15 กันยายน ระลึกถึงแม่พระมหาทุกข์

วันระลึกถึงนักบุญ 365-6วัน ประวัตินักบุญ และวันฉลองสำคัญของคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
:+: seraphim :+:
~@
โพสต์: 7624
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 23, 2005 9:49 pm
ที่อยู่: Pattaya Chonburi

พุธ ก.ย. 15, 2010 9:19 am

รูปภาพ
การฉลองแม่พระมหาทุกข์นี้ ชวนเราให้รำพึงถึง ความทุกข์เจ็บปวดรวดร้าวของพระมารดา 7 อย่างด้วยกัน ที่มีการพูดถึงในพระวรสาร เป็นพระสันตะปาปาปีโอที่ 7 ที่ได้นำการฉลองแม่พระมหาทุกข์เข้ามาในพิธีกรรมของพระศาสนจักร เพื่อเป็นการระลึก ถึงความทุกข์ยากลำบากที่จักรพรรดินโปเลียนได้ทำต่อพระศาสนจักร และเป็นต้นที่ได้ทำต่อองค์ประมุขของพระศาสนจักร

การมีส่วนร่วมในความทุกข์ยากลำบาก ที่พระมารดาพระผู้ไถ่ได้มีร่วมกับพระบุตรของพระนางในงานช่วยมนุษย์ให้รอดนั้น (ลก.2:33-35) เป็นต้นได้แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์พยานในชั่วโมงที่พระองค์ถูกตรึงที่ไม้กางเขน ตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น ซึ่งได้รับพระนางมาเป็นมารดา (ยน.19:25-27)

ในปัจจุบันการฉลอง หรือการระลึกถึงแม่พระมหาทุกข์นี้เรามุ่งมาที่ตัวพระนางเอง พระมารดาผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยความทุกข์และ ยัญบูชาของพระคริสตเจ้าซึ่งพระนางเองได้ทรงถวายแด่พระบิดาพร้อม ๆ กับพระบุตร

ความทุกข์ยากเป็นของมนุษย์ทุกคนที่เจริญชีวิตอยู่ในโลกนี้ ทุกคนต้องเผชิญกับการประจญของปีศาจและความยากลำบากต่าง ๆ พระเป็นเจ้าทรงพระทัยดีพระองค์ไม่ให้เรารู้ว่า ในอนาคตเราจะได้รับความทุกข์ยากอะไรบ้าง แต่พระองค์ประทานพระหรรษทานให้แก่ทุกคนให้สามารถต่อสู้ความทุกข์ยากนั้นตามแต่ความต้องการของแต่ละคน

แต่ดูเหมือนว่าพระองค์ไม่ทรงสงสารแม่พระ ทรงพระประสงค์จะให้พระนางเป็นราชินีแห่งความเศร้า และทนความยากลำบาก เหมือนกับพระบุตร พระนางจึงต้องโศกเศร้ามากมายที่เห็นพระบุตรถูกทรมาน ถูกตรึงกางเขน โดยที่พระนางมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นจนปลาย ความทุกข์เศร้าในชีวิตจของพระนางที่เราแต่ละคนน่าจะรำพึงถึง

1. คำพยากรณ์ของท่านซีเมโอน

ในพระวิหารซีเมโอนรับพระกุมารมาอุ้มไว้ พยากรณ์ว่าเด็กนี้จะเป็นสัญญลักษณ์แห่งการขัดแย้ง “กุมารนี้เกิดมาเพื่อความพินาศ และความรอดของคนเป็นอันมากในชาติอิสราเอล และจะเป็นเสมือนเป้าให้มนุษย์คัดค้าน ส่วนตัวท่าน (พระนางมารีอา) ก็จะถูกกระบี่ทิ่มแทงดวงใจ” (ลก.2:34-35)

แม่พระบอกกับนักบุญเทเรซาว่าพระนางทราบดีว่า ชีวิตของพระองค์จะต้องถวายเพื่อความรอดของ โลกพระนางยอมรับถึงความทุกข์ยากนี้ไม่ว่าจะโหดร้ายเพียงไร พระนางทราบดีว่าพระบุตรจะถูกเบียดเบียนข่มเหง คนเป็นอันมากจะต่อต้านคำสอนของพระองค์ และเมื่อพระองค์ตรัสถึงพระเจ้าพวกเขาก็หาว่าพระองค์ กล่าวคำผรุสวาทดังที่คายาฟาสมหาสมณะกล่าวว่า “บุคคลผู้นี้มันกล่าวผรุสวาท...มันสมจะต้องตาย” (มธ.26:65-66) หลายคคนดูถูกพระองค์ต่าง ๆ นานา เขาดูถูกหาว่าพระองค์เป็นคนวิกลจริต

2. พาพระกุมารหนีไปอียิปต์

ดาบเล่มที่ 2 ที่ทิ่มแทงดวงหทัยของพระนางคือ การที่ต้องพาพระเยซูเจ้าหนีไปประเทศอียิปต์ เพื่อให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของ เฮโรด

เฮโรดคอยด้วยความพระวนกระวาย เพื่อทราบข่าวจากบัณฑิตสามองค์ว่า พระเยซูเจ้าบังเกิดที่ไหน จะได้ตามไปฆ่า เมื่อทราบว่าตนถูกหลอกก็สั่งให้ฆ่าทารกทุกคนในเมืองเบ็ธเลเฮม แต่เทวดาปรากฏมาในฝันบอกโยเซฟว่า “ลุกขึ้นเถิด พาพระกุมารและพระมารดาหนีไปประเทศอียิปต์” (มธ. 2:13 ) โยเซฟลุกขึ้นและ คืนนั้นเองก็พาพระกุมารและพระมารดาออกเดินทางไปอียิปต์ (มธ. 2:14)

พระเยซูเจ้าทรงบังเกิดมายังไม่ทันไรก็ถูกเบียดเบียน… แม่พระเริ่มระลึกถึงคำของท่านซีเมโอนที่ทำ นายไว้และกำลังเป็นความจริง “พระองค์จะเป็นเสมือนเป้าให้มนุษย์คัดค้าน” (ลก. 2:34)

3. พระเยซูเจ้าทรงหายไปในพระวิหาร

แม่พระที่เคยเห็น เคยพบ พูดคุย และเลี้ยงพระเยซูเจ้ามา แล้วอยู่ ๆ พระองค์ก็หายไปถึง 3 วัน แม่พระเที่ยวตามหาด้วยความ โศกเศร้าอาลัย
ในพระวรสารบทที่ 2 ของนักบุญลูกากล่าวว่า แม่พระพาพระเยซูเจ้าไปฉลองปัสกาที่กรุงเยรูซาเล็ม ขณะนั้นพระกุมารทรงพระชนม์ 12 พรรษา ระหว่างเดินทางกลับบ้าน พระเยซูเจ้าทรงค้างที่กรุงเยรูซาเล็ม โดยที่แม่พระไม่ทันสังเกต คิดว่าพระองค์คงกลับกับญาติ ๆ เมื่อไม่เห็นพระองค์จึงย้อนกลับไปกรุงเยรูซาเล็ม เที่ยวตามหาถึง 3 วัน

ช่างเป็นภาพที่น่ารันทดใจเพียงใด ที่แม่พระต้องปวดร้าวใจตามหาพระเยซูเจ้าตั้งแต่เช้าจรดค่ำตลอด 3 วัน พระนางอาจจะกินข้าวกับน้ำตาเหมือนกับกษัตริย์ดาวิดคร่ำครวญถึงบุตรของตนที่ตายไป “ข้าพระองค์กินน้ำตาต่างอาหารทั้งวันและคืน ขณะที่คนพูดกับข้าพระองค์วันแล้ววันเล่าว่า “พระเจ้าของเจ้าอยู่ที่ไหน” (สดด.42:3)

4. พระเยซูเจ้าทรงพบพระมารดา

นักบุญเบอร์นาดี กล่าวว่าก่อนจะพูดถึงความทุกข์โศกเศร้าของแม่พระ เราต้องทราบว่าแม่พระรู้สึก อย่างไรเมื่อพระเยซูเจ้ากำลังจะถูกประหาร และเราต้องตระหนักดีว่าแม่พระรักพระเยซูเจ้ามากเพียงไร

แม่ทั้งหลายย่อมทราบความทุกข์ทรมานของลูก ๆ และพร้อมจะรับทนทุกข์ทรมาน เมื่อหญิงชาว คานาอันวอนขอพระเยซูเจ้าให้ขับไล่ปีศาจออกจากลูกของตน เพราะว่ามันช่างทรมานใจนางสักเพียงใด ยิ่งกว่าทรมานลูกสาวของเธออีก “ข้าแต่พระเจ้าโอรสดาวิด โปรดเมตตาข้าพเจ้าเถิด บุตรสาวของข้าพเจ้าถูก ปีศาจทรมานอย่างน่าสมเพช (มธ. 15:22) แม่พระมองเห็นพระพักตร์ของพระเยซูเจ้า เต็มไปด้วยพระโลหิต มีบาดแผลเต็มไปหมดจากศีรษะจรดเท้า สวมมงกุฎหนาม แบกกางเขนหนักและใหญ่

ประกาศกอิสยาห์กล่าวว่า “เรามองเห็นพระองค์ในสายตามนุษย์แล้วน่าสงสาร (อสย.53:2) นี่แหละ บุตรสุดที่รักของพระนาง ไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร แม่พระคงปรารถนาจะเข้าไปกอดพระบุตร แต่ทหาร คงผลักรุนพระเยซูเจ้าไปข้างหน้าและสบประมาทเยาะเย้ยพระนาง…แม่พระยังคงติดตามพระบุตรไป

5. พระเยซูเจ้าทรงสิ้นพระชนม์

แม่พระเฝ้าดูลูกน้อยที่ถูกปรับโทษถึงตาย ทั้ง ๆ ที่ลูกน้อยนั้นเป็นคนบริสุทธิ์ ลูกน้อยที่พระนางรัก อย่างสุดหัวใจ แต่กลับถูกทรมานอย่างโหดร้ายสุดประมาณ และตายอยู่ต่อหน้าต่อตาพระนาง “มารีย์ มารดาของพระเยซูเจ้ายืนอยู่ที่เชิงกางเขน” (ยน.19:25) แม่พระยืนอยู่ที่เชิงกางเขนเฝ้าดูพระบุตรถูกทรมาน และกำลังจะสิ้นใจ เขาถอดเสื้อผ้าของพระองค์ออก จับนอนลงกับกางเขน ตอกตะปูที่มือและเท้าของพระองค์ อย่างทารุณ ยกกางเขนตั้งขึ้น แล้วปล่อยให้พระองค์สิ้นพระชนม์…พวกเพชรฆาตหนีไป แต่พระแม่มิได้จากไป พระนางเข้าไปใกล้ ๆ เชิงกางเขนมากขึ้น

ท่านซีมอนแห่งกาเซีย กล่าวว่า “ใครที่เห็นแม่พระยืนนิ่งเงียบโดยไม่บ่นอะไรแทบเชิงกางเขน คงจะ ตกใจเพราะพระนางอดทนจริง ๆ ริมฝีปากเธอเงียบ แต่ใจเธอไม่เงียบ พระนางถวายพระบุตรเพื่อความรอดของเรา… พระเป็นเจ้ามีแผนการให้แม่พระร่วมไถ่บาป และให้พระแม่ได้เป็นมารดาของเรา ดังนั้นที่เชิงกางเขน แม่พระจึงเป็นมารดาของเรา และเราเป็นลูก ๆ ของพระนาง” จึงตรัสแก่พระมารดาว่า “สตรีเอ๋ย นี่แนะลูกของท่าน” “นี่แน่ะแม่ของเจ้า” (ยน.19:26-27)

6. แทงสีข้างของพระเยซูเจ้าและนำพระศพลงจากกางเขน

จิตใจของพระมารดาไม่สามารถรับความบรรเทาได้ เพราะพระเยซูเจ้าได้สิ้นพระชนม์แล้ว แม้ว่าพระ บุตรจะสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ยังถูกหอกแทงที่สีข้างด้วยความโหดร้าย “ทหารคนหนึ่งเอาหอกแทงสีข้างของพระองค์” (ยน.19:34) แม้ว่าพระองค์จะสิ้นพระชนม์แล้วก็ตาม แม่พระก็ยังต้องแบมือรับพระศพลงจากกางเขน ดาบเล่มที่ 6 ที่ทิ้มแทงดวงหทัยของแม่พระ พระนางต้องทรมานทีละอย่าง ๆ และบัดนี้ทุกอย่างเอามารวมกันทรมานพระนางมากทวีคูณขึ้นไปอีก ถ้าแม่พระสามารถที่จะทนทุกข์โศกศัลย์มากกว่านี้ได้ พระนางคงยอม รับทรมาน ซึ่งดูเหมือนความทุกข์นี้ก็ยังมีอยู่เรื่อย ๆ เพราะมนุษย์ทำบาป ก็เป็นการทรมานพระองค์ ขอให้เรากลับใจเสียใหม่ ดังที่ประกาศกอัสยาห์กล่าวว่า “จงกลับใจเสียใหม่เถิด” (อสย.46:8)

7. ฝั่งพระศพพระเยซูเจ้า

แม่พระผู้ระทมทุกข์กำลังแบมือรับร่างของพระบุตรที่ไร้ชีวิต เธอคงจะกล่าวเช่นเดียวกับมหาบุรุษโยบ ว่า “พระองค์ทรงกระทำกับข้าพเจ้าอย่างโหดร้ายนัก” (โยบ 30:21) ความเศร้าโศกสุดแสนของแม่พระ พระบุตรยังคงอยู่ในอ้อมแขน พวกศิษย์กลัวว่าแม่พระจะสิ้นใจ จึงรับพระศพไปจากพระนางเพื่อทำพิธีฝัง

ถึงเวลาที่จะต้องปลงพระศพ พระมารดาคงจะปวดร้าวใจสักเพียงใดที่จะต้องกล่าวอำลาครั้งสุดท้าย… แน่นอน ช่างเป็นภาพที่เศร้าสลดและปวดร้าวใจพระนางสุดพรรณา เมื่อคิดถึงโศกราฏกรรมนี้

แม่พระบอกกับนักบุญบริจิตว่า “บุตรของฉันถูกฝัง แต่มีดวงใจ 2 ดวง ที่ฝังอยู่ที่นั่นด้วย” ที่สุด พวก เขาก็ปิดที่ฝั่งพระศพพระเยซู เจ้า ร่างกายนั้นมีค่ามากที่สุดทั้งบนแผ่นดินและในสวรรค์ แม่พระทรงทิ้งดวงใจของพระนางไว้กับพระบุตร เพราะพระองค์มีค่ามากที่สุด “เหตุว่า ทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ใด จิตใจของท่าน ก็อยู่ที่นั่นด้วย” (ลก.12:34)


http://catholic.egat.co.th/people/sep15mary.htm
ตอบกลับโพส