น้องเจมาถามเรื่องศีลครับ

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
kati

ศุกร์ พ.ค. 20, 2005 5:12 pm

คือว่าทำรายงานเรื่องศาสนาคริสต์อยู่ครับ
เลยอยากจะทราบรายละเอียดของศีลต่อไปนี้น่ะครับ
ขอละเอียดมาที่สุดน่ะครับ

ศีลล้างบาป
ศัลกำลัง
ศีลมหาสนิท
ศีลอภัยบาป
ศีลเจิมคนไข้
ศีลบรรพชา
ศีลสมรส

ขอบคุณน่ะครับสำหรับท่านที่ตอบครับ
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ พ.ค. 20, 2005 8:53 pm

พิธีล้างบาป (Baptism)

มีพื้นฐานจากพระคัมภีร์แน่นอนและเป็นพระเยซูเจ้าเองที่ตั้งและพัฒนาแนวความคิดของการล้างในธรรมเนียมของชาวยิวให้มีเนื้อหาใหม่คือ พระองค์มอบพระจิตเจ้าเข้ามามีบทบาทในพิธีล้างใหม่นี้ การล้างจึงไม่ได้เป็นเพียงเครื่องหมายอย่างเดียวแต่มีผลในการชำระมลทินบาปด้วยเพราะพระจิตเจ้าประทับอยู่ ข้ออ้างทางพระคัมภีร์ก็คือ

Mk 1: 8-11 พระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้างจากท่านนักบุญยอห์น
Mt 28:18 พระเยซูเจ้าทรงสั่งให้ไปประกาศพระวรสารและทำพิธีล้างบาปผู้เชื่อในนามพระตรีเอกภาพคือพระบิดา พระบุตรและพระจิต
Lk 3: 16 ท่านยอห์นประกาศว่าผู้ที่มาภายหลังท่านนั้นจะทำพิธีล้างด้วยพระจิตและไฟ
Jn 3: 5 พระเยซูเจ้าสนทนากับนิโคเดมุสยืนยันถึงความจำเป็นของคนเราที่ต้องเกิดใหม่ในพระจิต
Jn 3: 22 พระเยซูเจ้าเสด็จไปนอกเขตยูเดียและทำพิธีล้างบาป ท่านยอห์นก็ทำพิธีนี้ด้วยในเขตเอนอนก่อนที่ท่านจะถูกจับและถูกตัดศีรษะ
Jn 4:2 บรรดาศิษย์ของพระเยซูทำพิธีล้างมากกว่าพระเยซูเอง
Ac 2:38 นักบุญเปโตรหรือเซ็นต์ปีเตอร์ ยืนยันว่าทุกคนจะต้องรับพิธีล้างบาปในพระนามของพระตรีเอกภาพเพื่อรับการอภัยโทษบาปและรับพระจิตเจ้า
Rom 6:1-11 นักบุญเปาโลหรือเซ็นต์พอลกล่าวถึงความสำคัญของพิธีล้างบาปและการมีส่วนร่วมในชีวิตของพระเจ้าผ่านทางพระเยซู
1 Cor1:14 เซ็นต์พอลพูดถึงปัญหาของคริสตชนที่กลับใจใหม่แต่ยังแตกแยกกันและท่านบอกว่าดีที่ท่านไม่ได้ทำพิธีล้างมากนัก คงจะเป็นปัญหาว่าคนที่รับพิธีแล้วก็ยังไม่เข้าใจความหมายและไม่พยายามเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่เหมือนคนที่เกิดใหม่ในพระเจ้า

พิธีเจิมพระจิต(Confirmation)


Mk: 1:10 เมื่อพระเยซูเจ้ารับพิธีล้าง พระจิตเจ้าเสด็จลงมาเหนือพระองค์ในรูปนกพิราบและมีเสียงจากฟ้าสวรรค์ว่า ท่านคือบุตรสุดที่รักของเรา เราพอใจในท่านมาก...
Lk 4:17-21 พระเยซูเจ้าในศาลาธรรม มีคนยื่นม้วนหนังสือพระคัมภีร์ให้พระองค์อ่าน พระองค์อ่านตอนที่ยกมาจาก หนังสือประกาศกอิสยาห์ว่า พระจิตได้เสด็จลงมายังพระองค์และเจิมพระองค์เพื่อให้พระองค์ไปประกาศข่าวดีแก่คนยาจน....(อสย61.1-2) การเจิมด้วยพระจิตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการแต่งตั้งคนหนึ่งคนใดไปทำภารกิจของพระเจ้า
Lk 12:12 พระองค์เตือนใจคนที่ถูกเบียดเบียนว่าไม่ต้องกลัว พระจิตเจ้าจะเป็นผู้สอนเองว่าจะพูดอย่างไรในสถานการณ์นั้นๆ
Lk 24:49 ก่อนพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ พระองค์ได้มอบพระจิตให้แก่บรรดาศิษย์ตามที่พระบิดาสัญญาไว้และสั่งให้เขาอยู่ในเมืองก่อนจนกว่าพวกเขาจะได้รับอำนาจจากเบื้องบนอย่างสมบูรณ์
Jn 16:5-15 พระเยซูเจ้ากล่าวว่าเมื่อพระองค์ไปแล้ว พระจิตเจ้าหรือองค์ผู้บรรเทาซึ่งพระองค์ใช้คำว่า Paraclete จะเสด็จมาสอนพวกศิษย์แทนพระองค์
Ac 1:5 พระเยซูเจ้าบอกว่ายอห์นทำพิธีล้างด้วยน้ำ แต่ต่อไปพวกศิษย์จะรับการล้างด้วยพระจิตเจ้า
Ac 1:8 พวกศิษย์จะได้รับอำนาจของพระจิตเจ้าและพวกเขาจะกลายเป็นพยานยืนยันถึงพระเยซูเจ้า
Ac 8:14-17 เซ็นต์ปีเตอร์และเซ็นต์ยอห์น ไปทำพิธีปกมือส่งพระจิตให้แก่ชาวสะมาเรีย
Ac 19:1-8 เซ็นต์พอลถามชาวเอเฟซัสว่าพวกเขารับความเชื่อทางพิธีล้างของยอห์นแล้วนั้นได้รับพิธีรับพระจิตด้วยหรือเปล่า พวกเขาตอบว่า เปล่า เซ็นต์พอลจึงบอกว่าจำเป็นที่ต้องรับพิธีล้างในนามของพระเยซูเจ้าและได้ทำพิธีปกมือส่งพระจิตแก่พวกเขา
Heb 6:2 ผู้เขียนจดหมายถึงชาวฮีบรูกล่าวถึงภารกิจของท่านคือการสอนความเชื่อในพระเจ้า สอนเกี่ยวกับพิธีล้างบาป สอนเกี่ยวกับการปกมือส่งพระจิต สอนเรื่องการกลับคืนชีพจากความตายและการตัดสินพิพากษาชั่วนิรันดร์ (จะเห็นได้ว่าพิธีส่งพระจิตนั้นสำคัญยิ่งในการประกาศพระข่าวดีของพระเยซูเจ้า)
1 Jn 2:20 ผู้เขียนจดหมายนี้กล่าวถึงเงื่อนไข 4 ประการในการดำเนินชีวิตในแสงสว่างและกล่าวว่าพวกเขาได้รับการเจิมด้วยพระจิตแล้ว

พิธีขอบพระคุณ (Holy Eucharist)

พิธีขอบพระคุณนี้เป็นพิธีที่สำคัญยิ่งอีกพิธีหนึ่งที่พระเยซูเจ้าเองทรงสถาปนาขึ้นและพัฒนามาเป็นพิธีที่คาทอลิกเรียกตามประสาชาวบ้านว่า พิธีมิสซา พิธีนี้เป็นการทำตามที่พระเยซูเจ้าสั่งให้กระทำ มีการตีความหมายของคำสั่งต่างกันออกไประหว่างคาทอลิกและโปรแตสแตนท์สายต่างๆ นอกนั้นความหมายของการประทับอยู่ของพระองค์ใน พิธีและในแผ่นปังเองก็มองต่างกัน ฝ่ายคาทอลิกเชื่อว่าพระเยซูเจ้าทรงเปลี่ยนปังและเหล้าองุ่นเป็นพระกายและพระโลหิตของพระองค์จากแก่นของปังและน้ำองุ่นภาษาที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้คือ Transubstantiation คือการเปลี่ยนแปลงสารัตถะหรือ essence ภายในของสิ่งนั้นๆขณะที่รูปหรือ ฟอร์มภายนอกยังเหมือนเดิม ฝ่ายโปรแตสแตนท์ไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้และถือว่าพิธีขอบพระคุณนั้นเป็นเพียงพิธีที่ระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น ส่วนฝ่ายคาทอลิกถือว่าเป็นการนำเหตุการณ์ในอดีตให้กลับมาเป็นปัจจุบันและเพราะพระองค์สั่งให้ทำพิธีนี้ ฝ่ายคาทอลิกจึงทำพิธีนี้ทุกวัน ต่อไปผมจะยกข้ออ้างพื้นฐานทางพระคัมภีร์มาสนับสนุนพิธีศักดิ์สิทธิ์นี้

Mt 14:13-21 กล่าวถึงเหตุการณ์ที่พระเยซูเจ้าทำอัศจรรย์ทวีขนมปัง 5 ก้อนและปลา 2 ตัวเพื่อเลี้ยงคนห้าพันคนไม่นับผู้หญิงและเด็ก เหตุการณ์นี้สะท้อนถึงพิธีขอบพระคุณที่พระองค์จะสถาปนาในภายหลัง
Mt 26:29 กล่าวถึงการสถาปนาพิธีขอบพระคุณ (พบได้อีกใน Mk 14:12; Lk 22:7; Jn 13:1)
Jn 2: 11 กล่าวถึงการเปลี่ยนน้ำให้เป็นเหล้าองุ่น แสดงถึงอำนาจของพระองค์ที่จะเปลี่ยนสิ่งที่มีธรรมชาติอย่างหนึ่งไปเป็นอีกอย่างหนึ่งได้ ในพิธีขอบพระคุณ เป็นพระเยซูเจ้าเองที่ทรงเปลี่ยนปังให้เป็นพระกายและเหล้าองุ่นให้เป็นพระโลหิตของพระองค์
Ac 2:42 เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์แล้วบรรดาศิษย์ต่างก็ทำตามที่พระองค์สั่งคือทำพิธีขอบพระคุณ บิปังและดื่มเหล้าองุ่นศักดิ์สิทธิ์ด้วยกัน นอกจากจะเป็นพิธีแล้วพวกเขายังรู้สึกว่าพระองค์อยู่กับพวกเขาตลอดเวลาผ่านทางพิธีกรรมนี้ด้วยและพิธีนี้ก็สืบต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่น่าสังเกตอีกอย่างคือผู้นำกลุ่มคริสตชนจะเป็นผู้ประกอบพิธีโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการปกมือมอบอำนาจให้เป็นผู้นำกลุ่มคริสตชนนั้นๆ 1 Cor 10:21 เซ็นต์พอลอธิบายถึงความหมายของการแบ่งปันปังที่เสกและดื่มจากถ้วยเหล้าองุ่นที่เสกแล้วว่าหมายถึงการเป็นหนึ่งในพระกายของพระคริสตเจ้า ต่างจากการถวายบูชาแด่ปีศาจ 1Cor 11:23-32 เซ็นต์พอลกล่าวถึงพิธีขอบพระคุณว่าเป็นพระเยซูเจ้าเองที่สถาปนาขึ้นและสั่งให้กระทำเพื่อระลึกถึงพระองค์ คำว่าระลึกนี้คาทอลิกตีความหมายลึกซึ้งไปกว่าเพียงแค่ระลึกแต่หมายถึงการทำให้เหตุการณ์ในอดีตมาเป็นปัจจุบัน ทุกครั้งที่ทำพิธีพระเยซูเจ้าประทับอยู่กับพวกเราเสมอ

พิธีอภัยบาป (Penance)

พิธีนี้จะเกี่ยวข้องกับอำนาจที่พระเยซูเจ้ามอบให้แก่อัครสาวกในการอภัยบาป ในธรรมเนียมคาทอลิกผู้ที่ได้รับอำนาจนี้คือพระสันตะปาปา พระสังฆราช พระสงฆ์(บาทหลวง) โดยอำนาจนี้จะมอบผ่านทางพิธีบวชซึ่งมีการปกมือเหนือผู้รับ ในยุคแรกนั้นคนที่จะเป็นผู้นำกลุ่มคริสตชนก็ได้รับการปกมือมอบอำนาจนี้ ในปัจจุบันนี้คนที่จะเป็นผู้นำจะต้องได้รับการฝึกอบรมและเตรียมตัวนาน เรียนรู้วิชาการต่างๆมากเป็นต้นเทววิทยาและปรัชญา มีหลักสูตรในทางคาทอลิกที่ชายหนุ่มที่ต้องการเป็นสงฆ์ต้องผ่านขึ้นตอนการเรียนและอบรมในบ้านเณรหรือมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 7 ปี ผมจะไม่ขอกล่าวถึงความหมายของพิธีนี้ในแง่เทววิทยาแต่จะยกข้อความจากพระคัมภีร์มาอ้างเท่านั้นเองเพื่อจะให้เห็นว่าเหตุใดฝ่ายคาทอลิกถึงให้ความสำคัญกับพิธีอภัยบาปมากเพราะเป็นมรดกที่พระเยซูเจ้าเองมอบให้กับอัครสาวกของพระองค์

Mt 16:19 กล่าวถึงเรื่องการประกาศความเชื่อของเซ็นต์ปีเตอร์ และพระเยซูเจ้าได้กล่าวกับเขาว่า ท่านคือเปโตร(ซึ่งแปลว่าแผ่นหิน)และบนแผ่นหินนี้พระองค์จะสร้างพระศาสนจักรซึ่งประตูนรกจะไม่มีวันเอาชนะได้ นอกนั้นพระองค์ยังบอกว่าจะให้กุญแจของอาณาจักรสวรรค์แก่เปโตร อะไรที่ท่านผูกบนโลกนี้ที่สวรรค์ก็จะผูกด้วย อะไรที่แก้บนโลกนี้ที่สวรรค์ก็จะแก้ด้วย เป็นคำพูดที่หมายถึงการมอบอำนาจอภัยโทษบาปแก่เปโตร
Mt 18: 18 อีกครั้งหนึ่งพระองค์กล่าวถึงการแก้ไขข้อบกพร่องของพี่น้องและได้สำทับว่าอะไรที่สาวกผูกบนโลกนี้ก็จะผูกในสวรรค์ด้วย ...หมายถึงอำนาจการอภัยโทษบาปที่บรรดาอัครสาวกได้รับนั่นเอง
Lk 15:11-32 คำอุปมาเรื่องลูกล้างผลาญที่ทำผิดเพียงใดแต่เมื่อกลับมาหาบิดาด้วยใจสำนึกผิด บิดาก็พร้อมที่จะยกโทษให้เสมอ พระศาสนจักรเช่นกันพร้อมที่จะให้อภัยความผิดของทุกคนหากเขากลับใจ
Lk 19: 10 เป็นเรื่องของพระเยซูเจ้ากับซัคเคียสคนตัวเตี้ย เขาได้เชิญพระองค์ไปทานอาหารที่บ้านเขา พระองค์บอกว่าความรอดมาถึงเขาแล้วเพราะพระองค์มาหาและช่วยคนที่หลงทางไป ในความหมายคือนำคนบาปให้กลับมาในทางที่ถูกต้องนั่นเอง สิ่งที่เขาได้ทำผิดไปได้รับการอภัยเสมอหากเขาเพียงหันกลับมาหาพระองค์
Jn 20: 21-23 หลังจากที่ได้กลับคืนชีพแล้วพระเยซูเจ้าได้เสด็จมาในห้องที่บรรดาอัครสาวกรวมกันอยู่และพระองค์ทรงมอบพระจิตให้แก่พวกเขาและบอกว่าหากพวกเขาอภัยบาปใครบาปผู้นั้นก็จะได้รับการอภัยหากพวกเขาหน่วงเหนี่ยวบาปผู้ใด บาปผู้นั้นก็จะถูกหน่วงเหนี่ยวไว้ด้วย เป็นการมอบอำนาจอภัยบาปแก่อัครสาวกที่ชัดเจน
1Jn 1:9 ผู้เขียนจดหมายยอห์นฉบับนี้กล่าวถึงเงื่อนไขของการเดินในแสงสว่างคือต้องยอมรับว่าเขาเป็นคนบาปและเขาต้องเป็นคนที่น่าเชื่อถือพระเจ้าถึงจะอภัยบาปและปลดปล่อยพวกเขาจากมลทิน
1Jn 5:16-17 กล่าวถึงการภาวนาเพื่อขอพระเจ้าอภัยบาปผิดของพี่น้อง ยังแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจธรรมชาติของบาปว่ามีบาปหนักที่ร้ายแรงอันนำไปสู่ความรายและบาปเบาซึ่งเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง จากพื้นฐานนี้เองเทววิทยาเกี่ยวกับบาปในธรรมเนียมคาทอลิกจึงแบ่งบาปออกเป็นบาปหนักและบาปเบา บาปหนักนั้นจำต้องไปขอขมาพระเจ้าผ่านทางพระสงฆ์ ส่วนบาปเบานั้นไม่จำเป็นเพียงแต่ชดเชยด้วยกิจการดีต่างๆแทนก็ได้รับการอภัยจากพระเจ้าเช่นกัน ความผิดที่จะกลายเป็นบาปหนักนั้นมีเงื่อนไขคือ เป็นข้อผิดร้ายแรง บุคคลนั้นรู้ดีว่าร้ายแรง และเขาเต็มใจที่จะกระทำบาปนั้น เงื่อนไขสามประการนี้ยังใช้พิจารณาว่าบาปใดเป็นบาปหนักหรือเบาในธรรมเนียมคาทอลิก

พิธีเจิมคนไข้ (Anointing of the sick)

การเจิมด้วยน้ำมันมะกอกเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาในอดีตยาวนาน น้ำมันมะกอกเป็นเครื่องหมายของการชูกำลัง ในธรรมเนียมชาวยิว ก็ใช้น้ำมันมะกอกเจิมเพื่อแต่งตั้งการเป็นสงฆ์ ประกาศก การเจิมจึงเป็นสิ่งที่ทำเรื่อยมาในพระศาสนจักรยุคแรกด้วย ในกลุ่มคริสตชนเมื่อมีคนหนึ่งคนใดไม่สบาย ผู้นำก็จะเอาน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ไปเจิมโดยเชื่อว่าพระจิตเจ้าจะชูกำลังของเขาให้หายจากการเจ็บไข้ได้ ธรรมเนียมนี้มีหลักฐานในพระคัมภีร์แน่นอนกล่าวคือ Mt. 10: 1,8 พระเยซูเจ้าทรงเรียกสาวกทั้งสิบสองมาแล้วมอบอำนาจให้แก่พวกเขาไล่ผี รักษาโรคร้ายและความเจ็บไข้ทั้งหลาย ให้รักษาคนป่วย ให้คนตายคืนชีพ รักษาคนเป็นโรคผิวหนังให้หายและไล่ผี Mk 6:13 บรรดาศิษย์จึงออกไปประกาศข่าวดีและรักษาคนไข้อีกทั้งขับไล่ผีร้ายและได้เจิมคนป่วยมากมายด้วยน้ำมันและรักษาพวกเขา Mk 7:32-36 กล่าวถึงการรักษาคนหูหนวกและเป็นไบ้ของพระเยซูเจ้า ธรรมเนียมการรักษาเช่นนี้จึงตกทอดมายังอัครสาวกด้วย Mk 16:18 กล่าวถึงอำนาจของสาวกที่ได้รับ พวกเขาจะสามารถรักษาคนป่วย จับงูพิษ ดื่มยาพิษไม่เป็นอันตราย ปกมือรักษาคนป่วยได้ (ใครที่ไม่มีความเชื่อขอแนะนำอย่าลองเรื่องนี้) Lk 6:12-13 บรรดาศิษย์ได้ออกไปตามหัวเมืองต่างๆ ประกาศพระวรสารและไล่ผี เจิมน้ำมันคนป่วยรักษาไข้ Jn. 9:6-7 กล่าวถึงตอนที่พระเยซูเจ้ารักษาคนตาบอดที่สระสิโลอัม(ไม่ใช่ด้วยน้ำมันแต่ด้วยน้ำลายปนดิน) Jas 5:14-15 ท่านยากอบบอกว่าเมื่อมีคนป่วยให้ไปหาผู้อาวุโสของหมู่คณะและขอให้เขาเจิมคนป่วยด้วยน้ำมันในพระนามของพระเยซูเจ้า ท่านกล่าวอีกว่าการภาวนาด้วยความเชื่อจะช่วยรักษาคนป่วยให้หายและหากเขาได้ทำบาปอะไรก็ให้เขาสารภาพบาปนั้นต่อกันและกันและภาวนาเพื่อกันและกัน

พิธีบวช (Orders)

พระเยซูเจ้าเองได้ทรงเลือกสาวกและส่งเขาไปประกาศพระวรสาร สืบจากธรรมเนียมนี้ กลุ่มคริสตชนยุคแรกก็มีการเลือกผู้นำกลุ่มขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการประกอบพิธีต่างๆ โดยทั่วไปจะเลือกจากบุคคลที่เหมาะสม เมื่อคริสต์ศาสนาเป็นที่ยอมรับในอาณาจักรโรมันแล้ว การเลือกคนที่เหมาะสมจึงถือเอา คนที่มีคุณธรรมและความรู้มาเป็นคุณสมบัติด้วย เมื่อเลือกได้แล้วก็จะมีการปกมือมอบอำนาจให้ ผู้ที่ปกมือก็ต้องได้รับอำนาจสืบต่อมาจากอัครสาวกองค์หนึ่งองค์ใด การปกมือนี้ใช้ในการมอบอำนาจแก่พระสันตะปาปา พระสังฆราชและพระสงฆ์ ส่วนสังฆานุกรหรือดีอาโกโนนั้นได้รับการเจิมแต่ไม่ได้รับการปกมือเพราะฉะนั้นสังฆานุกรไม่สามารถจะทำพิธีขอบพระคุณหรือพิธีอภัยบาปได้ แม้จะถือว่าสังฆานุกรก็เป็นหนึ่งในฐานานุกรม(Hierarchy)ด้วยก็ตาม เนื่องจากคริสต์ศาสนามีรากฐานมาจากศาสนายูดาห์ การสืบตำแหน่งสำหรับคนที่จะทำพิธีกรรมนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญว่าบุคคลนั้นต้องได้รับการเจิมเพื่อให้อยู่ในฐานะ สงฆ์ ประกาศกและกษัตริย์ตามธรรมเนียมยิว เราจึงจะเห็นว่าบทบาทของผู้ได้รับเจิมนั้นเด่นมากในฐานะคนกลางที่ถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้า แน่นอนทุกคนก็สวดภาวนาวอนขอพระเจ้าได้เองไม่ต้องผ่านคนกลางอย่างสงฆ์ก็ได้ แต่ภาวนาแบบพิธีกรรมขอบพระคุณนั้นคาทอลิกเชื่อว่าเป็นการภาวนาขั้นสูงสุดเพราะมีมิติของการถวายบูชาองค์พระเยซูเจ้าแด่พระบิดาด้วย พิธีกรรมของคาทอลิกจึงมีความหมายในหลายมิติ บุคคลที่จะมาทำพิธีจึงต้องได้รับการเจิมให้เป็นสงฆ์อย่างเมลคีเซเด็กและประกาศกองค์อื่นๆในพระธรรมเก่า เมื่อคนใดได้รับการเจิมแล้วเขาก็จะเป็นสงฆ์ตลอดไป ต่อมาในธรรมเนียมคาทอลิกสายโรมัน (เริ่มตั้งแต่การนำเสนอในที่ประชุมย่อยของสังฆราชแห่ง กันกราในราวปี 345 เรื่อยมาจนกลายเป็นกฎจริงๆในสมัยพระสันตะปาปาดามาซุสที่ 1 366-384 และย้ำอีกทีในสมัยพระสันตะปาปา เลโอที่ 1 440-461 มีการเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย คริสตจักรบางแห่งก็ถือบางแห่งก็ไม่ถือจนมาถึงสมัยพระสันตะปาปาเกรโกรรีที่ 7 1073-1085 ได้มีการปฏิรูปและออกเป็นกฎสากลในพระศาสนจักรคาทอลิกตะวันตก) ได้เพิ่มกฎการให้สงฆ์ทุกคนถือพรหมจรรย์ เนื่องจากก่อนหน้านี้มักจะเกิดปัญหาที่เรียกว่า Nepotism คือการเอาลูกหลานและญาติพี่น้องของตัวเองที่เป็นพระมาอยู่ในตำแหน่งสูงๆในการบริหารพระศาสนจักรเพราะตอนนั้นสงฆ์คาทอลิกมีภรรยาเหมือนคนทั่วไปเหมือนพระในศาสนายิว เมื่อมีกฎเข้ามาใหม่ บางคนก็ยอมรับบางคนก็ไม่ยอมรับ มาถึงสมัยปฏิรูปของท่านลูเทอร์ทีแรกท่านก็เห็นด้วยกับกฎการถือโสด แต่ต่อมาภายหลังก็เปลี่ยนท่าทีเป็นการต่อต้านและก็ได้แต่งงานกับนาง แคทเธอรีน ฟอนโบรา อดีตนักพรตหญิงคนหนึ่ง ธรรมเนียมการถือโสดของพระสงฆ์คาทอลิกยังถือเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้ยกเลิกเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆทุกครั้งที่มีปัญหารุมเร้าพระศาสนจักร เช่น ปัญหาขาดแคลนกระแสเรียกในการบวชเป็นสงฆ์ ปัญหาสงฆ์ที่ไปมีครอบครัวแล้วถูกปลดจากตำแหน่งอยากมาทำหน้าที่ใหม่ ปัญญาผิดศีลความบริสุทธิ์ของสงฆ์เอง ขอวกมากล่าวถึงข้อสนับสนุนทางพระคัมภีร์ต่อพิธีบวชอีกทีว่า พิธีศักดิ์สิทธิ์นี้มีพื้นฐานในพระคัมภีร์ชัดเจนเป็นต้นสืบเนื่องมาจากพระธรรมเดิม และพระเยซูเจ้าเองก็ได้รับการเจิมให้เป็นสงฆ์เช่นกัน

Lk6:12-16 พระเยซูเจ้าทรงเลือกสาวก 12 คนมอบอำนาจให้พวกเขาและส่งไปทำงาน
Lk 10:1-20 พระเยซูเจ้าทรงตั้งสาวกเพิ่มอีก 72 คน
Jn 21:15-17 พระเยซูเจ้าถามเปโตรถึงสามครั้งว่ารักพระองค์หรือเปล่า และพระองค์สั่งให้ดูแลและเลี้ยงดูฝูงแกะและแพะของพระองค์ หมายถึงดูแลพระศาสนจักรนั่นเอง หน้าที่ของสงฆ์คือดูแลฝูงชุมพาของพระเจ้า
Ac 6: กล่าวถึงการเลือกสังฆานุกรขึ้นมาดูแลคริสคชนชาวกรีกเลือกได้สเตเฟน ฟิลิป โปร คุส นิคานอร์ ติมอน ปาร์เมนัส และนิโคเลาแห่งอันติโอ๊ค จากนั้นก็ได้ขอให้อัครสาวกทำพิธีปกมือเหนือพวกเขา
็Heb 3:1-10 กล่าวถึงพระเยซูเจ้าในฐานะมหาสงฆ์
Heb 4:15 กล่าวถึงบทบาทของพระเยซูเจ้าว่าเป็นสงฆ์สูงสุดหรือมหาสงฆ์
Heb 10:22 เช่นกันกล่าวถึงพระเยซูเจ้าเป็นเช่นมหาสงฆ์
Rev: 1:6 กล่าวถึงพระศาสนจักรเป็นดังอาณาจักรของสงฆ์ผู้รับใช้พระเจ้า
Rev: 5:10 กล่าวถึงภาพนิมิตของหมู่สงฆ์และกษัตริย์ของพระเจ้าที่ปกครองโลก
Rev: 20:6 กล่าวถึงหมู่คนที่จะได้ร่วมในการกลับคืนชีพพวกเขาจะเป็นสงฆ์ของพระเจ้าและพระคริสต์

พิธีสมรส (Matrimony)


ในธรรมเนียมคาทอลิกถือว่าพิธีสมรสนั้นเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ แม้พระเยซูเจ้ามิได้แต่งตั้ง การสมรสเกิดจากการประกาศร่วมชีวิตกันระหว่างชายหญิงโดยเข้าใจดีถึงความรับผิดชอบที่จะตามมา การสมรสเป็นพันธสัญญาและได้รับการยอมรับว่าเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในธรรมเนียมคาทอลิกตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 การสมรสมีมาตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ในโลกนี้ เป้าหมายของการสมรสคือสืบเผ่าพันธุ์และสร้างครอบครัว พระพรของพระเจ้าจะเกิดกับคู่สมรสทุกคู่ พระเยซูเจ้าเองได้เสริมเงื่อนไขใหม่แก่การสมรสคือให้เป็นพันธสัญญาถาวร ห้ามการหย่าร้าง ดังนั้นเราจะเห็นว่าพิธีสมรสนั้นแม้ไม่ได้เกิดบนฐานของพระคัมภีร์เพราะการสมรสมีมาก่อนพระคัมภีร์จะได้รับการบันทึก กระนั้นก็ตามเราก็พบการยืนยันความศักดิ์สิทธิ์ของการสมรสในพระคัมภีร์ด้วยคือ

Mt 5:32 พระเยซูเจ้ากล่าวว่าใครหย่าร้างภรรยาก็ทำบาปผิดและใครแต่งงานกับคนที่หย่าร้างก็ทำบาปผิดประเวณีด้วยเช่นกัน
Mt 19:9 กล่าวถึงใครที่หย่าร้างภรรยาก็ทำบาปผิดประเวณี
Mk 10:11-12 กล่าวถึงการหย่าร้างและไปแต่งงานกับคนหย้าร้างก็ผิดประเวณี
Lk 16:18 ความหมายอันเดียวกันคือการแต่งงานแท้นั้นหย่าร้างไม่ได้และใครแต่งงานกับคนหย่าร้างก็ทำผิดประเวณี
Jn. 2:1-11 กล่าวถึงพระเยซูเจ้าที่งานเลี้ยงแต่งงานที่เมืองคานา
Eph 5:21-27 กล่าวถึงคำแนะนำการอยู่ร่วมกันของสามีภรรยาให้เคารพกันและกันโดยให้พระเยซูเจ้าเป็นศูนย์กลาง สามีต้องรักภรรยา ออกจากบิดามารดาไปตั้งครอบครัวใหม่
Col 3:18-21 กล่าวถึงชีวิตครอบครัว สามีภรรยารักกันและกัน ลูกๆเชื่อฟังบิดามารดา
Tt 2:4-5 คำแนะนำให้สามีภรรยารักกันและกันและดูแลบุตรของตนอย่างดี
1 Pt 3:7 แนะนำสามีให้ดูแลภรรยาอย่างดี ให้เกียรติแก่นางและนางมีสิทธิ์เท่าเทียม

สรุป

ในธรรมเนียมคาทอลิกมีความพยายามที่จะปฏิรูปอยู่ตลอดเวลา เห็นได้จากการทำสังคายนาต่างๆเรื่อยมาตลอดสองพันปีเมื่อถึงคราวจำเป็นและพระจิตเจ้านำ คาทอลิกเชื่อว่าพระเยซูเจ้าอยู่กับพระศาสนจักรตลอดเวลา พระจิตของพระองค์จะคอยนำทางพระศาสนจักรไปในทางที่ถูกต้อง เมื่อท่านลูเทอร์และนักปฏิรูปสายอื่นๆจุดชนวนการปฏิรูปจนกลายเป็นการแตกแยกครั้งใหญ่ในพระศาสนจักรในศตวรรษที่ 16 นั้น พระศาสนจักรคาทอลิกนอกจากจะพยายามแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองแล้วยังพยายามเรียกร้องความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการกลับคืนมาอยู่ในฝูงชุมพาเดียวกันอยู่เสมอดังจะเห็นได้จากความพยายามของพระสันตะปาปาแต่ละองค์ที่พยายามทำการเสวนาเพื่อนำความเป็นหนึ่งเดียวกลับคืนมา การเสวนานี้มิได้กระทำเพียงระหว่างคาทอลิกกับพี่น้องโปรแตสแตนท์เท่านั้นแต่ระหว่างคาทอลิกกับพี่น้องออร์โธด๊อกซ์ ยิว และพี่น้องในศาสนาอื่นด้วยเพื่อสร้างสันติในโลก ฝ่ายคาทอลิกถือว่าการปฏิรูปใดๆต้องไม่ทำร้ายหลักการของความเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้ผู้นำที่สืบทอดรับอำนาจมาจากอัครธรรมทูต การแตกแยกเป็นความปวดร้าวของคริสตชนทุกคนที่รวมกันเป็นพระกายทิพย์ของพระเยซูเจ้า (Mystical Body) เป็นเรื่องที่น่าสังเกตว่า การแตกแยกนั้นจะว่าไปก็มีมาตั้งแต่ครั้งที่พระเยซูเจ้ายังมีชีวิตอยู่แล้ว ความชิงดีกันระหว่างศิษย์เอง การแสวงหาความยิ่งใหญ่ที่ไม่สอดคล้องกับจิตตารมณ์ของคำสอนของพระองค์ บางครั้งอำนาจการเมือง ความอ่อนแอของมนุษย์เองหรือแม้แต่ความศรัทธาที่สุดโต่งเองก็ล้วนมีส่วนทำให้หลงทาง ก่อให้เกิดความแตกแยกและความปวดร้าวในพระกายทิพย์ของพระองค์ ฝ่ายปฏิรูปหลายคนอาจจะมองคาทอลิกว่าเป็นผู้ร้าย คนเลว คนที่ไม่เดินตามพระคัมภีร์และพระวจนะของพระคริสตเจ้า เรายอมรับว่าเราผิดพลาดได้ในเรื่องเหล่านี้ดั่งที่บรรพชนของเราเคยผิดพลาด ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านอัครสาวกเปโตรเองก็ผิดพลาดปฏิเสธพระอาจารย์เจ้าถึงสามครั้ง แต่แล้วท่านก็กลับใจ แน่นอนในหลายเรื่องคาทอลิกผิดพลาดได้เพราะความอ่อนแอประสามนุษย์ อันนี้เรายอมรับและขออภัย ถ้าหากพี่น้องโปรแตสแตนท์ยังมองว่าเราเป็นคนร้ายอยู่เหมือนเดิม ก็ขอให้ถือว่าเราเป็นคนร้ายที่พยายามกลับใจก็แล้วกันนะครับและโปรดอธิษฐานเพื่อเราด้วย เอ๊ะ.. แล้วคาทอลิกมองโปรแตสแตนท์อย่างไรล่ะ? ไม่ขอวิจารณ์...เพราะบิดากำลังรอคอยการกลับมาของน้องผู้นี้อยู่ทุกวัน (Lk 15:11-31)

อ้างอิง

http://www.issara.com/article/prot3.html
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ พ.ค. 20, 2005 8:58 pm

ให้ พี่เจ ไปอ่านจากลิงก์ที่ให้ นะฮะ ที่ถามมาคือ พิธีศักดิ์สิทธิ์ของคริสตัง จ้า

แล้วไปเขียนให้เป็นภาษาตัวเอง พระคัมภีร์ที่ให้ คุณพ่อ ใช้ตัวย่อภาษาอังกฤษ
พี่เจ ดูจากพระคัมภีร์ได้ฮะ ถ้าไม่มีในมือ ลองขอ พระคัมภีร์ กีเดี้ยนจาก เจ๊จิง
จะได้มีพระคัมภีร์ ไว้คู่มือ ฮับ

พี่เจรักแมว เหรอ น้องเจี๊ยบจาฝาก เลี้ยง สองตัวได้ป่าว 8)
Batholomew
~@
โพสต์: 12724
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 2:28 pm
ที่อยู่: Thailand

ศุกร์ พ.ค. 20, 2005 10:38 pm

โห เอาแบละเอียดเลยหรอ
เอาเป็นว่าเท่าที่ผมอ่านของเจี๊ยบก็โอเคแล้วนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nihil
~@
โพสต์: 1763
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 4:36 pm
ที่อยู่: Pax
ติดต่อ:

เสาร์ พ.ค. 21, 2005 6:44 pm

น้องเจกลายเป็นแมวหม่าไวปลแล้ว *omg
ตอบกลับโพส