<<:โปรเตสแตนต์ ๒ :>>

คริสตสัมพันธ์ เอกภาพในคริสตศาสนา
ตอบกลับโพส
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ ก.พ. 04, 2005 11:42 pm

คณะลูเธอแรน (Lutheran)

ชื่อและที่มา

วันที่อดีตบาทหลวง มาร์ติน ลูเธอร์ยืนอยู่ท่ามกลางบุคคลชั้นนำของประเทศ และผู้นำสูงสุดของ ศาสนจักร และประกาศอย่างมั่นคงว่า "ข้าพเจ้ายืนอยู่ที่นี่"1 (Here I Stand : หมายถึงข้าพเจ้ายึดถือความเชื่ออยู่ตรงจุดนี้) ในปีคริสตศักราช 1521 ที่สภาเมืองวอร์ม (Diet of Worms) นับได้ว่าเป็นการแยกตัวอย่างเด็ดขาดของมาร์ติน ลูเธอร์กับศาสนจักโรมันคาทอลิก และครสิตจักรหรือผู้ที่เดินตามแนวความคิดของท่านก็จะถูกเรียกว่า "ลูเธอแรน" ซึ่งแท้จริงคริสตจักรเหล่านี้พอใจที่จะเรียกตนเองว่า เป็นอีแวนเจลิคอลมากกว่าถูกเรียกว่าลูเธอแรน อย่างไรก็ตามชื่อนี้ก็ได้ถูกใช้จนเป็นที่รู้จักกันดีว่าหมายถึงพี่น้องคริสเตียนกลุ่มไหน

ลักษณะพิเศษ

1. เป็นคริสตจักรที่เน้นหลักคำสอนมากที่สุดคณะหนึ่ง เพราะฉะนั้นหัวข้อหรือเนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา หรืออภิปรายทั่วไปในคริสตจักรมักจะเป็นเรื่องหลักคำสอนหรือศาสนศาสตร์

2. เน้นเรื่องพระคุณของพระเจ้า ตามศาสนศาสตร์ของมาร์ติน ลูเธอร์ เพราะฉะนั้นการอรรถธิบาย หรือการเทศนาจะเปรียบเทียบเรื่อง พระบัญญัติกับพระกิตติคุณ พระบัญญัติกับพระคุณ

3. ให้ความสำคัญกับหลักข้อเชื่อมาก ด้วยเหตุนี้ในการกล่าวถึงความเชื่อและการปฎิบัติต่าง ๆ มักอ้างหลักข้อเชื่อ อ๊อกสเบริก (Augsburg Confession) เป็นแนวทางของการอรรถธิบายความเชื่อ คริสตจักรบางแห่งแทนที่จะเรียกตนเองว่าลูเธอแรน กลับเรียกว่า "คริสตจักรแห่งหลักข้อเชื่ออ๊อกสเบริก" (Churches of the Augsburg Confession)

4. ภาพเด่นของคณะนี้คือ หลักความชอบธรรมโดยความเชื่อ (Justification through Faith) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการปฏิรูปศาสนา ทำให้เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ และเป็นหลักความเชื่อสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของ คริสตจักรในนิกายโปรเตสแตนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะลูเธอแรน

หลักข้อเชื่อ

1. พระคัมภีร์เท่านั้นเป็นมาตรฐานสูงสุดของความเชื่อ และการดำเนินชีวิต นับจากมาร์ติน ลูเธอร์ จนถึงคริสตจักรลูเธอแรนทุกวันนี้ ก็ยึดมั่นในหลักข้อเชื่อนี้

2. หลักข้อเชื่ออัครสาวกและหลักข้อเชื่อไนเซีย ถือว่าเป็นมาตรฐานในด้านกฎเกณฑ์ที่พึงปฎิบัติ

3. หลักข้อเชื่ออ๊อกสเบริกถือว่า เป็นหนังสือแถลงหลักความเชื่อของลูเธอแรนที่สำคัญมาก

4. หนังสือความแนวทางร่วมกัน (Book of Concord) เป็นทั้งหนังสือรวบรวมหลักข้อเชื่อ คำสั่งสอน และหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับหลักข้อเชื่อและแนวทางปฎิบัติของกลุ่มต่าง ๆ ในคณะลูเธอแรน

หลักคำสอน

1. คำสอนที่สำคัญมากนอกจากเรื่องหลักความชอบธรรมโดยความเชื่อแล้ว สิ่งที่ลูเธอแรนจะเน้นอยู่เสมอ คือความเชื่อเท่านั้น พระคุณเท่านั้นและพระคัมภีร์เท่านั้น

2. พระวจนะของพระเจ้า (The Word of God) ถือว่าเป็นศูนย์กลางของหลักคำสอนทั้งปวง เพราะฉะนั้นในการนมัสการ จะเน้นให้อ่านพระคัมภีร์ทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่

3. คำสอนด้านพิธีศักดิ์สิทธิ์ มีบัพติสมาถือว่าเป็นเครื่องมือแห่งพระคุณ ให้บัพติสมาตั้งแต่เด็ก และเป็นแบบพรม ส่วนพิธีมหาสนิทจะเน้นว่าเป็นการทรงสถิตอย่างแท้จริงของพระเยซูคริสต์ในขนมปัง และน้ำองุ่น เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่เหมาะสมจึงไม่ควรรับเพราะไม่เพียงแต่ไม่มีประโยชน์ยังจะเป็นที่สาปแช่งด้วย

4. เป็นคณะหนึ่งที่เน้นการสอนมาก ไม่ว่าในครอบครัว รวีวารศึกษาสำหรับทุกวัย รวมทั้งการสอนผู้รับเชื่อใหม่ โดยใช้ปุจฉา-วิสัชนาใหญ่เล็กของมาร์ติน ลูเธอร์ (Matin Luther Small and Large Catechisms) เป็นหลัก และการสอนนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
---------------------------------

คณะนี้เข้ามาในประเทศไทย เมื่อ ปี 1976 คณะลูเธอแรนในประเทศไทย มี สองกลุ่ม คือกลุ่มที่มาจากสแกนดิเนเวีย และเอเชีย คือสิงค์โปร์ ฮ่องกง เข้าสังกัด กับสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ ตั้งที่ ถนนสุขุมวิท 50 พันธกิจ มีโรงเรียนศาสนศาสตร์ สำนักพิมพ์ รายการวิทยุ สังคมสงเคราะห์ มีคริสตจักรในกรุงเทพมหานคร กว่าสิบแห่ง นอกนั้นเน้นทำที่ภาคอีสาน
วันที่ 24 เมษายน 1994 ได้ก่อตั้งเป็น "สภาคริสตจักรลูเธอแรนในประเทศไทย".....ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งมาจากสหรัฐอเมริกา เข้ามาสังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทย พันธกิจที่ทำ คือ เป็นนักวิชาการสอนอยู่ในมหาวิทยาลัย และสถาบันของสภาคริสตจักรประเทศในประเทศไทย
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ ก.พ. 04, 2005 11:45 pm

คณะรีฟอร์มและเพรสไบทีเรียน (Reformed,Presbyterian)

ชื่อและที่มา

ถ้าพูดถึงการปฏิรูปศาสนา (Reformation) คงทำให้คิดถึงมาร์ติน ลูเธอร์ อูริคสวิงลี และ จอห์น คาลวิน แต่คริสตจักรที่อยู่ภายใต้การนำของคาลวินเท่านั้น ได้ใช้คำว่า “ปฏิรูป” เป็นนามเฉพาะของคริสตจักรในคณะนี้ คือคริสตจักรปฏิรูป (The Reformed Church) เมื่อแนวความคิด และศาสนศาสตร์ของจอห์น คาลวิน เป็นที่ยอมรับ และนำไปปฏิบัติมากขึ้นที่ประเทศสก็อตแลนด์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยจอห์น น๊อกซ์ ได้ปฏิรูปศาสนาโดยยึดแนวความคิดของคาลวินเป็นหลัก เปรียบเหมือนคริสตจักรลูกของคริสตจักรปฏิรูป ต่อมา แอนดรูเมลวิลล์ได้เน้นเรื่องระบบการปกครองเป็นประเด็นสำคัญ ชื่อของคริสตจักรปฏิรูปในสก๊อตแลนด์ และอังกฤษจึงคล้ายคริสตจักรเพรสไบทีเรียน

ลักษณะพิเศษ

1. เน้นคำสอนตามศาสนศาสตร์ของคาลวิน โดยให้ความสำคัญในสิทธิอำนาจสูงสุดของพระเจ้า (Theocracy)

2. มีรูปแบบการปกครองแบบพฤฒาธิปไตย โดยเน้นว่า เป็นระบบการปกครองตามพระคัมภีร์ใหม่ ซึ่งมีคณะผู้ปกครองเป็นผู้มีอำนาจ

3. กล่าวถึงเรื่องคำสอนพระลิขิต (Predestination) อยู่เสมอ ซึ่งเป็นหัวข้อที่ มีการถกเถียง และอภิปรายกันมากที่สุดเรื่องหนึ่ง และทำให้ศาสนศาสตร์ของคาลวินนิยม แตกสาขาออกไปหลายกลุ่ม

หลักข้อเชื่อ

1. พระคัมภีร์เท่านั้นเป็นมาตรฐานทั้งความเชื่อ และการดำเนินชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นความเชื่อสำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งของคริสตจักร และเป็นเหตุผลหนึ่งของการปฏิรูปศาสนา

2. แม้ว่าคริสตจักรในแต่ละภาคมีสิทธิอำนาจของภาคนั้นๆ แต่โดยส่วนรวม ก็ยอมรับว่าหลักข้อเชื่อเวสท์มินสเตอร์ (Westminster Confession) เป็นหลักข้อเชื่อของคริสตจักรปฏิรูปและเพรสไบทีเรียน ซึ่งมีพื้นฐานสำคัญมากตามแนวความคิดของคาลวินนิยม

3. หนังสือ หลักคำสอนของคริสตศาสนา (Institute of Christian Religion) ที่เขียนโดยจอห์น คาลวินนับว่าเป็นหลักข้อเชื่อ และหลักคำสอนสำคัญของคณะปฏิรูป และเพรสไบทีเรียนอีกเล่ม ซึ่งมีพื้นฐานโดยส่วนใหญ่มาจากพระคัมภีร์ และหลักข้อเชื่ออัครสาวก

หลักคำสอน

1. หลักคำสอนเรื่องสิทธิอำนาจสูงสุด และพระสง่าราศรีของพระเจ้าถือว่า เป็นหัวใจสำคัญของคำสอน เพราะฉะนั้นการตีความหมายของหัวข้อเรื่องอื่นๆ มักจะเกี่ยวข้องกับคำสอนในเรื่องนี้

2. ศาสนศาสตร์โดยย่อของจอห์น คาลวิน ที่เป็นที่รู้จักกันดีในนามทิวลิป (Tulip) คือ มนุษย์เป็นคนบาปโดยสิ้นเชิง (Total depravity of man) การทรงเลือกที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditional election) การทรงไถ่ที่มีจำกัด (Limited atonement) พระคุณที่ไม่สามารถทัดทาน (Irresistible Grace) และการรักษาสิทธิชนจนถึงที่สุด (perseverance of the Saints) เป็นศาสนศาสตร์ที่ถูกสอนตกทอดตลอดมา และได้แสดงถึงสิทธิอำนาจสูงสุดของพระเจ้า

3. คำสอนเกี่ยวกับพิธีศักดิ์สิทธิ์ เห็นว่ามีเพียงสองพิธีเท่านั้น ที่พระเยซูคริสต์ทรงเป็นผู้สถาปนาไว้คือ พิธีบัพติศมา แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบังเกิดใหม่ แต่เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดผลต่อผู้ถูกเลือกสรรเท่านั้น สำหรับพิธีมหาสนิท เชื่อว่า ขนมปัง และน้ำองุ่นเป็นพระกายและพระโลหิตจริงในแง่ของจิตวิญญาณ เพราะฉะนั้น มีเพียงคริสเตียนเท่านั้นที่จะรับ และมีส่วนกับพระคริสต์

4. คำสอนเกี่ยวกับระบบการปกครอง สอนว่า ในพระคัมภีร์ใหม่มีตำแหน่ง 4 อย่างเท่านั้น คือศิษยาภิบาล อาจารย์ ผู้ปกครองและมัคนายก และสิทธิอำนาจการปกครองคริสตจักรอยู่ที่คณะผู้ปกครอง ซึ่งผู้ปกครองนั้นมีทั้งผู้ปกครองที่ทำหน้าที่สั่งสอน (หมายถึงศาสนจารย์) กับผู้ปกครองที่ทำหน้าที่ดูแลปกครอง

ศาสนศาสตร์และหลักคำสอนของคาลวิน นับว่ามีอิทธิพลที่สุดต่อนิกายโปรแตสแตนท์กลุ่มพิวริตันในอังกฤษก็ดี กลุ่มอนุรักษ์นิยมในอเมริกาและยุโรปโดยส่วนใหญ่จะยึดหลักคำสอนตามแนวนี้ ดังนั้นจะถูกเรียกรวมๆ ว่าคาลวินนิยม (Calvinism )
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ ก.พ. 04, 2005 11:50 pm

คณะแบ๊บติสต์ (Baptist)

ชื่อและที่มา

คริสตจักรแบ็บติสต์ (Baptist Church) เริ่มมาจาก กลุ่มหนึ่งของพิวริตันในอังกฤษที่แยกตัวจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ มีความใกล้ชิดกับคณะสมัชชาธิปไตยมาก ระบบการปกครองเหมือนกัน แต่พิธีบัพติสมาต่างกัน จอห์น สมิธ (John Smyth :1565-1612) นับว่าเป็นผู้ริเริ่ม คริสตจักรแบ๊บติสถ์ในอังกฤษ ต่อมาได้ขยายไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกาโดยโธมัส เฮลวีส (Thomas Helwys: 1550-1616) และโรเจอร์ วิลเลียม (Roger Williams :1603-1683)

คริสตจักรแบ๊บติสต์ ทั่วไปไม่ได้มาจากกลุ่ม แอนนาแบ๊บติสต์ (Anabaptist) ที่มีพื้นฐานมาจากเยอรมัน และปัจจุบันคือคณะเมนโนไนต์ส (Mennonites)

ลักษณะพิเศษ

1. เน้นว่าความรอดเป็นของส่วนบุคคล จึงควรให้บัพติศมาแก่ ผู้ที่สามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้เท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่เห็นด้วยกับการให้บัพติสมาแก่เด็ก

2. เน้นการบัพติสมา ต้องเป็นแบบจุ่มทั้งตัวลงไป โดยอ้างจากรากภาษาเดิมของคำว่าแบ๊บติสต์คือ การฝังลงไป การให้บัพติสมาเป็นเครื่องหมายของการฝังชีวิตเก่า ขึ้นจากน้ำ หมายถึงการเป็นขึ้นมาใหม่

3. เน้นความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเป็นกายเดียวกัน เพราะภาพของคริสตจักร คือกายของพระคริสต์ มีพระคริสต์เป็นศีรษะเป็นเอกในคริสตจักร และคริสตจักรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ สมาชิกจึงมีบทบาท และฐานะที่สำคัญมากในคริสตจักร

หลักข้อเชื่อ

1. มีพระคัมภีร์เป็นมาตรฐานความเชื่อ และการดำเนินชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นปฏิบัติตามพระคัมภีร์ใหม่

2. เนื่องจากเป็นคริสตจักรหนึ่ง ที่รับอิทธิพลความคิดของคาลวินนิยม ดังนั้นจึงนำหลักข้อเชื่อเวสมินสเตอร์ (Westminster Confession) มาเป็นแนวทางปฏิบัติ ด้านความเชื่อด้วยต่อมาเนื่องจากมีข้อขัดแย้งในเรื่องการปกครองต่อมาจึงไม่ได้ถูกนำมาใช้อีก

หลักคำสอน

1. ให้ความสำคัญกับเรื่องความคิดที่เป็นอิสระ (Freedom of thought) เพราะฉะนั้นปฏิเสธการให้บัพติสมาแก่เด็ก โดยเฉพาะเรื่องตัดสินใจเป็นคริสเตียน เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องตัดสินใจด้วยตนเอง

2. คำสอนด้านการปกครอง ใช้รูปแบบเดียวกับคณะสมัชชาธิปไตย (Congregational) แท้จริง จอห์น สมิธ และโธมัส เฮลวีส เคยรับใช้ในคริสตจักรสมัชชาธิปไตยมาก่อน แต่ไม่เห็นด้วยกับการให้บัพติศมาแก่เด็กจึงแยกตัวออกมา ดังนั้น ระบบการปกครองของคณะแบ๊บติสต์จึงเน้นรูปแบบสมัชชาธิปไตย สมัชชาของสมาชิกมีอำนาจสูงสุด เลือกมัคนายกเป็นตัวแทนในการบริหารเป็นคณะธรรมกิจ และคริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่ง มีอิสระการปกครองของตนเอง ด้วยเหตุนี้สังเกตได้ว่า คณะแบ๊บติสต์ดั้งเดิมจะไม่มีผู้ปกครอง

3. คำสอนเรื่องพิธีศักดิ์สิทธิ์ ยึดถือตามคำสอนของพระเยซูคริสต์ มีบัพติสมา ให้แบบจุ่มทั้งตัว พิธีมหาสนิทค่อนไปทางคำสอนของสวิงลี ถือเป็นการระลึกถึงเท่านั้น

4. คำสอนเรื่องคริสตจักร ให้ความสำคัญด้านสัมพันธภาพของมวลสมาชิก เพราะฉะนั้นแนวทางปฏิบัติด้านศาสนพิธี จึงมักเป็นรูปแบบสามัคคีธรรม สมาชิกมีบทบาทในพันธกิจต่างๆค่อนข้างมาก และรูปแบบการนมัสการก็เรียบง่าย ไม่มีพิธีกรรมมาก เน้นหนักอยู่ที่คำเทศนา

***************************

>>:คณะแบ๊พติสต์ สังกัดทั้งในสภาคริสตจักร ฯและสหกิจคริสเตียนในประเทศไทย และสหพันธ์แบ๊พติสต์รฯ เช่น คริสตจักร ภาคที่ 12 ซึ่งแยกไปจากภาคที่ 7 ลักษณะ ที่เป็นคริสตจักรจีน เช่นคริสตจักร ไมตรีจิต คริสตจักร ภาคที่ 16 กระเหรี่ยงแบ๊พติสต์ ภาคที่ 18 ลาหู่แบ๊พติสต์ ภาคที่ 19 กระเหรี่ยงแบ๊พติสต์เป็นต้น

>>: สภาคริสตจักรในประเทศไทย แบ่งออก เป็น 19 ภาค ( คล้ายๆ สังฆมลฑลของคาทอลิก )
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

ศุกร์ ก.พ. 04, 2005 11:56 pm

คณะสมัชชาธิปไตย (Congregational,Separatist,Independents)

ชื่อและที่มา

กลุ่มพิวริตันในประเทศอังกฤษ ไม่เห็นด้วยกับ ระบบการปกครองของคริสจักรแห่งอังกฤษที่เป็นสังฆธิปไตย ขณะเดียวกัน ก็ไม่ยอมรับแนวทางการปกครองของพิวริตันที่เป็นพฤฒาธิปไตย เพราะฉะนั้นในปีคริสตศักราช 1581 โดยการนำของโรเบิร์ต บราวน์ (Robert Browne) และผู้นำพิวริตันคนอื่นๆ ได้แยกตัวจากทั้งคริสตจักรแห่งอังกฤษ และคริสตจักรเพรส ไบทีเรียน ตั้งเป็นคริสตจักรอิสระบ้างก็ใช้ชื่อคริสตจักรที่แยกตัวออกมา (Separatist) บ้างก็ใช้คริสตจักรเอกราช (Independents) และสมัชชาธิปไตย (Congregational)

ลักษณะพิเศษ:

1. ยึดความหมายของคริสตจักรที่ว่า คริสตจักรคือตัวบุคคล นั่นคือผู้เชื่อทั้งหลายมารวมตัวกัน เพราะฉะนั้นอำนาจการปกครองจึงควรเป็นของสมาชิก จึงใช้ชื่อว่า “สมัชชาธิปไตย”

2. เป็นคริสตจักรที่แยกตัวเองจากรัฐอย่างเด็ดขาด เพราะเห็นว่า อำนาจการปกครองของรัฐไม่ควรมีสิทธิเหนือคริสตจักรท้องถิ่น

3. เป็นคริสตจักรที่จะเน้นการปกครองแบบสมัชชาธิปไตย แต่ให้พระคริสต์เป็นศูนย์กลางของอำนาจ เพราะฉะนั้น จะเปรียบเทียบคริสตจักรคือ สามัคคีธรรมที่มีพระคริสต์ปกครอง(Christ-ruled fellowship) และเน้นคำว่า “พระคริสตธิปไตย” (Christocracy)

4. นอกจากเน้นสถานภาพของสมาชิกแล้วยังยกย่องสมาชิกทุกคนเป็นปุโรหิต กษัตริย์และศาสดาพยากรณ์ด้วย เพราะฉะนั้นฐานะของสมาชิกจึงไม่ได้แตกต่างจากศาสนาจารย์ หรือแบ่งแยกระหว่างบรรพชิตกับฆราวาส

หลักข้อเชื่อ

คริสตจักรสมัชชาธิปไตย ไม่มีคู่มือหลักข้อเชื่อ และคู่มือปฏิบัติศาสนพิธีใดๆ นอกจากเน้นหลักข้อเชื่อตามพระคัมภีร์ มีพระคัมภีร์เท่านั้น เป็นมาตรฐาน ของความเชื่อการดำเนินชีวิต

หลักคำสอน

1. โดยทั่วไปและจะยึดศาสนศาสตร์ตามแนวทางของคาลวิน แต่รูปแบบการปกครองจะใช้ระบบประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นจึงเน้นสอนสมาชิกให้เข้าใจเรื่องเสรีภาพ และหน้าที่การรับผิดชอบของแต่ละบุคคล

2. เป็นแม่แบบของคริสตจักรทั้งหลายเรื่อง การปกครองที่เป็นอิสระของคริสตจักรท้องถิ่น เพราะถือว่า สมาชิกของแต่ละคริสตจักรมีสิทธิหน้าที่ในการ ดูแลปกครองคริสตจักรของตน แต่ละคริสตจักรจึงควรมีสิทธิอำนาจของตนเท่าเทียมกัน ไม่ขึ้นกับส่วนกลางใดๆ ทั้งสิ้น

3. สอนว่าพิธีศักดิ์สิทธิ์เป็นเหมือนตราของคริสตจักร แม้ว่าสมาชิกจะได้รับสิทธินี้แต่ก็ได้มอบหมายให้ศาสนาจารย์เป็นผู้นำไปปฏิบัติและรักษา พิธีบัพติศมายังคงรักษาแบบพรมและเห็นว่าเป็นเครื่องมือแห่งพระคุณของพระเจ้า สำหรับพิธีมหาสนิทเชื่อว่า มีการทรงสถิตอยู่ของพระเจ้า แต่ไม่ใช่การแปรสาร หรือพระคริสต์สถิตในขนมปังและน้ำองุ่น

4. สอนความเชื่อคู่ไปกับความรู้ เพราะฉะนั้น ในอเมริกาคณะนี้ได้เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการตั้งสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบันนี้ คือมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard:1636) มหาวิทยาลัยเยล (Yale:1701)

5. ให้ความสำคัญกับการมีสัมพันธภาพที่ดีกับคริสตจักรอื่น สังเกตได้จาก การเข้ามีส่วนร่วมในการประชุมระดับคริสตจักรสากลอยู่เสมอ และภายในคริสตจักรก็เน้น สัมพันธภาพความสัตย์ซื่อ และระเบียบวินัยของสมาชิก มีการปฏิญาณตนก่อนเข้าเป็นสมาชิก คณะสมัชชาธิปไตยเคยมีบทบาทสำคัญ ในพันธกิจมิชชั่น เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมมิชชันมิชชั่นลอนดอน (LMS) ในประเทศอังกฤษ และกรรมการอเมริกันเพื่อพันธกิจมิชชั่น ในต่างประเทศ (ABCFM) ปีคริสตศักราช 1790 เป็นคณะที่เคยมีคริสตสมาชิกมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันกลายเป็นคณะหนึ่งที่เล็กมาก เป็นคริสตจักรที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์จนแทบไม่สนใจเรื่องของพระเจ้า

---------------

**สมาคมมิชชั่นลอนดอน ( LMS ) คือคณะที่ส่งมิชชันนารีคู่แรก เข้ามาในประเทศไทยในปี 1828 คือ นายแพทย์ กุสสล๊าฟ และศจ. ทอมลิน หลังจากคู่นี้ LMS ไม่ส่งใครอีกเลย....ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าช่วง 100 ปีแรก คือ พันธกิจของ อเมริกันเพรสไบทีเรียน

++ กลุ่มพิวริตัน คือกลุ่มที่เป็นต้นฉบับของวันขอบคุณพระเจ้าในสหรัฐอเมริกา
spirit

เสาร์ ก.พ. 05, 2005 1:10 am

จบแล้วหยอเจ้พีพี เอาอีกเอาอีก ::) :-[
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ ก.พ. 05, 2005 1:13 am

Lost Lamb เขียน: จบแล้วหยอเจ้พีพี เอาอีกเอาอีก ::) :-[
พี่บุหลันฮับ ปกติ พี่พีพี เธอชอบ โพสต์เป็นตอนๆฮะ ???

พี่อ่านแล้วจำๆด้วยนะฮะ เพราะว่า เจ่เจ้เธออาจจะทดสอบ Online ก็ได้

รางวัล ไม่บอก ต้อง ไปถาม พ่อ พี่ โกเจงก่อน *heh
Batholomew
~@
โพสต์: 12724
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ม.ค. 18, 2005 2:28 pm
ที่อยู่: Thailand

เสาร์ ก.พ. 05, 2005 10:00 am

ผม print out มาอ่านทุกตอนเลย
ขอบคุณครับ
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ ก.พ. 05, 2005 5:06 pm

Batholomew เขียน: ผม print out มาอ่านทุกตอนเลย
ขอบคุณครับ
ขอบคุณค่ะที่ติดตามอ่าน จะสามารถทำให้เราเข้าใจ เรื่องพระกายของพระคริสต์มากยิ่งขึ้น

น้องบุหลัน ( ฟ้า ) พี่พีพีจะโพสต์ เป็นชุดๆค่ะ เพื่อสะดวกในการอ่านทำความเข้าใจ

ส่วนจะออกข้อสอบ Online หรือไม่ อิอิ ;D แล้วใครจะช่วยตรวจล่ะ *gg *heh
spirit

เสาร์ ก.พ. 05, 2005 10:13 pm

Prod Pran เขียน:
Batholomew เขียน:


ส่วนจะออกข้อสอบ Online หรือไม่ อิอิ ;D แล้วใครจะช่วยตรวจล่ะ *gg *heh
ดีใจที่บทบาทอาจารย์ไม่แรงถึงขั้น ไม่งั้นคนหลายคนแถวนี้สงสัยจะแย่ *gg *gg
แก้ไขล่าสุดโดย spirit เมื่อ เสาร์ ก.พ. 05, 2005 10:14 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 6:59 am

คุณบัดดี้ และผู้สนใจเชิญอ่านค่ะ ;D
Announcer

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 9:19 am

ข้อมูลเยอะจังครับ เรียนคณะไรกันอ่ะคับ ปรัชญาและศาสนาหรอ
Buddy
โพสต์: 3057
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ มี.ค. 09, 2005 10:48 am
ที่อยู่: USA

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 10:29 am

Anouncer,
K. PP is a minister ka.. She's done all the courses in The School of Theology.... haha.. :D

P' PP,

Anyway, thank you so much again ka... but .. a little question is, it is written that the church is 'Independent Baptist' .. so is it Baptist or Independent? Or it's not in the main group ka?

I've copied all of them... I'll ask you more if I've got any question... Thanks a lot ka.. :)

I'm looking forward to read 7th-day adventist and Methodist na ka.. :) Thanks again ka.. :-*
Lazy Buddy

พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2005 1:17 pm

Announcer เขียน: Buddy'Thanking so much for your reply
You're welcome ja... You can type Thai na ja... :)
Prod Pran
Defender of lawS
Defender of lawS
โพสต์: 3324
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:54 pm
ที่อยู่: Bangkok

เสาร์ มิ.ย. 25, 2005 10:53 pm

ดึงมาอีกครั้งให้น้องเทียนและผู้สนใจค่ะ
Jeab Agape
~@
โพสต์: 8259
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ม.ค. 17, 2005 9:56 pm
ที่อยู่: Bangkok

พฤหัสฯ. พ.ค. 11, 2006 11:15 am

ดึงขึ้นมาอ่านเองขอรับ 8)
ตอบกลับโพส