@~ทำไมมนุษย์ ถึงทุกข์.~@

รวม ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระคัมภีร์ไบเบิ้ล
เข้าใจ พระคัมภีร์ ชีวิต และคำสั่งสอนของพระเยซูคริสต์ ตามลำดับ อย่างง่ายๆ
ตอบกลับโพส
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ ส.ค. 27, 2005 7:09 am

มีคำถามดังนี้

คือถ้าพระเจ้ารักมนุษย์ ทำไมทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาครับ
มีมนุษย์หลายคนสุขสบายดี อันนี้เป็นเรื่องที่ดี
แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ที่เหลือจำนวนนับไม่ถ้วน มีความทุกข์ทรมาน อดอยาก ถูกทารุณกรรม ฯลฯ ทั้งตอนนี้และต่อไป เพราะฉะนั้นถ้าพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาเลย จะไม่เป็นการรักมนุษย์ที่สุดหรือครับ
--------------------



คำถาม: เพราะฉะนั้นถ้าพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาเลย จะไม่เป็นการรักมนุษย์ที่สุดหรือครับ

พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์เพื่อพระองค์เอง และมนุษย์เองมีความอิ่มเอมสุดยอดในความสัมพันธ์กับพระเจ้าของเขา อย่างไรก็ตามดิฉันจะตอบในฐานะที่ดิฉันเชื่อวางใจพระเจ้า ซึ่งเมื่อก่อนที่ดิฉันจะเชื่อพระเจ้า มีคำถามมากมายไม่ต่างจากคุณหรอก แต่เมื่อดิฉันเชื่อพระเจ้า จึงเรียนรู้ว่าพระเจ้าไม่มีพระประสงค์ที่จะให้โลก หรือมนุษย์เป็นเช่นนี้ เพราะถ้าอ่านในพระคัมภีร์ปฐมกาล กล่าวถึงการทรงสร้าง เมื่อพระเจ้าทรงสร้างสิ่งอื่นๆ เมื่อสร้างเสร็จ “พระเจ้าทรงเห็นว่า ดี” เมื่อวันที่ หกทรงสร้างมนุษย์เสร็จ “พระเจ้าทรงเห็นว่า ดีนัก” ในการทรงสร้างพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ดีที่สุด เพราะว่าสภาพดั้งเดิม ที่ทรงสร้าง “ตามแบบพระฉายาของพระเจ้า” ( ปฐก.๑.๒๖-๒๗,๕.๑,๙.๖,๑ คร.๑๑.๗,ยก.๓.๙ )

มาทำความเข้าใจว่า พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามพระฉายาของพระเจ้า ไม่ได้หมายถึงด้านกายภาพ เป็นพระฉายาด้านสติปัญญา เพราะว่าพระเจ้าทรงเป็นวิญญาณ จิตมนุษย์เป็นวิญญาณ ลักษณะวิญญาณคือ การมีเหตุผล มนโนธรรมและเจตนา วิญญาณนั้นสามารถคิดมีเหตุผล มีจริยธรรม และมีเสรีภาพในการเลือก ในการทรงสร้างของพระเจ้า พระเจ้าทรงประทานให้มนุษย์มีลักษณะที่พระองค์ทรงมีอยู่ในสภาพจิตวิญญาณ ดังนั้นมนุษย์มีชีวิตเหมือนกับพระเจ้า และมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าพระผู้สร้างของเขาได้ พระเจ้าทรงตั้งมนุษย์ให้เหนือสรรพสิ่งอื่นๆที่ทรงสร้าง สร้างตามพระฉายานี้เองทำให้มนุษย์มีคุณค่า

นอกจากนั้นพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มีพระฉายาของพระเจ้า “มนุษย์ถูกสร้างขึ้นใหม่ตามแบบอย่างของพระเจ้า ในความชอบธรรมและความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง” ( อฟ. ๔.๒๔ ) จึงสรุปได้ว่าการทรงสร้างดั้งเดิมนั้นมนุษย์ มีทั้งความชอบธรรมและความบริสุทธิ์ พระคัมภีร์ปฐมกาล บทที่ ๑ และ ๒ สนับสนุนอย่างชัดเจน มนุษย์มีฉายานั้นมาตั้งแต่ที่มีการทรงสร้าง ไม่ใช่เกิดขึ้นภายหลัง มนุษย์เป็นพระฉายาด้านสังคมด้วย พระเจ้าทรงสร้างให้มนุษย์พอใจที่จะสื่อสารกับผู้อื่น เช่นเดียวกัน มนุษย์ก็มีความสัมพันธ์กับพระเจ้า หรือเรียกว่า “สามัคคีธรรม” เช่น ปฐมกาล ๓.๘”เวลาเย็นวันนั้น เขาทั้งสองได้ยินเสียงพระเจ้าเสด็จดำเนินอยู่ในสวน” จะเห็นภาพมนุษย์มีความสัมพันธ์กับพระผู้สร้างของตน ( คำตอบ ) พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์เพื่อพระองค์เอง และมนุษย์เองมีความอิ่มเอมสุดยอดในความสัมพันธ์กับพระเจ้าของเขา ยิ่งกว่านั้นพระเจ้าทรงประทานความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้นทรงสร้าง ผู้หญิงสำหรับเขา พระเจ้าตรัสว่า "ไม่ควรที่ชายผู้นี้จะอยู่คนเดียวเราจะสร้างคู่อุปถัมภ์ที่สมกับเขาขึ้น" ( ปฐก.๒.๑๘ ) เพื่อให้ความผูกพันแน่นแฟ้นพระเจ้าทรงนำกระดูกของชายมาสร้างเป็นหญิง อาดัมจึงตระหนักว่า หญิงนั้นมาจากกระดูกและเนื้อของตน และเพราะความผูกพันนี้ “เพราะเหตุนั้นผู้ชายจึงจากบิดามารดาของตนไปผูกพันอยู่กับภรรยา และเขาทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียวกัน” ( ปฐก. ๒.๒๔ ) เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้ชอบสังคม พระองค์ทรงพอพระทัยให้มนุษย์มีความสัมพันธ์ในสังคม เนื่องจากธรรมชาติที่พระองค์ทรงสร้างนั่นเอง
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ ส.ค. 27, 2005 7:15 am

-2-

คำถามที่ว่าทำไมมนุษย์จึงทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส ซึ่งคุณ เจ้าของกระทู้ ( และหลายๆคน )เสนอความคิดว่า ถ้าพระเจ้าทรงรักจริง ไม่น่าจะสร้างมนุษย์เลย

ถ้าจะตอบให้สั้นที่สุดว่า ทำไมมนุษย์จึงอยู่ในสภาพนี้ คำตอบคือ “ผลของความบาป” หรือเพราะมนุษย์คู่แรกล้มลงในบาป จึงเกิดผลกระทบมากมาย เช่น

ก) ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของเขากับพระเจ้า


เมื่ออาดัมล้มลงในบาป ความสัมพันธ์อันดีของเขากับพระเจ้าขาดสะบั้นลง บรรพบุรุษคู่แรกเริ่มสึกสึกว่าพระเจ้าไม่พอพระทัยในตน เพราะพวกเขาได้ฝ่าฝืนคำสั่งที่พระองค์ทรงห้ามไม่ให้กินผลไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่ว เขารู้สึกผิดและได้สูญเสียสถานภาพของเขาที่จะอยู่จำเพาะพระเจ้า ทั้งสองพยายามหลบหน้าจากพระเจ้า จิตสำนึกจึงฟ้องเสมอ แล้วพยายามปัดความผิดกัน เช่นอาดัมกล่าวโทษเอวา เอวากล่าวโทษงู จึงสรุปว่าเมื่อทำผิดได้ปัดความรับผิดชอบโยนความผิดให้คนอื่นๆ

ข) ผลกระทบต่อธรรมชาติของเขา

เมื่อพระเจ้าทรงเนรมิตสร้างมนุษย์คู่แรก เขาทั้งสองไม่เพียงแต่ไร้เดียงสา แต่มีความบริสุทธิ์ไม่มีธรรมชาติบาป แต่บัดนี้พวกเขาสำนึกถึงความอาย ความเสื่อม และมีมลทิน เขามีสิ่งที่อยากปกปิดซ่อนไว้ เขาทั้งสองเปลือยกาย ไม่สามารถยืนต่อเบื้องพระพักตร์พระเจ้าได้ด้วยฐานะตกต่ำเช่นนี้ ด้วยความรู้สึกเช่นนี้จึงทำเสื้อผ้าด้วยใบมะเดื่อมาปกปิดกาย ( ปฐก. ๓.๗ ) ไม่เพียงแต่อายต่อพระเจ้ายังอายต่อกันและกัน เพราะว่าเขาล้มเหลวด้านศีลธรรม ซึ่งพระเจ้าตรัสกับอาดัมแล้วเรื่องต้นไม้นั้น “เพราะในวันใดที่เจ้าขืนกิน เจ้าจะต้องตายแน่” ( ปฐก. ๒.๑๗ ) ความตายนี้เริ่มต้นฝ่ายวิญญาณก่อน คือจิตวิญญาณจะแยกจากพระเจ้า เขาขาดความสามารถที่จะทำอะไรให้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า และเขายังมีธรรมชาติที่เสื่อมทราม “บาปได้เข้ามาในโลกเพราะคนคนเดียว” (โรม ๕.๑๒ )

การที่บาปเข้ามาในโลกเพราะอาดัม หมายถึงบาปเริ่มเข้าสู่มนุษยชาติ มนุษย์เริ่มทำบาป ธรรมชาติของมนุษย์เสื่อมลง มนุษย์เริ่มเป็นผู้มีความผิด และมีนิสัยทำบาป กลายเป็นคนบาป ( โรม ๕.๑๙ )

ค) ผลกระทบต่อร่างกาย


พระเจ้าทรงเตือนว่า หากไม่เชื่อฟังมนุษย์จะ”ต้องตายแน่” ( ปฐก.๒.๑๗ ) มีความหมายรวมถึงตายฝ่ายกายด้วย หลังจากมนุษย์ล่วงละเมิด พระเจ้าตรัสกับอาดัมว่า “เจ้าเป็นผงคลีดิน และต้องกลับเป็นผงคลีดินดังเดิม” (ปฐก. ๓.๑๙ ) การตายของมนุษย์นี้ หมายถึงตายทั้งหมด คือตายฝ่ายกาย ตายฝ่ายจิตวิญญาณ และตายชั่วนิรันดร์ ( ดู โรม ๕.๑๒ ) ในพระคัมภีร์พูดถึงการตายฝ่ายกายว่าเป็นส่วนหนึ่งของการลงโทษความบาป ( ปฐก.๓.๑๙, โยบ ๕.๑๘-๑๙ ,๑๔.๑-๔,โรม ๕.๑๒,๖.๒๓,๑ คร.๑๕.๒๑-๒๒,๒ คร.๕.๑-๒,๔.๒,ทธ.๑.๑๐)

คำถามว่าถ้ามนุษย์คู่แรกไม่ได้ทำบาป แล้วจะเป็นอย่างไร

คำตอบ เขาจะดำรงชีวิต ด้วยความบริสุทธิ์ มีธรรมชาติบริสุทธิ์จะสำแดงบุคลิกภาพที่บริสุทธิ์ออกมา
-ความเจ็บป่วยก็เกี่ยวข้องกับความบาป ในปฐมกาล บทที่ ๒.๑๗ “เจ้าจะต้องตายแน่” ตั้งแต่วินาทีแรกที่กินผลไม้นั้น เขากลายเป็นผู้ต้องตาย นี่คือจุดเริ่มต้นของความเน่าเปื่อย ความทุกข์ยาก ยากลำบาก ความเจ็บปวดที่ชายหญิงได้รับ และแบกอยู่ เพราะการขัดขืนคำสั่งของพระเจ้า จิตใจ และร่างกายมนุษย์เริ่มอ่อนกำลังลง และเริ่มผุพัง เขาเริ่มเจ็บป่วย

ผลของความบาปทำลายทฤษฏีวิวัฒนาการ มนุษย์มิได้พัฒนาให้มีกำลังกาย กำลังใจเข้มแข็งขึ้น แต่กลับเสื่อมลง อ่อนแอไป

ง) ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เมื่องูถูกแช่งสาป มากกว่าสัตว์ทั้งปวง ( ปฐก.๓.๑๔ ) นี่เป็นหลักฐานว่า บรรดาสรรพสัตว์ก็”ได้รับผลของบาปอาดัม ในปฐมกาล ๓.๑๗-๑๙ “"เพราะเหตุเจ้าเชื่อฟังคำพูดของภรรยา และกินผลไม้ที่เราห้าม แผ่นดินจึงต้องถูกสาปเพราะตัวเจ้า เจ้าจะต้องหากินบนแผ่นดินด้วยความทุกข์ลำบากจนตลอดชีวิตแผ่นดินจะให้ต้นไม้และพืชที่มีหนามแก่เจ้าและเจ้าจะกินพืชต่างๆ ของทุ่งนาเจ้าจะต้องหากินด้วยเหงื่ออาบหน้า จนเจ้ากลับเป็นดินไป เพราะเราสร้างเจ้ามาจากดิน เจ้าเป็นผงคลีดิน และจะต้องกลับเป็นผงคลีดินดังเดิม"

-แม้แต่ธรรมชาติอื่นๆที่ไม่ใช่สัตว์ และพืช ก็ได้รับผลกระทบเพราะความบาปของมนุษย์ เช่นพระธรรมโรม ๘.๒๑-๒๒ “… สรรพสิ่งเหล่านั้นจะได้รอดจากอำนาจแห่งความเสื่อมสลาย และจะเข้าในเสรีภาพและศักดิ์ศรีแห่งบุตรทั้งหลายของพระเจ้า เรารู้อยู่ว่าบรรดาสรรพสิ่งที่ทรงสร้างนั้นกำลังคร่ำครวญ และผจญความทุกข์ยากด้วยกันมาจนทุกวันนี้” ดังนั้นสภาพแวดล้อมที่ไม่สมบูรณ์ถูกเปลี่ยนไปเพราะอำนาจของความบาป ( ดูอิสยาห์ ๓๕ )
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ ส.ค. 27, 2005 7:19 am

-3-

ขออธิบาย คำศัพท์ บางคำตามความเชื่อของคริสต์ (โปรเตสแตนต์ )

การทรงสร้าง พระคัมภีร์สอนว่า พระเจ้าเป็นผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งขึ้นตั้งแต่เริ่มแรกและยังผดุงโลกให้ดำรงอยู่สืบมานานๆ ครั้งถึงจะยื่นมือเข้ามาจัดการสักครั้งหนึ่ง พระคัมภีร์ไม่ได้ระบุว่าทฤษฎีสร้างโลกอันใดถูกต้องที่สุด เพราะพระคัมภีร์มิใช่หนังสือวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของพระคัมภีร์คือเปิดเผยให้มนุษย์รู้ว่าพระเจ้าคือผู้ใดและปฏิบัติต่อมนุษย์และโลกอย่างไร

��ฐมกาล 1 ระบุว่าพระเจ้าสร้างโลกขึ้นมาอย่างสมบูรณ์แบบ ทรงสร้างพืชและสัตว์ให้สืบพันธุ์ได้ และแต่งตั้งมนุษย์คู่แรกซึ่งเป็นสุดยอดของการทรงสร้างให้ดูแลรักษาสิ่งเหล่านี้ ตามปฐมกาล 2 พระเจ้าสร้างโลกนี้ให้เป็นที่อยู่อันน่าอภิรมย์ โดยเฉพาะเมื่อมนุษย์คู่แรกอิ่มเอมในสัมพันธภาพกับพระเจ้าโดยไม่มีลับลมคมในและข้อจำกัดใดๆ

��ต่เมื่อทั้งสองจงใจขัดขืนพระเจ้า การทรงสร้างเริ่มแรกอันสมบูรณ์แบบก็อันตรธานไป แต่พระคัมภีร์ยังกล่าวถึงพระเจ้าในฐานะพระผู้สร้างอย่างเดิม และเตือนเราครั้งแล้วครั้งเล่าถึงความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าและความต่ำต้อยของมนุษย์ เมื่อเทียบกับพระองค์ กระนั้นพระองค์ยังทรงห่วงใยมนุษย์และสรรหาทุกอย่างให้ ฉะนั้น : “ให้แผ่นดินโลกทั้งสิ้นยำเกรงพระเจ้า ให้บรรดาชาวพิภพทั้งปวงยืนตะลึกพรึงเพริดต่อพระองค์ เพราะพรองค์ตรัสมันก็เกิดขึ้นมาพระองค์ทรงบัญชามันก็ออกมา”

��ัครสาวกเปาโลกล่าวถึง “การสร้างใหม่” โดยการสิ้นและคืนพระชนม์ของพระเยซู พระเจ้าเปิดทางให้มนุษย์รับการอภัยบาปและมีส่วนร่วมในการสร้างใหม่นี้ คริสตชนได้ลิ้มรสการสร้างใหม่นี้บ้างแล้ว และวันหนึ่งจะได้เข้าส่วนอย่างสมบูรณ์ คือ เมื่อจักรวาลที่ถูกบาปกัดกร่อนจนไม่มีชิ้นดีสูญสิ้นไป แล้วทุกสิ่งจะถูกสร้างขึ้นใหม่ (ปฐก. 1-3; โยบ. 38-42:6; สดด. 8; 33:6-22; 104; อสย. 40:21-26; มธ. 6:25-33; กจ. 14:15-17; รม. 1:18-23; 8:18-23; คส. 1:15-20; ฮบ. 1:1-3; 21-22)

การตกในบาป บาปเข้ามาในโลกได้เพราะมนุษย์กบฏต่อพระเจ้า ในโลกนี้ไม่มีสักคนเดียวที่ปราศจากบาป (ยกเว้นพระเยซู) พระคัมภีร์สืบสาวเรื่องนี้ไปจนถึงจุดเริ่มต้นของมนุษยชาติ เรื่องของอาดัมกับเอวาชี้ถึง “การตกในบาป” แบบทันที ซึ่งมนุษย์คู่แรกตกจากฐานะสูงส่งที่ได้เป็นมิตรสหายกับพระเจ้าและเป็นจุดสุดยอดของการทรงสร้าง

��ริ่มแรกนั้นอาดัมกับเอวาอิ่มเอิบอยู่ในความสัมพันธ์อันสนิทสนมและเปิดใจกับพระเจ้าและต่อกันและกัน ไม่มีบาปมาทำลายชีวิตซึ่งเป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า แต่ในปฐมกาล 3 เราเรียนรู้ว่าสภาพนี้ได้พลิกโฉมหน้าไปในฉับพลัน เมื่อเอวาหลงคารมงูและจงใจฝ่าฝืนคำสั่งพระเจ้าอันส่งผลให้อาดัมกับเอวาถูกไล่ออกจากพระพักตร์พระเจ้า นับแต่นั้นมาคู่นี้ต้องตรากตรำทำงานจนเหงื่อโซมกาย พบความเศร้าโศก และชีวิตต้องจบลงที่ความตาย

��รรพสิ่งที่พระเจ้าสร้างทั้งหมดล้วนได้รับผลกระทบจากการกบฏของอาดัมกับเอวาตั้งแต่นั้นมาก “บาปได้เข้ามาในโลกเพราะคนคนเดียวและความตายก็เกิดขึ้นเพราะบาปนั้น และความตายก็ได้แผ่ไปถึงมวลมนุษย์ทุกคน เพราะมนุษย์ทุกคนทำบาป”

��ม้ว่าในตัวมนุษย์ยังมีคุณลักษณะดั้งเดิมที่พระเจ้าสร้างหลงเหลืออยู่บ้างและกระหายใคร่รู้จักและแสวงหาพระเจ้า แต่เราก็มีแนวโน้มที่จะทำบาปอยู่ในตัวเรามาตั้งแต่เกิด ( ดูปฐก. 1-3; รม. 1:18-32; 5:12-19; 7:14-25)


การคืนดี “การทำให้สองฝ่ายคืนดีกัน” หมายถึงทำให้สองคนที่เป็นคู่อริกลับมาอยู่ร่วมกัน ตามพระคัมภีร์ประวัติศาสตร์มนุษยชาติเปิดฉากด้วยความร้าวฉานระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ผลที่ตามมาในทันทีคือมนุษย์กลายเป็นศัตรูกัน (คาอินฆ่าอาเบล) มนุษย์จะมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันได้ต่อเมื่อยอมคืนดีกับพระเจ้า เพราะการคืนดีกับมนุษย์เป็นผลจากการคืนดีกับพระเจ้า
�� ไม่แปลกที่พระคัมภีร์มักกล่าวว่า มนุษย์เป็นศัตรูของพระเจ้า เพราะเราต่อต้านคัดค้านทุกสิ่งที่เป็นพระลักษณะและบรรทัดฐานของพระเจ้า มนุษย์ถูกตัดขาดจากพระเจ้าเพราะความบาป และเราไม่สามารถคืนดีกับพระองค์ด้วยตัวเราเองได้ แต่อัครทูตเปาโลอธิบายว่า “มนุษย์เราได้คืนดีกับพระเจ้าทางพระคริสต์แล้ว”
�� มนุษย์สามารถคืนดีกับพระเจ้าได้ก็เพราะชีวิต ความตายและการเป็นขึ้นจากตายของพระเยซู เหตุที่ปัจจุบันมนุษย์สามารถเป็นมิตรสหายกับพระเจ้าหรือเป็นถึงลูกของพระองค์ได้ก็เพราะพระเยซูได้จัดการกับความบาปซึ่งเป็นต้นเหตุของการห่างเหินนี้เรียบร้อยแล้ว แต่เราไม่ได้คืนดีกับพระเจ้าโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าพระเจ้าหยิบยื่นของขวัญนี้ให้แล้ว แต่มันไม่มีวันเป็นของเราจนกว่าเราจะเปิดใจรับไว้ด้วยความเชื่อ ของขวัญนี้มีสำหรับทุกคนคริสเตียนจึงควรอธิบาย “หนทางแห่งการคืนดี” นี้แก่ผู้อื่น

��ารคืนดีนี้มิได้นำมาแค่ความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้าเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกันด้วย ผู้ที่เคยบาดหมางกันจะพบว่าเขาต่างเป็นคนในครอบครัวเดียวกันเมื่อเขาคืนดีกับพระเจ้าแล้ว สิ่งที่กีดขวางระหว่างสองฝ่ายนั้นมิใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไปเมื่อเปรียบกับความสัมพันธ์กับพระเจ้า ซึ่งเชื่อมโยงสองฝ่ายให้เป็นอันเดียวกัน นี่เป็นกุญแต่ที่พันธสัญญาใหม่หยิบยื่นให้ในการแก้ปัญหาการแบ่งเชื้อชาติที่รุนแรงที่สุดในสมัยพระคัมภีร์ คือแบ่งแยกกันระหว่างยิวกับชาวต่างชาติ ( ดู ปฐก. 3; รม. 5:10-11; 11:15; 2 คร. 5:18-20; อฟ. 2:11-18; คส. 1:19-22)

การไถ่คืน หมายถึงการจ่ายค่าไถ่เพื่อซื้อกลับคืนมา พระเยซูตรัสว่าพระองค์เสด็จมา เพื่อ “ประทานชีวิตของท่านให้เป็นค่าไถ่คนเป็นอันมาก”

��ี่คือภาพที่ทาสถูกไถ่คืนมนุษย์เราเป็นทาสบาป เพราะแม้ว่าเราปรารถนาจะเลิกทำบาปสักเท่าใดเราก็ทำไม่สำเร็จแต่โดยชีวิต ความตาย และการเป็นขึ้นจากตายของพระเยซูพระองค์ได้จ่ายค่าไถ่ที่จะปลดปล่อยเราเป็นไทยแล้ว

��ริสตชนจึงเป็น “ผู้ที่พระเจ้าทรงไถ่ไว้” เหมือนอิสราเอลที่พระเจ้าไถ่จากการเป็นทาสของอียิปต์ในพันธสัญญาเดิม เดี๋ยวนี้ตัวเราเป็นของพระเจ้าเปาโลกเร่งเร้าให้คริสเตียนคิดถึงราคาที่พระเจ้าต้องตายเพื่อไถ่เราจากบาป เราจึงควรเต็มใจอุทิศตัวรับใช้พระเจ้า คนที่รับการไถ่ก็เป็นไทยแก่ตัว อัครสาวกเปาโลจึงโน้มน้าวคริสเตียนไม่ให้ถอยกลับไปในทางเก่าอีก และควรทูลขอให้พระเจ้าลบล้างรอยแผลเป็นจากการเป็นทาสบาปในอดีต แต่คริสเตียนยังไม่ได้รับอิสรภาพเต็มที่ทันที ต้องรอจนถึงวันสุดท้ายของยุคนี้ เมื่อพระเยซูเสด็จกลับมาอีกครั้ง แล้วคนของพระองค์จะสัมผัสกับอิสรภาพอันสมบูรณ์ต่อพระพักตร์พระเจ้า ( ดู มก. 10:45; ยน. 8:34; 1 ปต. 1:18-19; อพย. 13:11-16; 1 คร. 6:20; รม. 6:12-14; 8:19-23)

การทำให้เป็นผู้ชอบธรรม มนุษย์ไม่มีวันเป็นผู้ชอบธรรมในสานพระเนตรของพระเจ้าด้วยการกระทำของตัวเองได้เพราะบาปตัดเราขาดจากพระเจ้าผู้บริสุทธิ์ ไม่ว่าเราจะ “ดี” แค่ไหนก็ไม่อาจพ้นกงเล็บบาปไปได้

��างเดียวที่จะเป็นผู้ชอบธรรมต่อพระพักตร์พระเจ้าได้คือ พระเจ้าต้องเป็นผู้กระทำให้หรือโดย “พระคุณ” นี่เป็นหลักข้อเชื่อถึง “การทำให้เป็นผู้ชอบธรรม” พระเจ้ายอมรับเราเป็นบุตร เพราะพระเยซูได้สิ้นพระชนม์บนกางเขน “เพราะว่าพระจ้าได้ทรงกระทำพระองค์ผู้ทรงไม่มีบาปให้บาปเพราะเห็นแก่เรา เพื่อเราจะได้เป็นคนชอบธรรมของพระเจ้าทางพระองค์” พระเยซูคริสต์เองรับโทษทัณฑ์อันเนื่องมาจากบาปของเรา เราจึงพ้นโทษได้ในสายพระเนตรของพระเจ้าคริสเตียนจึง “อยู่ในพระคริสต์” เป็นคนใหม่ที่พ้นโทษบาปเนื่องเพราะการเชื่อฟังของพระเยซูยิ่งกว่านั้นพระเจ้าได้ประทานพละกำลังให้เพื่อเราจะเชื่อฟังพระองค์ได้

��ังนั้นคริสตชนเป็นผู้ชอบธรรมและได้พ้นโทษบาปเพราะเชื่อในพระเยซู ( ดู 2 คร. 5:21; รม. 3:24; 5:1, 9)
แก้ไขล่าสุดโดย Prod Pran เมื่อ เสาร์ ส.ค. 27, 2005 7:20 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ ส.ค. 27, 2005 7:26 am

-4-

การนมัสการ บัญญัติสิบประการข้อแรกกล่าวว่า “เราคือพระเจ้าของเจ้า อย่ามีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเรา...อย่ากราบไหว้หรือปรนนิบัติรูปเหล่านั้น” การนมัสการพระเจ้านั้นหมายถึงให้เกียรติพระเจ้าสมกับฐานะพระองค์ ในหนังสือสดุดีกล่าวถึง ชาวอิสราเอลนมัสการพระเจ้าตามพระลักษณะและการทรงสร้างของพระองค์ และสำหรับการทรงช่วยพ้นจากการเป็นทาสตลอดจนของประทานและพระพรดีเลิศที่มาถึงแต่ละคน

ใน พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ เมื่อคริสเตียนมาร่วมประชุมกันจะแสดงความชื่นชมยินดีด้วย “การสรรเสริญพระเจ้า” เมื่อเต็มด้วยพระวิญญาณพวกเขาจะ “ปราศรัยกันด้วยเพลงสดุดี เพลงนมัสการ และเพลงสรรเสริญ” คือร้องเพลงสรรเสริญและสดุดีจากใจถวายองค์พระผู้เป็นเจ้า ทุกคนมีส่วนร่วมได้ “เมื่อท่านประชุมกัน บางคนก็มีเพลงสดุดี บางคนก็มีคำสั่งสอน บางคนก็มีคำวิวรณ์ บางคนก็พูดภาษาแปลกๆ บางคนก็แปลข้อความ”

พระเยซูตรัสว่า “พระเจ้าทรงเป็นพระวิญญาณและผู้ที่นมัสการพระองค์ต้องนมัสการด้วยจิตวิญญาณและความจริง” เราควรนมัสการพระเจ้าอย่างจริงจังจากจิตใจ ในพันธสัญญาเดิมพระเจ้าติเตียนการนมัสการที่แสดงออกเฉพาะภายนอก การนมัสการที่แท้จริงเป็นการตอบสนองอย่างจริงใจต่อพระเจ้า ซึ่งหลั่งออกมาจากชีวิตความเป็นอยู่ที่พอพระทัยพระองค์ การนมัสการมีศูนย์กลางอยู่ที่พระเจ้าและพระดำรัสพระองค์จะทำให้การนมัสการมีแก่นสารและความหมายมากขึ้น ดังที่เปาโลกล่าวว่า ”จงให้พระวาทะของพระคริสต์ดำรงอยู่ในตัวท่านอย่างบริบูรณ์ จงสั่งสอนและเตือนสติกันด้วยปัญญาทั้งสิ้น จงร้องเพลงสดุดี เพลงนมัสการ และเพลงสรรเสริญด้วยใจโมทนาขอลพระคุณพระเจ้า”

การนมัสการมิได้เป็นแค่กิจกรรมที่มนุษย์ทำกันเฉพาะบนโลกนี้ แต่ทุกสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างในสวรรค์ – ทั้งมนุษย์และทูตสวรรค์ – ต่างสรรเสริญและนมัสการพระองค์ ( ดู อยพ. 20:1-3; สดด. 29; 136:4-26; 116; กจ. 2:43-47; อฟ. 5:18-19; 1 คร. 14:26-40; ยน. 4:21-24; มคา. 6:6-8; คส. 3:16; วว. 4; 5; 7; 15)

การบังเกิดใหม่ ก่อนถึงสมัยพระเยซู ผู้พยากรณ์เยเรมีย์เล็งเห็นว่าชีวิตภายในมนุษย์จำต้องถูกสร้างใหม่หมด ถ้าอยากคืนดีกับพระเจ้า เมื่อพระเยซูสนทนากับนิโคเดมัสผู้นำชาวยิว พระองค์กล่าวในจุดเดียวกันนี้คือ การบังเกิดใหม่เท่านั้นที่จะทำให้มนุษย์เริ่มต้นชีวิตใหม่ได้

การเปลี่ยนแปลงชนิดถอนรากถอนโคนนี้เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรากลับใจเป็นคริสเตียนเพราะ “ผู้ใดอยู่ในพระคริสต์ผู้นั้นก็เป็นคนที่ถูกสร้างใหม่แล้ว สิ่งสารพัดเก่าๆ ก็ล่วงไป นี่แน่ะกลายเป็นสิ่งใหม่ทั้งนั้น” พิธีบัพติศมาเป็นสัญลักษณ์ภายนอกของชีวิตโลกนี้ และพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นผู้ที่ประทานชีวิตใหม่ให้ คือชีวิตนิรันดร์ในแผ่นดินของพระเจ้า ซึ่งมีส่วนร่วมกับคนอื่นๆ ในครอบครัวพระเจ้าคือคริสตจักร ( ดู สดด. 51:10; ยรม. 31:31-34; ยน. 3:1-21; 2 คร. 5:17)

พิธีบัพติศมา: ยุคพันธสัญญาใหม่ ผู้คนจะเข้าพิธีบัพติศมาเมื่อกลับใจเป็นคริสเตียน เขาจะประกาศตัวอย่างเปิดเผยว่าเขามีความเชื่อใหม่โดยเข้าพิธีง่ายๆ ที่ “จุ่มลงในน้ำ” อัครสาวกเปาโลอธิบายว่าพิธีนี้เป็นภาพเล็งถึงคริสเตียนเข้าส่วนในความตายของพระเยซู และเป็นขึ้นมาพร้อมกับพระองค์โดยรับชีวิตใหม่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าได้ตัดขาดจากชีวิตเก่าโดยสิ้นเชิง ปลดเปลื้องจากความบาปทั้งหมดและเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยฤทธิ์อำนาจที่พระเยซูคริสต์ทรงประทานให้

สองสามปีก่อนหน้านั้นยอห์นผู้ให้บัพติศมาได้เตรียมจิตใจชาวยิวเพื่อต้อนรับพระเยซู โดยป่าวร้องว่า “จะละทิ้งความบาปของเจ้าและรับบัพติศมา” หลายคนยอมเชื่อและรับบัพติศมาในแม่น้ำจอร์แดน

แต่ในวันเพ็นเทคอสต์นั้น เปโตรอธิบายว่าพิธีบัพติศมาของคริสเตียน ไม่ได้มีความหมายแค่เปลี่ยนใจใหม่อย่างเดียว แต่ “จงกลับใจใหม่และรับบัพติศมาในพระนามแห่งพระเยซูคริสต์สิ้นทุกคน เพื่อพระเจ้าจะทรงยกความผิดบาปของท่านเสีย แล้วท่านจะได้รับพระราชทานพระวิญญาณบริสุทธิ์” (มก. 1:1-8; มธ. 28:19-20; กจ. 2:38-41; รม. 6:3-11)

การเปิดเผย มนุษย์เราไม่สามารถรู้จักพระเจ้าได้นอกจากพระองค์จะ “เปิดเผย” พระองค์เอง พระเจ้า “ทรงสถิตในความสว่างที่ซึ่งไม่มีคนใดจะเข้าไปถึง” ในความบริสุทธิ์และยิ่งใหญ่สูงส่ง จริงอยู่เราอาจรู้ถึงพระลักษณะพระเจ้าผ่านทางธรรมชาติที่ทรงสร้าง (นี่เป็นการเปิดเผยประเภทหนึ่ง) และจากประสบการณ์ส่วนตัวของเราเองได้บ้าง แต่เราไม่สามารู้อะไรมากไปกว่านั้นถ้าพระองค์ไม่เปิดเผยกับเราโมเสสพบพระเจ้าที่พุ่มไม้ไฟลุกโซน นี่เป็นตัวอย่างอันดีที่พระเจ้าเปิดเผยพระองค์เองกับมนุษย์

ในประวัติศาสตร์อิสราเอลพระเจ้ามักเปิดเผยพระองค์เองทางพระราชกิจของพระองค์ โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่ปลดปล่อยอิสราเอลจากการเป็นทาสในอียิปต์ แต่ครั้งแล้วครั้งเล่าอิสราเอลมิได้สังเกตเห็นพระเจ้าผู้กระทำการในประวัติศาสตร์ของเขา ฉะนั้นพระเจ้าจึงส่งผู้พยากรณ์มาพูดกับพวกเขาโดยตรงว่าพระองค์กำลังทำอะไรอยู่

หนังสือฮีบรูบันทึกว่า “ในโบราณกาลพระเจ้าได้ตรัสด้วยวิธีต่างๆ...ทางพวกผู้เผยพระวจนะ แต่ในวาระสุดท้ายนี้พระองค์ได้ตรัสแก่เราทั้งหลายทางพระบุตร” พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นการเปิดเผยครั้งสุดท้ายและครบบริบูรณ์ของพระเจ้า พระเยซูได้สำแดงถึงพระเจ้าในลักษณะที่มนุษย์เข้าใจได้ โดยมารับสภาพมนุษย์บนผืนพิภพนี้

พระคัมภีร์เองก็เป็นการ “เปิดเผย” เพราะบันทึกพระราชกิจและพระดำรัสของพระเจ้าในประวัติศาสตร์และทางพระเยซู – คือพระประสงค์ต่อประชากรของพระองค์ตั้งแต่เรียกอับราฮัมจนถึงสมัยพันธสัญญาใหม่ พระคัมภีร์เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นภายใต้การทรงนำของพระเจ้าเอง (ปญจ. 5:2; อสย. 58:8-9; 1 ทธ. 6:16; อพย. 3; 6:7; อสย. 1:3; อมส. 3:7; ฮบ. 1:1-2; ยน. 1:14; 2 ปต. 1:21; 2 ทธ. 3:16; ยน. 14:26; 16:13)


การพิพากษา เนื่องเพราะพระเจ้าเป็นผู้ปกครองจักรวาลนี้ พระองค์จึงเป็นผู้พิพากษาด้วย โดยปกติผู้ปกครองย่อมเป็นผู้ออกกฎหมายและบังคับใช้ นี่คือความหมายของการพิพากษาในพระคัมภีร์

ในพันธสัญญาเดิม การพิพากษามักหมายถึง "การปกครองที่ดี" อิสราเอลมี "ผู้วินิจฉัย" เป็นผู้นำประเทศก่อนมีกษัตริย์ แต่พระเจ้าทรงเป็น "ผู้วินิจฉัย" สูงสุด ทรงปกครองสรรพสิ่งทั้งปวง

การพิพากษาครั้งสุดท้ายที่พระเยซูกล่าวถึงจะเป็นการแยกความดีจากความชั่วครั้งสุดท้าย เนื่องจากพระเจ้าเองเป็นผู้พิพากษา เราจึงมั่นใจได้ว่าพระองค์จะให้ความยุติธรรมแก่ทุกคนในโลกนี้ และพระเจ้าก็ได้มอบหน้าที่พิพากษานี้ให้พระเยซูแล้ว

ทุกคนจะถูกพิพากษาตามความรู้ ความเข้าใจองเขา คนที่ไม่เคยได้ยินพระบัญญัติของพระเจ้าจะถูกพิพากษาตามความเข้าใจที่เข้ามีต่อพระเจ้าจากสรรพสิ่งที่ทรงสร้างและตามจิตสำนึกผิดชอบของเขา แต่ความจริงคือเราทุกคนขาดตกบกพร่องจากมาตรฐานของพระเจ้า ไม่ได้ปฏิบัติต่อพระองค์อย่างถูกต้องเหมาะสมจึงสมควรถูกลงโทษตามการกระทำของเรา

ในวันพิพากษายิ่งใหญ่นั้น ทุกสิ่งจะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่ผู้นั้นมีต่อพระคริสต์เพราะพระเยซูเองตรัสเช่นนี้ คริสเตียนยุคแรกแน่ใจว่าทางเดียวที่จะรอดพ้นการพิพากษาก็โดยเชื่อวางใจในพระเยซู ยอห์นกล่าวว่า "ผู้ที่วางใจในพระบุตรก็มีชีวิตนิรันดร์ ผู้ที่ไม่เชื่อฟังพระบุตรก็จะไม่ได้เห็นชีวิต แต่พระพิโรธของพระเจ้าตกอยู่กับเขา" (ดูสดด. 96:10; ปฐก. 18:25; รม. 3:3-4; 1:18-2:16; 3:9-12; มธ. 10:32-33; ยน. 3:18; 5:24-30; กจ. 4:12; 10:42; 2 คร. 3:10-15; 5:10; 2 ธส. 1:5-10; ฮบ.12:22-27; วว. 20:12-15)

การลบล้าง ผู้เขียนพระคัมภีร์ห่วงเรื่องหนึ่งยิ่งกว่าเรื่องอื่นใด คือมนุษย์เราจะมีความกลมเกลียวกับพระเจ้าได้อย่างไร เนื่องจากบาปทำให้เราถูกตัดออกจากพระเจ้า ฉะนั้นความต้องการแรกสุดของเราจึงเป็น "การคืนดี" กับพระองค์ นี่แหละคือความหมายของ "การลบล้างบาป"

แต่ไม่ว่ามนุษย์จะพยายามสักเท่าไร ก็มิอาจทำให้พระเจ้าผู้บริสุทธิ์ยอมรับเราได้ เพราะไม่มีวันที่มนุษย์จะขึ้นไปถึงมาตรฐานของพระเจ้าได้

ในสมัยพันธสัญญาเดิมชาวยิวถวายสัตวบูชาเพื่อลบล้างบาป แต่ระบบนั้นมิอาจแก้ปัญหาได้ถาวร ผู้เขียนพันธสัญญาเดิมต่างเห็นว่าพระเจ้าต้องจัดการกับบาปด้วยตัวพระองค์เอง อิสยาอห์กล่าวว่าจะมีผู้รับใช้พระเจ้าผู้หนึ่งมาแก้ไขปัญหานี้ "เราทุกคนต่างได้หันไปตามทางของตนเอง และพระเจ้าทรงวางลงบนท่านซึ่งความบาปผิดของเราทุกคน"

พันธสัญญาใหม่จะบอกว่าพระเจ้าส่งพระเยซูพระบุตรของพระองค์มาจัดการกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเป็นดุจเครื่องสัตวบูชาอันสมบูรณ์เพื่อคนทั้งโลก เมื่อพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระองค์ตายแทนเรา และทนทุกข์ทรมานในความตายอันเป็นโทษบาปของเรา ขณะที่พระเยซูถูกแขวนบนกางเขน พระองค์สัมผัสถึงความปวดร้าวแสนสาหัสของการพรากจากพระเจ้า จึงร้องเสียงหลงว่า "พระเจ้าของข้าพระองค์…ไฉนทรงทอดทิ้งข้าพระองค์เสีย" มัทธิวกล่าวอีกว่า ม่านที่กั้นอภิสุทธิสถานกับวิสุทธิสถานในพระวิหารขาดเป็นสองท่อนตั้งแต่บนตลอดล่าง ซึ่งเล็งว่ามนุษย์เราจะไม่ถูกตัดขาดจากพระเจ้าอีกต่อไป เพราะพระเยซูได้ลบล้างบาปของคนทั้งโลกแล้ว ( ดูปฐก. 3; ลนต. 16; อสย. 53; ยน. 3:14-17; มก. 10:45; 15:34, 38; 2 คร. 5:14-21; อฟ. 2:14; ฮบ. 7:26-9:28; 10:19-20)

[b]ความทุกข์ทรมาน:[/b] พระคัมภีร์มองความทุกข์ทรมานว่าเป็น เคราะห์ร้าย ซึ่งเข้ามาในโลกเพราะบาปและเป็นผลงานของซาตานที่ทำการไม่หยุดยั้ง การที่พระเยซูเข้ามาในโลกก็เพื่อช่วยมนุษย์ให้พ้นทุกข์และความตาย ขณะพระเยซูยังดำเนินอยู่ในโลก พระองค์แสดงความรักและความห่วงใยโดยรักษาคนเจ็บป่วยมากมายในสวรรค์และแผ่นดินใหม่จะไม่มีความทุกข์ทรมานอีกเลย

ในพระคัมภีร์ความทุกข์ทรมานยังเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจากพระเจ้าเป็นผู้ครอบครองเหนือสิ่งสารพัด ดังนั้นความทุกข์ทรมานย่อมมาจากพระเจ้าอยู่ดี ทว่าพระเจ้าแห่งความรักจะยอมปล่อยให้ผู้บริสุทธิ์ทนทุกข์ทรมานได้อย่างไร เห็นชัดว่าความบาปไม่เพียงแต่นำความทุกข์มาให้ตัวผู้กระทำบาป แต่ยังส่งผลถึงครอบครัวเขาด้วย และเรายอมรับกันว่าพระเจ้าใช้ความทุกข์เพื่อตีสอนลูกของพระองค์ แต่หนังสือโยบพยายามไขปัญหาที่ว่าเหตุใดคนดีๆ จึงต้องทนทุกข์ทรมาน โยบปัดทฤษฎีทุกอย่างที่เพื่อนยัดเยียดให้เขา แต่ในที่สุดเขายอมรับความทุกข์นั้นโดยดี แม้จะไม่ได้รับคำตอบที่สมเหตุสมผล แต่พอเขาได้เห็นพระเจ้าองค์เที่ยงแท้ผู้ไม่เปลี่ยนแปลง น้ำตาและความสงสัยก็มลายหายไปสิ้น

จากชีวิตและพระราชกิจของพระเยซูเราได้เห็นว่าความทุกข์ทรมานเป็นชีวิตของพระองค์ พระเยซูสวมบทบาทของผู้รับใช้ที่ทนทุกข์ตามที่บันทึกไว้ในอิสยาห์ 53 พระเยซูเป็นผู้บริสุทธิ์ พระองค์มิได้ทนทุกข์เพราะความผิดบาปของพระองค์เอง แต่เพราะความเกลียดชังที่คนบาปมีต่อพระองค์ และพระองค์ทรงทนทุกข์เพื่อช่วยคนบาปให้รอดพ้นจากบาปผิดของเขา พระคัมภีร์มิได้ให้คำตอบที่มีเหตุมีผลถึงปัญหาความทุกข์ แต่บอกถึงวิธีแก้ปัญหานี้ให้สัมฤทธิผลได้ คือพระเจ้ามาแบกรับเอาความทุกข์นี้ไปโดยการสิ้นพระชนม์ของพระบุตรของพระองค์ (ปฐก. 3:15-19; 2 คร. 12:7; รม. 8:21, วว. 21:4; อมส. 3:6; สดด. 39:11; ฮบ. 12:3-11; โยบ; อสย. 53)

ความบริสุทธิ์: รากศัพท์มีความหมายว่า “แยกออกมาเพื่อพระเจ้า” ในพันธสัญญาเดิม สถานที่ สิ่งของ บุคคลและวันเวลาจะเรียกว่าบริสุทธิ์ต่อเมื่อสิ่งเหล่านี้ถูกแยกออกมาเพื่อพระเจ้าโดยเฉพาะ ฉะนั้นวันสะบาโตจึงถือว่าเป็นวันบริสุทธิ์

พระลักษณะของพระเจ้าชี้ว่าความบริสุทธิ์เป็นอย่างไร พระเจ้าทรงเป็นหนึ่งเดียวไม่เหมือนใคร เป็นเอกเทศจากสิ่งที่ทรงสร้างและความชั่วร้ายทั้งมวล ไม่มีอะไรเทียบเทียมพระองค์ได้ พระลักษณะของพระเจ้าผิดแผกแตกต่างของมนุษย์ พระองค์ทรงบริสุทธิ์ เราจึงยืนต่อพระพักตร์พระเจ้าด้วยความยำเกรง เมื่อเราเข้าถึงความบริสุทธิ์ของพระองค์เหมือนอิสยาห์ เราจะสำนึกถึงความผิดบาปของตัวเองอย่างสุดซึ้ง เพราะความบาปนั้นได้แยกเราออกจากพระเจ้า

พระเจ้าต้องการให้ชีวิตคนของพระองค์มีส่วนร่วมและสะท้อนถึงความบริสุทธิ์ของพระองค์ ศัพท์ที่ใช้หมายถึงคริสเตียนในพันธสัญญาใหม่มักเป็น “ธรรมิกชน” ซึ่งมิได้หมายความถึงคริสเตียนที่เอาจริงเอาจังเท่านั้น แต่หมายถึงคริสเตียนทุกคนเพราะเป็นคนที่บริสุทธิ์ ผู้แยกตัวออกมาเพื่ออุทิศชีวิตปรนนิบัติพระเจ้าและเหมือนพระเจ้ามากขึ้นๆ ซึ่งเป็นกระบวนการ “ชำระให้บริสุทธิ์” (ปฐก. 2:3; อพย. 20:8; 30:22-33; ลนต. 19:1; อสย. 6:1-5, 40:18-28; 10:20; สดด. 33:21; อสย. 8:13; 6; ฮบ. 12:10; อฟ. 5:25-27)
:+: seraphim :+:
~@
โพสต์: 7624
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 23, 2005 9:49 pm
ที่อยู่: Pattaya Chonburi

เสาร์ ส.ค. 27, 2005 12:04 pm

*kis ขอบคุณพี่พีพีที่นำมาแบ่งปันค่ะ
beckenbauer1974

เสาร์ ส.ค. 27, 2005 2:05 pm

โปรฯ หรือเปล่าครับเนี่ย
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ ส.ค. 27, 2005 5:24 pm

beckenbauer1974 เขียน: โปรฯ หรือเปล่าครับเนี่ย
ค่ะ บอร์ด นี้ ที่ตอบประจำเป็นคริสเตียน หรือ โปรเตสแตนต์ คือ

Prod Pran และ Jeab Agape ;D
แกะหลง LL2

เสาร์ ส.ค. 27, 2005 6:27 pm

มีแกะหลงแอบอ่านเสมอด้วยคน


ปล.แกะก็โปรฯ(เบชั่น) ???
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ ส.ค. 27, 2005 6:58 pm

แกะหลง LL2 เขียน: มีแกะหลงแอบอ่านเสมอด้วยคน


ปล.แกะก็โปรฯ(เบชั่น) ???
ว้าว พี่ บุหลัน ดั้นเมฆ เรา เจี๊ยบกับพี่พีพี อธิษฐานให้ เจ๊เสมอ คิดถึงมักๆ ฮับ

พี่อ่านกระทู้ พี่ P ดิ มะรู้ว่าจะไป เก็บตัว ไปไหน

เจ๊ไม่เข้าไปที่ พันทิป เลยเหรอ ฮับ ;D

เจ๊สมัครเป็นสมาชิก ดิ จุ๊บ ๆๆๆ :-*
ภาพประจำตัวสมาชิก
-Rei-
โพสต์: 1015
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. มิ.ย. 09, 2005 8:31 pm
ติดต่อ:

อาทิตย์ ส.ค. 28, 2005 1:38 am

ตามมาอ่านเช่นเคย หนูเป็นแฟนประจำพี่พีพีค่ะ *kis
แก้ไขล่าสุดโดย -Rei- เมื่อ อาทิตย์ ส.ค. 28, 2005 1:38 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

อาทิตย์ ส.ค. 28, 2005 6:10 am

SugarRei เขียน: ตามมาอ่านเช่นเคย หนูเป็นแฟนประจำพี่พีพีค่ะ *kis
เอ่อ พี่เร ต้องทำ ช้อตโน้ท ด้วยนะฮะ เพราะก่อนรับบัพติสมา (ล้างบาป ) พี่พีพีจะส่งข้อสอบไปให้อาจารย์
สันติ ช่วยสอบพี่เรก่อน ฮับ ;D *heh *gg
ภาพประจำตัวสมาชิก
~@Little lamb@~
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 9396
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:00 pm
ติดต่อ:

อาทิตย์ ส.ค. 28, 2005 11:44 pm

ขอบคุณคะ *no1
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ ก.ค. 23, 2010 3:38 pm

พบความลับของความทุกข์กันบ้างไหมคะ :s008:
ตอบกลับโพส