++ พระคัมภีร์ : พันธสัญญาใหม่++

รวม ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระคัมภีร์ไบเบิ้ล
เข้าใจ พระคัมภีร์ ชีวิต และคำสั่งสอนของพระเยซูคริสต์ ตามลำดับ อย่างง่ายๆ
ตอบกลับโพส
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 9:22 pm

ประวัติศาสตร์แห่งพันธสัญญาใหม่พระกิตติคุณสี่เล่ม

พระกิตติคุณต่างกับหนังสือชีวประวัติทั่วไป เพราะไม่ใคร่พูดถึง 30 ปี แรกของพระเยซู แต่บรรยายถึงสัปดาห์สุดท้ายที่พระเยซูอยู่ในโลกอย่างละเอียดทั้งยังพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว ‘ ข่าวประเสริฐ ‘ (ในมาระโก 1:1) หมายถึง ‘ข่าวดี’ และพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มมุ่งเน้นถึงข่าวดีที่พระเยซูนำมายังโลกนี้ ทั้งคำสอนการรักษาโรค และเหนืออื่นใดคือเสรีภาพที่มนุษย์จะได้รับผ่านมาทางการสิ้นพระชนม์และการเป็นขึ้นจากตายของพระเยซู

30 ปีหลังการสิ้นและคืนพระชนม์ของพระเยซู อัครฑูตพากันประกาศข่าวดีนี้ด้วยวาจาขณะเดียวกันเริ่มมีการรวบรวมคำนอนและราชกิจของพระองค์ ในที่สุดบันทึกเหล่านี้บวกกับเรื่องที่อัครฑูตเล่าไว้ถึงพระเยซูได้ถูกรวบรวมเป็นพระกิตติคุณสี่ล่ม ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการประกาศของอัครฑูตยิ่งเวลาผ่านไปก็ยิ่งทวีความสำคัฯมากขึ้นเพราะสักขีพยานได้ล่วงลับไป

ผู้เขียนชีวประวัติจะเลือกเขียนเฉพาะเหตุการณ์บางอย่าง ผู้เขียนพระกิตติคุณก็เช่นกัน พวกเขาสนใจในบางประเด็นเป็นพิเศษ สามเล่มแรกมีเนื้อหาคล้ายกัน แต่ยอห์นเน้นในจุดที่ต่างออกไป เราขอบคุณพระเจ้าที่มีทั้งสี่เล่ม เพราะทำให้เห็นภาพพระเยซูอย่างสมบูรณ์ ซึ่งดีกว่ามีเพียงเล่มเดียว ทั้งสี่เล่มนี้มีความสำคัญเท่าเทียมกัน

1 มัทธิว ( Matthew )

ได้ชื่อว่า ‘พระกิตติคุณของชาวยิว’ เพราะเน้นจุดที่คริสเตียนยิวสนใจเป็นพิเศษ คือคำพายากรณ์ถึงพระเมสสิยาห์ที่สำเร็จในชีวิตพระเยซู ผู้ที่ชาวยิวตั้งตาคอย

เวลาที่เขียน
เล่มนี้มิได้เขียนขึ้นแรกสุด ดูเหมือนผู้เขียนใช้ข้อมูลอื่นกับของมาระโกเป็นแหล่งข้อมูลเช่นเดียวกับลูกา มีการถกเถียงกันถึงเวลาที่เขียน อาจราว ค.ศ. 60-80 คริสเตียนต้นศตวรรษที่ 2 เชื่อว่าผู้เขียนคือมัทธิวอัครฑูตผู้เคยมีอาชีพเป็นคนเก็บภาษี

เหตุการณ์สำคัญ
พระเยซูประสูติ 1 พระเยซูรับบัพติศมา 3 มารทดลองพระเยซู 4 พระเยซูจำแลงพระกาย 17 พระเยซูเข้าเยรูซาเล็ม 21 การไต่สวนและตรึงกางเขน 26-27 พระเยซูเป็นขึ้นจากตาย 28

ข้อความที่มีชื่อเสียง
คำเทศนาบนภูเขา 5-7 คำสอนเรื่องผู้เป็นสุข 5:3-12 รักศัตรู 5:43-48 คำอธิษฐานของพระเยซู 6:9-13 ลำดับความสำคัญก่อนหลัง 6:25-34 ขอ หา เคาะ 7:7-11 ประตูแคบ 7:13-14 บ้านสองแบบ 7:24-27 จงมาหาเราและหายเหนื่อย 11:28-30 อุปมาเรื่องผู้หว่านพืช 13 อุปมาเรื่องแผ่นดินพระเจ้า 13 คนยอมรับอันยิ่งใหญ่ของเปโตร 16:13-19 อุปมาเรื่องหญิงพรหมจารี 25 อุปมาเรื่องการพิพากษาสุดท้าย 25:31-46 พระมหาบัญชา 28:16-20

ใจความสำคัญ
สมควรแล้วที่จัดเป็นเล่มแรก เพราะเป็นสะพานเชื่อมพันธสัญญาเดิมกับใหม่ เล่มนี้ เน้นว่าพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์ผู้รับการเจิมที่พยากรณ์ทำนายถึง นี่อาจเป็นเหตุให้ได้รับความนิยมอย่าสูง และอีกสาเหตุหนึ่งคงเพราะมีโครงเรื่องและการจัดลำดับชัดเจน และมุ่นเน้นที่คำสอนของพระเยซู หัวข้อพิเศษหัวข้อหนึ่งคือคริสจักร ซึ่งเป็นชุมชนสำคัญยิ่งของสาวกพระเยซู

2. มาระโก ( Mark )


เป็นพระกิตติคุณที่เขียนเล่มแรกสุดรวบรัดที่สุด และเน้นเฉพาะพระราชกิจของพระเยซู เขียนขึ้นเพื่อให้คำพยานของคริสเตียนเกี่ยวกับพระเยซูมีน้ำหนักมากขึ้น

ผู้เขียนและเวลาที่เขียน
คริสเตียนสมัยแรกเชื่อว่ามาระโกเขียนเล่มนี้ เขาเป็นสาวกที่กิจการกล่าวถึง เป็นผู้มีส่วนร่วมในพระราชกิจตั้งแต่คริสตจักรยุคแรกในเยรูซาเล็ม ทั้งคำเล่าลือและในเนื้อความส่อว่ามาระโกได้รับข้อมูลของมัทธิวและลูกาอาจเขียนขึ้นที่โรมระหว่า ค.ศ. 60-70

เหตุการณ์สำคัญ
ยอห์นผู้ให้บัพติศมาเตรียมทาง 1 พระเยซูรับบัพติศมาและถูกทดลอง 1 เลือกอัครทูตสิบสองคน 3 เลี้ยงคน 5,000 คน 6 จำแลง 9 พระเยซูเข้าเยรูซาเล็ม 11 อาหารเมื้อสุดท้าย 14 ถูกจับกุม ไต่สวน และสิ้นพระชนม์ 14-15 พระเยซูเป็นขึ้นจากตาย 16

ใจความสำคัญ
มัทธิว เน้นที่พระเยซูเป็นอาจารย์ มาระโกเน้นว่าเป็นนักปฏิบัติ ข้อความส่วนใหญ่บรรยายถึงสิ่งที่พระองค์ได้กระทำ วลี ‘ในทันใดนั้น’ ปรากฎบ่อย ให้ภาพว่าอัครทูตเชื่องช้าในการเข้าใจว่าพระเยซูเป็นใคร (นี่ชี้ว่ามาระโกได้ข้อมูลจากเปโตร) พระเยซูตั้งพระทัยปิดซ่อนบทบาทพระมาสสิยาห์จากประชาชน เพราะพวกเขาอาจเข้าใจความหมายของบทบาทนั้นผิดเพี้ยนไป พระองค์จึงใช้ ‘ บุตรมนุษย์ ‘ แทน ตำแหน่งนี้มาจากนิมิตของดาเนียล จากฉากที่ที่เปโตรยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ในบทที่ 8 ก็วกมาที่การสิ้น และคืนพระชนม์ทันที ใจความสำคัญคือ ‘บุตรมนุษย์มาเพื่อจะประทานชีวิต…ให้เป็นค่าไถ่คนเป็นอันมาก ‘ (10:45)

3.ลูกา (Luke )

แท้จริงลูกากับกิจการเป็นสองภาคของเล่มเดียวกัน ลูกาบันทึก ‘ ความจริงทั้งหมด’ เกี่ยวกับชีวิตพระเยซู และเหตุการณ์ที่ตามมาโดยสัมภาษณ์สักขีพยาน เขียนขึ้นเพื่อผู้อ่านที่มิใช่ยิวโดยเฉพาะ

ผู้เขียนและวัตถุประสงค์
ตั้งแต่สมัยคริสตจักรยุคแรก เขาเป็นหมอชาวต่างชาติที่ร่วมเดินทางประกาศกับเปาโล เล่มนี้เขียนถึงเธโอฟีลัส (1:1) กิจการจบที่เปาโลถูกจำคุกที่โรม บางคนคิดว่าลูกาเขียนสองเล่มนี้เพื่อแก้คดีให้เปาโล จึงน่าจะเป็น ค.ศ. 64 แต่เราไม่รู้แน่ชัดอาจราว ค.ศ. 60-85

เหตุการณ์สำคัญ
ทูตสวรรค์แจ้งข่าวการประสูติ 1-2 พระเยซูรับบัพติศมาและถูกทดลอง 3-4 จำแลงพระกาย 9:28-36 พระเยซูเข้าเยรูซาเล็ม 19:28-40 อาหารมื้อสุด้าย 22:14-20 การไต่สวนและตรึงกางเขน 22-23 พระเยซูเป็นขึ้นจากตาย 24

ใจความสำคัญ
ลูกาเปิดฉากและจบลงในเยรูซาเล็มและเรื่องที่รู้จักกันทั่วไป ส่วนใหญ่เกิดขึ้นขณะพระเยซูเสด็จจากกาลิลีไปเยรูซาเล็มเป็นครั้งสุดท้ายส่วนกิจการเริ่มที่เยรูซาเล็มและจบลงที่โรม ซึ่งทำให้เห็นถึงใจความสำคัของลูกกาเด่นชัดคือพระเยซูมาปรากฎกับชาวยิวเป็นพวกแรก ซึ่งเป็นทายาทที่จะได้รับความรอดตามพระสัญญาแต่ชาวยิวปฏิเสธพระองค์ ความรอดจึงแพร่ไปทั่วโลก
เล่มนี้ได้บันทึกเรื่องพระเยซูสมบูรณ์ที่สุด ทั้งยังมีใจความสำคัญอื่น ๆ ด้วย เช่น ความรอดมีไว้สำหรับคนที่ทุกข์ใจ: คนเจ็บป่วย คนที่ถูกสังคมทอดทิ้ง คนที่หลงเจิ่น พระเยซูเป็นคนกันเองกับคนทุกประเภท และเป็นนักอธิษฐานที่เปี่ยมด้วยพระวิญญาณ
ลูกากล่าวถึงหลายเรื่องที่เล่มอื่นไม่ได้บันทึกเช่น บุตรน้อยหลงหาย คนสะมาเรียใจดี ฟาริสีกับคนเก็บภาษี ศักเคียส…

4. ยอห์น ( John )

ยอห์นต่างจากอีกสามเล่ม โดยเน้นถึงชีวิต พระเยซูอีกมุมหนึ่ง วัตถุประสงค์คือช่วยให้ผู้อ่านเชื่อว่า พระเยซูทรงเป็นพระคริสต์พระบุตของพระเจ้า(20:31)

ผู้เขียนและเวลาที่เขียน
ผู้เขียนใช้วลี ‘สาวกคนที่พระเยซูทรงรัก’ เรียกตัวเองโดยตลอด คริสเตียนสมัยแรกเชื่อว่าเป็นอัครฑูตยอห์น แม้เล่มนี้จะต่างจากพระกิตติคุณเล่มอื่น เราก็ไม่ควรทึกทักว่าเขียนขึ้นในสมัยหลัง ๆ ก่อนหน้านี้คิดว่าเขียนขึ้นราว ค.ศ. 90-100 แต่ปัจจุบันยอมรับว่าอาจเขียนขึ้นรวม ค.ศ. 60-100 ก็ได้

เหตุการณ์สำคัญ
พระเยซูที่งานแต่งงาน 2 หญิงที่บ่อน้ำ 4 พระเยซูเลี้ยงคน 5,000 คน 6 รักษาคนตาบอดแต่กำเนิด 9 ชุบลาซารัสฟื้นคืนชีพ 11 พระเยซูได้รับการชโลม 12 พระเยซูเข้าเยรูซาเล็ม 12 อาหารมื้อสุดท้าย 13 ถูกจับกุม ไต่สวนและสิ้นพระชนม์ 18-19 อุโมงค์ว่างเปล่า 20 พระเยซูปรากฎแก่โธมัส 20

ใจความสำคัญ
ยอห์นเปิดฉากด้วยวลีว่าตั้งแต่ปฐมกาล พระเยซูเป็น ‘ พระวาทะของพระเจ้า ‘ เป็นสื่อนำมนุษย์มารู้จักพระเจ้า ความคิดเรื่อง ‘พระวาทะของพระเจ้า ‘ ซึ่งฝังลึกทั้งในพันธสัญญาเดิมและความคิดของชาวกรีก เป็นการผสมผสานที่น่าคิด และเป็นลักษณะพิเศษของเล่มนี้ ผู้เขียนต้องการแนะนำพระเยซูต่อทั้งชาวยิวและคนที่คุ้นเคยกับความคิดแบบกรีก

ยอห์นใช้หมายสำคัญ 7 อย่างและพระดำรัส 7 ประการ ( ‘เราเป็น’ )มาเป็นโครงเรื่อง หัวข้อสำคัญได้แก่ ความสว่างชีวิตและความรักที่พระเยซูนำมาให้มนุษย์
จุดแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างยอห์นกับพระกิตติคุณอีกสามเล่มอยู่ที่สถานที่สามเล่มแรกบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกาลิลีส่วนใหญ่ แต่ยอห์นมุ่งเน้นเหตุการณ์ในเยรูซาเล็ม อีกอย่างหนึ่งคือลีลาการเขียนยอห์นไม่ได้บันทึกคำอุปมาแต่อย่างใด แต่บันทึกคำสนทนาของพระเยซูไว้ยืดยาวกว่าในมัทธิว มาระโกและลูกา อาจเป็นเพราะพระเยซูจำต้องใช้คำสอนอีประเภทหนึ่งกับชาวเยรูซาเล็ม ตลอดสองพันปีที่ผ่านมาเล่มนี้บรรลุตามเป้าหมายคือนำคนมหาศาลให้เชื่อว่าชีวิตนิรันดร์จะได้มาโดยเชื่อวางใจในพระเยซูอย่างเดียว

5. กิจการของอัครทูต ( Acts )

เล่มนี้ทำให้ประวัติศาสตร์พันธสัญญาใหม่สมบูรณ์ เริ่มจากพระเยซุเสด็จสู่สวรรค์พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาในวันเพ็นเทคอสต์ และคริสเตียนขยายตัวจาก 200 คนเป็นชุมนุมใหญ่ทั่วอาณาจักรโรมันข้อความสำคัญที่สุดคือ 1 : 8 ท่านทั้งหลายจะเป็นพยานฝ่ายเราในกรุงเยรูซาเล็ม ทั้งแคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรียและจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก’

ผู้เขียน เวลา และสถานการณ์
หมอลูกาเพื่อนชาวต่างชาติของเปาโลเขียนทั้งลูกาและกิจการ ในกิจการมีอยู่ตอนหนึ่งผู้เขียนเปลี่ยนสรรพนามจาก ‘เขา’เป็น’เรา’ อย่างกะทันหัน ซึ่งชี้ว่าเขาอยู่ในเหตุการณ์เมื่อได้พิจารณาดูเพื่อนร่วมทางของเปาโลอย่างละเอียดแล้ว เห็นชัดว่าผู้เขียนคือลูกาเขาอาจเป็นผู้เขียนพระคัมภีร์คนเดียวที่ไม่ได้เป็นยิว เขาเขียนกิจการได้ถูกต้องเฉกเช่นนักประวัติศาสตร์เลยทีเดียว ทำให้เรารู้ระบบการปกครองของอาณาจักรโรมันดีขึ้นทั้งหมดกินเวลาประมาณ 30 ปีเศษ จากวันเพ็นเทคอสต์ใน ค.ศ.30 จนถึงเปาโลถูกคุมตัวที่โรมราว ค.ศ. 61-63

เหตุการณ์สำคัญ
พระเยซูเสด็จสู่สวรรค์ 1 พระวิญญาณเสด็จมาในวันเพ็นเทคอสต์ 2 สเทเฟนแก้คดีและถูกฆ่าตาย 7 เซาโล (เปาโล) กลับใจ 9 เปโตรเห็นนิมิต 10 ประชุมสภาที่เยรูซาเล็ม 15 เปาโลถูกจับกุมและไต่สวน 21-25 เดินทางไปโรม 27-28

ใจความสำคัญ
กิจการบรรยายถึงการขยายตัว และการถูกข่มเหงของคริสตจักรยุคแรก
ใจความสำคัญคือคริสเตียนมิได้เป็นภัยกับเจ้าหน้าที่โรมัน ทุกครั้งที่เกิดการจลาจล ชาวยิวและชาวต่างชาติที่ต่อต้านคริสเตียนต่างหากเป็นผู้ก่อเหตุ แท้จริงศาสนาคริสต์คือ ศาสนายิวที่บรรลุผลสมบูรณ์ ชาวโรมันควรเล็งเห็นในจุดนี้

ลูกาชี้ชัดว่าพลังที่ทำให้คริสตจักรขยายตัวคือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ โดยมีเปโตรและเปาโลเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญฐานทัพแรกของงานประกาศแก่ชาวต่างชาติคือคริสตจักรอันทิโอก ไม่ใช่คริสตจักรเยรูซาเล็ม เรื่องที่ลูกาเล่าชี้ข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์สามารถเปลี่ยนชีวิตคนได้ กลุ่มคนธรรมดาที่เต็มด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์สามารถ ‘ คว่ำโลก’ ได้


+++++++++++++++++++++++++

พระกิตติคุณ= พระวรสาร

พระวิญญาณบริสุทธิ์ = พระจิต
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 9:25 pm

(ตอนที่ ๒ )

6. โรม ( Romans )

ในพันธสัญญาใหม่มีจดหมายฝากทั้งหมด 21 ฉบับ และมีถึง 13 ฉบับที่เชื่อกันว่าเปาโลเป็นผู้เขียน จดหมายฝากเหล่านี้ช่วยให้เราเห็นถึงความเชื่อ และชีวิตคริสตจักรสมัยแรกชัดเจน จดหมายฝากโรมมีอิทธิพลต่อผู้นำคริสตจักรอย่างมหาศาลตลอดประวัติศาสตร์ ฉบับนี้บรรจุข้อคิดอันมีเหตุมีผลถึงข่าวประเสริฐที่เปาโลประกาศ

เวลาที่เขียนและสถานการณ์
เปาโลอาจเขียนจดหมายนี้ขณะเดินทางไปโครินธ์ในกรีซเป็นครั้งที่สองราว ค.ศ. 57
เขาวางแผนที่จะไปเยี่ยมคริสเตียนโรม จึงเขียนถึงความเชื่อของเขาเพื่อปูทางไปโรม แม้จะมีอุปสรรคมาตลอด แต่ในที่สุดเขาก็ไปถึงโรมในฐานะนักโทษ ฉบับนี้บ่งชี้ว่าคริสตจักรโรมก้าวหน้าและเป็นปึกแผ่น

7. 1 โครินธ์ ( 1 Corinthains )

เปาโลเป็นผู้ก่อตั้งคริสตจักรโครินธ์ เขาเศร้าเสียใจมากเมื่อได้ยินว่ามีความแตกแยก ความขัดแย้งและการล่วงประเวณีเกิดขึ้น ในจดหมายนี้เขาตอบปัญหาและคำถามเหล่านี้ทีละประเด็น

เวลาและสถานที่ที่เขียน
เปาโลอยู่โครินธ์ 18 เดือนในปี ค.ศ. 50-51 หลังจากนั้นไม่นาน ขณะพบความลำบากที่เอเฟซัส เขาได้ข่าวไม่ดีถึงคริสตจักรโครินธ์ จึงเขียนจดหมายนี้ราว ค.ศ. 54-57

ใจความสำคัญ
คริสเตียนโครินธ์เป็นกลุ่มที่ปะปนกันด้านเชื้อชาติและฐานะทางสังคม เมืองโครินธ์เป็นทางผ่านของเส้นทางการค้าหลายสาย ดังนั้นจึงมีคนทุกประเภทอาศัยอยู่ในนั้น ผลลัพธ์อันหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือศีลธรรม เสื่อมซึ่งกระทบถึงคริสเตียนบางคนด้วย ส่วนคริสเตียนอีกกลุ่มหนึ่งก็ตกเป็นเหยี่อของความเย่อหยิ่งฝ่ายจิตวิญญาณ เปาโลจึงต้องหาทางช่วยคนธรรมดา ๆ ที่ย่อมผิดพลาดได้ให้มีชีวิตใหม่ซึ่งต่างจากวิถีชีวิตเดิมราวฟ้ากับดิน คริสเตียนทุกยุคสมัยต้องเผชิญกับปัญหาอย่างเดียวกันนี้ เปาโลให้หลักเกณฑ์ชีวิตที่ถูกต้องในทุกกรณี เพื่อพวกเขาจะมีชีวิตสมกับเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเรียกให้ติดตามพระเยซูคริสต์

8. 2. โครินธ์ ( 2 Corithain )

ฉบับนี้เผยถึงความรู้สึกส่วนลึกของเปาโลมากกว่าฉบับอื่น ๆ เปาโลห่วงคริสตจักร ใหม่นี้อย่างสุดซึ้ง และเปิดอกพูดถึงความทุกข์ยากและความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในการเป็นผู้รับใช้พระคริสต์

เวลาและเหตุผลที่เขียน
ฉบับนี้อาจเขียนหลัง 1 โครินธ์สักปีสองปีที่แคว้นมาซิโดเนียนตอนเหนือของกรีซ ซึ่งมีฟีลิปปีเป็นเมืองหลวง ดูเหมือนคำขอร้องในฉบับแรกไม่ได้ผล เขาจึงส่งจดหมายไปอีกฉบับหนึ่ง ในที่สุดทิตัสได้รายงานว่าคริสเตียนขาวโครินธ์ตอบสนองคำขอร้องของเปาโลแล้ว เขาจึงเขียนฉบับนี้ขึ้นเพื่อแสดงความดีใจ แต่ยังต้องย้ำถึงสิทธิในการตักเตือนในจุดที่จำเป็นในบทที่ 10-13 อีก

ใจความสำคัญ
จุดใหญ่ของฉบับนี้อยู่ที่คำสอนถึงคุณสมบัติของผู้รับใช้พระคริสต์ ซึ่งจำเป็นยิ่งสำหรับคริสเตียน นี่มิใช่ให้ทำตามกฏบัญญัติ แต่ความมีประสิทธิภาพมาจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ และเป้าหมายของการรับใช้คือการนำคนมาคืนดีกับพระเจ้าผ่านทางพระคริสต์ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทั้งหญิงชายจะกลายเป็นคนใหม่(5:17) และจะได้รับกำลังจากพระเจ้าในการดำเนินชีวิตใหม่หมดทุกด้าน

9. กาลาเทีย ( Galetians )

ฉบับนี้เขียนขึ้นเพื่อคัดค้านความคิดผิดเพี้ยนที่ส่งผลเสียหายยิ่งคือ คริสเตียนยิวบางคนยืนกรานว่าคนที่จะได้รับความรอด จำต้องเข้าสุหนัตและทำตามพระบัญญัติของโมเสส ซึ่งเปาโลเห็นว่าเป็นอันตรายต่อพื้นฐานความเชื่อคริสเตียนอย่างมาก

เวลาที่เขียน
อาจเขียนขึ้นก่อนประชุมสภาที่เยรูซาเล็มในประชุมนั้นอภิปรายถึงประเด็นสำคัญของจดหมายนี้ ฉบับนี้จึงควรเขียนขึ้นราว ค.ศ.47-48 และเป็นฉบับแรกของเปาโล แต่ปัญหานี้อาจยังไม่ได้รับการแก้ไข เปาโลจึงเขียนฉบับนี้หลังประชุมสภาหลายปี อาจใกล้ช่วงที่เขียนจดหมายโรมในค.ศ. 54-57 (เพราะพูดเรื่องเดียวกัน) แคว้นกาลาเทียอาจเป็นตุรกีตอนเหนือ (นี่บ่งชี้ว่าเขาเขียนฉบับนี้ภายหลังเพราะเขาไม่เคยไปแถบนั้นก่อน ค.ศ. 48) หรือไม่ก็หมายถึงบริเวณกว้างขวางที่รวมถึงอันทีโอกในแคว้นปิสิเดียและลิสตราที่กล่าวถึงในกิจการ

ข้อความที่มีชื่อเสียง
ดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อ 2:19-21 เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในพระเยซู 3:28 พระเจ้าส่งพระบุตรมา 4:4-5 เสรีภาพ 5:1 ผลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ 5:22-23

บทเรียนสอนใจ
เปาโลยืนกรานว่าความรอดมิใช้ได้มาด้วยการรักษาบัญญัติ เหตุที่เขาย้ำนักย้ำหนาก็เพราะการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูได้ทำให้เงื่อนไขทั้งหมดที่เปิดทางให้มนุษย์คืนดีกับพระเจ้าบรรลุผล เปาโลจึงถือสิทธิ์อัครทูตประณามคำสอนที่ทำลายข่าวประเสริฐที่ว่ารอดได้โดยความเชื่อในพระคริสต์เท่านั้น


10. เอเฟซัส ( Ehesians )

ชี้ถึงแผนการพระเจ้าที่จะรวบรวมทุกสิ่งไว้ในพระคริสต์ผู้เป็นประมุข พระเจ้าต้องการให้เป้าหมายนี้สัมฤทธิผลในคริสตจักร การใช้ชีวิตร่วมกันในคริสตจักรจึงสำคัญยิ่งยวด

เวลาที่เขียนและผู้รับจดหมาย
เปาโลเขียนขณะถูกจำคุกที่โรมราวค.ศ. 62 (รวมฟีลิปปี โคโลสี ฟีเลโมน) เพื่อเวียนถึงคริสตจักรรอบเอเฟซัสซึ่งปัจจุบันคือตุรกี

ข้อความที่มีชื่อเสียง
แผนการอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า 1:9-12
‘รอดโดยพระคุณเพราะความเชื่อ’ 2:8-10
อธิษฐานขอความรัก 3:14-21
ถึง ความไพบูลย์ของพระคริสต์ 4:12-16
มาตรฐานสูงสำหรับชีวิตสมรส 5:21-33
สวม ยุทธภัณฑ์ทั้งชุดของพระเจ้า 6:10-17

บทเรียนสอนใจ
ทุกสิ่งรวมอยู่ ในพระคริสต์ นี่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของจดหมายเปาโล แนวคิดนี้คงก่อตัวขึ้นในช่วงที่ถูกจำคุก เขาชี้ให้เห็นว่าความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในคริสตจักร ทั้งระหว่างยิวกับต่างชาติในชีวิตสมรส ในครอบครัว และในที่ทำงานพระเจ้าจะใช้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ทำให้แผนการของ พระองค์บรรลุผลสำเร็จ
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 9:27 pm

(ตอนที่ ๓ )

11. ฟีลิปปี ( Philippians )

ฉบับนี้เต็มไปด้วยความรักและความปีติยินดี

เวลาที่เขียนและผู้รับจดหมาย
ฟีลิปปีเป็นคริสตจักรแรกที่เปาโลตั้งขึ้นในยุโรป ดูเหมือนลูกาเพื่อนร่วมทางเปาโล ใกล้ชิดคริสตจักรนี้มาก ฟีลิปปีเป็นเมืองโรมันทางเหนือของกรีซ เชื่อกันว่าฉบับนี้เขียนขึ้นขณะเปาโลถูกจำคุกในโรมราวค.ศ.62 หรือ ค.ศ. 54 ที่เขาถูกจำคุกที่เอเฟซัส

ใจความสำคัญ
เปาโลมีเหตุผลพิเศษที่เขียนฉบับนี้: เพราะเขาได้รับของขวัญจากคริสเตียนชาวฟีลิปปีและอยากฝากฝังเอปาโฟรดิทัส ทั้งยังฉวยโอกาสชื่นชมในความเติบโตของพวกเขา แม้เปาโลรู้ดีว่าความตายคืบคลานมาใกล้แต่คำ “ชื่นชมยินดี” ปรากฏในฉบับนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า การที่ความตายเฉียดเข้ามานี้ทำให้เปาโลทบทวนลำดับความสำคัญก่อนหลังในชีวิตอีกครั้ง และยึดมั่นในสิ่งสำคัญที่สุด

12. โคโลสี ( Colossians )

จุดใหญ่คือความยิ่งใหญ่สุงสุดของพระเยซู ซึ่งมีผลกระทบถึงทุกสิ่งที่เปาโลเขียน

เวลาที่เขียนและผู้รับจดหมาย
เปาโลเขียนในช่วงถูกจำจองที่โรมราวค.ศ. 62 พร้อมกับเอเฟซัส ฟีลิปปี และฟีเลโมน เขาไม่เคยไปโคโลสีซึ่งไกลทะเลกว่าเอเฟซัส(สองเมืองนี้อยู่ทางตะวันตกของตุรกี) แต่เปาโลรู้ข่าวคริสตจักรจากเอปาฟรัสผู้ก่อตั้ง ซึ่งอาจรับเชื่อในช่วงที่เปาโลอยู่ที่เอเฟซัส

ใจความสำคัญ
ขณะถูกจำจองที่โรม เปาโลครุ่นคิดถึงแต่ความยิ่งใหญ่ของพระคริสต์ซึ่งเป็นใจความสำคัญของทั้งเอเฟซัสและโคโลสี ในฉบับนี้ เขามีเหตุผลพิเศษในการจดจ่ออยู่กับเรื่องนี้ เพราะเอปาฟรัสบอกเขาถึงความผิดมหันต์ของคริสเตียนโคโลสี ผู้คิดว่าตนมีความรู้ล้ำลึก ซึ่งลดความสำคัญในการเป็น ‘ผู้กลาง’ แต่ผู้เดียวระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ของพระเยซู พวกเขาจึงตกเป็นทาสกฎเกณฑ์
เปาโลมิได้โต้แย้งในรายละเอียด แต่ยืนยันว่า พระเยซูคริสต์ผู้เดียวเพียงพอจะนำเราคืนดีกับพระเจ้า และทรงชี้ทางชีวิตให้เรา’เพราะว่าในพระองค์นั้นสภาพของพระเจ้าดำรงอยู่อย่างบริบูรณ์’ (2:9)


13. 1 เธสะโลนิกา ( 1 Thessalonians )

น้ำเสียงเปาโลเต็มด้วยการหนุนน้ำใจเพราะได้รับความชูใจจากความเชื่อของพวกเขาจึงหนุนใจพวกเขาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

เวลาที่เขียนและผู้รับจดหมาย
ในการเดินทางครั้งที่ 2 เปาโล สิลาส ทิโมธี ไปเธสะโลนิกา เมืองหลวงของมาซิโดเนีย แต่อยู่ได้ไม่นานเพราะถูกขับไล่ เปาโลไม่รู้ข่าวผู้กลับใจจากคำเทศนาของเขาจนทิโมธี ได้นำข่าวดีมาบอกที่โครินธ์ใน ค.ศ. 50-51 เขาเขียนจดหมายนี้ทันที ซึ่งอาจเป็นฉบับแรกสุดของเขา ถ้ากาลาเทียเขียนขึ้นทีหลัง

บทเรียนสอนใจ
ข่าวดีที่ว่าคริสเตียนเธสะโลนิกาเติบโตเร็วในพระคริสต์หลังจากได้รับคำสอนแค่ระยะสั้น ๆ นำความยินดีมาให้เปาโล เปาโลย้ำให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป พวกเขามีคำถามสำคัญ คือ พระเยซูจะเสด็จกลับมาอีกในลักษณะไหน ซึ่งเป็นหลักคำสอนของคริสตจักรสมัยแรก เปาโลอ้างถึงคำสอนของพระเยซูในเรื่องนี้ และห้ามไม่ให้พวกเขาเดาสุ่ม ทั้งยังแนะนำให้รักษาชีวิต’ให้ปราศจากการติเตียนจนถึงวันที่พระเยซูคริสตเจ้าของเราเสด็จมา’ (5:23) ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไรก็ตาม

14.2. เธสะโลนิกา( 2 Thessalonians )

คริสเตียนเธสะโลนิการเข้าใจผิดในสิ่งที่เปาโลเขียนถึงการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระคริสต์ในฉบับแรก เขาจึงเขียนอีกฉบับหนึ่ง เพื่อให้รายละเอียดของสิ่งที่จะเกิดขึ้น

บทเรียนสอนใจ
เปาโลอาจเขียนหลังฉบับแรกไม่นาน (ดูเวลาที่เขียน 1 เธสะโลนิกา) ดูเหมือนคริสเตียนที่นั่นสับสนกับการเสด็จกลับมาของพระเยซู ซึ่งอาจเป็นผลจากจดหมายปลอมของพวกตกขอบ(2:2) ที่คิดว่าพระคริสต์เสด็จกลับมาแล้ว แต่เปาโลอธิบายว่ายุคชั่วร้าย (โดยเฉพาะ’คนนอกกฎหมายนั้น’) ต้องมาก่อนเขาย้ำอีกว่า คริสเตียนที่คอยพระคริสต์กลับจำต้องรักษาชีวิตไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง

15. 1 ทิโมธี ( 1 Timothy )

ตอนแรกที่เปาโลเลือกทิโมธีร่วมงาน เขายังเป็นหนุ่มขี้อาย แต่บัดนี้เขามีหน้าที่การงานมากมาย ฉบับนี้ชี้ว่าเขาเป็นผู้นำคริสตจักรเอเฟซัส เปาโลจึงแนะนำและหนุนใจเขาเรื่องการรับใช้พระเยซูคริสต์

เวลาที่เขียน
1,2 ทิโมธีและทิตัสได้ชื่อว่า’ จดหมายของศิษยาภิบาล’ ซึ่งมีหัวข้อและลีลาการเขียนคล้ายคลึงกัน เหตุการณ์บางอย่างที่พาดพิงถึงไม่ค่อยตรงกับในกิจการ เพราะจดหมายเหล่านี้พูดเป็นนัยว่าเปาโลถูกปล่อยตัวจากการถูกกักบริเวณที่โรมและเดินทางประกาศต่อ แล้วถูกจับอีก (เหตุการณ์ใน 2 ทิโมธี) บางคนจึงคิดว่าเปาโลมิได้เขียนฉบับเหล่านี้ แต่ผู้อื่นเขียนขึ้นภายหลัง โดยใช้งานเขียนของเปาโล แต่คำสอนในจดหมายเหล่านี้สอดคล้องกับฉบับอื่น ๆ ของเปาโล

ใจความสำคัญ
ผู้นำคริสตจักรมักเห็นคุณค่าจดหมายศิษยาภิบาลเป็นพิเศษ ซึ่งมุ่งเน้นบุคลิกภาพผู้รับใช้พระเจ้า และสอนถึงการวางตัวอันเหมาะสมกับคนทุกกลุ่มในคริสตจักร ผู้เขียนยังแนะวิธีดีที่สุดในการยับยั้งคำสอนเท็จคือให้สอนหลักข้อเชื่อคริสเตียนอย่างครบถ้วน
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 9:30 pm

( ตอนที่ ๔ )

16. 2 ทิโมธี( 2Timothy )

ขณะคอยความตายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกนาที เปาโลหนุนใจทิโมธีให้พากเพียรในการรับใช้โดยดูชีวิตของเปาโลเองเป็นตัวอย่าง

เวลาที่เขียน
ถ้าเปาโลเป็นผู้เขียน นี่ก็เป็นฉบับสุดท้านของเขา เวลานั้นเขาถูกจองจำที่โรม และเล่ากันว่าเขาถูกประหารที่นั่น ซึ่งเป็นช่วงที่จักรพรรดินีโรข่มเหงคริสเตียนราว ค.ศ. 64

บทเรียนสอนใจ
ตลอดเวลาที่เปาโลรับใช้พระคริสต์ เขาต้องฝ่าฟันมากมาย แต่เขาเล็งเห็นว่าผู้รับใช้พระเจ้ารุ่นหลังรวมทั้งทิโมธีจะต้องเผชิญภาระหนักยิ่งกว่านั้น ทว่าเขามิได้เสียใจที่มารับใช้พระเจ้า แถมจิตใจยังเต็มไปด้วยการขอบพระคุณ คำแนะนำที่ให้ทิโมธีทั้งลึงซึ้งฝ่ายวิญญาณและใช้การได้ดีทีเดียว


17. ทิตัส ( Titus )

เขียนถึงผู้นำคริสตจักรครีต หลังยุคอัครทูตคริสตจักรใหม่ๆ จะเติบโตแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้นำ เปาโลจึงให้คำแนะนำแก่ทิตัสอย่างสุดความสามารถ

เวลาที่เขียน
ทิตัสเป็นหนึ่งในจุดหมายศิษยาภิบาล แต่ไม่ใช่ฉบับล่าสุดที่เขียนขึ้น (ดู 1 ทิโมธี)

บทเรียนสอนใจ
ฉบับนี้เน้นคุณสมบัติ-ภารกิจผู้นำคริสตจักรเช่นเดียวกับ 1 ,2 ทิโมธี ในคำสอนที่ถี่ถ้วนนี้ เราพบข้อความอันชัดเจนงดงามเกี่ยวกับข่าวประเสริฐที่เปาโลประกาศ (3:4-7 )

18. ฟีเลโมน ( Philemon )

เอปาฟรัสอาจถือจดหมายสั้นๆ และเป็นส่วนตัวฉบับนี้พร้อมกับจดหมายโคโลสีขณะกลับจากการไปเยี่ยมเปาโลที่ถูกกักบริเวณในโรม

ฟีเลโมนเป็นผู้นำของคริสตจักรโคโลสีโอเนสิมัสทาสของเขาหนีไปโรม และกลับใจเมื่อพบเปาโล เปาโลส่งตัวเขากลับพร้อมกับจดหมายที่เต็มไปด้วยความห่วงใย และฉลาดฉบับนี้ เปาโลฝากเขากับนายเก่าผู้ใจกว้างในฐานะเป็นพี่น้องคริสเตียนด้วยกัน
เปาโลไม่เคยประณามระบบทาสอย่างโจ่งแจ้งเพราะเรื่องนี้แพร่ทั่วอาณาจักรโรมัน แต่มักพูดเป็นนัย ๆ ว่าระบบนี้ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะฉบับนี้ เราจะกุมชีวิตผู้อื่นอย่างไรได้ ยิ่งเป็นคริสเตียนด้วยแล้วยิ่งไม่สมควรทำ

19. ฮีบรู ( Hebrews )

ใจความของฮีบรูคือพระเยซูได้ทำให้เรื่องที่เริ่มในพันธสัญญาเดิมนั้นบรรลุผลสมบูรณ์เล่มนี้เต็มด้วยข้ออ้างอิงจากพันธสัญญาเดิม

ผู้เขียน เวลาที่เขียน และผู้รับ
นี่เป็นเล่มลี้ลับเพราะไม่รู้ชื่อผู้เขียน หลายร้อยปีที่ผ่านมาเชื่อกันว่าเปาโลเป็นผู้เขียน แต่ปัจจุบันไม่คิดอย่างนั้น เนื่องจากลีลาการเขียนและแนวคิดต่างจากของเปาโลมาก แม้จะมีทฤษฏีที่น่าสนใจหลายอย่าง แต่ก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าใครเป็นผู้เขียน
เห็นได้ชัดว่าเขียนถึงคริสเตียนยิว แต่พวกเขาอาศัยอยู่ทีไหนกัน มีเค้าว่าไม่ใช่ในเยรูซาเล็ม บางคนว่าโรม ทว่ายังไม่แน่ชัด

มีปัจจัยหนึ่งชี้ว่าอาจเขียนขึ้นในคริสตจักรสมัยแรกเพราะไม่ได้กล่าวถึงเรื่องที่ชาวโรมันทำลายพระวิหารในค.ศ. 70 ซึ่งตามหัวข้อในเล่มนี้ย่อมต้องกล่าวถึงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้าเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเล่มนี้อาจเขียนขึ้นก่อนหน้านั้น

ใจความสำคัญ
คริสเตียนยิวที่ได้รับจดหมายนี้กำลังเผชิญการข่มเหง และคิดกลับไปถือศาสนายิวอีก ผู้เขียนเกลี้ยมกล่อมให้สู้ต่อไป โดยชี้ว่าพระเยซูยิ่งใหญ่กว่าทุกสิ่งที่ระบุในพันธสัญญาเดิม แท้จริงพระเยซูได้ทำให้ทุกสิ่งที่พันธสัญญาเดิมเล็งถึงนั้นบรรลุผล ผู้เขียนยังยกวีรบุรุษแห่งความเชื่อในพันธสัญญาเดิมมาเป็นตัวอย่างว่าเขาเหล่านั้นต่างทุกข์ทรมารและพระเยซูเองก็ทนทุกข์ทรมารและพระเยซูเองก็ทนทุกข์ยิ่งกว่าใครหมด ถ้าปฏิเสธพระคริสต์จะถูกพิพากษา ฉบับนี้เชื่อมพันธสัญญาใหม่กับเดิมอย่างกลมกลืน และย้ำถึงความเป็นเอกภาพของพระคัมภีร์

20. ยากอบ (James )

เน้นถึงความสำคัญที่คริสเตียนจำเป็นต้องมีมาตรฐานสูงด้านความประพฤติ คล้ายคลึงกับคำเทศนาบนภูเขามากกว่าเล่มอื่นด ๆ ในพันธสัญญาใหม่ และเป็นเสียงสะท้อนของสุภาษิตในพันธสัญญาเดิม

ผู้เขียนและผู้รับ
เขียนถึง ‘คนสิบสองเผ่าที่กระจัดกระจายอยู่นั้น’(1:1) ไม่รู้แน่ชัดว่าฉบับนี้ใช้ในโอกาสอะไร อาจเขียนขึ้นกลางศตวรรษที่ 1

ทั้งไม่รู้ว่าผู้เขียนคือยากอบคนไหนแน่ แต่คาดว่าเป็นยากอบน้องชายพระเยซูผู้นำคริสตจักรเยรูซาเล็มที่กล่าวในกิจการ เขาเห็นพระเยซูหลังคืนพระชนม์ (1 โครินธ์)

ใจความสำคัญ
เน้นว่าความจริงจังกับพระเจ้าควรส่งผลถึงชีวิตทุกด้าน คริสเตียนไม่ควรตีสองหน้าแต่ควรคงเส้นคงวาทั้งในการอธิษฐาน การเชื่อฟังคำสอน มิใช่แค่ฟังเป็นความรู้ในสมองแต่ควรออกมาทางการประพฤติ ควรควบคุมลิ้นและเลี่ยงความอยุติธรรมทางสังคมและเงินทาอง ใน 5:14-16 กล่าวสั้นๆ แต่มีพลังเกี่ยวกับการหายโรคของคริสเตียน
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 9:32 pm

(ตอนที่๕)

21 1เปโตร (1 Peter )

เตรียมใจคริสเตียนให้พร้อมกับการข่มเหงที่จะมาถึง เล่มนี้เต็มด้วยความหวังกำลังใจ

ผู้เขียนและเวลาที่เขียน
เปโตรอาจเขียนที่โรม(‘บาบิโลน’ 5:13) ในช่วงนี้โรมข่มเหงคริสเตียนในค.ศ. 64 เพื่อส่งไปให้คริสเตียนในตุรกีภาคเหนือ-ตะวันตก

ใจความสำคัญ
ฉบับนี้เต็มด้วยความชื่นชมยินดีในความเป็นคริสเตียนซึ่งความทุกข์มิอาจทำให้สั่นคลอนได้ เขามั่นใจในเรื่องที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ ทรงคืนพระชนม์และจะเสด็จกลับมาอีกครั้ง ทั้งเชื่อมั่นว่า ความทุกข์เป็นดุจเบ้าหลอมที่หล่อหลอมความเชื่อให้บริสุทธิ์ เขาไม่เพียงแต่ห่วงใยในเรื่องที่คริสเตียนต้องสู้ทนความทุกข์เท่านั้น แต่กำชับให้ฉวยโอกาสหยั่งรากลึงลงในชีวิตฝ่ายวิญญาณด้วย

22 2 เปโตร ( 2 Peter )

เขียนเพื่อต่อต้านคำสอนเท็จที่ว่าคริสเตียนไม่จำเป็นต้องดำเนินตามหลักจริยธรรม และพระเยซูคริสต์จะไม่เสด็จกลับมาอีก

ผู้เขียนและเวลาที่เขียน
ระบุว่าผู้เขียนคือซีโมน เปโตร แต่บางคนสงสัยว่ามิใช่อัครทูตเปโตร และทึกทักว่าเขียนขึ้นหลังปลายศตวรรษที่ 1 เพราะสังเกตว่าลีลาการเขียนและแนวคิดต่างจาก 1 เปโตรมาก คริสตจักรยุคแรกใช้เวลานานกว่าจะยอมรับฉบับนี้ บทที่ 2 ของ 2 เปโตร เหมือนกับยูดา แต่ข้อความใน 1:16-18 ที่พาดพิงถึงการจำแลงพระกายของพระเยซูยืนยันว่าเปโตรเป็นคนเขียน

บทเรียนสอนใจ
เน้นให้รู้จักพระเจ้าและดำเนินชีวิตสมกับเป็นคนที่คอยการเสด็จกลับมาของพระเยซู ซึ่งเป็นเสมือนยาแก้พิษคำสอนเท็จที่ทำลายความเชื่อคริสเตียนผู้รับจดหมายฉบับนี้

23 1 ยอห์น ( 1 John )

เขียนถึงคริสเตียนที่สับสนกับคำสอนเท็จและช่วยให้มั่นใจมากขึ้นโดยแนะนำวิธีทดสอบชีวิตคริสเตียนแท้สามประเด็นด้วยกัน

ผู้เขียนและเวลาที่เขียน
แนวคิดและวิธีการโต้แย้งคล้ายพระกิตติคุณยอห์นมาก จึงเชื่อกันว่าอัครทูตยอห์นเป็นผู้เขียน แต่ไม่รู้ชัดว่าเล่มไหนเขียนขึ้นก่อนกัน และผู้รับจดหมายเป็นใคร

ใจความสำคัญ
ช่วยคริสเตียนให้มีความเชื่อมั่นคง(5:3) คำสอนเท็จมักทำให้สับสนเสมอ ยอห์นใหครให้คริสเตียนมีความเชื่อชัดเจนทั้งในความคิดจิตใจ วิธีทดสอบสามอย่างในฉบับนี้ชี้ชัดถึงธาตุแท้ของคำสอนเท็จ ซึ่งใช้ได้ทุกสมัย ผู้ที่อ้างตัวเป็นคริสเตียนนั้นมีชีวิตบริสุทธิ์ซื่อตรงหรือเปล่า(1:5-10) เขาแสดงความรักแท้แบบคริสเตียนหรือเปล่า(4:7-12) และเชื่อว่าพระเยซูเป็นทั้งบุตรพระเจ้าและมนุษย์หรือเปล่า (4:2-3) โครงเรื่องมิได้เรียงลำดับขั้นตอนชัดเจนเหมือนพระกิตติคุณยอห์น ผู้เขียนระบุวิธีทดสอบสามอย่างจากแง่มุมต่างกันกลับไปกลับมา

24.-25 2 และ 3 ยอห์น ( 2,3 John )

สองฉบับนี้เป็นเล่มที่สั้นที่สุดในพระคัมภีร์เห็นชัดว่าเป็นคนเดียวกับผู้เขียน 1 ยอห์นหนังสือ 2 ยอห์นเขียนถึง’ท่านสุภาพสตรีและบรรดาบุตรของท่าน’ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่กล่าวถึง ‘คริสตจักรและสมาชิก’ เล่มนี้มุ่งเน้นเรื่องความรัก และพาดพิงถึงคำสอนเท็จเช่นเดียวกับ 1 ยอห์น ส่วน 3 ยอห์นเขียนถึงกายอัสผู้นำคริสตจักร เพื่อชมเชยเขาและตักเตือนเกี่ยวกับเรื่องคนในท้องถิ่นคนหนึ่งที่ชอบบงการและสร้างปัญหา


26 ยูดา ( Jude )

เขียนโดยยูดาน้องชายพระเยซู เพื่อหนุนใจคริสเตียนให้ต่อต้านผู้สอนเท็จ เนื้อความคล้าย 2 เปโตร บทที่ 2 อ้างอิงจากพันธสัญญาเดิมและวรรณกรรมยิวหลายเล่ม

27.วิวรณ์ ( Revelation )

เล่นนี้ต่างกับเล่มอื่นๆ ในพันธสัญญาใหม่นิมิตต่างๆ ล้วนให้ภาพชัดเจนถึงชัยชนะ สุดท้ายของพระเยซูคริสต์เหนืออำนาจทั้งหมดที่ต่อต้านพระเจ้า

ผู้เขียนและเวลาที่เขียน
เขียนในช่วงที่คริสเตียนถูกข่มเหง อาจในสมัยจักรพรรดิโดมิเทียนปลายศตวรรษที่ 1 ผู้เขียนคือยอห์นซึ่งถูกคุมตัวที่เกาะปัทมอส ทะเลอีเจียน ส่วนใหญ่คิดว่าเป็นคนเดียวกับอัครทูตยอห์นที่เขียนพระกิตติคุณและจดหมาย 3 ฉบับ แต่อาจไม่ใช่ก็ได้

ใจความสำคัญ
เป็นหนังสือทำนายอนาคต ใจความควรดึงจากภาพรวมๆ ของนิมิตทั้งหมดแทนที่จะจดจ่อที่รายละเอียดของแต่ละนิมิต ถ้อยคำที่ว่าพระเจ้าทรงมีอำนาจเด็ดขาดสูงสุดชูใจ คริสเตียนที่ถูกข่มเหงตลอดประวัติศาสตร์ไม่ว่าผู้ข่มเหงจะอำนาจมากสักแค่ไหนแต่พระเจ้าจำกัดวันเวลาไว้แล้ว เล่มนี้บ่งชี้ว่าพระคริสต์ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนของพระองค์โดยประทานคำเล้าโลมใจทั้งท้าทายและติเตียน ภาพสุดท้ายคือพระเยซูคริสต์ทรงพิชิตศัตรู แก้แค้นแทนคนของพระองค์ ความชั่วและความเจ็บปวดถูกขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิง
:+: seraphim :+:
~@
โพสต์: 7624
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 23, 2005 9:49 pm
ที่อยู่: Pattaya Chonburi

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 10:48 pm

:-* :-* ขอบคุณพี่พีพีรอบ 2 ค่ะ :-* :-*
ภาพประจำตัวสมาชิก
-Rei-
โพสต์: 1015
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. มิ.ย. 09, 2005 8:31 pm
ติดต่อ:

พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2005 11:45 pm

มากลิ้งตัวอย่างดีใจ ;D
พระเจ้าสถิตย์กับเราเสมอ
~@
โพสต์: 2546
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 10:54 pm

ศุกร์ ส.ค. 05, 2005 1:30 am

ขอบคุณครับ :D แบ่งอ่านได้ตามสภาพจิตใจง่ายขึ้นเลยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
nipon_m
~@
โพสต์: 177
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร เม.ย. 12, 2005 6:18 pm

ศุกร์ ส.ค. 05, 2005 8:41 am

ขอบคุณครับพี่พีพี ความรู้ในเรื่องนี้ผมมีน้อยนิด แต่พี่ก็ทำให้ผมได้เข้าใจในระยะเวลาอันสั้นได้เป้นอย่างดีครับ
Buddy
โพสต์: 3057
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 09, 2005 10:48 am
ที่อยู่: USA

ศุกร์ ส.ค. 05, 2005 10:07 pm

Thank you so much!! This helps me a lot!! :-*
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

พุธ ส.ค. 24, 2005 8:48 pm


เชิญพี่ 13 ธุดงค์ เบิ่งคร้าบบ
8)
ภาพประจำตัวสมาชิก
~@Little lamb@~
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 9396
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:00 pm
ติดต่อ:

พุธ ส.ค. 24, 2005 11:09 pm

*no1 เจี๊ยบขยันขันแข็งดีจ๊ะ
Joseph
โพสต์: 2182
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 27, 2005 6:31 am

พุธ ส.ค. 24, 2005 11:21 pm

เจี๊ยบขยันนำทางดีจังเลย จี๊บๆๆๆ :)

ด้วยรักในพระคริสต์
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

จันทร์ ก.ค. 03, 2006 4:21 pm

ดัน ขึ้นมาให้พี่ NIPPON อ่านขอรับ 8)
Nativity
โพสต์: 766
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 15, 2005 3:31 pm
ที่อยู่: Peace in sinner

อังคาร ก.ค. 04, 2006 8:44 pm

;D
ภาพประจำตัวสมาชิก
yuki
โพสต์: 681
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 01, 2006 5:02 am

อังคาร ก.ค. 04, 2006 9:53 pm

ขอบคุณมากเลยคับ เป็นความรู้ที่เพิ่มขึ้นมาอีกส่วนสำหรับผม
Thai_DeSeRT

จันทร์ มี.ค. 26, 2007 4:40 pm

................



แล้วใช้พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับไหนกันบ้างครับนี่



.............
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

จันทร์ มี.ค. 26, 2007 11:15 pm

Thai_DeSeRT เขียน: ................



แล้วใช้พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับไหนกันบ้างครับนี่



.............
มันมีอยู่ฉบับเดียวอ่ะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Florian
โพสต์: 1513
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ พ.ค. 31, 2006 12:05 pm
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

ศุกร์ มี.ค. 30, 2007 10:01 am

เขาคงหมายถึงพระคัมภีร์ฉบับแปลversionไหนมั้งครับ  ::020::
ภาพประจำตัวสมาชิก
Raphael
โพสต์: 8
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ พ.ค. 27, 2007 9:01 pm
ที่อยู่: Bkk
ติดต่อ:

จันทร์ พ.ค. 28, 2007 7:43 am

ขอบคุณครับ :laugh:
nasyzus
โพสต์: 28
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ก.ย. 24, 2007 8:01 pm
ที่อยู่: 45/1 ซ.แม่เนี้ยว2 ถ.ประชาสงเคราะห์21 เขตดินแดง แขวงดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

พุธ ก.ย. 26, 2007 10:27 pm

ขอบคุณค่ะ :smiley:
^plai^
โพสต์: 59
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ มี.ค. 08, 2008 6:08 pm
ที่อยู่: -
ติดต่อ:

อังคาร พ.ค. 20, 2008 7:24 pm

::001::ขอบคุณค่ะพี่ๆที่ช่วยเพิ่มความรู้ไว้ให้ ::001::
ท่านหญิงนโปเลียน
โพสต์: 60
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.ค. 25, 2009 6:06 pm

เสาร์ ก.ค. 25, 2009 6:43 pm

เป็นความรู้ที่มีความหมาย พระธรรมจงเจริญ ตราบนานชั่วนาน
Little Boy
โพสต์: 250
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ต.ค. 27, 2009 3:33 am

ศุกร์ ต.ค. 30, 2009 2:21 am

วิวรณ์ เขียนขึ้นระหว่าง ปี ค.ศ. 64 ถึง 96
ยอห์นเป็นผู้เขียนหนังสือยอห์นหลังจากที่เขียนวิวรณ์ที่เอเฟซัส
ในเวลานั้นหนังสือต่าง ๆ ที่ประกอบกัน เป็นพระคัมภีร์ไบเบิลยังไม่ได้เรียบเรียงเหมือนที่เรามีขณะนี้

อ้างอิง : Bible Helps, S Bagster & Sons. Ltd, London, หน้า 86 และ 110
Memory
โพสต์: 390
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 1:52 pm
ที่อยู่: Rayong

เสาร์ พ.ย. 07, 2009 6:52 am

ขอบคุณครับ
Sister||Battle
โพสต์: 10
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ธ.ค. 17, 2009 8:31 am

พฤหัสฯ. ธ.ค. 24, 2009 6:55 pm

อยากรู้วิธีการทำนายอนาคตใน วิวรณ์ ( Revelation )
: emo107 :  : emo045 :
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

อังคาร ก.ค. 27, 2010 7:54 am

ตอนนี้เจี๊ยบกำลังอ่าน หนังสือวิวรณ์ อ่านเวอร์ชั่นคริสตัง มีคำอธิบายเยอะมากจริงๆ เพราะแปลมาจาก ฉบับเยรูซาเล็ม :s002:
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

อังคาร ก.ค. 27, 2010 7:59 am

Sister||Battle เขียน:อยากรู้วิธีการทำนายอนาคตใน วิวรณ์ ( Revelation )
ปกติ โปรฯสายสภาคริสตจักร ไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่อง การทำนาย เพราะไม่ได้เป็นสาระสำคัญ
แต่ถ้าศึกษา แบบเทววิทยา ก็มีการสอนในชั้นเรียนรวี หรือพวกนักศึกษาจะออกไปเป็นศิษยาภิบาลครับ ถ้าคุณสนใจก็ต้องไปคุยกับศิษยาภิบาล หรือเลือกเรียน วิชานี้ ของพระคริสตธรรม (Seminary ) :s012:
ตอบกลับโพส