การที่อัครทูตกล่าวว่า “วิงวอนท่านให้คืนดีกันกับพระเจ้า” ก็มีความหมายเช่นนี้นั่นเอง.

วันนี้คริสเตียนที่แท้จริง ส่วนใหญ่ก็ได้คืนดีกันกับพระเจ้าในเบื้องต้นโดยไม้กางเขนของพระคริสต์แล้ว บนไม้กางเขนนั้นพระคริสต์ได้ทรงตายในฐานะที่เป็นเครื่องบูชาไถ่บาปของเรา... แต่อย่างไรก็ตาม เราได้คืนดีกันกับพระเจ้าในเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งยังไม่ถี่ถ้วนเพียงพอ.

แม้ว่าชาวโกรินโธได้รับความรอดและได้คืนดีกันกับพระเจ้าในเบื้องต้นแล้ว แต่พวกเขายังคงมีชีวิตเป็นอยู่ในเนื้อหนัง นั่นก็คือมีชีวิตเป็นอยู่ในจิต มนุษย์ทางภายนอกและมนุษย์ธรรมชาติ. ม่านแห่งเนื้อหนังและมนุษย์ธรรมชาติก็ยังคงทำให้พวกเขาแยกออกจากพระเจ้า. นี่ก็หมายความว่ามนุษย์ธรรมชาติของพวกเขาก็คือม่านที่ขวางกั้น ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงต้องการการคืนดีกันในขั้นที่สอง. สิ่งที่เปาโลได้กระทำใน 2 โกรินโธบทที่ 5 ก็คือต้องการสำเร็จการคืนดีกันในขั้นที่สอง. ท่านได้ทำงานอยู่บนตัวของชาวโกรินโธ เพื่อจะตัดม่านแห่งเนื้อหนังให้ขาดออกจากกัน โดยการนำชีวิตธรรมชาติของพวกเขาตรึงไว้บนไม้กางเขนและขจัดไปซึ่งมนุษย์ทางภายนอกของพวกเขา. สิ่งที่อัครทูตเปาโลได้กระทำในหนังสือ 1 และ 2 โกรินโธก็คือต้องการทำให้ม่านแห่งเนื้อหนังที่คอยขวางกั้นนั้นขาดออกจากกัน เพื่อผู้เชื่อชาวโกรินโธจะสามารถเข้าสู่ที่บริสุทธิ์สุด.
GMO
โพสต์: 76
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 25, 2013 5:55 pm

อังคาร ก.ค. 16, 2013 10:25 am

2กธ.5:20 เหตุฉะนั้น เราจึงเป็นราชทูตสำหรับพระคริสต์เหมือนหนึ่งพระเจ้าได้ทรงวิงวอนท่านโดยเรา เราจึงขอร้องท่านทั้งหลายแทนพระคริสต์ให้คืนดีกันกับพระเจ้า.
2กธ.6:1-2 และเมื่อเราทำงานร่วมกับพระเจ้าแล้ว เราจึงขอวิงวอนท่านทั้งหลายว่าอย่ารับพระคุณของพระเจ้าอย่างไร้ประโยชน์ เพราะว่าพระองค์ตรัสว่าในเวลาที่โปรดปราน เราได้ฟังเจ้า และในวันแห่งความรอดเราได้ช่วยเจ้า. ดูเถิด บัดนี้เป็นเวลาที่โปรดปรานที่สุด ดูเถิด บัดนี้เป็นวันแห่งความรอด.

แม้ว่าในที่บริสุทธิ์นั้นจะมีการอวยพระพรของพระเจ้า แต่ตัวของพระเจ้าเองกลับอยู่ในที่บริสุทธิ์สุด. ในที่บริสุทธิ์นั้นมีการอวยพระพรของพระวิญญาณนั้น มีคันประทีปและแท่นเผาเครื่องหอม. แต่ว่าในที่บริสุทธิ์นั้นไม่มีการสถิตอยู่โดยตรงของพระเจ้า. ถ้าเราต้องการได้ตัวของพระเจ้าเอง เราก็ต้องมีการคืนดีที่ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง นั่นก็คือเข้าสู่ที่บริสุทธิ์สุด. เราจำต้องต้อนรับการคืนดีในขั้นที่สองและถูกนำเข้าสู่เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้า. นี่ก็คือการคืนดีอย่างสิ้นเชิง. การคืนดีนี้ไม่เพียงนำเราออกมาจากความบาป แต่ยังได้นำเราออกมาจากเนื้อหนัง มนุษย์ธรรมชาติและสิ่งที่เป็นตามธรรมชาติ. เช่นนี้ เราก็จะถูกนำกลับมาหาพระเจ้าและกลายเป็นหนึ่งกับพระองค์.

ข้าพเจ้าขอร้องท่านอย่าได้ยืนกรานในทัศนะอันเก่าแก่และมีจำกัดที่มีต่อการคืนดี ...พวกท่านจำต้องต้อนรับการอธิบายที่ใหม่สดและครบสมบูรณ์ที่มีต่อการคืนดี และมองเห็นว่าการคืนดีกันกับพระเจ้าก็คือการถูกนำเข้าสู่ภายในของพระเจ้า อีกทั้งการปฏิบัติแห่งการคืนดีก็คือการปฏิบัติที่นำมนุษย์เข้าสู่ภายในของพระเจ้า.

ท่ามกลางผู้เชื่อชาวโกรินโธนั้นมีปัญหามากมาย ซึ่งปัญหามากมายก็เป็นการบ่งบอกว่าผู้เชื่อเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในพระเจ้าอย่างสิ้นเชิง. ในเรื่องราวมากมายที่พิเศษนั้นพวกเขาไม่ได้อยู่ในพระเจ้า. แม้ว่าพวกเขาได้รับความรอดและได้บังเกิดจากพระเจ้าแล้ว แต่พวกเขาก็ไม่ได้ดำเนินชีวิตอยู่ในพระองค์. ด้วยเหตุนี้ ในเรื่องราวมากมายของชีวิตประจำวันนั้นพวกเขาได้อยู่นอกพระเจ้า. ดังนั้น เปาโลจึงมีภาระที่จะนำพวกเขาเข้าสู่ภายในของพระเจ้า. นี่ก็คือการทำให้พวกเขาคืนดีกันกับพระเจ้า.

พวกอัครทูตไม่เพียงได้รับมอบหมายให้สำเร็จการงานแห่งการคืนดีและการปฏิบัติแห่งการคืนดีเท่านั้น พวกเขายังได้ร่วมงานกับพระเจ้าในการนำมนุษย์เข้าสู่ภายในของพระเจ้า. พวกเขารู้ว่าโดยพวกเขาเองนั้นพวกเขาไม่อาจนำมนุษย์คนใดเข้าสู่ภายในของพระเจ้า. พวกเขาไม่มีฤทธิ์เดชและสมรรถภาพเช่นนี้. พวกเขาจำต้องร่วมงานกับพระเจ้า.

ในอดีตที่ผ่านมานั้นท่ามกลางเรามีหลายคนกล่าวว่าเราได้ทำการงานเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า. แต่ขณะที่ท่านทำการงานเพื่อพระองค์นั้นท่านมีความรู้สึกหรือไม่ว่าท่านกำลังทำงานด้วยกันกับพระองค์? การทำงานเพื่อพระเจ้ากับการร่วมงานกับพระเจ้านั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ...เรามักชอบที่จะทำการงานเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า แต่เราไม่ค่อยยอมร่วมงานกับพระองค์. ยิ่งกว่านั้นท่าทีของเราก็คือให้องค์พระผู้เป็นเจ้าคงอยู่บนสวรรค์ แล้วปล่อยให้เราทำการงานเพื่อพระองค์บนแผ่นดินโลกก็พอ. ถ้าเราทำการงานเช่นนี้ เราก็ไม่อาจทำให้ผู้อื่นคืนดีกันกับพระเจ้าโดยการเข้าสู่ภายในขององค์พระผู้เป็นเจ้า. เนื่องจากขณะที่เราทำการงานนั้นตัวเราเองยังไม่ได้อยู่ในองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริง เราจึงไม่อาจทำให้ผู้อื่นคืนดีกันกับองค์พระผู้เป็นเจ้าและเข้าสู่ภายในของพระองค์. เราต้องร่วมงานกับองค์พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น เราจึงจะทำให้ผู้อื่นคืนดีกันกับองค์พระผู้เป็นเจ้าและเข้าสู่ภายในของพระองค์.

ความหมายของการร่วมงานกับพระเจ้าก็คือเราได้อยู่ภายในของพระองค์. ขณะที่เราอยู่ภายในของพระองค์เท่านั้น เราจึงจะสามารถนำผู้อื่นเข้าสู่ภายในของพระองค์. มีเพียงผู้ที่อยู่ในพระเจ้า จึงจะสามารถนำผู้อื่นเข้าสู่ภายในของพระเจ้า ...เรามีความใกล้ชิดกับพระเจ้ามากเท่าใด นั่นก็คือระดับของผลลัพธ์แห่งการงานของเรา. ถ้าเราออกห่างจากพระเจ้า เราก็ไม่อาจนำผู้อื่นเข้ามาใกล้ชิดกับพระองค์ได้. ระดับที่เราสามารถนำผู้อื่นมายังเบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าและเข้าสู่ภายในของพระองค์นั้นมักจะวัดจากความสัมพันธ์ที่เรามีต่อพระเจ้า. ถ้าเราเป็นหนึ่งกับพระเจ้า เช่นนี้เราก็สามารถนำผู้อื่นมายังสถานที่ที่เราอยู่. ด้วยเหตุนี้ ถ้าเราต้องการนำผู้อื่นเข้าสู่ภายในของพระเจ้า ตัวเราเองก็ต้องอยู่ภายในของพระองค์ก่อน. เรายิ่งอยู่ภายในของพระองค์ เราก็ยิ่งสามารถทำให้ผู้อื่นคืนดีกันกับองค์พระผู้เป็นเจ้าและเข้าสู่ภายในของพระองค์. ขอให้เราทุกคนมีภาพลักษณ์ที่ลึกซึ้งต่อเรื่องนี้!

เปาโลได้กล่าวต่อไปใน 2 โกรินโธ 6:2 ว่า “เพราะว่าพระองค์ตรัสว่าในเวลาที่โปรดปรานเราได้ฟังเจ้า และในวันแห่งความรอดเราได้ช่วยเจ้า ดูเถิด บัดนี้ก็เป็นวันแห่งความรอด”. เวลาที่โปรดปรานก็ชี้ถึงเวลาที่เราคืนดีกันกับพระเจ้าและได้รับความโปรดปรานจากพระองค์. ถ้าพิจารณาตามพระคัมภีร์ก่อนและหลังของตอนนี้ ความรอดในที่นี้ก็ชี้ถึงการคืนดีนั่นเอง. ในความเป็นจริงแล้ว การคืนดีก็คือการได้รับความรอดอย่างครบสมบูรณ์.
GMO
โพสต์: 76
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ พ.ค. 25, 2013 5:55 pm

อังคาร ก.ค. 16, 2013 10:31 am

2ปต.1:5–8 แท้จริงก็เพราะเหตุนี้ท่านทั้งหลายจงเพิ่มความขยันในทุกสิ่ง ในความเชื่อของท่านทั้งหลายนั้น จงหล่อเลี้ยงด้วยคุณธรรมอย่างเต็มเปี่ยม ในคุณธรรมนั้นหล่อเลี้ยงด้วยความรู้ ในความรู้นั้นหล่อเลี้ยงด้วยการเหนี่ยวรั้งตน ในการเหนี่ยวรั้งตนนั้นหล่อเลี้ยงด้วยความอดทน ในความอดทนนั้นหล่อเลี้ยงด้วยธรรม ในธรรมนั้นหล่อเลี้ยงด้วยความรักระหว่างพี่น้อง ในความรักระหว่างพี่น้องนั้นยังต้องหล่อเลี้ยงด้วยความรัก. หากสิ่งเหล่านี้ได้ดำรงอยู่ภายในท่านทั้งหลายและได้เพิ่มพูนอย่างไม่หยุดแล้ว ก็จะก่อร่างขึ้นโดยไม่ให้ท่านเป็นคนเกียจคร้าน จนไม่บังเกิดผล แต่จะให้บรรลุถึงการรู้จักองค์พระเยซูคริสต์เจ้าของเราอย่างเต็มเปี่ยม.

สิ่งที่ดำรงอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งคอยขวางกั้นและเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตแห่งชีวิตฝ่ายวิญญาณของเราก็คือความเห็นของเรา. บางครั้งแม้ว่าความเห็นของเราจะไม่ได้แสดงออกมา แต่ก็ยังคงซ่อนอยู่ในตัวเรา. ความเห็นก็คือการแสดงออกแห่งสันดานของเรา สันดานของเราก็คือปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในการที่เราจะเติบโตในชีวิตอันศักดิ์สิทธิ์. ข้าพเจ้าได้รู้จักวิสุทธิชนมากมายทั้งในตะวันออกไกลและที่อเมริกา พวกเขาล้วนแต่น่ารักกันทุกคน พวกเขามีชีวิตเป็นอยู่เพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าและมีความจริงจังต่อองค์พระผู้เป็นเจ้ายิ่งนัก. แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะผ่านไปหลายปี พวกเขาก็ยังคงมีการเติบโตในชีวิตน้อยมาก. ปัญหาหนึ่งเดียวของพวกเขาก็คือความเห็นของพวกเขานั่นเอง.

สันดานของเราก็คือตัวเองของเรา. เราทุกคนก็ล้วนแต่มีสันดานกันทุกคน. สันดานได้อยู่ภายในเราและสันดานก็คือตัวของเรานั่นเอง. สันดานของเราทำให้เรายากที่จะปลดปล่อยวิญญาณของเรา ...ในปี 1948 ขณะที่พี่น้องนีฟื้นฟูการปฏิบัตินั้นหนึ่งในข่าวสารช่วงแรกที่ท่านปลดปล่อยก็คือการแตกหักของมนุษย์ก็คือการปลดปล่อยของวิญญาณ. ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาศูนย์กลางแห่งถ้อยคำของพี่น้องนีก็มีความเกี่ยวข้องกับการแตกหักของมนุษย์ภายนอกเกือบทั้งสิ้น. การแตกหักของมนุษย์ภายนอกก็คือการแตกหักของสันดานนั่นเอง. จนถึงทุกวันนี้ข้าพเจ้าก็ยังมีการเรียนรู้บทเรียนเกี่ยวกับการจัดการสันดาน. พี่น้องนีได้เตือนเราว่าถ้าก่อนอายุห้าสิบปีเรายังไม่มีการเรียนรู้บทเรียนเกี่ยวกับการแตกหักของมนุษย์ภายนอก เราก็จะกลายเป็นปัญหาในท่ามกลางชีวิตคริสตจักร. การที่เราจัดการกับสันดานในช่วงที่เรายังเป็นอนุชนอยู่นั้นจะง่ายกว่ามากเลยทีเดียว.

สิ่งที่ทำลายการใช้งานของเรามากที่สุดในชีวิตคริสเตียนและชีวิตคริสตจักรก็คือการที่เรามีชีวิตเป็นอยู่ตามสันดานของเรา. ข้าพเจ้าได้อยู่ในการงานขององค์พระผู้เป็นเจ้ามาหลายปีแล้ว ข้าพเจ้ารู้สึกว่าพี่น้องบางคนนั้นมีสันดานที่แข็งกระด้างมาก จนทำให้พวกเขาไม่อาจร่วมประสานกับผู้อื่น. พี่น้องบางคนนั้นเมื่อได้รับมอบหมายให้ทำการงานบางอย่างแล้ว เขาก็รับไม่ได้ที่จะให้ผู้อื่นมาช่วยเหลือเขาในการงานที่เขาได้รับมอบหมายมา เขาจะต้องเหมาทำคนเดียวทั้งหมด. พี่น้องประเภทนี้มักจะเป็นผู้ที่มีความสามารถ แต่ก็ง่ายที่จะสร้างปัญหาขึ้นมาในท่ามกลางชีวิตคริสตจักร.

การงานขององค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นการงานแห่งพระกายและก็เป็นการงานโดยพระกาย ดังนั้น การร่วมประสานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งยวด. อัครทูตเปาโลนั้นเป็นผู้ที่มีความสามารถมาก แต่ท่านก็ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นและต้องการให้ผู้อื่นมาร่วมประสานกับท่าน ...แม้แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าเองยังต้องการผู้อื่นมาร่วมประสานด้วยกัน. ในความเป็นจริงนั้น พวกเราส่วนใหญ่ไม่ชอบทำงานด้วยกันกับผู้อื่น ...ถ้าเราเป็นผู้ที่ขยันและมีการตรากตรำอยู่ตลอดเวลา เราก็ไม่ชอบให้ผู้อื่นมาร่วมทำงานด้วยกันกับเรา เพราะว่าไม่ว่าผู้อื่นจะทำอะไรก็เป็นการรบกวนการงานที่เรากำลังทำอยู่.

ในการดำเนินชีวิตฝ่ายวิญญาณ ชีวิตคริสเตียน ชีวิตคริสตจักรและการงานขององค์พระผู้เป็นเจ้านั้น เราจำต้องเป็นผู้ที่เรียนรู้การต่อต้านตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา. ข้าพเจ้าก็เป็นผู้ที่มีสันดานแข็งกระด้าง เช่นกัน ข้าพเจ้าสามารถเป็นพยานได้ว่าข้าพเจ้าจำต้องมองเห็นอยู่ตลอดเวลาว่าสันดานของข้าพเจ้าได้ตรึงไว้บนไม้กางเขนแล้ว. วันเวลาที่ผ่านมานั้นการสารภาพบาปของข้าพเจ้าก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการไม่ดำเนินชีวิตออกซึ่งพระคริสต์แทบทั้งสิ้น แต่วันนี้การสารภาพบาปที่ข้าพเจ้ามีต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าก็เป็นเรื่องของสันดานของข้าพเจ้า. เราจำต้องผ่านการเรียนรู้ชีวิตที่ต่อต้านตัวเอง การต่อต้านตัวเองก็คือการต่อต้านสันดานของเรา ...สันดานของเรานั้นไม่ว่าจะดีหรือจะเลวก็ล้วนแต่ทำลายการใช้งานของเราในขอบเขตฝ่ายวิญญาณทั้งสิ้น.

วิสุทธิชนทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่รับการฝึกอบรมเพื่อปรนนิบัติองค์พระผู้เป็นเจ้าเต็มเวลา ถ้าพวกเขาสามารถประหารสันดานของตัวเองให้ตาย ทุกสิ่งก็จะผ่านไปได้อย่างราบรื่น. ถ้าไม่เช่นนั้น ทุกคนที่ผ่านการฝึกอบรมก็จะกลายเป็นปัญหาที่ซ่อนตัวอยู่ในคริสตจักร. ถ้าเราผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว แต่กลับปฏิบัติตามใจทะเยอทะยานและความสามารถของเราเอง ผลลัพธ์ก็คือปัญหาอย่างแน่นอน. ทุกคนที่ผ่านการฝึกอบรมนั้นถ้าไม่ยอมประหารสันดานของตนเองก็จะกลายเป็นปัญหากันทุกคน. ท่านเป็นประโยชน์ต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าสักเท่าไรหรือท่านสร้างปัญหาให้กับคริสตจักรสักเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับว่าสันดานของท่านมีการประหารให้ตายสักเท่าไร. ดังนั้น การจัดการกับสันดานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งนัก.
ตอบกลับโพส