++ พระคัมภีร์ : พันธสัญญาเดิม++

รวม ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระคัมภีร์ไบเบิ้ล
เข้าใจ พระคัมภีร์ ชีวิต และคำสั่งสอนของพระเยซูคริสต์ ตามลำดับ อย่างง่ายๆ
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 10:48 am

พระคัมภีร์คืออะไร?

- คำว่า “ bible “ มาจากภาษากรีก “ biblia “ หมายถึงหนังสือ
- คือกลุ่มหนังสือโบราณเกี่ยวกับพระเจ้า ( พระยาห์เวห์ )
- พระคัมภีร์ของคริสเตียนมี 66 ฉบับ ตามสารบบปาเลสไตน์
- คาทอลิกมี 73 ฉบับ ตามสารบบอเล็กซานเดรีย

พระคัมภีร์

“ พันธสัญญา “ หมายถึง “ ข้อตกลง “

“พระคัมภีร์“ หมายถึง “ หนังสือศักดิ์สิทธิ์ “

พันธสัญญาเดิม 39 ฉบับ เขียนด้วย ภาษาฮีบรู
พันธสัญญาใหม่ 27 ฉบับ เขียนด้วย ภาษากรีก

พันธสัญญาเดิม 7 ฉบับ เขียนด้วย ภาษากรีกและภาษาอาราเมอิค

..พันธสัญญาเดิม บอกเล่าประวัติศาสตร์ที่พระเจ้าเข้ามามีส่วนในชีวิตของชาวอิสราเอล “ ประชากรเลือกสรร “

..พันธสัญญาใหม่ กล่าวถึงการบังเกิดชีวิต คำสอน พระทรมาน ความตาย และการกลับคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์พระบุตรของพระเจ้า และกล่าวถึงการเจริญเติบโตของพระศาสนจักร หรือคริสตจักรที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นในยุคแรก ๆ

>>:คริสตชนทุกยุคทุกสมัยยอมรับว่าพระคัมภีร์เป็นสิทธิ์อำนาจสูงสุด คริสตชนเชื่อว่าพระคัมภีร์เป็นบันทึกประมวลการทรงสำแดงของพระเจ้า มีความแท้จริง น่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน และได้รับการทรงดลใจจากพระเจ้า โดยวิธีเหนือธรรมชาติ

>>:คริสตจักรโปรเตสแตนต์ มีความเชื่อว่าพระคัมภีร์ ทั้ง 66 เล่ม เป็นบันทึกการทรงสำแดงของพระเจ้า เราเชื่อว่าทุกเรื่องเป็นเรื่องจริง น่าเชื่อถือ เป็นมาตรฐาน และได้รับการทรงดลใจจากพระเจ้าโดยวิธีเหนือธรรมชาติ เนื้อหาของพระคัมภีร์ ตั้งมาตรฐานทางจริยธรรมที่สูงส่งที่สุด เรียกร้องการเชื่อฟัง ประณามความบาปทุกรูปแบบ แต่ก็บอกให้คนบาปคืนดีกับพระเจ้าอย่างไร

>>:ระยะเวลาการเขียนหนังสือเล่มนี้ 1600 ปี ใช้นักเขียนกว่า 40 คน ในช่วงสมัยที่ต่างกัน บุคคลที่เขียนมีอาชีพที่ต่างกัน แต่พระคัมภีร์ทั้งเล่มยังมีเอกภาพ มีหลักคำสอนเดียว มาตรฐานทางจริยธรรมเดียว มีแผนงานความรอดแผนเดียว เหตุที่เป็นไปได้เช่นนี้ เพราะพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นผู้ทรงควบคุมการเขียน ที่เรียกว่าการทรงดลใจ....คริสตชนเชื่อว่าพระคัมภีร์ คือ พระคำที่ยังมีชีวิต ( The Living Word ) บรรจุถ้อยคำที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือเป็นหนังสือที่สักดิ์สิทธิ์ ( The Holy Bible )....

จึงเรียนเชิญคริสตชนและผู้อ่าน ศึกษา พระคัมภีร์อย่างสรุปสั้นๆแต่ละเล่ม ที่คริสตจักรโปรเตสแตนต์ใช้กันอยู่


พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม ( The Old Testament )

พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม ที่คริสตจักรโปรเตสแตนต์ใช้ มี 39 เล่ม ( คาทอลิก เพิ่ม อีก 7 เล่ม ) ซึ่งแบ่งออก เป็นหมวดๆ ได้ 4 หมวด ดังนี้

1.หมวดธรรมบัญญัติ ( The Law )
2. หมวดประวัติศาสตร์ ( The History )
3.ห มวดวรรณกรรมภูมิปัญญา ( The Wisdom )
4. หมวดผู้พยากรณ์/ ผู้เผยพระวจนะ / ประกาศก( The Prophet )
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 10:52 am

( ตอนที่ ๒ )

พันธสัญญาเดิม ( Old Testament )

มีทั้งหมด 39 เล่ม ดังนี้

1. ปฐมกาล ( Genesis )

ชื่อหนังสือเล่มแรกของพระคัมภีร์มีความหมายว่า “จุดกำเนิด” เพราะกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของหลายๆ อย่างเช่น จุดเริ่มต้นของโลกมนุษย์ ยุคใหม่หลังน้ำท่วม และกำเนิดของชนชาติอิสราเอล

บุคคลสำคัญ

อาดัม เอวา คาอิน อาแบล โนอาห์ อับราอัม ซาราห์ โลท อิสอัค เรเบคาห์ ยาโคบ
เอซาว ราเชล เลอาห์ โยเซฟกับพี่น้อง (บุตร 12 คนของยาโคบ/อิสราเอล ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอิสราเอล 12 เผ่า)

เหตุการณ์สำคัญ

การสร้างโลกและตกในบาป 1-3 ครอบครัวโนอาห์รอดพ้นจากน้ำท่วม 6-10 พระเจ้าเลือกอับราฮัมและให้พระสัญญา 12 เรื่องอับราฮัม (12-25) อิสอัค (21-28,35) ยาโคบ (25-30) โยเซฟ (30,37-50)

สถานที่

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแถบตะวันออกกลางและเมโสโปเตเมีย(อิหร่าน/อิรัก) ซึ่งปัจจุบันคืออิสราเอล จอร์แดน เลบานอน และอียิปต์


2. อพยพ ( Exodus )

ชื่อนี้มีความหมายว่า ออกไป หรือ จากไป ในเล่มนี้พระเจ้าช่วยอิสเอลให้พ้นจากการเป็นทาสในอียีปต์โดยตั้งโมเสสเป็นผู้นำ

บุคคลสำคัญ

โมเสส อาโรน มิเรียม ฟาโรห์ในอียิปต์
เหตุการณ์สำคัญ

ทารกโมเสสรอดตาย 2 พระเจ้าเรียกโมเสสเป็นผู้นำอิสราเอล 3 ภัยพิบัติสิบประการ 7-12 ปัสกาครั้งแรก 12 ข้ามทะเลแดง 14 พระเจ้าประทานบัญญัติสิบประการ 20 พระเจ้าทำพันธสัญญากับอิสราเอล 23- 24 สร้างวัวทองคำ 32 สร้างพลับพลา 36

สถานที่

เหตุการณ์ในอพยพเกิดขึ้นที่ประเทศอียิปต์ (สามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์ )และคาบสมุทรซีนาย


3. เลวีนิติ ( Leviticus )

หนังสือที่เต็มไปด้วยกฎเกณฑ์นี้พระเจ้าให้อิสราเอลผ่านทางโมเสส ชื่อนี้ได้จากชื่อเผ่าเลวี ผู้นำนมัสการร่วมกับปุโรหิต

เนื้อเรื่อง

กฎเกี่ยวกับเครื่องบูชา 1-7 อาโรนเป็นมหาปุโรหิต กฎปุโรหิต 8-10 กฎอาหาร โรคสะอาดและไม่สะอาด 11-15 วันลบล้างบาป 16 กฎเกณฑ์ นมัสการ และเทศกาล 17-27

บุคคลสำคัญ

อาโรน-ปุโรหิตและคนเลวี

เหตุการณ์สำคัญ

การตั้งอาโรนเป็นมหาปุโรหิตคนแรก 8 วันลบบาป ปัสกา ผลแรก อยู่เพิง 23

สถานที่

อิสราเอลรอนแรมในคาบสมุทรซีนาย

4. กันดารวิถี ( Numbers )

อิสราเอลวนเวียนในคาบสมุทรซีนาย 40 ปี หลังจากหนีจากอียิปต์ ชื่อนี้ในภาษาฮีบรู หมายถึง ‘ตัวเลข’ ซึ่งได้มาจากการสำรวจสำมะโนประชากรสองครั้งที่บันทึกในเล่มนี้

สถานที่

ภูเขาซีนายและคาบสมุทรซีนาย

บุคคลสำคัญ

โมเสส อาโรน คาเลบ โยชูวา บาลาอัม และบาลาค

5. เฉลยธรรมบัญญัติ ( Deuteronomy )

บันทึกคำกล่าวของโมเสสหลังจากวนเวียนอยู่หลายสิบปีและก่อนเข้าสู่แผ่นดินพระสัญญา ชื่อหนังสือหมายถึง ‘บัญญัติครั้งที่ 2’ เล่มนี้ช่วยอิสราเอลให้คิดไตร่ตรองว่าจะประยุกต์พระบัญญัติมาใช้ในชีวิตได้อย่างไร

เนื้อเรื่อง

โมเสสรำลึกถึงอดีต 1-4 โมเสสเรียกร้องให้ทำตามพระบัญญัติ 5-26 การปฏิบัติตัวในแผ่นดินใหม่ 27-28 รื้อฟื้นพันธสัญญา 29-30 โมเสสมอบตำแหน่งผู้นำให้โยชูวา 31-33 มรณกรรมของโมเสส 34

สถานที่

ที่ราบฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน

เหตุการณ์สำคัญ

เรื่องของผู้สอดแนมสิบสองคน 1 พระเจ้าลงโทษ: สี่สิบปีในถิ่นทุรกันดาร 2 บัญญัติสิบประการ 5 แต่งตั้งโยชูวา 31 มรณกรรมของโมเสส 34
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 10:55 am

( ตอนที่ ๓ )

6. โยชูวา ( Joshua )
กล่าวถึงการยึดคานาอัน ดินแดนที่พระเจ้าสัญญาให้พวกเขา โดยมีโยชูวาเป็นผู้นำ

สถานที่
ที่ราบฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดนและคานาอัน

บุคคลสำคัญ
โยชูวา ราหับ และคาเลบ

เหตุการณ์สำคัญ
ผู้สอดแนมสองคน 2 ข้ามแม่น้ำจอร์แดน 3 เยรีโคล่ม 6
ใจความสำคัญ
แม่ทัพโยชูวายึดคานาอันภายใต้การนำของพระเจ้าผู้รักษาพระสัญญา และโยชูวานำประชากรปฏิญาณต่อพระองค์อีกครั้งหนึ่ง

7 ผู้วินิจฉัย ( Judges )

กล่าวถึงวีรบุรุษในยุคที่ไม่ใส่ใจในกฎบัญญัติหลังยึดคานาอันและก่อนมีกษัตริย์องค์แรก

เนื้อเรื่อง
วาระสุดท้ายของโยชูวา 1-2 เรื่องของผู้วินิจฉัย 2-16 สมัยที่ยังไม่มีกษัตริย์ 17-21
วีรกรรมของบุคคลสำคัญ
เดโบราห์กับบาราค 4-5 กิเดโอนกับชาวมีเดียน 6-8 เยฟธาห์กับลูกสาว 10-12 แซมสันกับเดลิลาห์ 13-16
สถานที่
แผ่นดินอิสราเอล/คานาอัน

8. นางรูธ ( Ruth )

เนื้อเรื่อง
การกันดารอาหารส่งผลให้ครอบครัวนาโอมีอพยพไปโมอับ แต่สามีกับลูกเสียชีวิตที่นั่น เมื่อนาโอมีกลับเบธเลเฮม รูธถึงกับยอมทิ้งบ้านเมืองมาเป็นเพื่อนแม่สามี แถมยังเก็บเศษข้าวในนายังชีพ และพบโบอาสญาติในตระกูลสามี โบอาสซึ่งใจในความกตัญญูของรูธ จึงขจัดปัดเป่าอุปสรรคต่างๆจนได้แต่งงานกับเธอ รูธหญิงต่างชาติได้เลือกพระเจ้าของนาโอมีมาเป็นของตน และในที่สุดนางกลายเป็นย่าทวดของกษัตริย์ดาวิด
สถานการณ์
เกิดขึ้นที่โมอับและเบธเลเฮม ในสมัยผู้วินิจฉัยที่สังคมเต็มไปด้วยความรุนแรง
ใจความสำคัญ
คือความรักและความภักดี พระเจ้าจะเลี้ยงดูทุกคนที่มาหาพระองค์ไม่ว่าเชื้อชาติไหน

9-10. 1, 2 ซามูเอล ( 1,2 Samuel )

เป็นประวัติศาสตร์อิสราเอลตั้งแต่ผู้วินิจฉัยคนสุดท้ายจนถึงปีสุดท้ายของกษัตริย์ดาวิด

เนื้อเรื่อง

พระเจ้าเลือกซามูเอลเป็นผู้นำอิสราเอล 1-7 ซาอูลกษัตริย์องค์แรกของอิสราเอล 8-10 ซาอูล: การไม่เชื่อฟังและถูกปลด 11-15 พระเจ้าเลือกสรรดาวิด 16 ดาวิดสู้กับโกลิอัท 17 ซาอูลอิจฉา: ดาวิดหลบหนี 18-30 ซาอูลกับโยนาธานเสียชีวิต 31; 2 ซมอ.1 ดาวิดขึ้นครองยูดาห์ 2-4 ดาวิดครองอิสราเอล และพระสัญญา 5-7 สงครามสมัยดาวิด 8-10 ดาวิดกับบัทเชบา: พระเจ้าลงโทษ 11-12 ปัญหาในราชวงศ์: อับซาโลมกบฏ 13-20 ปลายรัชสมัยดาวิด 21-24

สถานการณ์
กษัตริย์ดาวิดสู้รบตลอดชีวิตเพื่อขยายอาณาเขตและนำสันติภาพมา
หลังจากอิสราเอลแบ่งเป็นสองอาณาจักรโดยอาจใช้ข้อมูลของซามูเอลและผู้พยากรณ์คนถัดมา และยังอ้างอิงจากสดุดีบางบท

บุคคลและเหตุการณ์สำคัญ
ฮันนาห์-ซามูเอลเกิด 1 ซมอ.1 เอลี-พระดำรัสที่มาถึงซามูเอล 3 หีบพันธสัญญาถูกศัตรูยึดไปและส่งคืน 4-6 ซามูเอลเจิมดาวิดเป็นกษัตริย์ 16 ดาวิดกับโกลิอัท 17 ดาวิดกับโยนาธาน 18-20 ให้ราชวงศ์ดาวิดดำรงเป็นนิตย์ 2 ซมอ. 7 ดาวิดกับบัทเชบา 11
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 10:57 am

( ตอนที่ ๔ )

11-12. 1, 2 พงศ์กษัตริย์ ( 1,2 Kings )

บันทึกประวัติศาสตร์อิสราเอลตั้งแต่ดาวิดสิ้นพระชนม์ การแบ่งแยกอาณาจักร จนถึงบาบิโลนเผาผลาญเยรูซาเล็มและพระวิหาร

สถานการณ์และช่วงเวลา

รัชสมัยซาโลมอน (ราว 970-930 กคศ.) เป็นยุคทองแห่งอิสราเอล เหตุการณ์ในอาณาจักรอิสราเอลและยูดาห์ต่อจากนั้นเกิดขึ้นขณะอัสซีเรียเรืองอำนาจ ตามด้วยบาบิโลน กินเวลาประมาณ 400 ปี ราว 975-586 กคศ. สะมาเรียแตกใน 722 ส่วนเยรูซาเล็มใน 586 กคศ.
พงศวดารบันทึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับพงศ์กษัตริย์ ทั้งอาโมส โฮเชยา อิสยาห์ มีคาห์ นาฮูม ฮาบากุก เศฟันยาห์และเยเรมีย์ล้วนอยู่ในช่วงเวลานี้

บุคคลและเหตุการณ์สำคัญ

การวินิจฉัยของซาโลมอน 1 พกษ. 3 สร้างพระวิหาร 6 ซาโลมอนกับราชินีเชบา 10 เอลียาห์กับแม่หม้ายแห่งศาเรฟัท 17 เอลียาห์กับผู้พยากรณ์ของบาอัล 18 เอลียาห์กับพระสุรเสียงแผ่วเบา 19 สวนองุ่นของนาโบท 21 เอลียาห์กับรถม้าเพลิง 2 พกษ. 2 เอลีชากับหญิงชาวชูเนม 4 นาอามานหายโรค 5 สะมาเรียถูกล้อม 6 ราชินีเยเซเบลพินาศ 9 ราชินีอาธาลิยาห์ฆ่าล้างราชวงศ์ 11 สะมาเรียแตก 17 อัสซีเรียล้อมกรุงเยรูซาเล็ม 18 โยสิยาห์ทรงพบพระบัญญัติ 22 เยรูซาเล็มแตก พระวิหารถูกทำลาย 25

13-14 . 1, 2 พงศาวดาร ( 1,2 Chronicles )

กล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกับใน 2 ซามูเอลและพงศ์กษัตริย์ แต่เนื่องจากสองเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อให้เชลยยิวที่กลับจากบาบิโลนอ่าน จึงมุ่งเน้นที่ยูดาห์อาณาจักรได้

ช่วงเวลา

บันทึกประวัติศาสตร์อิสราเอลตั้งแต่ซาอูลสิ้นพระชนม์ถึงเชลยยิวกลับจากบาบิโลนสู่ถิ่นฐานเดิมราว 1000 กคศ. จนกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ตีเยรูซาเล็มแตกใน 587/6
เหตุการณ์สำคัญ

นำหีบพันธสัญญากลับ 1 พศด. 15-16 ซาโลมอนถวายพระวิหาร 2 พศด. 5-7 เฮเซคียาห์ถวายพระวิหารอีกครั้ง 29

15.เอสรา ( Ezra )

กล่าวถึงเชลยยิวสองกลุ่มหวนคืนถิ่นเดิมจากบาบิโลน บูรณะพระวิหาร และเริ่มรักษาพระบัญญัติภายใต้การนำของเอสรา

ช่วงเวลาและสถานการณ์
การคืนถิ่นของเชลยยิวมิได้เกิดขึ้นแค่ครั้งเดียว แต่มากันหลายระลอกในระยะกว่าร้อยปี ในรัชสมัยพระราชาเปอร์เซียหลายพระองค์ตั้งแต่ราว 538 ถึง 428 กคศ. แต่เมื่อถึงถิ่นเดิมพบว่าชาวยิวในเยรูซาเล็มที่ไม่ได้ถูกจับไปบาบิโลนได้ผสมปนเปกับต่างชาติแถมยังต่อต้านพวกเขา เยรูซาเล็มและพระวิหารอยู่ในสภาพปรักหักพัง และชนชาติยิวไม่มีการพัฒนาใดๆเลย
บุคคลสำคัญ

เอสรา ผู้เป็นปุโรหิตจากเชื้อสายอาโรนเชี่ยวชาญในพระบัญญัติ เศรุบบาเบลผู้นำเชลยกลุ่มแรกที่กลับคืนถิ่นเป็นหลานของกษัตริย์เยโฮยาคีนผู้ถูกจับไปเป็นเชลยที่บาบิโลน
พระราชาไซรัสแห่งเปอร์เซียผู้โค่นล้มบาบิโลนออกกฤษฎีกาให้เชลยทั้งหมดรวมทั้งยิวกลับถิ่นฐานเดิม อิสยาห์พยากรณ์ไว้แล้วว่าการกระทำของพระราชาที่ไม่เชื่อในพระเจ้าผู้นี้ เป็นพระราชกิจของพระเจ้า

เหตุการณ์สำคัญ

ไซรัสให้เชลยกลับคืนถิ่นฐานเดิม 1 ฉลองปัสกาครั้งแรกที่พระวิหารหลังใหม่ 6 เอสรากลับเยรูซาเล็มพร้อมกับลูกหลานของเจ้าหน้าที่พระวิหาร 7-8

16.เนหะมีย์ (Nehemiah )

เรื่องของเนหะมีย์เชลยยิวผู้นำเชลยกลุ่มที่สามกลับเยรูซาเล็ม เขาได้เป็นผู้ว่าราชการยูดาห์และเร่งเร้าให้ชาวยิวบูรณะกำแพงเมือง การปฏิรูปทางศาสนาของเขาคาบเกี่ยวกับงานของเอสรา

ช่วงเวลาและสถานการณ์
เนหะมีย์กลับเยรูซาเล็มในปี 445 กคศ. และเป็นผู้ว่า 12 ปีจนถึง 433 กคศ. เขาผละจากตำแหน่งในพระราชวังเปอร์เซียที่รุ่งเรืองและแสนสบายเพื่อไปยังเมืองที่เริ่มบูรณะแต่ยังอยู่ในสภาพย่ำแย่ ผู้พยากรณ์มาลาคีอาจทำงานในช่วงนี้

เหตุการณ์สำคัญ
เนหะมียกลับเยรูซาเล็ม 2 กำแพงบูรณะเสร็จ 6
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 11:00 am

( ตอนที่ ๕ )

17. เอสเธอร์ ( Esther )
สาวยิวผู้เลอโฉมขึ้นเป็นราชินีของพระราชาอาหสุเอรัสแห่งเปอร์เซีย เธอใช้ไหวพริบคว่ำอุบายที่จะกวาดล้างยิวในอาณาจักรเปอร์เซียได้สำเร็จด้วยความช่วยเหลือของโมรเดคัย ในที่สุดฮามานคนต้นคิดอุบายนั้นถูกประหารชีวิต และโมรเดคัยได้เลื่อนยศ

สถานที่

เกิดขึ้นที่สุสาเมืองหลวงฤดูหนาวแห่งอาณาจักรเปอร์เซีย ในสมัยที่เชลยยิวส่วนใหญ่กลับไปเยรูซาเล็มแล้ว แต่บางคนยังอยู่ที่เปอร์เซียซึ่งเป็นอาณาจักรที่โค่นล้มบาบิโลน

ใจความสำคัญ
เล่มนี้ไม่ได้เอ่ยถึงพระเจ้าและไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาเท่าไร แต่เป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นว่าชาวยิวรอดพ้นจากมหันตภัยมาได้อย่างไร ปัจจุบันชาวยิวยังอ่านเล่มนี้ในเทศกาลปูริม

18. โยบ ( Job )

บทกวีเชิงละครอันยอดเยี่ยมนี้ กล่าวถึงปัญหาความทุกข์ทรมานที่คนทุกสมัยฉงนสนเท่ห์ โดยเล่าถึงคนดีชื่อโยบผู้สูญเสียทุกสิ่งอย่าง แต่ยังเชื่อมั่นในพระเจ้า

ข้อความที่มีชื่อเสียง
บทเพลงที่ยกย่องสติปัญญา 28 ‘ข้าทราบว่าพระผู้ไถ่ของข้าทรางพระชนม์อยู่...’ 19:25

บทเรียนสอนใจ
เรื่องราวของโยบกล่าวถึงปัญหาที่ตอบยากถ้าพระเจ้าเป็นผู้ยุติธรรม แล้วไฉนคนดีถึงต้องทนทุกข์ทรมาน โยบแน่ใจว่าเขาไม่ได้ทุกข์เพราะบาป แต่ขณะโต้เถียงกับคู่กรณีเขาไม่สามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าได้ ต่อมาพระองค์ปรากฏต่อโยบ โยบก็พอใจ-มิใช่ชนะการโต้เถียง แต่ได้พบพระพักตร์พระองค์ผู้ทรงฤทธิ์และเปี่ยมด้วยพระสติปัญญา

19. สดุดี ( Psalms )

ประกอบด้วยบทเพลง คำอธิษฐาน บทกวี 150 บทที่แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกทุกรูปแบบ สิ่งที่เชื่อมโยงแต่ละบทเข้าด้วยกันคือ ความเชื่อและความรักอันลึกซึ้งต่อพระเจ้า หลังสมัยเชลยสดุดีกลายเป็นหนังสือเพลงและบทอธิษฐานของชาวอิสราเอล และคริสเตียนปัจจุบันก็ยังทำเช่นเดียวกัน

เนื้อเรื่อง
สดุดีแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ทุกกลุ่มจบด้วยคำสรรเสริญ(ดูข้อสุดท้ายของบทที่ 41 72 89 106 และ 150 ทั้งบท) แต่ถ้าแบ่งตามหัวข้อใหญ่ๆ อาจมีประโยชน์มากขึ้น เช่น เพลงสรรเสริญพระเจ้า เพลงคร่ำครวญของหมู่ชน สดุดีพระราชา(เขียนขึ้นเพื่อวโรกาสพิเศษในรัชสมัยต่างๆ) การโมทนาและคร่ำครวญส่วนตัว

ช่วงเวลา
กระบวนการรวบรวมสดุดีเหล่านี้อาจเริ่มในสมัยดาวิดหรือก่อนหน้านั้น และได้ทำกันเรื่อยมาตลอดประวัติศาสตร์อิสราเอล แต่บางคนคิดว่าได้รวบรวมมากที่สุดในช่วงที่เชลยยิวกลับจากบาบิโลนสู่ถิ่นฐานเดิมและบูรณะพระวิหาร

สถานการณ์
สดุดีหลายบทใช้นมัสการในพระวิหาร และบางบทเป็นผลงานจากสมัยที่ตกเป็นเชลย บางบทแสดงความเชื่อของชนชาติอิสราเอล แต่หลายบทแสดงถึงความเป็นส่วนตัวกับพระเจ้าอย่างสุดซึ้ง
หลักใหญ่ใจความคือ พระเจ้าสถิตอยู่ในชีวิตทุกด้านของเรา กวีได้เชื่อมโยงประสบการณ์อันลึกซึ้งกับความเชื่ออันมั่นคงในความรักของพระเจ้าเข้าด้วยกัน ผู้อ่านเกือบทุกคนจะพบอารมณ์ความรู้สึกของตัวเขาเองได้ในบทสดุดีเหล่านั้น

20.สุภาษิต ( Proverbs )

เป็นการรวบรวมคำสุภาษิตต่าง ๆ จากคณาจารย์ผู้ชาญฉลาดแห่งอิสราเอล สิ่งสำคัญในชีวิตคืนควรแสวงหาสติปัญญาที่มีพระเจ้า(ไม่ใช่มนุษย์) เป็นศูนย์กลางและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ช่วงเวลา
ชาวยิวเล่าต่อกันมาว่า กษัตริย์สององค์ในพันธสัญญาเดิมมีส่วนเกี่ยวข้องกับสุภาษิตคือซาโลมอนผู้เป็นคนแรกที่ได้ส่งเสริมบทสุภาษิตให้เป็นที่นิยมและเฮเซคียาร์ผู้สั่งให้รวบรวมคำภาษิตเป็นเล่ม กระบวนการรวบรวมสุภาษิตนี้อาจดำเนินต่อมาอีกนานหลังสมัยเฮเซคียาห์ สุภาษิตจึงปูทางให้เราเข้าถึงคำสอนอันหลักแหลมในสมัยพันธสัญญาเดิม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนค้นพบว่า ‘สุภาษิต 30 ข้อ’ นั้นคล้ายคลึงกับเอกสารฉบับหนึ่งของปราชญ์ชาวอียิปต์

ข้อความที่มีชื่อเสียง
ความยำเกรงพระเจ้าเป็นแหล่งความรู้ 1:7 จงวางใจพระเจ้าด้วยสุดใจของเจ้า 3:5-6

ใจความสำคัญ
ตรงข้ามกับความทุกข์ทรมานของโยบและการมองโลกในแง่ร้ายของปัญญาจารย์ สุภาษิตมองโลกในแง่ดี และสอดคล้องกับคำสอนของเฉลยธรรมบัญญัติในแง่ที่ว่าการทำตามวิถีทางของพระเจ้าจะนำไปสู่พระพร

สุภาษิตกล่าวถึงสถานการณ์ภายในบ้าน มิตรภาพ การงาน ธุรกิจและการวางตัวต่อพระพักตร์กษัตริย์
มีหัวข้อดังนี้: สติปัญญาและความโง่คนชอบธรรมและคนชั่ว คำพูดและลิ้น
นักปราชญ์ชาวยิวมีภาษิตว่า’ความยำเกรงพระเจ้าเป็นบ่อเกิดของความรู้’
ความมั่นคงและความยากจน ความหวังและความกลัว ความชื่นบานและความโศกเศร้า ความโกรธ ความขยันและเกียจคร้าน รากฐานของสติปัญญาทั้งปวงคืนความยำเกรงพระเจ้า

21.ปัญญาจารย์ ( Ecclesiastes )

เช่นเดียวกับโยบ ปัญญาจารย์ตรึกตรองถึงคำถามที่คนทุกยุคสมัยถามกันคือ ทำไมชีวิตดูเหมือนไร้ความหมาย เล่มนี้จัดอยู่ในวรรณกรรมภูมิปัญญา

ผู้เขียน
เล่มนี้แนะนำ’ปัญญาจารย์’ ว่าเป็น ‘เชื้อสายของดาวิด กษัตริย์ในเยรูซาเล็ม’ แต่ไม่ว่าจะเป็นใคร พระองค์ได้หวนคิดถึงประสบการณ์และการศึกษาตลอดชีวิตที่ผ่านมา
วลีที่มีชื่อเสียง ‘มีฤดูกาลสำหรับทุกสิ่ง’ 3:1-8

ใจความสำคัญ
ไม่ว่าผู้คนจะไขว่คว้าหาสติปัญญา ความสำเร็จหรือความยุติธรรมสักเท่าไร ผลที่ได้มาก็เป็นเพียงชั่วคราวและมีขีดจำกัด ถ้าจะแสวงหาสิ่งยั่งยืนในชีวิต ก็เหมือนกับ’กินลมกินแล้ง’
เหตุที่ปัญญาจารย์มีท่าทีในแง่ลบก็เพราะท่านรู้จักและเชื่อในพระเจ้า แต่คิดว่ามนุษย์เราไม่สามารถเข้าใจถึงน้ำพระทัยพระองค์ได้ เล่นนี้สะท้อนถึงความน่าสังเวชของชีวิตที่ยึดมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง
‘จงขยันทำงานและเปรมปรีดิ์ในผลงานของตน’ ปัญญาจารย์กล่าวว่า ‘เพราะนอกเหนือจากนี้ ไม่มีอะไรเหลืออีกแล้ว’
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 11:05 am

(ตอนที่ ๖ )

22. เพลงซาโลมอน ( Song of Solomon )


กอปรด้วยเพลงหกเพลงในรูปของการสนทนาระหว่างเจ้าบ่าวกับเจ้าสาวโดยมุ่งกล่าวถึงความรักที่มีต่อกันและกัน เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ชนบทในฤดูใบไม้ผลิ ได้ใช้ทิวทัศน์ชนบทมากมายมาบรรยายถึงความปลาบปลื้มยินดีทางกายในชีวิตสมรส

ผู้เขียน
เนื้อความเอ่ยถึงซาโลมอนหลายครั้ง แต่ไม่ชัดว่าเกี่ยวดองกับพระองค์อย่างไร

ใจความสำคัญ
บทเพลงเหล่านี้บรรยายถึงความอัศจรรย์ของความรักทางกายระหว่างสามีภรรยา ความรักนี้มาจากพระเจ้าและสมควรที่มีหนังสือประเภทนี้รวมอยู่ในพระคัมภีร์ หลายคนของตีความเล่มนี้ว่าเล็งถึงความรักระหว่างพระคริสต์กับคริสตจักร แต่เนื้อหาไม่ได้พูดในเชิงนี้เลย


23. อิสยาห์ ( Isaiah )

พยากรณ์เหตุการณ์สำคัญในช่วงกว่า 200 ปีของประวัติศาสตร์อิสราเอลจากแง่ของพระเจ้าผู้พิพากษาและฟื้นฟูอิสราเอล

ผู้พยากรณ์ ( ประกาศก = คาทอลิก )
อิสยาห์พยากรณ์กว่า 40 ปีในเยรูซาเล็มได้รับการทรงเรียกในปีที่กษัตริย์อุสซียาห์สิ้นพระชนม์(บทที่ 6) เขาทำงานในรัชกาลโยธาม อาหัสจนถึงเฮเซคียาห์ สามารถโน้มน้าวกษัตริย์ให้ฟังคำพยากรณ์ของเขาได้ เนื่องจากมีสาวกกลุ่มหนึ่งติดตามอิสยาห์ (8:16) บางคนจึงคิดว่าคำพยากรณ์ที่กล่าวถึงการเป็นเชลยในบาบิโลนและกลับคืนสู่เยรูซาเล็ม (40-66) นั้นเขียนโดยผู้สืบทอดจากอิสยาห์ แต่ไม่ว่าจะเป็นใครเนื้อความขอบคำพยากรณ์และนิมิตเรื่องพระเจ้าสอดคล้องต้องกันตลอดทั้งเล่ม

ช่วงเวลาและสถานการณ์
อิสยาห์ทำงานหลายสิบปีปลายศตวรรษที่ 8 และอาจถึงต้นศตวรรษที่ 7 กคศ.อาโมสพยากรณ์ในอาณาจักรเหนือก่อนหน้านี้ โฮเชยาทำงานที่สะมาเรียในช่วงแรกของอิสยาห์ ตลอดเวลาเหล่านี้อัสซีเรียข่มขู่ยูดาห์มาตลอด และในรัชกาลเฮเซคียาห์ เยรูซาเล็มเกือบเสียทีอัสซีเรีย แล้วใน 586 กคศ. เยรูซาเล็มก็ตกเป็นของบาบิโลน และคนส่วนใหญ่ถูกต้อนไปเป็นเชลย บทที่ 40-55 บรรยายถึงเหตุการณ์นี้ หลายสิบปีต่อมาเชลยได้กลับบ้านและกอบกู้ประเทศขึ้นใหม่ บทท้าย ๆ อาจพาดพึงถึงช่วงนี้

ใจความสำคัญ
นิมิตรใหญ่ยิ่งเกี่ยวกับพระเจ้าที่อิสยาห์เห็นในบทที่ 6 เป็นหัวใจของเนื้อหาทั้งหมดนั้นหลักใหญ่ใจความคือความยิ่งใหญ่สูงส่งของพระเจ้า ‘ผู้บริสุทธิ์’ อิสราเอลจำต้องพึ่งพิงพระองค์แต่ผู้เดียว และอิสยาห์ต้องเตือนคนที่หลงเจิ่นถึงการพิพากษาของพระองค์ผู้พร้อมจะให้อภัย เล่มนี้เต็มไปด้วยพระสัญญาเกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ที่จะมา และการกู้ชาติในอนาคต

24. เยเรมีย์ ( Jeremiah )

เยเรมีย์พยากรณ์ในห้ารัชกาลสุดท้ายของยูดาห์: เหตุการณ์ที่ส่งผลให้เยรูซาเล็มตกอยู่ในกำมือของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์แห่งบาบิโลน เนื่องจากเยเรมีย์เป็นคนไวต่อความรู้สึก จึงอึดอัดใจที่จะพยากรณ์ถึงการพิพากษาของพระเจ้า แต่คำพยากรณ์ทั้งหมดของเขาได้กลายเป็นความจริง
ผู้พยากรณ์ เยเรมีย์เกิดในตระกูลปุโรหิตที่อานาโธทใกล้เยรูซาเล็ม ได้รับการทรงเรียกให้เป็นผู้พยากรณ์ใน 627 กคศ. เขาเริ่มทำงานในรัชกาลโยสิยาห์ซึ่งเป็นยุคที่ยูดาห์หันมาหาพระเจ้า แต่ความหายนะประดังเข้ามาเมื่อบาบิโบนเรืองอำนาจและกษัตริย์ยูดาห์กลับไปเข้าข้างอียิปต์ ในที่สุดเยรูซาเล็มแตก เยเรมีย์ถูกชาวยิวบังคับให้หนีไปอียิปต์ การที่เขายืนยันถึงการพิพากษาของพระเจ้า อย่างไม่ลดละทำให้คนยิวเกลียดชังเขา จนจิตใจเข้าว้าวุ่น แต่บารุคเพื่อนผู้สัตย์ซื่อได้จดคำพยากรณ์ของเขาไว้ ผู้พยากรณ์ในสมัยเดียวกับเยเรมีย์ได้แก่เศฟันยาห์ และเอเสเคียลผู้อยู่ในกลุ่มเชลยกลุ่มแรกที่ถูกจับไปบาบิโลน

คำพยากรณ์ของเยเรมีย์มีหลายรูปแบบ เช่น บทกวี ร้อยแก้ว อุปมา บางทีมีท่าทางประกอบ ซึ่งติดหูติดตาอาจไม่อาจลืมได้เลย

ข้อความที่มีชื่อเสียง
พระเจ้าเรียกเยเรมีย์ 1:1-19 ‘คนที่…ได้รับพระพร’ 17:7-8 จิตใจเป็นตัวล่อลวง 17:9 เยเรมีย์โอดครวญ 20:7-18 ผู้พยากรณ์เท็จหรือจริง 23:15-32 พันธสัญญาใหม่ 31:31-34

ใจความสำคัญ
หลักใหญ่ใจความคือการพิพากษาที่จะมาถึง ถ้าเรายังขืนทำบาปและไหว้รูปเคารพอยู่การอ้างถึงการพิทักษ์รักษาของพระเจ้าก็ไร้ประโยชน์ เยเรมีย์ย้ำแล้วย้ำอีกว่าเยรูซาเล็มต้องแตก แต่ยังมีความหวังสำหรับอนาคต คือ เชลยจะได้กลับบ้านและพระเจ้าจะทำพันธสัญญาใหม่โดยจารึกลงในจิตใจพวกเข้าเยเรมีย์เน้นถึงความเชื่อ การกลับใจส่วนตัวและเปิดเผยให้เห็นถึงบุคลิกภาพของเขามากกว่าผู้พยากรณ์คนอื่น ๆ


25. เพลงคร่ำครวญ ( Lamentations )

ประกอบด้วยบทกวีห้าบทโดยไม่ได้ระบุชื่อผู้เขียน สี่บทแรกเขียนตามลำดับอักษรฮีบรูแสดงถึงความปวดร้าวของประชาชนในยามที่เยรูซาเล็มถูกบาบิโลนบดขยี้ ดูเหมือนว่าผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่เห็นกรุงแตกกับตาในปี 586 กคศ. และยังใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังอย่างแร้นแค้นขณะที่คนส่วนใหญ่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยที่บาบิโลน

ใจความสำคัญ
น่าสลดใจอยู่แล้วที่เยรูซาเล็มแตกและคนยิวต้องตกระกำลำบาก แต่ที่ร้ายกว่านั้นคือพระเจ้าได้ทอดทิ้งคนของพระองค์ และปล่อยให้ทนทุกข์ทรมารเพราะบาปของเขา แต่ใน 3:21-27 ประกายแห่งความหวังยังสาดแสงให้เห็นเมื่อผู้เขียนไว้วางใจในพระกรุณรอันไม่รู้สิ้นสุดของพระเจ้า

26. เอเสเคียล ( Ezekiel )

ผู้พยากรณ์เอเสเคียลเห็นนิมิตและพยากรณ์ในฐานะเชลยในบาบิโลนหลัง 597 กคศ.

ช่วงเวลาและสถานการณ์
เอเสเคียลได้ระบุวันเวลาที่แน่ชัดไว้หลายช่วง พระเจ้าทรงเรียกเขาใน 592 กคศ. คือหลังจากเขาเป็นเชลยในบาบิโลนได้ห้าปี เขาเป็นคนรุ่นหลังเยเรมีย์ แต่แยู่ในบาบิโลน แทนที่จะอยู่ในเยรูซาเล็ม เขายังพยากรณ์ต่อไปหลังจากเยรูซาเล็มแตกในปี 586 กคศ. และเชลยยิวกลุ่มที่สองได้เข้ามาในบาบิโลน มีอยู่สิ่งหนึ่งที่น่าพิศวงคือ แม้เขาจะอาศัยอยู่ในบาบิโลน แต่เขาพยากรณ์ถึงเยรูซาเล็มโดยให้รายละเอียดถึงเหตุการณ์ที่นั่น นี่อาจเพราะว่าเขามีของประทานที่สามารถมองเห็นได้ด้วยฝ่ายจิตวิญญาณหรือไม่ก็ได้ไปเยรูซาเล็มในช่วงนั้น

ผู้พยากรณ์
เอเสเคียลถูกจับเป็นเชลยไปบาบิโลนพร้อมกับกษัตร์ย์เยโฮยาคีนและเชลยกลุ่มแรก (ล้วนมาจากตระกูลสูงในยูดาห์) ใน 597 กคศ. เขาเกิดในตระกูลปุโรหิต แม้จะมีอายุน้อยขณะถูกจับเป็นเชลย แต่เขาสนใจในรายละเอียดของการนมัสการและพิธีชำระเขาได้เห็นนิมิตหลายอย่างซาบซึ้งดื่มด่ำกับพระวจนะของพระเจ้า และสื่อสารนิมิตเหล่านั้นโดยใช้อุปมาประกอบท่าทาง

ใจความสำคัญ
เล่มนี้เปิดฉากด้วยนิมิตยิ่งใหญ่เกี่ยวกับพระเจ้า ณ ที่ราบแห่งบาบิโลน เอเสเคียลกล่าวประมาณความบาปและประกาศว่าพระเจ้าเป็นผู้พิพากษา เนื่องจากเขาได้เห็นพระสิริอันเป็นล้นด้วยสง่าราศีของพระเจ้า จึงทนความบาปและการไหว้รูปเคารพไม่ได้แม้แต่นิดเดียว เขารู้ว่าไม่มีหวังสำหรับเยรูซาเล็มและทำนายว่าจะพินาศ ซึ่งก็ได้เป็นความจริงใน 586 กคศ. แต่เมื่อเยรูซาเล็มถูกทำลายแล้ว เขาเริ่มพยากรณ์ถึงอนาคตที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง พระเจ้าจะสำแดงความยิ่งใหญ่โดยนำเชลยกลับบ้าน และจะประทานจิตใจใหม่และการนมัสการใหม่ คำพยากรณ์ของเอเสเคียลมักจะจบด้วยลีที่ว่า ‘…และเจ้าจะทราบว่าเราคือพระเจ้า’

------------------------------

หมายเหตุ: คำว่าผู้พยากรณ์ หรือ ผู้เผยพระวจนะ เป็นคำที่คริสตจักรโปรเตสแตนต์ ใช้

พี่น้องคาทอลิก ใช้ "ประกาศก "
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 11:09 am

( ตอนที่ ๗ )

27. ดาเนียล ( Daniel )

เริ่มด้วยชีวประวัติของดาเนียล ซึ่งถูกจับไปเป็นเชลยที่บาบิโลนตั้งแต่เยาว์วัยและพบความรุ่นโรจน์โดยความกล้าหาญและสัตย์ซื่อต่อพระเจ้า ส่วนครึ่งหลังนั้นเป็นนิมิตเกี่ยวกับอนาคตและคำอธิษฐานที่พึงจดจำ

นิมิตเกี่ยวกับอนาคต

400 ปีระหว่างพันธสัญญาเดิมกับใหม่ชาวยิวนิยมอ่านหนังสือชุดหนึ่งซึ่งเรียกว่า ‘ วรรณกรรมทำนายอนาคต’ เพราะในสมัยนั้นชีวิตชาวยิวทุกข์ยากลำบากมาก หนังสือเหล่านี้จึงเขียนขึ้น เพื่อหนุนใจพวกเขาให้มั่นใจว่าพระองค์ทรงควบคุมประวัติศาสตร์อยู่ และในที่สุดชัยชนะจะเป็นของพระองค์ หนังสือเหล่านี้เต็มไปด้วยสัญลักษณ์และภาพประหลาด
นิมิตเหล่านี้ บางครั้งปรากฎอยู่ในหมวดผู้พยากรณ์ในพันธสัญญาเดิมด้วยเอเสเคียลได้นำมาใช้โดยเฉพาะในนิมิตเรื่องโกกกับมาโกก ภาค 2 ของดาเนียล ใช้ลีลาการเขียนแบบนี้ บางตอนของเศคาริยาห์ก็เช่นกัน ในพันธสัญญาใหม่วิวรณ์ก็ใช้เทคนิคนี้ด้วย ผู้เขียนวิวรณ์เอาสัญลักษณ์หลายอย่างของเอเสเคียล ,ดาเนียล และเศคาริยาห์มาใช้ แต่มีจุดแตกต่างกันอย่างใหญ่หลวงอย่างหนึ่งคือยุคใหม่เริ่มขึ้นแล้ว เพราะพระเมสสิยาห์เสด็จมาแล้ว

บางครั้งนิมิตเหล่านี้ดูออกจะเข้าใจยาก เพราะกล่าวถึงเหตุการณ์และบุคคลที่ผู้อ่านสมัยนั้นคุ้นเคยกันดี แต่จะเขียนออกมาเป็นรหัส เพื่อเฉพาะคนสัตย์ซื้อของพระเจ้าเท่านั้นถึงจะเข้าใจได้ แต่เหล่าคนที่กดขี่ข่มเหงพวกเขาจะไม่เข้าใจ เมื่อเราอ่านถึงสัตว์ประหลาดหรือรูปคนวิปลาส เราต้องจำไว้ว่าไม่ควรตีความตามตัวอักษร เพราะมันเป็นสัญลักษณ์ อันมีสีสันซึ่งอธิบายให้เห็นว่าพลังอำนาจอันชั่วร้ายจะจู่โจมคนของพระเจ้ายังไงในที่สุดพระเจ้าจะชนะพวกเขาเด็ดขาดอย่างไร

สถานการณ์
ดาเนียลมีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 6 กคศ. และเห็นนิมิตที่บาบิโลน แต่เนื่องจากเขาบรรยายถึงเหตุการณ์ในศตวรรษที่ 2 กคศ. ได้อย่างละเอียด จึงทำให้หลายคนคิดว่าเล่มนี้เขียนเสร็จในปลายรัชสมัยอันทิโอกัส ที่ 4 อาฟิฟาเนสแห่งซีเรียที่ปกครองยูดาห์ (165 กคศ.) นิมิตเรื่องสี่อาณาจักรพุ่งถึงจุดสุดยอดเมื่อบรรยายถึงการข่มเหงของกษัตริย์องค์นี้ ผู้เชื่อจำต้องได้รับการหนุนน้ำใจถึงจะสัตย์ซื้อต่อพระเจ้าได้ และความกล้าหาญของดาเนียลในภาวะล่อแหลมนับเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลังได้อย่างดี


28. โฮเชยา( Hosea )

จากประสบการณ์ส่วนตัวอันขมขื่นของโฮเชยาในเรื่องของภรรยาผู้หลายใจ ทำให้ขาสามารถบรรยายถึงความรักที่พระเจ้ามีต่ออิสราเอลและความเสียพระทัยที่พวกเขาปฏิเสธความรักของพระองค์ได้อย่างกินใจ

ช่วงเวลาและสภานการณ์
สมัยโฮเชยาคาบเกี่ยวกับช่วงแรกของอิสยาห์ เขามาจากอาณาจักรเหนือ เริ่มงานในสมัยเยโรโบอัมที่สองเป็นกษัตริย์สำคัญองค์สุดท้ายแห่งอิสราเอล และอีกหกรัชกาล (ซึ่งเป็นเวลา 20 ปีแห้งความเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว) จนถึงช่วงก่อนกรุงสะมาเรียตกเป็นของอัสซีเรียใน 721 กคศ.

ผู้พยากรณ์โฮเชยาเป็นคนมีความรู้สึกไว ประสบการณ์ส่วนตัวอันน่าสลดใจทำให้เขามีความเมตตามากขึ้น แม้เขาพยากรณ์ถึงการพิพากษาเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็พูดด้วยถ้อยคำแห่งความรักและห่วงใย


29. โยเอล ( Joel )

ภัยพิบัติอันย่อยจากตั๊กแตนเป็นเครื่องหมายเล็งถึง ‘ วันแห่งพระเจ้า ‘ ที่กำลังมาถึง ซึ่งร้ายแรงยิ่งกว่านั้นหลายเท่า โยเอลเรียกร้องให้ประชาชนกลับใจใหม่และรอคอยวันแห่งพระพรอันท่วมท้น

เนื้อเรื่อง
ภัยพิบัติจากตั๊กแตน 1 วันแห่งพระเจ้า: เรียกให้กลับใจ 2:1-17 พระเจ้าให้พระวิญญาณกับทุกคน 2:18-32 กล่าวโทษประชาชาติ 3

30. อาโมส (Amos )

เป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองแต่เต็มไปด้วยการโกงกิน อาโมสห่วงเรื่องความอยุติธรรมในสังคม ซึ่งเป็นจุดใหญ่ที่บรรดาผู้พยากรณ์กล่าวประมาณครั้งแล้วครั้งเล่า

สถานการณ์
อาโมสพยากรณ์ถึงอิสราเอลอาณาจักรเหนือในศตวรรษที่ 8 กคศ. อาจก่อนโฮเชยาเล็กน้อยหรือ 2-3 ปี ก่อนอิสยาห์ อยู่ในสมัยกษัตริย์เยโรโบอัมที่สองที่รุ่งเรืองและมีชัยชนะเหนือศัตรู แต่อาโมสเล็งเห็นจุดนำไปสู่ความเสื่อมโทรมซึ่งกำลังก่อตัวขึ้น

ผู้พยากรณ์ อาโมสเป็นคนเลี้ยงแกะบ้านนอก จิตใจเป็นทุกข์กับพระดำรัสของพระเจ้า เขาเดินทาง จากเทโคอาในยูดาห์มุ่งหน้าไปทางเหนือถึง เบธเอลและกิลกาลซึ่งมีแท่นบูชาตั้งอยู่ เขาประณามความอยุติธรรมและหน้าซื่อใจคตของอิสราเอลอย้างไม่ไว้หน้าใคร

31. โอบาดีห์ (Obadiah )

เป็นเล่มสั้นที่สุดในพันธสัญญาเดิมซึ่งทำนายถึงการสิ้นชาติเอโดม ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูดาห์ ภายหลังเมืองเพตราตั้งอยู่ในบริเวณนี้ เอโดมรีบฉกฉวยเอาผล ประโยชน์ขณะเยรูซาเล็มตกอยู่ในภาวะวิกฤติ และปล้นทรัพย์สินขณะบาบิโลนเผาผลาญเยรูซาเล็ม (586 กคศ.)
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 11:13 am

(ตอนที่ ๘ )

32. โยนาห์ ( Jonah )
เรื่องของโยนาห์ผู้พยากรณ์ที่ละล้าละลังที่สุดบทเรียนที่เขาต้องเรียนรู้คือ พระเจ้ามิได้เมตตาเฉพาะอิสราเอลชาติเดียว

เนื้อเรื่อง
พระเจ้าเรียกโยนทห์ไปพยากรณ์ที่นีนะเวห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงอัสซีเรียคู่อริของอิสราเอล เขาพยายามหลีกหนีจากหน้าที่นี้ แต่พระเจ้าทรงยับยั้งไว้ (เรื่องปลายักษ์แทรกมาตอนนี้) เมื่อโยนาห์พยากรณ์ในนีนะเวห์ ผู้คนที่นั่นพากันกลับใจใหม่และรอดจากพระพิโรธ แต่โยนาห์กลับขุ่นเคืองในเรื่องนี้มาก จึงนั่งดูจุดจบของนีนะเวห์ใต้รุ่มไม้ ต่อมาต้นไม้นั้นเหี่ยวเฉาลงท่ามกลางแสงแดดแผดหล้าโยนาห์สุดแสนเสียดาย พราะเจ้าจึงชี้ให้เห็นว่าเขาควรหันไปเมตราชาวนีนะเวห์ดีกว่า


33. มีคาห์ ( Micah )

มีคาห์เป็นผู้พยากรณ์ยิ่งใหญ่หนึ่งในสี่ของศตวรรษที่ 8 กคศ. ร่วมกับอาโมส โฮเชยา และอิสยาห์ จากชีวิตชาวนาบนเนินเขาทำให้มีคาห์เข้าใจดีถึงความอยุติธรรมในสังคม

เนื้อเรื่อง
ความบาปของยูดาห์และอิสราเอล 1-3 การฟื้นฟูและสันติภาพ 4-5 พระประสงค์ของพระเจ้า 6 ความมืดและความสว่าง 7

ช่วงเวลาและสภานการณ์
มีคาห์พยากรณ์ในยุคเดียวกับโฮเชยา (ในอิสราเอล) และอิสยาห์ (ในยูดาห์) แต่เขาได้พยากรณ์ถึงทั้งสองอาณาจักร แม้อิสราเอลและกรุงสะมาเรียจะตกเป็นของอัสซีเรียในสมัยของเขาก็ตาม อัสซีเรียได้โจมตียุดาห์ในช่วงนี้ด้วย แต่มีคาห์กล่าวถึงเรื่องนี้เพียงย่อ ๆ เท่านั้น

ใจความสำคัญ
เช่นเดียวกับผู้พยากรณ์คนอื่น ๆ มีคาห์ชิงชังเครื่องสัตวบูชาและการนมัสการที่ไม่เป็นไปตามน้ำพระทัยพระเจ้าและปราศจากความยุตธรรม สิ่งที่เขาห่วงมากที่สุด คือความอยุติธรรมทางสังคมและศาสนาที่ออกนอกสู่นอกทาง แต่เขาเฝ้าคอยอนาคตแห่งสันติภาพและพระพรจากพระเจ้า

34. นาฮูม ( Nahum )

เป็นบทกวีแสดงความยินดีที่เห็นนีนะเวห์ เมืองหลวงของชาวอัสซีเรียผู้*****มโหดและเรืองอำนาจได้เสื่อมลงและล่มสลาย อาจเขียนขึ้นช่วงที่บาบิโลนและมีเดียโค่นล้มเมืองนั้นใน 612 กคศ. นี่เป็นคำพยากรณ์ที่ไม่ได้เรียกร้องให้ประชาชนกลับใจเหมือนคำพยากรณ์อื่น ๆ คำสอนที่แฝงอยู่ในเล่มนี้คือพระเจ้าทรงเป็นจอมเจ้านายเหนือประวัติศาสตร์โลก และอำนาจความแข็งแกร่งและความภาคภูมิใจในชาติไม่ได้เป็นตัวกำหนดสถานการณ์ทางการเมืองหรือการสงคราม

35. ฮาบากุก (Habakkuk )

ฮาบากุกขบคิดปัญหาที่ทุกยุคสมัยข้องใจกันเรื่อยมาคือ ทำไมพระเจ้าถึงอนุญาตให้คนชั่วรุ่งเรือง โดยเฉพาะเหตุใดชาวบาบิโลน (หรือเคลเดีย) ผู้ซึ่งชอบรุกรานจึงแข็งแกร่งชนชาติอื่นที่ชั่วน้อยกว่าเขา

เนื้อเรื่อง
ทำไมคนชั่วจึงรุ่งเรือง 1 คอตอบของพระเจ้า 2 ผู้พยากรณ์สรรเสริญพระเจ้า 3

เวลาที่เขียน
เนื้อหาบ่งชี้ว่าเขียนขึ้นในช่วงที่บาบิโลนขึ้นเป็นมหาอำนาจ โค่นล้มอัสซีเรียใน 612 กคศ. ชนะอียิปต์ที่คารเคมิชใน 605 กคศ. และเยรูซาเล็มแตกครั้งแรกใน 597 กคศ. ฮาบากุกจึงพยากรณ์ในยุกเดียวกับเยเรมีย์นอกจากนั้นเราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับตัวเขาเลย

ใจความสำคัญ
คำถามของฮาบากุกนั้นจริงจังและสำคัญยิ่ง ซึ่งคล้ายกับปัญหาของโยบและของสดุดี 73 คำตอบไม่ใช่ในทางสติปัญญาหรือปรัชญาแต่ให้ความแน่ใจว่าความเชื่อมั่นคงนั้นจะไม่มีวันทำให้เราผิดหวังเพราะพระเจ้าทรงควบคุมทุกสิ่งในโลกและเป็นผู้ที่เราไว้ใจได้


36. เศฟันยาห์ ( Zephaniah )

เศฟันยาห์ เห็นแต่ความพินาศของเยรูซาเล็ม เพราะประชาชนไม่เชื่อฟัง แต่เขาเชื่อเช่นเดียวกับอิสยาห์ผู้พยากรณ์ที่มาก่อนว่าชาวยิงที่ถูกชำระและรอดตายจะมีอนาคตสดใส

เนื้อเรื่อง
วันพิพากษา 1:1-2:3 ประชาชาติจะพินาศ 2:4-15 ความหวังของคนที่เหลืออยู่ 3:1-13 เพลงแห่ความชื่นชมยินดี 3:14-20

สถานการณ์
เศฟันยาห์พยากรณ์ในช่วงแรกของเยเรมีย์อาจเป็นต้นรัชกาลโยสิยาห์ ก่อนการปฏิรูปศาสนาอันยิ่งใหญ่

37. ฮักกัย ( Haggai )

ผู้พยากรณ์สามคนสุดท้ายในพันธสัญญาเดิมทำงานในสมัยที่เชลยยิวเพิ่มหวนคืนถิ่นเดิมเช่นเดียวกับเศคาริยาห์ ฮักกัยเร่งเร้าให้ชาวยิงร่วมแรงร่วมใจกันบูรณะพระวิหารต่อไป

เนื้อเรื่อง
ประชาชนยอมบูรณพระวิหาร 1 ความโอ่อ่าของพระวิหาร 2:1-9 พระเจ้าอวยพรเชื่อฟัง 2:10-19 กำชับเศรุบบาเบล 2:20-23

เวลาที่เขียน
ฮักกัยระบุเวลาอย่างชัดแจ้ง เขาพยากรณ์ใน 520 กคศ. เอสรา 5:1-2 และ 6:14 กล่าวถึงทั้งเศคาริยาห์และฮักกัยที่เร่งเร้าให้บูรณะพระวิหารซึ่งเสร็จสิ้นใน 516 กคศ.

38. เศคาริยาห์ ( Zechariah )

เศคาริยาห์ผู้เห็นนิมิตเสมอๆ ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับฮักกัย คำพยากรณ์ของเขาให้ภาพชัด และกินใจยิ่งนัก

ช่วงเวลาและสถานการณ์
เศคาริยาห์พยากรณ์ถึงเยรูซาเล็มและการบูรณะพระวิหารนานกว่าฮักกัย คือตั้งแต่ 520-518 กคศ. ภาคสอง (บทที่ 9-14 ) ของเล่มนี้ต่างจากภาคแรกมาก บางคนทึกทักว่าอาจมีผู้เขียนสองคน และผู้เขียนคนที่สองเขียนในสมัยหลัง สิ่งที่เชื่อมโยงสองภาคนี้ ( และมาลาคีด้วย) ก็เป็นหัวข้อนั่นเอง คือยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยพระพร

ใจความสำคัญ
เชลยยิวกลุ่มเล็กที่กลับมาเยรูซาเล็มพากันตื่นเต้นกับการใช้ชีวิตใหม่ แม้อาจเผชิญกับความยุ่งยากอยู่บ้าง แต่พวกเขาก็กำลังทำตามการทรงนำของพระเจ้า เศคาริยาห์เริ่มจากจุดนี้ไปถึงยุคใหม่ มิใช่สำหรับเยรูซาเล็มเท่านั้นแต่ทั้งโลกด้วย ท่ามกลางคำพยากรณ์ถึงยุคใหม่ เราพบข้อความเกี่ยวกับ ‘ พระเมสสิยาห์’ กษัตริย์แห่งความรัก และยุติธรรมที่พระเจ้าจะส่งมายังโลก นี่เป็นเหตุที่พันธสัญญาใหม่ยกย่องคำในเศคาริยาห์มาอ้างอิงบ่อยๆ เพราะคริสเตียนสมัยแรกเชื่อว่าพระเมสสิยาห์องค์นี้คือพระเยซู

39. มาลาคี ( Malachi )

มาลาคีท้าทายประชาชนถึงความสัมพันธ์กับพระเจ้าและความเชื่อฟังพระองค์

เนื้อเรื่อง
พระเจ้ารักอิสราเอล 1 :1-5 เครื่องถวายบูชาที่ไร้ค่า 1 :6-2:9 ฝ่าฝืนพระบัญญัติ 2 :10-16 พระเจ้าจะพิพากษา 2:17-3:5 การถวายสิบลด 3:6-12 พระเจ้าสัญญาจะเมตตา 3:13-4:6

สถาณการณ์
มาลาคีแปลว่า ‘ ทูตของเรา ‘ ยอมรับกันว่ามาลาคีพยากรณ์หลังฮักกัยกับเศคาริยาห์ประมาณ 80 ปี และก่อนหน้าที่เนหะมีย์จะรับตำแหน่งผู้ว่าราชการเยรูซาเล็มเล็กน้อยราวกลางศตวรรษที่ 5 กคศ. อันเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก และประชาชนเริ่มหย่อนยานในการทำตามพระบัญญัติ
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 11:17 am

(ตอนที่ ๙ )

… หนังสือ 7 ฉบับ เหล่านี้ พระศาสนจักรคาทอลิกและออร์โธด๊อกซ์ นับเป็นพระคัมภีร์จัดอยู่ในสารบบที่สอง ส่วนชาวโปรเตสแตนต์เรียกหนังสือกลุ่มนี้ว่า “Apocrypha” หรือ “คัมภีร์นอกสารบบ”

1.โทบิต
- เรื่องแต่งเกี่ยวกับศาสนาเตือนให้มีความเชื่อในพระเจ้า แม้ในเวลาที่ดูเหมือนว่าพระเจ้าทรงทอดทิ้ง

- บทบาทของอิสราเอลในแผนการช่วยให้รอดพ้น14 บท

1 – 3 คุณธรรมของโทบิตและการถูกทดลอง
7 – 10 การแต่งงานของโตบียาห์และซาราห (ประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อนค.ศ.)

2.ยูดิธ - เรื่องแต่งขึ้นเพื่อสอนถึงบทบาทของชาวอิสราเอลในแผนการกอบกู้ และชะตากรรมของมนุษยชาติ16 บท

1 – 7 ชาวยิวถูกคุกคาม
8 การกอบกู้
14-16 ชัยชนะ (ประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อนค.ศ.)

3.ปรีชาญาณ - คำสรรเสริญปรีชาญาณ

- ปรีชาญาณ ในรูปของบุคคลที่เป็นดังผู้ปกป้องผู้ชอบธรรม
- ประณามการนับถือรูปเคารพ
มี19 บท

1 – 5 ปรีชาญาณและชะตากรรมของมนุษย์
10 – 19 ปรีชาญาณของพระเจ้าในประวัติศาสตร์อิสราเอ (ประมาณปี 100 ก่อนค.ศ.)

4.บุตรสิรา – ยืนยันกฎศีลธรรมของพระเจ้าความรับผิดชอบของมนุษย์ต่อบาปและการตอบแทนจากพระเจ้า 51(ประมาณปี 190 ก่อนค.ศ.)

5.บารุค - การเล่าซ้ำเรื่องการเนรเทศเพื่อให้ชาวยิวสำนึกถึงความผิด บท
1 – 3 คำภาวนาของบารุค
4 – 5 บทเทศน์เตือนใจ (ประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อนค.ศ.)

6.1 มัคคาบี - เรื่องราวการต่อสู้ของชาวยิวเพื่อปกป้องการนับถือศาสนา และความซื่อสัตย์ต่อธรรมบัญญัติ16 บท
3 – 9 การสู้รบของยูดาส มัคคาบี (ประมาณปี 140 ก่อนค.ศ.)

7.2 มัคคาบี - เรื่องราวของการกบฏ จนถึงชัยชนะ ของขาวยิว และอิสรภาพ
- เป้าหมายคือ การสั่งสอนและเตือนใจให้ประพฤติตน
15 บท

พลาดอันเป็นสาเหตุของความลำบากและเน้นให้มั่นใจว่าพระเจ้าจะทรงกอบกู้
6 บท
8 – 13 ชัยชนะของยูดาส มัคคาบี (ประมาณปี 110 ก่อนค.ศ.)


หมายเหตุ: จะโพสต์ พระคัมภีร์ใหม่ในโอกาสต่อไปค่ะ ;D
ภาพประจำตัวสมาชิก
Zion
~@
โพสต์: 3777
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 8:37 pm
ติดต่อ:

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 11:35 am

ขอแทรกฮับ
_______
แต่ใน เอสเธอร์ก็ดี ดาเนียลก็ดี

ก็มีส่วนที่เป็น "คัมภีร์นอกสารบบ"ด้วยไม่ใช่เหรอครับ ???
:+: seraphim :+:
~@
โพสต์: 7624
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 23, 2005 9:49 pm
ที่อยู่: Pattaya Chonburi

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 11:45 am

;) ;) ขอบคุณพี่พีพีค่ะ เหมือนได้เรียนกับพ่อจั่วเลย ทำให้เวลาอ่านแล้วเข้าใจมากขึ้นเพราะรู้ที่มาที่ไป ;D
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 9:44 pm

Joshua, The Lamb เขียน: ขอแทรกฮับ
_______
แต่ใน เอสเธอร์ก็ดี ดาเนียลก็ดี

ก็มีส่วนที่เป็น "คัมภีร์นอกสารบบ"ด้วยไม่ใช่เหรอครับ ???
ใช่จ๊ะน้องยศ เดี๋ยวขอให้ น้องเสี่ย ช่วย แทรก นะคะ ;)


seraphim เขียน:
;) ;) ขอบคุณพี่พีพีค่ะ เหมือนได้เรียนกับพ่อจั่วเลย ทำให้เวลาอ่านแล้วเข้าใจมากขึ้นเพราะรู้ที่มาที่ไป ;D
ขอบคุณพระเจ้าค่ะ :D เอ่ ทำไม ไปสอนเหมือนพ่อจั่วได้เล่า ???

ขอบคุณมากนะคะ ที่ฝากเบอร์ของพ่อจั่วไว้ให้ แต่ยังไม่ได้ โทรไปทักทายเลยค่ะ ;D
ภาพประจำตัวสมาชิก
mind
.
.
โพสต์: 527
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 5:45 pm
ที่อยู่: BKK

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 10:08 pm

ขอบคุณครับ พี่ 2พี

พอดีเลยฮับ ได้ไกด์อย่างดีเลย ฮับ

วันก่อนไปงานหนังสือคาทอลิค ซื้อ CD Crosswire มา เป็น พระคัมภีร์ ทั้ง Old&New testament

เย่อะแย่ะไปหมด ???
ภาพประจำตัวสมาชิก
-Rei-
โพสต์: 1015
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. มิ.ย. 09, 2005 8:31 pm
ติดต่อ:

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 11:45 pm

เย้ เรยังไม่ได้อ่านพันธสัญญาเก่าพอดีเยย ขอบคุณหลายๆค่า :-*
ภาพประจำตัวสมาชิก
nipon_m
~@
โพสต์: 177
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร เม.ย. 12, 2005 6:18 pm

ศุกร์ ส.ค. 05, 2005 8:32 am

ขอบคุณครับพี่พีพี ผมก็ยังไม่ได้อ่านเหมือนกัน ตอนนี้ก็เลยได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาอีกเยอะเลยครับ
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

พุธ ส.ค. 24, 2005 8:47 pm

เชิญพี่ 13 ธุดงส์ เบิ่งคร้าบบบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
~@Little lamb@~
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 9396
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:00 pm
ติดต่อ:

พุธ ส.ค. 24, 2005 11:10 pm

*no1 มาเบิ่งด้วยอีกรอบ
Joseph
โพสต์: 2182
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 27, 2005 6:31 am

พุธ ส.ค. 24, 2005 11:23 pm

เจี๊ยบขยันนำทางจังเลยน่ารัก จี๊บๆๆๆ :)

ด้วยรักในพระคริสต์
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

จันทร์ ก.ค. 03, 2006 4:18 pm

ดันขึ้นมาให้ พี่ Nippon อ่าน ฮะ ;D
Nativity
โพสต์: 766
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 15, 2005 3:31 pm
ที่อยู่: Peace in sinner

อังคาร ก.ค. 04, 2006 8:42 pm

:P  อยากอ่านพระคำภีร์เล่มใหม่ๆจังเลย 
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ ก.ค. 21, 2006 11:48 am

한극 เขียน: :P   อยากอ่านพระคำภีร์เล่มใหม่ๆจังเลย 
ก้อไปซื้อ ดิ อยากอ่านเวอร์ชั่นคริสเตียนไปซื้อที่ร้านคริสเตียน  หรืออยากอ่านเวอร์ชั่นคริสตัง ก็ซื้อที่ร้านคริสตัง ฮะ

พระคัมภีร์เล่มใหม่ ดูสะอาดตา น่าทนุถนอม  ส่วนพระคัมภีร์เล่มเก่าๆ ดูแล้วขลัง และศักดิ์สิทธิ์ เพราะผ่านการอ่านมาเยอะ หรือบางทีเจ้าของ ขีด เขียน จน เลอะเทอะ แต่ขลังๆๆ ฮะ : emo045 :
terasphere

อังคาร พ.ค. 29, 2007 12:45 am

เป็นพื้นฐานเพื่อการศึกษาต่อไปดีครับ พันธสัญญาเก่าหาอ่านยากมาก ตามห้องสมุดก็ไม่ค่อยจะมี
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

อังคาร พ.ค. 29, 2007 6:35 am

Terasphere เขียน: เป็นพื้นฐานเพื่อการศึกษาต่อไปดีครับ พันธสัญญาเก่าหาอ่านยากมาก ตามห้องสมุดก็ไม่ค่อยจะมี
เราคริสเตียน จะมีประจำตัวทั้งเล่ม คือทั้งพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม และพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ :wink:

ห้องสมุดที่น้องว่า น่าจะเป็นห้องสมุดทั่วไป แต่ห้องสมุด เฉพาะ เช่นของคริสตจักร โบสถ์คาทอลิก หรือพระคริสต์ธรรม คงมีหลายฉบับด้วยกันค่ะ
nasyzus
โพสต์: 28
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ก.ย. 24, 2007 8:01 pm
ที่อยู่: 45/1 ซ.แม่เนี้ยว2 ถ.ประชาสงเคราะห์21 เขตดินแดง แขวงดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

พุธ ก.ย. 26, 2007 10:26 pm

ขอบคุณค่า สำหรับความรู้นี้ :smiley:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ŤaşArĐűŕ
โพสต์: 89
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ มี.ค. 31, 2008 1:10 am
ติดต่อ:

จันทร์ ส.ค. 25, 2008 5:57 pm

ผมมีพันธะสัญญาเดิมแล้วครับ

อยากได้พันธะสัญญาไหม่มากๆเลยครับ

ขอบคุณพระองค์ครับ :D
เสาวนีย์

อาทิตย์ พ.ค. 10, 2009 8:11 pm

รบกวนขอรับด้วย 1 เล่มค่ะ
เสาวนีย์  เตชัย
55/64,71  หมู่บ้านฟอร์เรสซ์วิลล์  ซ.5/3
ถ.ติวานน  หมู่ 1  ต.บ้านใหม่ อ.เมือง ปทุมธานี  12000
RainNyLio
โพสต์: 5
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.พ. 20, 2009 6:50 am

พฤหัสฯ. พ.ค. 28, 2009 4:33 pm

มีเปนเล่มๆไหมค่ะ?

คือ อ่านแล้วปวดตาจิงๆ  : xemo023 :

ถ้ามีก็รบกวนหน่อยนะคะ
aohae_2530
โพสต์: 4
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.ค. 05, 2009 10:43 pm

อาทิตย์ ก.ค. 19, 2009 5:43 pm

ขอรบกวน พันธสัญญาเดิม ๅ เล่มนะคร่ะ

เราเป็นคาทอลิกน๊าาาา

ชญาณ์ วัฒน์วันทนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
[ ที่อยู่ของแฟนเราน๊าา ]

พระเจ้าอวยพรนะคร่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
My Hope
โพสต์: 735
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.พ. 27, 2009 8:42 am
ติดต่อ:

อาทิตย์ ก.ค. 26, 2009 7:56 am

aohae_2530 เขียน: ขอรบกวน พันธสัญญาเดิม ๅ เล่มนะคร่ะ

เราเป็นคาทอลิกน๊าาาา

ชญาณ์ วัฒน์วันทนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
[ ที่อยู่ของแฟนเราน๊าา ]

พระเจ้าอวยพรนะคร่ะ


รู้สึกว่า ถ้าพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมต้องไปหาซื้อเอาตามร้านหนังสือคริตสเตียน หรือ ที่อัสสัมก็มีขายนะครับ แต่ต้องไปวันจันทร์-เสาร์ ออ วันเสาร์เปิดแค่ครึ่งวันเช้าด้วยนะครับ
ตอบกลับโพส