บทวันทามารีอา ทุกยุค ทุกสมัย

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
Isolation
โพสต์: 1042
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ มี.ค. 22, 2008 11:37 am
ที่อยู่: Ether23@hotmail.com

พฤหัสฯ. มี.ค. 27, 2008 1:54 am

1. สมัยพระสังฆราชหลุยส์ ลาโน
(ค.ศ.1674-1696) สมัยกรุงศรีอยุธยา
ซึ่งนับว่าเป็นคำแปลเริ่มแรก ที่เป็นภาษาไทย
อาเวมารีอา เต็มอานิสงส์
พระอยู่แห่งนาง นางสมบุญยิ่งกว่านางทั้งหลาย
ด้วยลูกอุทรแห่งนาง
พระองค์เจ้าเยซู สมบุญยิ่งกว่าทั้งหลาย
ซางตามารีอา แม่พระ
ช่วยวิงวอนพระ โปรดเราคนบาป
แต่บัดนี้ และเมื่อเราจะตาย อาแมน

2. สมัยพระสังฆราชยวง บัปติส ปาเลอกัว
(ค.ศ.1841-1862) สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4

อาเว มารีอา ท่านประกอบด้วยอานิสงส์
พระองค์จำเริญ อยู่กับท่าน ซึ่งมีบุญยิ่งกว่าสตรีทั้งหลาย
และพระมหาเยซู บุตรอุทรของท่าน ทรงบุญยิ่งกว่าทั้งปวง
ซางตามารีอา ท่านพุทธมารดาของพระองค์
ขอช่วยวิงวอน เพราะข้าพระเจ้าคนบาปทั้งหลายนี้เถิด
บัดนี้ และ ณ กาละเมื่อจะตาย อาแมน

3. สมัย พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส
(ค.ศ.1909-1947)

อาเวมารีอา ท่านประกอบด้วยอานิสงส์
พระองค์จำเริญอยู่กับท่าน ซึ่งมีบุญยิ่งกว่าสตรีทั้งหลาย
และพระมหาเยซูบุตรของท่าน ทรงบุญยิ่งกว่าทั้งปวง
ซางตามารีอา พระมารดาของพระองค์
ขอช่วยวิงวอน เพื่อข้าพเจ้าคนบาปทั้งหลายนี้เถิด
บัดนี้ และกาละเมื่อจะตาย อาแมน

4. สมัย พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง
(ค.ศ.1947-1965)
ยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน

วันทามารีอา เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน
พระสวามีสถิตย์*กับท่าน ผู้มีบุญกว่าหญิงใด ๆ
และพระเยซู โอรสของท่าน ทรงบุญนักหนา
สันตะมารีอา มารดาพระเจ้า
โปรดภาวนาเพื่อเราคนบาป
บัดนี้ และเมื่อจะตาย อาแมน

* คำว่า "สถิตย์" พิมพ์ตามต้นฉบับ ปัจจุบันใช้ "สถิต"

http://www.geocities.com/prakobkit/14cr ... culate.htm
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

พฤหัสฯ. มี.ค. 27, 2008 8:01 am

ขอบคุณมากคะ อยากจะรู้อยู่พอดี

พระองค์ประทานให้นะเนี๊ย :angel:
bomzaiya
โพสต์: 663
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ เม.ย. 02, 2005 10:41 pm
ที่อยู่: Sriracha Chonburi
ติดต่อ:

พฤหัสฯ. มี.ค. 27, 2008 10:06 am

ปัจจุบัน ... พระสวามี เปลี่ยนเป็น พระเจ้า แล้วฮับ
แต่ยังมีบางวัดใช้คำเดิมอยู่
anakin
โพสต์: 81
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ธ.ค. 04, 2007 1:30 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. มี.ค. 27, 2008 11:02 pm

แล้ว พระสวามี ในที่นี้ควรจะแปลว่าอะไร เหรอ ครับ  ::012::
ภาพประจำตัวสมาชิก
jimseason
โพสต์: 155
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ธ.ค. 09, 2007 6:43 pm
ที่อยู่: Pattaya

ศุกร์ มี.ค. 28, 2008 2:23 am

แต้ง ฟอ อินโฟ งับ
ข้อมูลดีอ่ะ แต้งมั่กๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Florian
โพสต์: 1513
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ พ.ค. 31, 2006 12:05 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

ศุกร์ มี.ค. 28, 2008 4:16 pm

anakin เขียน: แล้ว พระสวามี ในที่นี้ควรจะแปลว่าอะไร เหรอ ครับ  ::012::
"Phra Sawami" here does not mean "HUSBAND", but "LORD". You get it? Understand? : emo045 :  : emo038 :  : xemo017 :
anakin
โพสต์: 81
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ธ.ค. 04, 2007 1:30 pm
ที่อยู่: Bangkok

อาทิตย์ มี.ค. 30, 2008 10:36 pm

เข้าใจละ  ::011::

ไม่ได้กวน นะคิดอย่างงั้น จริง ๆ อะทุกครั้งที่เจอคำ ๆ นี้

แล้ว ตามหลักภาษาไทย มันสามารถ แปลเป็นอย่าง อื่นได้ หรือ นอก จากสามี อะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
love.na
โพสต์: 180
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ เม.ย. 04, 2008 7:54 pm

เสาร์ เม.ย. 05, 2008 9:47 pm

555++ ::011::
Alphonse
โพสต์: 1792
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ส.ค. 23, 2006 10:45 pm
ที่อยู่: Thailand

เสาร์ เม.ย. 05, 2008 9:59 pm

สวามี,สามี = ผู้มีอำนาจ
ภรรยา,ภริยา = ผู้รับภาระ (หรือคนใช้นั่นล่ะ)

เป็นการเหยียดทางภาษา ตามความเชื่อดั้งเดิมที่หญิงเป็นสมบัติของสามี

ด้วยจิตคารวะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
~KaThaRoS~
โพสต์: 792
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ค. 06, 2007 12:07 am
ที่อยู่: Bkk
ติดต่อ:

เสาร์ เม.ย. 05, 2008 10:20 pm

ว ส ว สฺ ต์ เขียน: สวามี,สามี = ผู้มีอำนาจ
ภรรยา,ภริยา = ผู้รับภาระ (หรือคนใช้นั่นล่ะ)

เป็นการเหยียดทางภาษา ตามความเชื่อดั้งเดิมที่หญิงเป็นสมบัติของสามี

ด้วยจิตคารวะ
ตามที่เอชบอก ผู้มีอำนาจ หรือเจ้านายก็ได้
anakin
โพสต์: 81
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ธ.ค. 04, 2007 1:30 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ เม.ย. 05, 2008 11:13 pm

เข้าใจ ละ
พระเจ้าสถิตย์กับเราเสมอ
~@
โพสต์: 2546
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 10:54 pm

อาทิตย์ เม.ย. 06, 2008 1:11 am

สุดยอดเลย ขอบคุณครับขอพระเจ้าอวยพร  ว่าแต่ใครจำบทข้าแต่พระบิดาบทเก่าได้บ้าง อิอิ
holy holy holy
โพสต์: 548
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 07, 2007 8:07 pm

จันทร์ เม.ย. 07, 2008 9:19 pm

1. สมัยกรุงศรีอยุธยา พระสังฆราชหลุยส์ ลาโน (ค.ศ.1674-1696)
ซึ่งถือว่าเป็นภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุด เป็นครั้งแรกที่มีการแปลเป็นภาษาไทย
พ่อ เรา อยู่สวรรค์
ชื่อพระให้ ปรากฏทุกแห่ง คนทั้งหลายถวายพระพร
เมืองพระ ขอให้ได้แก่เรา
ให้แล้วหนึ่ง ใจพระ เมืองแผ่นดินเสมอสวรรค์
อาหารเราทุกวัน ขอให้ได้แก่เราวันนี้
ขอโปรดบาปเรา เสมอเราโปรดผู้ทำบาปแก่เรา
อย่าให้เราตกในความบาป
ให้พ้นจากอันตรายทั้งปวง อาแมน




2. สมัยรัตนโกสินทร์ พระสังฆราชยวง บัปติส ปาเลอกัว (ค.ศ.1841-1862)
นักปราชญ์คนสำคัญ

ข้าแต่พระพุทธิบิดาแห่งข้าพเจ้าทั้งหลาย
ท่านอยู่สวรรค์ ขอโปรดให้พระนามรุ่งเรืองไป เมืองพระพุทธิบิดาครอบครองนั้น ขอให้มาถึง
ให้สำเร็จแล้ว ตามพระหือฤาไทย ณ แผ่นดินเสมอสวรรค์
อาหารเลี้ยงข้าพระเจ้าทุกวัน ขอประทาน ณ กาละวันนี้
ขอพระมหากรุณา โปรดยกหนี้ ข้าพระเจ้าเหมือน ข้าพระเจ้าโปรดแก่เขา
ขอพระองค์อย่าละวางข้าพเจ้าในประจญล่อลวงประการใด
แต่ว่าให้ข้าพระเจ้าพ้นจากอันตราย อาแมน


3. สมัย พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส (ค.ศ.1909-1947)

ข้าแต่พระบิดา แห่งข้าพเจ้าทั้งหลาย
ท่านอยู่สวรรค์ ขอโปรดให้พระนามรุ่งเรืองไป
เมืองพระบิดาครอบครองนั้น ขอให้มาถึง
ขอให้สำเร็จแล้ว ตามพระหฤทัย ณ แผ่นดินเสมอ ณ สวรรค์
อาหารเลี้ยงข้าพเจ้าทุกวัน ขอประทาน ณ กาละวันนี้
ขอพระมหากรุณาโปรดยกหนี้ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้ายกให้แก่เขา
ขอพระองค์อย่าละวางข้าพเจ้า ในประจญล่อลวงประการใด
แต่ว่าให้ข้าพเจ้าพ้นจากอันตราย อาแมน


4. สมัย พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง (ค.ศ.1947-1965)

ข้าแต่พระบิดาของเรา พระองค์อยู่ในสวรรค์
พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ พระราชัยจงมาถึง
น้ำพระทัยจงเป็นไป ในแผ่นดินดังในสวรรค์
อาหารประจำวัน ขอประทานแก่เราวันนี้
โปรดยกหนี้ของเรา เหมือนเรายกให้เขา
อย่าปล่อยให้เราแพ้การประจญ แต่ช่วยเราให้พ้นภัย อาแมน


5. สมัย พระสังฆราชยอแซฟ ยวง นิตโย (ค.ศ.1965-1973)

ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย
พระองค์สถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามจงศักดิ์สิทธิ์ไป
พระอาณาจักรจงมาถึง ขอให้ทุกสิ่งในโลกนี้
เป็นไปตามน้ำพระทัย เหมือนในสวรรค์
ขอประทานอาหารประจำวัน ให้ในวันนี้
โปรดยกโทษให้ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้ายกให้เขา
อย่าปล่อยให้ข้าพเจ้าถูกผจญ แต่โปรดช่วยให้พ้นมาร อาแมน


6. สภาพระสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย ได้ประกาศใช้โดยพระคุณเจ้าพเยาว์ มณีทรัพย์
ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม โอกาสปัสกา ค.ศ.1978

ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย
พระองค์สถิตในสวรรค์ พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ
พระอาณาจักรจงมาถึง ขอให้ทุกสิ่งเป็นไปตามน้ำพระทัย ในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์
ขอประทานอาหารประจำวัน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้
โปรดยกโทษแก่ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้ายกให้ผู้อื่น
อย่าปล่อยให้ข้าพเจ้าถูกผจญ แต่โปรดช่วยให้พ้นภัย อาแมน


7. สภาพระสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย ได้ประกาศใช้โดยพระคุณเจ้าพเยาว์ มณีทรัพย์
ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม ได้แก้ไขปรับปรุงประกาศใช้ วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.2001

ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย
พระองค์สถิตในสวรรค์ พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ
พระอาณาจักรจงมาถึง พระประสงค์ จงสำเร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์
โปรดประทานอาหารประจำวัน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้
โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น
โปรดช่วยข้าพเจ้าไม่ให้แพ้การผจญ แต่โปรดช่วยให้พ้นจากความชั่วร้ายเทอญ อาแมน
[คุณพ่อ วรยุทธ กิจบำรุง รวบรวม จาก... อุดมสารรายเดือน ปีที่ 81 ประจำเดือน มิถุนายน 2544/2001]

http://www.geocities.com/prakobkit/  ในบทรวมข้าแต่พระบิดา
แก้ไขล่าสุดโดย holy holy holy เมื่อ จันทร์ เม.ย. 07, 2008 9:21 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ตอบกลับโพส