การทำสมาธิในคริสตศาสนา

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 5:29 pm

การทำสมาธิในคริสตศาสนา
(ถอดความบางตอนจากการพูดนำการทำสมาธิของ)
คุณพ่อ ลอเรนซ์ ฟรีแมน OSB
ผู้อำนวยการ
The World Communuty for Christian Meditation
WCCM International Centre
London
(Series A,2005)

รูปภาพ


การทำสมาธิเป็นรูปแบบการภาวนาที่ “จริงใจ” (Sincere) เมื่อเราทำสมาธิเราก้าวเข้าไปสู่รูปแบบการภาวนาที่คริสตชนในยุคแรกเรียกว่า “การภาวนาที่บริสุทธิ์” (Pure prayer) ที่ว่า “บริสุทธิ์” (Pure) ก็เพราะเป็นการชำระใจให้บริสุทธิ์ปราศจากภาพลักษณ์ต่างๆ ปราศจากอารมณ์กิเลส ความอยาก ความปรารถนา และความกลัวต่างๆ รวมทั้งปราศจากความสลับซับซ้อนทั้งปวงที่พัวพันเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้น สิ่งที่ “บริสุทธิ์” ย่อมเป็นสิ่งที่เรียบง่าย (Simple) ในที่นี้เรากำลังพูดถึง “ความบริสุทธิ์” และ “ความเรียบง่าย” ดังนั้นเมื่อเราทำสมาธิ เราไม่ได้กำลังพูดกับพระเจ้า เราไม่ได้กำลังคิดถึงพระเจ้าด้วยวิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อน เราไม่ได้กำลังนำปัญหาของเรามาโปะให้กับพระเจ้า และติดบนบอร์ดเพื่อเตือนให้พระเจ้าได้เห็นปัญหาของเราเหล่านี้ เพื่อที่พระองค์จะได้ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้เรา เราสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยวิธีการภาวนารูปแบบอื่นๆ ที่เราคุ้นเคยและได้ทำกันมาเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งก็ล้วนเป็นวิธีการภาวนาที่ถูกต้องและมีประโยชน์ทั้งนั้น ฉะนั้น การทำสมาธิ ไม่ใช่สิ่งที่จะมาทดแทนการภาวนารูปแบบอื่นๆ ที่ทำกันอยู่แล้ว แต่รูปแบบการภาวนาที่ “จริงใจ” นี่ต่างหากที่เราควรจะต้องเข้าใจ

การภาวนาที่ “จริงใจ” หมายความว่าอะไร? ในบทที่ 6 ของพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว พระเยซูเจ้าทรงสอนเรื่องการภาวนาว่า “เมื่อท่านภาวนาจงเข้าไปใน ‘ห้องลับส่วนตัว’ ของท่าน (Your ‘inner’ room) และอธิฐานต่อพระบิดาเจ้าภายในสถานที่ ‘ลับ’ นั้น อย่ายืนภาวนาที่มุมถนนเพื่อให้ใครๆ เขาได้เห็นและยกย่อง” พระองค์ตรัสว่า “จงภาวนาอย่างซื่อๆ เรียบง่ายโดยไม่ใช้คำพูดมากมายจงอยู่ใน “ขณะปัจจุบัน” (At the present moment) และจงละทิ้งความกังวลใจทั้งหลาย เมื่อท่านภาวนา” คำสอนของพระเยซูเจ้าในเรื่องการภาวนาเป็นคำอธิบายถึงการทำสมาธิที่สมบูรณ์ที่สุด นี่คือเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระอาจารย์สอนการเพ่งพิศภาวนา

แต่ข้าพเจ้าคิดว่า เมื่อพระองค์ตรัสถึง “ความจริงใจ” ทรงหมายถึง “การภาวนาที่ออกมาจากหัวใจ” บ่อยครั้งที่การทำสมาธินี้ถูกเรียกว่า “การภาวนาจากใจ” ในความเป็นจริง ตามปกติเมื่อเราภาวนา (ตามที่เราเคยถูกสอนกันมา) เรามักจะภาวนาโดยมีจุดประสงค์เพื่ออยากจะเปลี่ยนแปลงโลก หรืออยากจะเปลี่ยนแปลงผู้อื่นที่ทำให้เราอารมณ์เสีย หรือเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เป็นปัญหาในชีวิตของเรา และนั่นคือ “จุดประสงค์” (Intention) ของเรา และเราก็นำ “จุดประสงค์” นี้มาด้วยเมื่อเราภาวนาต่อพระเจ้า เพื่อขอให้พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์รอบชีวิตเราให้ดีขึ้นและเปลี่ยนชีวิตเราให้เป็นชีวิตที่ดีขึ้น ฟังดูแล้วการภาวนาอย่างมี “เป้าประสงค์” ในการขออย่างนี้ก็ดูจะไม่ค่อยจริงใจเท่าไรนัก เพราะหลักการสำคัญของการภาวนามิใช่เพื่อให้เราพยายามเปลี่ยนแปลงโลกรอบข้างของเรา เพราะนั่นเป็นธุระของพระเจ้า เราคิดว่าเราเป็นใครที่จะไปเที่ยวขอให้พระเจ้าไปเปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี่ให้เรา ด้วยเหตุนี้ เราจะภาวนาอย่าง “จริงใจ” ได้ก็ต่อเมื่อเราพร้อมที่จะ “เปิดใจ” เราจริงๆ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนการ “เปิดใจ” ของเราและการยอมรับความจริงในตัวเราและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน เป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่ “ความจริงใจ” ในการภาวนาของเรา

ดังนั้นในเวลาทำสมาธิ เราจึงไม่นำเอาคำวิงวอนต่างๆ ของเราหรือ “จุดประสงค์” (Intention) ของเราเข้ามาขอกับพระเจ้า เราไม่ต้องเอามาพูดขอเพราะพระองค์ทราบความต้องการของเราอยู่แล้วก่อนที่เราจะเอ่ยปากขอเสียอีก แต่เราต้องให้ “ความสนใจ” หรือ “ความใส่ใจ” หรือมี “ใจจดจ่อ” (Attention) อยู่กับใน “ขณะปัจจุบัน” (At the present moment) ไม่ใช่แสดง “จุดประสงค์” ในการขอโน่นขอนี่ของเรา นี่คือการมองเห็นอันบริสุทธิ์ของการทำสมาธิ เป็นการเพ่งพิศภาวนา ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่เก็บความคิดอะไรไว้ในใจของเรา แต่เรากำลังทำบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า ยอห์นเมนกล่าวว่า เราจะรับรู้ความสามารถที่ลึกล้ำที่สุดของเราเมื่อเราทำสมาธิ นั่นคือความสามารถที่จะ “อยู่กับพระเจ้า” (With God) “ในพระเจ้า” (In God) ณ “ที่นี่” (Here) และใน “ขณะนี้” (Now)
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 6:23 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 5:35 pm

วิธีการทำสมาธิ

รูปภาพ

ข้าพเจ้าขออธิบายถึงวิธีการทำสมาธิก่อน จากนั้นเราก็จะใช้เวลาสักครู่หนึ่งฝึกทำสมาธิร่วมกัน สิ่งแรกที่เราทำเมื่อเราทำสมาธิ คือ “ความเงียบ” ซึ่งหมายความว่าเราต้องอยู่นิ่งๆ และเงียบ ดังนั้นสิ่งแรกที่เราทำคือการนั่งนิ่งๆ เงียบๆ โดยพยายามทำให้ร่างกายสงบเงียบที่สุดเท่าที่จะทำได้ หมายความว่าท่านต้องไม่ขยับตัวไม่ไอไม่แกะห่อขนมหรือท๊อฟฟี่ ไม่รูปซิปกระเป๋าหรือสั่งน้ำมูก หรือเอาเท้ามาถูกัน ฯลฯ โดยสรุปคือ ไม่ทำให้เกิดเสียงใดๆ ทางร่างกายเลย นี่คือด่านแรกในการทำสมาธิ นั่นก็คือความเงียบนิ่งทางกาย บางทีนี่อาจจะฟังดูเหมือนเป็นก้าวแรกที่ง่ายๆ ในการเดินทางแห่งการเพ่งฌานอันยิ่งใหญ่ แต่เป็นก้าวที่มักจะทำให้ท่านได้เรียนรู้มากมาย ยอห์นเมนกล่าวว่า “เพียงการเรียนรู้ที่จะนั่งนิ่งๆ ไม่ทำเสียงอะไรก็จะสอนบทเรียนเกี่ยวกับการเดินทางของชีวิตฝ่ายจิตให้แก่ท่านได้มากมายแล้ว” เพราะสำหรับพวกเราบางคน นี่คือก้าวที่สำคัญ เป็นก้าวแรกที่จะก้าวไปเกินกว่าจะคาดหวัง ดังนั้น การทำตัวทำใจให้เงียบนิ่งให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และอย่างผ่อนคลายแต่จริงจัง จึงเป็นก้าวแรกของการทำสมาธิ

จากนั้น การทำความนิ่งเงียบเป็นเรื่องของ “ภายในใจเรา” (Interior) เป็นความเงียบนิ่งทางใจ ตรงนี้ยากมาก เพราะเราจะเริ่มค้นพบว่าพอเรานั่งนิ่งๆ สมองเราจะอยู่นิ่งไม่ได้ เหมือนลิงกระโดดไปมาบนต้นไม้ ใจของเราไม่หยุดนิ่ง ใจไม่เงียบ แต่กำลังวิ่งเป็นวงกลม กระวนกระวายเต็มไปด้วยความกลัว ความปรารถนา ความเพ้อฝัน ความทรงจำ และแผนการต่างๆ ในใจเรา ตามคำกล่าวของนักพรตคริสตชนในยุคแรกของศาสนาเรา (ที่ยอห์นเมนได้เรียนรู้ประเพณีของการทำสมาธิแบบคริสต์) ความวุ่นวายกระวนกระวายใจและการขาดสมาธิในสมองของเรานี้ คือความหมายที่แท้จริงของบาปกำเนิดของเรานั่นเอง มันเป็น “ความไร้สมรรถภาพของเราที่จะให้ความสนใจกับพระเจ้าใน ‘ขณะปัจจุบัน’” อะไรจะเรียบง่ายไปกว่าการให้ความสนใจกับ “ขณะปัจจุบัน”? แต่สิ่งที่เรียบง่ายไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย

พระเจ้าทรงเป็นอยู่ทุกหนทุกแห่ง (God Is!) พระองค์อยู่ที่นี่ ! (God Is Here!) และในขณะนี้! (God Is Now!) เราก็อยู่ที่นี้! (I am here!) และขณะนี้! (I am now!) แต่ทำไมจึงดูเหมือนว่าพระองค์ไม่ได้อยู่ที่นี่? ทำไมจึงดูเหมือนว่าพระองค์ทรงอยู่ห่างไกล? ทำไมบางครั้งจึงดูเหมือนว่ายังกับไม่มีพระเจ้า? สาเหตุไม่ใช่เป็นเพราะพระเจ้าไม่ได้อยู่ที่นี่ หรือไม่มีพระเจ้า แต่เป็นเพราะ “ใจฉันไม่ได้อยู่ที่นี่ ณ ขณะนี้ กับพระเจ้า” ต่างหาก

รูปภาพ

เมื่อเราทำสมาธิเราเห็นทุกสิ่งที่ว่ามานี้ราวกับเห็นในกระจกเงา ทันทีที่เราเริ่มนั่งลงเพื่อทำสมาธิ เรามองเห็นภาพสะท้อนของตัวเราในใจของเราเอง เห็นเรากำลังสับสน วุ่นวาย กระวนกระวาย (Distracted, turbulent, agitated) ไม่มั่นใจในตัวเอง (Insecure) หวาดกลัว (Frightened) เป็นคนเห็นแก่ตัวและเห็นแต่ความสำคัญของตัวเองเท่านั้น (Egocentric) เต็มไปด้วยความฝัน ความเพ้อฝัน (Fantasies) ความกลัว (Fears) ความกังวล (Anxieties) ความโกรธ (Anger) และความกลัวความรุนแรง ถ้าท่านสามารถวิเคราะห์สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในใจของท่านได้ ณ จุดใดจุดหนึ่ง ท่านก็จะพบว่า มีความคิดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ท่านได้ทำไปในวันนั้น หรือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วหรือเป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าในชีวิตของท่านที่เกิดขึ้นในอดีตนานมาแล้ว เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องของอดีต ถ้าใจของเราจมปักติดยึดอยู่กับอดีต เราก็ไม่น่าจะรู้สึกสงบสุขหรือชื่นชมยินดีเท่าไรนัก เราจะรู้สึกค่อนข้างเศร้าหรือเสียใจ หรือรู้สึกผิด หรือโหยหาอดีต

ถ้าสมองเราไม่วนเวียนอยู่กับอดีต เราก็มักจะหมกมุ่นอยู่กับอนาคต เราจะวางแผนว่าจะทำอะไรในคืนนี้ พรุ่งนี้ ปีหน้า หรือเมื่อเราเกษียณอายุในอีก 20 ปีข้างหน้า ทันทีที่เราเริ่มวางแผน—ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอดไม่ได้ที่จะทำ เพราะนี่คือวิธีควบคุมความเป็นจริงของเรา—เมื่อนั้นเราจะเริ่มรู้สึกกังวล เพราะเรารู้ว่า เราไม่สามารถควบคุมความเป็นจริงในชีวิตได้ อะไรก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ด้วยเหตุนี้ทันทีที่เราเริ่มวางแผน หรือคิดถึงอนาคต เราก็จะเริ่มกระตุ้นความกลัวความตายของเราขึ้นมาด้วย


คราวนี้เราจะทำอย่างไร?

เมื่อเราหาความสงบสุขไม่ได้จากอดีต และหาความสงบสุขหรือความปิติยินดีไม่ได้จากการหมกมุ่นอยู่กับอนาคต ดังนั้นจิตใจเราจึงมองหาที่ที่เราจะหลบหนีไป แล้วมันก็หนีไปหาโลกของดิสนีย์เวิลดิ์ (Disney World) เราหลบเข้าไปอยู่ในอาณาจักรของความเพ้อฝัน และการฝันกลางวัน (Daydreams) และสนองตัณหาตอนเอง การลอยอยู่ในความเพ้อฝันอาจช่วยให้เราหลบหนีความเป็นจริงไปได้สักชั่วขณะหนึ่ง แต่แล้วในที่สุด เราก็ต้องหล่นตุ๊บกลับลงมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้น เราก็ไม่พบกับความสงบสุขและความชื่นชมยินดีมากนักแม้แต่ในโลกแห่งความเพ้อฝันของดิสนีย์เวิลดิ์ก็ตาม

แล้วเราจะไปที่ไหนกัน?

คำถามนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางฝ่ายจิต (Spiritual journey) ซึ่งเราจะได้เห็นในความแตกต่างระหว่างสภาวะจิต (State of mind) ทั้งสามแบบคือ- -“การอยู่กับอดีตอยู่กับอนาคต และอยู่กับการฝันกลางวัน” ไม่มีสภาวะใดที่จะให้ความสงบสุข หรือความพึงพอใจที่ลึกซึ้งหรือความสุขแก่เราได้ เราไม่อาจจะรู้สึกถึงความชื่นชมยินดีและความสุขอันบริสุทธิ์ในสภาวะทั้งสามนี้ แล้วเราจะหันไปทางไหนล่ะ? ที่ไดล่ะที่มีความสงบสุข? ที่ใดล่ะที่มีความชื่นชมยินดี? เราจะมองหาจากภายนอกหรือ? ถ้าเช่นนั้นจากที่ไหน? ในที่สุดการแสวงหาและการพิเคราะห์แยกแยะเช่นนี้จะนำเรากลับไปสู่สถานที่เดียว ที่เราจะพบพระเจ้าได้จริง นั่นก็คือ “ที่นี่” (HERE) และเวลาเดียวที่เราสมารถจะสัมผัสพระเจ้าได้ นั่นก็คือ “ขณะนี้” (NOW)

รูปภาพ

[size=15pt]นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าการเพ่งพิศภาวนา (Contemplation) หรือชีวิตเพ่งพิศภาวนา (the comtemplative way of life) หรือสภาวะจิตที่เพ่งพิศภาวนา (a contemplative stare of mind) คือ “การดำรงอยู่ในขณะปัจจุบัน” (Living, being, in the present moment) และนี่คือสิ่งที่เราฝึกปฏิบัติเมื่อเราทำสมาธิ ดังนั้นเมื่อเราเริ่มทำสมาธิในอีกสักครู่ จิตใจของเราจะวิ่งวนไปรอบๆ กลับไปกลับมา จากอดีตไปอนาคต สลับกับการฝันกลางวัน สิ่งที่เราทำระหว่างช่วงเวลาของการทำสมาธิดังกล่าวนี้ คือการแสดง “ความมุ่งมั่นใส่ใจ” (Attention) กับ “ขณะปัจจุบัน” (The present moment) นี่อย่างเต็มที่สุดๆ เท่าที่เราจะทำได้[/size]

เราต้องมีวิธีการเพื่อนที่จะช่วยให้เราทำเช่นนี้ได้ และเรามีหลักฝึกปฏิบัติที่ง่ายมาก (Simple discipline) - -คือ “การฝึกฝนฝ่ายจิต” (the spiritual practice) - - -เป็นวิธีการที่เรียบง่ายมากที่ท่านจะพบได้ในศาสนาใหญ่ๆ ทุกศาสนา ยอห์นเมน ค้นพบวิธีการนี้ขณะที่เขาใช้ชีวิตอาศัยอยู่ในเอเชีย ต่อมาเขาได้ค้นพบว่า นี่คือส่วนหนึ่งของธรรมประเพณีคริสตชนในยุคแรก เมื่อเขาศึกษาจากข้อเขียนและคำสั่งสอนของนักพรตคริสตชนในยุคแรกหรือที่เรียกว่าบรรดาปิตาจารย์ที่ดำรงชีวิตในทะเลทราย (The Fathers and Mothers of the Desert) สิ่งที่บุคคลเหล่านี้แนะนำคือการใช้ “มันตรา” (Mantra)”
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 6:31 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 5:39 pm

อาจารย์คริสตชนในยุคแรกแนะนำวิธีการภาวนาอันบริสุทธิ์ที่เรียบง่ายและปฏิบัติได้ ดังนี้ คือระหว่างการทำสมาธิให้ท่านเลือกคำๆ หนึ่งหรือวลีสั้นๆ และกล่าวคำหรือวลีนั้นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ- - -ซึ่งคำนี้เป็นที่เรียกกันว่า “มันตรา”- -- ให้กล่าวคำนี้ซ้ำไปซ้ำมาในสมองและในใจของท่านอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาการทำสมาธิ การกล่าวคำพูดซ้ำๆ ง่ายๆ นี่แหละจะช่วยนำท่านออกจากความคิดไปสู่หัวใจออกจากความกระวนกระวายไปสู่ความสงบสุข ออกจากการขาดสมาธิ (Distraction) ไปสู่ภาวะใน “ขณะปัจจุบัน” (the present moment) การกล่าวคำพูดนี้จะสร้างทางแคบๆ แห่งความเงียบให้ท่านเดินตาม ฝ่าเสียงดังต่างๆ ฝ่าความวอกแวกความกระวนกระวาย และฝ่าความสับสนของความคิดต่างๆ ไป จำไว้ว่าพระเยซูเจ้าตรัสเกี่ยวกับวิถีทางสู่ชีวิตว่า “ทางไปสู่ชีวิตเป็นทางที่แคบ และน้อยคนที่พบทางนี้”

ฉะนั้นการกล่าวคำของท่านนี้จึงเป็นหลักการฝึกปฏิบัติตนที่สำคัญ จำเป็น และเป็นศิลป์ของการทำสมาธิ ให้ท่านนั่งลง นั่งให้นิ่ง นั่งเงียบๆ กฎข้อแรกของท่านั่ง คือให้นั่งหลังตรง ซึ่งจะช่วยให้ท่านไม่หลับ และตื่นตัวอยู่เสมอ จากนั้นท่านจะกล่าว “มันตรา” ของท่านเบาๆ ภายในใจซ้ำไปซ้ำมา ให้กล่าวคำนี้โดยไม่ขยับริมฝีปากหรือลิ้น

รูปภาพ

การเลือกคำเป็นสิ่งสำคัญ เพราะท่านจะใช้คำเดียวนี้ตลอดช่วงเวลาการทำสมาธิและทุกครั้งที่ทำสมาธิ ให้ทำสมาธิทุกเช้าและเย็น ครั้งละประมาณครึ่งชั่วโมง และให้ใช้คำเดียวกันนี้ทุกครั้ง การยึดมั่นในคำนี้จะช่วยให้คำนี้จมลงในสติสัมปชัญญะระดับลึกลงไปทีละน้อย จมลงไปสู่ใน “หัวใจ” โดยที่เราไม่รู้ตัว - - - ด้วยเหตุนี้ การเลือกคำจึงสำคัญ ท่านอาจจะใช้คำว่า “เยซู” ซึ่งเป็น “มันตรา” ที่ใช้ในภาวนาของคริสตชนในยุคโบราณ หรือท่านอาจใช้คำว่า “อับบา” ซึ่งเป็นคำที่งดงามที่พระเยซูเจ้าทรงทำให้ศักดิ์สิทธิ์ในบทภาวนาของพระองค์เอง คำที่ข้าพเจ้าขอแนะนำ และเป็นคำที่คุณพ่อยอห์น เมน แนะนำคือ “มารานาธา” (Maranatha)

“มารานาธา” เป็นคำภาวนาที่เก่าแก่ที่สุดของคริสตชนแปลว่า “เชิญเสด็จมาเถิด พระเจ้าข้า” เป็นคำภาษาอาราเมอิก ซึ่งเป็นภาษาที่พระเยซูเจ้าทรงใช้พูด นักบุญเปาโลใช้คำนี้ปิดท้ายจดหมายของท่านถึงชาวโครินธ์ฉบับที่หนึ่ง ถ้าท่านเลือกคำนี้ จงกล่าวคำออกเป็น 4 พยางค์ คือ “มา-รา-นา-ธา” และเปล่งคำนี้อย่างชัดเจนในใจของท่าน ฟังคำนี้เมื่อท่านเอ่ยออกมา อย่าคิดถึงความหมายของคำ การทำสมาธิ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ท่านจะคิด ในระหว่างการทำสมาธิ จงปล่อยความคิดทั้งหมดออกไปแม้แต่ความคิดที่ดีหรือความเข้าใจฝ่ายจิต (Spiritual insight) ก็ตาม ถามว่าท่านจะปลดปล่อยความคิดทั้งหลายได้อย่างไร ? ก็โดยการกลับมาหา “มันตรา” ของท่านทันทีที่ท่านรู้ตัวว่าใจของท่านกำลังวอกแวกไปกับความคิดความกังวลต่างๆ และนี่คือความหมายของคำว่า การฝึกปฏิบัติ “ความยากจนฝ่ายจิต” (Poverty in spirit) - - - หมายถึง “การปลดปล่อยหรือปล่อยวางจากทุกสิ่ง” (Letting go of everything) พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ผู้ที่มีใจยากจนย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้ครอบครองอาณาจักรของพระเจ้า” วิธีที่เราฝึกปฏิบัติ “ความยากจนฝ่ายจิต” นี่ (- - - หรือการปล่อยวางซึ่งเป็น “อิสรภาพ” อันน่าพิศวงที่ได้รับจากความยากจนฝ่ายจิต- - -) ก็โดยการการกลับมาหาคำ “มันตรา” นี้ อย่างมุ่งมั่นและอย่างซื่อสัตย์ ฉะนั้นจำไว้ จงกล่าวคำ “มันตรา” นี้อย่างนุ่มนวลเบาๆ ไม่ต้องออกแรง แต่ให้กล่าวอย่างซื่อสัตย์และต่อเนื่อง และให้หันกลับมาหาคำนี้ทันทีที่ท่านรู้ตัวว่าท่านได้หยุดกล่าวคำนี้

รูปภาพ

เมื่อท่านเริ่มต้นทำสมาธิ ถ้าท่านสามารถนั่งได้สัก 2 หรือ 3 วินาที ก็ต้องนับได้ว่าท่านโชคดีมากแล้วก่อนที่สมองท่านจะถูกรุมเร้าด้วยเรื่องในอดีต หรืออนาคต หรือเริ่มเพ้อฝันหรือฝันกลางวัน หรือจินตนาการคำสนทนาต่างๆ หรือความกลัวหรือความกังวลใจเล็กๆ น้อยๆ จะเริ่มเข้ามาในความคิดของท่านหรือเริ่มวางแผนงานที่ท่านจะทำต่อไป

ด้วยพระหรรษทานของพระเจ้า นี่คือความลี้ลับอันยิ่งใหญ่ของจิตสำนึก (Consciousness) - - -ที่ท่านรู้ตัวในความจริงที่ว่าท่านกำลังขาดสมาธิเพราะใจท่านได้วอกแวกออกไป และที่ท่านรับรู้เช่นนี้ได้ก็เพราะพระจิตเจ้าทรงกำลังภาวนาอยู่ในตัวท่านด้วยนั่นเอง ฉะนั้นทันทีที่ท่านตระหนักว่าท่านได้หยุดกล่าว “มันตรา” จงอย่าเสียเวลาวิเคราะห์หรือรู้สึกผิด หรือคิดว่าตนเองล้มเหลวในการทำสมาธิ แต่จงหันกลับมาเริ่มต้นกล่าว “มันตรา” อีกครั้งหนึ่ง ด้วยวิธีนี้เราจะปรับตัวตนส่วนลึกที่สุดของเราให้เคลื่อนไหวอย่างสอดคล้องกับพระจิตเจ้า ดังนั้น จงหยุดคิดประเมินถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการทำสมาธิ เป็นธรรมดาที่ “อัตตา” ของท่านจะบอกท่านว่า “เธอทำไม่ได้เรื่อยเลย เสียเวลาเปล่าๆ เธอไม่มีความสามารถที่จะทำสมาธิได้ดีหรอก ลองวิธีอื่นที่จะทำให้เธอมีความพอใจได้มากกว่านี้ดีกว่า อะไรก็ได้ที่จะให้ความรู้สึกสาสมแก่ใจได้เร็วกว่านี้ได้” เมื่อท่านได้ยินเสียง “อัตตา” เช่นนี้ จงขับไล่มันไปเสีย - - - “ไปเสียเถิด อย่ามายุ่งกับฉัน”

ดังนั้นจงพยายามตัดขาดจากการยึดติดอยู่กับเรื่องความล้มเหลวหรือความสำเร็จ เพราะการยึดติดอยู่กับเรื่องความล้มเหลวหรือความสำเร็จนั้น มันเป็นปัญหาของเรื่อง “อัตตา” (Ego) ของเรา ทันทีที่รู้ตัวว่าท่านได้หยุดกล่าว “มันตรา” ท่านไม่ต้องเสียเวลาประเมินผลงานของท่านว่าท่านทำได้ดีแค่ไหน ท่านเพียงแต่ ‘มันตรา’ ด้วย ‘ความซื่อสัตย์และเรียบง่าย’ (Simplicity) และความสุภาพถ่อมตน (Humility) เหมือนเด็ก” การฝึกวินัยเช่นนี้จะสอนท่านโดยตรงถึงความหมายของพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ว่า “ถ้าท่านไม่กลายเป็นเด็กเล็กๆ ท่านจะไม่สามารถเข้าพระอาณาจักรของพระเจ้าได้” บางครั้งคนจะมองหาวิธีทำสมาธิที่สลับซับซ้อน แต่แท้จริงแล้ววิธีปฏิบัติที่บริสุทธิ์และเรียบง่าย (Simplicity) นี่แหละที่ความล้ำลึกของการดำรงอยู่จะเผยให้เห็น

รูปภาพ

ถ้าท่านกำลังคาดหวังหรือมองหาประสบการณ์ที่ลึกลับจากการทำสมาธิละก็ จงอย่าคิดหรือมองหาว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น คุณพ่อยอห์นเมนเคยบอกว่า “ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น ก็อย่าไปสนใจมัน และถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็ควรจะรู้สึกขอบคุณ” ที่จริงแล้ว มีความล้ำลึกซ่อนอยู่ในคำพูดนี้ ทันทีที่ท่านฝึกปฏิบัติสมาธิ - - -ด้วยวิธีที่บริสุทธิ์และเรียบง่ายนี้ (Simplicity) - - - ความลึกลับอันยิ่งใหญ่ของการดำรงอยู่จะเผยให้เห็น ดังนั้น คำสอนขั้นต้นก็คือ “ความซื่อสัตย์และเรียบง่าย” นั่นเอง ไม่ว่าท่านจะฝึกมาแล้วเป็นปีๆ หรือฝึกๆ หยุดๆ หรือเพิ่งเริ่มฝึก เราทุกคนกำลังเริ่มต้นที่จุดเดียวกัน เราทุกคนเป็นผู้เริ่มต้น เราทุกคนอยู่ที่นี่ (HERE) ณ เวลานี้ (NOW) เราทุกคนกำลังเริ่มต้นก้าวไปบนเส้นทางเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 6:33 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 5:45 pm

พระเยซูเจ้าตรัสว่า เมื่อเราภาวนา เราต้อง “ละทิ้ง ‘ตัวตน’ ของเราไว้เบื้องหลัง” (Leave “Self” behind) พระองค์ตรัสว่า “ไม่มีใครเป็นศิษย์ของเราได้เว้นแต่ผู้นั้นจะละทิ้งตนเองไว้เบื้องหลัง” นี่คือเสียงเรียกที่เรียบง่าย (Simple) สุดขั้ว (Radical) น่าพิศวง (Wonderful) แต่ท้าทายยิ่ง (Challenging) จากพระวรสารคริสตศาสนา ที่เรียกร้องชาวคริสต์ไม่ใช่เพียงให้เชื่อบางสิ่งบางอย่าง หรือปฏิบัติตามกฎบางข้อ หรือเคร่งศาสนาในกรอบภายนอก แต่เรียกร้องให้ “ละทิ้ง” ‘ตัวตน’ ไว้เบื้องหลัง” นั่นแปลว่าอะไร? นั่นแปลว่าเราควรจะหยุดการยึดถือตัวเราเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ควรหยุดการยึดถือตัวเราเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง เรามักจะห่วงกังวล อยากได้ทุกสิ่งให้เป็นไปตามที่เราต้องการ (Our egotistical mind) ให้เราหยุดคิดถึงตนเอง แต่ให้ขยายตัวออกไปจาก “โลก ‘อัตตา’ (Ego) ที่คับแคบของเรา” (Our narrow ego) และเคลื่อนไหวและขยายตัวเข้าสู่จิตใจของพระคริสตเจ้า


รูปภาพ

อะไรคือแก่นแท้ของคำสอนนี้ของพระเยซูเจ้า?

ขอให้เราย้อนกลับมายังจุดสำคัญ - - - นั่นคือ “ใครที่ต้องการเป็นศิษย์ของเรา ต้องละทิ้งตัวตนไว้เบื้องหลัง” นั่นหมายความว่าอะไร ให้ “ละทิ้ง ‘ตัวตน’ ของเราไว้เบื้องหลัง” ? “การละทิ้งตัวตน” ฟังดูอาจมีความหมายในด้านลบ อาจหมายถึงการต้องปฏิเสธตัวเอง เป็นเรื่องที่ค่อนข้างต้องบีบคั้นกดดันตัวเอง (Self-destructive) ทำให้รู้สึกห่อเหี่ยวใจ (Repressive) แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ “การละทิ้งตัวตน” ไม่ได้หมายความว่าเราต้องบีบคั้นกดดันตัวเอง ไม่ได้หมายความว่าเราต้องปฏิเสธการหาความสุขสำราญในชีวิตของเรา หรือต้องลงโทษตัวเราเอง ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเราใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้น เราต้องปฏิเสธตัวเองละทำให้ตนเองเจ็บมากขึ้น แน่นอน นั่นไม่ใช่จิตตารมณ์ของพระวรสารที่ต้องกานให้เราเป็นอย่างนั้น นั่นไม่ใช่บุคลิกของพรเยซูเจ้า พระวรสารของพรเยซูเจ้าเกี่ยวข้องกับการค้นพบ “สันติสุข และความชื่นชมยินดี” (Peace and joy) และแบ่งปันคุณสมบัติที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตนี้ให้แก่ผู้อื่น

เราคงไม่สามารถที่จะมีความสงบสุขได้มากนักหรอก ถ้าเรามีทัศนคติที่เป็นลบต่อตัวเอง ที่คอยกดดันบีบคั้นตัวเราเองอยู “การละทิ้ง ‘ตัวตน’ ไว้เบื้องหลัง” ไม่ได้มีความหมายในแง่ลบ ไม่ใช่เป็นเรื่องการปฏิเสธตัวเอง หรือลงโทษทำร้ายจิตใจตัวเอง การเจริญชีวิตฝ่ายจิตไม่มีความหมายในแง่ลบ ที่เรามีแนวโน้มที่จะมองให้แง่ลบ ก็คงเป็นเพราะบางครั้งในฐานะคริสตชน เราได้รับเอาสภาวะจิตในการมองและคิดในด้านลบ (Negative state of mind) มาโดยไม่รู้ตัว เราหมกมุ่นกับความรู้สึกผิด (Guilt) รู้สึกบาป รู้สึกกลัวในการถูกลงโทษ (Punishment) กลัวตกนรก และหมกมุ่นกับการคิดว่าความรอดเป็นเหมือนชมรมพิเศษหรือคลับพิเศษที่จำกัดเฉพาะสมาชิกบางกลุ่มเท่านั้น มีแต่บางคนเท่านั้นที่ได้รับเรียกให้เขาได้ ส่วนคนอื่นๆ จะถูกกีดกันไม่ให้เข้า แต่ทั้งหมดนี้ไม่เป็นจริงและไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระวรสารของพระเยซูเจ้า พระวรสารท้าทายให้เรามีชีวิตชีวา มิใช่ให้เราตื่นตระหนกหวาดกลัว พระเยซูเจ้าไม่ทรงต้องการให้เรารู้สึกผิด (Guilty) นั่นไม่ใช่ความหมายของการสำนึกผิดที่ได้ทำบาป (Repentence) พระองค์ทรงบอกให้เราสำนึกผิด ซึ่งแปลว่า “ใช่ ! ฉันได้ทำผิดไปจริง..ฉันไม่ได้ทำเต็มที่ตามที่ฉันควรทำสุดๆ ตามศักยภาพของฉัน...แต่ต่อไปนี้ ฉันจะทำตัวให้ดีกว่านี้” แต่ความรู้สึกผิด (Guilt) เป็นสภาวะจิตในด้านลบที่บ่อนทำลาย ในพระวรสารของพระเยซูเจ้าไม่มีข้อความใดเลยที่เสนอภาพของพระเจ้าผู้ต้องการลงโทษเรา บาปมีโทษทัณฑ์อยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว พระเจ้าไม่จำเป็นที่จะต้องลงโทษเรา พระเจ้าไม่ทรงต้องการจะลงโทษเรา เพราะมันขัดกับภาพลักษณ์ของพระเจ้าซึ่งเป็นภาพแห่งความรัก เพราะการลงโทษไม่ได้อยู่ในธรรมชาติของความรัก จริงอยู่ ที่ความรักโดยทั่วไปสามารถทำให้เราเจ็บปวดได้ ความรักอาจจะนำมาซึ่งความจริงที่แย่ที่เราต้องยอมรับด้วยความเจ็บปวดก็ได้ แต่”ความรักไม่ลงโทษ” แล้วเหตุใดเล่าที่เราคริสตชนจึงยึดมั่นอยู่กับภาพลักษณ์ของพระเจ้าผู้จะลงโทษเรา? เราไม่สามารถรักพระเจ้าผู้จะลงโทษได้ ถ้าท่านคิดถึงใครบางคนที่จะลงโทษท่าน ย่อมเป็นการยากที่ท่านจะรักเขาได้ไว้ใจเขาได้

รูปภาพ

ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นความจริงว่า “การละทิ้ง ‘ตัวตน’ ไว้เบื้องหลัง” ไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญชีวิตฝ่ายจิตในแง่ลบ ไม่เกี่ยวข้องกับการบีบคั้นกดดันหรือความรู้สึกผิด แต่หมายถึง “การปลดปล่อยให้เป็นอิสระ” (Liberation) คือ “ปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความหมกมุ่นยึดติดอยู่กับ ‘อัตตา’ นิยมทั้งปวง (Egotistical obsessions) ให้หลุดพ้นจากโลกที่ผูกพันอยู่กับ ‘ อัตตา’ (Ego-bounded world) ให้หลุดพ้นจาก ‘คุก’ แห่งความเห็นแก่ตัว (Selfishness) คิดถึงแต่ตนเอง (Self-centeredness) ให้หลุดพ้นจาก ‘คุก’ แห่งกิเลสและความปรารถนา (Desires) หรือแรงกิเลสที่กระตุ้นบังคับ (Com-pulsion) หรือการเสพติด (Addiction) หรือความกลัว และความไม่มั่นใจในตัวเอง (Insecurity)” ฉะนั้น “การละทิ้ง ‘ตัวตน’ ไว้เบื้องหลัง” คือ “การละทิ้ง ‘อันตา’ หรือ ‘ตัวกูของกู’ ไว้เบื้องหลัง” และออกจาก ‘คุก’ เล็กๆ นี้ไปสู่ที่โล่งกว้างแห่งจิต- - -ออกไปสู่อิสรภาพของบุตรของพระเจ้า
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 6:35 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 5:47 pm

“อิสรภาพจาก ‘อัตตา’ หรือความเป็น ‘ตัวกูของกู’” (Freedom from the Ego)

การทำสมาธิจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “อิสรภาพ” (Freedom) สิ่งที่เกิดขึ้นในการทำสมาธิคือ “ท่านปลดตนเองให้หลุดออกจาก ‘อัตตา’ ของท่าน” (You unhook yourself from your Ego) และเชื่อมต่อกับตัวตนที่แท้จริงของท่าน (Your true self) อีกครั้งหนึ่ง...ในการทำสมาธิ เรา “เคลื่อนตัวออกจากการยึดมั่นในตนเอง (Self-fixation) และความหมกมุ่นอยู่กับตนเอง (Selfobsesstion)” ออกไปสู่อิสรภาพใหม่ของฝ่ายจิต คนที่ยึดมั่นในตนเองย่อมไม่สามารถจะรักใครได้ (A self-fixated person cannot love) และคนที่เห็นแก่ตัวก็ไม่สามารถจะมีความสุขได้ (Aselfish person cannot be happy) มีคำสั่งสอนที่สรุปพุทธศาสนานิกายมหายานไว้อย่างน่าฟังว่า “ความทุกข์ทั้งหมดในโลกเกิดมาจากบุคคลที่พยายามแสวงหาความสุขให้กับตนเอง และความสุขทั้งหมดในโลกเกิดจากบุคคลที่พยายามทำให้ผู้อื่นมีความสุข” และนั่นเป็นความจริงตรงกับพระวรสาร นี่คือความหมายของ “การละทิ้งตัวตน” - - -คือการพบความสุขโดยการ “ปลดปล่อยตนเองจาก ‘อัตตา’ ของเรา” (Freeing ourselves from our ‘Ego’) และเข้าสู่ความสัมพันธ์อันยิ่งใหญ่- - -ซึ่งก็คือ พระเจ้า

รูปภาพ

เราจะทำเช่นนั้นได้ด้วยการทำสมาธิได้อย่างไร?- - - ก็ด้วย “ความเรียบง่าย” (Simplicity) คือเราต้องหยุดคิดถึงเกี่ยวกับตัวเราเอง เราค้นหาด้วยกระบวนการปลูกจิตสำนึกให้รู้จักตัวของเราเองและแน่นอน เหมือนที่ข้าพเจ้าได้เคยพูดไว้แล้วว่า “สิ่งที่เรียบง่าย” ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นเรื่องที่ “ง่าย” มันไม่ง่ายที่จะหยุดคิดถึงตัวเราเอง เพราะเราได้คุ้นเคยกับการหมกหมุ่นอยู่กับตัวเราเองอยู่ตลอดเวลามาตลอดชีวิต ฉะนั้นมันไม่ง่าย แต่ในการทำสมาธิ เราจะกลับกระบวนการนั้นเสีย เราจะดัดนิสัยของภาวะจิตของเรา โดยลองทำบางสิ่งที่แตกต่างจากที่เราทำอย่างคุ้นเคยอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น เมื่อเราเริ่มหยุดคิดถึงตนเอง ความสนใจของเราก็จะเคลื่อนลงสู่สถานที่ที่ลึกยิ่งกว่า บริสุทธิ์ยิ่งกว่า- - - ซึ่งเงียบกว่า และมีสติกว่า- - -ในขณะที่เราเคลื่อนเข้าสู่จิตใจของพระคริสตเจ้า
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 6:36 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 5:52 pm

คำสอนสำคัญอีกข้อหนึ่งของพระเยซูเจ้า อยู่ในวลีของพระองค์ที่ว่า “ไม่มีใครเป็นศิษย์ของเราได้เว้นแต่เขาจะละทิ้งสมบัติทั้งหมดของเขา” (No one can be a follower of mine, unless they renounce all their possessions) นั่นหมายความว่าอะไร? จะให้ความหมายว่า “การละทิ้งสมบัติทั้งหมด” นั้น แปลว่าเราทุกคนจะต้องสละกระเป๋าเงินของเราที่เรามีอยู่ในตอนนี้ รวมทั้งบัตรเครดิตของเรา รถยนต์ บ้าน และเสื้อผ้า เข้าของทั้งหมดของเรา อย่างนั้นหรือ? ถ้าเช่นนั้นเราคงจะไม่สามารถปฏิบัติตามคำสอนนี้ได้อย่างแน่นอน “จะทำอย่างไง? ฉันยังผูกพันกับสมบัติทั้งหลายของฉันอย่างมาก เช่น นาฬิกาที่สวมอยู่บนข้อมือในตอนนี้ และอะไรต่างๆ อีกเยอะแยะ......” ฉะนั้น “การสะสมบัติทั้งหมดของท่าน”นั้น จริงๆ หมายาความว่าอย่างไร? จะให้หมายความว่าเราทุกคนต้องเริ่มดำรงชีวิตเหมือนนักบุญ ฟรังซิส ตั้งแต่บัดนี้ โดยนำสมบัติทั้งหมดของเราไปแจกจ่ายให้กับคนจน อย่างนั้นหรือ? บางทีอาจมีบางคนที่คิดว่านี่คือความหมายที่แท้จริงสำหรับเขา ก็เป็นไปได้ และเราก็ได้ประโยชน์จากแบบฉบับบุคคลที่ถือความยากจนทางร่างกายเหล่านี้ แต่ข้าพเจ้าไม่คิดว่า นี่คือความหมายสำหรับทุกคน เพราะมันยากที่จะทำเช่นนั้นได้ นักบุญฟรังซิสคงจะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ถ้าท่านต้องเลี้ยงดูครอบครัวของท่าน และรับผิดชอบดูแลบุตรของท่าน ไม่ใช่ว่าเราทุกคนจะต้องเป็นฤษี ไม่ใช่ว่าเราทุกคนจะต้องเป็นสันยาสี (Sanyases) ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องเป็นขอทาน



รูปภาพ

แต่ข้าพเจ้าคิดว่าความหมายที่แท้จริงก็คือ เราต้องพยายามฝึกฝน “ให้แก่นของหัวใจตัวเองหลุดจากการยึดติดอยู่กับกิเลสที่ต้องการจะเป็นเจ้าของครอบครองทุกสิ่ง” (Non-possessive to the very core of our being) ไม่ว่าจะเป็นการอยากครอบครองสมบัติสิ่งของ ตลอดจนการอยากครอบครองจิตใจคนอื่นให้ทุกคนรอบข้างต้องทำตามใจเรา ฯลฯ เราต้องหยุดความพยายามที่จะเป็นเจ้าของบุคคล หรืออยากครอบครองสิ่งที่เราบังเอิญครอบครองอยู่ในขณะใดขณะหนึ่ง เราต้องหนักและยอมรับในความเป็นจริงที่ว่า ทุกสิ่งที่เราคิดว่าเราได้ครอบครองอยู่ ณ จุดนี้นั้น จริงๆ แล้วเราก็เป็นเพียงแค่การดูแลรักษาสิ่งเหล่านี้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ในตอนนี้เท่านั้น มันจะไม่ได้อยู่กับเราตลอดกาล ถ้าเราหมั่นฝึกฝน “การปล่อยวาง” จากการยึดติดอยู่กับสมบัติของเรา และมีวิธีการใช้สิ่งเหล่านี้ของเราอย่าง “ปล่อยวาง” ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง บัตรเครดิต และบ้านของเรา ฯลฯ เราก็จะเป็นคนที่ต่างไปจากเดิมมาก


1คร 7:28
ข้าพเจ้าใคร่จะให้ท่านพ้นจากความยุ่งยากนั้น พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า เวลานั้นสั้นนัก ตั้งแต่นี้ไปผู้ที่มีภรรยาจงเป็นเสมือนผู้ที่ไม่มีภรรยา ผู้ที่ร้องไห้จงเป็นเสมือนผู้ที่ไม่ร้องไห้ ผู้ที่มีความสุขจงเป็นเสมือนผู้ที่ไม่มีความสุข ผู้ที่ซื้อจงเป็นเสมือนผู้ที่ไม่มีสิ่งใดเป็นกรรมสิทธิ์ และผู้ที่ใช้ของของโลกนี้จงเป็นเสมือนผู้ที่มิได้ใช้ เพราะโลกดังที่เป็นอยู่กำลังจะผ่านไป ข้าพเจ้าต้องการให้ท่านปราศจากความกังวล




ฉะนั้น การมีจิตใจที่ไม่อยากจะครอบครอง (To be non-possessive) หมายถึงการฝึกดำรงชีวิตอย่าง ‘ปล่อยวาง’ ไม่ยึดติด (to live “detachment”) นั่นก็หมายความว่า ถ้าท่านมาหาข้าพเจ้าและพูดว่า “ฉันทำนาฬิกาฉันหาย และฉันจำเป็นต้องใช้นาฬิกา ขอนาฬิกาของคุฯให้ฉันได้ไหม?” เมื่อนั้นข้าพเจ้าควรจะสามารถพูดได้ว่า “ได้! เอาไปสิ” และสามารถทำเช่นนั้นได้ด้วยความยินดีและด้วยจิตตารมณ์แห่งการ ‘ปล่อยวาง’ โดยไม่มีความรู้สึกถึงการถูกบีบบังคับแต่อย่างใด วิธีเดียวที่เราสามารถจะฝึกการ ‘ปล่อยวาง’ ได้ในขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงนี้ ก็คือการกลับไปหารากเหง้าของความอยากครอบครองของเรา นั่นก็คือ “อัตตา” ของเรา (Our ego) ถ้าเราสามารถปล่อยวาง “อัตตาของเรา” - - - “ละทิ้งตัวตนไว้เบื้องหลัง” ดังที่พระเยซูเจ้าได้ตรัสไว้ - - - เมื่อนั้น การสละสมบัติทั้งหลายจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่สุดในโลก ถ้าเราสามารถละทิ้ง ‘ตัวตน’ ของเรา ก็จะกลายเป็นสิ่งที่เราจะแบ่งปันให้ผู้อื่นได้ไม่ยากนัก จริงอยู่ นี่คือบางสิ่งที่เราปฏิบัติได้ในความสัมพันธ์ส่วนตัวในชีวิตของเรา แต่มันก็ยังเป็นความจริงที่นำเราไปสู่แกนหลักของสังคม - - - ความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อกัน
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 6:38 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 5:57 pm

การมี “ใจจดจ่อ” (Paying attention)

การทำสมาธิเป็นเรื่องของการฝึกการคุมสติให้ “ใส่ใจ” หรือมี “ใจจดจ่อ” (Paying attention) นั่นถึงได้อธิบายถึงว่า ทำไมสมองของเราจึงไม่สามารถอยู่นิ่งได้เมื่อเราเริ่มทำสมาธิ ก็เพราะเราคุมสติของเราไม่อยู่นั่นเอง เราคุมสติของเราให้มี “ใจจดจ่อ” แน่วแน่อยู่กับที่ไม่ได้ เมื่อเราคุมสติของเราให้มี “ใจจดจ่อ” แน่วแน่อยู่กับที่ไม่ได้ เราจึงไม่มีสมาธิ ถ้าหากเราสามารถจะเข้าใจได้อย่างแท้จริงว่า การให้ความ “ใส่ใจ” หรือมี “ใจจดจ่อ” หมายถึงอะไร โดยจากประสบการณ์ในการทำสมาธิแล้วละก็ เราก็จะเห็นด้วยว่าการทำสมาธิมีความหมายและเป็นประสบการณ์ที่ลึกซึ้งที่สุดในชีวิตของเรา และสะท้อนให้เห็นว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลของเราอย่างมีความหมาย เพราะจักรวาลคือผลของความสนใจหรือความใส่ใจอย่างสร้างสรรค์และเต็มไปด้วยความรักที่พระเจ้ามีต่อเรา เราเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เพราะพระเจ้าทรงรักเรา ทรงสนใจใส่ใจในตัวเรา แม้ตั้งแต่ก่อนที่เราจะรู้ว่าเรามีตัวตนเสียด้วยซ้ำไป นอกจากนี้ยังมีความหมายโยงไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันของเราในแต่ละวันด้วย เราสามารถพบกระเจ้าในทุกคนรอบข้างเรา โดยการให้ความสนใจเขา และรักเราเหมือนรักตัวเราเอง บางครั้ง คนทั่วไปคิดว่าการทำสมาธิเป็นเรื่องของการสนใจใส่ใจแต่ตัวเอง นั่งเพ่งพิศอยู่กับสะดือตัวเอง เป็นการคิดถึงแต่ตนเอง เป็นแนวทางการปฏิบัติที่เห็นแก่ตัว หลีกเลี่ยงและปัดความรับผิดชอบออกไปให้กับผู้อื่น เพื่อสร้างชีวิตฝ่ายจิตของตัวเอง แต่ข้าพเจ้าคิดว่าใครก็ตามที่เข้าใจในวินัยการทำสมาธิอย่างแท้จริงและฝึกความสนใจอย่าง “จดจ่อ” ในการทำสมาธิแล้ว ท่านนั้นก็จะตระหนักว่า ท่านกำลังมุ่งส่ง “ใจจดจ่อ” กับส่วนลึกที่สุดของตัวตนท่าน ท่านกำลังส่ง “ใจจดจ่อ” กับพระเจ้าและท่านกำลังให้ความสนใจอย่างจริงใจกับเพื่อนมนุษย์ของท่าน


รูปภาพ

เมื่อเราเริ่มเห็นว่าเรื่องการให้ความสนใจอย่าง “จดจ่อ” เช่นนี้เป็นเรื่องธรรมดา และเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ เราก็จะเริ่มเห็นว่าการทำสมาธิจะเปลี่ยนชีวิตของเราอย่างไร ลองคิดดูว่า ณ จุดหนึ่งในชีวิตของท่าน เมื่อท่านกำลังประสบกับปัญหา และต้องการจะระบายความไม่สบายใจกับใครสักคน ท่านไปหาเพื่อนคนหนึ่งที่ท่านวางใจ และพูดว่า “ฉันกำลังกลุ้มใจมาก ฉันมีบางอย่างที่อยากจะขอคุยด้วยพอมีเวลาขอคุยด้วยได้ไหม?” แล้วท่านก็เริ่มพูด และเขาก็ฟัง สิ่งที่ท่านต้องการให้เขาทำจริงๆ คือให้ท่านรับฟังท่าน รับฟังด้วยหัวใจ ให้เขาสนใจท่าน ไม่ใช่เพราะท่านต้องการคำตอบสำหรับปัญหาของท่าน ถ้าบุคคลนั้นให้ความสนใจแก่ท่านจริงๆ เปิดใจรับฟังท่านจริงๆ เมื่อนั้นท่านจะรู้สึกเบาใจขึ้นท่านจะรู่สึกว่าท่านได้แบ่งเบาความทุกข์ทรมานบางอย่างในชีวิตของท่านแล้ว ท่านจะรู้สึกว่ามีกำลังใจมากขึ้น และมีความหวังมากขึ้น ที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่ท่านกำลังเผชิญอยู่ แต่ถ้าบุคคลที่ท่านกำลังพูดด้วยนั้น เพียงแต่ให้คำตอบ บอกวิธีแก้ปัญหา หรือขัดจังหวะท่าน หลังจากที่ท่านเพิ่งจะพูดได้เพียงไม่กี่วินาที และเริ่มต้นเล่าประสบการณ์ของตัวเขาเองให้ท่านฟัง ถ้าเขาไม่สามารถให้ความสนใจแก่ท่านได้อย่างเต็มที่ เมื่อนั้น ท่านจะรู้สึกว่า ท่านไม่ได้พูดกับเขา หรือรู้สึกว่าท่านไม่ได้รับความรักจากเพื่อนคนนี้เท่าไหร่นัก

“การสนใจหรือการให้ความใส่ใจคือความรัก” เมื่อเราแสดงความสนใจหรือใส่ใจต่อใคร เรากำลังแสดงความรักต่อคนนั้น และงานใดที่เรากระทำด้วยความสนใจและความมุ่งมั่นใส่ใจอย่างแท้จริงงานนั้นก็จะกลายเป็นกิจการที่สร้างสรรค์และเปี่ยมไปด้วยความรัก เราได้รับความรักเมื่อมีใครให้ความสนใจใส่ใจกับเรา (ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความรักโรแมนติก แต่หมายถึงความรักที่มนุษย์มีต่อกันด้วยความหวังดี) ในชีวิตสมรส ท่านอาจอยู่กับบุคคลเดิมทุกวัน ทำกิจวัตรประจำวันร่วมกับเขา แต่ท่านจะพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ท่านได้หยุดให้ความสนใจแก่เขา และแล้วท่านจะตระหนักในทันใดนั้นว่า ความรักได้จางหายไปจากความสัมพันธ์นั้นแล้ว และเมื่อค้นพบเช่นนี้ อนาคตความสัมพันธ์นี้ อาจจะกลายเป็นประสบการณ์ที่น่ากลัวของชีวิตสมรสที่ล้มเหลว ที่สร้างความเจ็บปวดให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องด้วยได้ มันเป็นประสบการณ์ที่ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า การมีความสัมพันธ์นั้น ไม่ได้หมายถึงแค่การทำกิจวัตรประจำวันร่วมกันเท่านั้น การมีความสัมพันธ์จริง - - - การรักเพื่อนมนุษย์ - - - - หมายความว่า ท่านมอบแก่นของตนเองให้แก่เขา โดยการให้ความสนใจเขา การให้ความสนใจ หรือการเปิดใจตั้งใจรับฟัง ก็คือการให้ความรักนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นความรักต่อพระเจ้า ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ หรือการรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง


รูปภาพ


และแน่นอน ดังที่เราทุกคนก็ทราบกันดีว่า การให้ความสนใจหรือใส่ใจต่อผู้ใด หรือการหยุดการมี “ใจจดจ่อ” สนใจแต่ตนเองนั้น เป็นสิ่งที่ยากมาก อย่างเก่งเราสามารถทำได้ระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้น เราก็เหนื่อยและเริ่มต้นกลับมาคิดถึงตนเองอีกครั้ง เหมือนเส้นหนังสะติ๊กที่ดีดปึ๋งสั้นๆ กลับมาที่เก่า ดังนั้น การเรียนรู้ที่จะให้ความสนใจหรือมี “ใจจดจ่อ” จึงเป็นวินัยการฝึกตนอย่างหนึ่งและเป็นศิลปะอันยิ่งใหญ่ของการดำรงวชีวิตและการรัก ด้วยเหตุนี้ วินัยแห่งการให้ความสนใจหรือมี “ใจจดจ่อ” ในการทำสมาธิ จึงสอนเราให้มีชีวิตอย่างเต็มและอย่างมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง การทำสมาธิจึงเกี่ยวข้องกับการให้ความสนใจหรือการมี “ใจจดจ่อ” พุทธศาสนิกชน เรียกว่า การมีสติ (Mindfulness) ธรรมประเพณีคริสต์ศาสนาเรียกว่า เป็นการดำรงชีวิตใน “ขณะปัจจุบัน” หรือฝึกหัดรับรู้การประทับอยู่ของพระเจ้าใน “ขณะปัจจุบัน” นี่คือ ความหมายเมื่อพระเยซูเจ้าตรัสว่า “จงตื่น จงรู้ตัวและระวังตัว” (Being awake, being alert) เป็นการเรียนรู้ที่จะตั้งใจกล่าว “มันตรา” และเมื่อเราเสียสมาธิ เรียนรู้ที่จะกลับมากล่าว “มันตรา” ใหม่อีกครั้งอย่างซื่อสัตย์และด้วยความรัก การทำสมาธิจะเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราได้ด้วยวิธีนี้
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 6:40 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 6:09 pm

คำสอนของพระเยซูเจ้าเรื่องการเพ่งพิศภาวนา (Contemplation)

พระเยซูเจ้าทรงเป็นอาจารย์สอนการเพ่งพิศภาวนา พระองค์ไม่ได้เสด็จไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อพูดถึงการทำสมาธิแบบคริสต์ แต่พระองค์ทรงเป็นอาจารย์สอนการเพ่งพิศภาวนา ถ้าท่านอ่านบทเทศน์บนภูเขาของพระเยซูเจ้า “The Sermon on the Mount” ซึ่งเป็นแก่นแท้ของคำสอนของพระเยซูเจ้า (ในพระวรสารนักบุญ มัทธิว บทที่ 5, 6 และ 7 ) เมื่อมีคนถามพระเยซูเจ้าเรื่องการภาวนา พระองค์ไม่ได้บอกว่า ท่านต้องไปภาวนาที่ศาลาธรรมทุกวันเสาร์ หรือต้องบริจาคเงินใส่ถุงทาน หรือต้องเชื่อเรื่องนั้นเรื่องนี้หรือต้องถือตามกฎระเบียบข้อนั้นข้อนี้ของศาสนานั้นหรือของศาสนานี้ หรือต้องถือวันฉลองหรือเทศกาลและระเบียบพิเศษอื่นๆ ของศาสนาของเรา อันที่จริงพระองค์ไม่ได้เอ่ยถึงการถือกฎระเบียบปฏิบัติของศาสนามากนัก ข้าพเจ้าคิดว่า พระองค์คงคิดว่าผู้คนคงเคร่งศาสนาอยู่แล้วกระมัง

แต่สิ่งที่เราเห็นในคำสอนของพระเยซูเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งที่พระองค์เน้นจริงๆ นั้น ไม่ใช่การปฏิบัติศาสนกิจหรือพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งล้วนเป็นเรื่องเปลือกนอก แต่ทรงเน้นที่ “ชีวิตภายใน” (Interiority) โดยมีรากฐานจากประสบการณ์ของ “การเพ่งพิศภาวนา” ก่อนอื่น พระองค์ทรงเตือนเราให้ระวังอันตรายจากการยึดถืออยู่กับ “รูปแบบภายนอก” ของศาสนา การปฏิบัติศาสนกิจภายนอกโดยขาดจิตตารมณ์หรือแก่นความลึกภายในใจ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ จงอย่าคิดว่า เพียงเพราะท่านรู้สึกดี ที่ท่านได้ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาบางอย่างแล้ว ท่านก็ได้มีประสบการณ์กับพระเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่า นั่นคือสิ่งที่พระองค์หมายถึง เมื่อพระองค์ตรัสถึงการได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้า อย่าคิดว่าท่านได้เข้าสู่ประสบการณ์กับพระเจ้าอย่างแท้จริง เพียงแค่เพราะท่านคิดว่าท่านได้เคร่งศาสนาหรือศรัทธาอย่างแท้จริง

นั่นเป็นสิ่งที่เราต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่มีการถือศาสนาอย่างสุดโต่ง (Fundamentalism) และการยึดถือตามประเพณีนิยมภายนอกหรือรูปแบบที่เป็นทางการภายนอก (Formalism) ใช่! เราอาจรักศาสนาของเรา และเราควรรักศาสนาของเราและเราควรรักที่จะปฏิบัติศาสนกิจ เพราะนี่คือสิ่งสำคัญสำหรับเรา พระเยซูเจ้าไม่ได้บอกว่าเราไม่ควรปฏิบัติศาสนกิจ แต่พระองค์ไม่ได้เน้นเรื่องนี้เป็นหลัก ตรงกันข้าม พระองค์ตรัสว่า “เมื่อท่านภาวนา จงเข้าไปใน ‘ห้องลับส่วนตัวของท่าน’(Your ‘inner room’) ซึ่งก็คือหัวใจของท่าน” หรือ อีกนัยหนึ่ง แก่นแท้ของการภาวนาอยู่ที่ภายในใจ (Interiority) และความวิเวก (Solitude) ความวิเวกในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการแยกตัวเองออกจากผู้อื่น แต่หมายถึงการค้นพบ ‘ตัวตน’ ที่แท้จริงของตัวเรา และสัมผัสกับความพิเศษไม่เหมือนใครของเรา หรือความเป็นเอกลักษณ์ของเรา พระเยซูเจ้าตรัสว่าท่านต้องเข้าไปใน “ห้องลับส่วนตัวของท่าน” อันเป็นพื้นที่ “ภายใน” ของตัวตนของท่านเองและในที่นั่นนั่นแหละที่พระองค์บอกว่า ท่านจะได้พบกับการประทับอยู่ของพระเจ้า ในที่นั้นนั่นแหละที่ท่านจะมีประสบการณ์สัมพันธ์โดยตรงกับพระเจ้า และนี่แหละ คือความหมายของการได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้า

รม 10:8
พระคัมภีร์กล่าวว่าอย่างไร พระคัมภีร์กล่าวว่า พระวาจาอยู่ใกล้ท่าน อยู่ในปากและในใจของท่าน

รูปภาพ


เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของคำสอนของพระองค์คือ “การวางใจ” (Trust) ในพระเจ้า พระองค์ทรงบอกว่า “เมื่อท่านภาวนา จงอย่าพูดพล่ามซ้ำซาก เหมือนพวกคนนอกรีต ผู้ที่คิดว่าถ้าเขายิ่งพูดมากเท่าไร พระเจ้าจะรับฟังเขามากเท่านั้น” และนั่นเป็นคำพูดที่ชวนให้เราต้องคิด ให้เราต้องตื่นจากภวังค์และไตร่ตรองสำรวจตัวเองให้ดี เพราะนั่นคือเรื่องอันตรายที่ยิ่งใหญ่สำหรับคนที่คิดว่าตัวเองศรัทธา ที่เราคิดว่า ยิ่งเราทำกิจกรรมทางศาสนามากเท่าไร ภาวนา ไปวัด และทำพลีกรรมมากเท่าไร เราก็จะยิ่งดึงดูดความสนใจของพระเจ้าได้มากเท่านั้น ถ้าเราคิดอย่างนั้น พระองค์เตือนเราอย่างแรงไม่ให้ทำเช่นนั้น ทรงบอกว่า “ จงอย่าพูดซ้ำซากเหมือนคนนอกรีต จงอย่ากลายเป็นพวก ‘นักวัตถุนิยมฝ่ายจิต’ (Spiritual materialists) อย่าคิดว่าท่านจะซื้อทางเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ได้ อย่าคิดว่าท่านสามารถซื้อทางเข้าสวรรค์ได้ ด้วยการสวดภาวนามากๆ หรือทำกิจกรรมทางศาสนกิจมากๆ” ดังนั้น พระองค์จึงทรงขอให้เราตรวจสอบสำรวจจิตวิทยาด้านศาสนาของเราเองให้ดี อันที่จริง ถ้าศึกษาให้ดี เราจะเห็นว่าพระวรสารทั้งหมด วิพากษ์วิจารณ์ศาสนาของมนุษย์อย่างรุนแรงไม่ใช่เพียงศาสนายิว แต่ทุกศาสนาที่ฉาบฉวยผิวเผินเน้นแต่ในกรอบภายนอก

แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายาความว่า ให้ท่านเลิกไปวัด หรือเลิกสวดภาวนาแบบอื่น ตรงกันข้าม การภาวนาแบบอื่นทั้งหลาย เช่น การอ่านพระวรสาร การรับศีลมหาสนิท ฯลฯ จะกลับกลายเป็นสิ่งที่มีพลังและมีความหมายมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการทำสมาธิที่มุ่งเน้นตรง “ชีวิตภายใน” นั่นเอง ซึ่งมีผลทำให้ท่านรู้จักตนเองมากขึ้น และสำรวจตนเองอย่างเข้มงวดมากขึ้น ท่านเข้าใจว่าเหตุใดท่านจึงทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้น และมันมีความหมายจริงๆ อย่างไร ฯลฯ

การฝึกการทำสมาธิ เป็นการมุ่งเข้าไปใน “ห้องส่วนตัว” ในหัวใจของเรา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการยากที่จะหลอกตัวเอง และนี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราพบว่าการทำสมาธิเป็นเรื่องยาก เพราะบางครั้ง มันยากที่จะเผชิญหน้ากับตัวเราเอง โดยเฉพาะเมื่อท่านได้ค้นพบว่า แท้จริงท่านได้หลอกลวงตัวเองมาตลอกเวลา หรือได้พยายามปัดฝุ่น- - - หรือเรื่องที่ไม่อยากจะเผชิญ- - -เข้าไปกลบเกลื่อนซ่อนไว้ใต้พรหมมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ฉะนั้นการเผชิญกับความเป็นจริงของตนเองจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก การทำสมาธิจะนำแสงสว่างเข้าไปในทุกๆ ที่ ที่อยู่ในความมืดมาก่อน ทำให้เข้าใจทุกสิ่งชัดเจนขึ้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแสงสว่างเข้าไปในหัวใจของเรา เริ่มสว่างจิตใจและพฤติกรรมทุกด้านของเรา และทำให้เราเห็นแรงจูงใจที่แท้จริงในทุกสิ่งที่เราทำ ทำให้เรารู้จักตนเอง และตระหนักรับรู้ตัวเองมากขึ้น

และนี่เป็นเหตุที่การทำสมาธิจึงให้ผลในการช่วยชำระศาสนาให้บริสุทธิ์ขึ้นด้วยเสมอ และป้องกันมิให้ศาสนาของเรา กลายเป็นเพียงพิธีกรรมภายนอก หรือไปเน้นเรื่องการเชื่อถือเวทย์มนตร์คาถา หรือโชคลาง และเช่นกัน การทำสมาธิจึงเป็นยาแก้หรือยาถอนพิษ (Antidote) ที่ดีเยี่ยมสำหรับพวกถือศาสนาอย่างสุดโต่งด้วย (Fundamentalists) ศาสนาจะกลายเป็นเรื่องการถือโชคลาง ถ้าเราคิดถึงศาสนาและกระทำการภาวนาเหมือนกับกำลังบีบบังคับพระเจ้า หรือดึงดูดความสนใจของพระเจ้า เพื่อให้ทำบางสิ่งบางอย่างให้กับเราที่เราต้องการและวอนขอ แน่นอน ความเป็นมนุษย์ของเราทำให้เรามีแนวโน้มที่จะกระทำอย่างนั้น แต่เป็นสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงเตือนอย่างชัดเจนและอย่างแรงว่า ‘อย่าทำ’พระองค์บอกว่า “อย่าลืมว่าพระบิดาเจ้าทรงทราบแล้วว่าท่านต้องการอะไรก่อนที่ท่านจะขอเสียอีก” นี่คือ เรื่อง “ความไว้วางใจ” เพราะถ้าเรารับฟังจริงๆ ในสิ่งที่พระองค์ตรัส และเข้าใจจริงและจดจำไว้ เมื่อนั้น วิธีการภาวนาของเราก็จะเปลี่ยนไป

เอาหล่ะ! พระองค์ไม่ได้บอกว่า ท่านไม่ควรพูดถึงความต้องการของท่านออกมาเป็นคำพูด หรือเป็นคำวิงวอน เพราะนั่นเป็นวิธีตามธรรมชาติของมนุษย์เราที่จะทำ โดยเฉพาะเมื่อใจของท่านกำลังหนักอึ้ง มีเรื่องกังวลใจ หรือมีปัญหาที่ท่านต้องการจะระบาย หรือแบ่งปันกับผู้อื่นในระหว่างการภาวนา ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ท่านควรแสดงออก ไม่ว่าในช่วงที่ท่านอยู่ตามลำพัง หรือต่อหน้าชุมชนที่กำลังถวายนมัสการเมื่อเราภาวนาสวดให้แก่กันและกัน หรือสวดให้แก่ชาวโลก เพียงแต่ว่า เราต้องภาวนาจากใจจริง พระเยซูเจ้ามิได้บอกว่าเราไม่ควรทำเช่นนี้ แต่บอกว่า เมื่อท่านทำ จงจำไว้ว่าพระเจ้าได้ทรงทราบทุกอย่างหมดแล้ว นั่นก็หมายความว่า ท่านกำลังบอกเราว่า เวลาภาวนา จงอย่าพูดมากเหมือนพยายามจะบอกอะไรกับพระเจ้า ยังกับว่ากลัวว่าพระเจ้าจะตกข่าวซีเอ็นเอ็น (CNN) อย่างนั้น หรือยังกับว่ากลัวพระเจ้าจะเปลี่ยนใจรึเกิดอาการความจำเสื่อมชั่วขณะ ลืมในสิ่งที่เราได้ขอท่านไว้ และปล่อยให้สิ่งที่เป็นปัญหาแย่ๆ เกิดขึ้นกับเรา หรือยังกับว่ากำลังขอพระเจ้าให้ทรงกดปุ่มย้อนหลัง (Rewind button) เพื่อเปลี่ยนชะตากรรมของเรา หรือขอให้พระองค์ช่วยเหลือเรา ยังกับว่าเราเป็นที่โปรดปรานของพระองค์มากกว่าคนทั่วไป

นักบุญเปาโล เคยกล่าวประโยคสำคัญมากประโยคหนึ่งว่า “พระเจ้าไม่ได้เข้าข้างใครเป็นพิเศษ” ไม่ว่าจะเป็นคริสตชนหรือชาวยิวก็ตาม “เราทุกคนได้รับเลือกอย่างเท่าเทียมกัน และพระเจ้าทรงรักเราอย่างเท่าเทียมกัน” ฉะนั้น เราจึงไม่ภาวนาเพื่อให้พระเจ้าทรงเข้าข้างเรา โดยทำให้ผู้อื่นเสียเปรียบ การภาวนาไม่ใช่เป็นเรื่องของการต่อรอง และเราจะสามารถเข้าใจได้และระลึกได้ว่า พระเจ้าทรงทราบความต้องการต่างๆ ของเราทั้งหมดอยู่แล้ว

รูปภาพ

พระเยซูเจ้าตรัสต่อไปอีกว่า ยังมีองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ของการภาวนา เช่น “จงอย่ากังวลใจ จงดูนกบนท้องฟ้า และดอกลิลี่ในทุ่งนาเถิด อย่ากังวลว่า ท่านจะกินอะไรหรือจะสวมใส่อะไร” พระองค์ไม่ได้บอกว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ความกังวลใจตามปกติในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา แต่พระองค์กำลังบอกว่า “จงอย่าหมกมุ่น อย่ากระวนกระวายใจจนเกินไปในความต้องการทางวัตถุในชีวิต” พระองค์กล่าวว่า ถ้าท่านพบว่าตนเองหมกมุ่น กังวล เครียด เมื่อนั้น วิธีแก้ไขที่ดีที่สุด คือการหันไปสนใจกับความงามของธรรมชาติ ที่พระเจ้าได้สร้างมา จงมองดูว่าชีวิตนี้มันงดงาม จงมองดูดอกลิลี่ในทุ่งนา และนกบนท้องฟ้า ความงามของชีวิตและความงามของสิ่งสร้าง เป็นสิ่งที่เราลืมได้ง่ายๆ เมื่อเราปล่อยให้ความกังวลใจเข้ามาครอบงำท่วมทับเรา จนเราไม่เห็นอะไรอย่างอื่นเลย เราลืมไปว่าชีวิตนั้นสดีและสวยงาม และแม้แต่ท่ามกลางความทุกข์ทรมาน เราก็ยังสามารถชื่นชมกับความงามนี้ และความดีงามของชีวิตได้และดังนั้น พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า “ให้มองดูนกบนท้องฟ้า และดอกลิลลี่ในทุ่งนา” เพียงการมองดูอาจยังไม่พอ เราต้องมองให้เห็นด้วย มองให้เห็นความงามอันเรียบง่ายตามธรรมชาติของมัน เมื่อนั้นเราจะเห็นว่า ชีวิตของเราเองนั้นเป็นพระพร (Gift) อย่างแท้จริงที่พระเจ้าได้ประทานให้เราเปล่าๆ ท่านจำคำพูดของคุณพ่อ ยอห์น เกี่ยวกับการทำสมาธิได้หรือไม่? คุณพ่อ ยอห์น บอกว่า “ในการทำสมาธิ เรายอมรับพระพรแห่ง “ตัวตน” ของเรา (Gift of our being)” เมื่อเราพิจารณาคำสอนฝ่ายจิตเหล่านี้ที่พระเยซูเจ้าได้สอนเรา เราก็จะเห็นว่าผู้ที่เคร่งศาสนาที่แท้จริงจะเป็นคนที่ได้สัมผัสพระพรแห่ง “ตัวตน” ที่แท้จริง ภายในส่วนลึกของหัวใจ และด้วยความไว้วางใจอันลึกล้ำ และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นนมัสการอย่างแท้จริงทั้งหลาย
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 6:42 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 6:12 pm

คำสอนของพระเยซูเจ้าเกี่ยวกับการเพ่งพิศภาวนา

พระเยซูเจ้าทรงสอนเราเกี่ยวกับการภาวนา โดยทรงบอกเราว่า ในชีวิตฝ่ายจิตของเรา (Spiritual lift) เราควรมีสติ มีสมาธิ ที่ไม่กระวนกระวายและกระจุยกระจายไปทั่วทุกทิศ (Distracted or scattered)- - -ซึ่งหมายถึงการดำรงชีวิตอยู่ในสำนึกของ “ขณะปัจจุบัน” (The present moment) อยู่ตลอดเวลา เรื่องนี้ซ่อนอยู่ในคำกล่าวของพระองค์อย่างชัดเจนมากเมื่อพระองค์บอกเราว่า “เราควรตั้งเป้ามุ่งไปที่พระอาณาจักรของพระเจ้าก่อนสิ่งอื่นใดทั้งหมด แล้วสิ่งอื่นใดทั้งหมดนั้นก็จะตามมาหาเราทีหลังเอง” นั่นแปลว่าอะไร? แน่นอน นั่นหมายความว่า เราต้อง- - -อยู่กับ “ขณะปัจจุบัน”- - -ดำรงชีวิตอย่างตั้งใจใน “ขณะปัจจุบัน” นี่คือ การตระหนักถึงพระอาณาจักรของพระเจ้า- - - -ซึ่งหมายถึงการประทับอยู่ของพระเจ้าภายในตัวเรา และท่ามกลางเราตลอดเวลา- - - -ในความหมายนี้ใกล้เคียงมากกับคำว่า “มีสติ” (Mindfulness) ของพุทธศาสนิกชน และที่ธรรมประเพณีคริสตชนเรียกว่า “การภาวนาตลอดเวลา” (Praying at all times)

รูปภาพ

ผลประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของการทำสมาธิเป็นประจำทุกเช้าและเย็นนั้น คือท่านจะเริ่มพบว่าท่านรับรู้ได้มากขึ้นและลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้น ถึงการประทับอยู่ของชีวิตพระจิตอย่างต่อเนื่องในตัวท่าน ชีวิตฝ่ายจิตนี้ดำเนินไปในส่วนลึกของตัวท่านตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงในระหว่างที่ท่านกำลังภาวนาเท่านั้นแต่ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน ไม่ว่าท่านจะกำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน อยู่กับใคร และไม่ว่าท่านจะรู้สึกอย่างไร นี่คือพื้นที่ส่วนลึกสุดของความเป็น “ตัวตน” ของเรา (“Being”) - - -เป็นระดับพื้นส่วนลึกของการดำรงอยู่ของเรา (Ground level of existence) ซึ่งเรากำลังยืนอยู่ใน “ขณะปัจจุบัน”- - -“ขณะปัจจุบัน” ที่มีทั้งอดีตและอนาคตอยู่ในตัว เราจะอยู่ใน “ขณะปัจจุบัน” อยู่เสมอ แม้ในขณะที่เรากำลังคิดถึงอดีตหรืออนาคต และนี่คือความหมายของคำว่า “ภาวนาตลอดเวลา” (Praying at all times)

การมีชีวิตอย่างเพ่งพิศภาวนาไม่ได้แปลว่าเราต้องอยู่ในอาราม หรือต้องใช้วิถีชีวิตอยู่อย่างเงียบๆ แต่หมายความว่า ไม่ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ในขณะที่เรากำลังทำหน้าที่ของเรา หรือปฏิบัติตามอาชีพของเราอยู่นั้น เราอยู่ใน “ขณะปัจจุบัน” และต่อหน้าการประทับอยู่ของพระเจ้าในการกระทำที่เรากำลังทำอยู่นั้นเสมอ “การภาวนาตลอดเวลา” หมายถึงว่า เรากำลังเปิดจิตสำนึกในระดับที่ลึกลงไปของเรา ซึ่งเป็นระดับที่พระคริสตเจ้าทรงกำลังภาวนาในตัวเรา นักบุญเปาโลช่วยให้เราเข้าใจ เมื่อท่นบอกเราว่า “เราไม่รู้วิธีภาวนา แต่พระจิตเจ้าทรงภาวนาภายในตัวเรา อย่างลึกซึ้งมากกว่าคำพูด” สิ่งที่เป็นผลของประสบการณ์นี้คือ “ความชื่นชมยินดี และสันติสุข” (Joy and peace) ท่านรู้สึก “ชื่นชมยินดี” ได้แม้เมื่อเหตุการณ์ไม่เป็นไปตามความคาดหมาย และท่านสามารถรู้สึกถึง “สันติสุข” ได้แม้ในยามที่ท่านเครียด หรือกังวลใจ เพราะความ “ชื่นชมยินดี” และ “สันติสุข” ที่พระเยซูเจ้าทรงสัญญาและประทานแก่เรานี้ คือ “สันติสุข” และความ “ชื่นชมยินดี” ของพระองค์เอง ในพระวรสารของนักบุญยอห์น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เรามอบสันติสุขของเราแก่ท่าน เป็นของขวัญที่มอบให้ท่านก่อนจากกัน” พระองค์ตรัสว่า “เราขอมอบความชื่นชมยินดีของเราแก่ท่าน เป็นของขวัญที่มอบให้ท่านก่อนจากกัน” พระองค์ตรัสว่า “เราขอมอบความชื่นชมยินดีของเราแก่ท่าน เพื่อให้ความชื่นชมยินดีของท่านครบบริบูรณ์”
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 6:44 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 6:15 pm

ในตอนท้ายของพระวรสารของนักบุญมัทธิว พระเยซูเจ้าบอกเราว่า “จงอย่ากังวลถึงวันพรุ่งนี้ เพราะแต่ละวันก็มีทุกข์ของมันพอแล้ว” ในที่นี้ พระองค์กำลังพูดถึงการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่และอย่างซื่อสัตย์ใน “ขณะปัจจุบัน” อยู่ตลอดเวลา จงอยู่ใน “ขณะปัจจุบัน” จงอยู่กับความจริง อันที่จริง เมื่อท่านเข้าใจและค้นพบว่า การอยู่ใน “ปัจจุบัน” หมายถึงอะไร และการมีชีวิตใน “ขณะปัจจุบัน” เป็นอย่างไรแล้ว ท่านจะค้นพบด้วยตนเองว่า ในขณะที่ท่านทำสมาธิในแต่ละวัน ท่านไม่ได้ลืมอดีต ท่านไม่ได้ขาดความรับผิดชอบต่ออนาคต แต่ทั้งอดีตและอนาคต สัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ใน “ขณะปัจจุบัน” จริงอยู่ อาจมีบางเรื่องในอดีตที่ท่านยังต้องจัดการ มีธุรกิจคั่งค้างที่ท่านต้องไปทำให้เสร็จ มีความรับผิดชอบทางอารมณ์ หรือทางศีลธรรมที่ท่านยังไม่ได้จัดการ ซึ่งเกิดจากอดีตหรือพฤติกรรมในอดีต บางทีอาจมีบางสิ่งที่ท่านไม่เข้าใจเกี่ยวกับอดีตที่ท่านต้องทำความเข้าใจก่อนจะดำเนินชีวิตต่อไป และแน่นอนท่านจะไม่เพิกเฉยต่ออนาคต และไม่เสแสร้งว่าไม่มีอนาคต ท่านยังคงจ่ายเบี้ยประกันภัยและภาษีรถยนต์ของท่าน ท่านยังจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้าเพื่อให้ได้ตั๋วในราคาถูกเป็นพิเศษ อดีตและอนาคตมีความเป็นจริงบางอย่างที่เราต้องเคารพ และปฏิเสธไม่ได้


รูปภาพ

แต่ท่านจะค้นพบว่า ในขณะที่ท่านเรียนรู้ที่จะอยู่กับ “ขณะปัจจุบัน” “ท่านจะกังวลน้อยลงเกี่ยวกับอนาคต” และ “ท่านจะถูกอำนาจในอดีตควบคุมบีบคั้นท่านได้น้อยลง” ชีวิตท่านจะไม่ถูกทับถมครอบงำด้วยความกลัวในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือความทรงจำในอดีต ท่านจะไม่ติดกับอยู่ในอดีต โดยเฉพาะอดีตที่สร้างความโกรธแค้น ความรู้สึกผิด หรือความเศร้าให้กับท่าน เป็นธรรมดาที่เราทุกคนมีความขัดแย้งกับผู้อื่น หรือกับคนในครอบครัว หรือมีคนทรยศหักหลังเรา มีความสัมพันธ์ที่ร้าวฉาน มีนายจ้างที่ให้เราออกจากงาน หรือเราอาจทะเลาะกับเพื่อน ฯลฯ ประสบการณ์ในอดีตของเราเหล่านี้มีอิทธิพลมาก และเรามักไม่ลืมมันโดยง่าย เราอาจต้องต่อสู้กับการที่จะให้อภัยเป็นเวลานานหลายๆ ปี บ้างก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จข แต่เมื่อท่านได้ค้นพบความหมายของการอยู่ “ขณะปัจจุบัน” แล้ว ท่านก็จะพบว่าท่านสามารถรับมือกับความทรงจำที่ขมขื่นและประสบการณ์ที่เจ็บปวดในอดีตเหล่านั้นได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น ดีขึ้น และด้วยความสงบมากขึ้น “การเพ่งพิศภาวนาทำให้เราเป็นอิสระ” เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสว่าพระองค์เสด็จมาชี้ทางให้แก่เรา และนำเราไปสู่ความบริบูรณ์ของชีวิต เพื่อให้เราดำรงชีวิตอย่างเต็มที่ และใช้ศักยภาพมนุษย์ของเราอย่างเต็มที่พระองค์ตรัสว่า “ความจริง” จะปลดปล่อยท่านให้เป็นอิสระ และนั่นเป็นสิ่งที่เราค้นพบผ่านการทำสมาธิ- - -ซึ่งก็ คือ “ความจริง”

สิ่งเหล่านี้คือองค์ประกอบสำคัญของคำสอนของพระเยซูเจ้าเกี่ยวกับการภาวนาที่เราพบได้ในบทเทศน์บนภูเขา (Sermon on the Mont) - - - - นั่นคือ “การเป็น ‘อิสระ” จากความหมกมุ่นและยึดติดอยู่กับเรื่องเปลือกนอก การฝึกจิตภายใน (Interiority) ความเงียบ ความไว้วางใจ ความสงบของจิตใจ การมีสติ และการอยู่ใน ‘ขณะปัจจุบัน’” และถ้าท่านจะถามว่า “ฉันจะนำคำสอนดีๆ เหล่านี้ไปปฏิบัติได้อย่างไร?” ก็เท่ากับท่านกำลังถามว่า “ฉันจะภาวนาอย่างไร?” และคำถามเหล่านี้ เช่น “ฉันภาวนาอย่างแท้จริงได้อย่างไร?” “ฉันจะภาวนาให้ลึกซึ้งได้อย่างไร?” “ฉันจะภาวนาให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร?” ฯลฯ เมื่อเราถามคำถามเหล่านี้อย่างจริงใจ คำถามเหล่านี้จะนำเราไปสู่การเดินทางฝ่ายจิตในระดับที่ลึกซึ้งขึ้น จะนำเราไปตามเวลาที่พระเจ้าทรงกำหนด ท่ามกลางความกรุณาของพระเจ้า ไปสู่การภาวนาที่เราพบในหัวใจของเรา


Christian Meditation Centre (Thailand)
51/1 Sedsiri Road
Bangkok 10400
Contact: Emili Ketudat
Tel: 662-271-3295
Fax: 662-271-2632
E-mail: sketudat@mozart.inet.co.th
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 6:47 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 7:06 pm

ขอบคุณมากฮะ พี่โฮลี่

ใครเคยติดต่อศูนย์นี้บ้าง อยากให้เล่าสู่กันฟัง

แนวนี้คุณพ่อของคณะเยซูอิต บางคนฝึกฝนจากอินเดีย หรือศรีลังกาใช่ไหม : emo036 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mobster
โพสต์: 1623
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 30, 2007 8:02 pm
ที่อยู่: Bangkok
ติดต่อ:

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 7:18 pm

ขอบคุณมากครับ กำลังหาอยู่พอดี^^
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 7:27 pm

Jeab Agape เขียน:
ขอบคุณมากฮะ พี่โฮลี่

ใครเคยติดต่อศูนย์นี้บ้าง อยากให้เล่าสู่กันฟัง

แนวนี้คุณพ่อของคณะเยซูอิต บางคนฝึกฝนจากอินเดีย หรือศรีลังกาใช่ไหม : emo036 :
ไม่น่าใช่อันเดียวกัน เพราะอันนี้ค้นคว้ามาจากอิสราเอล
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 7:51 pm

พี่คร้าบ ที่เจ็ดริน มีเขาวงกต ให้เดินด้วยนะครับ เพิ่งสร้างเสร็จ ร้อนๆ เมื่อเดือนตุลาคม  : emo036 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
Zion
~@
โพสต์: 3777
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 8:37 pm
ติดต่อ:

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 9:16 pm

ไม่เหมือนกันครับ

ของเยซูอิตจะเป็นทำสมาธิ แบบ คาฟาติค (ขออภัยถ้าสะกดผิด)ของน.อิกญาซีโอ

_________

ส่วนการสมาธิของคริสต์อันนี้
คณะเบเนเนดิกตินประสานงานอยู่ครับ

จำได้ว่าจะมีการเข้ากลุ่ม2ที่คือ

-บ้านคุณเอมิลี่ เกตุทัตแถวสามเสน
-วัดน้อยมหาไถ่ กับคพ.ประเสริฐ


ซึ่งยศเข้ากลุ่มกับคพ.ประเสริญอบู่

ใครสนใจหลังไมค์มาหายศได้ครับ ::020::
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 9:28 pm

เจ๊ยศ คณะเยซูอิต ปัจจุบัน เขาไป สาย อินเดีย  (ฮินดู )มาประยุกต์ ให้เข้ากับคนไทย เช่น หนังสือ "มรรคาสู่พระเป็นเจ้า"ที่คุณพ่อแอนโทนี่ เดอเมลโล เอส เจ เขียน ก็ดีที่เดียว : emo036 :

สายของคุณพ่อประเสริฐ ให้นั่งสมาธิ สั้นๆ 5-10 นาที เจี๊ยบทำบ้าง ไม่ทำบ้าง  สายของพ่อสมชัย ก็ใช้มิวสิค ช่วย :evil:

ลิงอย่างเจี๊ยบต้องผสมผสาน หลายสำนัก ถึงพอจะอยู่ได้ 5555 :cool:
Buddy
โพสต์: 3057
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 09, 2005 10:48 am
ที่อยู่: USA

เสาร์ พ.ย. 24, 2007 11:46 pm

ยศิโยน:ผู้ยำเกรงพระเจ้า เขียน: ไม่เหมือนกันครับ

ของเยซูอิตจะเป็นทำสมาธิ แบบ คาฟาติค (ขออภัยถ้าสะกดผิด)ของน.อิกญาซีโอ
ไม่เคยได้ยินนะยศ  แต่ใช่ที่ว่า  แบบนี้ไม่ใช่เยซูอิต  เพราะเป็นแนว exclusive ไม่ใช่  inclusive
Jeab Agape เขียน:
เจ๊ยศ คณะเยซูอิต ปัจจุบัน เขาไป สาย อินเดีย  (ฮินดู )มาประยุกต์ ให้เข้ากับคนไทย เช่น หนังสือ "มรรคาสู่พระเป็นเจ้า"ที่คุณพ่อแอนโทนี่ เดอเมลโล เอส เจ เขียน ก็ดีที่เดียว : emo036 :

สายของคุณพ่อประเสริฐ ให้นั่งสมาธิ สั้นๆ 5-10 นาที เจี๊ยบทำบ้าง ไม่ทำบ้าง  สายของพ่อสมชัย ก็ใช้มิวสิค ช่วย :evil:

ลิงอย่างเจี๊ยบต้องผสมผสาน หลายสำนัก ถึงพอจะอยู่ได้ 5555 :cool:
อันนั้นคิดว่า  เป็นเฉพาะของพ่อ de Mello ที่อินเดียนะจ้ะ  คือที่จริงเยซูอิตจะเปิดกว้างกว่านั้น  เพราะพื้นฐานคือ Finding God in all things. เพราะฉะนั้น  เราจะใช้อะไรภาวนาก็ได้  แต่ที่เยซูอิตใช้  คือ จินตภาพ  แต่ถ้าใครทำไม่เป็น  ก็ไม่เป็นไร  ทำอย่างที่ทำเป็น  สิ่งสำคัญคือ  ความสัมพันธ์กับพระ  การตอบสนอง  และการฟัง 

ตอนอยู่เมืองไทย  มีภาพเยซูอิตเหมือนนักพรตเลย พอมาที่นี่ภาพที่เห็นที่นี่คือ นักภาวนาที่ทำงานไปด้วย (contemplative in action) ภาวนาได้ทุกที่  อาบน้ำ  นั่งรถเมล์  ทำได้หมด และจิตวิญญาณทันสมัย 

คุณพ่อ de Mello เค้าทำแบบนั้นเพื่อให้เข้ากับคนอินเดีย (inculturation) เราไม่เป็นอินเดีย  ไม่ได้มีพื้นฐานแบบนั้น  ก็ไม่ต้องทำ  ซึ่งจริงๆวิธีของ St. Ignatius เป็นวิธีที่กลางมาก  ไม่แปลกที่จะทำแบบอินเดียได้  และพระเจ้าสร้างเรามา  ให้เราเข้าหาพระองค์อย่างที่เราเป็น  อย่างชีวิตของเรา ... ซึ่งถ้าเรายุ่ง  หรือไม่ใช่บุคลิกเราที่จะไปนั่งเงียบๆ  พระองค์ก็ให้เราภาวนาได้  เพราะฉะนั้น  ใครที่ยุ่งๆ  แต่อยากภาวนาได้  อยากฟังเสียงพระในท่ามกลางความวุ่นวายภายนอกได้  อยากให้ลองศึกษาแบบเยซูอิตนะคะ  ::001::  ซึ่งจะไม่เป็น exclusive ที่เผาผลาญกิเลสให้มอดไหม้ หรือทำตัวให้ว่างก่อน แบบบทความนี้ แต่เป็น inclusive ที่เอากิเลสมาภาวนา 

และเวลาในการภาวนาของเยซูอิตก็ไม่จำกัด  ขอให้ภาวนาจนรู้สึกเกิดผล  ก็ให้หยุดได้  ซึ่งแต่ละคนไม่เท่ากัน

อีกคณะนึง  (ในเมืองไทย) ที่ใช้จิตวิญญาณแบบเยซูอิตก็คือ  สติกมาติน  นะคะ  เค้าไม่ใช่เยซูอิต  แต่พื้นฐานการตั้งคณะและจิตวิญญาณเป็นสายเยซูอิต  ::001::
Batholomew
~@
โพสต์: 12724
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 2:28 pm
ที่อยู่: Thailand

อาทิตย์ พ.ย. 25, 2007 10:52 pm

ขอบคุณครับ ::001::

ดีจังเลยครับ
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

อาทิตย์ พ.ย. 25, 2007 11:10 pm

Batholomew เขียน: ขอบคุณครับ ::001::

ดีจังเลยครับ
อะไรดีคร้าบ พี่โฮลี่นำเรื่องดีมาแบ่งปัน  เจี๊ยบแบ่งปันดี หรือพี่ส้มแบ่งปันดี ขอความชัดเจนครับ มิฉะนั้น เจ้าสำนัก (เจ้าคณะรักสมุทรฯ )ต้องกลับไปสอน
ไทยศึกษากันใหม่แล้วมั้ง : xemo026 :
taiyo
โพสต์: 658
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ เม.ย. 22, 2006 12:01 am

อาทิตย์ พ.ย. 25, 2007 11:38 pm

เซฟๆๆ  ::011::
ภาพประจำตัวสมาชิก
Champkun
โพสต์: 570
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ม.ค. 20, 2005 10:35 pm
ที่อยู่: Bkk
ติดต่อ:

อังคาร พ.ย. 27, 2007 2:10 am

ปกติก็ชอบทำสมาธิก่อนการทำงานที่ต้องใช้สมาธิ หรือ แรงบันดาลใจอยู่แล้วอะครับ
ส่วนการสวด ปกติจะไม่ค่อยได้ทำสมาธิ แต่จะไม่คิดถึงเรื่องอื่นใดเลย นอกจากการภาวนา

แต่ว่า แบบนี้จะโดนโจมตีไหมอะครับ หาว่าไปลอกอะไรเค้ามาอีกอ่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
Zion
~@
โพสต์: 3777
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 8:37 pm
ติดต่อ:

อังคาร พ.ย. 27, 2007 5:10 pm

Champkun เขียน: แต่ว่า แบบนี้จะโดนโจมตีไหมอะครับ หาว่าไปลอกอะไรเค้ามาอีกอ่า
คุณพ่อยอห์นเมนOSB ผู้ริเริ่มการนั่งสมาธิแบบคริสต์
ได้ถามท่านพุทธทาสภิกขุ เมื่อครั้งได้มีโอกาสมาสวนโมกข์ ว่าคริสตชนสามรถนำวิธีนี้ไปใช้ได้หรือไม่?

ท่านพุทธทาสกล่าวว่า "ได้สิ เพราะหลักสมาธิคือหลักสากลโลก มิได้แบ่งชาติศาสนาใด"


ผมว่าพุทธศาสนิกชนที่ดี จะมองว่าท่านทั้งสองเป็น "ญาติธรรม" ครับ ::001::
Rakkypoko!
โพสต์: 960
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ส.ค. 31, 2007 2:35 pm

อังคาร พ.ย. 27, 2007 5:13 pm

ขอบคุณพี่ปอ  ยาวได้ใจ อ่านไม่หมด เดี๋ยวมาอ่านต่อ
:+:Regina Pacis:+:
.
.
โพสต์: 944
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ต.ค. 18, 2005 11:16 pm

พฤหัสฯ. พ.ย. 29, 2007 2:58 pm

ขอบคุณค่ะพี่ปอ หนูล่ะอยากจะ พริ๊น ไปให้ เพื่อนคุณแม่อ่าน

เพราะ เมื่อวานคุณแม่มาเล่าให้ฟังค่ะ ว่าคุยกับเพื่อนแม่ คนพุธทแล้วเค้าชวนคุณแม่ไป วิปัสนาที่วัดธรรมมงคล
คุณแม่ก็บอกว่า ไม่เป็นไรค่ะ เพราะปกติจะเข้าวัดซอยเยื้องๆกัน อยู่  : xemo017 :
เค้าก็บอกว่า อ๋อวัดคริสนะเหรอคะ ..เอ๊  แต่ ถ้ามา วัดพุทธ เนี่ยจะเข้าถึงกว่านะเพราะว่าเค้ามีการ  วิปัสนา นั่งสมาธิ
คุณแม่ก็บอกว่า ของคริสเค้าก็มีค่ะ เรียกว่าการเข้าเงียบ เพราะคุณแม่ก็พึ่งไปมา เมื่ออาทิตย์ก่อนที่บ้านสวน คุณแม่ก็เลยอธิบายให้เค้าฟัง
เพราะส่วนใหญ่เค้าไม่ทราบว่าของคริสมี การทำสมาธิด้วยค่ะ
พอคุณแม่พูดจบ เก๋ก็เลยยื่นมือไปเชคแฮนด์บอกว่าเยี่ยมมากค่ะแม่ แม่แพร่ธรรม คริๆ  ::004::

เดี๋ยวจะพริ๊นกระทู้นี้ไปให้คุณแม่อ่านด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

::017::
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mobster
โพสต์: 1623
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 30, 2007 8:02 pm
ที่อยู่: Bangkok
ติดต่อ:

พฤหัสฯ. พ.ย. 29, 2007 3:44 pm

บทภาวนาจากใจ สายพระศาสนจักรตะวันออก

วัดรัสเซียออร์ทุกวันเวลา1ทุ่ม^^ ไว้ว่างๆผมมาเล่าดีกว่า แต่แบบได้สมาธิดีมากและยากมาก

เพราะจากการท่องเข้าสู่สมองคำภาวนาจากปากมาสู่สตินึกคิด แล้วสหลอมลวมเข้าไปในจิตใจ(การทำสมาธิพุทธมีแค่ขั้นสติ)

ยากมากกกก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ministry Of Men
โพสต์: 3972
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 18, 2007 3:09 pm

พฤหัสฯ. พ.ย. 29, 2007 4:12 pm

ย๊าวยาว เดี๋ยวมาอ่านต่อ
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ พ.ย. 30, 2007 6:09 am

รู้สึกทุกคนจะแพ้ความยาว  ไม่แน่ใจว่าน้องปอจะขึ้นที่บอร์ดบทความน่าเวบแล้วยัง  ถ้ายังเสนอให้ขึ้นนะคะ : emo038 :
taiyo
โพสต์: 658
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ เม.ย. 22, 2006 12:01 am

ศุกร์ พ.ย. 30, 2007 11:04 pm

ยศิโยน:ผู้ยำเกรงพระเจ้า เขียน:
Champkun เขียน: แต่ว่า แบบนี้จะโดนโจมตีไหมอะครับ หาว่าไปลอกอะไรเค้ามาอีกอ่า
คุณพ่อยอห์นเมนOSB ผู้ริเริ่มการนั่งสมาธิแบบคริสต์
ได้ถามท่านพุทธทาสภิกขุ เมื่อครั้งได้มีโอกาสมาสวนโมกข์ ว่าคริสตชนสามรถนำวิธีนี้ไปใช้ได้หรือไม่?

ท่านพุทธทาสกล่าวว่า "ได้สิ เพราะหลักสมาธิคือหลักสากลโลก มิได้แบ่งชาติศาสนาใด"


ผมว่าพุทธศาสนิกชนที่ดี จะมองว่าท่านทั้งสองเป็น "ญาติธรรม" ครับ ::001::
ความจริง ถ้าจะมองกันให้ดีๆ การทำสมาธิมีมาก่อนศาสนาพุทธจะเกิดขึ้นด้วยอีกนะครับ มีการทำสมาธิแบบมากมาย เช่นการเพ่งวัสถุต่างๆ เช่น การเพ่งน้ำเพื่อให้เกิดสมาธิ การเพ่งไฟหรือการเพ่งช่องว่าง และฯลฯ พวกพราหมณ์ก็มีการทำสมาธิ เพียงแต่ศาสนาพุทธนำการทำสมาธิเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างมาก จึงทำให้คนอื่นคิดไปว่า การทำสมาธิเป็นของศาสนาพุทธ ซึ่งอันที่จริงมันไม่น่าใช่ เพราะการทำสมาธิมีมาตั้งแต่โบราณแล้วครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

พุธ ส.ค. 26, 2009 5:29 pm

การทำสมาธิแบบฮินดูเรียกว่าโยคะ
sinner
โพสต์: 2246
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ มี.ค. 08, 2009 1:24 pm

พฤหัสฯ. ส.ค. 27, 2009 12:43 pm

ขอบคุณค่ะคุณ Holy ทั้งโพสให้แถมยังดันดาราอีกด้วย

เลยได้อานิสงฆ์ด้วย ได้อ่านเลย รายละเอียดเยอะดีค่ะ : xemo026 :
ตอบกลับโพส