<<: นครรัฐวาติกัน:>>

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

จันทร์ ก.พ. 14, 2005 9:27 pm

นครรัฐวาติกัน (Vatican City)

รูปภาพ

ความเป็นมา

เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า พระเยซูได้มอบหมายให้นักบุญเปโตร (Peter) เป็นหัวหน้าสาวกทั้ง 12 และเป็นประมุขของคริสตจักรสากล ชาวคาทอลิกเชื่อว่าก่อนที่นักบุญเปโตรจะถึงแก่มรณภาพ ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นบิชอปของกรุงโรม (Bishop of Rome) ด้วยจนถึงมรณภาพ ดังนั้นใครก็ตามที่สืบตำแหน่งบิชอปแห่งโรม ย่อมเป็นประมุขของคริสตจักรคาทอลิกด้วยโดยอัตโนมัติ นั่นคือเชื่อว่าการดำรงตำแหน่งสันตะปาปาสืบต่อจากนักบุญเปโตรมาจนทุกวันนี้

ระหว่าง 300 ปีแรก สันตะปาปาต้องปฏิบัติงานอย่างซุกๆ ซ่อนๆ ในมหาอาณาจักรโรมัน ในฐานะเป็นประมุขของศาสนาต้องห้าม ส่วนมากถูกจับกุมและถูกลงโทษประหารชีวิต และต่อมาทุกท่านได้รับการยกย่องเป็นนักบุญของคริสตจักรคาทอลิก รวมทั้งนักบุญเปโตรด้วย

รูปภาพ

เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantin) ย้ายราชสำนักไปตั้งนครหลวงใหม่ที่นครคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) ตั้งแต่ปี ค.ศ.330 ได้มอบให้สันตะปาปาปกครองกรุงโรมในนามของพระองค์ตั้งแต่นั้นมาสันตะปาปาจึงดำรง 3 ตำแหน่ง (แสดงออกเป็นสัญลักษณ์โดยสวมมงกุฎ 3 ชั้น ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว) คือ เป็นประมุขของคริสตชนคาทอลิกทั่วโลก เป็นบิชอปของกรุงโรม และเป็นเจ้านครของกรุงโรมขึ้นต่อจักรพรรดิโรมัน ครั้นเมื่อจักรพรรดิโรมันไม่สามารถกุมอำนาจทางตะวันตกได้อีกต่อไป สันตะปาปาก็มีอำนาจปกครองเด็ดขาดในฐานะกษัตริย์หรือเจ้านครรัฐอิสระโดยปริยาย อำนาจทางการเมืองของสถาบันสันตะปาปา บางครั้งก็ขยายออกไปกินอาณาบริเวณภาคกลางของอิตาลีทั้งหมดบางครั้งขยายไปถึงภาคเหนือของ อิตาลี จนถึงบางส่วนทางภาคใต้ของฝรั่งเศสด้วยก็มี อาณาเขตเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาตลอดยุคกลางตามกระแสเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามสถาบันสันตะปาปาตั้งสำนักปฏิบัติการอยู่ในกรุงโรมเสมอ ยกเว้นระหว่างปี ค.ศ.1309-1377 ซึ่งเป็นช่วงที่สันตะปาปาเป็นชาวฝรั่งเศสสร้างถวายให้ แต่ก็ถูกทักท้วงอย่างหนักจนต้องย้ายกลับคืนกรุงโรมและคงอยู่ต่อมาจนทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม เมื่อคาวัวร์ (Cavour) รวมนครรัฐต่างๆ ของอิตาลีเข้าเป็นประเทศอิตาลีได้สำเร็จก็ได้ยึดกรุงโรมจากสถาบันสันตะปาปา และสถาปนาขึ้นเป็นนครหลวงของประเทศในปี ค.ศ.1870 ได้จำกัดเขตสันตะปาปาให้มีกรรมสิทธิ์เฉพาะในกัน เขตวังวาติกัน เท่านั้น ได้รับการทัดทานจากชาวคาทอลิกทั่วโลก ในที่สุดมุสโสลินี (Mussolini) ได้แก้ข้อพิพาทโดยทำสนธิสัญญาลาเตรัน (Lateran Treaty) กับสำนักวาติกันในปี ค.ศ.1929 และแก้ไขในปีค.ศ. 1984 โดยให้สัตยาบันว่า ขอรับรองและค้ำประกันอธิปไตยของนครรัฐวาติกันและให้ความสะดวกอีกหลายๆ อย่าง เพื่อให้นครรัฐวาติกันสามารถดำรงอยู่ได้ในฐานะรัฐอิสระ เหมาะสมที่จะให้สถาบันสันตะปาปาปฏิบัติภารกิจในฐานะประมุขของชาวคาทอลิกทั่วโลกได้ เหตุที่เรียก สนธิสัญญาลาเตรัน เพราะมีการเซ็นกันที่ พระราชวังลาเตรัน




รูปภาพ
แก้ไขล่าสุดโดย Anonymous เมื่อ จันทร์ ก.พ. 14, 2005 9:59 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

จันทร์ ก.พ. 14, 2005 9:29 pm

นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกันเป็นรัฐที่เล็กที่สุดในโลกมีเนื้อที่ประมาณ 108 เอเคอร์ หรือประมาณ 250 ไร่ หรือประมาณ 2/3 ตารางกิโลเมตร ตามสนธิสัญญาแห่ง “ลาเตรัน” นครรัฐวาติกันมีอาณาเขตประกอบด้วยวังวาติกัน วังกัสเตลกันดอลโฟ (Castelgandolfo) อันเป็นที่ประทับร้อนอยู่นอกชานกรุงโรมไปทางทิศใต้ มหาวิทยาลัยเกรโกเรียน (Gregorian University) และโบสถ์ 13 แห่งในกรุงโรม เฉพาะวังวาติกันมีเนื้อที่ 150 ไร่ หรือ 2/5 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ พิพิธภัณฑ์วาติกัน หอสมุดวาติกัน และทีประทับขององค์สันตะปาปาด้วย ภายในบริเวณดังกล่าวยังมีอุทยานวาติกันอันงดงาม มีสถานีวิทยุของวาติกัน มีที่ทำการไปรษณีย์วาติกัน สถานีรถไฟวาติกัน ธนาคารวาติกัน และร้านค้าของวาติกัน ซึ่งปลอดภาษีทุกชนิด แม้นครรัฐวาติกันจะมีการติดต่อทางการทูตกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย แต่ในนครรัฐวาติกันหามีที่ตั้งสถานทูตไม่ เพราะทูตประจำวาติกันมักจะได้แก่ ทูตประจำประเทศหนึ่งในยุโรป ทูตประจำนครรัฐวาติกันจึงมีที่พำนักอยู่นอกเขตวาติกันทั้งสิ้น


รูปภาพ

พลเมืองวาติกัน

คนเชื้อชาติวาติกันไม่มีในโลก มีแต่พลเมืองสัญชาติวาติกันเป็นอย่างมาก นครรัฐวาติกันมีพลเมืองประมาณ 900 คน ประมาณ 200 คนเป็นสตรี และมีคนทำงานในนครวาติกัน 1,300 คน พลเมืองอันประกอบด้วยองค์สันตะปาปา คาร์ดินัล ผู้ปกครองนครรัฐ วาติกัน เจ้าหน้าที่ประจำวาติกัน และทหารสวิสมีหอกโบราณเป็นอาวุธประดับเกียรติ ซึ่งเป็นองครักษ์ของสันตะปาปาประมาณ 100 คน ทหารสวิส มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1506 การแต่งกายของทหารสวิส มีเครื่องแบบที่ออกแบบโดย “ไมเคิ้ลแองเจโล” ทุกคนเป็นชาวสวิส และเป็นคาทอลิกที่ดีทหารสวิสแต่ละคนจะประจำการชั่วระยะหนึ่ง นอกจากนั้นก็ได้แก่เจ้าหน้าที่ทูตวาติกันที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย พลเมืองวาติกันเหล่านี้จะมีสัญชาติวาติกันเฉพาะในขณะดำรงตำแหน่งหรือเป็นภรรยาของพลเมืองวาติกัน หรือเป็นบุตรที่มีอายุไม่เกิน 25 ของพลเมืองวาติกัน บุตรคนใดอายุถึง 25 ปี ต้องกลับคืนสัญชาติเดิม ผู้ถือสัญชาติวาติกัน หากพ้นตำแหน่งเมื่อใดก็ต้องคืนสู่สัญชาติเดิมของตน พร้อมด้วยบุคคลทุกคนในครอบครัวที่ถือสัญชาติวาติกัน หากชาติเดิมของตนไม่ยอมรับให้ขอสัญชาติอิตาลีซึ่งรัฐบาลอิตาลีมีข้อผูกมัดต้องรับเสมอ
แก้ไขล่าสุดโดย Anonymous เมื่อ จันทร์ ก.พ. 14, 2005 9:54 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

จันทร์ ก.พ. 14, 2005 9:35 pm

สนธิสัญญาลาเตรัน

รูปภาพ

กองทัพรวมชาติอิตาลียึดกรุงโรมเป็นนครหลวงของอิตาลีในปี ค.ศ.1870 จำกัดเขตให้สันตะปาปามีสิทธิปกครองเฉพาะในวังวาติกัน แต่ก็ออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิของสันตะปาปาเหนือมหาวิหารในกรุงโรม และถือว่าองค์สันตะปาปามีสิทธิที่จะได้รับการยกย่องนับถืออันผู้ใดจะละเมิดมิได้ นอกจากนั้นยังถวายค่าเลี้ยงดูสันตะปาปาเป็นเงินปีละ 3,255,000 ลีร์ แต่สันตะปาปาไพอัสที่ 9 (Pius IX) ในขณะนั้นรู้สึกว่าถูกบีบบังคับอย่างไม่เหมาะสมและอาจจะถูกเพ่งเล็งว่าสถาบันสันตะปาปาตกอยู่ใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลอิตาลี ทำให้ไม่เป็นกลางพอสำหรับปกครองชาวคาทอลิกทั่วโลกจึงปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอและทรงประท้วงด้วยการขังตัวพระองค์เองอยู่ในเขตวังวาติกันเท่านั้น ซึ่งก็มีผลทำให้รัฐบาลอิตาลีมีปัญหาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพอสมควร เมื่อมุสโสลินีเริ่มมีอำนาจขึ้นก็สนใจแก้ปัญหานี้เป็นอันดับแรกๆ โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นจาก 2 ฝ่าย พิจารณาปัญหาและหาทางออกที่ดีที่สุด ในที่สุดก็ตกลงเซ็นสัญญาลาเตรันกันระหว่างมุสโสลินีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลอิตาลีกับพระคาร์ดินัลกัสปารี (Cardinal Gaspari) เลขาธิการรัฐวาติกันในขณะนั้น ข้อตกลงที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

1.รัฐบาลอิตาลียอมรับรู้ในบูรณภาพของนครรัฐวาติกันที่มีสันตะปาปาเป็นองค์ประมุข ไม่ว่าสันตะปาปาจะมาจากชนชาติใดก็ตาม

2.รัฐบาลอิตาลียอมรับรู้ว่าคาร์ดินัลทุกองค์มีฐานะเป็นเจ้าชายของรัฐวาติกัน ไม่ว่าคาร์ดินัลจะถือสัญชาติใดก็ตาม

3.รัฐบาลอิตาลีถือว่าคริสตศาสนานิกายคาทอลิกเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งจะต้องอุปถัมภ์ให้ความสะดวก (ปัจจุบันข้อนี้ยกเลิกแล้ว)

4.รัฐบาลอิตาลียอมชดใช้ค่าเสียหายแก่นครรัฐวาติกันเป็นเงินสด 750 ล้านลีร์ และเป็นพันธบัตรอีก 1,000 ล้านลีร์

5.รัฐบาลอิตาลีจะสร้างสถานีรถไฟวาติกันและสร้างทางไปเชื่อมกับสถานีวีแตร์โบ (Viterbo) ของอิตาลี ตลอดจนยินยอมให้รถไฟพระที่นั่งขององค์สันตะปาปาใช้ทางรถไฟของอิตาลีได้ทุกเวลา

อย่างไรก็ตามพรรคฟาสซิสต์คงรับรู้สันธิสัญญาลาเตรันเท่าที่จะเป็นเพื่อติดต่อกับต่างประเทศได้เท่านั้น สันตะปาปายังคงประท้วงโดยขังพระองค์อยู่ภายในเขตวังวาติกันต่อมาตลอดสมณสมัยของสันตะปาปาลีโอที่ 13 (Leo XIII) ไพอัสที่ 10 (Pius X) เบเนดิกต์ที่ 15 (Benedict XV) ไพอัสที่ 11 (Pius XI) และไพอัสที่ 12 (Pius XII) ผลจากการประท้วงดังกล่าวช่วยให้พรรคคริสเตียนดีโมแครทของอิตาลีชนะการเลือกตั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเสนอนโยบายว่าจะรักษาสนธิสัญญาลาเตรันอย่างเคร่งครัด และจะปล่อยสถาบันสันตะปาปาเป็นอิสระจากการเมืองของอิตาลี

อย่าไรก็ตามหลังสงครามโลกเศรษฐกิจของอิตาลีตกต่ำมาก ประชาชนยากจนค่นแค้น การที่รัฐบาลพรรคคริสเตียนดีโมแครทของอิตาลีโอบอุ้มศาสนาเกินไป นอกจากจะเสียงบประมาณแผ่นดินมากเกินไปแล้ว ยังมีผลให้นักบวชนักพรตทั้งหลายมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานอีกด้วย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งอิตาลีจึงใช้เป็นประเด็นหาเสียงจนกลายเป็นพรรคคู่แข่งที่สำคัญ สันตะปาปายอห์นที่ 23 (John XXIII) ได้รับเลือกในปี ค.ศ.1958 (พ.ศ.2501) เห็นการณ์ไกล รีบวางนโยบาย "ปรับตัวให้ทันเหตุการณ์" (Aggiornamento) ประกาศนโยบายสร้างเอกภาพในพหุภาพ และสร้างมิตรไมตรีกับทุกฝ่าย กล่าวสั้นๆ ก็คือร่วมมือกันโดยไม่ต้องคิดเหมือนกันได้ออกจากวังวาติกันเพื่อเยี่ยมเยียนและร่วมพิธีทางศาสนาในที่ต่างๆ ทั่วอิตาลี ได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นหลายคณะเพื่อดำเนินตามนโยบายที่ประกาศไว้ สนับสนุนความคิดริเริ่มในทุกด้าน

รูปภาพ
รูปภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันขึ้นมากมายจนคนจำนวนวมากไม่อาจจะตามทัน มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายทั้งในทางลบและทางบวก บางคนก็เข้าใจผิดและตีความเจตนาของพระองค์ผิดทั้งภายในคริสตจักรคาทอลิกและบุคคลภายนอก ชาวโปรเเตสแตนท์จำนวนหนึ่งชื่นชมในความมีพระทัยกว้างของพระองค์และพร้อมที่จะเจรจาเพื่อความร่วมมือระหว่างนิกายต่างๆ ในคริสตจักรทั้งหมด แต่ส่วนมากแคลงใจว่าอาจจะเป็นนโยบายดึงสมาชิกหรือไม่ สันตะปาปายอห์นที่ 23 ต้องรีบดำเนินนโยบาย เพราะทรงเห็นว่าเวลาของพระองค์มีน้อย จึงตัดสินพระทัยเรียกประชุมสังคายนาวาติกันที่ 2 ทั้งๆ ที่หลายฝ่ายคิดว่ายังไม่พร้อม พระองค์ถึงแก่มรณภาพในระหว่างสังคายนานั้นเอง สันตะปาปาต่อๆ มาคือปอลที่ 6 (Paul VI) ยอห์นปอลที่ 1 (John Paul I) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งยอห์นปอลที่ 2 (John Paul II) คงสืบทอดเจตนารมณ์ต่อมา และขยายกว้างออกไป เช่น ออกเยี่ยมเยียนคริสตชนทั่วโลกทุกนิกายและศาสนิกของทุกศาสนา ตั้งกรรมาธิการเพิ่มขั้นอีกเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมต่อเจตนารมณ์ของสังคายนาวาติกันที่ 2 ปัญหาสำคัญที่ต้องแก้กันอย่างหนักเรื่อยมาก็คือ การตีความเจตนารมณ์ของสังคายนาวาติกันที่ 2 อย่างไม่ถูกต้อง ความเข้าใจผิดมีทั้งในกลุ่มคาทอลิกเองและนอกกลุ่ม ภายในคริสตจักรคาทอลิกเองมีบางตีความเลยเถิดเกินไปจนกลายเป็นเครื่องมือตอบสนองความต้องการส่วนตัว บางคนตีความว่าเป็นนโยบายใหม่เพื่อทำลายนิกายอื่น (โปรเเตสแตนต์และออร์โทดอกซ์) หรือศาสนาอื่นๆ ทั้งหมด ความเข้าใจผิดเช่นนี้พบได้แม้ในหมู่ผู้มีสมณศักดิ์ระดับสูงและมีตำแหน่งหน้าที่ระดับสูง ซึ่งต้องปรับความเข้าใจกันอยู่ตลอดเวลา และบางครั้งการปรับความเข้าใจกันทำได้ยากมาก กว่าจะสำเร็จก็ต้องใช้เวลา ชาวคาทอลิกบางคนก็มองว่าการปรับปรุงตัวเองเช่นนี้เป็นการทำลายตัวเอง จึงรวมตัวกันต่อต้านอย่างเปิดเผย จนถึงกับวางแผน:-)พระประมุขเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ก็มี โดยหวังว่าอาจจะได้คนหัวเก่าที่จะดึงทุกอย่างเข้าสู่สภาพเดิมก่อนสังคายนา เหล่านี้เป็นปัญหาหนักหน่วงที่สันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 จะต้องเผชิญและพยายามแก้ไขโดยหวังว่าจะนำโลกสู่สันติภาพได้ด้วยหลักการแห่งการอยู่ร่วมกันโดยสันติ ร่วมมือกันได้โดยไม่ต้องคิดเหมือนกัน แต่เคารพศรัทธาของกันและกันด้วยบริสุทธิ์ใจและจริงใจต่อกัน ทั้งนี้โดยออกสมณสาสน์ (Encyclicals) ถึงคริสตชนคาทอลิกอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาควบคู่กับการเสด็จออกจากนครวาติกันเยือนประเทศต่างๆ เพื่อออกแถลงการณ์

รูปภาพ


:) :) :) :) :) :) :) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) :D :D :D :D :D :D :D :D ;D ;D ;D ;D ;D ;D :-* :-* :-* :-* :-* :D


แหล่งข้อมูล ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก ศาสตราจารย์ กีรติ บุญเจือ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ( 2000 )
Edizioni Musei Vaticani : Vatican , 1999

อ่านได้จาก http://www.pantip.com/cafe/writer/topic ... 88178.html ก็ได้
แก้ไขล่าสุดโดย Anonymous เมื่อ จันทร์ ก.พ. 14, 2005 11:33 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

จันทร์ ก.พ. 14, 2005 9:38 pm

น้อง ปอ หรือน้องจิง ช่วยหารูปประกอบให้พี่พีพีด้วยค่ะ :-* *lv
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

จันทร์ ก.พ. 14, 2005 10:08 pm

ว้าว สวยๆๆ ค่ะ หารูปทหารสวิสให้ด้วยค่ะ :-*
ภาพประจำตัวสมาชิก
~@Little lamb@~
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 9396
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:00 pm
ติดต่อ:

จันทร์ ก.พ. 14, 2005 10:28 pm

ได้คะ
ตอบกลับโพส