ประวัตินักบุญอย่างย่อเดือนพฤศจิกายน (วันที่1-10)

ใครมาใหม่เชิญทางนี้ก่อน ทักทาย ทดลองโพส
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ พ.ย. 02, 2020 11:30 am

วันที่ ๑ พฤศจิกายน
วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย
All Saints' day

การฉลองนักบุญทั้งหลายถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้เกียรติแด่นักบุญทุกองค์ทั้งที่รู้จักและไม่เป็นที่รู้จัก พระสันตะปาปาอูร์บัน ที่ ๔ ทรงกล่าวว่าการระลึกถึงในวันนี้เพื่อชดเชยต่อบรรดานักบุญที่ขาดหายไปในระหว่างปี

ในยุคแรกของพระศาสนจักร ชาวคริสต์มีการชุมนุมกันในวันเสียชีวิตของมรณสักขี ณ สถานที่ๆ พวกท่านสิ้นใจ เมื่อถึงศตวรรษที่ ๔ สังฆมณฑลที่อยู่ใกล้เคียงเริ่มจัดชุมนุมพิธีรำลึกร่วมกัน มีการแบ่งพระธาตุและฉลองวันสำคัญๆ พร้อมกัน ดังคำเชิญของนักบุญบาซิลแห่งเซซารียา (ปี ๓๙๗) ที่มีไปยังบรรดาสังฆราชของแคว้นปอนตุส บ่อยครั้งกลุ่มมรณสักขีถูกสังหารในวันเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถรำลึกถึงพวกท่านร่วมกันได้

ในการเบียดเบียนยุคจักรพรรดิ Diocletian จำนวนมรณสักขีมีมากจนกระทั่งกำหนดวันสำหรับแต่ละท่านไม่พอ ดังนั้น พระศาสนจักรจึงกำหนดให้มีวันๆ หนึ่งสำหรับระลึกถึงพวกท่านทุกคน

แรกเริ่ม มีเพียงแต่บรรดามรณสักขีและนักบุญยอห์น บัปติสต์เท่านั้นที่มีวันฉลองพิเศษในปฏิทินพิธีกรรม ต่อมา นักบุญองค์อื่นๆ ได้ถูกเพิ่มเติม และมีจำนวนมากขึ้นเมื่อมีการกำหนดขั้นตอนสถาปนาการเป็นนักบุญ

พระสันตะปาปาเกรกอรี่ ที่ ๓ (ปี ๗๓๑-๗๔๑) อภิเษกวัดน้อยในอาสนวิหารนักบุญเปโตรถวายแด่นักบุญทั้งหลายและกำหนดวันฉลองให้เป็นวันที่ ๑ พฤศจิกายน

พระสันตะปาปาเกรกอรี ที่ ๔ (ปี ๘๒๗-๘๔๔) ประกาศให้การรำลึกนี้เป็นวันฉลองของพระศาสนจักรทั้งมวล มีพิธีตื่นเฝ้าที่จัดพร้อมกับการประกาศนี้

CR. : Sinapis
แก้ไขล่าสุดโดย rosa-lee เมื่อ อาทิตย์ ก.พ. 28, 2021 10:56 pm, แก้ไขไปแล้ว 2 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ พ.ย. 02, 2020 11:31 am

สมโภชนักบุญทั้งหลาย
"จงเป็นคนศักดิ์สิทธิ์ เพราะเราพระเจ้าของท่านเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์"

พระองค์ท่านเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ พระเยซูเจ้าเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์อย่างสมบูรณ์ พระองค์เสด็จมาในโลกนี้เพื่อนำเราสู่ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า เป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิตที่พระองค์ทรงกำหนดให้เรา

"ท่านจงเป็นคนดีอย่างสมบูรณ์ดังที่พระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่านทรงความดีอย่างสมบูรณ์เถิด"(มธ. 5:48) ฉะนั้นเราต้องพยายามที่จะยกตัวเองสูงขึ้น เพื่อจะได้ละม้ายคล้ายกับพระเจ้าพระบิดาของเรา นักบุญยอห์นกล่าวว่า "ท่านที่รักทั้งหลาย บัดนี้เราเป็นบุตรของพระเจ้าแล้ว แต่เราจะเป็นอย่างไรในอนาคตนั้นยังไม่ปรากฏชัดแจ้ง เราตระหนักดีว่าเมื่อพระองค์ทรงปรากฏเราจะเป็นเหมือนพระองค์ เราจะได้เห็นพระองค์อย่างที่พระองค์เป็น" (1ยน. 3:2)

เราจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร? พระวรสารประจำวันนี้บอกกับเราว่า
1. ผู้มีใจยากจนย่อมเป็นสุข ผู้ที่ละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่ตัวเองได้รับ เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้อื่นที่มีความต้องการ
2. ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้าย่อมเป็นสุข ผู้ที่ชื่นชมยินดีกับผู้ที่มีความชื่นชมยินดี ร้องไห้กับผู้ที่ร้องไห้ (รม. 12:15) แต่ไม่นิ่งนอนใจต่อหน้าความทุกข์ทรมาน ความชั่วร้ายและรอคอยความรอดจากพระบิดาเจ้า
3. ผู้มีใจอ่อนโยนย่อมเป็นสุข ผู้ที่เป็นแบบอย่างความอ่อนโยนคือพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงประสบปัญหามากมาย แต่ไม่ใช้ความรุนแรงตอบโต้ อย่างไรก็ดี พระองค์ก็ยังเมตตากรุณากับผู้ที่ต่อต้านพระองค์ ทรงมีความเพียรอดทนทำตัวเป็นผู้รับใช้ของทุกคน
4. ผู้ที่กระหายความชอบธรรมย่อมเป็นสุข ผู้ที่ปรารถนาอย่างแรงกล้าให้ได้รับความรอดและเอาตัวรอดไปสวรรค์และพบความจริง "พระองค์มีพระประสงค์ให้ทุกคนได้รับความรอดและความรู้จริงที่สมบูรณ์" (1ทธ. 2:4)
5. ผู้มีใจเมตตาย่อมเป็นสุข ผู้ที่ประกอบกิจการแห่งความรักเป็นผู้มีใจเมตตากรุณาและให้อภัยผู้อื่น ช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในความเดือดร้อน เห็นอกเห็นใจดังเช่นพระเยซูเจ้าทรงรักเราทุกคน (ลก. 10:37)
6. ผู้มีใจบริสุทธิ์ย่อมเป็นสุข ผู้ที่มีจิตใจอันเด็ดเดี่ยวในการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ ละเว้นสิ่งที่ทำให้จิตใจสกปรก เพราะพระเจ้าคือความบริสุทธิ์
7. ผู้สร้างสันติย่อมเป็นสุข ผู้ที่อุทิศตัวเพื่อได้สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงและพยายามที่จะยุติความขัดแย้งต่างๆ สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
8. ผู้ถูกเบียดเบียนข่มเหงเพราะความชอบธรรมย่อมเป็นสุข "ทุกคนที่ตั้งใจจะดำเนินชีวิตตามทางพระเจ้าในพระเยซูคริสต์จะถูกข่มเหง" (2ทธ. 3:12)
เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ที่ยึดถือหลักคำสอนของพระเยซูเจ้าจะไม่ถูกรังแก เบียดเบียน ข่มเหง เหมือนลูกแกะท่ามกลางหมาป่า แต่นี่คือบุญลาภสำหรับผู้ที่ปฏิบัติตัวเหมือนพระเยซูเจ้า

โดยคุณพ่อแฟรงค์ เด ลอเรนซี
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ พ.ย. 02, 2020 11:32 am

วันที่ ๒ พฤศจิกายน
วันระลึกถึงบรรดาผู้ล่วงลับ
All Souls day

แนวคิดทางเทววิทยาที่อธิบายถึงวันระลึกนี้คือข้อความเชื่อที่ว่าวิญญาณทั้งหลายเมื่อออกจากร่างกายแล้วยังไม่สะอาดสมบูรณ์เพราะมีบาปติดตัว หรือยังไม่ได้ชดใช้บาปในอดีตที่กระทำมา ดังนั้นจึงยังไม่สามารถประสบพบความรุ่งเรืองงดงามของพระเจ้าได้ คริสตชนในโลกสามารถช่วยเหลือพวกผู้ล่วงลับได้ด้วยการสวดภาวนาการทำบุญให้ทาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอุทิศถวายในมิสซา

ยุคแรกๆ ของคริสตศาสนา มีการจดบันทึกรายชื่อคริสตชนที่เสียชีวิตไว้ ต่อมาภายหลัง ในศตวรรษที่ ๖อารามคณะเบเนดิกตินมีธรรมเนียมให้จัดวันระลึกถึงสมาชิกคณะที่ล่วงลับ นักบุญ Odilo แห่ง Cluny มีคำสั่งให้จัดพิธีระลึกถึงผู้ล่วงลับเช่นนี้ขึ้นทุกปีในอารามทุกแห่งของคณะ นับจากนั้น ธรรมเนียมนี้ก็แพร่หลายออกไปสู่คณะคาร์ธูเซียนและคณะอื่นๆ

ต่อมาธรรมเนียมวันระลึกถึงผู้ตายได้เริ่มถือปฏิบัติในพระศาสนจักรท้องถิ่นของอิตาลีสเปน โปรตุเกสและละตินอเมริกา พระสงฆ์จะทำมิสซา ๓ มิสซาในวันนี้

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ พ.ย. 02, 2020 11:33 am

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 20 วันภาวนาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับ
บทอ่าน โยบ 19:1,23-27 / รม 5:5-11 / ยน 6:37-40
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2011 พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้ให้ข้อคิดเรื่องความตาย และหวังว่าความเชื่อของคาทอลิกจะสามารถให้คำตอบที่ถูกต้อง พระองค์ได้ตรัสว่า “ในฐานะเป็นมนุษย์ เรามีธรรมชาติที่จะกลัวความตาย และเราจะรู้สึกต่อต้านจุดสุดท้ายของความตาย” พระองค์ได้ตรัสกับบรรดาผู้แสวงบุญ ที่รวมตัวกันหน้ามหาวิหารนักบุญเปโตร ในโอกาสการเข้าเฝ้าประจำสัปดาห์
ต่อจากนั้น พระองค์ได้ตรัสเสริมว่า “ความเชื่อสอนเราว่า ความกลัวความตาย ต้องทำให้เรามีความหวังมากขึ้น นั่นคือ ความหวังในเรื่องชีวิตนิรันดร ที่ทำให้ชีวิตของเรามีความหมายที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น พระเป็นเจ้าองค์ความรัก ทรงให้คำสัญญาเรื่องชีวิตนิรันดรแก่เรา ผ่านทางการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนชีพของพระบุตรของพระองค์ เพราะฉะนั้น ในพระองค์ ความตายไม่น่าจะมีแต่ความว่างเปล่า แต่จะให้เส้นทางแห่งชีวิต ที่ไม่การสิ้นสุด”
พระศาสนจักรได้กำหนดให้เดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนที่สวดภาวนาเพื่อผู้ตาย ในวันระลึกถึงผู้ตาย พระสงฆ์ทั่วโลกได้รับอนุญาตให้ถวายมิสวาได้สามมิสซา มิสซาที่หนึ่งเพื่อพระสันตะปาปา มิสซาที่สองเพื่อผู้ตาย และมิสซาที่สามเพื่อความตั้งใจส่วนตัว นอกจากนี้ ยังมีธรรมเนียมการไปเยี่ยมหลุมศพของสมาชิกในครอบครัวด้วย สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาสเปน เช่น ประเทศเม็กซิโก จะถือว่าวันนี้เป็นวันหยุดประจำชาติ นั่นคือ เป็น “วันของผู้ตาย” พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ยังได้ตรัสต่อไปอีกว่า “การไปเยี่ยมสุสาน เพื่อสวดภาวนาให้ผู้ตายนั้น เป็นการเตือนให้ระลึกถึง “สหพันธ์นักบุญ” เพื่อแสดงให้เห็นว่า มี “ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเรา ที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ และพี่น้องชายหญิงจำนวนมาก ที่ได้รับชีวิตนิรันดรแล้ว” พระองค์ยังให้ข้อคิดว่า “ชีวิตของใครคนใดคนหนึ่งจะเป็นที่เข้าใจได้ เมื่อความรักจะมีชัยชนะเหนือความโดดเดี่ยว แม้แต่ความตายก็ตาม และมีแต่คนที่ยอมรับความหวังในความตายเท่านั้น ที่จะสามารถเจริญชีวิตอยู่ได้ บนความหวัง” และ” เราบอกท่านว่า ในวันนี้ ท่านจะอยู่กับเราในสวรรค์.” (ลก 23:43).
คุณพ่อ ชวลิต กิจเจริญ
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร พ.ย. 03, 2020 11:37 am

ฉลองนักบุญ วันที่ ๓ พฤศจิกายน
นักบุญมาร์ติน เดอ พอร์เรส
St. Martin de Porres

"จากช่างตัดผมผิวสีสู่นักบุญ"
มาร์ติน เดอ พอร์เรส เกิดที่เมืองลิมา เปรู ในปี ๑๕๗๙ บิดาของท่านเป็นชาวสเปน มารดาเป็นคนพื้นเมือง การเป็นลูกผสมทำให้ท่านมีฐานะต่ำในสังคม แต่บิดาดูแลท่านอย่างดีและให้ท่านฝึกอาชีพเพื่อเลี้ยงตัว

มาร์ตินเรียนเป็นช่างตัดผม ซึ่งในยุคนั้นจะต้องเรียนรู้เรื่องการเยียวยารักษาโรคไปด้วย ท่านเป็นที่รู้จักว่ามีจิตใจเมตตาและเชี่ยวชาญในฝีมือตัดผม ท่านช่วยเหลือคนจำนวนมากรวมทั้งพวกสัตว์ด้วย ต่อมาท่านสมัครเป็นสมาชิกฆราวาสของคณะโดมินิกันและได้ใช้ชีวิตอยู่ที่อารามนักบวช แม้ท่านปรารถนา
จะเป็นธรรมทูต แต่ก็ไม่ได้รับโอกาส

ชีวิตภาวนาของมาร์ตินเป็นไปอย่างเข้มข้น ท่านบำเพ็ญพรตและทำกิจพลีกรรมอย่างจริงจัง บางครั้งร่างท่านลอยขึ้นขณะอยู่ในปีติศานต์หน้าพระแท่น ท่านได้รับการยกย่องว่ามีปรีชาญาณ ผู้คนจำนวนมากมาขอคำแนะนำและขอให้ท่านช่วยสวดวิงวอนให้

ท่านเสียชีวิตปี ๑๖๓๙ แม้การสืบสวนเพื่อตั้งท่านเป็นนักบุญจะเริ่มต้นอย่างรวดเร็วหลังการตาย แต่เกิดความล่าช้าอันสืบเนื่องจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ เรืออับปางและอื่นๆ กระทั่งในที่สุด ท่านได้รับการประกาศเป็นนักบุญในอีก ๓๐๐ ปีให้หลัง คือในปี ๑๙๖๒

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อาทิตย์ พ.ย. 08, 2020 6:07 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๔ พฤศจิกายน
นักบุญชาร์ลส์ โบร์โรเมโอ
St. Charles Borromeo

ทุกยุคสมัยในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิกมีเรื่องสับสนวุ่นวายและความคดโกงเสื่อมเสียกระนั้น ก็จะมีบุคคลหรือขบวนการหนึ่งก่อเกิดขึ้นมาเป็นตัวแทนความเชื่อที่ชัดเจนและแสดงให้เห็นด้วยการกระทำ นักบุญชาร์ลส์โบร์โรเมโอ ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในสังคายนาเมืองเตรนท์เป็นตัวอย่าง
ของความเป็นผู้นำในยุคที่พระศาสนจักรปั่นป่วนวุ่นวาย

ชาร์ลส์เกิดเมื่อปี ๑๕๓๘ ในตระกูลมั่งคั่ง บิดามารดาท่านเป็นผู้สูงศักดิ์ แต่ท่านสนใจที่จะรับใช้พระศาสนจักรอย่างจริงใจ ท่านขอร้องให้บิดาแจกจ่ายเงินทองส่วนใหญ่ของครอบครัวให้คนยากไร้ชาร์ลส์ใช้ฐานันดรในสังคมของท่านเพื่อประโยชน์ของพระศาสนจักร ท่านทำงานเป็นทนายความและนักกฎหมาย เมื่อท่านอายุ ๒๒ ปี ลุงของท่านก็ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาปีโอ ที่ ๔ ท่านได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นทูตของพระสันตะปาปาและเป็นผู้ดูแลคณะนักบวชใหญ่ๆ ทั้งหลาย ท่านพักผ่อนด้วยการอ่านวรรณกรรมและฟังดนตรี ไม่หลงใหลไปกับสิ่งเย้ายวนใจทั่วโรมของยุคสมัยเรอเนซองส์ตอนปลาย ท่านถึงกับคิดอยากจะถือชีวิตเข้มงวดในอารามนักพรต แต่พระเป็นเจ้าจะให้ท่านทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อพระศาสนจักรได้มากกว่า ซึ่งรวมถึงสิ่งที่ท่านจะกระทำในการสังคายนาเมืองเตรนท์

สังคายนาสากลครั้งนี้เริ่มต้นปลายปี ๑๕๔๕ แต่ประสบความล่าช้าเพราะเหตุการณ์หลายอย่าง ภารกิจ๒ ประการของสังคายนาครั้งนี้คือการกำหนดข้อคำสอนคาทอลิกเพื่อต่อสู้กับการปฏิเสธต่อต้านของโปรเตสแตนท์และการฟื้นฟูภายในพระศาสนจักร เนื่องด้วยปัญหาต่างๆ ที่หมักหมมยาวนาน ในฐานะตัวแทนของพระสันตะปาปา ชาร์ลส์เข้าร่วมการประชุมสรุปสังคายนาในปี ๑๕๖๓ ซึ่งขณะนั้นท่านอายุเพียง ๒๕ ปีท่านยังมีบทบาทเป็นผู้นำคนสำคัญของการรวบรวมข้อสรุปของคำสอนโรมัน ที่เรียกกันว่าคำสอนแห่งสังคายนาเมืองเตรนท์

รางวัลที่ชาร์ลส์ได้รับคือภารกิจหนักหน่วงยิ่งขึ้นอีก ท่านได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์ระหว่างการประชุมสังคายนาและได้เป็นอัครสังฆราชและคาร์ดินัลเพียงอีกไม่กี่เดือนต่อมา ท่านพบว่าสังฆมณฑลมิลานที่ท่านรับมอบหมายให้ดูแลอยู่ในสภาพเสื่อมทราม ไม่มีการบริหารหรือดูแลจากผู้นำของสังฆมณฑลมาถึง ๒ ชั่วอายุคน พระสังฆราชชาร์ลส์ดำเนินการตั้งโรงเรียน บ้านเณรและศูนย์กลางสำหรับชีวิตนักบวช

การปฏิรูปสังฆมณฑล ซึ่งสอดคล้องกับกฤษฎีกาของสังคายนาเกิดสัมฤทธิ์ผลอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ พวกฤษีกลุ่มหนึ่งที่เสียผลประโยชน์ถึงกับพยายามลอบสังหารท่าน การรอดชีวิตมาได้นั้นถูกเล่ากันว่าเป็นเพราะอัศจรรย์จากพระเจ้า

ความพยายามของท่านในการสอนคำสอนและอบรมเยาวชนเกิดผลสำเร็จเป็นพิเศษ ทำให้มีการก่อตั้งกลุ่มเพื่อคำสอนคริสตชนและได้เกิดชั้นเรียนคำสอนวันอาทิตย์เป็นครั้งแรก ท่านยังเอาใจใส่อภิบาลพวกคาทอลิกชาวอังกฤษที่หนีเข้ามาอิตาลีเพราะกฎหมายต่อต้านความเชื่อคาทอลิกที่อังกฤษในเวลานั้น

ความขยันเอาการเอางาน การเดินทางอยู่เสมอและการดำเนินชีวิตถือพรตเคร่งครัดส่งผลต่อสุขภาพของท่าน ท่านเสียชีวิตในปี ๑๕๘๔ ด้วยอายุเพียง ๔๖ ปี และในอีก ๒๖ ปีต่อมาก็ได้รับประกาศตั้งเป็นนักบุญในปี ๑๖๑๐

ท่านเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของครูคำสอนและผู้เรียนคำสอน

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อาทิตย์ พ.ย. 08, 2020 6:08 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๕ พฤศจิกายน
บุญราศีแบร์นฮาร์ด ลิคเทนแบร์ก
Blessed Bernhard Lichtenberg

แบร์นฮาร์ดเป็นมรณสักขีระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านเกิดในปี ๑๘๗๕ บวชเป็นพระสงฆ์ของสังฆมณฑลเบอร์ลิน เยอรมนี ท่านทำงานอภิบาลที่อาสนวิหารเบอร์ลิน ท่านวิจารณ์พรรคนาซีอย่างเปิดเผยและตำหนิการรณรงค์ให้ชาวเยอรมันต่อต้านพวกยิว

ท่านก่อตั้งกลุ่มประท้วงนอกค่ายกักกัน นำสวดในที่สาธารณะให้พวกชาวยิวและยื่นคำประท้วงต่อพรรคนาซีในที่สุด ท่านถูกจับและถูกคุมขัง ๒ ปี แต่สิ่งนี้ก็ยังไม่อาจกั้นขวางท่านได้

เมื่อได้รับการปล่อยตัวคุณพ่อแบร์นฮาร์ดกลับสู่กิจกรรมประท้วงและวิพากษ์วิจารณ์พวกนาซีต่อไปท่านถูกจับตัวอีกครั้งและถูกตัดสินให้ส่งตัวไปค่ายกักกันที่ Dachau แต่ท่านไปไม่ถึงเพราะถูกสังหารในระหว่างทางเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๑๙๔๓ ขณะนั้นท่านมีอายุ ๖๗ ปี

พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ ๒ ประกาศตั้งท่านเป็นบุญราศีในปี ๑๙๙๖

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อาทิตย์ พ.ย. 08, 2020 6:08 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๖ พฤศจิกายน
นักบุญฌอง เธโอฟาน เวนาร์ด
St. Jean-Théophane Vénard

ท่านเป็นมิสชันนารีชาวฝรั่งเศส ทำงานธรรมทูตที่เวียดนาม และเป็นมรณสักขีฌอง เธโอฟานเป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักบุญเทเรซาแห่งลิซิเออร์ กล่าวกันว่าท่านเป็นบุคคลที่ได้ดำเนินชีวิตตามภาพลักษณ์ความเป็นมรณสักขีและมิสชันนารีของนักบุญเทเรซา

ท่านเกิดในฝรั่งเศส หลังจากบวชเป็นพระสงฆ์ในคณะธรรมทูตมิสซังต่างประเทศ ท่านก็ถูกส่งตัวไปทำงานที่เวียดนามในสมัยนั้นเวียดนามอยู่ใต้การปกครองของจักรพรรดิมินห์หมาง มีการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ พวกพระสงฆ์จึงต้องซ่อนตัวในป่าและใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำ พวกเขาจะแอบออกมาเวลากลางคืนเพื่อทำมิสซาและฟังแก้บาป แต่มีบุคคลหนึ่งทรยศ ซึ่งทำให้ฌอง เธโอฟานถูกจับ

ในระหว่างการไต่สวน ท่านไม่ยอมปฏิเสธความเชื่อจึงถูกตัดสินให้รับความตาย ช่วงเวลาสองสามสัปดาห์สุดท้ายของชีวิต ท่านถูกขังอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในช่วงเวลานี้ท่านได้เขียนจดหมายหลายฉบับ บางฉบับเขียนถึงคนในครอบครัวของท่าน ข้อความที่มีชื่อเสียงที่สุดมาจากจดหมายที่ท่านเขียนถึงบิดา "พวกเราเป็นดอกไม้ที่ถูกปลูกบนโลก พระเจ้าจะเด็ดไปตามเวลาที่พระองค์เห็นควร บางครั้งเร็ว บางครั้งช้า คุณพ่อและผมจะพบกันในสวรรค์ ผมขอไปก่อนลาก่อนครับ"

เมื่ออ่านจดหมายนี้ นักบุญเทเรซาเข้าใจอย่างซาบซึ้งและใช้ภาพเปรียบเทียบดอกไม้น้อยสำหรับตัวเธอเองว่าพระเจ้าทรงเอาใจใส่และดูแลรักษา แม้เธอจะเล็กน้อยไม่สำคัญเพียงใดก็ตาม

ฌอง เธโอฟานถูกตัดศีรษะในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๑๘๖๑ ศีรษะของท่านถูกขุดค้นภายหลังและเก็บรักษาเป็นพระธาตุในเวียดนาม ร่างกายส่วนอื่นถูกบรรจุในโลงที่บ้านของคณะของท่านในปารีส

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อาทิตย์ พ.ย. 08, 2020 6:09 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๗ พฤศจิกายน
นักบุญเปโตร อู๋
St. Peter Ou

เปโตร อู๋ เป็นหนึ่งในบรรดามรณสักขีของจีน ท่านเกิดในครอบครัวที่ไม่ได้เป็นคริสตชนในปี ๑๗๖๘ ในวัยหนุ่ม ท่านรักความยุติธรรมและเป็นปากเสียงให้กับคนยากจนและคนถูกกดขี่ข่มเหงอยู่เสมอ

ท่านแต่งงานและเปิดโรงแรมขนาดใหญ่ เมื่อมิสชันนารีมาถึงดินแดนที่ท่านอยู่อาศัย ท่านเป็นคนแรกๆที่กลับใจเป็นคริสตชน และได้รับชื่อเปโตรในการล้างบาป ท่านสอนเรื่องคริสตศาสนาอย่างกระตือรือร้นให้กับทุกคนที่ผ่านไปมา ภายหลัง ท่านเป็นผู้นำฆราวาสของกลุ่มผู้กลับใจในตำบลนั้น ท่านยังเป็นครูสอนคำสอนด้วย

ปี ๑๘๑๔ ท่านถูกจับคุมขังและลงทัณฑ์ทรมาน แต่แม้ในสภาพเช่นนั้น ท่านยังให้กำลังใจเพื่อนนักโทษให้มีความเชื่อ ท่านนำการสวดภาวนาในห้องคุมขัง ที่สุด ท่านถูกตัดสินประหารชีวิตเพราะไม่ยอมเหยียบไม้กางเขน

พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ ๒ ประกาศตั้งท่านเป็นนักบุญในปี ๒๐๐๐

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อาทิตย์ พ.ย. 08, 2020 6:10 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๘ พฤศจิกายน
บุญราศีเอลิซาเบธแห่งพระตรีเอกภาพ
Blessed Elizabeth of The Trinity

เอลิซาเบธ คาเธซ (Elizabeth Catez) เกิดที่เมือง Bourges ประเทศฝรั่งเศสในปี ๑๘๘๐ บิดาของเธอซึ่งเป็นนายร้อยในกองทัพเสียชีวิตเมื่อเธออายุ ๗ ขวบ มารดาให้การอบรมเลี้ยงดูเธอและมาร์กาเร็ต น้องสาว

เอลิซาเบธเป็นเด็กหญิงร่าเริงและเป็นนักเล่นเปียโนที่มีพรสวรรค์แต่เธอก็เป็นคนหัวรั้นและขึ้งโกรธได้นาน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอารมณ์ขึ้นลงรุนแรง เธอก็มีความรักต่อพระเจ้าและสนใจชีวิตภาวนาและการพิศเพ่งรำพึงตั้งแต่วัยเยาว์ เธอเยี่ยมคนป่วยบ่อยๆ และสอนคำสอนให้พวกเด็ก

เมื่ออายุ ๒๑ ปีเอลิซาเบธตัดสินใจเข้าคณะนักบวชคาร์เมไลท์ในปี ๑๙๐๑ แม้จะขัดกับความปรารถนาของมารดาก็ตาม เธอก้าวหน้าอย่างยิ่งในชีวิตฝ่ายจิต แต่ก็ทุกข์ทรมานกับห้วงเวลาของความมืดหนักหน่วงจนทำให้พ่อวิญญาณสงสัยในกระแสเรียกของเธอ แต่เธอก็ผ่านปีนวกภาพและได้ถวายตัวตลอดชีพในปี ๑๙๐๓ เธอเสียชีวิตในอีก ๓ ปีต่อมาเมื่ออายุเพียง ๒๖ ปีสาเหตุด้วยโรค Addison

ในช่วงเวลาชีวิตนักบวชที่ไม่นานนักของเธอเธอได้เป็นผู้นำวิญญาณให้กับหลายคน และได้ทิ้งมรดกอันมีคุณค่าเป็นจดหมายและข้อแนะนำการเข้าเงียบ

เธอเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของผู้สูญเสียบิดามารดา

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ พ.ย. 09, 2020 4:08 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๙ พฤศจิกายน
นักบุญเบนอิงกัส แห่งคิลบันนอง
St. Benignus of Kilbannon

เบนอิงกัสเป็นลูกชายของ Sesenen หัวหน้ากลุ่มชนแถบ Meathในไอร์แลนด์ นักบุญปาตริกได้โปรดศีลล้างบาปให้ท่าน ท่านเป็นศิษย์คนโปรดและผู้ร่วมงานคนสำคัญของนักบุญปาตริก

เบนอิงกัสติดตามอาจารย์ในการเดินทางทำงานธรรมทูตทุกหนแห่ง ท่านช่วยตั้งกลุ่มนักขับร้องในแต่ละท้องที่ เหตุนี้จึงทำให้ท่านถูกเรียกว่า นักขับเพลงของปาตริก ท่านดึงดูดผู้คนจำนวนมากเข้าหาพระคริสต์ด้วยน้ำเสียงไพเราะเสนาะโสตของท่าน

ท่านช่วยดำเนินการรวบรวมกฎหมายของไอริช และมีบทบาทสำคัญในการประชุมสมัชชาเพื่อออกระเบียบทางด้านศาสนา ซึ่งได้บันทึกไว้ในหนังสือ Armagh

ท่านลาเกษียณจากหน้าที่การงานในปี ๔๖๗ และสิ้นชีพปลายปีนั้นเอง

CR. : Sinapis
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ พ.ย. 09, 2020 4:09 pm

⛪️พระวิหารลาเตรัน
9 พฤศจิกายน : ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

วันนี้พระศาสนจักรให้เราฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน ที่สร้างถวายแด่พระผู้ไถ่โดยจักรพรรดิคอนสแตนติน เพื่อเป็นศีรษะและศูนย์กลางของวัดทั้งหลายในโลก ถือเป็นวัดเอกเหนือวัดทั้งหลายในกรุงโรม และถือเป็นมารดาของพระศาสนจักร (Mater Ecclesiae) อีกทั้ง เคยเป็นที่ประทับของพระสันตะปาปาและคณะบริหารเรื่อยมาจนถึงปี 1309 เมื่อพระสันตะปาปาย้ายไปพำนักที่อาวียอง ประเทศฝรั่งเศส

ปี 896 ได้เกิดแผ่นดินไหวทำให้พระวิหารพังทลาย พระสันตะปาปาแซร์จิอุสที่ 3 ได้สร้างพระวิหารขึ้นใหม่และยกถวายแด่นักบุญยอห์น บัปติสต์และนักบุญยอห์น อัครสาวก พร้อมกับสร้างอาคารสำนักงาน อารามนักบวช โรงพยาบาล และที่พักสำหรับผู้แสวงบุญ ตั้งแต่ปี 1192 มีหลักฐานแน่ชัดว่าที่นี่เป็นสถานที่เลือกตั้งพระสันตะปาปา ปี 1308 พระวิหารถูกไฟไหม้เกือบทั้งหลัง ในสมัยพระสันตะปาปาซีสโตที่ 5 ได้สร้างพระวิหารใหม่ทั้งหมด

พระวิหารปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมและต่อเติมตั้งแต่ปี 1362 ถึงปี 1737 โดยสถาปนิกที่มีชื่อเสียงหลายคนเป็นผู้ออกแบบ และยังถือเป็นวิหารแม่ของสังฆมณฑลโรมและของพระศาสนจักร ดังนั้น หลังจากได้รับเลือกตั้งพระสันตะปาปาต้องมาทำพิธีรับเป็นเจ้าของและประทับบนบัลลังก์ ณ พระวิหารนี้ในฐานะพระสังฆราชแห่งโรม และทำพิธีล้างเท้าอัครสาวกในวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ ก่อนย้ายไปทำที่มหาวิหารนักบุญเปโตรในปี 1834

พระวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันเป็นตัวแทนของ “วัดที่มีชีวิต” ในโลก บทอ่านวันนี้หนังสือเอสเคียลได้ให้ภาพล่วงหน้าการก่อตั้งพระศาสนจักรโดยพระเยซูเจ้าโนโลก จดหมายถึงชาวโครินทร์ ฉบับที่ 1 นักบุญเปาโลได้เตือนว่าเราเป็นพระวิหารของพระเจ้า ที่มีพระจิตของพระเจ้าทรงพำนักและนำทางชีวิตเรา พระวรสารวันนี้พระเยซูเจ้าทรงชำระพระวิหารให้ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเตือนเราให้ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ขับไล่สิ่งชั่วร้ายที่ทำให้เราถอยห่างจากพระองค์

วัดทุกแห่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระเจ้าและเพื่อถวายเกียรติแด่พระเยซูเจ้า ในธรรมล้ำลึกแห่งความรอดและสิ่งมหัศจรรย์ที่ทรงกระทำ การฉลองวันนี้เป็นการฉลองพระคริสตเจ้า “พระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์และเสด็จมาประทับอยู่ท่ามกลางเรา” (ยน 1:14) ทรงกลับคืนพระชนมชีพและทรงเป็นศีรษะของพระศาสนจักร ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัววัด แต่อยู่ที่ตัวเราซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีชีวิต เป็นที่ประทับของพระตรีเอกภาพโดยมีพระเยซูเจ้าเป็นศิลาหัวมุม (เทียบ 1 ปต 2:4-9)
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

จันทร์ พ.ย. 09, 2020 4:11 pm

9 พฤศจิกายน
ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน
(The Dedication of the Lateran Basilica, feast.)

วันนี้เป็นวันฉลองการถวายพระวิหารของนักบุญยอห์น แห่งลาเตรันในกรุงโรม ซึ่งเป็นประดุจ "มารดาและนายหญิงของวัดทั้งหลายในเมืองและในโลกนี้" เพราะว่าเป็นธรรมาสน์ขั้นสังฆราชาขององค์พระสันตะปาปา ในฐานะที่ทรงเป็นสังฆราชของกรุงโรม พระวิหารนี้จึงอยู่ในอันดับสูงกว่าพระวิหารนักบุญเปโตร (วาติกัน)

พระนาง Fausta ซึ่งเป็นพระคู่ครองของจักรพรรดิคอนสแตนตินผู้ยิ่งใหญ่ ได้ทรงมอบวังลาเตรันของพระนางถวายแด่นักบุญ Miltiades, พระสันตะปาปา ราวปี ค.ศ. 313 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.324 นักบุญซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ได้ทำการเสกอย่างสง่าในภาคส่วนที่เป็นบาสิลิกาขององค์พระผู้ไถ่ผู้ศักดิ์สิทธิ์สูงสุด (ชื่อเดิม = the Basilica of the Most Holy Saviour) - เป็นการเสกวัดต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกของพระศาสนจักร พิธีทั้งหมดอาจจะเป็นแบบเรียบๆง่ายๆในเวลานั้น แต่ต่อมาที่มีการเสกวัดอย่างสง่าที่เต็มไปด้วยรายละเอียดทางพิธีกรรมจนถึงปัจจุบันนี้ มีหลักฐานเป็นที่รับรู้ว่าได้ใช้มาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 9 ในส่วนของวังลาเตรันที่เหลือ(ที่ไม่ได้เป็นเขตพระวิหาร) ก็เป็นวังที่ประทับของบรรดาพระสันตะปาปามากกว่า 1,000 ปีนับแต่นั้นมา และปัจจุบันก็กลายเป็นพิพิธภัณฑ์

ในช่วงศตวรรษที่ 4-16 มีการประชุมสภาสังคายนา 5 ครั้ง ประชุมซีโน้ด 20 ครั้ง ที่จัดขึ้นในบาสิลิกาหลังนี้ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นพระวิหารนักบุญยอห์น แห่งลาเตรัน เพื่อเทิดเกียรติแด่นักบุญยอห์น บัปติสต์ และนักบุญยอห์น ผู้นิพนธ์พระวรสาร ที่จริงแล้ว ลาเตรันได้เป็นเหมือนโลกของคาทอลิกในอดีต ดุจดังที่วาติกันกำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ คือเป็นที่ตั้งธรรมาสน์ของการตัดสิน และเป็นศูนย์กลางการปกครองของพระศาสนจักร

โครงสร้างของพระวิหารหลังเดิมและต่อๆมาเสียหายไปหมด เพราะสงคราม เพราะแผ่นดินไหว และเพราะเปลวไฟ หลังที่เป็นบาโรค(Baroque) ทั้งหมดที่ทำขึ้นมาใหม่รวมทั้งการตกแต่งดังที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ดำเนินการโดย ฟรานเชสโก บาร์โรมินี (Francesco Barromini) ในสมณสมัยพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 (Pope Innocent X) ในปี ค.ศ. 1646 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพระวิหารที่สง่างามมากที่สุดของกรุงโรม โดยมีหอคอยด้านหน้าอาคารใหญ่ ที่สร้างโดย อเล็กซานเดอร์ กาลิเลอี (Alexander Galilei) ในปี ค.ศ. 1735 ประดับด้วยรูปปั้นใหญ่มหึมา 15 รูป ซึ่งมีพระรูปพระคริสต์อยู่ตรงกลาง ขนาบสองข้างด้วยรูปนักบุญยอห์น บัปติสต์ และนักบุญยอห์น ผู้นิพนธ์พระวรสาร และนักปราชญ์ของพระศาสนจักรอีก 12 องค์ ในบรรดาพระธาตุสำคัญๆ ที่เก็บรักษาไว้ในสักการสถานยิ่งใหญ่ของคริสตชนแห่งนี้ ได้รับการบอกกล่าวกันมาว่ามีส่วนศีรษะของนักบุญเปโตร และนักบุญเปาโล ซึ่งบรรจุไว้ภายในกล่องเงินแท้ อยู่ภายใต้พระแท่นถวายบูชาตรงกลาง ยังมีเศษของโต๊ะไม้เล็กๆ ที่นักบุญเปโตรได้เคยถวายบูชามิสซาในบ้านของ Pudens และพระธาตุไม้จากโต๊ะที่ใช้ในการเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายขององค์พระผู้เป็นเจ้าอยู่ด้วย

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day ; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ J.K. Mausolfe)
ภาพประจำตัวสมาชิก
rosa-lee
โพสต์: 5937
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ม.ค. 29, 2010 2:37 pm

อังคาร พ.ย. 10, 2020 7:51 pm

ฉลองนักบุญ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน
นักบุญพระสันตะปาปาเลโอผู้ยิ่งใหญ่
Pope St. Leo the Great

พระสันตะปาปาเลโอ ที่ ๑ แห่งศตวรรษที่ ๕ เป็นที่รู้จักในสมัญญา นักบุญเลโอผู้ยิ่งใหญ่ท่านจัดประชุมสังคายนาที่ช่วยปกป้องการเผยแพร่คำสอนที่ผิดๆ ในเรื่องสภาวะพระเจ้าและธรรมชาติมนุษย์ของพระคริสต์

ท่านยังป้องกันพระศาสนจักรตะวันตกให้ปลอดภัยด้วยการโน้มน้าวให้อัตติลา หัวหน้าชนเผ่าฮั่น ถอยกลับไม่รุกรานโรมต้นกำเนิดของท่านไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่กล่าวกันว่าท่านสืบเชื้อสายจากตระกูล Tuscany

ท่านเป็นสังฆานุกรที่โรมประมาณปี ๔๓๐ ในสมณสมัยของพระสันตะปาปาเซเลสติน ที่ 1
ในช่วงเวลานี้อำนาจศูนย์กลางเริ่มเสื่อมถอยจากจักรวรรดิโรมันตะวันตก ท่านได้รับบัญชาจากจักรพรรดิวาเลนติเนียนที่ ๓ ให้ไปยังแคว้น Gaul และระงับข้อพิพาทระหว่างกองทัพกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง

เมื่อพระสันตะปาปาซิสตุส ที่ ๓ สิ้นพระชนม์ในปี ๔๔๐ ท่านก็ได้รับเลือกให้เป็นพระสันตะปาปา ท่านทำหน้าที่นานกว่า ๒๐ ปีพยายามรักษาเอกภาพของพระศาสนจักรในเรื่องข้อความเชื่อและความปลอดภัยต่อการรุกรานของพวกบาร์บาเรียน

สันตะปาปาเลโอบังคับใช้อำนาจของพระองค์ทั้งในทางข้อความเชื่อและการปกครอง เพื่อควบคุมพวกเฮเรติกที่สร้างปัญหาให้กับศาสนจักรตะวันตกในเวลานั้น ซึ่งได้แก่กลุ่ม Pelagiznism ซึ่งปฏิเสธเรื่องบาปกำเนิด กลุ่ม Manichaeanism และกลุ่ม Gnosticism ที่ถือว่าโลกวัตถุชั่วร้าย

ในช่วงเวลาเดียวกัน ชาวคริสต์ทางตะวันออกก็เริ่มถกเถียงกันถึงความเป็นมนุษย์แลัพระเจ้าของพระเยซูท่านเข้าเกี่ยวข้องกับการโต้เถียงนี้ซึ่งกำลังจะส่งผลถึงการแตกแยกระหว่างศาสนจักรที่เมืองอเล็กซานเดรียและคอนสแตนติโนเปิล แล้วที่สุด ก็เป็นจริง เกิดการแยกกันระหว่างศาสนจักรออร์โธด็อกซ์ตะวันออกและศาสนจักรที่เรียกว่า non-Chalcedonian มาจนปัจจุบัน

ความขัดแย้งทางความคิดเห็นเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ยังดำเนินต่อไป สันตะปาปาเลโอจึงเรียกประชุมสังคายนาเพื่อหาข้อตกลง สังคายนา Chalcedon ในปี ๔๕๑ ได้กำหนดเรื่องอำนาจคำสอนของพระสันตะปาปา ซึ่งบรรดาสังฆราชแห่งนิกายตะวันออกก็ให้การยอมรับ พวกเขากล่าวว่า "เปโตรพูดผ่าน
ปากของเลโอ"

คำสอนของสันตะปาปาเลโอยืนยันถึงความเป็นพระเจ้าแต่นิรันดร์ของพระคริสต์และธรรมชาติที่ไม่ได้ซึมรับหรือปฏิเสธต่อธรรมชาติมนุษย์ที่พระองค์ได้รับในการเข้าสู่กาลเวลาเมื่อบังเกิดเป็นมนุษย์

"ดังนั้น โดยมิได้ทอดทิ้งพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาของพระองค์พระบุตรพระเจ้าได้ลงมาจากบัลลังก์
สวรรค์และเข้าสู่โลกของเรา" ท่านสอน "ขณะที่ยังคงสภาวะก่อนการดำรงอยู่ของสิ่งทั้งปวง พระองค์ก็
ทรงเริ่มการดำรงอยู่ในกาลเวลา เจ้านายของจักรวาลผู้ยิ่งใหญ่สุดหยั่งถึงทรงรับเอาสภาพทาส พระเจ้าผู้ไม่รู้จักความทุกข์ทรมาน ไม่ทรงรังเกียจจะมาบังเกิดเป็นมนุษย์ผู้ทุกข์ทน และพระองค์ผู้ไม่ตายก็ยอมรับกฎของความตาย"

ปี ๔๕๒ หนึ่งปีหลังสังคายนา Chalcedon สันตะปาปาเลโอเป็นผู้นำการเจรจากับกษัตริย์อัตติลาเพื่อป้องกันการบุกโรม เมื่อผู้นำทัพพวก Vandal ชื่อ Genseric ยึดครองโรมในปี ๔๕๕ ท่านก็เผชิญหน้าเขาโดยปราศจากอาวุธและได้รับการรับประกันว่าชาวเมืองและวัดวาอารามต่างๆ จะปลอดภัย

สันตะปาปาเลโอผู้ยิ่งใหญ่สิ้นพระชนม์วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ปี ๔๖๑ พระองค์ได้รับประกาศตั้งเป็นนักปราชญ์ของพระศาสนจักรโดยพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ ๑๔ ในปี ๑๗๕๔ งานเขียนและบทเทศน์
ของท่านตกทอดมาถึงคนในยุคเราจำนวนมาก

CR. : Sinapis
ตอบกลับโพส