...พวกดาร์วินนิยมก็จะล่มสลายไปเอง...

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

พุธ ก.ค. 04, 2007 5:10 pm

Good News สัมภาษณ์ศาสตราจารย์ Michael Behe, Ph.D.

การค้นพบ DNA มีผลต่อทฤษฏีวิวัฒนาการอย่างไรบ้าง ?

สัมภาษณ์โดย Mario Seiglie


รูปภาพ

Michael Behe, Ph.D.
Professor of Biochemistry
Department of Biological
Sciences, Lehigh University
 
 

ดอกเตอร์ Michael Behe, เป็นผู้แต่งหนังสือขายดีมากที่สุดของปี 1996 ชื่อ: Darwin's Black Box: The Biochemical Challenge to Evolution, ท่านเป็นศาสตราจารย์สาขาวิชา ชีวเคมี อยู่ที่มหาวิทยาลัย เลไฮ (Lehigh University in Bethlehem, Pennsylvania.) จบปริญญาตรีสาขาวิชา เคมี ในปี 1974 จากมหาวิทยาลัย Drexel University , และเรียนต่อสาขาวิชาชีวเคมี ที่มหาวิทยาลัย University of Pennsylvania ได้ Ph.D. ในปี 1978.    ตั้งแต่ปี 1982-85 สอนวิชาเคมีอยู่ที่ วิทยาลัยควีนส์ในนิวยอร์ก ตั้งแต่ปี 1985 สอนที่มหาวิทยาลัย เลไฮ ท่านได้เขียนบทความทางวิชาการมากกว่า 40 เรื่อง ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่เบธเลเฮ็ม ในเพนซิลเวเนีย พร้อมกับภรรยาและลูก 9 คน

บทสัมภาษณ์

The Good News: การที่คุณเป็นศาสตราจารย์ทางด้าน ชีวเคมี ,มีสาเหตุอะไรที่ทำให้คุณสงสัยในทฤษฏีวิวัฒนาการของดาร์วิน?

Michael Behe: ผมเคยเชื่อในทฤษฏีของดาร์วิน เพราะผมถูกสอนเมื่อเรียนในไฮสคูลและวิทยาลัย. เวลานี้ผมเป็นนักชีวเคมี, และเมื่อคุณเป็นนักชีวเคมี คุณต้องศึกษาระบบโมเลกุลที่ยุ่งยากมากซึ่งเป็นพื้นฐานของเซลและมูลฐานของสิ่งมีชีวิต. หลายครั้งทีเดียวที่ผมสงสัยว่าสิ่งที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนนั้น มีวิวัฒนาการโดย กระบวนการทีละขั้นตอนของดาร์วิน ได้อย่างไร. แต่ผมก็พยายามสลัดความสงสัยออกไป.

GN: แล้วมีอะไรเกิดขึ้น?

MB: ปลายปี 1980 เมื่อผมเป็นกรรมการคณะอาจารย์วิชาชีวเคมี, ผมได้อ่านหนังสือ Evolution: A Theory in Crisis แต่งโดยนักยีนเนติกชื่อ ไมเคิล เดนตัน. ในหนังสือ,เขาได้แสดงถึงข้อโต้แย้งมากมายต่อทฤษฏีของดาร์วิน ซึ่งผมเห็นว่าเป็นข้อโต้แย้งที่ดีมากและผมไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย. ผมโมโหตัวเองมากเพราะผมเป็นศาสตราจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียง, แต่กลับไม่เคยได้ยินการวิพากย์วิจารณ์แบบนี้มาก่อนเลย. แล้วจะตอบคำถามนี้อย่างไร. ผมโมโหเพราะผมถูกทำให้เชื่อในทฤษฏีของดาร์วิน. ไม่ใช่เพราะมีหลักฐานมาสนับสนุนแต่เป็นเพราะผมอยากจะเชื่อเช่นนั้น.

GN: และคุณได้ทำอะไรบ้าง?

MB: หลังจากที่ได้อ่านหนังสือของเดนตัน. ผมก็ตัดสินใจที่จะไปห้องสมุดทางวิทยาศาสตร์และค้นหาวารสารทางวิทยาศาสตร์ เพื่อดูว่ามีใครเคยอธิบายเกี่ยวกับความสลับซับซ้อนในระบบเซลด้วยวิธีการของดาร์วินบ้าง. ผมต้องประหลาดใจที่พบว่าไม่มีเอกสารหรือวารสารใดเลย, ไม่เคยมีใครพูดถึง, แม้แต่จะพยายามที่จะอธิบายวิธีที่กระบวนการทีละขั้นตอนสามารถทำให้เกิดความสลับซับซ้อนเช่นนี้ได้. ถึงตอนนี้ผมก็รู้สึกว่าจำเป็นต้องศึกษาความคิดใหม่ ดังนั้นผมจึงเริ่มคิดถึงกระบวนวิธีอื่น.

GN: คุณมักพูดถึง "จักรกลชีวะ" ที่อยู่ในโลกโมเลกุลบ่อยๆ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีโครงสร้างเป็นจักรกลโมเลกุลหรือครับ?

MB: หลายสิ่งที่อยู่ในเซลส์เป็นจักรกลโมเลกุล. พวกมันถือได้ว่าเป็นเครื่องจักรที่ทำด้วยโมเลกุล - หมายถึง. มันมีเกียร์, มีน้อตและ สกรู. มีบางสิ่งที่คล้ายกับรถบรรทุกโมเลกุลที่แล่นไปตามถนนทางด่วนด้วย และยังมีป้ายจราจรเล็กๆและอื่นๆอีก.

แต่ไม่ใช่ทุกอย่างในเซลส์จะเป็นจักรกลไปเสียหมด. บางอย่างก็เป็นเชื้อเพลิง - ซึ่งให้พลังงานแก่เครื่องจักร. มีบางอย่างที่คล้ายกับก้อนอิฐและซีเมนต์ซึ่งจะช่วยยึดสิ่งก่อสร้างเข้าด้วยกัน. ผมไม่เรียกพวกนี้ว่าเครื่องจักรหรอก. พวกมันเป็นส่วนหนึ่งของตัวอาคารเท่านั้น. แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของเซลส์ก็คือพวกมันเป็นจักรกลชั้นเลิศ.

GN: ตัวอย่างเกี่ยวกับจักรกลชีวะ ที่คุณชอบใช้เสมอคืออะไรครับ?

MB: ตัวอย่างที่ผมมักใช้เสมอก็คือตัวอย่างที่ทำให้เราคิดถึงเครื่องจักรในโลกของเรา. ซึ่งได้แก่ แบคทีเรียแฟคเจรั่ม (bacterial flagellum). มันมีมอเตอร์อยู่ในตัวซึ่งทำให้มันสามารถว่ายน้ำได้. เหมือนกับที่เราเอามอเตอร์มาใส่ไว้ในเรือเพื่อแล่นไปในน้ำนั้นแหละ. แต่แทนที่มันจะใช้น้ำมันเชื้อเพลิง, มันกลับใช้พลังงานจากการถ่ายเทเคลื่อนที่ของ กรดจากด้านหนึ่งของเซลส์ไปยังอีกด้านหนึ่งแทน.

มีน้อตที่ขันยึดโครงสร้างเข้าด้วยกัน และขอเกี่ยวบริเวณที่เป็นข้อต่อเพื่อทำให้เพลาขับและใบพัดหมุนได้. มันยังมีสมอที่เรียกว่า สเตเตอร์ ซึ่งคอยยึดผนังเซลเอาไว้และทำให้มันเคลื่อนที่ไปเมื่อใบพัดหมุน.

เมื่อเวลาที่ผมบรรยายถึงภาพโครงสร้างเหล่านี้, ผู้คนจะถามว่าเครื่องจักรเหล่านี้ ทาง NASA เป็นผู้ออกแบบขึ้นมาหรือว่าเอามาจากหนังสือวารสารทางวิศวกรรม. และผมก็บอกพวกเขาว่ามันเป็นโครงสร้างทางชีววิทยาที่พบได้ในเซลของสิ่งมีชีวิต. พวกเขาก็จะแย้งว่าสิ่งนี้ดูไม่น่าจะมาอยู่รวมกันได้ด้วยกระบวนการสุ่มเลือกของดาร์วินเลย ( random Darwinian processes) - พวกมันน่าจะถูกออกแบบมามากกว่า.

GN: มีตัวอย่างชัดๆอีกบ้างไหมครับ?

MB: เครือข่ายการขนส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งภายในเซล. สิ่งของจะถูกขนส่งไปด้วยรถบรรทุกโมเลกุลเล็กๆ. พวกมันต้องรู้จักทางที่จะไป, จุดหมายปลายทาง ,เวลาที่จะไปและสิ่งที่จะต้องบรรทุก เป็นอย่างดีทีเดียว ก็เหมือนกับที่บริษัทรับส่งสินค้า UPS หรือ FedEx ทำกัน. มีรถบรรทุกเฉพาะกิจ,เครื่องหมายจราจรและถนนทางด่วนและสิ่งอื่นๆอีกที่จำเป็นต่อการทำงานนี้.

GN: ความคิดของดาร์วินถือว่าเป็น ปฏิวิทยาศาสตร์ (bad science) หรือเปล่า?

MB: มันขึ้นอยู่กับคำจำกัดความของ bad science ที่คุณคิด. ความคิดที่ดีและให้ความหวัง ถือว่าเป็น Good science, ถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้วมันจะผิดก็ตาม - แต่ก็ยังถือว่าเป็น Good science. ผมคิดว่าความคิดของดาร์วินเป็น Good science นะ. เพราะมันดูจะเป็นทางเลือกอีกอันหนึ่งในเวลาที่เขานำเสนอเรื่องนี้. แม้ว่าความคิดนี้จะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาในปี 1859ที่ก็ตาม, แต่เขาก็ยอมรับ.

สมมุติฐานของเขาในตอนที่เขานำเสนอความคิดนั้นอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ชีวิตเป็นสิ่งง่ายๆ. เซลส์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆคล้ายกับวุ้นหรือโปรโตปลาสซึม. บางทีถ้าเขามีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของชีวิตมากกว่านั้น, เขาจะรู้ว่าความง่ายนั้นจะกลายเป็นความสลับซับซ้อนดังที่เราเห็นอยู่ในอวัยวะต่างๆ เช่น ขา, ตา หรือ หู.

มันเป็นความคิดที่ดี แต่ปรากฏว่าผิด. เมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามากขึ้นและเราได้เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับชีวิต, เราก็เห็นได้ชัดว่าสิ่งมีชีวิตนั้น ใช่ว่าเปลือกนอกไม่สลับซับซ้อนและภายในดูง่ายๆ. หากแต่เป็นว่า เปลือกนอกนั้นสลับซับซ้อน และภายในยิ่งสลับซับซ้อนมากกว่าอีก.

เราได้เรียนรู้ว่าเซลมิได้เป็นเพียงแค่วุ้น. ข้างในมีจักรกลชีวะอยู่. และกลไกของมันก็ละเอียดอ่อนซับซ้อนซึ่งมนุษย์ไม่สามารถทำขึ้นเลียนแบบได้. ส่วนประกอบจำนวนมากนั้นเป็นสิ่งที่ผมเรียกว่า ความสลับซับซ้อนที่ไม่อาจลดทอนได้ ( irreducibly complex). เพราะถ้าคุณเอาบางส่วนออกไปจากจักรกลนี้, จักรกลก็จะตายไปทันที. เปรียบเหมือนกับคุณถอดหัวเทียนออกจากรถ รถก็จะไม่ทำงาน.

เรื่องพวกนี้, ทฤษฏีของดาร์วินในเอกสารและตำราต่างๆไม่ได้ให้คำอธิบายไว้เลย. และเป็นการสมเหตุสมผลที่จะพูดว่า พวกเขาไม่สามารถอธิบายได้โดยใช้ทฤษฏีของดาร์วิน.

เพราะฉะนั้น, เมื่อมองย้อนกลับไป, ความคิดของดาร์วินยังมีข้อจำกัดมากมายในการประยุกต์ใช้. ทฤษฏีวิวัฒนาการของดาร์วินจะอธิบายได้เฉพาะกับเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตเพียงเล็กน้อย - การเลือกสรรทางธรรมชาติคือคำอธิบายนั้น. ยกตัวอย่าง, หมีขาวอาจเปลี่ยนแปลงมาจากหมีสีน้ำตาล. หรือใช้อธิบายการที่แมลงสร้างภูมิต้านทานยาฆ่าแมลง เป็นต้น. มันอธิบายเรื่องเล็กๆได้ แต่ไม่อาจอธิบายเรื่องใหญ่ๆได้

GN: คุณหมายถึงอะไรเมื่อพูดถึง ความสลับซับซ้อนที่ไม่สามารถลดทอน , และเรื่องนั้นเกี่ยวข้องอะไรกับวิวัฒนาการของดาร์วิน?

MB: มันเป็นคำที่ดูหรูหรา. แต่ความคิดนั้นง่ายมาก. มันมีความหมายว่า คุณมีเครื่องจักรหรือระบบหรือ องคาพยพ ที่มีส่วนประกอบหลายๆส่วนที่แตกต่างกันซึ่งทำงานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน. และทำให้เกิดผลลัพท์เป็นการกระทำบางอย่างที่ส่วนประกอบส่วนเดียวล้วนๆไม่สามารถทำได้. และถ้าคุณเอาส่วนใดแม้เพียงส่วนเดียวออกจากระบบ, ระบบนั้นก็จะล่มสลายไปเพราะคุณต้องใช้ทั้งหมดจึงจะทำงานได้.

ตัวอย่างก็คือ, กับดักหนู. มันประกอบด้วยฐานรองทำด้วยไม้,สปริง, ตัวกระแทก, ก้านแขนและ ตัวจับหนู. ถ้าคุณเอาชิ้นส่วนบางอันออกไป. มันก็ไม่ทำงานและคุณก็จะจับหนูไม่ได้.

เป็นเรื่องยากมากที่จะหาวิธีที่จะนำเอาสิ่งที่ทำงานอย่างมีระบบคล้ายกับดักหนูเข้าไปในระบบแบบกระบวนการทีละขั้นตอน เพราะแต่ละขั้นตอนจะทำงานของมันเพื่อปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น และนั่นเป็นสิ่งที่วิวัฒนาการแบบดาร์วินต้องกระทำ. วิวัฒนาการต้องทำงานโดยอาศัยระบบบางอย่างที่มีการปฏิบัติการได้แล้ว(คล้ายกับดักหนูตามตัวอย่าง). การเลือกสรรทางธรรมชาติกำลังพยายามที่จะปรับปรุงระบบนั้นอย่างช้าๆค่อยเป็นค่อยไปไปสู่ระบบที่ดีขึ้น.

จากกับดักหนู, ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยฐานไม้อย่างเดียว มันจะไม่สามารถจับหนูได้    การเลือกสรรทางธรรมชาติก็ไม่มีเหตุผลที่จะทำเช่นนั้น. ถึงคุณจะใส่ส่วนประกอบอื่นเพิ่มเข้าไปอีก, มันก็ยังจับหนูไม่ได้อยู่ดี. จุดที่เป็นส่วนสำคัญของความสลับซับซ้อนที่ไม่อาจลดทอนได้นั้นก็คือ มันจะต้องประกอบไปด้วยระบบมากมายในเซลๆหนึ่งที่มีคุณสมบัติอย่างเดียวกันทำงานพร้อมกัน. ถ้าคุณเอาส่วนประกอบบางอันออกไปแล้วมันก็จะล่มสลาย มันจะไม่ทำงานอีกต่อไป.

และนั่นเป็นปัญหาใหญ่ของวิวัฒนาการของดาร์วิน เพราะคุณไม่สามารถเอาส่วนประกอบเหล่านั้นค่อยๆใส่เข้าไปในเซลส์ทีละอย่าง. ดูเหมือนว่าคุณจำเป็นต้องมีปรีชาญาณหรือผู้ทรงปัญญาจากภายนอกที่จะนำส่วนประกอบเหล่านี้ทั้งหมดไปอยู่รวมกัน.

GN: อะไรเป็นความคิดหลักของ "การออกแบบโดยผู้ทรงปัญญา(Intelligence Design) " ?

MB: ความคิดพื้นฐานก็มาจากการพิจารณาดูระบบของธรรมชาติ, คุณจะเห็นว่าต้องมีผู้ทรงปัญญาเป็นผู้สร้างและจัดระเบียบระบบของธรรมชาติ. ตัวอย่างที่ดีที่อยู่ในสหรัฐก็คือภูเขารัชมอร์. ภูเขาถูกแกะสลักเป็นใบหน้าของประธานาธิบดีสหรัฐสี่คน. ถ้าคุณเป็นชาวต่างชาติและไม่เคยรู้เรื่องภูเขารัชมอร์มาก่อนเลย และบังเอิญขับรถมาตามถนนเลียบภูเขา, ทันใดที่คุณเห็นใบหน้าบนภูเขานั้น. คุณรู้ทันทีว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นจากการกัดเซาะด้วยลมหรือด้วยสิ่งใดๆที่ไม่มีความรู้. คุณรู้ว่ามันต้องถูกทำขึ้นโดยผู้มีสติปัญญา

หลักการเดียวกันนี้ไปใช้กับเรื่องราวต่างๆของธรรมชาติได้. สมมุติว่าคุณเป็นนักดาราศาสตร์และกำลังศึกษาเรื่องคลื่นวิทยุในอวกาศ. คุณใช้เสาอากาศดักจับคลื่นวิทยุ,แล้วทันใดคุณก็ได้ยินคลื่นวิทยุที่นำสาส์นบางอย่างมาด้วย - อย่างเช่น "เราชอบกินปิซซาเหมือนกัน" หรือ "สวัสดี, จากอัลฟาเซนจูรี่" - คุณต้องคิดว่านี่เป็นมนุษย์ตางดาวที่มีสติปัญญา, คุณคงไม่คิดว่านั่นเป็นเพียงปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่เกิดโดยบังเอิญ.

ถ้าคุณเป็นนักชีววิทยาและคิดว่าเซลเป็นเพียงโปรโตปลาสซึมที่ยืดหยุ่นเหมือนวุ้น ถ้าคุณยังคงตรวจสอบต่อไปและพบว่าแทนที่มันจะเป็นสิ่งมีชีวิตแบบง่ายๆ, แต่กลับเป็นว่ามันมีจักรกลที่สลับซับซ้อนมากมาย - จักรกลที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะสามารถสร้างเลียนแบบได้ - นั่นคงบอกอะไรบางอย่างแก่เรา. สมมุติฐานเรื่องการออกแบบโดยผู้ทรงปัญญาบอกเราว่า มีสติปัญญาที่ทำงานอยู่ข้างในนั้น - สสารและพลังงานและกระบานการทางธรรมชาติไม่เพียงพอที่จะอธิบายถึงวิธีที่เซลเป็นแบบนั้น.

GN: มีข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ใน DNA อย่างนั้นหรือ, เป็นพลังงานหรือเป็นอะไรบางอย่างใช่ไหม ?

MB: นั่นเป็นคำถามที่ดีมาก. เราต้องย้อนไปในปี 1960 เมื่อนักเคมีกายภาพลงความเห็นว่า ข้อมูลเป็นคนละอย่างกับสสารและพลังงาน. เขายกตัวอย่างกระดาษที่มีตัวอักษรเขียนไว้. คุณสมบัติทางเคมีของหมึกและกระดาษเป็นที่เข้าใจกันได้ดี. แต่คุณไม่สามารถอธิบายข้อความในกระดาษได้ในรูปแบบของคุณสมบัติทางกายภาพของหมึกหรือกระดาษ.

ในทำนองเดียวกัน, เราได้ค้นพบข้อมูลใน DNA. แต่ข้อมูลนั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในคุณสมบัติทางเคมีหรือทางกายภาพของ DNA. ชิ้นส่วนของ DNA ที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์, จัดเรียงเป็นแถวยาว,เหมือนแถวของตัวอักษร, เป็นรูปประโยคหรือบรรทัด. และนี่ทำให้เกิดข้อมูลที่บอกกับเซลให้รู้ว่าจะต้องทำอะไร.

ดังนั้นจากทฤษฏีว่าด้วยการออกแบบโดยผู้ทรงปัญญา, ตัวข้อมูลจึงมิใช่สสารหรือพลังงาน  เราพูดได้ว่า , ใช่แล้ว, มีบางอย่างอยู่ใน DNA, และนั่นเป็นองค์ประกอบที่ชาญฉลาด.

GN: คุณคิดว่าสถานการณ์ในปี 2025 เกี่ยวกับการออกแบบโดยผู้ทรงปัญญาและวิวัฒนาการของดาร์วิน จะเป็นอย่างไร?

MB: ในปี 2025 ภาพที่เราเห็นเกี่ยวกับความสลับซับซ้อนของจีโนมในเซลในตอนนี้นั้น, จะเป็นเหมือนเรื่องเด็กเล่นเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เราจะค้นพบในอีก 20 ปีข้างหน้า. ยิ่งเราค้นพบความรู้เกี่ยวกับเซลมากเท่าไร, เราจะพบว่ามีความซับซ้อนละเอียดอ่อนมากขึ้นในทุกขั้นตอน, มีความชาญฉลาดและยุ่งยากมากกว่าที่เราเคยคิดไว้และแนวโน้มของเรื่องเหล่านี้จะไม่มีวันลดน้อยลง.

ดังนั้นเรื่องที่ผมเขียนไว้เกี่ยวกับการออกแบบโดยผู้ทรงปัญญาจะกลายเป็นเรื่องเด็กเล่นไปเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เราจะค้นพบต่อไป. ผมคิดว่าการยอมรับเรื่องการออกแบบโดยผู้ทรงปัญญาจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ. อย่างไรก็ตาม, ปัญหามาจากเรื่องการเมืองมากกว่าทางฝ่ายวิทยาศาสตร์. การถกเถียงกันทางวิทยาศาสตร์นั้นสรุปลงได้ง่าย. แต่ก็มีบางคนที่ยังยึดติดกับลัทธิวัตถุนิยม. สำหรับความคิดของการออกแบบโดยผู้ทรงปัญญานั้นมีทิศทางมุ่งไปสู่ความเป็นวิทยาศาสตร์, ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแน่.

วิธีหนึ่งที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงก็คือ ถ้านักเรียนและนักวิทยาศาสตร์รุ่นหนุ่มจะเปิดใจให้กับความคิดการออกแบบโดยผู้ทรงปัญญา โดยถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์และเผยแพร่ให้เป็นที่รับรู้. ถ้าประชาชนจำนวนมากเปิดใจในสิ่งนี้, ผมคิดว่า พวกดาร์วินนิยมก็จะล่มสลายไปเอง. เวลานี้สังคมภายในของนักวิทยาศาสตร์ที่ยังมองโลกในแง่เดิมๆยังมีมากอยู่. แต่ถ้านักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งมีความคิดแตกต่างจากเดิมไป, พวกดาร์วินนิยมก็จะต้องพิสูจน์ตัวเอง - และผมคิดว่าพวกเขาจะไม่ประสพผลสำเร็จ.


http://uk.geocities.com/palangjai2004/DNA3.html
Batholomew
~@
โพสต์: 12724
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 2:28 pm
ที่อยู่: Thailand

พุธ ก.ค. 04, 2007 6:58 pm

ไม่รู้จะพูดยังไง นักวิทยาศาสตร์ก็บอกแล้ว ว่าเกิดจาก ผู้ทรงปัญญา ::001::
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

พุธ ก.ค. 04, 2007 7:26 pm

เจี๊ยบว่าอีกนาน เพราะคนไทยเรียนวิทยาศาสตร์ มานิดหนึ่ง อวดรู้ยังกะจบมา 3 ด็อก วิทย์ งั้นแหละ :wink:

"ความยำเกรงพระเจ้า เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา"
Dis volentibus

พุธ ก.ค. 04, 2007 10:23 pm

โอ้เจ๋งมากเลย ดี จะได้เชียร์นักวิทยาศาสตร์ท่านนี้ :grin:
ขอบคุณมากค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mobster
โพสต์: 1623
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 30, 2007 8:02 pm
ที่อยู่: Bangkok
ติดต่อ:

พฤหัสฯ. ก.ค. 05, 2007 12:10 pm

ยาวไปนี๊ด แต่ก็อ่านจบ น่าสนใจครับ

ไอบทเรียนวิทยาศาสตร์(และประวัติศาสตร์)ในไทยผมว่าอะไรที่มันยังไม่ฟันธง อย่าเพิ่งให้เด็กเรียนในชั้นก่อนปี1เลย เพราะจะเป็นการบล็อคความคิดไปซะงั้น

น่าสังเกต ชีววิทยามีแต่คำว่าทฤษฎี แต่ฟิสิกส์มีแต่คำว่ากฏ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ขอโทษครับ
โพสต์: 40
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ค. 17, 2009 8:59 pm

อาทิตย์ ส.ค. 30, 2009 9:20 pm

Gray Cat de St.Tsar NicholasII เขียน: ยาวไปนี๊ด แต่ก็อ่านจบ น่าสนใจครับ

ไอบทเรียนวิทยาศาสตร์(และประวัติศาสตร์)ในไทยผมว่าอะไรที่มันยังไม่ฟันธง อย่าเพิ่งให้เด็กเรียนในชั้นก่อนปี1เลย เพราะจะเป็นการบล็อคความคิดไปซะงั้น

น่าสังเกต ชีววิทยามีแต่คำว่าทฤษฎี แต่ฟิสิกส์มีแต่คำว่ากฏ
เห็นด้วยครับที่บอกว่า อย่าเพิ่งให้เด็กเรียนในชั้นก่อนปี 1 เลย เพราะจะเป็นการบล๊อคความคิด ตอนนี้ผมก็เรียนเรื่องนี้อยู่ พอผมหันไปถามเพื่อนว่า "แกคิดว่าตายแล้วไปไหน หรือว่าตายแล้วไม่มีอะไรเลย" เพื่อนผมตอบกลับมาว่า "ตายแล้วไม่มีอะไรเลย มนุษย์คงแค่วิวัฒนาการมา ตายไปก็จบ" ทฤษฎีวิวัฒนาการ แต่ปรากฏว่าผู้คนส่วนใหญ่คิดว่ามันเป็น "กฎ" ไปแล้ว
sinner
โพสต์: 2246
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ มี.ค. 08, 2009 1:24 pm

จันทร์ ส.ค. 31, 2009 12:58 pm

ขอบคุณมากค่ะคุณ Holy ที่หามาแบ่งปัน

ดีใจด้วยค่ะที่มีคนค้านดาร์วิน....อิ อิ..ชอบใจมากกกกกกกกกกก : xemo026 :

ใครจะยิ่งใหญ่เท่าพระเจ้าผู้สร้าง...จริงๆ แล้วตัวเองติดใจมานานแล้ว

เพราะสงสัยช่วงที่วิวัฒนาการหยุดไปช่วงหนึ่ง..แล้วทำไมอีตาดาร์วินไม่ตอบตรงนี้ล่ะ

แต่กลับมาบอกว่าเรามาจากลิง.... : emo102 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
Kichinto
โพสต์: 532
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ต.ค. 17, 2007 7:34 pm
ติดต่อ:

จันทร์ ส.ค. 31, 2009 11:13 pm

"Love" is that DATA!
Buddy
โพสต์: 3057
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 09, 2005 10:48 am
ที่อยู่: USA

อังคาร ก.ย. 01, 2009 6:22 am

ขอบคุณค่ะ
ตอบกลับโพส