คำนำผู้จัดพิมพ์ หนังสือประวัติการเผยแพร่คริสศาสนา

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5962
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ ก.พ. 18, 2019 3:28 pm

คำนำผู้จัดพิมพ์ หนังสือประวัติการเผยแพร่ครสิตศาสนาในสยามและลาว

“ประวัติศาสตร์” คำที่ทำให้เกิดความรู้สึกหลากหลายเมื่อได้ยิน เมื่อเกิดความรู้สึกแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือคำถาม “จริงเหรอ?” “เชื่อถือได้ไหม?” “ใครบอก?ใครเขียน?” “เอามาจากไหน?”ฯลฯ มากไปกว่าคำถามเหล่านั้นผมนึกถึง คำถามอื่น มนุษย์จำเป็นแค่ไหนที่จะต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้กับประวัติศาสตร์” และ “เบื้องหลังความคิดของบันทึกเหล่านั้นมีความคิดอะไรอยู่เบื้องหลัง”

ประวัติงานเผยแพร่คริสต์ศาสนาในสยามและลาว เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษนี้ เป็นความพยายามของคนหนุ่มผู้มีความมุ่งมั่น จากหนังสือร่วม 700 หน้าต้นฉบับภาษาไทยที่แปลและเรียบเรียงจากภาษาฝรั่งเศส และอีกจำนวนความหนาของหน้ากระดาษไม่ห่างกัน จากต้นฉบับจริงภาษาฝรั่งเศส เขียนโดย คุณพ่อโรแบรต์ โกสเต สงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส(MEP) ผู้ก้าวเข้าสู่การทำงานธรรมทูตในประเทศไทยในปี ค.ศ. 1954 จนถึงปี ค.ศ.2019 แถมยังมีการค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลจริง การสอบถาม สืบค้น ทบทวน ใส่ใจและแปลมันออกมาเป็นภาษาสากลที่นอกจากจะเปิดข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรในประเทศไทยแล้ว ยังเปิดพระศาสนจักรในประเทศไทย สู่โลกกว้างด้วยภาษาสากล

สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย จึงขอขอบคุณคุณ Apisake Monthienvichienchai เป็นพิเศษสำหรับงานแปลชิ้นสำคัญนี้ และเป็นพิเศษที่หนังสือเล่มนี้ได้ถูกจัดพิมพ์ออกมาในวาระสำคัญของพระศาสนจักรคาทอลิกไทยด้วย นั่นก็คือ การครบรอบ 350 การสถาปนามิสซังสยาม (1669-2019) ซึ่งเป็นคำตอบต่อคำถามเบื้องต้น ว่า “มนุษย์จำเป็นแค่ไหนที่จะต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ประวัติศาสตร์” เพราะเขาจะพบว่า ประวัติศาสตร์ของศาสนาไม่ใช่เพียงมีการทำงานของมนุษย์เท่านั้น แต่พระเป็นเจ้าได้นำพา และร่วมงาน ร่วมเดินทางไปในชีวิตความเชื่อเหล่านั้นทุกย่างก้าว

“ประวัติศาสตร์” เบื้องหลังความคิดของบันทึกประวัติศาสตร์เหล่านั้น มีความคิดอะไรอยู่ผมเชื่อว่า “มีความกล้าหาญ" ความกล้าหาญที่จะบอกเล่าเรื่องที่ตนเองอาจไม่เคยเห็นด้วยตา แต่เห็นจากหลักฐาน กล้าหาญที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า จริงเหรอ เชื่อถือได้ไหม ใครบอก ใครเขียน เอามาจากไหน? ฯลฯ ด้วยความกล้าหาญเหล่านั้น นักประวัติศาสตร์จึงส่งสารต่อมายังคนรุ่นต่อๆไป เพราะความกล้าหาญนั้นมีความเชื่อว่า เราสามารถเรียนรู้ได้จากประว้ติศาสตร์ เพื่อดำรงตนอยู่กับปัจจุบันขณะได้อย่างเหมาะสม และสร้างความหวังสำหรับบันทึกหน้าใหม่แห่งวันพรุ่ง

ตัวหนังสือมากมายรอท่านอยู่แล้ว เชิญเดินทางเข้าไปในห้วงเวลาแห่งอดีต เพื่อค้นพบความกล้าหาญของผู้ปูทางเหล่านั้น และกลับออกมาด้วยความเชื่อที่มั่นคงยิ่งขึ้น เพราะหน้าประวัติศาสตร์นี้ไม่ได้เขียนด้วยเพียงข้อมูลที่ส่งต่อกัน แต่เป็นความเชื่อศรัทธาที่ส่งมอบให้กัน

คุณพ่ออนุชา ไชยเดช

ผู้อำนวยการสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
ตอบกลับโพส