มีผู้มาถวายสายสร้อยทองคำแด่แม่พระไถ่ทาส เพราะเจอเรื่องอัศจรรย์ ที่วัดคอนเซ็ปชัญแห่งพระแม่เจ้า สามเสน

แบ่งปัน คำพยาน ประสบการณ์ชีวิตกับพระเจ้า และการอัศจรรย์ ที่พระเจ้าได้ทรงกระทำต่อชีวิตของเราแต่ละคน
ตอบกลับโพส
Arttise
โพสต์: 871
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

อาทิตย์ ธ.ค. 10, 2023 12:24 am

หลังมิสซาฉลองวัดเสร็จแล้ว ได้มีผู้ที่มาถวายสายสร้อยทองคำแด่แม่พระไถ่ทาส พร้อมทั้งได้ฟังเรื่องอัศจรรย์ที่ได้เกิดขึ้นกับครอบครัวของท่าน ได้เชิญคุณพ่อมารับทราบ และถ่ายภาพเป็นที่ระลึก คุณพ่อท่านได้นำสายสร้อยกลับไปรวมเข้ากับชุดเครื่องประดับแม่พระไถ่ทาสเป็นที่เรียบร้อยครับ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

CR. : จักรภพ กรีกุล
https://www.facebook.com/groups/7507722 ... 567550096/

⛪ วัดคอนเซ็ปชัญแห่งพระแม่เจ้า
🏠 ที่อยู่
167 ซอยมิตรคาม ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10300

📍 Google Maps
https://maps.app.goo.gl/VH9VSPBoMwuJRo2PA?g_st=ic

📞 เบอร์โทร
02-243-2617

👍 เพจ
https://www.facebook.com/conception.bkk?mibextid=2JQ9oc

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
Arttise
โพสต์: 871
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

อาทิตย์ ธ.ค. 10, 2023 12:47 am

+ การฉลองแม่พระไถ่ทาส

การฉลองแม่พระไถ่ทาส ซึ่ง ต่างกับฉลองวัด (แม่พระปฏิสนธินิรมล) ว่า“จากชุมชนกัมพูชาที่อพยพมาสมัยรัชกาลที่ 1 และนำแม่พระไถ่ทาสมาด้วย ดั่งเดิมชุมชนวัดแห่งนี้ ต้องบอกว่า ( เป็นโปรตุเกส )แต่เห็นว่ามีชาวเขมรเป็นคาทอลิกก็มาอยู่ด้วยกัน เมื่อเหตุการณ์ในเขมร สงบ ชาวเขมรที่เป็นคาทอลิก จะอัญเชิญแม่พระกลับ แต่เมื่อลงเรือ ไม่สามารถแจวเรือออกได้ ทำเช่นนี้อยู่หลายครั้ง ก็ไม่สำเร็จ จึงถือเป็นอัศจรรย์ และได้อัญเชิญแม่พระไว้ ณ วัดแห่งนี้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ส่วนแตกต่างกับวันฉลองวัดอย่างไรนั้น ชื่อวัดคอนเซ็ปชัญ คือ แม่พระปฏิสนธินิรมล ฉลองในต้นเดือนธันวาคม เป็นการฉลองตามชื่อวัด แต่ในส่วนของการฉลองแม่พระไถ่ทาส หรือแม่พระขนมจีน จะทำการฉลองในทุกวันที่ 24 กันยายนของทุกปี ฉลองตรงวันทุกปี ส่วนการเก็บรักษา “แม่พระไถ่ทาสจะเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ของวัด” หากใครสนใจก็ติดต่อกับขอชมกับทางวัดได้

ชื่อเรียก พระแม่ไถ่ทาส ตามหาข้อมูลไม่พบ เพียงแต่มีข้อมูลว่าในปี 1218 นั้น พระแม่ได้ประจักษ์ต่อท่านนักบุญเปโตร นอลาสโก้ ที่เมืองบาเซโลนา เสปน และให้ท่านตั้ง คณะนักบวช คือคณะไถ่ทาส หรือ Virgin Mary Of Mercy of Redemption of Captives ซึ่งเพื่อ “พลีตนเป็นตัวประกัน” เพื่อไถ่พวกคริสตังค์ จากพวกศาสนาอื่นที่มีสงครามกัน

ส่วนที่จะมาเกี่ยวโยงกันนั้น อาจจะสันนิฐานได้ว่าใกล้เคียงกัน เพราะขณะ นั้นมีการเบียดเบียนคริสตังกันมากในพื้นที่ อาจจะเป็นว่า เมื่อพระแม่อยู่กับคริสตชนกลุ่มนี้ ทำให้เกิดความร่มเย็นตามมา

แต่ถ้าให้เดาว่า “แม่พระขนมจีน”มาจากไหน ก็คงไม่ยาก เพราะมีการเลี้ยงขนมจีนกันในงานทุกครั้ง จึงติดปากเป็นชื่อ “แม่พระขนมจีน”

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

CR. : http://www.catholic.or.th/events/news/news66/66w.html
Arttise
โพสต์: 871
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.พ. 19, 2017 3:45 pm

อาทิตย์ ธ.ค. 10, 2023 12:47 am

+ ความอัศจรรย์ของ แม่พระคอนเซ็ปชัน สามเสน ฉลองวัด 24 กันยายน

วัดคอนเซ็ปชัญมีวัตถุอันล้ำค่าอยู่สิ่งหนึ่ง ที่ชาวบ้านต่างเคารพบูชาและหวงแหนอย่างที่สุด วัตถุนั้นคือ รูปสลักพระรูปพระแม่เจ้าพระนางมหามารีอา พระรูปสลักนี้มีขนาดสูงประมาณ 100 เมตร แกะสลักด้วยฝีมือประณีตบรรจง และลงรักปิดทองสวยงามหาที่ติมิได้

การได้มาซึ่งพระรูปสลักนี้ มีเรื่องปรากฏเป็นหลักฐาน อยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ว่า เมื่อ พ.ศ. 2325 ซึ่งตรงกับ ค.ศ. 1782 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ได้สร้างกรุงเทพมหานคร ได้เกิดการจลาจลขึ้นในเมืองเขมร เวลานั้นพระยายมราช (แบบ) ได้ตั้งตัวเป็นที่ฟ้าทละหะปกครองกัมพูชา ในขณะเดียวกันได้มีขุนนางเขมรบางนายได้คบคิดกับพวกแขกจามเมืองตะโบงคะมุม ยกกองทัพเรือจะไปกำจัดพระยายมราช (แบบ) ท่านเห็นว่าจะต่อต้านไม่ไหว จึงได้เกลี้ยกล่อมพวกเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์ และอัญเชิญนักองเมน นักองอี นักองเภา ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของสมเด็จพระนารายณ์ราชากษัตริย์เขมร และนักองเองราชบุตรของสมเด็จท่าน หลบเข้ามาเมืองไทย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ซึ่งได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ทะนุบำรุงเจ้านายของเขมรไว้เยี่ยงพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ ส่วนชาวเขมรที่เข้ามาด้วย 500 คนนั้น ได้โปรดเกล้าฯให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หมู่บ้านเหนือวัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) คือที่วัดคอนเซ็ปชัญในปัจจุบันนี้ เหตุที่โปรดเกล้าฯให้ชาวเขมร 500 คน มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญ ก็ด้วยทรงเห็นว่าในหมู่บ้านนี้มีชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นคริสตังอาศัยอยู่ก่อนแล้วและชาวเขมรเหล่านั้นก็เป็นคริสตังเช่นเดียวกัน จึงเห็นควรให้อยู่ด้วยกัน เพื่อจะได้ถือปฏิบัติทางศาสนกิจร่วมกันต่อไป

ชาวเขมรที่อพยพมาคราวนั้น ได้อัญเชิญพระรูปสลักพระแม่เจ้าพระนางมหามารีอาดังกล่าวข้างต้นเข้ามาด้วย และได้ประดิษฐานพระรูปนั้นไว้ในวัดคอนเซ็ปชัญ เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของคนในหมู่บ้านนั้น คือชาวโปรตุเกสซึ่งมาอยู่ก่อน และชาวเขมรที่ได้มาอยู่ภายหลังนี้ด้วยทั้งสองพวกต่างอยู่ด้วยกันอย่างสนิทสนมกลมเกลียวด้วยความผาสุขตลอดมา

ต่อมาเหตุการณ์ในเมืองเขมรสงบราบคราบ ได้มีชาวเขมรที่อพยพหนีภัยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบางหมู่เห็นว่าบ้านเมืองของตนสงบเรียบร้อยดีแล้ว จึงใคร่จะกลับไปยังภูมิลำเนาเดิม ณ เมืองเขมร ในที่สุดได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อนุญาตให้ชาวเขมรที่ต้องการกลับคืนสู่มาตุภูมิของตนได้ตามความประสงค์ และในการกลับคืนบ้านเกิดเมืองนอนของชาวเขมรเหล่านั้น ก็ได้อัญเชิญพระรูปสลักพระแม่เจ้าลงเรือเพื่อนำกลับไปเมืองเขมรด้วย

ในตอนนี้ได้มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่าขณะที่อัญเชิญพระรูปสลักพระแม่เจ้าไปนั้นได้เกิดอัศจรรย์ขึ้น คือเรือที่อัญเชิญพระรูปพระแม่เจ้าไปนั้น เมื่อแจวออกไปไม่ไกลนักเรือก็หยุดอยู่นิ่งกับที่คนแจวพยายามแจวเท่าไรเรือก็ไม่ยอมเดินหน้า แม้จะเพิ่มคนแจวเข้าไปอีกเรือก็มิได้แล่นต่อไป เป็นเหตุให้เกิดความพิศวงมาก มีชาวเขมรบางคนสงสัยว่า อาจจะเป็นเพราะอำนาจปาฏิหารย์ของพระรูปพระแม่เจ้าที่มีพระประสงค์จะประทับอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญก็อาจเป็นได้ จึงได้ทดลองแจงเรือกลับไปทางเก่าอีก เรือก็ไม่ยอมขยับเขยื้อน ได้กระทำอยู่เช่นนี้หลายครั้งหลายหน ก็คงเป็นอยู่ในลักษณะเดิม ชาวเขมรที่จะกลับเมืองเขมรก็แน่ใจว่า พระแม่เจ้ามีพระประสงค์จะให้พระรูปสลักนี้ประทับอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญ จึงได้อัญเชิญพระรูปกลับมาประดิษฐานไว้ ณ วัดคอนเซ็ปชัญ แล้วพวกเขาก็เดินทางกลับเมืองเขมรโดยสวัสดิภาพ และพระรูปสลักรูปพระแม่เจ้าพระนางมหามารีอาก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญตราบเท่าทุกวันนี้

พระรูปสลักพระแม่เจ้าองค์นี้ เดิมเข้าใจกันว่าชาวเขมรเป็นผู้แกะสลัก แต่เมื่อประมาณเดือนตุลาคม พ.ศ. 2517 มีนักวิชาการเกี่ยวกับเรื่องไม้ ประจำสำนักงาน เอฟ.เอ.โอ. ที่กรุงเทพฯ ผู้หนึ่งคือ มิสเตอร์โยเซฟ เทอร์แบงก์ (J. Turbang) ได้มาชมพระรูป เมื่อได้ตรวจดูแล้วมิสเตอร์โยเซฟ เทอร์แบงก์ได้บอกว่า พระรูปสลักองค์นี้มาจากประเทศอินโดนีเซีย โดยสันนิฐานจากเนื้อไม้ที่นำมาแกะสลักว่า ไม้ชนิดนี้มีอยู่ในอินโดนีเซียเท่านั้น ประกอบกับฝีมือแกะสลักก็ปรากฏว่าชาวอินโดนีเซียมีฝีมือในการแกะสลักที่ดีเยี่ยมอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ จึงคิดว่ารูปพระแม่เจ้าองค์นี้ไปจากอินโดนีเซีย แต่ทั้งนี้ก็เป็นเพียงการสันนิฐานเท่านั้น

เกี่ยวกับพระรูปพระแม่เจ้านี้ ได้มีเรื่องเล่าต่อๆมาว่า ตั้งแต่ได้มาประดิษฐานอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญนี้แล้ว ความเลื่อมใสศรัทธาในพระรูปนี้แพร่หลายออกไป มีผู้นิยมนับถือมากขึ้น มีอยู่คราวหนึ่งคือเมื่อ ค.ศ. 1849 ได้เกิดอหิวาตกโรคระบาด ทำให้ชาวกรุงเทพฯล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านคอนเซ็ปชัญจึงได้ตกลงประชุมพร้อมกันให้อัญเชิญพระรูปพระแม่เจ้าแห่ไปตามหมู่บ้านจนทั่ว พร้อมทั้งสวดอ้อนวอนขอพระมหากรุณาต่อพระผู้เป็นเจ้าได้โปรดบำบัดโรคร้านี้ ปรากฏว่าหลังจากได้แห่พระรูปพระแม่เจ้าแล้ว รุ่งขึ้นโรคร้ายก็สงบ ผู้ที่กำลังทรมานด้วยโรคก็หายรอดชีวิตได้จำนวนมาก ทั้งนี้เข้าใจกันว่าเนื่องจากพระบารมีของพระแม่เจ้าคุ้มครอง และด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอันแรงกล้าของชาวบ้านนั้นเอง ซึ่งเรื่องนี้ได้อยู่ในความทรงจำของชาววัดคอนเซ็ปชัญและได้เล่าต่อกันมาจนทุกวันนี้

อีกเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นในสมัยที่พระคุณเจ้ายวง ปัลเลอกัว ปกครองวัดคอนเซ็ปชัญอยู่ในครั้งนั้นได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่หมู่บ้านด้านหลังวัดน้อย ไฟได้ลุกโหมและไหม้ลามมาจนถึงกำแพงหลังวัด (ได้รื้อออกหมดแล้ว) ขณะนั้นพระคุณเจ้ายวง ปัลเลอกัว ได้ไปคุกเข่าสวดอยู่ที่สะพานข้ามคลองข้างวัดน้อย ได้มีชาวไทยคนแจวเรือจ้างผู้หนึ่งวิ่งมาดูไฟไหม้ ขณะที่กำลังชุลมุนอยู่นั้น ชายไทยแจวเรือก็ร้องออกมาด้วยความตื่นเต้นว่า

รูปภาพ
พระคุณเจ้ายวง ปัลเลอกัว (Jean-Baptiste Pallegoix)

รูปภาพ

รูปภาพ

CR. : viewtopic.php?t=11670

+ แม่พระประจักษ์ในประเทศไทย 🌹🌹🇹🇭🇹🇭
จากเฟสบุ๊คกลุ่มช่างภาพวัดคอนเซ็ปชัญ

จากคำบอกเล่าต่อๆกันมา ปรากฏว่าแม่พระได้ประจักษ์ที่หมู่บ้านคอนเซ็ปชัญนี้ 4 ครั้ง คือ

🌹 ครั้งที่ 1 ในระยะที่ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านนี้ ได้เกิดโรคระบาดท้องร่วงขึ้นในหมู่บ้าน ได้มีผู้เห็นแม่พระประจักษ์บนหลังคาโบสถ์ ถือคณโฑน้ำและเทน้ำลงมา นับแต่วันนั้นเป็นต้นมาโรคระบาดก็ได้ทุเลาลง โรคนี้คนโบราณเรียกว่า “โรคห่า” ฉะนั้นถ้าใครว่าคำว่า “ห่า” คนถูกว่าจะโกรธมาก

🌹 ครั้งที่ 2 ได้เกิดไฟไหม้ใหญ่ขึ้นที่ประตูผี(บริเวณหลังวัดขณะนี้) ได้มีผู้เห็นแม่พระประจักษ์บนหลังคาโบสถ์ ถือผ้าเช็ดหน้าโบกไปโบกมา ปรากฏว่าไฟได้สงบลงไม่ลุกลามต่อไป

🌹 ครั้งที่ 3 เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพพันธมิตรได้มาทิ้งระเบิดที่โรงไฟฟ้าสามเสน เครื่องบินได้ปลดระเบิดตั้งแต่วัดราชาธิวาส จ่าทหารเรือผู้หนึ่งได้เห็นแม่พระปรากฏบนหอระฆังวัดใช้ผ้าเช็ดหน้าโบกให้ลูกระเบิดเลยไป

🌹 ครั้งที่ 4 เมื่อคราวเกิดไฟไหม้ที่บริเวณ หน้าวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์เมื่อประมาณ 8-9 ปีมานี้ ได้มีผู้เห็นแม่พระปรากฏบนหอระฆังวัด ใช้ผ้าเช็ดหน้าโบกไล่ไฟไม่ให้ลุกลามมาทางหมู่บ้านคอนเซ็ปชัญ ในครั้งนั้นพระคุณเจ้าอาแลง วังกาแวร์ ยังเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ได้นำชาวบ้านไปช่วยดับไฟในเขตสุดของหมู่บ้าน คือบริเวณแนวคลองตาหลำ (ขณะนี้ถมดินเป็นถนนแล้ว) ได้ใช้น้ำในคลองซึ่งมีอยู่เล็กน้อยกับไฟ ปรากฏว่าไฟได้หยุดอยู่ทางฝั่งคลองด้านเหนือ มิได้ลุกลามมาทางหมู่บ้านคอนเซ็ปซัญเลย ทั้งๆ ที่คลองกว้างเมตรเศษๆ เท่านั้นและด้วยเหตุนี้พระคุณเจ้าอาแลง วังกาแวร์ ได้จัดให้มีการแห่พระรูปพระแม่เป็นประจำทุกปีในวันที่ 16 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันที่เกิดไฟไหม้เป็นที่น่าสังเกตว่า การประจักษ์ของแม่พระนั้น ได้ประจักษ์แก่คนที่มิได้เป็นคริสตัง

และจากคำบอกเล่าของผู้ที่เห็นแม่พระบอกว่าแม่พระแต่งพระองค์ด้วยชุดขาวยาวถึงพระบาท คาดสะเอวด้วยผ้าสีฟ้า

ข้อเขียนของผู้เขียนนี้ ได้เขียนขึ้นจากความทรงจำที่ได้รับการบอกเล่าจากบิดาผู้เขียนและคนเฒ่าคนแก่อื่นๆ ที่ได้เล่าให้ลูกหลานฟังต่อๆกันมา ดังนั้นวันเดือนปีของเหตุการณ์จึงไม่มีในข้อเขียนนี้ จุดประสงค์ของผู้เขียนมีเพียงว่าให้ข้อเขียนนี้เป็นค่าเล่าเพื่อให้ลูกหลานได้จดจำและเล่าต่อๆกันไปเท่านั้น

วัดคอนเซ็ปชัญ จากคำบอกเล่าต่อๆกันมา โดย นพศักดิ์ นพประไพ อดีตกงสุลไทยประจำปีนัง

รูปภาพ

+ ✨อัศจรรย์แม่พระ

💒วัดอิมมาคูเลต คอนเซ็ปชัญ

Cr.​ คุณจักรภพ​ กรีกุล

ในระหว่างที่พระสังฆราชยวง บัปติส ปาลเลอกัวซ์ ปกครองวัดคอนเซ็ปชัญนี้อยู่ เกิดอัศจรรย์เกี่ยวกับรูปพระแม่เจ้า 2 ครั้ง คือครั้งหนึ่งเกิดเพลิงไหม้ที่หมู่บ้านหลังวัดน้อยคือโบสถ์เดิม ไฟไหม้ลุกลามแลบมาถึงกำแพงหลังวัด (ซึ่งยังมีรอยไฟแลบอยู่จนบัดนี้) ขณะนั้นพระสังฆราชยวงได้ไปคุกเข่าอยู่บนสะพานข้างวัดน้อย มีชายแจวเรือจ้างผู้หนึ่งเป็นไทย วิ่งมาดูไฟไหม้มองเห็นหญิงสาวสวยคนหนึ่งยืนโบกผ้าเช็ดหน้าอยู่บนหลังคาโบสถ์ ทันใดนั้นไฟก็สงบลงไม่ลุกลามเข้ามาในเขตวัด คนแจวเรือจ้างเมื่อเห็นอัศจรรย์ก็อุทานด้วยความตกใจว่า "แหม ผู้หญิงยืนบนหลังคาโบสถ์เอาผ้าเช็ดหน้าโบกไล่ไฟไม่ให้ไหม้วัดเก่งจริงๆ" พระสังฆราชและผู้อื่นที่ได้ฟังก็ประหลาดใจ ทุกคนแลขึ้นไปดูไม่เห็นมีใครยืนบนหลังคาโบสถ์ แต่ก็เฉลียวคิดถึงรูปพระแม่เจ้า จึงเข้าไปดูในโบสถ์เห็นพระบาทรูปพระแม่เจ้าเปื้อนเขม่าไฟ ทำให้เกิดอัศจรรย์ใจมาก เมื่อคนแจวเรือจ้างได้เห็นประจักษ์ในปาฎิหาริย์เช่นนั้น ก็เป็นเหตุให้เขาเกิดศรัทธา และมาถือศาสนาโรมันคาทอลิก

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นภายหลัง แต่ระยะเวลาไม่ห่างกันนัก คือมีจีนแจวเรือขายผ้ามาใกล้สะพานวัด ขณะนั้นมีหญิงสาวสวยคนหนึ่งเดินไปที่สะพานเรียกให้จีนขายผ้าแวะเรือเข้าเทียบปลายสะพาน แล้วหญิงนั้นก็เลือกซื้อผ้า 2 พับ 3พับ เป็นผ้าเนื้อดี พื้นขาวหม่นดอกแดง ครั้นตกลงราคากันแล้วหญิงนั้นก็บอกว่าประเดี๋ยวจะนำเงินมาให้ จึงถือผ้าเดินเข้าไปในวัด ฝ่ายจีนขายผ้ารออยู่นานผิดสังเกตุจึงตามไปในวัดและมองเห็นผ้าของตนกองอยู่บนแท่นบูชา ริมรูปพระแม่เจ้าซึ่งประทับยืนโดยอาการสงบ จีนขายผ้าสำคัญว่าเป็นคนจริงๆ จึงร้องทวงค่าผ้า เสียงดังได้ยินไปถึงพระสังฆราชยวง
ท่านจึงรีบลงมาสอบถาม ก็เห็นผ้าใหม่กองอยู่ริมพระบาทรูปพระแม่เจ้า เป็นการน่าอัศจรรย์มาก ท่านจึงจัดการชำระเงินให้ไปตามราคา แล้วเอาผ้านั้นเย็บเป็นม่านใหญ่ กางไว้หน้าพระแท่น

ประวัติสังเขป วัดคอนเซ็ปชัญ

รวบรวมโดย :สายพิน

ภาพโดย : คุณตาสังวาลย์ ยอดจรัส

Cr.​คุณจักรภพ​ กรีกุล

รูปภาพ
ตอบกลับโพส