หน้า 1 จากทั้งหมด 1

พระทรงบังเกิด โลกจงยินดี.....

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 11, 2012 5:09 pm
โดย sunofgod
เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า
รูปภาพ

การเสด็จมาขององค์พระเยซูคริสตเจ้าเป็นวันเวลาที่เราไม่คาดคิดมาก่อน เราไม่ทราบล่วงหน้า การเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าอาจมองได้ 2 ความหมาย

1. โลกและสรรพสิ่งจะต้องมีวันสิ้นสุดนั่นคือ วันสิ้นโลก และพระเยซูคริสตเจ้าจะเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งในวันนั้นในฐานะพระตุลาการพิพากษามนุษยชาติ วันนั้นเป็นวันไหน เมื่อไรเราไม่ทราบ พระเยซูคริสตเจ้าบอกกับเราว่า? มีแต่พระบิดาผู้เดียวเท่านั้นทรงทราบ? เพราะฉะนั้นเราต้องเตรียมตัวและจิตใจให้พร้อมอยู่เสมอ

2. วันสิ้นชีวิตของมนุษย์แต่ละคน ก็เป็นวันที่พระเยซูคริสตเจ้าเสด็จมาด้วยและใครจะตาย เมื่อไรอย่างไรเราก็ไม่ทราบเช่นเดียวกัน พระวาจาของพระเจ้าเตือนให้เราดำเนินชีวิตอย่าง รอบคอบ? พวกท่านจงเตรียมพร้อมอยู่เสมอเพราะพวกท่านไม่รู้วันเวลา?

เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า จึงไม่ใช่เทศกาลเตรียมสมโภชการบังเกิดมาของพระเยซูคริสตเจ้าเท่านั้น แต่ยังเป็นการเตรียมต้อนรับ การเสด็จมาของพระคริสตเจ้าเป็นครั้งที่ 2 ด้วย การเสด็จมาครั้งที่ 2 ของพระเยซูคริสตเจ้า จะไม่ใช่การบังเกิดมาทารกน้อยนอนในรางหญ้าอีกต่อไป แต่พระองค์จะเสด็จมาเป็นผู้พิพากษามนุษยชาติ ด้วยเหตุนี้เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระ คริสตเจ้า จึงไม่ใช่เพียงเทศกาลเตรียมการฉลองรื่นเริงในวันคริสต์มาสเท่านั้น แต่ตรงข้าม ต้องเป็นเทศกาลที่เราต้องจริงจังกับชีวิตมากขึ้น เปิดบัญชีชีวิตขึ้นอ่านทบทวน ถ้าพบว่าอะไรดีเป็น สิ่งที่ส่งเสริมความเชื่อ ความศรัทธา ทำให้เราเป็นคนดีขึ้นก็ทำต่อไป และขอพลังจากพระเป็นเจ้า ให้เราพัฒนา ความเชื่อ ความศรัทธา ของเราให้เข้มแข็งมากขึ้นอยู่เสมอ ถ้าพบความบกพร่องของเรา ต้องเปิดใจรับความจริงและแก้ไข ลำพังตัวเราเองคงทำอะไรไม่ได้ เราจึงต้องขอพลังจากพระเป็นเจ้าอีกเช่นกัน ขอให้ปีใหม่ของพระศาสนจักรเป็นก้าวแรกที่ดีมั่นคง เพราะการเริ่มต้นที่ดีก็สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง

รูปภาพ

คริสตสมภพสมโภชอะไรกันแน่ ?

ที่มา: คุณพ่อ ปรีชา นิยมธรรม แสงธรรมปริทัศน์ปีที่ 18 เดือนที่กันยายน-ธันวาคม 1994

ดูเหมือนว่าห้างสรรพสินค้าจะไวกว่าเราคริสตชนจากที่พวกเขาได้เริ่มโฆษณาขายผลิตภัณฑ์แบบพิเศษ แบบพิเศษสุดก่อนที่เราจะเตรียมตัวเข้าเทศกาลเตรียมรับเสด็จด้วยซ้ำไป ไม่ว่าจะที่ตู้กระจก ไฟประดับหน้าห้างและร้าน การจัดวางผลิตภัณฑ์ที่ล่อใจผู้ที่เดินชม การจัดรายการสมนาคุณพิเศษและสี เสียง ฯลฯ ล้วนเป็นอาหารตา และจุดปรารถนาจะซื้อมาไว้ในครอบครอง

ปรากฏการณ์ที่กล่าวมาข้างบนล้วนบ่งชี้บรรยากาศของเทศกาลคริสตสมภพในหลากหลายพันรูปลักษณ์ - ประดุจพลุที่กระจายบนท้องฟ้า - กระจายออกเป็นชีวิตและความยินดี เป็นความหวังและความเชื่อ แต่บ่อยครั้งดูเหมือนว่างานฉลองนี้จะมาในรูปคู่แข่งขนานกันตลอด คือคริสตสมภพ งานสมโภชของสังคมบริโภคอันมโหฬาร และคริสตสมภพ งานสมโภชการบังเกิดของพระบุตรพระเป็นเจ้ามาเป็นมนุษย์ ต่อพระกุมารน้อยในรางหญ้า ภาพของความยากจนและการปลดเปลื้องตน เราควรเฉลิมฉลองอย่างไรให้สมพระเกียรติของพระองค์?



คริสตสมภพแท้

ในประเทศของเรา ดูเหมือนว่าจะมีการเตรียมสมโภชคริสตสมภพอย่างเอิกเกริกเป็นพิเศษ และทุกคนก็พยายามเฉลิมฉลองอย่างดีที่สุดในเวลาเดียวกันคริสตสมภพได้ถูกนำเสนอในหลายรูปแบบ เหตุมาจากความรู้สึกนึกคิดและปฏิกิริยาหลากหลาย อาทิ ความยินดีที่ได้มอบของขวัญและรับของขวัญ ได้รับของเล่น ได้แสดงออกถึงความผูกพันธ์ต่อประเพณีดั้งเดิมอย่างเช่น

ซานตาคลอส บรรยากาศของมิสซาเที่ยงคืน การสร้างถ้ำพระกุมารก่อนถึงวันพระคริสตสมภพก็มีการเตรียมตัวเตรียมของ เตรียมว่าจะใส่ชุดอะไร เตรียมว่าจะซื้อของขวัญอะไร มีการตกแต่งบ้านมากบ้างน้อยบ้างและไม่ลืมที่จะประดับต้นคริสต์มาสไว้ด้วย

แล้วก็มีผู้เตรียมเทศกาลคริสตสมภพเพื่อเรา พ่อค้า แม่ค้า ห้างสรรพสินค้าเตรียมสินค้าไว้สารพัดสิ่งไว้ให้เราบริโภค วิทยุโทรทัศน์เสนอรายการพิเศษ ถ้าเราพูดถึงยุโรปก็จะมีการเตรียมการณ์มากกว่านี้หลายเท่า การเตรียมการเหล่านี้จะช่วยเราคริสตชนให้เกิดความรู้สึกในใจว่า คริสตสมภพใกล้เข้ามาแล้ว เพราะบรรยากาศภายนอกดูเหมือนวิงวอน ขอร้อง สะกิดใจ ให้เราซึมซับคริสตสมภพเข้าในตัวถ้าจะให้คริสตสมภพเป็นคริสตสมภพแท้สำหรับเรา จำเป็นที่เราจะต้องตื่นตัวตื่นใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบข้างตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นการประดับประดาร้านค้า โฆษณาต่างๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ น่าจะจุดประกายความร้อนรนที่จะเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ เพราะสิ่งรอบตัวเรานั้นนำเสนอความคิด ยัดเยียดด้วยซ้ำไป เพราะการกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าถ้าจะให้คริสตสมภพเป็นคริสตสมภพแท้สำหรับเรา เราต้องพยายามให้การตระเตรียมภายนอกพูดกับเราให้เจ้าใจว่าบรรยากาศการตระเตรียมนั้นไม่เหมือนกันตามที่ต่างๆ จากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง จากชนกลุ่มหนึ่งไปสู่ชนอีกกลุ่มหนึ่ง ผู้อาวุโสอาจคิดอาจมีปฏิกิริยาตอบไม่เหมือนวัยรุ่น คนเจ็บป่วย คนตกงานอาจมีความรู้สึกผิดแผกไป จากคนสบายดีและมีงานทำ พิธีการเฉลิมฉลองของประเทศร่ำรวยคงไม่เหมือนกับประเทศยากจนแน่ๆ ฯลฯ...ให้คริสตสมภพเป็นเหมือนงานสมโภชยิ่งวันงานสมโภชคริสตสมภพและงานวันขึ้นปีใหม่ส่งท้ายปีเก่าจะกลายมาเป็นงานเดียวกันทีละเล็กทีละน้อย ตามธรรมดา วันฉลองคืออะไร? วันฉลอง งานฉลองก็เปรียบเสมือนวงเล็บในชีวิตของเรา คือเวลาที่เรากันไว้ต่างหากเพื่อเปิดโอกาสให้มาร่วมชุมนุมกัน บ่อยครั้งที่เราทำในสิ่งที่ปกติเราไม่ทำในชีวิตประจำวัน ทุกคนมารวมกันเพื่อสร้างความยินดี สร้างความสนุกเพื่อความสุข และทุกคนก็มีความรู้สึกว่ามีความเป็นหนึ่งเดียวกันและอาจรับประทานหรือดื่มมากกว่าปกติงานฉลองเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ทุกคนต้องการ เป็นส่วนประกอบของชีวิตดังเช่น ครอบครัว การงาน ความรักความเอื้ออาทร ความสนุก สังสรรค์และความตาย คงจะเป็นชีวิตที่เศร้ามากถ้าใครคนใดไม่มีโอกาสได้มีงานฉลองในชีวิตของเขาดังนี้คริสตสมภพอาจหลงเดินไปในหนทางและการตกระดับ "เป็นการกินอย่างเอิกเกริก" ซึ่งไม่ตรงกับความหมายจริงของ "งานฉลอง" ถ้าจะให้คริสตสมภพเป็นคริสตสมภพที่แท้ ควรมีบรรยากาศหรือความรู้สึกอะไรๆ ที่ไม่ธรรมดา ต้องเจือปนด้วยกลิ่นไอและสัมผัสของ "งานฉลอง" โดยไม่จำเป็นต้องมีอาหารเลิศรสหรือจัดงานใหญ่โตหรือมีของแพงๆ ก็ได้ แต่การบังเกิดของพระกุมารน่าจะเป็นโอกาสมีอะไร "สักอย่าง" ประทับตราตรึงใจเราบ้างคือน่าจะมีหมายอะไรบอกว่า "เป็นพิเศษ" สักอย่าง เพราะแท้จริงแล้วต้นกำเนิดนั้น คริสตสมภพคือวันแห่งความโดดเดี่ยวเงียบเหงาประสามนุษย์แต่ในความเงียบเหงาโดดเดี่ยวประสามนุษย์ของวันนั้น มีมิตรภาพ มีความยินดี และนี่คือกุญแจดอกสำคัญไปสู่ "งานฉลอง" ที่ผ่านไปอย่างเป็นผลสำเร็จ เพราะจิตใจที่เปิดกว้างสู่คนรอบข้าง สู่สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว และนักบุญลูกาได้บอกให้รู้ว่าในคืนอันโดดเดี่ยวแต่สุขใจของคริสตสมภพบรรดาคนเลี้ยงแกะได้พบความยินดีและสันติ (เทียบ ลูกา 2:8-20)

คริสตสมภพ พระคริสตเจ้าเกิดเป็น "กุมารน้อย" โดยทั่วไปดูเหมือนว่าคริสตสมภพจะเป็น "งานฉลอง" ของบรรดาหนูน้อยทั้งหลาย (เป็นพิเศษในประเทศยุโรป โดยเฉพาะในเช้าของคริสตสมภพ 25 ธันวาคม ที่พวกเขาจะไปดูที่ถุงเท้าของตนว่ามีของขวัญอะไรบ้าง แล้วก็จะเห็นความยินดีปรีดา ความตื่นเต้นของสีหน้าและอิริยาบถของพวกเขาเหล่านั้น) และครอบครัวส่วนมากก็ปรารถนาให้ลูกๆ ได้มาร่วมฉลองคืนคริสตสมภพคล้ายๆกับมีความปรารถนาลึกๆ จะได้พบบรรยากาศอันอบอุ่นในวัยเด็กของตนอีกครั้ง คงไม่ผิดทีเดียวถ้าจะกล่าวว่าเด็กๆ เป็น "ดารา" ของงานฉลองคริสตสมภพแต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เด็กหลายคนได้รับการเอาอกเอาใจมากมีเดียว ส่วนเด็กจำนวนไม่น้อยบนโลกต้องนั่งตาปริบๆเพราะพวกเขาไม่มีโอกาสได้รับของขวัญใดๆเลย



คริสตสมภพคือ พระกุมารเยซูที่กลายเป็นเป้าความสนใจ

ประสบการณ์ความจริงกับเราข้อนี้เตือนใจให้เรานึกถึงอาณาจักรสวรรค์ "พระอาณาจักรสวรรค์เป็นของผู้ที่เหมือนเด็กเล็กๆ..." เป็นการเชิญอันเน้นย้ำให้พวกเรา ผู้ใหญ่กลับเป็นเหมือนเด็ก ถอดหน้ากากแห่งความมารยาของชีวิตของพวกเรา เมื่อเผชิญหน้ากับโลกแข็งกระด้างน่าเบื่อหน่าย คริสตสมภพเป็นประดุจท่อธารอันเย็นฉ่ำสำหรับมนุษย์ทุกคนทั่วหน้า คริสตสมภพอยู่เบื้องหน้าเราเหมือนกับบอกเราว่า "ลุกขึ้นมาใช้ชีวิตด้วยลำแข้งตนเองสิ มัวปล่อยให้เป็นทาส เป็นเครื่องเล่นของเหตุการณ์ในชีวิตและความจำเจของชีวิตประจำวันทำไม!!!"

คริสตสมภพอันแท้จริง คือพระเป็นเจ้าผู้บังเกิดเป็น "กุมารน้อย" ชาวยิวและคุกคามจากความรุนแรงและความเกลียดชังของคนในสมัยนั้น และคนสมัยของเราด้วย ไม่มีใครเคยคิดว่าองค์พระเยซู จะเกิดเป็นกุมารน้อยแบบชาวอพยพในระหว่างการเดินทาง น่าคิด น่ารำพึงพินิจ น่าที่เราจะพยายามเข้าใจความหมายให้ลึกซึ้งขึ้นพระเป็นเจ้านำเสนอพระองค์และกิจการของพระองค์บ่อยครั้งในชีวิตประจำวันของเราโดยที่เราไม่คิดและคาดฝันมาก่อน และในรูปลักษณ์ที่เราไม่รู้มาก่อน



รูปภาพ
ประวัติวันสมโภชพระคริสตสมภพ

เอกสารเก่าแก่ที่สุดที่พูดถึงการสมโภชพระคริสตสมภพในวันที่ 25 ธันวาคม มีต้นกำเนิดมาจากพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก คือ ปฏิทินซึ่งบันทึกวันครบรอบการสิ้นชีวิต (เกิดใหม่ในพระเจ้า) ของพระสังฆราชแห่งกรุงโรม (พระสันตะปาปา) (Depositio episcoporum) และปฏิทินซึ่งบันทึกวันครบรอบการสิ้นชีวิต (เกิดใหม่ในพระเจ้า) ของมรณสักขีชาวโรมัน (Depositio martyrum) ซึ่งสันนิษฐานว่าบันทึกโดยฟูริอุส ดิโอนีซิอุส ฟิโลกาลุส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 354 ทำให้เราทราบว่าอย่างน้อยในปี ค.ศ. 336 ที่กรุงโรมได้ทำการสมโภชพระคริสตสมภพในวันที่ 25 ธันวาคมแล้ว

ทำไมที่กรุงโรมจึงฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าในวันที่ 25 ธันวาคม มีสมมุติฐานดังนี้ คือ

1.เป็นการแทนที่วันฉลองของชาวโรมันซึ่งฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม คือ ฉลองการบังเกิดของสุริยเทพผู้พิชิต (Natale (Solis) Invicti) ที่จักรพรรดิเอาเลเรียนเป็นผู้ริเริ่มให้ฉลองในปี ค.ศ. 274 คริสตชนฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทนที่วันฉลองนี้ โดยเปรียบเทียบว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็น “ดวงอาทิตย์แห่งความชอบธรรม” (Sun of Justice) “แต่ดวงอาทิตย์แห่งความชอบธรรมซึ่งมีปีกรักษาโรคภัยได้ จะขึ้นมาสำหรับคนเหล่านั้นที่ยำเกรงนามของเรา เจ้าจะกระโดดโลดเต้นออกไปเหมือนลูกวัวออกไปจากคอก” (มลค 4:2) “เดชะพระเมตตากรุณาของพระเจ้าของเรา พระองค์จะเสด็จมาเยี่ยมเราจากเบื้องบน ดังแสงอรุโณทัย” (ลก 1:78) และพระเยซูเจ้าทรงเป็นแสงสว่างส่องโลก (ยน 8:12)

2.ธรรมประเพณีโบราณในศตวรรษที่ 2-3 ที่เชื่อว่า พระเยซูเจ้าทรงปฏิสนธิและสิ้นพระชนม์ในวันและเดื อนเดียวกัน คือ วันที่ 25 มีนาคม (วันที่ 14 เดือนนิสาน) ดังนั้น วันบังเกิดของพระองค์จึงเป็นวันที่ 25 ธันวาคม

การฉลองวันพระคริสตสมภพแผ่ขยายไปอย่างรวดเร็วทั้งทางตะวันตกและตะวันออกในศตวรรษที่ 4 สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะธรรมล้ำลึกที่ฉลองในวันพระคริสตสมภพเป็นคำตอบที่ถูกต้องต่อคำสอนที่หลงผิดของ พวกเฮเรติ๊กลัทธิอาเรียน (Arianism) ที่สอนว่าพระบุตร (พระเยซูเจ้า) ไม่เท่ากับพระบิดา พระบุตรเป็นเพียงสิ่งสร้างแรกของพระบิดาแม้จะ ทรงเป็นสิ่งสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในเรื่องการรับเอากายเป็นมนุษย์ของพระบุตรนั้น เฮเรติ๊กลัทธินี้สอนว่าธรรมชาติพระเจ้าของพระบุตรเข้าแ ทนที่ธรรมชาติมนุษย์ของพระองค์ เราเห็นคำสอนที่ถูกต้องของพระศาสนจักรเรื่องการรับเอากายเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้าได้อย่างชัดเ จนในพิธีกรรมวันสมโภชพระคริสตสมภพ ซึ่งเน้นที่ธรรมชาติพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ของพระเยซูเจ้า สอดคล้องกับคำสอนของสังคายนาที่นิเชอา (ค.ศ. 325) ซึ่งประณามคำสอนของลัทธิอาเรียน

พิธีกรรมสมโภชคริสตสมภพ
รูปภาพ
ตามธรรมประเพณีโรมัน จากบทเทศน์พระคริสตสมภพของพระสันตะปาปาเกรโกรี่ มหาสมณะ (ค.ศ. 604) เราพบว่าในวันสมโภชพระคริสตสมภพ อนุญาตให้พระสงฆ์ถวายมิสซาได้ 3 มิสซา คือ มิสซากลาง คืน (Missa in nocte) มิสซารุ่งอรุณ (Missa in aurora) และมิสซากลางวัน (Missa in die) (สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 เพิ่มมิสซาเย็นเตรียมสมโภชเข้าไปอีก 1 มิสซา) บทอ่านของทั้ง 3 มิสซา เป็นคำยืนยันของพยาน และผู้นิพนธ์พระวรสารเกี่ยวกับธรรมล้ำลึกแห่งการรับเอากายมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้า พระบุตรพระเจ้า

อันที่จริงในศตวรรษที่ 4 มีมิสซาสมโภชพระคริสตสมภพเพียงมิสซาเดียวที่มหาวิหารนักบุญเปโตร (เ วลาประมาณ 9.00 น.) ต่อมาในศตวรรษที่ 5 มีมิสซาเที่ยงคืนที่มหาวิหารแม่พระ (St. Marry Major) ซึ่งสร้างขึ้นหลังสังคายนาที่เอเฟ ซัส ในปี ค.ศ. 431 สังคายนานี้ประกาศว่า พระนางมารีย์คือพระมารดาของพระเจ้า และในวัดน้อยใต้ดินของมหาวิหารนี้ได้เก็บรักษาพร ะธาตุของถ้ำเลี้ยงสัตว์ที่เบธเลเฮม สถานที่ที่พระเยซูทรงบังเกิดไว้ด้วย จึงเป็นธรรมเนียมที่พระสันตะปาปาจะมาถวายมิสซาในตอนเที่ยงคื นที่วัดน้อยแห่งนี้ เชื่อว่าการถวายมิสซาเที่ยงคืนน่าจะมาจากธรรมเนียมของคริสตชนที่กรุงเยรูซาเล็ม ในคืนก่อนวันสมโภชพระคริสต์แสดง องค์ (Epiphany) คริสตชนที่กรุงเยรูซาเล็มจะร่วมขบวนแห่เพื่อไปร่วมมิสซาที่เบธเลเฮม ในวัดที่จักรพรรดิคอนสแตนตินสร้างขึ้นบนสถาน ที่ที่เชื่อว่าเป็นถ้ำที่พระเยซูเจ้าทรงบังเกิด หลังจากนั้นพวกเขาจะแห่กลับไปยังกรุงเยรูซาเล็มและร่วมมิสซาเช้าที่นั่น ประมาณกลางศตวรร ษที่ 6 เพิ่มมิสซารุ่งอรุณที่วัดนักบุญอนาสตาเซียแห่งซิมิอุม (St. Anastasia of Sirmium) นักบุญองค์นี้เป็นมรณสักขีที่คริสตชนจารีตต ะวันออกให้ความนับถืออย่างมาก และฉลองท่านในวันที่ 25 ธันวาคม พระสันตะปาปาจะแวะมาถวายมิสซาที่นี่ก่อน จึงจะไปถวายมิสซาที่มหาวิหารนักบุญเปโตร

หลังจากนั้นธรรมเนียมการถวาย 3 มิสซาในวันสมโภชพระคริสตสมภพ ถูกบันทึกอยู่ในหนังสือพิธีกรรมของพระสันตะปาปาเกรโกรี่ (Gregorian Sacramentary) ในศตวรรษที่ 7 และแพร่หลายต่อไปทั่วยุโรป

1.มิสซากลางคืน

พิธีมิสซานี้เต็มไปด้วยบรรยากาศของการสำแดง “พระสิริรุ่งโรจน์” ของพระเจ้าในพระคุณของพระผู้ไถ่ที่ ประทานแก่มนุษย์ และบรรยากาศของ “ความยินดี” ของมนุษย์ผู้ต้อนรับพระองค์ “วันนี้ พระผู้ไถ่ คือองค์พระคริสต์ ได้ประสูติเพื่อเราแล้ว”

ในพระวรสารตามคำเล่าของนักบุญลูกา (ลก 2:1-14) กล่าวถึงการบังเกิดของพระเยซูเจ้าที่เบธเลเฮม พ ระวรสารจบลงที่ทูตสวรรค์ร้องเพลงพระสิริรุ่งโรจน์ (Gloria) ซึ่งเป็นเพลงพิเศษของวันสมโภชนี้ จะเห็นได้ว่าการอวยพรให้มี “สันติสุข” จากปากของทูตสวรรค์ในพระวรสารของนักบุญลูกา (ลก 2:14) เป็นคำเดียวกันกับที่พร ะเยซูเจ้าตรัสกับพวกอัครสาวก หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับคืนชีพแล้วเช่นกัน (ลก 24:36) (ทำให้เราเห็นความสัมพันธ์ระหว่างการสมโภชพระคริสตสมภพกับธรรมล้ำลึกปัสกา)

บทอ่านที่ 1 จากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (อสย 9: 2-4, 6-7) กล่าวถึงความหวังเรื่องพระเมสสิยาห์ สำเร็จลงในวันนี้ “ชนชาติที่ดำเนินในความมืด จะได้เห็นความสว่างยิ่งใหญ่ บรรดาผู้ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินแห่งความตาย แสงสว่างจะได้ ส่องมายังเขา... เหตุว่ามีกุมารผู้หนึ่งเกิดมาเพื่อเรา มีบุตรชายคนหนึ่งประทานมาให้เรา และการปกครองจะอยู่บนบ่าของพระองค์ และเขาจะขนานนามว่า “ที่ปรึกษามหัศจรรย์ พระเจ้าผู้ทรงอำนาจ พระบิดานิรันดร เจ้าแห่งสันติ”

บทอ่านที่สองจากจดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิตัส (ทต 2:11-14) กล่าวถึงพระหรรษทานของพระเ จ้าปรากฎมาแล้ว (ในการบังเกิดของพระเยซูเจ้า) ขอให้เราเจริญชีวิตอย่างรู้ประมาณ ยุติธรรม และชอบธรรมในโลกนี้

บทอัลเลลูยากล่าวถึงความชื่นชมยินดีว่า “เรานำข่าวดีมาบอกท่านทั้งหลาย วันนี้ พระผู้ไถ่ได้เกิดมาเพื่อท่านแล้ว”

เราพบสัญลักษณ์ของความสว่าง ซึ่งหมายถึงพระเยซูเจ้าทรงเสด็จมาเพื่อขับไล่ความมืดของบาป ในบทภาวนาของประธาน และบทนำขอบพระคุณที่ 1 เทศกาลพระคริสตสมภพ

ในบทภาวนาเตรียมเครื่องบูชา เราขอให้พระเจ้าทรงเปลี่ยนเราให้เหมือนกับพระเยซูเจ้า “ขอให้เครื่ องบูชาที่เปลี่ยนเป็นพระกายและพระโลหิตของพระบุตรนี้ จงบันดาลให้ข้าพเจ้าทั้งหลายละม้ายคล้ายกับพระองค์ท่าน ผู้ทรงถ่อมองค์มารับสภาพมนุษย์”

เราแสดงความเคารพเป็นพิเศษต่อพระเยซูเจ้าผู้ทรงถ่อมพระองค์ลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อสวดบทข้าพเจ้าเชื่อ (credo) ถึงตอน “มาบังเกิดเป็นมนุษย์” ทุกคนคุกเข่า (เฉพาะวันสมโภชพระคริสตสมภพ(ทุกมิสซา) และวันสมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรง รับสภาพเป็นมนุษย์)

2.มิสซารุ่งอรุณ

หัวข้อสำคัญของพิธีมิสซานี้ คือ ความเชื่อ ในที่นี้ความเชื่อถูกมองเป็นทั้งเส้นทางเดินของชีวิต และในเวลาเดียวกัน เป็นพระคุณที่พระเจ้าประทานให้ (บทอ่านที่ 1 และ 2)

ในพระวรสารตามคำเล่าของนักบุญลูกา (ลก 2:15-20) กล่าวถึงบรรดาชุมพาบาลพบพระกุมารบนรางห ญ้า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ต่อจากพระวรสารของมิสซากลางคืน พระวรสารตอนนี้เป็นปฏิกิริยาของพวกเขา ซึ่งเราสามารถเห็นวิธีการบรรยายเส้นทางเดินของความเชื่อ ได้แก่ “การประกาศข่าวเกี่ยวกับความรอด จากนั้นมีการตอบสนองของความเชื่อ ซึ่งแสดงออกมาด้วยการฟัง (มิสซากลางคืน) การไปโดยไม่รอช้า การเห็น และจบลงด้วยการสรรเสริญพระเจ้าและการเป็นพยานให้คนอื่น
ทราบ”

สัญลักษณ์ของความสว่างถูกกล่าวถึงชัดเจนยิ่งขึ้นกว่ามิสซากลางคืน ซึ่งเราพบได้ในเพลงเริ่มพิธี บทภ าวนาของประธาน สดุดี 97 (การประกาศสรรเสริญพระเจ้าผู้ทรงเป็นกษัตริย์ และเป็นความสว่างส่องเหนือผู้ชอบธรรม)

ความเชื่อและความยินดีเป็นหัวข้อที่เราพบเสมอในมิสซารุ่งอรุณ เช่น ในบทภาวนาหลังรับศีล เราภาวนาว่า “ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายกำลังชื่นชมฉลองวันสมภพพระบุตรด้วยความศรัทธา ขอโปรดให้เชื่ออย่างมั่นคงในธรรมล้ำลึกประการนี้ และมีใจเร่าร้อนรักพ ระองค์ท่านด้วยเทอญ ทั้งนี้ ขอพึ่งพระบารมีพระคริสตเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย”

3.มิสซากลางวัน

มิสซากลางวันเสนอธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับพระธรรมชาติของพระเยซู ผู้ทรงบังเกิดมาและเป็นพระมหาไถ่ของอิสราเอลและของประชาชาติว่า พระองค์ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า ผู้ทรงเสมอเทียบเท่าพระบิดา ได้ถูกส่งมาท่ามกลางมนุษย์ และเพื่อมนุษย์ทุกคน ในพิธีกร รมเน้นพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตรพระเจ้า

ในพระวรสารของนักบุญยอห์น (ยน 1:1-18) กล่าวว่าพระวจนาตถ์ทรงรับเอากายเป็นมนุษย์ และมาประทับท่ามกลางเรา พระองค์ทรงรับเอากายเป็นมนุษย์เพื่อทำให้มนุษย์เกิดใหม่เป็นบุตรของพระเจ้า “มีบางคนที่ยอมรับและเชื่อถือพระองค์ พระเจ้าทรงให้คนเหล่านี้มีสิทธิเป็นบุตรของพระองค์” ที่สุด ประโยคสุดท้ายนับเป็ นการยืนยันถึงความหมายของ “เอมมานูเอล” ได้อย่างดี คือ “ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้าเลย พระบุตรเพียงพระองค์เดียว ผู้สถิตอยู่ในพระอุระของพระบิดานั้นได้ทรงเปิดเผยให้เรารู้” (ยน 1:18)

บทอ่านที่หนึ่งจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (อสย 52:7-10) กล่าวถึง ความรอด สันติสุข และข่าวดี “พระเจ้าทรงเตรียมพระกรอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ เพื่อช่วยเหลือประชาชาติทั้งปวง และที่สุดปลายแผ่นดินทั้งสิ้น จะเห็นความรอดของพระเจ้าของเรา” และสิ่งที่ประกาศกอิสยาห์ประกาศได้สำเร็จลงไปในการบังเกิดของพระเยซูเจ้า

บทอ่านที่สองจากจดหมายถึงชาวฮีบรู (ฮบ 1:1-6) กล่าวถึงพระเจ้าตรัสกับเราผ่านทางพระบุตร พระบุตรทรงสะท้อนพระสิริรุ่งโรจ น์ของพระเจ้า ทรงเป็นรูปแบบสมบูรณ์แห่งธรรมชาติของพระเจ้า ทรงผดุงจักรวาล และทรงประทับเบื้องขวาพระบิดา

สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ได้เพิ่มมิสซาเตรียมสมโภช (vigil mass) ของวันสมโภชพระคริสตสมภพ ดังนี้

4 มิสซาเย็นเตรียมสมโภช

พระวาจาของมิสซาเตรียมสมโภชเป็นการเน้นที่ธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับการมีเชื้อสายดาวิดดของพระเยซูเจ้าและความสำเร็จของพระสั ญญาที่พระเจ้าเคยให้ไว้ หัวข้อสำคัญนี้ได้มีการประกาศแล้วตั้งแต่วันอาทิตย์หลังๆ ของเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า

มิสซานี้ใช้ตอนเย็นหรือหัวค่ำ วันที่ 24 ก่อนหรือหลังพิธีทำวัตรเย็นที่หนึ่งของวันสมโภชพระคริสตสมภพ

ในพระวรสารของนักบุญมัทธิว (มธ 1:1-25) กล่าวว่าพระเจ้าทรงรักษาพระสัญญา แผนการแห่งความรอดพ้นสำเร็จโดยอาศัยการบังเกิดของพระเยซูเจ้า และการบังเกิดของพระองค์เป็นผลงา นของพระจิตเจ้า เพราะนักบุญโยเซฟไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระนางมารีย์ในฐานะสามีภรรยา

บทอ่านที่ 1 จากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (อสย 62:1-5) ประกาศว่า พระเจ้าไม่ทรงทอด ทิ้งประชากร แต่กำลังจะทำให้พระสัญญาแห่งความรอดกลับเป็นความจริง ไม่เพียงแต่เท่านั้น แต่ประชากรนี้จะได้มีชื่อว่า “ความพึงพอใจของท่าน” คำพูดเดียวกันนี้ที่ทูตสวรรค์ใช้กับพระนางมารีอาเมื่อมาแจ้งสารการบังเกิดของพระเยซูเจ้า (ลก 2:14)

บทอ่านที่ 2 จากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 13:16-17,22-25) เป็นคำให้การของนักบุญเปาโลเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า บทอ่านบ ทนี้มีสาระใกล้เคียงกับพระวรสารในเรื่องเกี่ยวกับการที่พระเยซูเจ้าเป็นคนเชื้อสายของดาวิดและการบังเกิดของพระองค์เป็นความสำเร็จจริงของพระสัญญาในพันธสัญญาเดิม

เนื่องจากมิสซานี้เป็นส่วนหนึ่งของการสมโภชพระคริสตสมภพ จึงมีบทพระสิริรุ่งโรจน์ เมื่อสวดบทข้าพเจ้าเชื่อ (credo) ถึงตอน “มาบังเกิดเป็นมนุษย์” ทุกคนคุกเข่า และใช้บทนำขอบพระคุณสำหรับเทศกาลพระคริสตสมภพ...

รูปภาพ

GLORIA PATRI, et Filio, et Spiritui Sancto. Sicut erat in principio, et nunc, et semper, et in saecula saeculorum AMEN...

Re: พระทรงบังเกิด โลกจงยินดี.....

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 11, 2012 8:26 pm
โดย magicgreen
ขอบคุณน้องซันมากจ้า :s015: :s012: :s021:

Re: พระทรงบังเกิด โลกจงยินดี.....

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 11, 2012 11:26 pm
โดย sunofgod
ครับ :s015:

Re: พระทรงบังเกิด โลกจงยินดี.....

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 12, 2012 6:04 am
โดย เมจิ
คริสมัส :s021: :s021: :s021:

Re: พระทรงบังเกิด โลกจงยินดี.....

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 12, 2012 10:44 am
โดย rosa-lee
ลูกซันละเอียดดีมาก แถมมีภาพสวยๆ สดใส ดูแล้วสดชื่นหัวใจ
พิมพ์ไปพร้อมฟังเพลง คริสตมาสไปด้วย อยากให้ถึงคริสมาสเร็วๆ จัง
:s007: :s007: :s007:

Re: พระทรงบังเกิด โลกจงยินดี.....

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 12, 2012 5:52 pm
โดย sunofgod
ครับ ...ขอพระกุมารเยซูทรงปกป้องคุ้มครอง เมจิ และ มาม๊า ครับ :s015: :s015:

Re: พระทรงบังเกิด โลกจงยินดี.....

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2012 4:18 pm
โดย เมจิ
sunofgod เขียน:ครับ ...ขอพระกุมารเยซูทรงปกป้องคุ้มครอง เมจิ และ มาม๊า ครับ :s015: :s015:
เช่นกันค่ะ ::020::