คำนำ ทำไมต้องรวมสายตาสู่พระวรสารทั้งสี่

รวม ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระคัมภีร์ไบเบิ้ล
เข้าใจ พระคัมภีร์ ชีวิต และคำสั่งสอนของพระเยซูคริสต์ ตามลำดับ อย่างง่ายๆ
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
Zion
~@
โพสต์: 3777
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 8:37 pm
ติดต่อ:

พฤหัสฯ. มิ.ย. 10, 2010 12:18 pm

คริสตชนทุกท่านคงทราบดีว่า พระวรสารมีทั้งหมดสี่เล่ม เล่าพระชีวประวัติของพระเยซูคริสตเจ้า
รูปภาพ
พระวรสารสามฉบับแรกนิพนธ์โดยนักบุญมัทธิว มาระโก และลูกา
พระวรสารของท่านทั้งสามมีความคล้ายคลึงกัน จนเรียกรวมกันว่า "กลุ่มพระวรสารสหทรรศน์"
อย่างไรก็ตาม ท่านทั้งสามก็ต่างก็ใช้วิถีของตนเล่าแตกต่างกันไป
ตรงกันข้าม ผู้ที่ตัดสินใจอ่านพระวรสาร
ล้วนปรารถนาที่จะเดินตามรอยพระบาทของพระเยซูพระองค์เดียวอย่างใกล้ชิด
อยากจะเดินตามพระองค์ปีต่อปี เดือนต่อเดือน
หรืออาจะกล่าวได้ว่าวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมงเลยทีเดียว
รูปภาพ

พระวรสารทุกฉบับล้วนได้รับการดลใจจากพระจิตเจ้าองค์เดียวกัน
แต่ในหลายครั้งคริสตชนก็เกิดความสับสนในเหตุการณ์ที่อาจมี"ความน่าจะเป็นอื่นๆ"
การเทียบพระวรสารจึงเกิดขึ้น
คุณพ่อลากรังซ์ได้เลือกนำพระวรสารของนักบุญลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสารตามลำดับประวัติศาสตร์
เป็นบรรทัดฐานของพระวรสารสหทรรศน์
และเมื่อนำพระวรสารสหทรรศน์มาเทียบกับพระวรสารฉบับที่4
เราย่อมทราบดีว่ายอห์น ผู้เป็นศิษยคู่แรก ศิษย์ที่พระองค์ทรงรัก
ท่านย่อมเอาใจใส่ยิ่งกว่านักบุญลูกาอย่างแน่นอน

ตามสังคายนาเมืองเตรนต์ การแปลพระคัมภีร์จำเป็นต้องมีอรรถธิบาย
ข้าพเจ้าจึงนำคำอธิบายของคุณพ่อลากรังซ์ อีกทั้งของนักบุญยอห์นคริสโซโตม มาเสริมด้วย

ที่สุด คุณพ่อลากรังช์ของข้าพเจ้ายังแนะนำให้ นำเรื่องราวเสริมศรัทธาต่อไปนี้มาเสริมอีกด้วย
รูปภาพ
นักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู
ท่านเป็นผู้พยายามอ่านและรำพึงพระวรสาร ในสมัยที่ผู้คนไม่นิยมอ่านพระวรสารเท่าใดนัก
ท่านได้กล่าวไว้ว่า
"พระเยซูเจ้าได้เสด็จสู่สวรรค์ไปแล้ว ดิฉันทำได้เพียงติดตามรอยพระบาทที่พระองค์ทรงทิ้งไว้
โอ รอยพระบาทที่สว่างสุกใส เพียงสอดส่องสายตาบนพระวรสาร
ดิฉันก็ได้กลิ่นวิเศษของพระชนม์ชีพในทันที ซึ่งนำทางดิฉันว่าต้องวิ่งไปทางไหน"
(ประวัติวิญญาณดวงหนึ่งซึ่งเขียนโดยวิญญาณดวงนั้น บทที่11)
รูปภาพ

"เหนืออื่นใด พระวรสารนี่แหละที่บำรุงการสวดภาวนาของฉัน
พระวรสารนี่แหละที่ดิฉันสามารถตักตวงผลประโยชน์ สิ่งจำเป็นต่างๆ
สำหรับวิญญาณดวงน้อยอย่างดิฉัน
ฉันพบความสว่างอันสดใหม่อยูเสมอ พร้อมข้อความธรรมล้ำลึกอีกด้วย"(บทที่8)
ซึ่งเรายังได้ยินเธอพูดถึงพระวรสารแม้ในวันสุดท้ายของท่านบนโลกใบนี้
"ดิฉันไม่ต้องการหนังสืออื่นใด นอกจากพระวรสาร เพียงสิ่งนี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับดิฉัน"
(15 พฤษภาคม 1897)

ข้าพเจ้าขอมอบหนังสือฉบับนี้ไว้ในการอุปถัมภ์ของท่านนักบุญเทเรซา
โปรดประทานกำลังใจแก่ผู้ที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้
ขอท่านปัดเป่าสิ่งชั่วร้านในหนังสือเล่มนี้ให้อันตรธานสิ้นไป
Fr. Ceslas Lavergne O.P.
ณ กรุงเยรูซาเล็ม 29 มิถุนายน 1927
ตอบกลับโพส