+++ ประวัติศาสตร์ (อย่างย่อ) พระศาสนจักรที่พระเยซูคริสต์ทรงตั้งขึ้น +++

ถาม-ตอบพระคัมภีร์ เรื่องเสริมศรัทธา ความรู้ และสาระ บทความ ในคริสตศาสนา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 2:42 am

มธ 16:17
พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่านเป็นสุขเพราะไม่ใช่มนุษย์ที่เปิดเผยให้ท่านรู้ แต่พระบิดาเจ้าของเราผู้สถิตในสวรรค์ทรงเปิดเผย  เราบอกท่านว่า ท่านคือศิลาและบนศิลานี้ เราจะตั้งพระศาสนจักรของเราประตูนรกจะไม่มีวันชนะพระศาสนจักรได้ เราจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์ให้ ทุกสิ่งที่ท่านจะผูกบนแผ่นดินนี้ จะผูกไว้ในสวรรค์ด้วย ทุกสิ่งที่ท่านจะแก้ในแผ่นดินนี้ ก็จะแก้ในสวรรค์ด้วย”


รูปภาพ

พระสันตะปาปาพระองค์แรก

เมื่อพระเยซูสิ้นพระชนม์และเสด็จขึ้นสวรรค์ในราวปี  ค.ศ.  30  นักบุญเปโตรหรือเซนต์ปีเตอร์ได้ รับการแต่งตั้งจากพระเยซูคริสต์ ให้ปฏิบัติตนเป็นหัวหน้าสาวก

       เหตุการณ์การล้างบาปครั้งใหญ่ มากกว่า 3000 คน เมื่อพระจิตเจ้าเสด็จมาในวันเพนเทคอส เป็นจุดเริ่มต้นของบรรดาผู้เชื่อในพระเยซูคริสต์ ทั้งที่ไม่เคยเห็นพระองค์

       ค.ศ. 49-62   นักบุญ เปาโล อดีตผู้เบียดเบียนผู้เชื่อพระเยซู กลับใจโดยอัศจรรย์ ประกาศพระนามพระเยซูเจ้าให้คนต่างชาติต่างศาสนาที่มิใช่ชาวยิว และ เขียนจดหมายถึงคริสตชนตามเมืองต่างๆ โดยมิได้ทราบล่วงหน้าว่าในอนาคตจดหมายเหล่านี้ จะกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับพระธรรมใหม่ และเป็นครั้งแรกที่ผู้เชื่อพระเยซูคริสต์ ถูกเรียกว่า "คริสตชน"


สังคยานาครั้งแรก

       น. เปโตร ได้เรียกประชุมสังคายนาครั้งแรกของคริสต์ศาสนาประมาณปี  ค.ศ.  50  ชี้ขาดปัญหาว่าผู้รับข่าวดีของพระเยซูในเรื่องความรักเสียสละ และเป็นพระผู้ไถ่กู้  จะปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมใดก็ได้ไม่พึงบังคับกัน  ผลก็คือ  คริสตชนยิวพึงเป็นยิวได้ต่อไป  คริสตชนกรีกพึงเป็นกรีกต่อไป  คริสตชนโรมันพึงเป็นโรมันต่อไป และชาวต่างชาติที่รับเชื่อพระเยซู ไม่จำเป็นต้องเข้าสุหนัต หรือ ปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบชาวยิว

กจ 15:13-21  คำปราศรัยของยากอบ
          เมื่อทั้งสองคนเล่าจบแล้ว ยากอบจึงพูดว่า “พี่น้องทั้งหลาย จงฟังข้าพเจ้าเถิด  ซีโมนเล่าแล้วว่า ตั้งแต่แรกพระเจ้าทรงพระกรุณาเลือกสรรประชากรชาติหนึ่งจากนานาชาติให้เป็นประชากรของพระองค์  การกระทำเช่นนี้สอดคล้องกับถ้อยคำของบรรดาประกาศก ตามที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า

หลังจากนี้ เราจะกลับมา และจะซ่อมแซมกระโจมที่พังลงของกษัตริย์ดาวิด จะซ่อมแซมสิ่งปรักหักพังของกระโจมนี้ และจะตั้งใหม่ให้ตรง เพื่อให้มนุษย์อื่น ๆ แสวงหาองค์พระผู้เป็นเจ้า
พร้อมกับนานาชาติที่เราเรียกว่าเป็นของเรา องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสเช่นนี้ และทรงกระทำสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นที่รู้กันตลอดมาแล้ว


” ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าไม่ควรก่อความยุ่งยากแก่คนต่างศาสนาที่กลับใจมาหาพระเจ้า  ควรเขียนจดหมายไปบอกเขาให้งดเว้นการกินเนื้อสัตว์ที่ถวายแก่รูปเคารพแล้ว ให้งดเว้นการแต่งงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และงดเว้นการกินเลือดและเนื้อสัตว์ที่ถูกรัดคอให้ตาย  กฎเหล่านี้ของโมเสสเป็นที่รู้จักกันทั่วทุกเมืองตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว เพราะมีผู้ประกาศในศาลาธรรมทุกวันสับบาโต”
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 3:51 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 2:49 am

ค.ศ. 64-68   จักพรรดิเนโร เบียดเบียนพระศาสนจักร


สังฆราชที่กรุงโรมได้รับการยกย่องว่า  เป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญเปโตร  ในตำแหน่งสันตะปาปา  บางครั้งได้ปฏิบัติเป็นประมุขของพระศาสนจักรอย่างชัดเจน  ทั้ง ๆ  ที่คริสต์ศาสนาถูกห้ามและถูกจัดการอย่างรุนแรงในกรุงโรมเป็นครั้งคราวตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเนโรในปี  ค.ศ.  64  เป็นต้นมา  และสันตะปาปาต้องปฏิบัติงานอย่างลับ ๆ  และส่วนมากถูกจับประหารชีวิต  เช่น  สันตะปาปาเคลเมนส์  ที่  1

รูปภาพ


ค.ศ. 65-69   พระคัมภีร์ไบเบิ้ลเล่าถึงประวัติและคำสอนของพระเยซูเจ้าบันทึกโดย นักบุญมาระโก นักบุญมัทธิว นักบุญลูกา และ นักบุญยอห์น

ค.ศ.  70  วิหาร  ณ  กรุงเยรูซาเลมถูกทำลายลง

ค.ศ.90-200 เริ่มมีการแปลพระคัมภีร์ไบเบิ้ลในภาษาต่างๆ เช่น ซีเรีย ลาติน คอปติก และ อาราเมอิก


การตัดอธิกธรรมของพระธรรมเดิมโดยเหล่าธรรมาจารย์ชาวยิว

ปี  ค.ศ.  90  ที่ยัมเนีย  (Jamnia)  อันเป็นหมู่บ้านริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  อยู่ทางตะวันตกของเยรูซาเลมเป็นระยะทางประมาณ  30  ไมล์  เพื่อหาศูนย์รวมใจของสังคมยิว  ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าต้องยึดถือคัมภีร์สารบบเดียวกันเป็นหลัก  ปัญหาอยู่ที่การเลือกกำหนดว่าเล่มใดบ้างควรจะจัดอยู่ในสารบบที่รับรองเป็นทางการของศาสนายูดาห์  การคัดเลือกจะต้องคำนึงถึงเอกลักษณ์ของศาสนายูดาห์โดยเฉพาะ  และให้แยกออกจากศาสนาคริสต์ได้อย่างเด็ดขาดจึงตกลงกันไม่ยอมรับคัมภีร์ที่สนับสนุนการตั้งศาสนาใหม่ของพระเยซู ดังปรากฏในคำประกาศว่า “วรสารและหนังสือของพวกนอกรีตทั้งหลายไม่ใช่คัมภีร์  หนังสือของเบ็นซีราและหนังสืออื่น ๆ  ที่เขียนหลังจากนั้นไม่ใช่คัมภีร์”

คัมภีร์ที่อยู่ในสารบบเป็นทางการได้ชื่อว่า  คัมภีร์ในสารบบ  (Canonical  Scriptures)  คัมภีร์อื่นที่มีชาวยิวบางคนถือแต่ไม่อยู่ในสารบบที่ประกาศเป็นทางการได้ชื่อว่า  คัมภีร์นอกสารบบ  (Apocrypha)  จากคำประกาศนี้  ทำให้หนังสือหลายเล่มซึ่งอยู่ในสารบบเจ็ดสิบกลายเป็นคัมภีร์นอกสารบบไป

ช่วงศตวรรษที่2 คริสตศาสนาเผยแผ่ไปถึง เอเชียไมเนอร์ กรีซ มาสิโดเนีย อียิปต์ อินเดีย ทั่วยุโรป และแอฟริกาเหนือ
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 2:55 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 2:53 am

ช่วงปี ค.ศ. 100-300  ยุคแห่งมรณสักขี(คาดว่ามีคริสตชนตายเพราะการถูกเบียดเบียนศาสนาของจักรวรรดิ์โรมันถึง200,000คน)

รูปภาพ

ปี  ค.ศ.313  จักรพรรดิคอนสตันตินออกกฤษฎีกาแห่งมิลาน  (Edict of Milan)  เลิกบีฑาชาวคริสต์  ยิ่งกว่านั้นยังสนพระทัยสนับสนุนโดยอุปถัมภ์สังคายนา  รับรู้อำนาจของสันตะปาปาเหนือศาสนจักรทั้งหมด  สร้างโบสถ์เซนต์ปีเตอร์หลังแรกให้  พระราชทานที่ดินและทรัพย์สินส่วนพระองค์มากมายอุปถัมภ์คริสต์ศาสนา  และเมื่อทรงย้ายเมืองหลวงไปสร้างใหม่ที่คอนสตันติโนเปิ้ล  


ตั้งแต่ปี  ค.ศ.330  ก็ได้ทรงมอบหมายอำนาจทางอาณาจักรให้สันตะปาปาปกครองกรุงโรมและบริเวณใกล้เคียง  ซึ่งต่อไปจะเรียกว่ารัฐของสันตะปาปา  (Papal  State)  ซึ่งในตำแหน่งนี้สันตะปาปามีฐานะเป็นเจ้านครขึ้นต่อจักรพรรดิ  แต่ในฐานะสันตะปาปาก็ยังคงเป็นประมุขของพระศาสนจักรทั้งหมดต่อไป  ตรงนี้เองนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของอำนาจการเมืองของสันตะปาปาซึ่งจะวิวัฒน์ต่อไป



ตั้งแต่นั้นมาสันตะปาปาจึงดำรง 3 ตำแหน่ง (แสดงออกเป็นสัญลักษณ์โดยสวมมงกุฎ 3 ชั้น ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว) คือ

1.เป็นประมุขของคริสตชนคาทอลิกทั่วโลก
2.เป็นบิชอปของกรุงโรม และ
3.เป็นเจ้านครของกรุงโรมขึ้นต่อจักรพรรดิโรมัน
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 3:51 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 3:03 am

กำาเนิดสาระบบพระคัมภีร์ไบเบิ้ลพระธรรมใหม่อย่างเป็นทางการ

ค.ศ. 325  การสังคยนาสากลที่ ไนซีอา ยืนยันว่าพระเยซูเป็นทั้งพระเจ้า และมนุษย์

ค.ศ. 367  อเธนาเชียส บิชอปแห่งอเล็กซานเดรียบรรจุรายชื่อหนังสือของพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ทั้ง 27 เล่ม

ค.ศ. 381  การสังคยนาที่กรุงคอนแสตนติโนเปิล / จักพรรดิทีโอโดซิอุส ทรงประกาศให้คริสตศาสนาเป็นศาสนาประจำจักวรรดิโรมัน

ค.ศ. 384 นักบุญ เยโรม  รวบรวมคัมภีร์ทั้งหมดที่ยอมรับกัน แปลเป็นภาษาละตินอย่างเป็นทางการ รับรองโดยพระสันตะปาปา ดามาซัส  และพระคัมภีร์ไบเบิ้ลในการแปลครั้งนี้เป็นฉบับมาตรฐานของพระศาสนจักรคาทอลิคจนปัจจุบันและใช้แปลเป็นภาษาต่างๆอย่างแพร่หลายในสมัยนั้น


ค.ศ. 395  หลังการสิ้นพระชนม์ของจักพรรดิ ทีโอโดซิอุส อาณาจักรโรมันถูกแบ่งออกเป็นโรมันตะวันตก กับ โรมันตะวันออก

ค.ศ. 431  การสังคยนาที่เมืองเอเฟซัส ประกาศย้ำว่าพระเยซูมีทั้งธรรมชาติพระเจ้า และธรรมชาติมนุษย์ และประกาศว่าพระมารดามารีย์มีฐานะ "มารดาพระเจ้า"


รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 3:11 am

การเผยแผ่ศา่สนาในยุโรป

ค.ศ. 476   อวสานจักรวรรดิโรมันตะวันตก เหลือแต่โรมันตะวันออก


        ครั้น เมื่อจักรพรรดิโรมันไม่สามารถกุมอำนาจทางตะวันตกได้อีกต่อไป สันตะปาปาก็มีอำนาจปกครองเด็ดขาดในฐานะกษัตริย์หรือเจ้านครรัฐอิสระโดย ปริยาย อำนาจทางการเมืองของสถาบันสันตะปาปา บางครั้งก็ขยายออกไปกินอาณาบริเวณภาคกลางของอิตาลีทั้งหมดบางครั้งขยายไปถึง ภาคเหนือของ อิตาลี จนถึงบางส่วนทางภาคใต้ของฝรั่งเศสด้วยก็มี อาณาเขตเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาตลอดยุคกลางตามกระแสเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์

รูปภาพ

เมื่ออนารยชนบุกยุโรปเป็นการใหญ่  และไม่มีกองกำลังของจักรพรรดิออกสกัดต่อต้านคณะสงฆ์ก็กลายเป็นที่พึ่งทางใจและทางกายแก่ผู้เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า  สันตะปาปาจึงกลายเป็นศูนย์รวมกำลังใจ  และเมื่อสันตะปาปาเลโอที่  1  สามารถเกลี้ยกล่อมให้อัตตีลาหัวหน้าเผ่าฮั่น  มิให้เข้าปล้นกรุงโรมได้สำเร็จ  ก็ยิ่งได้รับความเชื่อถือมากขึ้น  จนถึงขั้นมีอำนาจเหนือจิตใจของประชาชนชาวโรมันตะวันตกทั่วไปอย่างสมบูรณ์  ชนิดชี้ขาดอะไรก็ได้ นอกจากนั้น  ในเวลาต่อมาสถาบันสันตะปาปายังสามารถจูงใจหัวหน้าเผ่าอนารยชนกลุ่มใหม่ ๆ  เข้าสวามิภักดิ์  ทำให้แรงกดดันจากการรุกรานของเผ่าอนารยชนลดน้อยลงตามลำดับ  เช่น  ปี  คศ. 437  เซนต์แพทริค  (St. Patrick)  สามารถชักชวนให้ชาวไอร์แลนด์เข้าร่วมเป้นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักร

รูปภาพ

       ค.ศ.496 ฝรั่งเศสเข้าเป็นประเทศคริสตศาสนา และถูกขนานนามว่า "ธิดาหัวปีของพระศาสนจักร"
       
       เซนต์ออกัสติน  (คนละคนกับนักบุญเอากุสตีนุส  นักปรัชญา)  สามารถชักชวนให้ชาวแองโกลแซกซันสวามิภักดิ์  โกลวิส  (Clovis)  หัวหน้าเผ่าฟรังก์ รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักรคาทอลิค
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ จันทร์ ก.ย. 28, 2009 10:55 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 3:17 am

พระศาสนจักรมีอำนาจเหนืออาณาจักร

รูปภาพ

        ในที่สุดคืนคริสต์มาสปี  ค.ศ.800  สันตะปาปาเลโอที่  3  (Leo  lll)  ก็สวมมงกุฎแต่งตั้งชาร์ลมาญกษัตริย์เผ่าฟรังก์เป็นจักรพรรดิแห่งมหาอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์  อย่างไรก็ตาม  การสวามิภักดิ์ระหว่างนี้เป็นไปในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน  เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีความจำเป็นต้องพึ่งอีกฝ่ายหนึ่ง  กล่าวคือ  ฝ่ายหัวหน้าเผ่าอนารยชนที่เบื่อการเร่ร่อนและต้องการตั้งหลักแหล่ง  ก็ต้องการการรับรู้จากสันตะปาปาเพื่อสามารถตั้งภูมิลำเนาลงในถิ่นที่ต้องการได้โดยถือว่ามีกรรมสิทธิ์  และประชาชนชาวโรมันในท้องถิ่นของตนจะได้ยอมอยู่ใต้อำนาจอย่างราบคาบ  ส่วนสันตะปาปาก็ต้องการให้หัวหน้าเผ่าเหล่านี้อยู่อย่างสงบ  และยิ่งกว่านั้นก็ต้องการให้ปกป้องมิให้เผ่าอื่น ๆ  รุกรานเข้าในรัฐที่พระสันตะปาปาปกครองอยู่

การเมืองมีอำนาจเหนือพระศาสนจักร

ถึงปี  ค.ศ. 961  วิถีทางการเมืองในยุโรปก็เปลี่ยนไปอย่างสำคัญ  ในเมื่อจักรพรรดิอ๊อตโตที่ 1 ยึดอำนาจแต่งตั้งสันตะปาปาได้สำเร็จ ตั้งแต่นั้นมาสถาบันสันตะปาปาก็อยู่ใต้อิทธิพลของจักรพรรดิเยอรมัน  และการแต่งตั้งสังฆราชตกอยู่ในมือของการเมือง  คือ  จักรพรรดิหรือเจ้าผู้ปกครองรัฐ  ซึ่งทำให้ไม่คล่องตัวในการปกครองศาสนจักร  และไม่มีอิสรภาพเพียงพอในการอบรมและพัฒนาจิตใจ  สถาบันสันตะปาปาจึงดำเนินนโยบายปลดปล่อยตัวเองจนสามารถทำได้สำเร็จในปี  ค.ศ. 1075  โดยสันตะปาปาเกรโกรีอุสหรือเกรโกรีที่ 7 ซึ่งเป็นชาวเยอรมันเช่นกัน สามารถประกาศให้สถาบันสันตะปาปาเป็นอิสระจากจักพรรดิเยอรมันได้สำเร็จ เมื่อจักรพรรดิเฮนรีที่  4  คัดค้าน  ก็ถูกคว่ำบาตรและเป็นเหตุให้บัลลังก็จักรพรรดิของพระองค์สั่นคลอน  จำต้องยอมจำนน
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 3:52 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 3:26 am

การปลดปล่อยพระศาสนจักรจากอำนาจการเมือง

เรามาดูรายละเอียดกันสักนิดว่าพระสันตะปาปา(นักบุญ)เกรโกรีที่  7  ดำเนินการอย่างไร

รูปภาพ

เกรโกรีที่  7  (Gregorius Vll  1073-1085)  เป็นชาวเยอรมัน  เกิดที่ต๊อสคานา  (Toscana)  ในปี  ค.ศ. 1015  มีแววฉลาดหลักแหลมตั้งแต่ยังหนุ่ม  โดยรับใช้สันตะปาปาเลโอที่ 9 (Leo lX 1049-1054) ในฐานะคนสนิท  ต่อจากนั้นก็ได้รับใช้สันตะปาปาต่อมาอีก  5  พระองค์ในตำแหน่งสำคัญ ๆ  ทำให้มีความรอบรู้และความชำนาญเกี่ยวกับสถาบันสันตะปาปาและปัญหาการเมืองในขณะนั้นอย่างดียิ่ง  ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเป็นสันตะปาปาก็คือ  เป็นเสนาบดีดูแลรัฐสันตะปาปาต่างพระเนตรพระกรรณของสันตะปาปาอาเล็กซันเดอร์ที่  2 (Alexander ll 1061-1073)  เมื่อสันตะปาปาองค์สุดท้ายนี้สิ้นพระชนม์ลง  เกรโกรีก็ได้จัดงานปลงพระศพใหญ่โตหรูหรา  และก็คงจะจัดได้เรียบร้อยน่าประทับใจเป็นพิเศษนั่นเอง ประชาชนจึงทึ่งในความสามารถและเชื่อถือฝีมือ  อยากให้เป็นสันตะปาปาเพื่อแก้ไขสถานการณ์  เนื่องจากชาวกรุงโรมรำคาญการแทรกแซงจากภายนอกมานานแล้ว  จึงโห่ร้องกันกึกกร้องขึ้นว่า  “เกรโกรีอุสเป็นสันตะปาปา ๆ ๆ ๆ  “  แต่ทว่าวิธีเลือกสันตะปาปาแบบนี้เลิกใช้แล้ว  สันตะปาปานีโคลัสที่  2  (Nicholas  ll)  ได้กำหนดในปี  ค.ศ. 1059  ว่าพระคาร์ดินัลเท่านั้นมีสิทธิเลือก  ดังนั้นเพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบ  พระคาร์ดินัลซึ่งส่วนมากเป็นชาวอิตาลีจึงประชุมด่วนและประกาศว่าพวกตนเลือกเกรโกรีเป็นสันตะปาปา เกรโกรีก็รับและไม่ยอมขออนุมัติจากจักรพรรดิตามที่เคยปฏิบัตกันมา  แต่กลับประกาศว่า “สันตะปาปามีอำนาจเหนือมหาอาณาจักร...  สันตะปาปามีอำนาจถอดจักรพรรดิ...  สันตะปาปาเท่านั้นที่มีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายและถอดสังฆราชทุกท้องที่” ขณะได้รับเลือกนั้นเกรโกรีที่  7  ยังมีฐานะเพียงสามเณร  จึงต้องทำการบวชเป็นพระสงฆ์  บวชเป็นสังฆราชของกรุงโรมและทำพิธีสวมมงกุฎสันตะปาปาในเวลาไล่เลี่ยกัน

จักรพรรดิเฮนรีที่  4  (Heinrich IV  1050-1106)  ไม่แยแสต่อแถลงการณ์ของสันตะปาปาเกรโกรีที่  7  ยังคงใช้อำนาจแต่งตั้งสังฆราชปกครองท้องถิ่น  และแต่งตั้งอธิการปกครองอารามต่าง ๆ  ในอาณาจักรของพระองค์ต่อไปตามเดิม  ในด้านปกครองคณะสงฆ์จักรพรรดิได้แต่งตั้งที่ปรึกษา  5  ท่านโดยให้มีตำแหน่งสงฆ์ระดังสูงในอาณาจักรของพระองค์ด้วย ที่ปรึกษาทั้ง  5  ไม่ยอมรับรู้ตำแหน่งและอำนาจของสันตะปาปาเกรโกรีที่  7  สันตะปาปาจึงยื่นคำขาดให้ปลด  มิฉะนั้นจะคว่ำบาตรจักรพรรดิ  ครึ่งเดือนต่อมาจักรพรรดิตอบโต้โดยส่งทหารเข้าลอบจับตัวพระองค์ในโบสถ์นำไปขังไว้ในป้อม ขณะนั้นเป็นคืนคริสต์มาสของปี  ค.ศ. 1075  ประชาชนชาวโรมช่วยกันล้อมป้อมและช่วยออกมาได้ พระองค์บาดเจ็บแต่ก็ทรงแสดงน้ำพระทัยโดยอภัยแก่ผู้ผิดทั้งหมด  แล้วกลับไปที่โบสถ์ประกอบพิธีกรรมจนจบด้วยพระอาการปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น  วันที่  14  เดือนกุมภาพันธ์ต่อมา  พระสันตะปาปากำลังประชุมที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงงานบริหาร  จักรพรรดิส่งผู้ถือสาสน์มาอ่านให้ที่ประชุมฟังความว่า  เกรโกรีเป็นสันตะปาปาที่ไม่ถูกต้อง  ดังนั้น  ในนามของจักรพรรดิด้วยอาญาสิทธิ์จากพระเจ้า  ขอให้สละตำแหน่งเสียเพื่อให้จักรพรรดิแต่งตั้งสันตะปาปาที่ถูกต้องต่อไป

วันต่อมา  สันตะปาปาเกรโกรีที่  7  ก็ประกาศคว่ำบาตรจักรพรรดิเฮนรีที่  4  อย่างเป็นทางการโดยประกาศถอดออกจากตำแหน่งจักรพรรดิ  และเรียกร้องคริสตชนทั้งหลายมิให้รับรู้อำนาจจักรพรรดิอีกต่อไป  ต่อจากนั้นก็จัดการถอดตำแหน่งสงฆ์ต่าง ๆ  ที่จักรพรรดิได้แต่งตั้งไว้  และแต่งตั้งคนใหม่เข้าทำหน้าที่แทน  ผู้ปกครองรัฐทั้งหลายขานรับคำประกาศของสันตะปาปา  คริสตชนทั้งหลายทั่วยุโรปก็เดินตามผู้ปกครองรัฐของตน

รูปภาพ

จักรพรรดิเฮนรีที่  4  ได้เรียกประชุมสภาแห่งมหาอาณาจักรถึง  2 ครั้ง  ไม่มีใครเข้าประชุมแต่สภากลับไปแสดงความภักดีต่อสันตะปาปาเกรโกรีที่  7  จักรพรรดิจึงเดินทางอย่างซ่อนเร้นจนถึงเมืองคาน๊อสซา  (Canossa)  ทางภาคเหนือของอิตาลี  ทรงทราบว่าพระสันตะปาปากำลังประทับอยู่ที่นั่นอยู่  3  วัน  จึงทรงอนุญาตให้เข้าเฝ้า  จักรพรรดิทรงยอมรับผิดและทรงยอมรับรู้อำนาจของสันตะปาปาทำให้สถาบันสันตะปาปามีอำนาจเหนืออาณาจักรด้วยอย่างแท้จริงตั้งแต่บัดนั้น  อย่างไรก็ตาม  เรื่องมิได้จบลงง่าย ๆ  เพราะสถาบันสันตะปาปายังไม่พร้อมที่จะบริหารงานใหญ่โตอย่างนั้น  ขาดทั้งกำลังคนและกำลังทรัพย์  ฝ่ายที่เสียผลประโยชน์จากการยึดอำนาจทางอาณาจักรโดยสันตะปาปาก็มีจำนวนมาก  จักรพรรดิเฮนรีที่  4  เองก็มิได้ทรงอ่อนข้ออย่างจริงใจ ครั้นได้ตำแหน่งจักรพรรดิคืนแล้วก็ยังคงดำเนินนโยบายโค่นล้มอำนาจทางการเมืองของสถาบันสันตะปาปาต่อไป จักรพรรดิองค์ต่อ ๆ  มาก็ยังคงดำเนินนโยบายเดียวกัน  สถาบันสันตะปาปาต้องดิ้นรนหาประสบการณ์ต่อไปอีกกว่าศตวรรษ  จึงได้สันตะปาปาที่มีความสามารถและความพร้อมที่จะบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ  คือ  สันตะปาปาอิโนเซนต์ที่  3  จากสกุลคอนตี  ชาวอิตาลี  สถาบันสันตะปาปาจึงได้มีอำนาจทางการเมืองอย่างสูงสุด  สันตะปาปากลายเป็นกษัตราธิราชอย่างแท้จริง  มีอำนาจเด็ดขาดเหนือจักรพรรดิแห่งมหาอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และกษัตริย์ทั้งหลายทั่วยุโรป
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 3:32 am

พระศาสนจักรในอำนาจสูงสุด

ขั้นตอนของการต่อสู้พอจะประมวลได้ดังต่อไปนี้  คือ  จักรพรรดิเฮนรีที่  5  โอรสของเฮนรี่ที่  4  ใช้นโยบายตั้งรับ  คือ  พยายามประคับประคองตำแหน่งของพระองค์ไว้ได้  จักรพรรดิองค์ต่อมา  คือ  เฟรเดริคที่  1  ซึ่งเป็นพระราชบุตรเขยของจักรพรรดิเฮนรีที่  4  เริ่มดำเนินนโยบายรุกโดยพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปในอิตาลี  แต่ล้มเหลวเพราะถูกต่อต้านอย่างแข็งขันจากกองกำลังที่สวามิภักดิ์ต่อสันตะปาปา  จึงทรงเปลี่ยนนโยบายมาให้โอรส  คือ  เฮนรีที่  6  สมรสกันธิดาแห่งอาณาจักรซิซิลี  ต่อมาเมื่อเฮนรีที่  6  ได้เป็นจักรพรรดิ  จึงได้ครอบครองภาคใต้ของอิตาลีด้วย  แต่ทว่าจักรพรรดิเฮนรีที่  6  สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนมายุเพียง  32  ชันษา  ทายาทคือจักรพรรดิเฟรเดริคที่  2  เพิ่งมีพระชนมายุได้เพียง  4  ชันษาเท่านั้น  พระมารดาจึงขอสวามิภักดิ์ต่อสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่  3

รูปภาพ

        ตลอดสมณสมัยของพระองค์จึงทรงใช้อำนาจสูงสุดทั้งทางศาสนาและการเมืองได้อย่างราบรื่น  และได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกฝ่าย  จะแต่งตั้งใครในตำแหน่งใดก็สำเร็จตามพระประสงค์  เช่น  ปี ค.ศ. 1208  จัดการกับพวกนอกรีตในฝรั่งเศสอย่างเด็ดขาด  ปี  ค.ศ. 1210  คว่ำบาตรอ๊อตโตที่  4  ปี  ค.ศ. 1212  คว่ำบาตรกษัตริย์จอห์นของอังกฤษ  และปีเดียวกันเรียกประชุมสังคายนาลาตรันครั้งที่  4  เพื่อให้มารับฟังนโยบายของพระองค์  ไม่ใช่เพื่อถกปัญหาข้อยุติร่วมกันดังเช่นสังคายนาครั้งอื่น ๆ ในสังคายนานี้เองที่ทรงดำริให้ตั้งศาลศาสนาขึ้นเพื่อสอบสวนผู้สอนนอกรีต  ให้ผ่ายปกครองจัดการลงโทษสถานหนัก  และได้รับความร่วมมือจากฝ่ายปกครองอย่างดีเกินไปเสียด้วยซ้ำ  ทรงขยายเขตรัฐสันตะปาปาออกไปจนได้ขนาดเท่าเดิมที่จักรพรรดิคอนสตันตินได้มอบให้สถาบันสันตะปาปา

รูปภาพ

        ในปี  ค.ศ. 1325  ทรงอนุมัติการตั้งคณะโดมีกันและคณะฟรันซิสกันให้ขึ้นตรงต่อองค์สันตะปาปา พระองค์ทรงกลายเป็นสงฆ์ – จักรพรรดิอย่างแท้จริง  และปกครองด้วยระบอบเทวาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 3:37 am

สงครามครูเสด

สงครามครูเสด (ค.ศ.1096 - 1291)

    สงครามครูเสดเป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งของผู้นับถือศาสนาแตกต่างกัน คือ คริสต์ศาสนากับศาสนาอิสลาม ระหว่าง ค.ศ. 1096 – 1291 เพราะฝ่ายคริสต์ต้องการยึดดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของคริสต์ศาสนาคือ ปาเลสไตน์ กลับคืนจากฝ่ายมุสลิม

ถูกยึดแต่ปรองดอง

    ฝ่ายคริสเตียนถือว่า ดินแดนปาเลสไตน์ที่ซึ่งพระเยซูประสูติและเผยแผ่คำสอนเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ที่จริงดินแดนนี้ถูกพวกอาหรับพิชิตและยึดครองตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้วและอาหรับส่วนใหญ่ก็นับถือศาสนาอิสลาม แต่พวกอาหรับเป็นพวกที่มีขันติธรรมต่อศาสนาอื่นและยอมให้พวกคริสเตียนและพวก ยิวอยู่ในปาเลสไตน์และปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างเปิดเผยตราบใดที่ยอมจ่ายภาษี และปฏิบัติตามกฎระเบียบการปกครอง



จุดเริ่มต้นการเบียดเบียน

    ต่อมาในปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 11 พวกเซลจุ๊ก เติร์ก (seljuk turks) ซึ่งเป็นนักรบจากเอเชียกลางและนับถือศาสนาอิสลามได้โจมตีและยึดครอง ปาเลสไตน์ มีการประหารผู้แสวงบุญชาวคริสต์ อีกทั้งคุกคามกรุงคอนสแตนติโนเปิล ศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันตะวันออก จักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันตะวันออกจึง ร้องของความช่วยเหลือไปยังสันตะปาปาที่กรุงโรมเพื่อขออาสาสมัครไปขับไล่พวก เซลจุ๊ก เติร์ก ออกจากจักรวรรดิโรมันตะวันออก

รูปภาพ


ประกาศสงคราม

    สันตะปาปาเออร์บันที่ 2 (urban 2) แห่งกรุงโรมได้เรียกร้องให้เจ้าฟิวดัล (feudal lords) และอัศวินทั้งหลายหยุดต่อสู้กันเอง แล้วหันมาร่วมมือเพื่อทำสงครามเพื่อแย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืน และเรียกสงครามนี้ว่า ครูเสด (crusade)  สงครามครูเสดเกิดขึ้นเป็นเวลาเกือบ 200 ปี มีสงครามราว 10 ครั้ง ( นักประวัติศาสตร์มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในจำนวนครั้ง) ครั้งสำคัญ ได้แก่

1. สงครามครูเสดครั้งที่ 1 ( ค.ศ. 1096 – 1099)

    ประกอบด้วยกองทัพจากเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี มีทั้งอัศวิน พ่อค้า ประชาชนอาสาสมัคร มุ่งสู่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ไปยังดินแดนปาเลสไตน์ เพื่อปลดปล่อยกรุงเยรูซาเล็มจากฝ่ายอิสลาม และสามารถยึดได้ใน ค.ศ. 1099 จากนั้นได้จัดตั้งรัฐเล็กๆขึ้น 4 แห่ง (หนึ่งในสี่นี้คือ อาณาจักรเยรูซาเล็ม) จัดการปกครองตามระบอบฟิวดัล ผู้คนทั้ง 2 ศาสนาต่างอยู่ร่วมกัน ให้การยอมรับกัน ค้าขายร่วมกัน ปรากฏว่าพวกคริสเตียนจำนวนมากได้ยอมรับวัฒนธรรมของดินแดนใหม่ ชอบอาหารและการแต่งกายของโลกตะวันออก

รูปภาพ

2. สงครามครูเสดครั้งที่ 2 ( ค.ศ. 1147 – 1149 )

    ประกอบด้วยกองทัพของกษัตริย์ฝรั่งเศส และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะพวกเติร์กขยายอำนาจอีกครั้งและคุกคามอาณาจักรเยรูซาเล็ม แต่กองทัพครูเสดคราวนี้ไม่ประสบผลสำเร็จและยกทัพไปไม่ถึงกรุงเยรูซาเล็ม


3. สงครามครูเสดครั้งที่ 3 ( ค.ศ. 1189 – 1192)

    ประกอบด้วยกองทัพของ 3 กษัตริย์ หรือ “ครูเสดของกษัตริย์ทั้งสาม”

คือ พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ ( richard the lion – heart ) แห่งอังกฤษ พระเจ้าฟิลิป ออกุสตุส ( philip augustus ) แห่งฝรั่งเศส และจักรพรรดิเฟรเดริก บาร์บารอสสา ( frederick barbarossa ) แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

    * สงครามครูเสดครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเพราะมีข่าวไปถึงทวีปยุโรปเมื่อ ค.ศ. 1187 ว่าผู้นำของมุสลิม คือ ซาละดินหรือแซลอุดิน ( saladin ) ยึดกรุงเยรูซาเล็มได้ กษัตริย์ทั้งสามจึงรวมกำลังเพื่อยึดดินแดนศักดิ์สิทธิ์กลับคืน

    สงครามครูเสดครั้งที่ 3 ประสบกับความล้มเหลวเพราะกองทัพของจักรพรรดิเฟรเดริกบาร์บารอสสาไปไม่ถึงและถอยกลับ ส่วนพระเจ้าฟิลิปออกุสตุสกับพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ไปถึงปาเลสไตน์แต่ทะเลาะกัน พระเจ้าฟิลิปจึงยกทัพกลับ ส่วนพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์มีโอกาสยึดอาณาจักรเยรูซาเล็มได้หลายครั้งโดยวิธีทางการทูต แต่พระองค์อยากได้ชัยชนะโดยการทำสงครามมากกว่า จึงไม่ประสบผลสำเร็จ สงครามครูเสดครั้งที่ 3 ทำให้ฝ่ายคริสต์และมุสลิมเสียชีวิตประมาณ 300000 คน


4. สงครามครูเสดในสมัยหลัง

    สงครามครูเสดยังมีขึ้นต่อมาอีกหลายครั้งจนถึง ค.ศ. 1291 แต่ไม่มีความสำคัญมากนัก บางครั้งพวกครูเสดโจมตีเมืองที่เป็นคริสเตียนเหมือนตน ดังนั้น ดินแดนศักดิ์สิทธ์ของฝ่ายคริสเตียนจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝ่ายมุสลิมอย่างมั่นคง

    สงครามครูเสดเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางศาสนาที่แตกต่างกัน สงครามนี้ล้มเหลวเพราะฝ่ายคริสเตียนไม่สามารถยึดดินแดนศักดิ์สิทธิ์กลับคืนได้แต่ก็ก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านการแลกเปลี่ยนอารยธรรม ความรู้และการค้า อีกทั้งทำให้กษัตริย์ของยุโรปมีสถานะที่เข้มแข็งขึ้น นับได้ว่าครูเสดทำให้เกิดประโยชน์กับทวีปยุโรปหลายด้าน
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 4:19 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 3:48 am

พระศาสนจักรกลับมาถูกครอบงำทางการเมือง

ครั้งสิ้นสมณสมัยของอินโนเซนต์ที่  3  สันตะปาปาองค์ต่อ ๆ  มาไม่มีความสามารถที่จะธำรงอำนาจไว้ได้  จักรพรรดิเฟรเดริคที่  2  ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่  3  และอยู่ในโอวาทมาโดยตลอด  ก็เริ่มถือโอกาสดำเนินนโยบายสร้างอิทธิพลเพื่อเรียกอำนาจคืน  แต่ทว่าระหว่างนี้ลัทธิชาตินิยมกำลังก่อตัวในยุโรป  กษัตริย์อื่น ๆ  ทั่วยุโรปต้องการเป็นอิสระและมีอำนาจเหนือกันและกัน  สันตะปาปาไม่สามารถระงับความขัดแย้งได้  กษัตริย์ฟีลิปที่  4  ของฝรั่งเศสกำลังเข้มแข็งขึ้นทุกขณะ  และทรงพระประสงค์จะคุมศาสนาไว้ในพระหัตถ์  ครั้นได้โอกาสเมื่อตำแหน่งสังฆราชแห่งปามีเอรส์  (Pamiers)  ว่างลง  กษัตริย์ฟีลิปที่  4  ก็ไม่ยอมรับผู้ที่สันตะปาปาแต่งตั้ง  และแต่งตั้งคนของตนเข้าดำรงตำแหน่ง  สันตะปาปาโบนีเฟ็สที่  8  (Boniface VIII)  ทรงเป็นนักกฎหมาย  มัวแต่อ้างกฎหมายเพื่อใช้อำนาจคว่ำบาตร  แต่กษัตริย์ฟีลิปที่  4  ทรงเตรียมทั้งกำลังทหารและการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อโค่นอำนาจของสันตะปาปา  สันตะปาปาถูกกล่าวร้ายต่าง ๆ  ในขณะที่นักเทววิทยาของกษัตริย์พยายามพิสูจน์ว่ากษัตริย์ได้รับอำนาจการเมืองจากพระเจ้า  ส่วนสันตะปาปาได้รับอำนาจการศาสนาเท่านั้น  สันตะปาปาที่แสวงหาอำนาจการเมืองจึงมิได้ทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า กษัตริย์ย่อมจะมีอำนาจจัดการให้ถูกเรื่องเสีย

รูปภาพ

        ปี  ค.ศ. 1301  สันตะปาปาทรงออกสมณสารตำหนิการกระทำของกษัตริย์ฟีลิปที่  4  ปีต่อมาทรงออกสมณสารยืนยันอำนาจสูงสุดของสันตะปาปาทั้งทางศาสนาและการเมือง  กษัตริย์ตอบโต้โดยหาผู้ร่วมใจในอิตาลีพร้อมทั้งส่งทหารชาวฝรั่งเศสของตนเข้าสมทบ  สามารถจับสันตะปาปากักขังไว้ได้ในปีต่อมา  และไม่นานต่อมาสันตะปาปาโบนีเฟ็สที่  8  ก็สิ้นพระชมน์  กษัตริย์ฟีลิปของฝรั่งเศสทรงจัดการให้เลือกสันตะปาปาตามพระประสงค์ของพระองค์  และให้ประทับอยู่ในวังอาวีญ็องภาคใต้ของฝรั่งเศส  เพื่อให้อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ฝรั่งเศสตลอดไป  สันตะปาปาระหว่างนี้เป็นชาวฝรั่งเศสทั้งสิ้น



กลับสู่โรม

สถาบันสันตะปาปาอยู่ในความอุปถัมภ์ของกษัตริย์ฝรั่งเศสได้ประมาณ  70  ปี  (ค.ศ. 1305 – 1417)  ได้บทเรียนราคาแพงว่า  สถาบันสันตะปาปาในสภาพเช่นนั้นไม่อาจปฎิบัติหน้าที่ในฐานะผู้นำทางศาสนาสากลได้  ทั้งคริสตชนทั่วไปก็ข้องใจในตำแหน่งประมุขศาสนา  เพราะถือกันมาโดยตลอดว่าสันตะปาปาต้องเป็นสังฆราชของกรุงโรม  และอยู่ในกรุงโรม  อันเป็นที่ซึ่งเซนต์ปีเตอร์ถึงแก่มรณภาพ  ในที่สุดผู้หวังดีทุกฝ่ายจึงเชิญสันตะปาปามาร์ตินที่  5  (Martin V)  กลับไปอยู่ในวังวาติกัน  โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยกันค้ำประกันรัฐสันตะปาปาให้มีอาณาเขตเท่าเดิม  ตามที่จักรพรรดิคอนสตันตินได้ถวายให้เมื่อปี  ค.ศ. 325  ทั้งนี้เพื่อให้สถาบันสันตะปาปาใช้อำนาจทางศาสนาได้อย่างอิสระ

      เรื่องราวอันยุ่งยากของประวัติศาสตร์ แห่งพระศาสนจักรจึงสิ้นสุดลง ในช่วงเวลาที่อำนาจ ของพระสันตะปาปาอ่อนแอลงนี้ ได้มีการเคลื่อนไหว ที่จะมีการตั้งสภาแห่งพระศาสนจักร เพื่อควบคุมพระสันตะปาปา แต่ก็ไม่สำเร็จ ในปี ค. ศ. 1563 สภาสังคายนาแห่งเมืองเตรนท์ จึงได้มีการยืนยัน อำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปาอีกครั้งหนึ่ง ทำให้การเคลื่อนไหวดังกล่าวสิ้นสุดลง ในระยะนั้นจึงนับว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ ของการปฏิรูปของพระศาสนจักร
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 4:19 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 4:07 am

ความแตกแยกในพระศาสนจักร

พระศาสนจักรของพระเยซูคริสต์ ต้องประสบกับมรสุมใหญ่ที่สุด 2 ครั้ง

ครั้งแรก เป็นความขัดแย้งกัน กับจักรวรรดิ์ตะวันออกในศตวรรษที่ 11 ย้อนหลังไปเมื่อศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิคอนสแตนติน ได้สร้างกรุงคอนสแตนติโนเปิล เป็นเมืองหลวงใหม่ ของจักรวรรดิโรมันขึ้นในเอเซีย จึงทำให้เกิดการถกเถียงกันว่า ใครจะเป็นผู้นำของพระศาสนจักร สังฆราชแห่งโรม หรือสังฆบิดรแห่งคอนสแตนดิโนเปิล การเบาะแว้งนี้ดำเนินเรื่อยมา จนถึง ค. ศ. 1054 เมื่อคาร์ดินัลฮัมเบิร์ตจากโรม ได้นำประกาศเรื่องการตัดศาสนาจักรตะวันออก ให้ขาดจากพระศาสนจักรแห่งโรม (Bill of Excommunication) ไปวางบนพระแท่น ของนักบุญโซเฟีย ในคอนสแตนติโนเปิล ตั้งแต่นั้นมา พระศาสนาจักรจึงถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายโรมันคาทอลิก มีพระสันตะปาปาเป็นผู้นำ และฝ่ายกรีกออร์โทด๊อกซ์ มีสังฆบิดรเป็นผู้นำ

รูปภาพ

มรสุมลูกที่สอง ได้แก่ การปฏิรูปศาสนาโปรแตสตันต์ นำโดยมาร์ติน ลูเธอร์ในศตวรรษที่ 16 ทำให้พระศาสนจักรตะวันตก แบ่งออกเป็นนิกายต่าง ๆ มากมาย แต่ผลที่ตามมาก็คือ การปฏิรูปศาสนานี้ เป็นจุดที่ทำให้ชาติต่าง ๆ ในยุโรป ปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะปกครองตนเองอย่างมีอิสระ โดยไม่ต้องฟังเสียงของพระสันตะปาปา อำนาจการปกครอง ของพระสันตะปาปา ที่มีเหนือแคว้นต่าง ๆ จึงค่อย ๆ ลดน้อยลงทุกที
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 4:29 am

จุดสิ้นสุด แห่งยุคอำนาจเหนือการเมืองของพระศาสนจักร

เมื่อคาวัวร์ (Cavour) รวมนครรัฐต่างๆ ของอิตาลีเข้าเป็นประเทศอิตาลีได้สำเร็จก็ได้ยึดกรุงโรมจากสถาบันสันตะปาปา และสถาปนาขึ้นเป็นนครหลวงของประเทศในปี ค.ศ.1870 ได้จำกัดเขตสันตะปาปาให้มีกรรมสิทธิ์เฉพาะในกัน เขตวังวาติกัน เท่านั้น แต่ก็ออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิของสันตะปาปาเหนือมหาวิหารในกรุงโรม และถือว่าองค์สันตะปาปามีสิทธิที่จะได้รับการยกย่องนับถืออันผู้ใดจะละเมิด มิได้ นอกจากนั้นยังถวายค่าเลี้ยงดูสันตะปาปาเป็นเงินปีละ 3,255,000 ลีร์ แต่สันตะปาปาไพอัสที่ 9 (Pius IX) ในขณะนั้นรู้สึกว่าถูกบีบบังคับอย่างไม่เหมาะสมและอาจจะถูกเพ่งเล็งว่า สถาบันสันตะปาปาตกอยู่ใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลอิตาลี ทำให้ไม่เป็นกลางพอสำหรับปกครองชาวคาทอลิกทั่วโลก จึงปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอ และทรงประท้วงด้วยการขังตัวพระองค์เองอยู่ในเขตวังวาติกันเท่านั้น ซึ่งก็มีผลทำให้รัฐบาลอิตาลีมีปัญหาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพอสมควร

รูปภาพ

ในที่สุดมุสโสลินี (Mussolini) ได้แก้ข้อพิพาทโดยทำสนธิสัญญาลาเตรัน (Lateran Treaty) กับสำนักวาติกันในปี ค.ศ.1929 และแก้ไขในปีค.ศ. 1984 โดยให้สัตยาบันว่า ขอรับรองและค้ำประกันอธิปไตยของนครรัฐวาติกันและให้ความสะดวกอีกหลายๆ อย่าง เพื่อให้นครรัฐวาติกันสามารถดำรงอยู่ได้ในฐานะ รัฐอิสระ เหมาะสมที่จะให้สถาบันสันตะปาปาปฏิบัติภารกิจในฐานะประมุขของชาวคาทอลิกทั่ว โลกได้ เหตุที่เรียก สนธิสัญญาลาเตรัน เพราะมีการเซ็นกันที่ พระราชวังลาเตรัน

ข้อตกลงที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

1.รัฐบาลอิตาลียอมรับรู้ในบูรณภาพของนครรัฐวาติกันที่มีสันตะปาปาเป็นองค์ประมุข ไม่ว่าสันตะปาปาจะมาจากชนชาติใดก็ตาม

2.รัฐบาลอิตาลียอมรับรู้ว่าคาร์ดินัลทุกองค์มีฐานะเป็นเจ้าชายของรัฐวาติกัน ไม่ว่าคาร์ดินัลจะถือสัญชาติใดก็ตาม

3.รัฐบาลอิตาลีถือว่าคริสตศาสนานิกายคาทอลิกเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งจะต้องอุปถัมภ์ให้ความสะดวก (ปัจจุบันข้อนี้ยกเลิกแล้ว)

4.รัฐบาลอิตาลียอมชดใช้ค่าเสียหายแก่นครรัฐวาติกันเป็นเงินสด 750 ล้านลีร์ และเป็นพันธบัตรอีก 1,000 ล้านลีร์

5.รัฐบาลอิตาลีจะสร้างสถานีรถไฟวาติกันและสร้างทางไปเชื่อมกับสถานีวีแตร์โบ (Viterbo) ของอิตาลี ตลอดจนยินยอมให้รถไฟพระที่นั่งขององค์สันตะปาปาใช้ทางรถไฟของอิตาลีได้ทุกเวลา


ในตอนแรกชาวคาทอลิกรู้สึกไม่พอใจกันมาก    แต่ภายหลังกลับเห็นดีกันทั่วไป  แม้แต่สันตะปาปาเองระยะหลัง ๆ  นี้  ก็พอพระทัยกับการแก้ปัญหาแบบนี้  ตั้งแต่นั้นมาพระสันตะปาปาทุกพระองค์ก็ทรงสามารถทุ่มเททุกอย่างเพื่อพัฒนาด้านจิตใจตามเจตนารมณ์ของพระเยซู  ซึ่งได้ตรัสไว้ก่อนสิ้นพระชนม์บนกางเขนว่า  พระองค์มาเกิดเป็นมนุษย์มิใช่เพื่อสร้างอาณาจักรของโลกนี้  แต่ทว่าเพื่อจะชี้ทางไปสวรรค์ (ยอห์น 18.36-38)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 4:40 am

เมื่อพระศาสนจักรเปิดหน้าต่างให้อากาศเข้ามาบ้าง

    หลังสงครามโลก เศรษฐกิจของอิตาลีตกต่ำมาก ประชาชนยากจนค่นแค้น การที่รัฐบาลพรรคคริสเตียนดีโมแครทของอิตาลีโอบอุ้มศาสนาเกินไป นอกจากจะเสียงบประมาณแผ่นดินมากเกินไปแล้ว ยังมีผลให้นักบวชนักพรตทั้งหลายมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานอีกด้วย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งอิตาลีจึงใช้เป็นประเด็นหาเสียงจนกลายเป็นพรรคคู่แข่ง ที่สำคัญ

รูปภาพ

    สันตะปาปายอห์นที่ 23 (John XXIII) ได้รับเลือกในปี ค.ศ.1958 (พ.ศ.2501) เห็นการณ์ไกล รีบวางนโยบาย "ปรับตัวให้ทันเหตุการณ์" (Aggiornamento) ประกาศนโยบายสร้างเอกภาพในพหุภาพ และสร้างมิตรไมตรีกับทุกฝ่าย กล่าวสั้นๆ ก็คือร่วมมือกันโดยไม่ต้องคิดเหมือนกัน ได้เสด็จออกจากวังวาติกันเพื่อเยี่ยมเยียน และร่วมพิธีทางศาสนาในที่ต่างๆ ทั่วอิตาลี ได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นหลายคณะเพื่อดำเนินตามนโยบายที่ประกาศไว้ สนับสนุนความคิดริเริ่มในทุกด้าน

รูปภาพ

  เกิดการเปลี่ยน แปลงอย่างกระทันหันขึ้นมากมายจนคนจำนวนวมากไม่อาจจะตามทัน มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายทั้งในทางลบและทางบวก บางคนก็เข้าใจผิดและตีความเจตนาของพระองค์ผิดทั้งภายในคริสตจักรคาทอลิกและ บุคคลภายนอก ชาวโปรเเตสแตนท์จำนวนหนึ่งชื่นชมในความมีพระทัยกว้างของพระองค์และพร้อมที่ จะเจรจาเพื่อความร่วมมือระหว่างนิกายต่างๆ ในคริสตจักรทั้งหมด แต่ส่วนมากแคลงใจว่าอาจจะเป็นนโยบายดึงสมาชิกหรือไม่ สันตะปาปายอห์นที่ 23 ต้องรีบดำเนินนโยบาย เพราะทรงเห็นว่าเวลาของพระองค์มีน้อย จึงตัดสินพระทัยเรียกประชุมสังคายนาวาติกันที่ 2 ทั้งๆ ที่หลายฝ่ายคิดว่ายังไม่พร้อม
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 4:46 am

สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2


รูปภาพ

สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 นับเป็นสังคายนา "สากล" ครั้งแรกในความหมายที่แท้จริง เพราะเป็นครั้งแรกที่พระสังฆราชผู้เข้าร่วมประชุมมาจากทั่วโลก และหัวข้อการพิจารณานั้นกินความครอบคลุมไปจนทั่วพระศาสนจักร

จุดมุ่งหมายของการสังคายนาครั้ง นี้ คือการพิจารณาสภาพการณ์ของโลกปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มองดู "เครื่องหมายแห่งกาลเวลา" (Signs of Times) และพยายามหาคำตอบจากจุดยืนทางศาสนาให้กับสังคมปัจจุบัน โดยเลือกสรรประเด็นเรื่องที่เหมาะสมกับยุคสมัยมากที่สุดมาพิจารณา ซึ่งนับเป็นแนวทางที่แตกต่างไปจากสังคายนาครั้งอื่นๆในประวัติศาสตร์ เพราะไม่มีการพิจารณาประณามและ "กล่าวโทษ" คำสอนที่ผิด (Heresy) ใดๆ หากแต่เป็นการริเริ่ม "การเสวนา" (Dialogue) กับแนวคิดและวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากของตนด้วยใจเปิดกว้างยิ่งขึ้น

ในสังคายนาครั้งนี้ มีพระสังฆราชเข้าร่วม 2860 องค์ พระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ซึ่งเป็นผู้ประกาศให้มีสังคายนาครั้งนี้และได้ให้มีการเตรียมการก่อนถึงสามปีเศษ ได้เป็นผู้เปิดการประชุมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 1962 ซึ่งได้ดำเนินไปจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม 1965 จึงได้ปิดลง โดยพระสันตะปาปาปอลที่ 6 เป็นประธาน (เพราะพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1963 เมื่อสังคายนาได้ดำเนินมาเพียงภาคเดียว)

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการประชุมสังคายนาครั้งนี้ได้มีผู้สังเกตการณ์รับเชิญเข้าร่วมด้วยจำนวนหนึ่ง ทั้งที่เป็น คาทอลิกแต่ไม่ใช่สังฆราชและชาวคริสต์นิกายต่างๆ ตลอดจนศาสนิกจากศาสนาอื่นๆ บุคคลเหล่านี้ไม่ได้ร่วมสังเกตการณ์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพระสังฆราชและผู้ที่เกี่ยวข้องกับสังคายนาครั้ง นี้ด้วย ทั้งนี้เพราะประเด็นสำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งซึ่งได้รับการพิจารณาและมีการ เปลี่ยนแปลง คือเรื่องท่าทีต่อศาสนาอื่นๆ ซึ่งเดิมทีนั้นเคยมีประกาศไว้ว่า "นอกพระศาสนจักรไม่มีผู้ใดรอดได้" วาติกันที่ 2 ได้ให้ความเข้าใจใหม่ว่า ใครก็ตามที่ปฏิบัติตามวิถีชีวิตของตนอย่างซื่อสัตย์และจริง เขาผู้นั้นก็สามารถรอดได้ แม้จะไม่เป็นคาทอลิกหรือคริสต์ก็ตาม

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพระศาสนจักรหลังสังคายนาวาติกันที่ 2 นี้นับเป็นการปฏิรูปครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ศาสนาคริสต์ ดังกรณีการเปลี่ยนทัศนคติต่อศาสนาอื่นๆที่ได้ กล่าวมานี้ นอกนั้นพระศาสนจักรยอมรับว่าเอกภาพของพระศาสนจักรไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีรูป แบบเดียว (Uniformity) ในการแสดงออกทางศาสนา เช่น พิธีกรรมต่างๆ หากอยู่ที่แก่นความเชื่อซึ่งจะต้องกลมกลืนเข้ากับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของแต่ละแห่ง ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดให้ใช้ภาษาลาติน ดนตรีตะวันตกและรูปแบบพิธีกรรมอื่นๆให้เหมือนกันหมดทั่วโลก เรื่องนี้ได้มีการนำไปปฏิบัติทันทีหลังสังคายนา ดังกรณีของเมืองไทย ก็ใช้ภาษาไทยและดนตรีไทย และปรับรูปแบบบางอย่างให้เข้ากับวัฒนธรรมไทยมากขึ้น ซึ่งก็เกิดปฏิกิริยาทั้งจากฝ่ายอนุรักษ์คาทอลิกและจากคนไทยบางกลุ่มซึ่งไม่ เห็นด้วยกับการปลี่ยนแปลงนี้ อันเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ไม่ใช่แต่ฆราวาส แต่รวมถึงพระสงฆ์คาทอลิกเองจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถปรับปรุงตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ทันที
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 4:51 am

เอกสารแห่งพระสังคายนาวาติก้น ครั้งที่ 2 ทั้งหมด 16 ฉบับ คือ

        ธรรมนูญ 4 ฉบับ คือ
-พระศาสนจักร
-การเผย (ความจริง) ของพระเจ้า
-พิธีกรรม       
-พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้

        สังฆาณัติ 9 ฉบับ คือ
-หน้าที่ของพระสังฆราช
-การปฎิบัติงานและชีวิตของพระสงฆ์
-การอบรมพระสงฆ์
-การปรับปรุงและฟื้นฟูชีวิตนักบวชการแพร่ธรรมของฆราวาส
-งานธรรมฑูตแห่งพระศาสนจักร
-สากลสัมพันธภาพ
-บรรดาคริสตจักร
-คาทอลิกตะวันออก และ
-สื่อมวลชน

        คำแถลง 3 ฉบับ คือ
-เสรีภาพในการถือศาสนา
-ความสัมพันธ์ของพระศาสนจักรกับบรรดาศาสนาที่มิใช่ศาสนาคริสต์ และ
-การอบรมตามหลักพระคริสตธรรม
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 5:06 am

2000ปี แห่งอาณาจักรพระคริสต์

ปัจจุบัน คริสตศาสนา เป็นศาสนาที่มีผู้้นับถือมากที่สุดในโลก และพระคัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นหนังสือที่ขายดี และมียอดพิมพ์สูงสุดตลอดกาล


สรุป

ชาวคริสต์ทั่วโลกพอใจแล้ว  ที่ได้เห็นสถาบันสันตะปาปาปฏิบัติภาระหน้าที่เป็นผู้นำทางศาสนาโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับอำนาจการเมืองอีกต่อไป  หากจะมีสันตะปาปาองค์ใดจะทรงแสวงหาอำนาจทางการเมืองขึ้นมาอีก  ก็จะไม่มีใครสนับสนุนอีกแล้วแม้แต่จากชาวคาทอลิกเอง  เพราะประสบการณ์ในประวัติศาสตร์สอนให้ทุกคนตระหนักแล้วว่า  อำนาจของสันตะปาปาพึงมีขอบเขตอยู่แค่อำนาจทางศาสนาเท่านั้น  ส่วนความสัมพันธ์กับการเมืองเป็นเรื่องจำเป็นที่มิอาจจะหลีกเลี่ยงได้  ในฐานะที่การศาสนาจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่เสมอ  เพื่อความอยู่รอดของสังคม

อาณาจักรของพระเมสสิยาห์  มิใช่จำกัดขอบเขตอยู่ในหมู่ชาวคาทอลิกเท่านั้น  แต่ชาวโปรเตสแตนต์  และชาวออร์โทด็อกซ์  ซึ่งเป็นนิกายสำคัญอีก  2  นิกาย  รวมทั้งชาวคริสต์อื่น ๆ  ที่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของพระเยซูคริสต์เป็นแก่น  และเลือกปฏิบัติอย่างอื่นด้วยเป็นเปลือกห่อหุ้ม  ล้วนแต่มีสิทธิ์และมีส่วนในอาณาจักรของพระเมสสิยาห์ทั้งสิ้น  ส่วนอาณาจักรของพระเจ้า  (The  Kingdom of God)  หรืออาณาจักรแห่งสวรรค์  (The  Kingdom  of  Heaven)  ซึ่งพระคริสต์ทรงประกาศให้ทุกคนเข้ามาด้วย  การทำดีนั้น  ย่อมหมายถึงการทำดีทุกอย่างที่ทำให้เกิดความผาสุกร่มเย็น  คนดีทุกคนจึงอยู่ในอาณาจักรแห่งสวรรค์  คริสตชนทุกคนอยู่ในอาณาจักรของพระเมสสิยาห์หรือคริสตจักร  และชาวคริสต์คาทอลิกทุกคนอยู่ในพระศาสนจักรคาทอลิก  พระศาสนจักรคาทอลิกจึงได้ประกาศนโยบายล่าสุดว่า  “พระศาสนจักรมีอยู่เพื่ออาณาจักรของพระเจ้า  แม้จะต้องเสียสละก็ต้องยอม  พระศาสนจักรจึงเป็นอาณาจักรของผู้เสียสละ”




รูปภาพ

มธ 28:18
พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ามาใกล้ ตรัสแก่เขาเหล่านั้นว่าพระเจ้าทรงมอบอำนาจอาชญาสิทธิ์ทั้งหมดในสวรรค์และบนแผ่นดินให้แก่เรา เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา ทำพิธีล้างบาปให้เขาเดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต  จงสอนเขาให้ปฏิบัติตามคำสั่งทุกข้อที่เราให้แก่ท่าน  แล้วจงรู้เถิดว่าเราอยู่กับท่านทุกวันตลอดไปตราบจนสิ้นพิภพ
แก้ไขล่าสุดโดย Holy เมื่อ อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 5:08 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Holy
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 10011
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 3:06 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 5:12 am

อ้างอิง


ศาสตราจารย์กีรติ  บุญเจือ.  ศาสนศาสตร์เบื้องต้น  หน้าที่ 95 – 100.  กรุงเทพฯ:  บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช  จำกัด,  2538.

ศาสตราจารย์ กีรติ บุญเจือ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ( 2000 ) Edizioni Musei Vaticani : Vatican , 1999

"ศาสนาคริสต์" ตีพิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2529 ไม่ระบุสำนักพิมพ์ อาจารย์เสรี พงศ์พิศ

ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน, "ศิลปะคริสเตียนในทวีปยุโรป", บริษัท สยามเพรส แมแนจเม้นท์ จำกัด จัดพิมพิ์

* L. Munch, J. Montjuvin : Panorama of Church History, Paris France 1964

* National Geographic, May 2006, Issue 58
ทานตะวัน
โพสต์: 162
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ก.ค. 27, 2009 7:44 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 8:03 am

ไม่มีเกี่ยวกับพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 บ้างเลยหรือครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ministry Of Men
โพสต์: 3972
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 18, 2007 3:09 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 11:03 am

รูปโบราณ หลายๆวัฒนธรรม เห็นแล้ว แปลกๆ ตลกๆ ไงก็ไม่รู้  : xemo016 :

ปล.ประวัติศาสตร์ (อย่างย่อ) (ย่อจริงๆ)  : xemo016 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
Léon
โพสต์: 766
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ มิ.ย. 13, 2009 8:43 pm
ที่อยู่: แผ่นดินโลก
ติดต่อ:

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 11:42 am

สาระประโยชน์เต็มๆ เลยครับ พี่โฮลี่
มีอะไรน่ารู้มากมาย ขอบพระคุณครับ
sinner
โพสต์: 2246
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ มี.ค. 08, 2009 1:24 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 12:18 pm

ขอบคุณมากค่ะ ดีจังเลย เยอะดี ชอบๆ ค่ะ : xemo026 :

เดี๋ยวว่างๆ จะมานั่งอ่านต่อค่ะ : emo045 : ::026::
ภาพประจำตัวสมาชิก
ignatius
.
.
โพสต์: 2597
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2008 12:48 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 1:17 pm

ขอบคุณมากคะ อธิบายได้เข้าใจมากๆเลย
ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าได้  : xemo026 :  ::031::
Viridian
โพสต์: 2762
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 30, 2008 11:40 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 5:41 pm

ขอบคุณพี่โฮลี่มากเลยค่ะ ดีมากๆ เลย ชอบมากค่ะ ::026::
ขอพระอวยพรพี่โฮลี่นะคะ ::031::
ภาพประจำตัวสมาชิก
sasuke
~@
โพสต์: 1120
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ธ.ค. 06, 2006 12:00 am
ที่อยู่: ใต้เสื้อคลุมของแม่

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 5:43 pm

เสนอความคิดว่าให้ปักหมุดไว้ เพื่อคนที่เข้ามาหลังๆจะได้อ่านและได้ความรู้ถ้วนหน้ากันครับ  : emo045 :
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ministry Of Men
โพสต์: 3972
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ เม.ย. 18, 2007 3:09 pm

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 5:49 pm

sasuke เขียน: เสนอความคิดว่าให้ปักหมุดไว้ เพื่อคนที่เข้ามาหลังๆจะได้อ่านและได้ความรู้ถ้วนหน้ากันครับ  : emo045 :
เห็นด้วยๆ : emo010 :
Like a Heaven
.
.
โพสต์: 1739
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 28, 2007 5:58 pm
ที่อยู่: In the Christ

อาทิตย์ ก.ย. 27, 2009 11:22 pm

คูลมากๆ
sansrepos
โพสต์: 460
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ พ.ค. 04, 2005 6:23 pm

จันทร์ ก.ย. 28, 2009 1:39 pm

ขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมนิดนึงนะครับ

เรื่องของกษัตริย์ Clovis รับศีลล้างบาปในปี 496 นะครับ ไม่ใช่ 596 เพียง 20 ปีหลังการล่มสลายของโรมันตะวันตก Clovis เป็นผู้นำชาวแฟรงค์ (ฟรังก์) ซึ่งเป็นชนเผ่าเยอรมันเผ่าแรกที่เข้ารีต ชาวแฟรงค์ไม่ใช่บรรพบุรุษส่วนใหญ่ของชาวฝรั่งเศสซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายเคลต์ (ชาวกอลโบราณ) และเชื้อสายลาติน แต่เนื่องจากราชอาณาจักรฝรั่งเศสซึ่งสถาปนาขึ้นราวๆปลายศตวรรษที่ 9 ถูกสถาปนาโดยชนชั้นปกครองที่เป็นชนเชื้อสายแฟรงค์ จึงอาจจะถือได้ว่าราชอาณาจักรแฟรงก์ที่ตั้งขึ้นบนดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันเป็นธิดาคนโตของพระศาสนจักรนิกายคาทอลิก แต่ถ้านับรวมนิกายออร์ทอดอกซ์ด้วยแล้ว ชนชาติแรกๆที่รับนับถือคำสอนของพระเยซูเจ้าต่อจากชาวยิวก็คือชาวกรีก และชาวอาร์เมเนียเป็นต้นครับ

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 5 ถึงต้นศตวรรษที่ 6 ดินแดนในปกครองของโรมันตะวันตกทั้งหมดตกอยู่ภายใต้การปกครองของชนเผ่าเยอรมัน ขณะที่โรมันตะวันออกเสียดินแดนไปเพียงบางส่วนเท่านั้น จักรพรรดิแห่งไปแซนไทน์ทรงยึดดินแดนที่พวกฮั่น (ชนเผ่าเร่ร่อนจากเอเชีย) และเผ่าเยอรมันยึดไปคืนมาได้ และรักษาไว้ต่อมาอีกร้อยกว่าปีก่อนจะถูกชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามเข้ารุกราน ทำให้ดินแดนในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือคริสต์ได้ตกเป็นแผ่นดินของมุสลิม แต่ศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ก็ได้เผยแพร่ไปยังดินแดนเหนือทะเลดำ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นประเทศยูเครน รัสเซีย เบลารุส

ดินแดนในเอเชียไมเนอร์(ประเทศตุรกีในปัจจุบัน)ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณซึ่งเคยถูกปกครองโดยชาวฮิตไทต์ ลิเดีย อัสซีเรีย เปอร์เซีย กรีก และโรมัน เป็นดินแดนแรกๆที่ศาสนาคริสต์เผย่แพร่ไปถึง เมืองโบราณที่ปัจจุบันนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเช่นทาร์ซัส เอเฟซัส และอันทิโอก อยู่ในประเทศตุรกีซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

ศูนย์กลางศาสนาคริสต์ที่โด่งดังอีกแห่งก็คือเมือง Alexandria ในอิยิปต์ เมืองนี้สร้างโดยจักรพรรดิ Alexander แห่ง Macedonia และถูกปกครองโดยราชวงศ์กรีกของ Ptolemy ตามด้วยโรมัน และเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ แต่ต่อมาถูกชาวมุสลิมอาหรับเข้าพิชิต ปัจจุบันอิยิปต์เป็นประเทศมุสลิมเช่นเดียวกับตุรกี
ภาพประจำตัวสมาชิก
(⊙△⊙)คุณxuู๓้uxoม(⊙△⊙)
โพสต์: 892
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ต.ค. 10, 2008 12:38 am

จันทร์ ก.ย. 28, 2009 3:35 pm

ขอบคุณคะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nura
โพสต์: 177
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 18, 2008 2:48 am

จันทร์ ก.ย. 28, 2009 7:59 pm

ขอบคุณมากค่ะ
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

จันทร์ ก.ย. 28, 2009 8:32 pm

ขอบคุณครับ แล้วใครพิมพ์ให้ครับ : xemo026 :
ตอบกลับโพส